No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 719 (เล่ม 67)

เห็นแล้วดับไป. จากนั้นวิปากมโนธาตุเกิดขึ้นให้สำเร็จ สัมปฏิจฉนกิจ
คือทำหน้าที่รับแล้วดับไป. จากนั้นวิบากมโนวิญญาณธาตุอันเป็นอเหตุกะ
เกิดขึ้นให้สำเร็จ สันตีรณกิจ คือท่าหน้าที่พิจารณาแล้วดับไป. จากนั้น
กิริยามโนวิญาณธาตุอันเป็นอเหตุกะเกิดขึ้น ยัง โวฏฐัพพนกิจ คือการ
ตัดสินอารมณ์ให้สำเร็จแล้วดับไป, ในลำดับนั้นชวนจิตย่อมแล่นไป. แม้
ในขณะนั้นความสำรวมหรือไม่สำรวมย่อมไม่มีในสมัยแห่งภวังคจิต ย่อมไม่
มีในสมัยแห่งจิตทั้งหลายมีอาวัชชนจิตเป็นต้น ในสมัยใดสมัยหนึ่ง แต่
ในขณะแห่งชวนจิต หากว่าความเป็นผู้ทุศีลก็ดี ความเป็นผู้หลงลืมสติก็ดี
ความไม่รู้ก็ดี ความไม่อดทนก็ดี ความเกียจคร้านก็ดี ย่อมเกิดขึ้น ความ
สำรวมย่อมมีไม่ได้. ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ ผู้นั้นท่านกล่าวว่าเป็นผู้ไม่สำรวม
ในจักขุนทรีย์. เพราะเหตุไร. เพราะเมื่อความไม่สำรวมนั้นมีอยู่ ทวาร
ก็ดี ภวังตจิตก็ดี วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนะเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันไม่
สำรวมแล้ว. เปรียบเหมือนอะไร. เปรียบเหมือนเมื่อประตู ๔ ด้านใน
พระนครไม่ปิด ถึงจะปิดเรือนประตูซุ้มและห้องภายในเป็นต้นก็ดี ฉันใด
ถึงอย่างนั้นสิ่งของทั้งหมดภายในพระนครก็เป็นอันเขาไม่รักษา ไม่คุ้มครอง
เหมือนกัน เพราะโจรทั้งหลายเข้าไปทางประตูพระนคร ย่อมฉกฉวยเอา
สิ่งที่ต้องการไปได้ ฉันใด เมื่อความทุศีลเป็นต้นเกิดขึ้นแล้วในชวนจิต
เมื่อความไม่สำรวมนั้น มีอยู่ ทวารก็ดี ภวังค์ก็ดี วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชน-
จิตเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันบุคคลนั้นไม่สำรวมแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน
พึงทราบความในบทมีอาทิว่า จกฺขุนา รูปํ ทิสฺวา น นิมิตฺตคฺคาหี
โหติ ดังต่อไปนี้.
บทว่า น นิมิตฺตคฺคาหี โหติ ไม่ถือนิมิต คือไม่ถือนิมิตดังกล่าว

719
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 720 (เล่ม 67)

