No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 599 (เล่ม 67)

[๗๗๔] คำว่า เป็นผู้คุ้มครองอินทรีย์ ความว่า พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้น เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ
ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศล
ธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์
ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรส
ด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือ
นิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่
สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำได้ ย่อมรักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองอินทรีย์.
คำว่า มีใจอันรักษาแล้ว ความว่า มีใจคุ้มครองแล้ว คือ มีจิต
รักษาแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว มีใจอัน
รักษาแล้ว.
[๗๗๕] คำว่า กิเลสมิได้ชุ่ม ในอุเทศว่า อนวสฺสุโต อปริฑยฺห-
มาโน ดังนี้ ความว่า สมจริงตามเถรภาษิตที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงอวัสสุตปริยาสูตรและ
อนวัสสุตปริยายสูตรแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลา จงพึงเทศนานั้น จงใส่
ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า
อย่างนั้นท่านผู้มีอายุ ดังนี้แล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวว่า
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อันกิเลสชุ่มแล้วอย่างไร
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อม
ยินดีในรูปที่น่ารัก ย่อมยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ

599
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 600 (เล่ม 67)

มีธรรมในใจน้อย และภิกษุนั้นย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้น
แล้วแก่เธอ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกาย รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมยินดีในธรรมารมณ์
ที่น่ารัก ย่อมยินร้ายในธรรมารมณ์ที่ไม่น่ารัก เป็นผู้ไม่ตั้งมั่นกายคตาสติ
มีธรรมในใจน้อย และภิกษุนั้นย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้น
แล้วแก่เธอ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ท่านกล่าวว่า ผู้อันกิเลส
ชุ่มแล้ว ในรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตา ในเสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ฯ ล ฯ
ในธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ถ้าแม้มารเข้า
มาหาภิกษุนั้นทางตา มารก็ได้ช่องได้ปัจจัย ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้น
ทางหู ฯ ล ฯ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็ได้ช่องได้ปัจจัย.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนที่ทำด้วยไม้อ้อ หรือเรือน
ที่ทำด้วยหญ้าแห้งเกราะ ฝนรั่วรดได้ ถ้าแม้บุรุษเอาคบหญ้าที่ติดไฟ
แล้วเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันออก ไฟก็ได้ช่องได้ปัจจัย ถ้าแม้บุรุษ
เอาคบหญ้าที่ติดไฟแล้วเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ทางทิศเหนือ
ทางทิศใต้ ทางเบื้องหลัง ทางเบื้องบน แม้ทางทิศไหน ๆ ไฟก็ได้ช่อง
ได้ปัจจัย ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางตา มารก็ได้ช่อง
ได้ปัจจัย ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้นทางหู ฯ ล ฯ ถ้าแม้มารเข้ามาหา
ภิกษุนั้นทางใจ มารก็ได้ช่องได้ปัจจัย.

600
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 601 (เล่ม 67)

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ รูปย่อมครอบงำ
ได้ ภิกษุครอบงำรูปไม่ได้ เสียงครอบงำภิกษุได้ ภิกษุครอบงำเสียงไม่ได้
กลิ่นครอบงำภิกษุได้ ภิกษุครอบงำกลิ่นไม่ได้ รสครอบงำภิกษุได้ ภิกษุ
ครอบงำรสไม่ได้ โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุได้ ภิกษุครอบงำโผฏฐัพพะ
ไม่ได้ ธรรมารมณ์ครอบงำภิกษุได้ ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ไม่ได้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ท่านกล่าวว่า ถูกรูปครอบงำ ถูก
เสียงครอบงำ ถูกกลิ่นครอบงำ ถูกรสครอบงำ ถูกโผฏฐัพพะครอบงำ
ถูกกิเลสเหล่านั้นครอบงำ ภิกษุเหล่านั้นไม่ครอบงำอกุศลธรรมอันลามก
อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีทุกข์
เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อันกิเลสชุ่มแล้วอย่างนี้แล.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อันกิเลสไม่ชุ่มแล้วอย่างไร
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว
ไม่ยินดีในรูปที่น่ารัก ไม่ยินร้ายในรูปที่ไม่น่ารัก ตั้งมั่นกายคตาสติ มีใจ
ประกอบด้วยธรรมหาประมาณมิได้ และภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามความเป็น
จริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอกุศลธรรม
อันลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ฟังเสียงด้วยหู ฯ ล ฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์
ด้วยใจแล้ว ไม่ยินดีในธรรมารมณ์ที่น่ารัก ตั้งมั่นกายคตาสติ มีใจ
ประกอบด้วยธรรมอันหาประมาณมิได้ และภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามความ
เป็นจริงซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอกุศล
ธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วแก่เธอ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้

601
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 602 (เล่ม 67)

