No Favorites




คำนำ
พระพุทธวจนะ คือ พระไตรปิฎก รวมเป็นศาสนธรรมคำสอน
ของพระพุทธเจ้า จัดเป็นองค์ ๙ คือ สุตตะ ได้แก่อุภโตวิภังค์ นิทเทส
ขันธกะ ปริวาร พระสูตรต่างๆ มีมงคลสูตรเป็นต้น เคยยะ คือพระสูตร
ที่ประกอบไปด้วยคาถาทั้งหมดเวยยากรณะ คือพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด
พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพุทธวจนะที่ไม่ได้จัดเข้าในองค์ ๘ ได้ชื่อว่า
เวยยากรณะทั้งหมด คาถา คือพระธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา
และคาถาล้วนๆ ที่ไม่มีชื่อว่าสูตรในสุตตนิบาต อุทาน คือพระสูตร ๘๒ สูตร
ที่พระพุทธเจ้าทรงเปล่งด้วยโสมนัสญาณ อิติวุตตกะ คือพระสูตร 100 สูตร
ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า ข้อนี้สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ชาดก เป็นการแสดงเรื่องในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า
มีอปัณณกชาดกเป็นต้น มีทั้งหมด ๕๕๐ อัพภูตธรรม คือพระสูตร
ที่ปฏิสังยุตด้วยอัจฉริยอัพภูตธรรมทั้งหมดเวทัลละ คือระเบียบคำที่ผู้ถาม
ได้ความรู้แจ้งและความยินดี แล้วถามต่อๆ ขึ้นไป ดังจูฬเวทัลลสูตร
สัมมาทิฏฐิสูตร และสักกปัญหสูตร เป็นต้น พระพุทธวจนะเหล่านี้
โดยสภาพแห่งธรรมแล้ว เป็นสัจธรรมที่ทรงแสดงว่า เป็นธรรมที่ลึกซึ้งรู้ได้
ยาก รู้ตามเห็นตามได้ยาก สงบประณีต ไม่อาจจะรู้ได้ด้วยการตรึก
ละเอียด เป็นธรรมอันบัณฑิตจะรู้ได้ เพราะสภาวะแห่งธรรมมีลักษณะดังกล่าว
จึงจำต้องชี้แจงให้เกิดความเข้าใจทั้งโดยอรรถะ และพยัญชนะ
เพื่อให้สามารถหยั่งรู้ธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริงในเรื่องนั้นๆ
เนื่องจากพื้นเพอัธยาศัยของคนแตกต่างกันในด้านต่างๆ ซึ่งทรงอุปมา
ไว้เหมือนดอกบัว ๔ เหล่า พระพุทธเจ้าจึงทรงมีวิธีในการแสดงธรรม
ตามอาการสอนธรรมของพระองค์ ๓ ประการ คือ
๑. ทรงสอนให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริง ในสิ่งที่ควรรู้ควรเห็น
๒. ทรงแสดงธรรมมีเหตุที่ผู้ฟังอาจตรองตามให้เห็นจริงได้
๓. ทรงแสดงธรรมเป็นอัศจรรย์ คือผู้ปฏิบัติตามจะได้รับประโยชน์
ตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ
แต่เพราะพระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ทรงฉลาดในโวหาร
เพราะทรงเป็นเจ้าแห่งธรรม ก่อนจะทรงแสดงธรรมแก่ใคร
ทรงตรวจสอบภูมิหลังด้านต่างๆ ของคนเหล่านั้นด้วยพระญาณแล้ว ผลจาก
การฟังในพุทธสำนึกจึงไม่มีปัญหาว่า คนฟังจะไม่เข้าใจ ผลจากการฟังธรรม
สมัยพุทธกาลจึงมีความอัศจรรย์หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว
ทรงตั้งพระธรรมวินัยไว้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์
ธรรมที่ทรงแสดงไว้ยังเป็นเช่นเดิม แต่ระดับสติปัญญา บารมี ความสนใจ
ในธรรมของคนเปลี่ยนแปลงไปทำให้การตีความพระธรรมวินัยตามความ
เข้าใจ ของตนเองเกิดขึ้น จนทำให้สูญเสียความเสมอกันในด้านศีล
และทิฐิครั้งแล้วครั้งเล่า บางสมัยเกิดแตกแยกกัน
เป็นนิกายต่างๆ ถึง ๑๘ นิกาย