แล้วด้วยอำนาจแห่งฉันทราคะ. พึงทราบแม้บทที่เหลือ โดยนัยตรงกัน
ข้ามกับที่กล่าวแล้ว ด้วยประการฉะนี้.
เหมือนอย่างว่า คำที่กล่าวไว้แล้วในหนหลังว่า เมื่อความทุศีลเกิดขึ้น
แล้วในชวนะ เมื่อความไม่สำรวมนั้น มีอยู่ ทวารก็ดี ภวังค์ก็ดี วิถีจิตทั้งหลาย
มีอาวัชชนจิตเป็นต้นก็ดี เป็นอันตนไม่ได้สำรวมแล้ว ฉันใด เมื่อศีล
เป็นต้นบังเกิดขึ้นแล้ว ในชวนจิตนั้น ทวารก็ดี ภวังคจิตก็ดี วิถีจิต
อันมีอาวัชชนะเป็นต้นก็ดี ย่อมเป็นอันตนคุ้มครองแล้วเหมือนกัน.
เปรียบเหมือนอะไร. เปรียบเหมือนเมื่อประตูพระนครรักษา (ปิด) แล้ว
ถึงแม้เรือนภายในเป็นต้นไม่รักษา (ไม่ปิด) ก็จริง ถึงกระนั้นสิ่งของ
ทั้งหมดในภายในพระนคร ก็ย่อมเป็นอันรักษาดีแล้ว คุ้มครองดีแล้วทีเดียว
เพราะเมื่อประตูพระนครปิด พวกโจรก็เข้าไปไม่ได้ฉันโด เมื่อศีลเป็นต้น
บังเกิดขึ้นแล้วในชวนะ ทวารก็ดี ภวังค์ก็ดี วิถีจิตทั้งหลายมีอาวัชชนจิต
เป็นต้นก็ดี เป็นอันตนคุ้มครองแล้วฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น
ความสำรวมแม้เกิดขึ้นในชนะชวนจิต ก็ชื่อว่าความสำรวมในจักขุนทรีย์.
บทว่า อวสฺสุตปริยายญฺจ คือ อวัสสุตปริยายว่าด้วยเหตุแห่ง
การชุ่มด้วยกิเลสทั้งหลาย. บทว่า อนวสฺสุตปริยายญฺจ คือ อนวัสสุต-
ปริยายสูตรว่าด้วยเหตุแห่งการไม่ชุ่มด้วยกิเลสทั้งหลาย.
บทว่า ปิยรูเป รูเป ย่อมยินดีในรูปอันเป็นรูปที่น่ารัก คือใน
รูปารมณ์อันน่าปรารถนา. บทว่า อปฺปิยรูเป รูเป ย่อมยินร้ายในรูปอัน
เป็นในรูปที่ไม่น่ารัก คือในรูปารมณ์อันมีสภาวะที่ไม่น่าปรารถนา. บทว่า
พฺยาปชฺชติ ย่อมยินร้าย คือถึงความเน่าด้วยอำนาจโทสะ. บทว่า โอตารํ
ได้แก่ ช่องคือระหว่าง. บทว่า อารมฺมณํ คือ ปัจจัย. บทว่า อภิภวึสุ

720
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 721 (เล่ม 67)

ครอบงำ คือย่ำยี. บทว่า น อภิภิว คือ ไม่ย่ำยี. บทว่า พหลมตฺติกา
มีดินหนา คือมีดินหนาพูนขึ้นด้วยการฉาบทาบ่อย ๆ. บทว่า อลฺลาว-
เลปนา มีเครื่องฉาบทาอันเปียก คือฉาบทาด้วยดินที่ไม่แห้ง. บทที่เหลือ
ในนิเทศนี้ง่ายทั้งนั้น.
จบคาถาที่ ๙
คาถาที่ ๑๐
๓๐) โอหารยิตฺวา คิหิพฺยญฺขนานิ
สญฺฉินฺนปตฺโต ยถา ปาริฉตฺโต
กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละเพศแห่งคฤหัสถ์ นุ่งห่มผ้า
กาสายะออกบวช ดุจต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.
บทว่า กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตวา ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกบวช
พึงทราบความของบทนี้อย่างนี้ว่า ออกจากเรือนแล้วครองผ้ากาสายะ.
บทที่เหลือสามารถรู้ได้โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่ ๑๐
จบอรรถกถาตติยวรรค

721
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 722 (เล่ม 67)

H1>อรรถกถาจตุตถวรรค
คาถาที่ ๑
๓๑ ) รเสสุ เคธํ อกรํ อโลโล
อนญฺญโปสี สปทานจารี
กุเล กุเล อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่กระทำความติดใจรส
ทั้งหลาย ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้โลเล ไม่เลี้ยงผู้อื่น มี
ปกติเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ผูกพันใน
ตระกูล พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑ แห่งจตุตถวรรค ดังต่อไปนี้
บทว่า รเสสุ ในรสทั้งหลาย คือในของควรลิ้มมีรสเปรี้ยว หวาน
ขม เผ็ด เค็ม เฝื่อน ฝาด เป็นต้น. บทว่า เคธํ อกรํ ไม่ทำความติดใจ
คือไม่ทำความติดใจ คือความพอใจ. ท่านอธิบายว่า ไม่ให้ตัณหาเกิดขึ้น
บทว่า อโลโล ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้โลเล คือไม่วุ่นวายในรสวิเศษ
อย่างนี้ว่า เราจักลิ้มรสนี้ ดังนี้.
บทว่า อนญฺญโปสี ไม่เลี้ยงผู้อื่น คือไม่มีสัทธิวิหาริกที่จะต้อง
เลี้ยงเป็นต้น. ท่านอธิบายว่า ยินดีเพียงทรงกายอยู่ได้. อีกอย่างหนึ่ง
ท่านแสดงว่า แมลงผึ้งซึ่งติดในรสทั้งหลาย (ของดอกไม้) ในอุทยานใน
กาลก่อน เป็นผู้มีตัณหา เลี้ยงดูผู้อื่น (คือลูกอ่อนในรัง) ฉันใด พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่เป็นเช่นนั้น ละตัณหาอันเป็นเหตุให้โลเล ทำความ

