No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 699 (เล่ม 67)

เพราะตกจมไปอย่างหนัก. แม้ฝีที่บวมสุกกลัดหนองก็แตก มีของไม่
สะอาดไหลออก. เพราะฉะนั้น กามเหล่านั้นชื่อว่า เป็นดังหัวฝี เพราะ
เป็นที่ไหลออกแห่งกิเลสซึ่งไม่สะอาด และเพราะกามทั้งหลายบวมพองขึ้น
สุกแล้วแตกไปด้วยความเกิด ความแก่ และความดับ. ชื่อว่า อุปทฺทโว
เพราะอุบาทว์. อธิบายว่า อุบาทว์ยังความพินาศให้เกิดขึ้น ครอบงำ
ท่วมทับซึ่งบุคคลผู้ติดอยู่ในกามนั้น. คำนี้เป็นชื่อของโทษทั้งหลายมี
อาชญาแผ่นดินเป็นต้น. เพราะฉะนั้น กามคุณเหล่านี้ จึงชื่อว่า อุบาทว์
เพราะเป็นเหตุไม่ให้บุคคลถึงซึ่งพระนิพพานอันตนยังไม่ทราบแล้ว และ
เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอันตรายทั้งปวง. ก็เพราะเหตุที่กามคุณเหล่านั้นยังความ
เดือดร้อนเพราะกิเลสให้เกิด หรือยังความปรารถนาในความไม่มีโรค
กล่าวคือความเป็นปกติให้เกิดขึ้น ย่อมทำลายความไม่มีโรคคือความเป็น
ปกตินั่นเอง ฉะนั้น กามจึงชื่อว่าโรค เพราะอรรถว่า ทำลายความไม่มี
โรค. อนึ่ง ชื่อว่าเป็นดังลูกศร เพราะอรรถว่า เสียบเข้าไปภายใน เพราะ
อรรถว่า เจาะในภายใน และเพราะอรรถว่า นำออกไปได้ยาก. ชื่อว่า
ภยํ เพราะนำภัยในปัจจุบันและภพหน้ามา. บทว่า เมตํ ตัดบทเป็น เม
เอตํ. บทที่เหลือชัดดีแล้ว. แม้บทสรุปก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว
นั้นแล.
บทว่า กามราคตฺตยํ คือ สัตว์นี้กำหนัดด้วยกามราคะ. บทว่า
ฉนฺทราควินิพนฺโธ คือ อันฉันทราคะผูกพันด้วยความเสน่หา. บทว่า
ทิฏฺฐธมฺมกาปิ คพฺภา จากครรภ์อัน มีในปัจจุบัน คือจากครรภ์ ได้แก่
สฬายตนะอันเป็นไปอยู่ในปัจจุบัน. บทว่า สมฺปรายิกาปิ ภยา คือ จาก
ครรภ์ ได้แก่ สฬายตนะในโลกหน้า. บทว่า น ปริมุจฺจติ คือ ไม่สามารถ

699
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 700 (เล่ม 67)

พ้นไปได้. บทว่า โอติณฺโณ สาตรูเปน หยั่งลงแล้วด้วยราคะอันน่ายินดี
คือก้าวลง หยั่งลงด้วยราคะ อันมีสภาพอร่อย . บทว่า ปลิปถํ คือ สู่ทาง
มีเปือกตมคือกาม. บทว่า ทุคฺคํ คือข้ามได้ยาก.
จบคาถาที่ ๗
คาถาที่ ๘
๑๘) สีตญฺจ อุณหญฺจ ขุทํ ปิปาสํ
วาตาตเป ฑํสสิรึสเป จ
สพฺพานิเปตานิ อภิสมฺภวิตวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พึงครอบงำภัยเหล่านี้แม้
ทั้งปวง คือ ความหนาว ความร้อน ความหิว ความ
กระหาย ลม แดด เหลือบ และสัตว์เสือกคลานแล้ว
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๘ ดังต่อไปนี้.
ความหนาวมี ๒ อย่าง คือ ธาตุภายในกำเริบเป็นปัจจัย ๑ ธาตุ
ภายนอกกำเริบเป็นปัจจัย ๑. ความร้อนก็เหมือนกัน. ในบทเหล่านั้น
บทว่า ฑํส คือ เหลือบ. บทว่า สิรึสเป คือ สัตว์เลื้อยคลานจำพวกใด
จำพวกหนึ่งซึ่งเลื้อยคลานไป. บทที่เหลือชัดดีแล้ว . แม้บทสรุปก็พึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่ ๘

