No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 709 (เล่ม 67)

และเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมอันไม่เสมอ มีกายทุจริตเป็นต้น กุลบุตรผู้รักตนพึง
เว้นสหายลามกนั้น ผู้ชี้บอกความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ดังอยู่ในธรรม
ไม่เสมอ ไม่ควรเสพด้วยตนเอ ง คือด้วยอำนาจของตน ด้วยประการฉะนี้.
ท่านกล่าวว่า ก็ผิว่าเป็นอำนาจของผู้อื่น สามารถจะทำอย่างไร.
บทว่า ปสุตํ ขวนขวาย อธิบายว่า ติดอยู่ในบาปธรรมนั้น ๆ ด้วยอำนาจ
แห่งทิฏฐิ. บทว่า ปมตฺตํ คนประมาท คือผู้ปล่อยจิตไปแล้วในกามคุณ
หรือเว้นจากกุศลภาวนา. บุคคลไม่พึงเสพ คือไม่พึงคบ ได้แก่ไม่พึง
เข้าใกล้บุคคลเห็นปานนั้น โดยที่แท้พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศ ดังต่อไปนี้ บทว่า สยํ น เสเวยฺย
คือ ไม่พึงเข้าไปหาด้วยตนเอง. บทว่า สามํ น เสเวยฺย คือ ไม่พึง
เข้าไปใกล้แม้ด้วยใจ บทว่า น เสเวยฺย คือ ไม่พึงคบ. บทว่า น
นิเสเวยฺย ไม่ควรอาศัยเสพ คือไม่เข้าไปแม้ในที่ใกล้. บทว่า น
สํเสเวยฺย ไม่ควรร่วมเสพ คือพึงอยู่ให้ไกล. น ปฏิเสเวยฺย ไม่ควร
ซ่องเสพ คือหลีกไปเสีย.
จบคาภาที่ ๓
คาถาที่ ๔
๒๔) พหุสฺสตํ ธมฺมธรํ ภเชถ
มิตฺติ อุฬารํ ปฏิภาณวนฺติ
อญฺญาย อตฺถานิ วิเนยฺย กงฺขํ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

709
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 710 (เล่ม 67)

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ผู้
ทรงธรรม ผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณ ผู้รู้จักประโยชน์
ทั้งหลาย กำจัดความสงสัยได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
ในคาถาที่ ๔ มีความย่อดังนี้.
บทว่า พหุสฺสุตํ คือ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ พวก คือผู้เป็นพหูสูตใน
ปริยัติ ในพระไตรปิฎกโดยเนื้อความทั้งสิ้น ๑ และผู้เป็นพหูสูตในปฏิเวธ
เพราะแทงตลอดมรรค ผล วิชชาและอภิญญา ๑.
ผู้มีอาคมอันมาแล้ว โดยการทรงจำไว้ได้ ชื่อว่า ผู้ทรงธรรม. ส่วน
ท่านผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมอันโอฬาร ชื่อว่า
ผู้มีคุณยิ่ง.
ท่านผู้มีปฏิภาณอันประกอบแล้ว ผู้มีปฏิภาณอันพ้นแล้ว และผู้มี
ปฏิภาณทั้งประกอบแล้วทั้งพ้นแล้ว ชื่อว่า ผู้มีปฏิภาณ.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผู้มีปฏิภาณ ๓พวก คือปริยัตติปฏิภาณ ๑
ปริปุจฉาปฏิภาณ ๑ อธิคมปฏิภาณ ๑.
ผู้แจ่มแจ้งในปริยัติ ชื่อว่า ปริยัตติปฏิภาณ ผู้มีปฏิภาณในปริยัติ.
ผู้แจ่มแจ้งคำสอบถาม เมื่อเขาถามถึงอรรถ ไญยธรรม ลักษณะ
ฐานะ อฐานะ ชื่อว่า ปริปุจฉาปฏิภาณ ผู้มีปฏิภาณในการสอบถาม
ผู้แทงตลอดคุณวิเศษทั้งหลายมีมรรคเป็นต้น ชื่อว่า ปฏิเวธปฏิ-
ภาณ ผู้มีปฏิภาณในปฏิเวธ.
บุคคลควรคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ผู้ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มีปฏิภาณ
เห็นปานนั้น แค่นั้น ด้วยอานุภาพของมิตรนั้นได้รู้ประโยชน์มากมาย โดย