ท่านกล่าวว่า ไม่ถูกกิเลสชุ่มแล้ว ในรูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยตา ในเสียงที่
จะรู้พึงแจ้งด้วยหู ฯ ล ฯ ในธรรมารมณ์ที่จะพึงรู้แจ้งด้วยใจ.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ถ้าแม้มารเข้า
มาหาภิกษุนั้นทางตา มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุ
นั้นทางหู มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย ฯ ล ฯ ถ้าแม้มารเข้ามาหาภิกษุนั้น
ทางใจ มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนกูฏาคารศาลา หรือสันถาคารศาลา มีดินหนา มีเครื่องฉาบทาอัน
เปียก ถึงแม้บุรุษจะเอาคบหญ้าที่ติดไฟโชนแล้วเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศ
ตะวันออก ไฟก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย ถึงแม้บุรุษจะเอาคบหญ้าที่ติดไฟ
โชนแล้วเข้าไปจุดเรือนนั้นทางทิศตะวันตก ทางทิศเหนือ ทางทิศใต้
ทางเบื้องหลัง ทางเบื้องบน ถึงแม้โดยทางไหน ๆ ไฟก็ไม่ได้ช่องไม่ได้
ปัจจัย ฉันใด ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ ก็
ฉันนั้นเหมือนกันแล ถึงแม้มารจะเข้ามาหาภิกษุนั้นทางตา มารก็ไม่ได้ช่อง
ไม่ได้ปัจจัย ถึงแม้มารจะเข้ามาหาภิกษุนั้นทางหู ฯ ล ฯ ถึงแม้มารจะเข้า
มาหาภิกษุนั้นทางใจ มารก็ไม่ได้ช่องไม่ได้ปัจจัย ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ภิกษุผู้มีปกติอยู่อย่างนี้ รูปย่อมครอบงำไม่ได้ ภิกษุครอบงำ
รูปได้ เสียงครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำเสียงได้ กลิ่นครอบงำภิกษุ
ไม่ได้ ภิกษุครอบงำกลิ่นได้ รสครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำรสได้
โผฏฐัพพะครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำโผฏฐัพพะได้ ธรรมารมณ์
ครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำธรรมารมณ์ได้.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุนี้ท่านกล่าวว่า ครอบงำรูป
ครอบงำเสียง ครอบงำกลิ่น ครอบงำรส ครอบงำโผฏฐัพพะ ครอบงำ

602
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 603 (เล่ม 67)

ธรรมารมณ์ กิเลสเหล่านั้น ครอบงำภิกษุไม่ได้ ภิกษุครอบงำอกุศลธรรม
อันลามก อันทำให้เศร้าหมอง ให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวน
กระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้งแห่งชาติ ชรา และมรณะต่อไป
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่ถูกกิเลสชุ่มแล้วอย่างนี้แล
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อันกิเลสไม่ชุ่มแล้ว.
คำว่า ไฟกิเลสไม่เผา ความว่า ผู้อันไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ
ไฟคือโมหะ ไม่แผดเผา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้อันกิเลสไม่ชุ่มแล้ว
ไฟกิเลสไม่เผา พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้มีจักษุอันทอดลง ไม่
เหลวไหลเพราะเท้า คุ้มครองอินทรีย์ มีใจอันรักษาแล้ว
กิเลสมิได้ชุ่ม ไฟกิเลสมิได้เผา พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
[๗๗๖] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านำลงแล้วซึ่งเครื่องหมายของ
คฤหัสถ์ ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกบวช เหมือนต้น
ปาริฉัตตกะมีใบทึบ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๗๗๗] ผมและหนวด ฯ ล ฯ ผ้ามีชายยาว ท่านกล่าวว่า เครื่อง
หมายของคฤหัสถ์ ในอุเทศว่า โอหารยิตฺวา คิหิพฺยญฺชนานิ ดังนี้.
คำว่า นำลงแล้วซึ่งเครื่องหมายของคฤหัสถ์ ความว่า ปลงลง
แล้ว คือ ละทิ้ง ระงับแล้วซึ่งเครื่องหมายของคฤหัสถ์ เพราะฉะนั้น

603
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 604 (เล่ม 67)

จึงชื่อว่า นำลงแล้วซึ่งเครื่องหมายของคฤหัสถ์.
[๗๗๘] คำว่า เหมือนต้นปาริฉัตตกะมีใบทึบ ความว่า พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ทรงบาตรและจีวรครบ เหมือนต้นปาริฉัตตกะ
คือ ต้นทองหลางมีใบหนา มีร่มเงาชิด ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เหมือนต้นปาริฉัตตกะมีใบทึบ.
[๗๗๙] คำว่า ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกบวช ความว่า พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตัดกังวลในฆราวาสทั้งหมด ตัดกังวลในบุตรและ
ภรรยา ตัดกังวลในญาติ ตัดกังวลในความสั่งสม ปลงผมและหนวดแล้ว
ครองผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม้มีกังวล
เป็นผู้เดียวเที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ดำเนิน เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ครองผ้าย้อมน้ำฝาดออกบวช พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าว
ว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านำลงแล้วซึ่งเครื่องหมายของ
คฤหัสถ์ ครองผ้าย้อมน้ำฝาคออกบวช เหมือนต้น
ปาริฉัตตกะมีใบทึบ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๗๘๐] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไม่ทำความติดใจในรสทั้ง-
หลาย ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้เหลวไหล ไม่เลี้ยงผู้อื่น
เที่ยวไปตามลำดับตรอก มีจิตไม่พัวพันในสกุล พึงเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

