No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 569 (เล่ม 67)

[๗๓๓] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งหมู่ทั้งหลาย มีขันธ์
เกิดดีแล้ว มีธรรมดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง ย่อมอยู่ในป่า
ตามอภิรมย์ เหมือนนาคละแล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย มีขันธ์
เกิดพร้อมแล้ว มีตัวดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง อยู่ในป่าตาม
อภิรมย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๓๔] ช้างตัวประเสริฐท่านกล่าวว่า นาค ในอุเทศว่า นาโค ว
ยูถานิ วิวชฺชยิตฺวา ดังนี้. แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ชื่อว่าเป็นนาค.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุไร พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่าไม่ทำความชั่ว ว่าไม่ถึง
ว่าไม่มา. พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่า
ไม่ทำความชั่วอย่างไร อกุศลธรรมอันลามก ทำให้มีความเศร้าหมอง
ให้เกิดในภพใหม่ ให้มีความกระวนกระวาย มีทุกข์เป็นวิบาก เป็นที่ตั้ง
แห่งชาติชราและมรณะต่อไป ท่านกล่าวว่า ความชั่ว.
พระขีณาสพย่อมไม่ทำความชั่วอะไร ๆ ในโลกเลย
สละแล้วซึ่งสังโยชน์ทั้งปวงและเครื่องผูกทั้งหลาย เป็น
ผู้หลุดพ้นแล้ว ย่อมไม่เกาะเกี่ยวในธรรมทั้งปวง ท่าน
กล่าวว่า เป็นนาค ผู้คงที่ มีตนเป็นอย่างนั้น.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่าไม่ทำความ
ชั่วอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่าไม่ถึง
อย่างไร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นไม่ถึงฉันทาคติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถึง
โมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ ไม่ถึงด้วยอำนาจราคะ ไม่ถึงด้วยอำนาจโทสะ

569
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 570 (เล่ม 67)

ไม่ถึงด้วยอำนาจโมหะ ไม่ถึงด้วยอำนาจมานพ ไม่ถึงด้วยอำนาจทิฏฐิ
ไม่ถึงด้วยอำนาจอุทธัจจะ ไม่ถึงด้วยอำนาจวิจิกิจฉา ไม่ถึงด้วยอำนาจ
อนุสัย ไม่ดำเนินออกเลื่อนเคลื่อนไปด้วยธรรมทั้งหลายอันให้เป็นพวก
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่าไม่ถึงอย่างนี้.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่าเป็นนาค เพราะเหตุว่าไม่มา
อย่างไร พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นไม่มาอีก ไม่ย้อนมา ไม่กลับมา
สู่กิเลสทั้งหลาย ที่ละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค ด้วยสกทาคามิมรรค
ด้วยอนาคามิมรรค ด้วยอรหัตมรรค พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่านาค
เพราะเหตุว่าไม่มาอย่างนี้.
คำว่า เหมือนนาคละแล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย ความว่า ช้างตัว
ประเสริฐนั้น ละ เว้น ปล่อยแล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย เป็นผู้เดียว ย่างเข้า
ไปท่ามกลางป่า ย่อมเที่ยวไป เดินไป พักผ่อน ย่อมเป็นไป รักษา
บำรุง เยียวยา ไปในป่า ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้น ละ
เว้น ปล่อยแล้วซึ่งหมู่ เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด คืออาศัย เสพ
เสนาสนะอันสงัด เป็นป่ารกชัฏมีเสียงน้อย ไม่มีเสียงกึกก้อง ปราศจาก
ลมแต่หมู่ชน เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่การหลีกเร้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเดินผู้เดียว ยืนผู้เดียว นั่งผู้เดียว นอนผู้เดียว
เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตผู้เดียว กลับผู้เดียว นั่งในที่ลับผู้เดียว อธิษฐาน
จงกรมผู้เดียว เป็นผู้เดียวเที่ยวไป เดินไป ผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ พักผ่อน
เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหมือนนาคละ
แล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย.

