No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 559 (เล่ม 67)

เป็นสหาย ตัณหาเป็นสหายมีอยู่ บุคคลเป็นสหายมีอยู่ ตัณหาเป็นสหาย
อย่างไร รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา
ธรรมตัณหา ชื่อว่าตัณหา ผู้ใดยังละตัณหานี้ไม่ได้ ผู้นั้นกล่าวว่า มีตัณหา
เป็นสหาย.
บุรุษมีตัณหาเป็นสหาย ท่องเที่ยวไปตลอดกาลนาน
ย่อมไม่ล่วงสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และมีความเป็น
อย่างอื่นไปได้.
ตัณหาเป็นสหายอย่างนี้.
บุคคลเป็นสหายอย่างไร บุคคลบางตนในโลกนี้ ฟุ้งซ่านมิใช่
เพราะเหตุของตน มิใช่เพราะเหตุแห่งผู้อื่นให้ทำ มีจิตไม่สงบ คนเดียว
กลายเป็นคนที่สองบ้าง สองคนกลายเป็นคนที่สามบ้าง สามคนกลายเป็น
คนที่สี่บ้าง ย่อมกล่าวคำเพ้อเจ้อมากในที่ที่ตนไปนั้น คือ พูดเรื่องพระราชา
เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องข้าว เรื่องน้ำ
เรื่องผ้า เรื่องดอกไม้ เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม
เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้า เรื่องตรอก
เรื่องท่าน้ำ เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อม ด้วย
ประการดังนี้ บุคคลเป็นสหายอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กับสหาย
พึงมีแก่เราอย่างนี้.
[๗๒๐] ดิรัจฉานกถา ๓๒ คือ เรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯ ล ฯ
เรื่องความเจริญละความเสื่อมด้วยประการนั้น ท่านกล่าวว่า การพูดด้วย
วาจา ในอุเทศว่า วาจาภิลาโป อภิสชฺชนา วา ดังนี้. ชื่อว่า ความ
เกี่ยวข้อง ได้แก่ ความเกี่ยวข้อง ๒ อย่างคือ ความเกี่ยวข้องด้วยตัณหา ๑

559
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 560 (เล่ม 67)

ความเกี่ยวข้องด้วยทิฏฐิ ๑ ฯ ล ฯ นี้ชื่อว่า ความเกี่ยวข้องด้วยตัณหา นี้
ชื่อว่า ความเกี่ยวข้องด้วยทิฏฐิ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า การพูดด้วยวาจา
ก็ดี ความเกี่ยวข้องก็ดี.
[๗๒๑] ชื่อว่า ภัย ในอุเทศว่า เอตํ ภยํ อายตึ เปกฺขมาโน
ดังนี้ คือ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย
อุทกภัย ภัยคือการติเตียนตน ภัยคือการติเตียนผู้อื่น ภัยคืออาชญา ภัย
คือทุคติ ภัยแต่ลูกคลื่น ภัยแต่จระเข้ ภัยแต่น้ำวน ภัยแต่ปลาร้าย ภัยแต่
การแสวงหาเครื่องบำรุงชีพ ภัยแต่ความติเตียน ภัยคือความครั่นคร้าม
ในประชุมชน เหตุที่น่ากลัว ความหวาดเสียว ขนลุกขนพอง ความที่จิต
สะดุ้ง ความที่จิตหวั่นหวาด.
คำว่า เมื่อเห็นภัยนี้ต่อไป ความว่า เมื่อเห็น เมื่อแลเห็น เมื่อ
ตรวจดู เมื่อเพ่งดู เมื่อพิจารณา ซึ่งภัยนี้ต่อไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เมื่อเห็นภัยนี้ต่อไป พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
การพูดด้วยวาจาก็ดี ความเกี่ยวข้องก็ดี กับสหาย
พึงมีแก่เราอย่างนี้ บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ต่อไป พึงเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๒๒] ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร มีรสอร่อย น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตด้วยอารมณ์มีชนิดต่าง ๆ บุคคลเห็นโทษใน
กามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

560
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 561 (เล่ม 67)