722
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 723 (เล่ม 67)

ติดในรสทั้งหลายเสียได้ เป็นผู้ไม่เลี้ยงผู้อื่น เพราะไม่ให้เกิดอัตภาพอื่น
อันมีตัณหาเป็นมูลต่อไป.
อีกอย่างหนึ่ง กิเลสทั้งหลายท่านเรียกว่า ผู้อื่น เพราะอรรถว่า
หักรานประโยชน์ อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าไม่เลี้ยงผู้อื่น
เพราะไม่เลี้ยงกิเลสเหล่านั้น. บทว่า สปทานจารี เที่ยวไปตามลำดับตรอก
คือไม่เที่ยวแวะเวียน คือเที่ยวไปตามลำดับ. อธิบายว่า ไม่ทิ้งลำดับเรือน
เข้าไปบิณฑบาตตามลำดับทั้งตระกูลมั่งคั่งและตระกูลยากจน. บทว่า กุเส
กุเล อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต มีจิตไม่ผูกพันในตระกูล ความว่า มีจิตไม่
เกี่ยวข้องด้วยอำนาจกิเลสในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง บรรดาตระกูลกษัตริย์
เป็นต้น. เปรียบเหมือนพระจันทร์ใหม่อยู่เป็นนิจ. บทที่เหลือมีนัย
ดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่
คาถาที่ ๒
๓๒) ปหาย ปญฺจาวรณานิ เจตโส
อุปกฺกเลเส พฺยปนุชฺช สพฺเพ
อนิสฺสิโต เฉตา เสฺนหโทสํ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ละ ธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต ๕
อย่าง บรรเทาอุปกิเลสทั้งปวง ผู้อันทิฏฐิไม่อาศัย ตัด
ความรักและควานชังได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.

723
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 724 (เล่ม 67)

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้
บทว่า อาวรณานิ เครื่องกั้นจิต คือนิวรณ์นั่นเอง. นิวรณ์
เหล่านั้นท่านกล่าวไว้แล้วในอุรตสูตรโดยอรรถ. แต่เพราะนิวรณ์เหล่านั้น
กั้นจิต ดุจหมอกเป็นต้นบังดวงจันทร์หรือดวงอาทิตย์ฉะนั้น ฉะนั้น ท่าน
จึงกล่าวว่าเป็นเครื่องกั้นจิต. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละนิวรณ์เหล่านั้นได้
ด้วยอุปจาระหรือด้วยอัปปนา. บทว่า อุปกฺกิเลเส กิเลสเครื่องเศร้า-
หมองจิต คืออกุศลธรรมอันเข้าไปเบียดเบียนจิต หรืออภิชฌาเป็นต้น-
ดังได้ตรัสไว้แล้วในวัตโถปมสูตรเป็นต้น
บทว่า พฺยปนุชฺช สลัดเสียแล้ว คือบรรเทา บรรเทาวิเศษ
ละด้วยวิปัสสนาและมรรค. บทว่า สพฺเพ คือ กิเลสไม่มีส่วนเหลือ
ท่านอธิบายว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยสมถะและวิปัสสนา ชื่อว่าเป็นผู้อันตัณหา
และทิฏฐิไม่อาศัย เพราะละทิฏฐินิสัยด้วยปฐมมรรค ตัดโทษคือความ
เยื่อใย คือตัณหาราคะอันไปแล้วในโลกธาตุทั้งสาม ด้วยมรรคที่เหลือ
ด้วยว่าความเยื่อใยเท่านั้น ท่านเรียกว่า เสฺนหโทโส เพราะเป็นปฎิปักษ์
กับคุณธรรม. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่ ๒
คาถาที่ ๓
๓๓) วิปิฏฺฐิกตฺวาน สุขํ ทุกฺขญฺจ
ปุพฺเพว จ โสมนสฺสโทมนสฺสํ
ลทฺธานุเปกฺขํ สมถํ วิสุทธํ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