570
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 571 (เล่ม 67)

[๗๓๕] คำว่า มีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว มีตัวดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง
ความว่า ช้างตัวประเสริฐนั้น มีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว คือ เป็นช้างสูง
๗ ศอกหรือ ๘ ศอก ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็เหมือนกัน
ฉันนั้น มีขันธ์เกิดพร้อมแล้วด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์
วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ.
ช้างตัวประเสริฐนั้นเป็นช้างมีตัวดังดอกบัว ฉันใด แม้พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้น มีธรรมดังดอกบัว ด้วยดอกบัวคือโพชฌงค์ ๗
ประการ คือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์
ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขา-
สัมโพชฌงค์.
ช้างตัวประเสริฐนั้นเป็นช้างยิ่งด้วยเรี่ยวแรง ด้วยกำลัง ด้วยความ
เร็ว ด้วยความกล้า ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้น เป็นผู้
ยิ่งด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
มีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว มีตัวดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง.
[๗๓๖] คำว่า ย่อมอยู่ในป่าตามอภิรมย์ ความว่า ช้างตัว
ประเสริฐนั้น ย่อมอยู่ในป่าตามอภิรมย์ ฉันใด แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้นก็ฉันนั้น ย่อมอยู่ในป่าตามอภิรมย์ คือ อยู่ในป่าตามอภิรมย์ ด้วย
ปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อยู่ในป่า
ตามอภิรมย์ด้วยเมตตาเจโตวิมุตติบ้าง กรุณาเจโตวิมุตติบ้าง มุทิตาเจโต-
วิมุตติบ้าง อุเบกขาเจโตวิมุตติบ้าง อยู่ในป่าตามอภิรมย์ด้วยอากาสา-
นัญจายตนสมาบัติบ้าง วิญญาณัญจายตนสมาบัติบ้าง อากิญจัญญายตน-
สมาบัติบ้าง เนวสัญญาสัญญายตนสมาบัติบ้าง ผลสมาบัติบ้าง

571
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 572 (เล่ม 67)

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อยู่ในป่าตามอภิรมย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละแล้วซึ่งหมู่ทั้งหลาย มีขันธ์
เกิดดีแล้ว มีธรรมดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง ย่อมอยู่ในป่า
ตามอภิรมย์ เหมือนนาคละแล้วซึ่งโขลงทั้งหลาย มีขันธ์
เกิดพร้อมแล้ว มีตัวดังดอกบัว เป็นผู้ยิ่ง อยู่ในป่าตาม
อภิรมย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๓๗] บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติอันมีในสมัย ด้วยเหตุใด
เหตุนั้น เป็นอัฏฐานะของบุคคลผู้ยินดีในความคลุกคลี
ด้วยหมู่ บุคคลได้ฟังแล้วซึ่งถ้อยคำของพระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๓๗๘] พึงทราบวินิจฉัย ในอุเทศว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติ
อันมีในสมัยด้วยเหตุใด เหตุนั้น เป็นอัฏฐานะของบุคคลผู้ยินดีใน
ความคลุกคลีด้วยหมู่ ดังต่อไปนี้.
สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
อานนท์ ภิกษุชอบความคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีในความคลุกคลีด้วยหมู่
ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความคลุกคลีด้วยหมู่ ชอบหมู่ ยินดีในหมู่ บันเทิง
ในหมู่ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบหมู่ จักเป็นผู้ได้ตามประสงค์
ได้โดยไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งสุขในเนกขัมมะ สุขในความสงัด สุขคือ
ความสงบ สุขในความตรัสรู้ ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

572
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 573 (เล่ม 67)