พระอรรถกถาจารย์ผู้ทราบพุทธาธิบาย ทั้งโดยอรรถะและพยัญชนะแห่ง
พระพุทธวจนะ เพราะการศึกษาจำต้องสืบต่อกันมาตามลำดับ
มีฉันทะอุตสาหะอย่างสูงมากได้อรรถาธิบายพระพุทธวจนะ ในพระไตรปิฎก
ส่วนที่ยากแก่การเข้าใจให้เกิดความเข้าใจง่ายขึ้นสำหรับผู้ศึกษาและปฏิบัติ
ความสำคัญแห่งคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาจึงมีลดหลั่นกันลงมา คือ
๑. พระสูตร คือพระพุทธวจนะที่เรียกว่า พระไตรปิฎกทั้งพระวินัยปิฎก
พระสุตตันตปิฎก และ พระอภิธรรมปิฎก
๒. สุตตานุโลม คือพระคัมภีร์ที่พระอรรถกถาจารย์รจนาขึ้น อธิบายข้อความ
ที่ยากในพระไตรปิฎก
๓. อาจริยวาท วาทะของอาจารย์ต่างๆ ตั้งแต่ชั้นฎีกาอนุฎีกา
และบุรพาจารย์ในรุ่นหลัง
๔. อัตโนมติ ความคิดเห็นของผู้พูด ผู้แสดงธรรมในพระพุทธศาสนา
ในกาลต่อมา มีการอธิบายธรรมประเภทอาจริยวาท คือ ถือตามที่อาจารย์
ของตนสอนไว้ กับอัตโนมติ ว่าไปตามมติของตนกันมากขึ้น ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะ
พระคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่เป็นหลักสำคัญ คือ พระไตรปิฎก และอรรถกถามี
ไม่แพร่หลายอรรถกถาส่วนมากยังเป็นภาษาบาลี คนมีฉันทะในภาษาบาลี
น้อยลง สำนวนภาษาบาลีที่แปลออกมาแล้วยากต่อการทำความเข้าใจของคนที่ไม่ได้
ศึกษามาก่อน ขาดกัลยาณมิตรที่เป็นสัตบุรุษในพระพุทธศาสนาเป็นต้น
การอธิบายธรรมที่เป็นผลจากการตรัสรู้ ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น
เป็นอันตรายมาก เพราะโอกาสที่จะเข้าใจผิด พูดผิด ปฏิบัติผิดมีได้ง่าย
พระไตรปิฎกเป็นเหมือนรัฐธรรมนูญ กฎหมายทั่วไป
จะขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้ฉันใด การอธิบายธรรมขัดแย้งกับ
พระไตรปิฎกพุทธศาสนิกชนที่ดี ย่อมถือว่าทำไม่ได้เช่นเดียวกันฉันนั้น
เพื่อให้พระพุทธวจนะอันปรากฏในพระไตรปิฎก แพร่หลายออกมา
ในรูปภาษาไทย และให้เกิดความรู้ความเข้าใจพระพุทธศาสนา ตรงตามหลัก
ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และที่พระอรรถกถาจารย์อธิบาย
ไว้ จะได้เกิดทิฏฐิสามัญญตา ความเสมอกันในด้านทิฐิ และ สีลสามัญญตา
ความเสมอกันในด้านศีล ของชาวพุทธทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์
มหามกุฏราชวิทยาลัยจึงได้จัดให้มีการแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาขึ้น
โดยมีหลักการในการดำเนินงานดังต่อไปนี้ คือ
๑. นำเอาพระสูตรและอรรถกถาแห่งพระสูตรนั้นๆ มาพิมพ์เชื่อม
ต่อกันไป เพื่อช่วยให้ท่านที่ไม่เข้าใจข้อความในพระสูตร สามารถหา
คำตอบได้จากอรรถกถาในเล่มเดียวกัน
๒. เนื่องจากพระวินัยปิฎกเป็นเรื่องของพระภิกษุสามเณรโดยเฉพาะ
อรรถกถาพระวินัยได้แปลกัน มากแล้ว พระอภิธรรมปิฎกก็ได้แปลแพร่หลายแล้ว
พร้อมทั้งอรรถกถา แต่มีการศึกษากันในวงจำกัด การทำงานในคราวแรก จึงเริ่มที่
พระสุตตันตปิฎกก่อน โดยเรียงตามลำดับนิกาย
๓. ในการแปลนั้นกำหนดให้ข้อความเป็นภาษาไทยมากที่สุด
ในขณะเดียวกันต้องมองเห็นศัพท์ภาษาบาลีด้วย เพื่อช่วยให้คนที่ไม่
ศึกษาภาษาบาลีอ่านเข้าใจและนักศึกษาภาษาบาลีได้หลักในการสอบทาน
เทียบเคียง