700
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 701 (เล่ม 67)

คาถาที่ ๙
๑๙ ) นาโคว ยูถานิ วิวชฺชยิตฺวา
สญฺชาตกฺขนฺโธ ปทุมี อุฬาโร
ยถาภิรนฺตํ วิหเร อรญฺเญ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ละแล้วซึ่งหมู่ทั้งหลาย มี
ขันธ์เกิดดีแล้ว มีธรรมดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง ย่อมอยู่ในป่า
ตามอภิรมย์ เหมือนนาค ละแล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย พึง
เป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
คาถาที่ ๙ ปรากฏแล้วโดยความของบทนั่นแล. ในคาถานี้โยชนา
อธิบายไว้ดังนี้. คาถานั้นปรากฏโดยข้อยุติ ไม่ใช่ปรากฏโดยฟังตามกันมา.
ช้างนี้ชื่อว่า นาค เพราะไม่มาสู่สถานที่ยังไม่ได้ฝึก เพราะฝึกใยศีล
ที่พวกมนุษย์พอใจ หรือเพราะเป็นสัตว์มีกายใหญ่ฉันใด แม้พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้น ชื่อว่า นาค เพราะไม่มาสู่สถานที่ยังมิได้ฝึก เพราะ
มีสรีระใหญ่ เพราะฝึกแล้วในศีลทั้งหลายที่พระอริยะพอใจ เพราะไม่
กระทำบาป และไม่กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้อีก หรือเพราะเหตุที่ตนมี
สรีระคือคุณใหญ่. ช้างนี้ละโขลงแล้ว อยู่ในป่าตามความพอใจ ด้วยความ
สุขอันเกิดจากการเที่ยวไปผู้เดียว พึงเที่ยวไปผู้เดียวในป่าเหมือนนอแรด
ฉะนั้น ฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ละหมู่คณะแล้ว อยู่ในป่าตามความพอใจ
ด้วยความสุขเกิดแต่ฌาน อันเป็นความสุขที่มีแต่ความยินดียิ่งส่วนเดียว
ปรารถนาความสุขตามแต่ตนจะพึงจะหาได้ อยู่ในป่านั้น พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

701
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 702 (เล่ม 67)

อนึ่ง ช้างนั้นชื่อว่ามีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว เพราะมีร่างกายตั้งอยู่ได้
เป็นอย่างดีฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีขันธ์เกิดดีแล้ว เพราะ
ความเป็นผู้ใหญ่ด้วยศีลขันธ์อันเป็นอเสกขะ. อนึ่ง ช้างนั้นชื่อว่ามีตัวดัง
ดอกบัว เพราะมีร่างกายเช่นกับดอกบัว หรือเพราะเกิดในตระกูลช้าง
ปทุมฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่ามีธรรมดังดอกบัว เพราะมีธรรม
คือโพชฌงค์เช่นกับดอกบัว หรือเพราะเกิดในปทุม คือชาติของพระ-
อริยะ. อนึ่ง ช้างนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยิ่ง เพราะมีเรี่ยวแรงและกำลังเร็ว-
เป็นต้นฉันใด แม้เราก็ฉันนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยิ่ง เพราะมีความประพฤติ
ชอบทางกายบริสุทธิ์เป็นต้น หรือเพราะมีศีลสมาธิและปัญญาหลักแหลม
เป็นต้น. เราเมื่อคิคอยู่อย่างนี้จึงเริ่มวิปัสสนา แล้วบรรลุปัจเจกสัมโพธิ-
ญาณ ด้วยประการฉะนี้.
จบคาถาที่ ๙
คาถาที่ ๑๐
๒๐) อฏฺฐาน ตํ สงฺคณิการตสฺส
ยํ ผุสฺสเย สามยิกํ วิมุตฺตึ
อาทิจฺจพนฺธุสฺส วโจ นิสมฺม
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าได้กล่าว ๓ บาทแห่งคาถาว่า)
บุคคลพึงใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า ผู้เป็น
เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า การที่บุคคลผู้ยินดีแล้วด้วยการ

702
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 703 (เล่ม 67)