710
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 711 (เล่ม 67)

แยกเป็นประโยชน์คน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือ
โดยแยกเป็นประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ภพหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง
แต่นั้น กำจัดความสงสัยทำความเคลือบแคลงให้หมดไป ในฐานะแห่ง
ความสงสัยมีอาทิว่า เราได้เป็นแล้วตลอดกาลในอดีตหรือหนอ เป็นผู้
กระทำกิจทุกอย่างสำเร็จแล้วอย่างนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
จบคาถาที่ ๔
คาถาที่ ๕
๒๕) ขิฑฺฑํ รตึ กามสุขญฺจ โลเก
อนลงฺกริตฺวา อนเปกฺขมาโน
วิภูสนฏฺฐานา วิรโต สจฺจวาที
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่พอใจการเล่น ความยินดี
และกามสุขในโลกแล้ว ไม่อาลัยอยู่ เว้นจากฐานะแห่ง
การประดับ มีปกติกล่าวคำสัตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๕ ดังต่อไปนี้.
การเล่นและความยินดีได้กล่าวไว้แล้วในตอนก่อน. บทว่า กามสุขํ
คือ สุขในวัตถุกาม. จริงอยู่ แม้วัตถุกามท่านก็กล่าวว่าเป็นความสุข
โดยความเป็นวิสัยเป็นต้นของความสุข. เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า รูป

711
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 712 (เล่ม 67)

เป็นสุข ตกถึงความสุขมีอยู่ดังนี้. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่ทำความพอใจ
ซึ่งการเล่น ความยินดี และกามสุขในโอกาสโลกนี้ ไม่คำนึงอย่างนี้ว่า มี
ประการดังนี้ หรือเป็นสาระ. บทว่า อนเปกฺขมาโน ไม่อาลัย คือมี
ปกติไม่เพ่งเล็งด้วยไม่ทำความพอใจ ไม่มักได้ ไม่อยาก เว้นจากฐานะแห่ง
การประดับ เป็นผู้พูดจริง พึงเที่ยวไปผู้เดียว.
ในบทเหล่านั้น เครื่องประดับมี ๒ อย่าง คือเครื่องประดับสำหรับ
ผู้ครองเรือน มีผ้าสาฎก ผ้าโพก ดอกไม้และของหอมเป็นต้น ๑. เครื่อง
ประดับสำหรับบรรพชิต มีเครื่องแต่งร่มเป็นต้น ๑. เครื่องประดับนั้นแล
ชื่อว่าฐานะแห่งการประดับ. เพราะฉะนั้น พึงเห็นความอย่างนี้ว่า พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าเว้นจากฐานะแห่งการประดับ ด้วยวิรัติแม้ ๓ อย่าง
เป็นผู้พูดจริง เพราะพูดไม่เหลวไหล ดังนี้
จบคาถาที่ ๕
คาถาที่ ๖
๒๖) ปุตฺตญฺจ ทารํ ปิตรญฺจ มาตรํ
ธนานิ ธญฺญานิ จ พนฺธวานิ
หิตฺวาน กามานิ ยโถธิกานิ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
บุคคลละบุตร ภรรยา บิดา มารดา ทรัพย์ข้าวเปลือก
พวกพ้อง และกามซึ่งตั้งอยู่ตามส่วนแล้ว พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

712
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 713 (เล่ม 67)

บทว่า ธนานิ ได้แก่ รัตนะ มีแก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์
สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน และทองเป็นต้น .
บทว่า ธญฺญานิ ได้แก่ ธัญชาติ ๗ ชนิด คือข้าวสาลี ๑ ข้าว
เปลือก ๑ ข้าวเหนียว ๑ ข้าวละมาน ๑ ข้าวฟ่าง ๑ ลูกเดือย ๑ หญ้า
กับแก้๑ และอปรัณณชาติที่เหลือ. บทว่า พนฺธวานิ ได้แก่ พวกพ้อง
๔ ประเภท คือพวกพ้องที่เป็นญาติ ๑ พวกพ้องทางโคตร ๑ พวกพ้อง
ทางมิตร ๑ พวกพ้องทางศิลปะ ๑. บทว่า ยโถธิกานิ กามทั้งหลายตาม
ส่วน คือกามทั้งหลายตั้งอยู่ตามส่วนของตน. ๆ. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วนั้นแล.
จบคาถาที่ ๖
คาถาที่ ๗
๒๗) สงฺโค เอโส ปริตฺตเมตฺถ โสขฺยํ
อปฺปสฺสาโท ทุกฺขเมตฺถ ภิยฺโย
คณฺโฑ เอโส อิจิ ญตฺวา มติมา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
บัณฑิตทราบว่า ความเกี่ยวข้องในเวลาบริโภคเบญจ-
กามคุณนี้มีสุขน้อย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดุจหัวฝี
ดังนี้แล้ว พึงเที่ยว ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๗ ดังต่อไปนี้.
บทว่า สงฺโค เอโส กามนี้เป็นเครื่องข้อง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
แสดงถึงเครื่องอุปโภคของตน. ก็กามนั้น ชื่อว่า สงฺโค เพราะสัตว์