[๗๒๓] คำว่า โดยหัวข้อว่า กาม ในอุเทศว่า กามา หิ จิตฺรา
มธุรา มโนรมา ดังนี้ กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑
ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า วัตถุกาม ฯ ล ฯ เหล่านั้นท่านกล่าวว่า กิเลส-
กาม.
คำว่า อันวิจิตร ความว่า มีรูปชนิดต่าง ๆ มีเสียงชนิดต่าง ๆ มี
กลิ่นชนิดต่าง ๆ มีรสชนิดต่าง ๆ มีโผฏฐัพพะชนิดต่าง ๆ.
คำว่า มีรสอร่อย ความว่า สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้
๕ ประการเป็นไฉน รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู
กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้ง
ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้
กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใด อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้
เกิดขึ้น สุขโสมนัสนี้เรากล่าวว่า เป็นกามสุข เป็นสุขเจือด้วยอุจจาระ เป็น
สุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควร
ให้เจริญ ไม่ควรทำให้มาก เราย่อมกล่าวว่า ควรกลัวต่อความสุขนี้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร มีรสอร่อย.
จิต ใจ มนัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ
วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมกัน ชื่อว่า มนะ ในอุเทศว่า
มโนรมา ดังนี้.
[๗๒๔] คำว่า ย่อมย่ำยีจิตด้วยอารมณ์ชนิดต่าง ๆ ความว่า

561
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 562 (เล่ม 67)

ย่อมย่ำยีจิต คือ ย่อมให้จิตสะดุ้ง ให้เสื่อม ให้เสีย ด้วยรูปชนิดต่าง ๆ
ฯ ล ฯ ด้วยโผฏฐัพพะชนิดต่าง ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมย่ำยีจิต
ด้วยอารมณ์ชนิดต่าง ๆ.
[๗๒๕] พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศว่า อาทีนวํ กามคุเณสุ ทิสฺวา
ดังต่อไปนี้ สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทษแห่งกามเป็นอย่างไร ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีพด้วยที่ตั้งแห่งศิลปะ คือ การนับ
นิ้วมือ การคำนวณ การประมาณ กสิกรรม พาณิชกรรม โครักขกรรม
เป็นนักรบ เป็นข้าราชการ หรือด้วยกิจอื่นซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งศิลปะ ทน
ต่อความหนาว ทนต่อความร้อน ถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัส
แห่งสัตว์เสือกคลาน เบียดเบียน ต้องตายเพราะความหิว ความกระหาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามนี้ เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกาม
เป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลาย
นั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นหมั่นเพียรพยายามอยู่อย่าง
นั้น โภคสมบัติเหล่านั้นย่อมไม่เจริญขึ้น กลับบุตรนั้นก็เศร้าโศก ลำบากใจ
ราพันเพ้อ ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหลว่า ความหมั่นของเราเป็น
หมันหนอ ความพยายามของเราไร้ผลหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ
แห่งกามแม้นี้ เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น
นิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นหมั่นเพียรพยายามอยู่ โภค-
สมบัติเหล่านั้นย่อมเจริญขึ้น กุลบุตรนั้นก็ได้เสวยทุกข์โทมนัส เพราะเหตุ

562
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 563 (เล่ม 67)

รักษาโภคสมบัติเหล่านั้น ด้วยคิดว่า โดยอุบายอะไร โภคสมบัติของเรา
จึงจะไม่ถูกพระราชาริบไป โจรจะไม่ลักไปได้ ไฟจะไม่ไหม้ น้ำจะไม่ท่วม
พวกทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่ขนเอาไปได้ เมื่อกุลบุตรนั้นรักษาคุ้มครอง
อยู่อย่างนี้ โภคสมบัติเหล่านั้นถูกพระราชาริบเอาไป ถูกโจรลักเอาไป
ถูกไฟไหม้ ถูกน้ำท่วม หรือถูกทายาทผู้ไม่เป็นที่รักขนเอาไป กุลบุตร
ย่อมเศร้าโศก ฯ ล ฯ ถึงความหลงใหลว่า เรามีทรัพย์สิ่งใด แม้ทรัพย์
สิ่งนั้นหมดไปหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้ เห็นกัน
ได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์
เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระราชาวิวาทกับพระราชา
ก็ดี กษัตริย์วิวาทกับกษัตริย์ก็ดี พราหมณ์วิวาทกับพราหมณ์ก็ดี คฤหบดี
วิวาทกับคฤหบดีก็ดี มารดาวิวาทกับบุตรก็ดี บุตรวิวาทกับมารดาก็ดี
บิดาวิวาทกับบุตรก็ดี บุตรวิวาทกับบิดาก็ดี พี่น้องชายวิวาทกับพี่น้อง
หญิงก็ดี พี่น้องหญิงวิวาทกับพี่น้องชายก็ดี สหายวิวาทกับสหายก็ดี
ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่ง
กามทั้งหลายนั่นเอง ชนเหล่านั้นทะเลาะวิวาทกัน เพราะเหตุแห่งกามนั้น
ประหารกันและกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง
ด้วยศัสตราบ้าง ชนเหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ถึงความทุกข์ปางตาย
บ้าง เพราะการประหารกันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้
เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกาม
เป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง คนทั้งหลายถือดาบ และ