ดูก่อนอานนท์ ส่วนภิกษุใด หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ภิกษุนั้น
พึงได้สุขนั้นสมหวัง คือจักได้ตามประสงค์ ได้โดยไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก
ซึ่งสุขในเนกขัมมะ สุขในความสงัด สุขคือความสงบ สุขในความตรัสรู้
ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้.
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุชอบความคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีในความคลุกคลี
ด้วยหมู่ ประกอบเนืองๆ ซึ่งความเป็นผู้ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่ ชอบหมู่
ยินดีในหมู่ บันเทิงในหมู่ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความชอบหมู่ จักบรรลุ
ซึ่งเจโตวิมุตติอันมีในสมัย หรือซึ่งโลกุตรมรรคอันไม่กำเริบ อันไม่มีใน
สมัย ข้อนั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.
ดูก่อนอานนท์ ส่วนภิกษุใด หลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ภิกษุนั้น
พึงได้สุขนั้นสมหวัง คือจักบรรลุซึ่งเจโตวิมุตติอันมีในสมัย หรือซึ่ง
โลกุตรมรรคอันไม่กำเริบ อันไม่มีในสมัย ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติอันมีในสมัยด้วยเหตุใด
เหตุนั้น เป็นอัฏฐานะของบุคคลผู้ยินดีในความคลุกคลีด้วยหมู่.
[๗๓๙] พระสุริยะ ท่านกล่าวว่า พระอาทิตย์. ในอุเทศว่า
อาทิจฺจพนฺธุสฺส วโจ นิสมฺม ดังนี้ พระอาทิตย์นั้นเป็นโคดมโดยโคตร
แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าก็เป็นโคดมโดยโคตร แม้พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้นก็เป็นญาติ เป็นเผ่าพันธุ์โดยโคตรแห่งพระอาทิตย์ เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงชื่อว่า เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์.
คำว่า ได้ฟังแล้วซึ่งถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้เป็น
เผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ความว่า ได้ฟัง ได้ยิน ศึกษา ทรงจำ
เข้าไปกำหนดแล้ว ซึ่งถ้อยคำ คือ คำเป็นทาง เทศนา อนุสนธิ ของ

573
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 574 (เล่ม 67)

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ได้ฟังแล้วซึ่งถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์เเห่ง
พระอาทิตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติอันมีในสมัยด้วยเหตุใด เหตุ
นั้น เป็นอัฏฐานะของบุคคลผู้ยินดีในควานคลุกคลีด้วย
หมู่ บุคคลได้ฟังแล้วซึ่งถ้อยคำของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
[๗๔๐] เราล่วงเสียแล้วซึ่งทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนามทั้งหลาย
ถึงแล้วซึ่งมรรคนิยาม มีมรรคอันได้เฉพาะแล้ว เป็นผู้
มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ พึงเที่ยว
ไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๔๑] สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐ ท่านกล่าวว่าทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม
ในอุเทศว่า ทิฏฺฐิวิสูกานิ อุปาติวตฺโต ดังนี้ ปุถุชนผู้ไม่สดับในโลกนี้
ไม่ได้เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำ
ในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตนบ้าง
เห็นตนว่ามีรูปบ้าง เห็นรูปในตนบ้าง เห็นตนในรูปบ้าง เห็นเวทนา
โดยความเป็นตน ... เห็นสัญญาโดยความเป็นตน ... เห็นสังขารโดยความ
เป็นตน... เห็นวิญญาณโดยความเป็นตนบ้าง เห็นตนว่ามีวิญญาณบ้าง

574
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 575 (เล่ม 67)

