No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 589 (เล่ม 67)

กระจกเงา เครื่องหยอดตา ดอกไม้ เครื่องไล้ทา เครื่องทาปาก เครื่อง
ผัดหน้า เครื่องผูกข้อมือ เครื่องผูกมวยผม ไม้เท้า กล้องยา ดาบ ร่ม
รองเท้า กรอบหน้า พัดขนสัตว์ ผ้าขาว ผ้ามีชายยาว เครื่องประดับ
ดังกล่าวมานี้ เป็นเครื่องประดับของคฤหัสถ์.
เครื่องประดับของบรรพชิตเป็นไฉน การประดับจีวร การประดับ
บาตร การประดับเสนาสนะ การประดับ การตกแต่ง การเล่น การ
เล่นรอบ ความกำหนัด ความพลิกแพลง ความเป็นผู้พลิกแพลง ซึ่ง
กายอันเปื่อยเน่านี้ หรือซึ่งบริขารอันเป็นภายนอก การประดับนี้ เป็น
การประดับของบรรพชิต.
คำว่า เป็นผู้พูดจริง ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็น
ผู้พูดจริง เชื่อมคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่กล่าวให้
เคลื่อนคลาดแก่โลก เว้นทั่ว งดเว้น ออกไป สลัดออกไป หลุดพ้น
พรากออกไป จากฐานะแห่งเครื่องประดับ มีใจปราศจากเขตแดนอยู่
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เว้นแล้วจากฐานะแห่งเครื่องประดับ เป็นผู้พูดจริง
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าไม่ทำความพอใจซึ่งการเล่น
ความยินดี และกามสุขในโลก ไม่อาลัย เว้นจากฐานะ
แห่งเครื่องประดับ เป็นผู้พูดจริง พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.

589
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 590 (เล่ม 67)

[๗๖๐] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละบุตร ทาระ บิดา มารดา
ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง และกามทั้งหลายตามส่วน
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๖๑] บุตร ในคำว่า ปุตฺตํ ในอุเทศว่า ปุตฺตญฺจ ทารํ ปิตรญฺจ
มาตรํ ดังนี้ มี ๔ คือ บุตรที่เกิดแต่ตน ๑ บุตรที่เกิดในเขต ๑ บุตร
ที่เขาให้ ๑ บุตรที่อยู่ในสำนัก ๑ ภรรยาท่านกล่าวว่า ทาระ บุรุษผู้ให้
บุตรเกิดชื่อว่าบิดา สตรีผู้ให้บุตรเกิดชื่อว่ามารดา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
บุตร ทาระ บิดา มารดา.
[๗๖๒] แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้ว-
ประพาฬ เงิน ทอง แก้วทับทิม แก้วลาย ท่านกล่าวว่า ทรัพย์ ใน
อุเทศว่า ธนานิ ธญฺญานิ จ พนฺธวานิ ดังนี้. ของที่กินก่อน ของที่กิน
ทีหลัง ท่านกล่าวว่า ธัญชาติ. ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง
ลูกเดือย หญ้ากับแก้ ชื่อว่าของที่กินก่อน เครื่องแกงชื่อว่าของที่กินทีหลัง.
พวกพ้อง ในคำว่า พนฺธวานิ มี ๔ จำพวก คือ พวกพ้องโดยเป็น
ญาติ ๑ พวกพ้องโดยโคตร ๑ พวกพ้องโดยความเป็นมิตร ๑ พวกพ้อง
เนื่องด้วยศิลป ๑ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง.
[๗๖๓] ชื่อว่า กาม ในอุเทศว่า หิตฺวาน กามานิ ยโถธกานิ
ดังนี้ โดยหัวข้อได้แก่กาม ๒ อย่าง คือวัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ ฯ ล ฯ
เหล่านั้นท่านกล่าวว่าวัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่ากิเลสกาม.
คำว่า ละกามทั้งหลาย ความว่า กำหนดรู้วัตถุกามแล้ว ละ
บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกิเลสกาม เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ละกามทั้งหลาย.

590
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 591 (เล่ม 67)

คำว่า ตามส่วน ความว่า ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่
ละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละ
ได้แล้วด้วยสกทาคามิมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละได้
แล้วด้วยอนาคามิมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละได้แล้ว
ด้วยอรหัตมรรค เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ละแล้วซึ่งกามทั้งหลายตามส่วน
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละบุตร ทาระ บิดา มารดา
ทรัพย์ ธัญชาติ พวกพ้อง และกามทั้งหลายตามส่วน
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๖๔] กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย มีความยินดี
น้อย มีทุกข์มาก บุคคลผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดังฝี
ดังนี้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๖๕] คำว่า เครื่องข้องก็ดี ว่าเปิดก็ดี ว่าเหยื่อก็ดี ว่า
เกี่ยวข้องก็ดี ว่าพัวพันก็ดี นี้เป็นชื่อแห่งเบญจกามคุณ ในอุเทศว่า
สงฺโค เอโส ปริตฺตเมตฺถ โสขฺยํ ดังนี้.
คำว่า กามนี้มีความสุขน้อย ความว่า สมจริงตามพระพุทธพจน์
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการ
นี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยคา อันน่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้ง
ด้วยหู กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่จะ
พึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน

591
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 592 (เล่ม 67)

ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้แล ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใดแล อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้เกิดขึ้น สุข
โสมนัสนั้นแลเรากล่าวว่า กามสุข กามสุขนี้มีน้อย กามสุขนี้เลว กามสุข
นี้ลามก กามสุขนี้ให้เกิดทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามนี้เป็นเครื่อง
ข้อง มีความสุขน้อย.
[๗๖๖] คำว่า กามนี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ความว่า
กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มี
ความคับแค้นมาก มีโทษมาก กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เหมือนโครงกระดูก กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือน
ชิ้นเนื้อ กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนคบเพลิง กาม
ทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนหลุมถ่านเพลิง กามทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนความฝัน กามทั้งหลายพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนของที่ยืมเขามา กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า เหมือนผลไม้ กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือน
คาบและสุนัขไล่เนื้อ กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนหอก
และหลาว กามทั้งหลายพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เหมือนศีรษะงูเห่า
มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กาม
นี้มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก.
[๗๖๗] คำว่า ดังฝีก็ดี ว่าเบ็ดก็ดี ว่าเหยื่อก็ดี ว่าความข้อง
ก็ดี ว่าความกังวลก็ดี เป็นชื่อของเบญจกามคุณ ในอุเทศว่า คณฺโฑ
เอโส อิติ ญตฺวา มติมา ดังนี้.
บทว่า อิติ เป็นบทสนธิ เป็นบทเกี่ยวข้อง เป็นบทบริบูรณ์

592
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 593 (เล่ม 67)

เป็นที่ประชุมแห่งอักขระ เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ. บทว่า อิติ
นี้ เป็นไปตามลำดับบท.
คำว่า บุคคลผู้มีปัญญารู้แล้วว่า กามนี้เป็นดังฝี ความว่า บุคคล
ผู้มีปัญญา เป็นบัณฑิต มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง
มีปัญญาทำลายกิเลส รู้แล้ว คือ เทียบเคียงพิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำ
ให้ปรากฏว่า กามนี้เป็นดังฝี เป็นเบ็ด เป็นเหยื่อ เป็นความข้อง เป็น
ความกังวล เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญารู้แล้วว่า กามนี้เป็น
ดังฝี พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
กามนี้เป็นเครื่องข้อง มีความสุขน้อย มีความยินดี
น้อย มีทุกข์มาก บุคคลผู้มีปัญญารู้ว่า กามนี้เป็นดังฝี
ดังนี้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๖๘] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทำลายแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้ง-
หลาย เหมือนปลาทำลายข่าย และเหมือนไฟที่ไหม้ลาม
ไปมิได้กลับมา พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๖๙] สังโยชน์ ในอุเทศว่า สนฺทาลยิตฺวาน สญฺโญชนานิ
ดังนี้ มี ๑๐ ประการ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานสังโยชน์
ทิฏฐิสังโยชน์ วิจิกิจฉาสังโยชน์ สีลัพพตปรามาสสังโยชน์ ภวราค-
สังโยชน์ อิสสาสังโยชน์ มัจฉริยสังโยชน์ อวิชชาสังโยชน์.
คำว่า ทำลายแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย ความว่า ทำลาย ทำลาย

593
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 594 (เล่ม 67)