563
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 564 (เล่ม 67)

โล่ จับธนูสอดใส่แล่งแล้ว ย่อมเข้าสู่สงครามที่กำลังประชิดกันทั้งสอง
ฝ่าย เมื่อคนทั้งสองฝ่ายยิงลูกศรไปบ้าง พุ่งหอกไปบ้าง ฟันดาบบ้าง คน
เหล่านั้นยิงด้วยลูกศรก็มี พุ่งด้วยหอกก็มี และย่อมตัดศีรษะกันด้วยดาบ
ในสงครามนั้น ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์
เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง คนเหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์
ปางตายบ้างในสงครามนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้ เห็น
กันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็น
อธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง คนทั้งหลายถือดาบและโล่
จับธนูสอดใส่แล่งแล้ว เข้าไปสู่ป้อมอันมีปูนเป็นเครื่องฉาบทาบ้าง เมื่อ
คนทั้งสองฝ่ายยิงลูกศรไปบ้าง พุ่งหอกไปบ้าง ฟันดาบบ้าง คนเหล่านั้น
ยิงด้วยลูกศรก็มี พุ่งด้วยหอกก็มี รดด้วยโคมัยที่น่าเกลียดก็มี ทับด้วยฟ้า
ทับเหวก็มี ตัดศีรษะกันด้วยดาบก็มี ในสงครามนั้น ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ
มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง
คนเหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ในสงครามนั้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์
มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกาม
ทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง โจรทั้งหลายย่อมตัดที่ต่อบ้าง
ปล้นเรือนทุกหลังบ้าง ปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ดักตีชิงในทาง
เปลี่ยวบ้าง คบชู้ภรรยาของชายอื่นบ้าง ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ มีกาม
เป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง พวก

564
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 565 (เล่ม 67)

ราชบุรุษจับโจรคนนั้นได้แล้ว ให้ทำกรรมกรณ์ต่าง ๆ คือ เฆี่ยนด้วยแส้
บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยพลองสั้นบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง
ฯ ล ฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง โจรเหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์
ปางตายบ้าง เพราะกรรมกรณ์นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกาม
แม้นี้ เห็นกันได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์
เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ชนทั้งหลายย่อมประพฤติ
ทุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น
นิทาน มีกามเป็นอธิการณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง ชนเหล่านั้น
ครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว เมื่อแตกกายตายไป
ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่ง
กามแม้นี้ มีในสัมปรายภพ เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็น
นิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.
คำว่า เห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว ความว่า พบเห็น เทียบ-
เคียง พิจารณาให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏแล้ว ซึ่งโทษในกามคุณทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
จึงกล่าวว่า
ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร มีรสอร่อย น่ารื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตด้วยอารมณ์มีชนิดต่าง ๆ บุคคลเห็นโทษใน
กามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.

565
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 566 (เล่ม 67)

[๗๒๖] คำว่า กามนี้ เป็นเสนียด เป็นดังฝี เป็นอุบาทว์
เป็นโรค เป็นลูกศร เป็นภัย บุคคลเห็นภัยนี้ในกามคุณ
ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๒๗] พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศว่า กามทั้งหลายเป็นเสนียด
เป็นดังฝี เป็นอุบาทว์ เป็นโรค เป็นลูกศร เป็นภัย ดังต่อไปนี้.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย คำว่า เป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังฝี เป็นความ
ข้อง เป็นสัตว์ เป็นเปือกตม เป็นครรภ์ ล้วนแล้วเป็นชื่อของกาม ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุใด คำว่า เป็นภัย จึงเป็นชื่อของกาม ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้กำหนัดด้วยกามราคะ อันฉันทราคะผูกพัน ย่อมไม่
พ้นไปจากภัยแม้อันมีในปัจจุบัน ย่อมไม่พ้นไปจากภัยแม้อันมีในสัมปราย-
ภพ เพราะเหตุนั้น คำว่า เป็นภัย นี้ จึงเป็นชื่อของกาม ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เพราะเหตุใด คำว่า เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังฝี เป็น
ความข้อง เป็นสัตว์ เป็นเปือกตม เป็นครรภ์ จึงเป็นชื่อของกาม ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้กำหนัดด้วยกามราคะ อันฉันทราคะผูกพัน ย่อมไม่
พ้นไปจากครรภ์แม้อันมีในปัจจุบัน ย่อมไม่พ้นไปจากครรภ์แม้อันมีใน
สัมปรายภพ เพราะเหตุนั้น คำว่า เป็นครรภ์ นี้ จึงเป็นชื่อของกาม.
สัตว์ที่เป็นปุถุชน หยั่งลงแล้วด้วยราคะอันน่ายินดี
ย่อมเข้าถึงความเป็นสัตว์เกิดในครรภ์ เพราะกามเหล่าใด
กามเหล่านั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นโรค
เป็นดังหัวฝี เป็นความข้อง เป็นสัตว์ เป็นเปือกตม และ