713
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 714 (เล่ม 67)

ทั้งหลายย่อมข้องอยู่ในกามนั้น ดุจช้างติดอยู่ในเปือกตมฉะนั้น. บทว่า
ปริตฺตเมตฺถ โสขฺยํ มีความสุขน้อย คือในเบญจกามคุณนี้มีความสุขน้อย
เพราะเป็นของต่ำทราม โดยให้เกิดความสำคัญผิดในการบริโภคกามคุณ ๕
หรือเพราะนับเนื่องในธรรมอันเป็นกามาวจร. ท่านอธิบายว่า เป็นไป
ชั่วกาลนิดหน่อย ดุจความสุขในการเห็นการฟ้อนที่สว่างแวบขึ้นจากแสง
ฟ้าแลบฉะนั้น. บทว่า อปฺปสฺสาโท ทุกขฺเมตฺถ ภิยฺโย ในกามนี้มี
ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ความว่า ในบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสุขโสมนัสใดแลเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ
๕ เหล่านี้ ความสุขโสมนัสนี้เรากล่าวว่าเป็นความยินดีของกามทั้งหลาย,
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงทุกข์โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็อะไรเล่า เป็นโทษของกามทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรใน
โลกนี้เลี้ยงชีวิตด้วยการแสดงศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง คือด้วยการนับนิ้วมือ
บ้าง ด้วยการคำนวณบ้าง เพราะเปรียบกับทุกข์นั้น ความสุขในกามคุณ
จึงชื่อว่าน้อย คือเท่าประมาณหยาดน้ำ ที่แท้ความทุกข์เท่านี้มากยิ่ง
เปรียบได้กับน้ำในสมุทรทั้งสี่ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อปฺปสฺสาโท
ทุกฺขเมตฺถ ภิยฺโย ในกามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดังนี้ บทว่า
คโฬ เอโส กามนี้เป็นดังเบ็ด ความว่า กามนี้เป็นดังเบ็ด คือกามคุณ ๕
ด้วยสามารถการแสดงความยินดีแล้วดึงมา. บทว่า อิติ ญตฺวา มติมา
ผู้มีปัญญารู้แล้ว คือบุรุษผู้มีปัญญาเป็นบัณฑิตรู้อย่างนี้แล้ว ละกามนั้น
ทั้งหมด พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
จบคาถาที่ ๗

714
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 715 (เล่ม 67)