๔. คณะกรรมการผู้ทำงานได้คัดเลือกท่านที่มีความชำนิชำนาญในภาษาบาลี
มีความรักงาน มีความเสียสละ พร้อมที่จะทำงาน เพื่อเป็นพุทธบูชา
๕. ผลงานที่จะพิมพ์ขึ้นมาตามลำดับนั้น พยายามหาผู้ใจบุญช่วย
เสียสละรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพใน การพิมพ์แต่ละเล่ม เมื่อพิมพ์เสร็จแล้ว
จัดจำหน่ายด้วยราคาเกินทุนที่ใช้พิมพ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อให้ผู้มี
ความสนใจทั่วๆ ไป สามารถซื้อหาไปอ่านได้
งานเหล่านี้จะดำเนินไปโดยลำดับ ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาของท่าน
ที่เห็นผลประโยชน์จากงานนี้จะให้การสนับสนุน
มหามกุฎราชวิทยาลัยหวังว่า งานแปลพระไตรปิฎก อรรถกถา
และปริวรรตอรรถกถาแต่ละเล่ม คงอำนวยประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนา
พระภิกษุ สามเณร ท่านพุทธศาสนิกชนผู้สนใจในหลักธรรม
และคงเป็นถาวรกรรมอันอำนวยประโยชน์ได้นานแสนนาน
งานในคราวแรกนี้ อาจจะมีความผิดพลาดบกพร่องอยู่บ้าง ซึ่งหวังว่า
คงได้รับความเมตตากรุณาชี้แนะจากท่านผู้รู้ทั้งหลาย เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้มี
ความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นในโอกาสต่อไป มหามกุฎราชวิทยาลัย ต้องการให้
พระคัมภีร์เล่มนี้ เป็นอนุสรณ์เนื่องในวโรกาสครบ 200 ปี แห่งพระราชวงศ์จักรี
กรุงรัตนโกสินทร์อีกด้วย ขออานุภาพแห่งพระรัตนตรัย ได้ดลบันดาลให้ท่าน
ผู้สนับสนุนในการแปล ปริวรรต ให้ทุน พิมพ์และจัดซื้อพระคัมภีร์แปลเล่มนี้
และเล่มอื่นๆ จงประสบความเจริญในธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงประกาศไว้ดีแล้วโดยทั่วกัน.
มหามกุฎราชวิทยาลัย
๒๕๒๗

หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 1 (เล่ม 1)

พระวินัยปิฎก
เล่ม ๑
มหาวิภังค์ ปฐมภาค
ขอน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เวรัญชภัณฑ์
เรื่องเวรัญชพราหมณ์
[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ
ควงไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิตเขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป เวรัญชพราหมณ์ได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่านผู้เจริญ
พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล ประทับอยู่ ณ บริเวณ
ต้นไม้สะเดาที่นเฬรุยักษ์สิงสถิต เขตเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๕๐๐ รูป ก็แลพระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้น
ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นพระอรหันต์แม้
เพราะเหตุนี้ ทรงตรัสรู้เองโดยชอบแม้เพราะเหตุนี้ทรงบรรลุวิชชาและจรณะ
แม้เพราะเหตุนี้ เสด็จไปดีแม้เพราะเหตุนี้ ทรงทราบโลกแม้เพราะเหตุนี้
ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่าแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นศาสดา
ของเทพและมนุษย์ ทั้งหลายแม้เพราะเหตุนี้ ทรงเป็นพุทธะแม้เพราะเหตุนี้
ทรงเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เพราะเหตุนี้ พระองค์ทรงทําโลกนี้พร้อมทั้ง