566
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 567 (เล่ม 67)

เป็นครรภ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด ภิกษุไม่ละฌาน
เมื่อนั้น ภิกษุนั้นล่วงกามอันเป็นดังทางมีเปือกตม ข้าม
ได้ยาก ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นอย่างนั้น เข้าถึงชาติและ
ชรา ดิ้นรนอยู่.
เพราะฉะนั้น จึงว่า คำว่า กามนี้ เป็นเสนียด เป็นดังฝี เป็น
อุบาทว์ เป็นโรค เป็นลูกศร เป็นภัย.
[๗๒๘] คำว่า เห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลายแล้ว ความว่า
เห็น เทียบเคียง พิจารณา ให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏแล้ว ซึ่งภัยนี้ใน
กามคุณทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลายแล้ว
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
คำว่า กามนี้ เป็นเสนียด เป็นดังฝี เป็นอุบาทว์
เป็นโรค เป็นลูกศร เป็นภัย บุคคลเห็นภัยนี้ในกาม
ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๒๙] บุคคลครอบงำแม้ภัยทั้งปวงแม้นี้ คือ ความหนาว
ความร้อน ความหิว ความระหาย ลม แดด เหลือบ
และสัตว์เสือกคลานแล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๗๓๐] ความหนาว ในอุเทศว่า สีตญฺจ อุณฺหญฺจ ขุทฺทํ
ปิปาสํ ดังนี้ ย่อมมีด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ความหนาวย่อมมีด้วย

567
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 568 (เล่ม 67)

สามารถแห่งธาตุภายในกำเริบ ๑ ความหนาวย่อมมีด้วยสามารถแห่งฤดู
ภายนอก ๑.
ความร้อน ในคำว่า อุณฺหํ ดังนี้ ย่อมมีด้วยเหตุ ๒ ประการ
คือ ความร้อนย่อมมีด้วยสามารถแห่งธาตุภายในกำเริบ ๑ ความร้อนย่อม
มีด้วยสามารถแห่งฤดูภายนอก ๑.
ความหิว ท่านกล่าวว่า ขุทฺทา. ความอยากน้ำ ท่านกล่าวว่า
ปิปาสา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความหนาว ความร้อน ความหิว
ความกระหาย.
[๗๓๑] ชื่อว่า ลม ในอุเทศว่า วาตาตเป ฑํสสิรึสเป จ
ดังนี้ คือ ลมทิศตะวันออก ลมทิศตะวันตก ลมทิศเหนือ ลมทิศใต้
ลมมีธุลี ลมหนาว ลมร้อน ลมน้อย ลมมาก ลมบ้าหมู ลมแต่ครุฑ
ลมแต่ใบตาล ลมแต่พัด ความร้อนแต่ดวงอาทิตย์ท่านกล่าวว่าแดด
แมลงตาเหลืองท่านกล่าวว่าเหลือบ งูท่านกล่าวว่าสัตว์เสือกคลาน เพราะ
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ลม แดด เหลือบ และสัตว์เสือกคลาน.
[๗๓๒] คำว่า ครอบงำแม้ภัยทั้งปวงนั้น ความว่า ครอบงำ
ปราบปราม กำจัด ย่ำยีแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ครอบงำแม้ภัย
ทั้งปวงนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
บุคคลครอบงำแม้ภัยทั้งปวงแม้นี้ คือ ความหนาว
ความร้อน ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ
และสัตว์เสือกคลาน แล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.

568