คาถาที่ ๘
๒๘) สนฺทาลยิตฺวา สํโยชนานิ
ชาลํ เฉตฺวา สลิลมฺพุจารี
อคฺคีว ทฑฺฒํ อนิวตฺตมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย
เสีย เหมือนปลาทำลายข่าย เหมือนไฟไม่หวนกลับมาสู่
ที่ไหม้แล้ว พึงเที่ยวรูปไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบาทที่ ๒ แห่งคาถาที่ ๘ ดังต่อไปนี้.
สิ่งที่ทำด้วยด้วยท่านเรียกว่า ซาลํ ข่าย. บทว่า อมฺพุ คือ น้ำ.
ชื่อว่า อมฺพุจารี เพราะเที่ยวไปในน้ำนั้น. บทนี้เป็นชื่อของปลา. ปลา
ย่อมเที่ยวไปในน้ำ จึงชื่อว่า สลิลมฺพุจารี. ท่านอธิบายว่า เหมือนปลา
ทำลายข่ายในน้ำฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในบาทที่ ๓ ดังนี้. บทว่า ทฑฺฒํ ท่านกล่าวถึงที่
ที่ถูกไฟไหม้. อธิบายว่า ไฟที่ไหม้มิได้กลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว คือว่าไม่
กลับมาไหม้ลามในที่นั้นอีก ฉันใด พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ไม่กลับมาสู่ที่
แห่งกามคุณ ที่ไฟคือมรรคญาณไหม้แล้ว คือว่าไม่หวนกลับมาในกามคุณ
นั้นอีก ฉันนั้น. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล
คำว่า สญฺโญชนานิ มีวิเคราะห์ว่า กิเลสเหล่าใดมีอยู่แก่บุคคลใด
ก็ย่อมผูกพัน คือว่าย่อมร้อยรัดบุคคลนั้นไว้ในวัฏฏะ เพราะเหตุนั้น กิเลส
เหล่านั้นจึงชื่อว่า สังโยชน์. อนึ่ง ควรนำสังโยชน์เหล่านี้ มาตามลำดับของ
กิเลสบ้าง ตามลำดับของมรรคบ้าง คือ

715
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 716 (เล่ม 67)

กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ละได้ด้วยอนาคามิมรรค.
มานสังโยชน์ ละได้ด้วยอรหัตมรรค.
ทิฏฐิสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ สีลัพพตปรามาสสังโยชน์
ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค.
ภวราคสังโยชน์ ละได้ด้วยอรหัตมรรค.
อิสสาและมัจฉริยะ ละได้ด้วยโสดาปัตติมรรค.
กามราคสังโยชน์และปฏิฆสังโยชน์ ละได้ด้วยอนาคามิมรรค.
มานสังโยชน์ ภวราคสังโยชน์ และอวิชชาสังโยชน์ ละไว้ด้วย
อรหัตมรรค.
บทว่า ภินฺทิตฺวา คือ ทำลาย. บทว่า สมฺภินฺทิตวา ฉีก คือทำ
ให้เป็นช่อง. บทว่า ทาลยิตฺวา คือ แหวกไป. บทว่า ปทาลยิตฺวา
คือ ลอดไป. บทว่า สมฺปทาลยิตฺวา คือ ลอดออกไป.
จบคาถาที่ ๘
คาถาที่ ๙
๒๙ ) โอกฺขิตฺตจกฺขุ น จ ปาทโลโล
คุตฺตินฺทฺริโย รกฺขิตมานสาโน
อนวสฺสุโต อปริฑยฺหมาโน
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้มีจักษุทอดลงแล้ว ไม่เหลว-
ไหลเพราะเท้า มีอินทรีย์คุ้มครองแล้ว มีใจอันรักษาแล้ว

716
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 717 (เล่ม 67)

ผู้อันกิเลสไม่รั่วรดแล้ว และอันไฟคือกิเลสไม่เผาอยู่ พึง
เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๙ ดังต่อไปนี้.
บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ เป็นผู้มีจักษุอันทอดลง คือมีจักษุทอดลง
เบื้องต่ำ. ท่านอธิบายว่า ภิกษุตั้งกระดูกคอทั้ง ๗ ท่อนไว้ตามลำดับ
แล้วเพ่งดูชั่วแอกเพื่อดูสิ่งที่ควรเว้นและควรถือเอา อธิบายว่า ภิกษุยืน
ไม่ให้กระดูกหัวใจกระทบกับกระดูกคาง. ก็การที่ภิกษุเป็นผู้มีตาทอดลง
อย่างนี้ไม่เป็นสมณสารูป คือไม่ควรแก่สมณะ. บทว่า น จ ปาทโลโล
ไม่เหลวไหลเพราะเท้า คือไม่ทำเป็นเหมือนคนที่คันเท้า ปรารถนาจะ
เข้าไปสู่ท่ามกลางคณะอย่างนี้ คือเป็นคนที่สองของตนคนเดียว เป็นคน
ที่ ๓ ของตนสองคน เป็นผู้เว้นจากการเที่ยวไปนาน คือเที่ยวไปไม่หยุด.
บทว่า คุตฺตินฺทฺริโย มีอินทรีย์คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้ง ๖ ด้วยบทที่เหลือ
ซึ่งกล่าวแยกไว้ต่างหากในที่นี้. บทว่า มานสา ในคำว่า รกฺขิตมาสาโน
ได้แก่ มานัส ใจนั่นเอง ใจนั้น อัน บุคคลนั้นรักษาแล้ว เพราะเหตุนั้น จึง
ชื่อว่า รกฺขิตมานสาโน ผู้มีใจอันคนรักษาแล้ว. บทว่า อนวสฺสุโต ได้แก่
ผู้เว้นแล้วจากการตามรั่วรดของกิเลสในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ด้วย
การปฏิบัตินี้. บทว่า อปริฑยฺหมาโน ไฟกิเลสมิได้เผา คือกิเลสมิได้
เผาเพราะเว้นจากการรั่วรดของกิเลสอย่างนี้. อนึ่ง ผู้อันกิเลสในภายนอก
ไม่รั่วรด กิเลสในภายในไม่เผาอยู่. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า จกฺขุนา รฺปํ ทิสฺวา เห็นรูปด้วยจักษุ คือเห็นรูปด้วยจักขุ-
วิญญาณอันสามารถเห็นรูปได้ ที่เรียกตามโวหารว่าจักษุ ด้วยอำนาจแห่ง
เหตุ. ส่วนท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า จักษุย่อมไม่เห็นรูป เพราะ