คลุกคลีด้วยคณะ จะพึงบรรลุวิมุตติอันมีในสมัยนั้น
ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ (พระกุมารได้กล่าวหนึ่งบาทที่
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นามว่า อาทิจจพันธุ์ กล่าวแล้วให้
บริบูรณ์ว่า) พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยยในคาถาที่ .. ดังต่อไปน .
บทว่า อฏฺฐาน ตํ คือ อฏฺฐานํ ต ได้แก่ เหตุนั้น ไม่เป็นฐานะ
อธิบายว่า นั้นไม่ใช่เหตุ. ลบนิคคหิตเสียเป็น อฏฺฐาน ดุจในบทมีอาทิว่า
อริยสจฺจาน ทสฺสนํ. บทว่า สงฺคณิการตสฺส คือ ยินดีในความคลุกคลี
ด้วยหมู่. บทว่า ยํ นี้ เป็นคำแสดงถึงเหตุ ดุจในบทว่า ยํ หิริยติ
หิริตพฺเพน ย่อมละอายด้วยเหตุใด พึงละอายด้วยเหตุนั้น. บทว่า ผุสฺสเย
พึงถูกต้อง คือพึงบรรลุ. บทว่า สามยิกํ วิมุตฺตึ วิมุตติอันมีในสมัย
ได้แก่ โลกิยสมาบัติ. จริงอยู่ โลกิยสมาบัตินั้นท่านเรียกว่า สามายิกา
วิมุตฺติ วิมุตติอันมีในสมัย เพราะพ้นแล้วจากข้าศึกในสมัยที่จิตแนบแน่น
อิ่มเอิบนั่นเอง. ซึ่งวิมุตติอันมีในสมัยนั้น. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า
บุคคลพึงถูกต้องวิมุตตินั้น อันมีในสมัยด้วยเหตุใด เหตุนั้นไม่ใช่ฐานะ
ของบุคคลผู้ยินดีด้วยความคลุกคลีด้วยหมู่ เราใคร่ครวญถ้อยคำของพระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์แล้ว ละความยินดีด้วย
ความคลุกคลีด้วยหมู่ ปฏิบัติโดยแยบคาย จึงได้บรรลุดังนี้. บทที่เหลือ
มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศดังต่อไปนี้. บทว่า เนกฺขมฺมสุขํ ได้แก่
ความสุขในการบรรพชา. บทว่า ปวิเวกสุขํ ได้แก่ ความสุขใน
กายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก. บทว่า อุปสมสุขํ ได้แก่ ความ

703
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 704 (เล่ม 67)

สุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติอันสงบจากกิเลส. บทว่า สมฺโพธิสุขํ สุขเกิดแต่
ความตรัสรู้ คือมรรคสุข. บทว่า นิกามลาภี คือ ผู้มีปกติได้ตามความ
ประสงค์ด้วยอำนาจความชอบใจของตน. บทว่า อกิจฺฉลาภี คือ ผู้มีปกติ
ได้ไม่ยาก. บทว่า อกสิรลาภี ได้โดยไม่ลำบาก คือได้ไพบูลย์. บทว่า
อสามายิกํ อันไม่มีในสมัย คือ โลกุตระ. บทว่า อกุปฺปํ อันไม่กำเริบ
คือ โลกตรมรรคอันไม่หวั่นไหว ไม่กำเริบ.
จบคาถาที่ ๑๐
จบอรรถกถาวรรคที่ ๒
อรรถกถาตติยวรรค
คาถาที่ ๑
๒๑) ทิฏฺฐีวิสูกานิ อุปาติวตฺโต
ปตฺโต นิยามํ ปฏิลทฺธมคฺโค
อุปฺปนฺนญาโณมฺหิ อนญฺญเนยฺโย
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
เราล่วงพ้นทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนามได้แล้ว ถึงความ
เป็นผู้เที่ยง ได้มรรคแล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้
อื่นไม่พึงแนะนำ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้.
บทว่า ทิฏฺฐีวิสูกานิ ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ได้แก่ทิฏฐิ ๖๒. ก็ทิฏฐิ

704
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 705 (เล่ม 67)