604
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 605 (เล่ม 67)

[๗๘๑] คำว่า ในรสทั้งหลาย ในอุเทศว่า รเสสุ เคธํ อกรํ
อโลโล ดังนี้ คือ รสที่ราก รสที่ต้น รสที่เปลือก รสที่ใบ รสที่ดอก
รสที่ผล รสเปรี้ยว รสหวาน รสขม รสเผ็ดร้อน รสเค็ม รสปร่า
รสเฝื่อน รสฝาด รสอร่อย รสไม่อร่อย รสเย็น รสร้อน.
สมณพราหมณ์ผู้ติดใจในรสมีอยู่ในโลก สมณพราหมณ์เหล่านั้น
เที่ยวแสวงหารสด้วยปลายลิ้น ได้รสเปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสไม่เปรี้ยว ได้
รสไม่เปรี้ยวแล้วก็แสวงหารสเปรี้ยว ได้รสหวานแล้วก็แสวงหารสไม่หวาน
ได้รสไม่หวานแล้วก็แสวงหารสหวาน ได้รสขมแล้วก็แสวงหารสไม่ขม
ได้รสไม่ขมแล้วก็แสวงหารสขม ได้รสเผ็ดร้อนแล้วก็แสวงหารสไม่เผ็ด
ร้อน ได้รสไม่เผ็ดร้อนแล้วก็แสวงหารสเผ็ดร้อน ได้รสเค็มแล้วก็แสวงหา
รสไม่เค็ม ได้รสไม่เค็มแล้วก็แสวงหารสเค็ม ได้รสปร่าแล้วก็แสวงหารส
ไม่ปร่า ได้รสไม่ปร่าแล้วก็แสวงหารสปร่า ได้รสเฝื่อนแล้วก็แสวงหารส
ฝาด ได้รสฝาดแล้วก็แสวงหารสเฝื่อน ได้รสอร่อยแล้วก็แสวงหารสไม่
อร่อย ได้รสไม่อร่อยแล้วก็แสวงหารสอร่อย ได้รสเย็นแล้วก็แสวงหารส
ร้อน ได้รสร้อนแล้วก็แสวงหารสเย็น สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้รสใด ๆ
ก็ไม่ยินดีด้วยรสนั้น ๆ แสวงหารสอื่นต่อไป ย่อมเป็นผู้ยินดี ติดใจ
ชอบใจ หลงใหล ซบเซา ข้อง เกี่ยวข้อง พัวพัน ในรสทั้งหลาย.
ตัณหาในรสนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละได้แล้ว ตัดรากขาด
แล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้
เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
พิจารณาโดยอุบายอันแยบคายแล้วจึงฉันอาหาร ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉัน

605
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 606 (เล่ม 67)

เพื่อความมัวเมา ไม่ฉันเพื่อประดับ ไม่ฉันเพื่อตกแต่ง ฉันเพียงเพื่อให้
ร่างกายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้กายนี้เป็นไป เพื่อบำบัดความเบียดเบียน เพื่อ
อนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยมนสิการว่า เราจะกำจัดทุกขเวทนาเก่า
จักไม่ให้ทุกขเวทนาใหม่เกิดขึ้น จักเป็นไปได้สะดวก จักไม่มีโทษ จัก
อยู่ผาสุก ด้วยการฉันอาหารเพียงกำหนดเท่านั้น คนทาแผลเพื่อประโยชน์
จะให้งอกเป็นกำหนดเท่านั้น หรือพวกเกวียนหยอดเพลาเกวียน เพื่อ
ประโยชน์แก่การขนภาระออกเป็นกำหนดเท่านั้น หรือคนกินเนื้อบุตร
เพื่อประโยชน์แก่จะออกจากทางกันดารเป็นกำหนดเท่านั้น ฉันใด พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาโดยอุบายแล้วจึงฉันอาหาร
ไม่ฉันเพื่อเล่น ไม่ฉันเพื่อมัวเมา... จักอยู่ผาสุก ด้วยการฉันอาหารเพียง
กำหนดเท่านั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นผู้งดเว้น เว้นขาด ออกไป
สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง ด้วยตัณหาในรส มีจิตอันทำให้
ปราศจากเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำความติดใจในรส
ทั้งหลาย.
คำว่า ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้เหลวไหล ความว่า ตัณหา ราคะ
สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ท่านกล่าวว่า เป็นเหตุให้
โลเล หรือว่า เป็นเหตุให้เหลวไหล ตัณหาอันเป็นเหตุให้โลเลเหลวไหล
นั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้ไม่มี
ที่ตั้งดังตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป
เป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น จึงชื่อว่า ไม่มี
ตัณหาอันเป็นเหตุให้เหลวไหล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่ทำความติดใจ
ในรสทั้งหลาย ไม่มีตัณหาอันเป็นเหตุให้เหลวไหล.