717
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 718 (เล่ม 67)

ไม่มีจิต จิตก็ย่อมไม่เห็นรูปเพราะไม่มีจักษุ (แต่) บุคคลย่อมเห็นด้วยจิต
อันมีประสาทรูปเป็นวัตถุ เพราะกระทบกันระหว่างทวารกับอารมณ์. ก็
คำพูดเช่นนี้ ชื่อว่า สสัมภารกถา (พูดรวม ๆ ไป) เหมือนในประโยค
ว่า ก็สิ่งเช่นนี้ ๆ ย่อมถูกยิงด้วยธนูฉะนั้น เพราะฉะนั้น ในที่นี้จึงมีความ
อย่างนี้ว่า เห็นในรูปด้วยจักขุวิญญาณดังนี้. บทว่า นิมิตฺตคฺคหี ถือนิมิต
คือถือนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีนิมิตหญิงและชาย หรือนิมิตว่างาม
เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งฉันทราคะ ไม่ตั้งอยู่ด้วยเพียงเห็น. บทว่า
อนุพฺยญฺชนคฺคาหี ถืออนุพยัญชนะ คือย่อมถือด้วยอาการแห่งมือ เท้า
การหัวเราะ การเจรจา การเหลียวดูเป็นต้น ที่เรียกตามโวหารว่า
อนุพยัญชนะ เพราะทำกิเลสทั้งหลายให้ปรากฏโดยอนุพยัญชนะ ในบทว่า
ยตฺวาธกรณเมนํ เป็นต้น มีความดังต่อไปนี้. ซึ่งบุคคลนั้นผู้ไม่สำรวม
จักขุนทรีย์ด้วยหน้าต่างคือสติ ผู้มีจักษุทวารไม่ปิดแล้ว เพราะเหตุแห่ง
การไม่สำรวมอินทรีย์ เป็นเหตุให้ธรรมมีอภิชฌาเป็นต้นเหล่านั้นครอบงำ
คือคามผูกพัน.
บทว่า ตสฺส สํวราย น ปฏิปชฺชติ ปฏิบัติเพื่อไม่สำรวมจักขุนทรีย์
นั้น คือไม่ปฏิบัติเพื่อปิดจักขุนทรีย์นั้นด้วยหน้าต่างคือสติ. ท่านกล่าวว่า
เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ก็ชื่อว่าไม่รักษาจักขุนทรีย์ ไม่ถึงความสำรวมใน
จักขุนทรีย์. การสำรวมหรือไม่สำรวมย่อมไม่มีในจักขุนทรีย์นั้น ด้วยว่าสติ
หรือความหรือหลงลืมสติหาได้เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุประสาทไม่ ถึงอย่างนั้น
เมื่อใดรูปารมณ์มาสู่คลองแห่งจักษุในกาลใด ในกาลนั้นเมื่อภวังค์จิตเกิด
ขึ้นสองครั้งแล้วดับไป กิริยามโนธาตุเกิดขึ้น ยัง อาวัชชนกิจ ให้สำเร็จ
แล้วดับไป. แค่นั้นจักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้นทำสันตีรณกิจ คือทำหน้าที่

718