เหล่านั้นชื่อว่าเป็นเสี้ยนหนาม เพราะอรรถว่า ทำร้ายเสียบแทง เป็นข้าศึก
แห่งมรรคสัมมาทิฏฐิ. เสี้ยนหนามแห่งทิฏฐิอย่างนี้ ชื่อว่า ทิฏฺฐิวิสูกานิ.
หรือว่าทิฏฐินั่นแลเป็นเสี้ยนหนาม ชื่อว่า ทิฏฺฐิวิสูกานิ. บทว่า อุปาติ-
วตฺโต คือ ล่วงแล้วด้วยมรรคทัสสนะ. บทว่า ปตฺโต นิยามํ ถึงแล้ว
ซึ่งมรรคนิยาม คือ บรรลุแล้วซึ่งความเป็นของเที่ยงแห่งความเป็นธรรม
ไม่ตกต่ำ และความตรัสรู้ในเบื้องหนา. หรือบรรลุปฐมมรรคอันได้แก่
สัมมัตตนิยาม (นิยามอันชอบ). ด้วยเหตุประมาณเท่านี้ เป็นอันท่านกล่าว
ถึงความสำเร็จแห่งกิจในปฐมมรรค และการได้ปฐมมรรคนั้น. บัดนี้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงถึงการได้มรรคที่เหลือ ด้วยบทนี้ว่า ปฏิ-
ลทฺธมคฺโค มีมรรคอันได้แล้ว ดังนี้. บทว่า อุปฺปนฺนญาโณมฺหิ เป็นผู้มี
ญาณเกิดขึ้นแล้ว คือเราเป็นผู้มีปัจเจกโพธิญาณเกิดขึ้นแล้ว. พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงผลด้วยญาณนี้. บทว่าอนฺญฺญเนยฺโย อันผู้มี
ไม่ต้องแนะนำ คือ อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำว่า นี้เป็นสัจจะ ดังนี้. พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าแสดงความเป็นพระสยัมภูด้วยบทนี้. หรือแสดงความ
เป็นผู้ชำนาญด้วยตนเอง ไม่มีผู้อื่นแนะนำในปัจเจกโพธิญาณ. หรือล่วง
ทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนามทั้งหลายด้วยวิปัสสนา ถึงมรรคนิยามด้วยมรรค
เบื้องต้น เป็นผู้มีมรรคอันได้แล้วด้วยมรรคที่เหลือ เป็นผู้มีญาณอันเกิด
แล้วด้วยผลญาณ. ชื่อว่า อนญฺญเนยฺโย เพราะบรรลุมรรคทั้งหมด
นั้นด้วยตนเอง. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า น ปรเนยฺโย คือ ผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ บทว่า น ปรปตฺติโย
ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น คือ เพราะเป็นธรรมประจักษ์อยู่แล้ว ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น
บทว่า น ปรปจฺจโย ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย คือ ไม่พึงมีผู้อื่นเป็นปัจจัย

705
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 706 (เล่ม 67)

ไม่เป็นไปด้วยศรัทธาของผู้อื่น. บทว่า น ปรปฏิพทฺธคู คือ ไม่ไปด้วย
ญาณอันเนื่องด้วย.
จบคาถาที่ ๑
คาถาที่ ๒
๒๒) นิลฺโลลุโป นิกฺกุโห นิปฺปิปาโส
นิมฺมกฺโข นิทฺธนฺตกสาวโมโห
นิราสโย สพฺพโลเก ภวิตฺวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่มีความกระหาย
ไม่ลบหลู่ มีโมหะดุจน้ำฝาด อันกำจัดเสียแล้ว ไม่มี
ความอยาก ครอบงำโลกทั้งโลกได้แล้ว พึงเที่ยว ไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้.
บทว่า นิลฺโลลุโป คือ เป็นผู้ไม่โลภ. จริงอยู่ ผู้ใดถูกตัณหาในรส
ครอบงำ ผู้นั้นย่อมโลภจัดคือโลภบ่อย ๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
โลลุปฺโป เป็นผู้โลภจัด. เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านี้ เมื่อ
ห้ามความโลภจัดนั้น จึงกล่าวว่า นิลฺโลลุโป เป็นผู้ไม่โลภจัด.
พึงทราบความในบทว่า นิกฺกุโห ไม่โกหก ดังต่อไปนี้ วัตถุสำหรับ
โกหก ๓ อย่างไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นท่านเรียกว่า นิกฺกุโห เป็นผู้ไม่โกหก.
คาถานี้มีอธิบายว่า ชื่อว่า นิกฺกุโห เพราะไม่ถึงความประหลาดใจในชน

706
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 707 (เล่ม 67)