1
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 2 (เล่ม 1)

เทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เอง
แล้วทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพ และมนุษย์ให้รู้ ทรง
แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง การเห็น
พระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี
เวรัญชพราหมณ์กล่าวตู่พระพุทธเจ้า
[๒] หลักจากนั้น เวรัญชพราหมณ์ได้ไปในพุทธสํานัก ครั้นถึงแล้ว
ได้ทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการทูลปราศรัยพอให้เป็นที่
บันเทิงเป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เวรัญชพราหมณ์
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลคํานี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่าน
พระโคดม ข้าพเจ้าได้ทราบมาว่า พระสมณโคดมไม่ไหว้ ไม่ลุกรับพวก
พราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงการผ่านวัยมาโดยลําดับ หรือไม่เชื้อเชิญ
ด้วยอาสนะ ข้อที่ข้าพเจ้าทราบมานี้นั้นเป็นเช่นนั้นจริง อันการที่ท่านพระโคดม
ไม่ไหว้ไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่ ผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ผู้ล่วงกาลผ่านวัยมา
โดยลําดับ หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะนี้นั้น ไม่สมควรเลย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ในโลก ทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทพ และมนุษย์
เราไม่เล็งเห็นบุคคลที่เราควรไหว้ ควรลุกรับ หรือควรเชื้อเชิญด้วยอาสนะ
เพราะว่าตถาคตพึงไหว้ พึงลุกรับ หรือพึงเชื้อเชิญบุคคลใดด้วยอาสนะ แม้
ศีรษะของบุคคลนั้นก็พึงขาดตกไป.
ว. ท่านพระโคดมมีปกติไม่ไยดี

2
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 3 (เล่ม 1)

ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม
มีปกติไม่ไยดี ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะความไยดีในรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทําให้เป็นเหมือน
ตาลยอดด้วน ทําไม่ให้มีภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล
เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมมีปกติไม่ไยดี ดังนี้ชื่อว่ากล่าวถูก
แต่ไม่ใช้เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว
ว. ท่านพระโคดมไม่มีสมบัติ.
ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม
ไม่มีสมบัติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะสมบัติ คือ รูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะเหล่านั้น ตถาคตละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทําให้เป็นเหมือน
ตาลยอดด้วย ทําไม่ให้มีภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล
เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมไม่มีสมบัติ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่
ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
ว. ท่านพระโคดมกล่าวการไม่ทํา.
ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม
กล่าวการไม่ทํา ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวการไม่ทํากายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวการไม่ทําสิ่งที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แล
เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวการไม่ทํา ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก
แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว
ว. ท่านพระโคดมกล่าวความขาดสูญ.
ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม
กล่าวความขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวความขาดสูญแห่ง

3
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 4 (เล่ม 1)

ราคะ โทสะ โมหะ เรากล่าวความขาดสูญแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง
นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมกล่าวความขาดสูญ ดังนี้ ชื่อว่า
กล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว
ว. ท่านพระโคดมช่างรังเกียจ.
ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม
ช่างรังเกียจ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรารังเกียจกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต เรารังเกียจความถึงพร้อมแห่งสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง
นี้แลเหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างรังเกียจ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก
แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว
ว. ท่านพระโคดมช่างกําจัด
ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม
ช่างกําจัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกําจัด ราคะ โทสะ
โมหะ แสดงธรรมเพื่อกําจัดสภาพที่เป็นบาปอกุศลหลายอย่าง นี้แลเหตุที่
เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างจำกัด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่
เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
ว. ท่านพระโคดมช่างเผาผลาญ
ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม
ช่างเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะเรากล่าวธรรมที่เป็นบาปอกุศล
คือกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นธรรมที่ควรเผาผลาญ ธรรมที่
เป็นบาปอกุศลซึ่งควรเผาผลาญ อันผู้ใดละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทําให้เป็น
เหมือนตาลยอดด้วน ทําไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา
เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคนช่างเผาผลาญพราหมณ์ ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาป-

4
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 5 (เล่ม 1)