พร้อม ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มี ซึ่งสังโยชน์ ๑๐
ประการ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทำลายแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งหลาย.
[๗๗๐] ข่ายที่ทำด้วยด้าย ท่านกล่าวว่า ข่าย ในอุเทศว่า ชาลํว
เภตฺวา สลิลมฺพุจารี ดังนี้ . น้ำท่านกล่าวว่า สลิละ. ปลาท่านกล่าวว่า
อัมพุจารี สัตว์เที่ยวอยู่ในน้ำ. ปลาทำลาย ฉีก แหวกข่ายขาดลอดออก
แล้ว เที่ยวว่าแหวกไป รักษา บำรุง เยียวยา.
ข่ายมี ๒ ชนิด คือ ข่ายคือตัณหา ๑ ข่ายคือทิฏฐิ ๑ ฯ ล ฯ
นี้ชื่อว่า ข่ายคือตัณหา ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ข่ายคือทิฏฐิ. พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้านั้นละข่ายคือตัณหา สละคืนข่ายทิฏฐิเสียแล้ว เหมือนปลาทำลายข่าย
ฉะนั้น เพราะเป็นผู้ละข่ายคือตัณหา สละคืนข่ายคือทิฏฐิเสียแล้ว พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงไม่ข้อง ไม่ติด ไม่พัวพันในรูป เสียง กลิ่น รส
โผฏฐัพพะ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ ธรรมารมณ์ที่
จะพึงรู้แจ้ง เป็นผู้ออกไป สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง มีใจอันทำ
ไม่ให้มีเขตแดนอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนปลาทำลายข่ายฉะนั้น.
[๗๗๑] คำว่า เหมือนไฟไหม้ลามไปมิได้กลับมา ความว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละได้
แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละ
ได้แล้วด้วยสกทาคามิมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่
ละแล้วด้วยอนาคามิมรรค ไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละ
ได้แล้วด้วยอรหัตมรรค เหมือนไฟไหม้เชื้อหญ้าและไม้ลามไปมิได้กลับมา
ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนไฟไหม้ลามไปมิได้กลับมา พึง

594
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 595 (เล่ม 67)

เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธ-
เจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ทำลายแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้ง-
หลาย เหมือนปลาทำลายข่าย และเหมือนไฟที่ไหม้ลาม
ไปมิได้กลับมา พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.
[๗๗๒] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้มีจักษุอันทอดลง ไม่
เหลวไหลเพราะเท้า คุ้มครองอินทรีย์ มีใจอันรักษาแล้ว
กิเลสมิได้ชุ่ม ไฟกิเลสมิได้เผา พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๗๓] พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ น จ ปาท-
โลโล ดังนี้ ภิกษุเป็นผู้ไม่สำรวมจักษุอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้เหลวไหลเพราะจักษุ ประกอบด้วยความเป็นผู้เหลวไหลเพราะจักษุ
ด้วยความดำริว่า เราจะดูรูปที่ไม่เคยดู จะผ่านเลยรูปที่เคยดูแล้ว จึงออก
จากอารามนี้ไปยังอารามโน้น จากสวนนี้ไปยังสวนโน้น จากบ้านนี้ไปยัง
บ้านโน้น จากนิคมนี้ไปยังนิคมโน้น จากนครนี้ไปยังนครโน้น จากรัฐนี้
ไปยังรัฐโน้น จากชนบทนี้ไปยังชนบทโน้น เป็นผู้ขวนขวายความเที่ยว
นาน เที่ยวไปไม่หยุด เพื่อจะดูรูป ภิกษุเป็นผู้ไม่สำรวมจักษุอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน ไม่
สำรวม เดินดูกองทัพช้าง ดูกองทัพม้า ดูกองทัพรถ ดูกองทัพเดินเท้า
ดูพวกกุมาร ดูพวกกุมารี ดูพวกสตรี ดูพวกบุรุษ ดูร้านตลาด ดู

595
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 596 (เล่ม 67)

ประตูบ้าน ดูข้างบน ดูข้างล่าง ดูทิศใหญ่ทิศน้อย เดินไป ภิกษุเป็นผู้
ไม่สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ถือนิมิต ถืออนุพยัญชนะ
ย่อมไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็นเหตุให้
อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ไม่รักษาจักขุนทรีย์
ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุเป็นผู้ไม่สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เหมือนท่านสมณพราหมณ์บางจำพวก ฉันโภชนะที่
เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว เป็นผู้ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็น
ปานนี้ คือการฟ้อน การขับร้อง การประโคม มหรสพมีการรำเป็นต้น
การเล่านิยาย เพลงปรบมือ การเล่นปลุกฝี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้าน
เมืองที่สวยงาม การเล่นของคนจัณฑาล การเล่นไต่ราว การเล่นหน้าศพ
ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะ ชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา
รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพล การจัด
กระบวนทัพ กองทัพ ภิกษุเป็นผู้ไม่สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนนเป็นผู้
สำรวม ไม่ดูกองทัพช้าง ไม่ดูกองทัพม้า ไม่ดูกองทัพรถ ไม่ดูกองทัพ
เดินเท้า ไม่ดูพวกกุมาร ไม่ดูพวกกุมารี ไม่ดูพวกสตรี ไม่ดูพวกบุรุษ
ไม่ดูร้านตลาด ไม่ดูประตูบ้าน ไม่ดูข้างบน ไม่ดูข้างล่าง ไม่ดูทิศใหญ่
ทิศน้อย เดินไป ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้
เหลวไหลเพราะจักษุ ไม่ประกอบด้วยความเป็นผู้เหลวไหลเพราะจักษุ
ด้วยความไม่ดำริว่า เราจะดูรูปที่ไม่เคยดู จะผ่านเลยรูปที่เคยดูแล้ว ไม่