เห็นวิญญาณในตนบ้าง เห็นตนในวิญญาณบ้าง ทิฏฐิเห็นปานนี้ ทิฏฐิ
ไปแล้ว ทิฏฐิอันรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร ทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนาม ทิฏฐิกวัดแกว่ง
ทิฏฐิเป็นสังโยชน์ ความถือ ความถือเฉพาะ ความถือมั่น ความลูบคลำ
ทางชั่ว ทางผิด ความเป็นผิด ลัทธิแห่งเดียรถีย์ ความถือด้วยความ
แสวงหาผิด ความถือวิปริต ความถือวิปลาส ความถือผิด ความถือว่า
จริงในเรื่องอันไม่จริง ทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้ เป็นทิฏฐิเสี้ยนหนาม.
คำว่า ล่วงเสียแล้ว ความว่า ล่วงเสียแล้ว ก้าวล่วงแล้ว ล่วง
เลยแล้ว เป็นไปล่วงแล้วซึ่งทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนามทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ล่วงเสียแล้วซึ่งทิฏฐิเป็นเสี้ยนหนามทั้งหลาย.
[๗๔๒] มรรค ๔ และอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ
คือสัมมาทิฏฐิ... สัมมาสมาธิ ท่านกล่าวว่า มรรคนิยาม ในอุเทศว่า
ปตฺโต นิยามํ ปฏิลทฺธมคฺโค ดังนี้ เราประกอบแล้ว ถึงพร้อมแล้ว
บรรลุแล้ว ถูกต้องแล้ว ทำให้เเจ้งแล้วด้วยอริยมรรค ๔ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ถึงแล้วซึ่งมรรคนิยาม.
คำว่า มีมรรคอันได้เฉพาะแล้ว ความว่า มีมรรคอันได้เเล้ว
มีมรรคอันได้เฉพาะแล้ว มีมรรคอันบรรลุแล้ว มีมรรคอันถูกต้องแล้ว
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถึงแล้วซึ่งมรรคนิยาม มีมรรคอันได้เฉพาะแล้ว.
[๗๔๓] คำว่า เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ
ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีญาณเกิดขึ้น เกิดขึ้นพร้อม บังเกิด
บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้ว คือ มีญาณเกิดขึ้น เกิดขึ้นพร้อม บังเกิด
บังเกิดเฉพาะ ปรากฏแล้วว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวง
เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น

575
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 576 (เล่ม 67)

ธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว.
คำว่า อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้น อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ คือ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย
ไม่ไปด้วยญาณอันเนื่องด้วยผู้อื่น เป็นผู้ไม่หลงใหล มีสติสัมปชัญญะ ย่อมรู้
ย่อมเห็นตามความเป็นจริงว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ฯ ล ฯ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
เราล่วงเสียแล้วซึ่งทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนามทั้งหลาย
ถึงแล้วซึ่งมรรคนิยาม มีมรรคอันได้เฉพาะแล้ว เป็นผู้มี
ญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่ต้องแนะนำ พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๔๔] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นผู้ไม่โลภ ไม่โกหก ไม่
กระหาย ไม่มีความลบหลู่ มีบาปธรรมดังรสฝาดและโมหะ
กำจัดแล้ว ไม่มีความหวังในโลกทั้งปวง พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๔๕] ตัณหา ราคะ สาราคะ ฯ ล ฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล
ท่านกล่าวว่า ความโลภ ในอุเทศว่า นิลฺโลลุโป นิกฺกุโห นิปฺปิปาโส
ดังนี้.

576
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 577 (เล่ม 67)