อกุศล ซึ่งควรเผาผลาญ ตถาคตละได้แล้ว ตักรากขาดแล้ว ทําให้เป็น
เหมือนตาลยอดด้วน ทําไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา
นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดมช่างเผาผลาญ ดังนี้ ชื่อว่า
กล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว
ว. ท่านพระโคดมไม่ผุดเกิด.
ภ. มีอยู่จริง ๆ พราหมณ์ เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า พระสมณโคดม
ไม่ผุดเกิดดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก เพราะการนอนในครรภ์ต่อไป การเกิดใน
ภพใหม่ อันผู้ใดละได้แล้วแล้ว ตัดรากขาดแล้วทําให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน
ทําไม่ให้มีในภายหลัง มีไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นคน
ไม่ผุดเกิด พราหมณ์ การนอนในครรภ์ต่อไปการเกิดในภพใหม่ ตถาคต
ละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทําให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วนทําไม่ให้มีใน
ภายหลัง มีไม่เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี้แล เหตุที่เขากล่าวหาเราว่า
พระสมณโคดมไม่ผุดเกิด ดังนี้ ชื่อว่ากล่าวถูก แต่ไม่ใช่เหตุที่ท่านมุ่งกล่าว.
ทรงอุปมาด้วยลูกไก่
[๓] ดูก่อนพราหมณ์ เปรียบเหมือนฟองไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ
๑๒ ฟอง ฟองไก่เหล่านั้น อันแม่ไก่พึงกกดีแล้ว อบดีแล้ว ฟักดีแล้ว บรรดา
ลูกไก่เหล่านั้น ลูกไก่ตัวใดทําลายกระเปาะฟอง ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วย
จะงอยปากออกมาได้โดยสวัสดีก่อนกว่าเขา ลูกไก่ตัวนั้นควรเรียกว่ากระไร
จะเรียกว่าพี่หรือน้อง.
ว. ท่านพระโคดม ควรเรียกว่าพี่ เพราะมันแก่กว่าเขา.

5
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 6 (เล่ม 1)

ทรงแสดงฌานสี่และวิชชาสาม
ภ. เราก็เหมือนอย่างนั้นแล พราหมณ์ เมื่อประชาชนผู้ตกอยู่ใน
อวิชชาเกิดในฟอง อันกระเปาะฟองหุ้มห่อไว้ ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทําลาย
กระเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม
เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะความเพียรของเราที่
ปรารภแล้วแล ไม่ย่อหย่อน สติดํารงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับ-
กระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.
ปฐมฌาน
เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุ
ปฐมฌานมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่.
ทุติยฌาน
เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตฯ ภายใน เป็นธรรมเอก
ผุดขึ้นไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิด
แต่สมาธิอยู่.
ตติยฌาน
เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะ
ปีติสิ้นไป ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา
มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้.
จตุตถฌาน
เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และ
ดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

6
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 7 (เล่ม 1)

บุพเพนิวาสานุสติญาณ
เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิต
ไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสติญาณ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ
ระลึกชาติได้หนึ่งชาติบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง
สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติ ห้าสิบชาติบ้าง
ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ว่า
ตลอดวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัลป์เป็นอันมากบ้าง ว่า
ในภพนั้นเราได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร
อย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพ
นั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพโน้นนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขทุกข์อย่าง
นั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพโน้นนั้นแล้ว ได้มาเกิดใน
ภพนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ พร้อมทั้งอาการ
ด้วยประการฉะนี้ พราหมณ์ วิชชาที่หนึ่งนี่แล เราได้บรรลุแล้วในปฐมยาม
แห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่การแล้ว ความมืด เรา
กำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท
มีความเพียร เผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ฉะนั้น ความชำแรกออกครั้งที่หนึ่ง
ของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกระเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.
จุตูปปาตญาณ
เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิต

7
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 8 (เล่ม 1)