606
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 607 (เล่ม 67)

[๗๘๒] คำว่า ไม่เลี้ยงผู้อื่น ในอุเทศว่า อนญฺญโปสี สปทาน-
จารี ดังนี้ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เลี้ยงแต่ตนเท่านั้น มิได้
เลี้ยงผู้อื่น.
เราเรียกบุคคลผู้ไม่เลี้ยงผู้อื่น ปรากฏอยู่ ตั้งมั่นคงดี
แล้ว ในสารธรรม มีอาสวะสิ้นแล้ว คายโทษออกแล้ว
นั้น ว่าเป็นพราหมณ์
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ไม่เลี้ยงผู้อื่น.
คำว่า ผู้เที่ยวไปตามลำดับตรอก ความว่า เวลาเช้า พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นนุ่งสบงแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่บ้านหรือนิคมเพื่อ
บิณฑบาต มีกายวาจาจิตอันรักษาแล้ว มีสติตั้งมั่น มีอินทรีย์อันสำรวม
แล้ว สำรวมจักษุ ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ ออกจากสกุลหนึ่งไปสู่สกุลหนึ่ง
เที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่เลี้ยงผู้อื่น เที่ยวไป
ตามลำดับตรอก.
[๗๘๓] คำว่า มีจิตไม่พัวพันในสกุล ความว่า ภิกษุเป็นผู้มีจิต
พัวพัน ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ เป็นผู้ตั้งตนไว้ต่ำตั้งผู้อื่นไว้สูง มีจิต
พัวพัน ๑ เป็นผู้ตั้งตนไว้สูงตั้งผู้อื่นไว้ต่ำ มีจิตพัวพัน ๑.
ภิกษุเป็นผู้ตั้งตนไว้ต่ำตั้งผู้อื่นไว้สูง มีจิตพัวพันอย่างไร ภิกษุ
กล่าวว่า ท่านทั้งหลายมีอุปการะแก่อาตมามาก อาตมาได้จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะอาศัยท่านทั้งหลาย คน
อื่น ๆ อาศัยท่านทั้งหลาย เห็นแก่ท่านทั้งหลาย จึงสำคัญเพื่อจะให้หรือ
เพื่อจะทำแก่อาตมา ชื่อและวงศ์สกุลของโยมมารดาโยมบิดาเก่าของอาตมา
เสื่อมไปแล้ว อาตมาย่อมได้ว่า เราเป็นกุลุปกะของอุบาสกโน้น เราเป็น

607
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 608 (เล่ม 67)

กุลุปกะของอุบาสิกาโน้น เพราะท่านทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ตั้งตนไว้ต่ำ
ตั้งผู้อันไว้สูง มีจิตพัวพันอย่างนี้.
ภิกษุเป็นผู้ตั้งตนไว้สูงตั้งผู้อื่นไว้ต่ำ มีจิตพัวพันอย่างไร ภิกษุ
กล่าวว่า อาตมามีอุปการะมากแก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอาศัยอาตมา
จึงได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็น
สรณะ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม การพูด
เท็จ และการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
อาตมาให้อุเทศ ให้ปริปุจฉา บอกอุโบสถ อธิษฐานนวกรรม แก่ท่าน
ทั้งหลาย ก็เมื่อเป็นดังนั้น ท่านทั้งหลายสละอาตมาแล้ว ย่อมสักการะ
เคารพนับถือบูชาผู้อื่น ภิกษุเป็นผู้ตั้งคนไว้สูงตั้งผู้อื่นไว้ต่ำ มีจิตพัวพัน
อย่างนี้.
คำว่า มีจิตไม่พัวพันในสกุล ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
มีจิตไม่พัวพันด้วยความกังวลในสกุล คณะ อาวาส จีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า มีจิตไม่
พัวพันในสกุล พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ทำความติดใจในรสทั้งหลาย
ไม่มีตัณหาเป็นเหตุให้เหลวไหล ไม่เลี้ยงผู้อื่น เที่ยวไป
ตามลำดับตรอก มีจิตไม่พัวพันในสกุล พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๘๔] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งเครื่องกั้นจิต ๕ ประ-
การ สลัดเสียแล้วซึ่งกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง

608