วิสัชนาในอธิการนี้ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ขันธ์ ๓ ที่เป็นอกุสลาพยากตะ
และรูปที่มีจิตเป็นสมุฏฐาน อาศัยขันธ์หนึ่งที่เป็นอกุสลาพยากตะ
เกิดขึ้น.
ก็วิธีนับที่ได้ในปัจจัยนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในบาลี แม้
วาระทั้งหลายที่มีวิสัชนาเหมือนกัน ก็ทรงแสดงไว้ในบาลีนั้นเอง เพราะฉะนั้น
ในอธิการนี้ ผู้ศึกษาพึงกำหนดบาลีแล้วทราบปัฏฐานนัยทั้งหมด ตามแนวแห่ง
นัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลัง ก็ในอธิการนี้ ฉันใด ใน ทุกปัฏฐาน ทุก-
ติกปัฏฐาน ติกทุกปัฏฐาน ติกติกปัฏฐาน และทุกทุกปัฏฐาน ก็ฉันนั้น.
นัย ๖ ในธัมมปัจจนียปัฏฐาน อันท่านแสดงไว้ด้วยคาถาที่ท่านกล่าว
ไว้ในอรรถกถาว่า
นัย ๖ ในปัจจนียปัฏฐาน คือ ติกปัฏฐาน อัน
ประเสริฐ ทุกปัฏฐานอันสูงสุด ทุกติกปัฏฐาน ติกทุก-
ปัฏฐาน ติกติกปัฏฐาน และทุกทุกปัฏฐาน ลึกซึ้งนัก ดังนี้.
เป็นอันข้าพเจ้าแสดงแล้วด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ฯ ก็ในอธิการนี้ ผู้ศึกษาพึง
ทราบเฉพาะ ปัจจนียปัฏฐาน เท่านั้น ประดับด้วยนัย ๒๕ โดยปริยายหนึ่งคือ
ในปัฏฐานหนึ่ง ๆ ว่าด้วยอำนาจแห่งปัจจัยมีอย่างละ ๔ นัย มีอนุโลมนัยเป็นต้น.
อรรถกถาปัจจนียปัฏฐาน จบ