เป็นต้น โดยความพอใจ. ในบทว่า นิปฺปิปาโส นี้ความว่า ความปรารถนา
ที่ปรากฏ ชื่อว่า ปิปาสา. เพราะความไม่มีปิปาสานั้น ชื่อว่า นิปฺปิปาโส
อธิบายว่า เป็นผู้พ้นจากความใคร่บริโภคด้วยความโลภในรสอร่อย. ใน
บทว่า นิมฺมกโข นี้ ความว่า ชื่อว่า มักโข อันมีลักษณะทำคุณผู้อื่นให้
พินาศ เพราะไม่มีมักขะนั้น ชื่อว่า นิมมักขะ. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
กล่าวหมายถึงความไม่ลบหลู่คุณของผู้อื่น เมื่อครั้งตนยังเป็นคฤหัสถ์.
พึงทราบความในบทน ว่า นิทฺธตกสาวโมโห ความว่า มีโมหะ
ดังรสฝาด อันกำจัดแล้วต่อไป.
ธรรม ๖ อย่าง คืออกุศล ๓ มีราคะเป็นต้น และทุจริต ๓ มีกาย-
ทุจริต เป็นต้น พึงทราบว่าเป็น กสาว รสฝาด เพราะอรรถว่า ไม่ผ่องใส
ตามกำเนิด เพราะอรรถว่า ละภาวะของตนแล้วถือเอาภาวะอื่น และ
เพราะอรรถว่า เป็นกาก เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า รสฝาด
๓ อย่าง คืออะไร กสาวะรสฝาด ๓ อย่าง เหล่านี้ คือ ราคกสาวะ รสฝาด
คือราคะ ๑ โทสกสาวะ รสฝาดคือโทสะ๑. โมหกสาวะ รสฝาดคือโมหะ ๑.
อีกนัยหนึ่ง กสาวะรสฝาค ๓ คือ กายกสาวะ รสฝาดกาย ๑ วจีกสาวะ
รสฝาดทางวาจา ๑ มโนกสาวะ รสฝาดทางใจ ๑. ในรสฝาดเหล่านั้น ชื่อว่า
นิทฺธนฺตกสาวโมโห เพราะกำจัดกิเลสดังรสฝาด ๕ เว้นโมหะ และกำจัด
โมหะอันเป็นรากเหง้าแห่งกิเลสดังรสฝาดทั้งหมดเหล่านั้น หรือชื่อว่า
นิทฺธนฺตกสาวโนโห เพราะกำจัดกิเลสดังรสฝาดทางกายวาจาและใจ ๓
อย่าง และโมหะ.
ในบทนอกนี้เป็นอันได้ความสำเร็จว่า กำจัดรสฝาดคือราคะ ด้วย

707
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 708 (เล่ม 67)

ความไม่โลภเป็นต้น กำจัดรสฝาดคือโทสะ ความเป็นผู้ไม่ลบหลู่.
บทว่า นิราสโย ไม่มีความหวัง คือ ไม่มีความอยาก. บทว่า สพฺพโลเก
คือ สากลโลก. อธิบายว่า เป็นผู้ปราศจากภวตัณหาและวิภวตัณหาในภพ ๓
และในอายตนะ ๑๒. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. อีก
อย่างหนึ่ง พึงกล่าวแม้ ๓ วาระแล้วทำความเชื่อมในบทนี้ อย่างนี้ว่า เอโก
จเร พึงเที่ยวไปผู้เดียวบ้าง หรืออย่างนี้ว่า เอโก จริตุํ สกฺกุเณยฺย พึง
สามารถเพื่อเที่ยวไปผู้เดียวบ้าง
จบคาถาที่ ๒
คาถาที่ ๓
๒๓) ปาปํ สหายํ ปริวชฺชเยถ
อนตฺถทสฺสึ วิสเม วิวิฏฐํ
สยํ น เสเว ปสุตํ ปมตฺตํ
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.
กุลบุตร พึงเว้นสหายผู้ลามก ไม่พึงเสพด้วยตนเอง
ซึ่งสหายผู้ชี้บอกความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ใน
กรรมอันไม่เสมอ ผู้ข้องอยู่ ผู้ประมาท พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
ในคาถาที่ ๓ มีความย่อดังต่อไปนี้.
สหายชื่อว่า ลามก เพราะประกอบด้วยทิฏฐิลามก ๑๐ อย่าง. ชื่อว่า
ผู้ชี้บอกความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ เพราะแสดงความพินาศแก่คนอื่น

708