596
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 597 (เล่ม 67)

ออกจากอารามนี้ไปยังอารามโน้น ไม่จากสวนนี้ไปยังสวนโน้น ไม่จาก
บ้านนี้ไปยังบ้านโน้น ไม่จากนิคมนี้ไปยังนิคมโน้น ไม่จากนครนี้ไปยัง
นครโน้น ไม่จากรัฐนี้ไปยังรัฐโน้น ไม่จากชนบทนี้ไปยังชนบทโน้น
ไม่ขวนขวายการเที่ยวนาน เที่ยวไม่หยุด เพื่อจะดูรูป ภิกษุเป็นผู้สำรวม
จักษุอย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิ ไม่ถืออนุ-
พยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว พึงเป็น
เหตุให้อกุศลธรรมอันลามกคืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อมรักษา
จักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุแม้
อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เหมือนท่านสมณพราหมณ์บางจำพวก ฉัน โภชนะ
ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว เป็นผู้ไม่ขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่
กุศลธรรมเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับ การประโคม ฯ ล ฯ การ
ดูกองทัพ ภิกษุเป็นผู้งดเว้น จากการขวนขวายดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่
กุศลธรรมเห็นปานนี้ ภิกษุเป็นผู้สำรวมจักษุแม้อย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศว่า ไม่เหลวไหลเพราะเท้า ดังต่อไปนี้
ภิกษุเป็นผู้เหลวไหลเพราะเท้าอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
เหลวไหลเพราะเท้า ประกอบด้วยความเป็นผู้เหลวไหลเพราะเท้า ออก
จากอารามนี้ไปยังอารามโน้น ... จากชนบทนี้ไปยังชนบทโน้น เป็นผู้
ขวนขวยการเที่ยวไปนาน เที่ยวไปไม่หยุด ภิกษุเป็นผู้เหลวไหลเพราะ
เท้าแม้อย่างนี้.

597
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 598 (เล่ม 67)

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้เหลวไหลเพราะ
เท้า ภายในสังฆาราม ฟุ้งซ่าน มีจิตไม่สงบ มิใช่เพราะเหตุแห่งประโยชน์
มิใช่เพราะเหตุที่ถูกใช้ ออกจากบริเวณนี้ไปยังบริเวณโน้น จากวิหารนี้
ไปยังวิหารโน้น จากเพิงนี้ไปยังเพิงโน้น จากปราสาทนี้ไปยังปราสาท
โน้น จากเรือนโล้นหลังนี้ไปยังเรือนโล้นหลังโน้น จากถ้ำนี้ไปยังถ้ำโน้น
จากที่เร้นนี้ไปยังที่เร้นโน้น จากกระท่อมนี้ไปยังกระท่อมโน้น จากเรือน
ยอดหลังนี้ไปยังเรือนยอดหลังโน้น จากป้อมนี้ไปยังป้อมโน้น จากโรงนี้
ไปยังโรงโน้น จากที่พักแห่งนี้ไปยังที่พักแห่งโน้น จากโรงเก็บของแห่งนี้
ไปยังโรงเก็บของแห่งโน้น จากโรงฉันแห่งนี้ไปยังโรงฉันแห่งโน้น จาก
มณฑปแห่งนี้ไปยังมณฑปแห่งโน้น จากโคนไม้ต้นนี้ไปยังโคนไม้ต้นโน้น
ในสถานที่ที่ภิกษุนั่งกันอยู่หรือกำลังเดินไป มีรูปเดียวก็รวมเป็นรูปที่สอง
มีสองรูปก็เป็นรูปที่สาม หรือมีสามรูปก็เป็นรูปที่สี่ ย่อมพูดคำเพ้อเจ้อ
มากในที่นั้น คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯ ล ฯ เรื่องความเจริญ
ความเสื่อม ภิกษุเป็นผู้เหลวไหลเพราะเท้าแม้อย่างนี้.
คำว่า ไม่เหลวไหลเพราะเท้า ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้น เป็นผู้เว้น เว้นขาด ออกไป สลัดออก หลุดพ้น ไม่เกี่ยวข้อง
ด้วยความเป็นผู้เหลวไหลเพราะเท้า มีจิตอันทำไม่ให้มีเขตแดนอยู่ ชอบ
ในความสงัด ยินดีในความสงัด ประกอบในความสงบจิต ณ ภายใน
เนือง ๆ มีฌานมิได้ห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร
เพ่งฌาน ยินดีในฌาน หมั่นประกอบเอกีภาพ หนักอยู่ในประโยชน์ตน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้สำรวมจักษุและไม่เหลวไหลเพราะเท้า.

598