724
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 725 (เล่ม 67)

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ละสุข ทุกข์ โสมนัสและ
โทมนัสในกาลก่อนแล้ว ได้อุเบกขาและสมถะอันบริสุทธิ์
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๓ ดังต่อไปนี้.
บทว่า วิปิฏฺฐิกตฺวาน ละแล้ว คือละทิ้งไว้ข้างหลัง. บทว่า สุขญฺจ
ทุกฺขํ คือ ความยินดียินร้ายทางกาย. บทว่า โสมนสฺสโทมนสฺสํ คือ
ความยินดียินร้ายทางใจ. บทว่า อุเปกฺขํ คือ อุเบกขาในจตุตถฌาน.
บทว่า สมถํ คือ สมถะในจุตตถฌานนั่นเอง. บทว่า วิสุทฺธํ ความว่า
ชื่อว่าหมดจดอย่างยิ่ง เพราะพ้นจากธรรมเป็นข้าศึก ๙ ประการ คือ
นิวรณ์ ๕ วิตก วิจาร ปีติ สุข อธิบายว่า ปราศจากอุปกิเลส ดุจทองคำ
ที่หลอมดีแล้วนั่นเอง. ส่วนโยชนาแก้ไว้ดังนี้. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละสุข
และทุกข์ก่อน ๆ แล้ว อธิบายว่า ละทุกข์ในภูมิอัน เป็นอุปจารแห่ง
ปฐมฌาน และสุขในภูมิอันเป็นอุปจารแห่งตติยฌาน. นำ จ อักษร
ที่กล่าวไว้ข้างต้นไปไว้ข้างหลัง ได้รูปเป็นดังนี้ โสมนสฺสํ โทมนสฺสญฺจ
วิปิฏฐิกตฺวาน ปุพฺเพว ละโสมนัสและโทมนัสก่อน ๆ แล้ว. ด้วยบทนั้น
ท่านแสดงว่า โสมนัสในภูมิอัน เป็นอุปจารแห่งจุจจถฌาน โทมนัสในภูมิ
เป็นอุปจารแห่งทุติยฌาน. จริงอยู่ ฌานเหล่านี้เป็นฐานะแห่งการละทุกข
สุขโทมนัสโสมนัสเหล่านั้นโดยปริยาย แต่โดยตรง ปฐมฌานเป็นฐาน
ละทุกข์ ทุติยฌานเป็นฐานละโทมนัส ตติยฌานเป็นฐานละสุข จตุตถฌาน
เป็นฐานละโสมนัส. เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า
ภิกษุเข้าถึงปฐมฌานอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดในปฐมฌานนี้ย่อมดับไปโดย
ไม่มีเหลือ. พึงถือเอาบททั้งหมดนั้นตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังต่อไป.

725
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 726 (เล่ม 67)

บทว่า ปุพฺเพว ก่อน ๆ คือละทุกข์โทมนัสและสุขได้ในฌานทั้งสามมี
ปฐมฌานเป็นต้น แล้วละโสมนัสในจตุตถฌานนี้ ได้อุเบกขาและสมถะ
อันหมดด้วยปฏิปทานี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว
นั่งเอง.
จบคาถาที่ ๓
คาถาที่ ๔
๓๔) อารทฺธวิริโย ปรมตฺถปตฺติยา
อลีนจตฺโต อกุสีตวุตฺตี
ทฬฺหนิกฺกโม ถามพลูปปนฺโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธจ้าปรารภความเพียร เพื่อบรรลุ
ปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความประพฤติไม่
เกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่นคง ถึงพร้อมด้วยกำลังกาย
และกำลังญาณ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๔ ดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า อารทฺธวิริโย เพราะมีความเพียรอัน ปรารภแล้ว. ด้วยบทนี้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงความเพียรเบื้องต้น เริ่มด้วยวิริยะของตน.
นิพพานท่านกล่าวว่าปรมัตถ์ เพื่อถึงนิพพานนั้น ชื่อว่าเพื่อถึงปรมัตถ์.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงผลที่ควรบรรลุ ด้วยการเริ่มความเพียรนั้น.
ด้วยบทว่า อลีนจิตฺโต มีจิตมิได้ย่อหย่อน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดง

726
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 727 (เล่ม 67)

ถึงความที่จิตและเจสิกทั้งหลายอันเกื้อหนุนวิริยะไม่ย่อหย่อน. ด้วยบทว่า
อกุสีตวุตฺติ มีความประพฤติไม่เกียจคร้าน พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึง
ความที่กายไม่จมอยู่ในที่ยืนที่นั่งและที่จงกรมเป็นต้น. ด้วยบทว่า ทฬฺห-
นิกฺกโม มีความพยายามมั่นคงนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงการตั้งความ
เพียรอันเป็นไปอย่างนี้ว่า กามํ ตโจ นหารุ จ แม้เลือดเนื้อจะเหือด
แห้งไป เหลือแต่หนังและกระดูกก็ตามที ดังนี้เป็นต้น. ท่านกล่าวว่า เริ่ม
ในอนุปุพพสิกขาเป็นต้น กระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจทางกาย. อีกอย่าง
หนึ่ง ด้วยบทนี้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงความเพียรอันสัมปยุตด้วย
มรรค. ชื่อว่ามีความเพียร เพราะถึงความบริบูรณ์ในการเจริญภาวนา
อย่างมั่นคง และเพราะออกจากฝ่ายตรงกันข้ามโดยประการทั้งปวง.
เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทฬฺหปรกฺกโม เพราะเป็นผู้มีความพร้อม
เพรียงด้วยธรรมนั้น มีความเพียรมั่นคง. บทว่า ถามพลูปปนฺโน เข้า
ถึงด้วยเรี่ยวแรงและกำลัง คือเกิดขึ้นด้วยเรี่ยวแรงทางกาย และด้วยกำลัง
ญาณในขณะแห่งมรรค. อีกอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นด้วยกำลังอันเป็นเรี่ยวแรง
ชื่อว่า ถามพลูปปนฺโน. ท่านอธิบายว่า เกิดด้วยกำลังคือญาณอันมั่นคง
ด้วยบทนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเมื่อแสดงถึงการประกอบพร้อมด้วยญาณ
แห่งวิริยะนั้น จึงยังความเพียรโดยแยบคายให้สำเร็จ. พึงประกอบบท
ทั้งหลายแม้ ๓ บทด้วยอำนาจแห่งความเพียร อันเป็นส่วนเบื้องต้น
ท่ามกลางและอุกฤษฏ์. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
คาถาที่ ๔

727
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 728 (เล่ม 67)

คาถาที่ ๔
๓๕) ปฏิสลฺลานํ ณานมริญฺจนาโน
ธมฺเมส นิจฺจํ อนุธมฺมารี
อาทีนวํ สมฺมสิตา ภเวสุ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มี
ปกติประพฤติธรรม อันสมควรเป็นนิตย์ในธรรมทั้งหลาย
พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๕ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ปฏิสลฺลานํ คือ การไม่กลับเข้าไปหาสัตว์และสังขารเหล่า
นั้น ๆ หลีกเร้น อยู่. อธิบายว่า ความเป็นผู้เดียวเพราะเสพเฉพาะตนผู้เดียว
ชื่อว่า กายวิเวก. บทว่า ฌานํ ท่านเรียกว่า จิตตวิเวก เพราะเผา
ธรรมเป็นข้าศึกและเพราะเพ่งอารมณ์และลักษณะ. ในบทนั้น สมาบัติ ๘
ท่านเรียกว่า ฌาน เพราะเผาธรรมเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น และเพราะ
เพ่งถึงอารมณ์ วิปัสสนา มรรคและผล ท่านเรียกว่า ฌาน เพราะเผา
ธรรมเป็นข้าศึกมีสัตตสัญญาเป็นต้น และเพราะเพ่งถึงลักษณะ. แต่ในที่นี้
ประสงค์เอาการเพ่งอารมณ์เท่านั้น. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ละการหลีก
เร้นและฌานนี้ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า อริญฺจมาโน คือ ไม่ละไม่สละ. บทว่า ธมฺเมสุ คือ ใน
ธรรมมีขันธ์ ๕ เป็นต้นอันเป็นเครื่องให้เข้าถึงวิปัสสนา. บทว่า นิจฺจํ

728