ตัณหาอันเป็นความโลภนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าละได้แล้ว ตัด
ขาดแล้ว ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังต้นตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง
ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
จึงเป็นผู้ไม่มีความโลภ วัตถุแห่งความโกหก ในคำว่า ไม่โกหก
มี ๓ อย่าง คือ วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งการเสพปัจจัย ๑ วัตถุ
แห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งอิริยาบถ ๑ วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วน
แห่งการพูดอิงธรรม ๑.
วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งการเสพปัจจัยเป็นไฉน พวก
คฤหบดีในโลกนี้ ย่อมนิมนต์ภิกษุด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้นมีความปรารถนาลามก อันความ
ปรารถนาครอบงำแล้ว มีความต้องการด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร มุ่งความเป็นผู้ใคร่ได้มาก บอกเลิกรับจีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอพูดอย่างนี้ว่า
สมณะจะประสงค์อะไรด้วยจีวรมีค่ามาก สมณะควรจะเที่ยวเลือกเก็บผ้า
เก่า ๆ จากป่าช้าบ้าง จากกองหยากเยื่อบ้าง จากตลาดบ้าง แล้วทำ
สังฆาฏิบริโภค นั่นเป็นความสมควร สมณะประสงค์อะไรด้วยบิณฑบาต
มีค่ามาก สมณะควรเลี้ยงชีพด้วยอาหารที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยการเที่ยว
แสวงหา นั่นเป็นความสมควร สมณะจะประสงค์อะไรด้วยเสนาสนะมีค่า
มาก สมณะพึงอยู่ที่โคนต้นไม้หรือพึงอยู่ในที่แจ้ง นั่นเป็นความสมควร
สมณะจะประสงค์อะไรด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารอันมีค่ามาก สมณะ
ควรทำยาด้วยมูตรเน่าบ้าง ด้วยชิ้นลูกสมอบ้าง นั่นเป็นความสมควร
เธอมุ่งความเป็นผู้ใคร่ได้มาก ก็บริโภคจีวรที่เศร้าหมอง ฉันบิณฑบาตที่

577
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 578 (เล่ม 67)

เศร้าหมอง ใช้สอยเสนาสนะที่เศร้าหมอง เสพคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
ที่เศร้าหมอง.
พวกคฤหบดีก็รู้จักภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า สมณะรูปนี้มีความปรารถนา
น้อย เป็นผู้สันโดษ ชอบวิเวก ไม่เกี่ยวข้อง ปรารภความเพียร เป็นผู้
มีวาทะอันขจัดแล้ว ก็นิมนต์มากไปด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ภิกษุนั้นก็กล่าวอย่างนี้ว่า กุลบุตรผู้มีศรัทธา
จะประสบบุญเป็นอันมากก็เพราะมีปัจจัย ๓ อย่าง พร้อมหน้ากัน คือ
กุลบุตรผู้มีศรัทธา จะประสบบุญเป็นอันมาก เพราะมีศรัทธาพร้อมหน้า ๑
เพราะมีไทยธรรมพร้อมหน้า ๑ เพราะมีทักขิไณยบุคคลพร้อมหน้า ๑
ท่านทั้งหลายก็มีศรัทธานี้อยู่ ไทยธรรมก็ปรากฏอยู่ และอาตมาผู้เป็น
ปฏิคาหกก็มีอยู่ ถ้าอาตมาจักไม่รับ ด้วยเหตุที่อาตมาไม่รับ ท่านทั้งหลาย
ก็จักเสื่อมบุญ อาตมาไม่มีความประสงค์ด้วยปัจจัยนี้ ก็แต่ว่าอาตมาจักรับ
เพื่ออนุเคราะห์แก่ท่านทั้งหลาย ภิกษุนั้นมุ่งความเป็นผู้อยากได้มาก ก็รับ
จีวรมาก รับบิณฑบาตมาก รับเสนาสนะมาก รับคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
มาก. ความสยิ้วหน้า ความเป็นผู้สยิ้วหน้า ความโกหก กิริยาที่โกหก
ความเป็นผู้โกหก เห็นปานนี้ ท่านกล่าวว่า วัตถุแห่งความโกหกเป็น
ส่วนแห่งการเสพปัจจัย.
วัตถุแห่งความโกหกเป็นส่วนแห่งอิริยาบถเป็นไฉน ภิกษุบางรูป
ในศาสนานี้ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ ประสงค์
จะให้เขาสรรเสริญ ดำริว่า ประชุมชนจะสรรเสริญเราโดยอิริยาบถอย่างนี้
จึงสำรวมเดิน สำรวมยืน สำรวมนั่ง สำรวมนอน มุ่งเดิน มุ่งยืน มุ่งนั่ง
มุ่งนอน เดินเหมือนภิกษุมีสมาธิ ยืนเหมือนภิกษุมีสมาธิ นั่งเหมือน

578