ไปเพื่อญาณ เครื่องรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเล็งเห็น
หมู่สัตว์ผู้กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม
ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพย์จักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
ผู้เข้าถึงตามกรรมว่า หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทํา
ด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอย่างเหล่านั้น เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป
เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก หรือว่าหมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านี้ ประกอบ
ด้วยการสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ
ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ หมู่สัตว์ผู้เกิดเป็นอยู่เหล่านั้น เบื้องหน้า
แต่แตกกายตายไป เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เราย่อมเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้กําลังจุติ
กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เข้าถึงตาม
กรรมด้วยประการดังนี้ พราหมณ์ วิชาที่สองนี้แล เราได้บรรลุแล้วใน
มัชฌิมยามแห่งราตรี อวิชชาเรากําจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืด
เรากําจัดได้แล้วแสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ฉะนั้น ความชําแรกออกครั้งที่สองของ
เรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทําลายออกจากกระเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.
อาสวักขยญาณ
เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจาก
อุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิต
ไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตาม
เป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ได้รู้ชัด

8
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 9 (เล่ม 1)

ตามเป็นเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้
อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า
นี้ความดับอาสวะได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ
เมื่อเรานั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ
ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิต
หลุดพ้นแล้วได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่า ชาติ
สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําได้ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้มิได้มี พราหมณ์ วิชชาที่สามนี้แล เราได้บรรลุแล้วใน
ปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากําจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืด
เรากําจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท
มีความเพียรเผากิเลส ส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชําแรกออกครั้งที่สาม
ของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทําลายออกจากกระเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น.
เวรัญชพราหมณ์แสดงตนเป็นอุบาสก
[๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เวรัญชพราหมณ์ได้ทูล
คํานี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดมเป็นผู้เจริญที่สุด ท่านพระโคดม
เป็นผู้ประเสริฐที่สุด ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก
ภาษิตของพระองค์ไพเราะนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย
อย่างนี้ เปรียบเหมือบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่เปิดบอกทางแก่คน
หลงทางหรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปดังนี้
ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดม พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ
พระองค์จงทรงจําข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จําเดิมแต่วันนี้

9
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๑ – หน้าที่ 10 (เล่ม 1)

เป็นต้นไป และขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์จงทรงรับอาราธนาอยู่จําพรรษา
ที่เมืองเวรัญชาของข้าพเจ้าเถิด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาด้วยพระอาการดุษณี ครั้นเวรัญช-
พราหมณ์ทราบการรับอาราธนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้ลุกจากที่นั่ง
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทําประทักษิณหลีกไป.
เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย
[๕] ก็โดยสมัยนั้นแลเมืองเวรัญชา มีภิกษาหารน้อย ประชาชน
หาเลี้ยงชีพฝืดเคือง มีกระดูกคนตายขาวเกลื่อน ต้องมีฉลากซื้ออาหาร
ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหา ก็ทําไม่ได้ง่าย ครั้งนั้น
พวกพ่อค้าม้าชาวอุตราปถะมีม้าประมาณ ๕๐๐ ตัว ได้เข้าพักแรมตลอดฤดูฝน
ในเมืองเวรัชญา พวกเขาได้ตกแต่งข้าวแดงสําหรับภิกษุรูปละแล่งไว้ที่คอกม้า
เวลาเช้าภิกษุทั้งหลายครองอันตรวาสกแล้วถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตใน
เมืองเวรัญชา เมื่อไม่ได้บิณฑบาต จึงเที่ยวไปบิณฑบาตที่คอกม้า รับข้าวแดง
รูปละแล่งนําไปสู่อารามแล้วลงครกโขลกฉัน ส่วนท่านพระอานนท์บดข้าวแดง
แล่งหนึ่งที่ศิลา แล้วน้อมเข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ เสวยพระกระ-
ยาหารที่บดถวายนั้นอยู่ได้ทรงสดับเสียงครกแล้ว.
พระพุทธประเพณี
พระตถาคตทั้งหลายทรงทราบอยู่ ย่อมตรัสถามก็มี ทรงทราบอยู่
ย่อมไม่ตรัสถามก็มี ทรงทราบกาลแล้วตรัสถาม ทรงทราบกาลแล้วไม่ตรัสถาม
พระตถาคตทั้งหลายย่อมตรัสถามสิ่งที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ตรัสถามสิ่งที่
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พระตถาคตทั้งหลายทรงจำกัดสิ่งที่ไม่ประกอบด้วย

10