No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 549 (เล่ม 67)

พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัม-
พุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน
เป็นผู้อันคนอื่นสงเคราะห์ยาก บุคคลพึงเป็นผู้มีความ
ขวนขวายน้อยในผู้อื่นและบุตรทั้งหลาย พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๖๙๗] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นวีรชน ปลงเสียแล้วซึ่ง
เครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ ตัดเครื่องผูกของคฤหัสถ์แล้ว
เหมือนต้นทองหลาง มีใบร่วงหล่นแล้ว พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๖๙๘] ผม หนวด ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ เครื่อง
แต่งตัว เครื่องประดับ ผ้า ผ้าห่ม ผ้าโพก เครื่องอบ เครื่องนวด
เครื่องอาบน้ำ เครื่องตัด คันฉ่อง เครื่องหยอดตา ดอกไม้ เครื่องไล้ทา
เครื่องผัดหน้า เครื่องทาปาก เครื่องประดับมือ เครื่องผูกมวยผม ไม้เท้า
กล้อง ดาบ ร่ม รองเท้า กรอบหน้า ดาบเพชร (หรือเครื่องประดับ
ข้อมือ) พัดขนสัตว์ ผ้าขาว ผ้าชายยาว ดังนี้เป็นตัวอย่าง ท่านกล่าวว่า
เครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ ในอุเทศว่า โวโรปยิตฺวา คิหิพฺยญฺชนานิ ดังนี้.
คำว่า ปลงเสียแล้วแห่งเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ ความว่า ปลง-
เสียแล้ว คือ วางแล้ว ทิ้งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปลงเสียแล้ว
ซึ่งเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์.
[๖๙๙] คำว่า เหมือนต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว ความว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ตัดเครื่องหมายคฤหัสถ์ให้ตกไปแล้ว เหมือน

549
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 550 (เล่ม 67)

ต้นทองหลางมีใบเหลืองร่วงหล่นไปแล้วฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เหมือนต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นไปแล้ว.
[๗๐๐] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าชื่อว่าเป็นวีรชน ในอุเทศว่า
เฉตฺวาน วีโร คิหิพนฺธนานิ ดังนี้ เพราะอรรถว่า มีความเพียร ว่าผู้อาจ
ว่าผู้องอาจ ว่าผู้สามารถ ว่าผู้แกล้วกล้า ผู้ก้าวหน้า ผู้ไม่ขลาด ผู้ไม่
หวาดเสียว ผู้ไม่สะดุ้ง ผู้ไม่หนี ผู้ละความกลัว ความขลาดแล้ว ผู้
ปราศจากขนลุกขนพอง.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ท่านเว้นแล้วจากความชั่ว
ทั้งปวงในโลกนี้นี่แหละ ล่วงพ้นทุกข์ในนรกเสียแล้ว
อยู่ด้วยความเพียร มีความเป็นผู้กล้า มีความเพียร ท่าน
กล่าวว่าเป็นวีรชน ผู้คงที่ เป็นจริงอย่างนั้น.
บุตร ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน
เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี เเว่นแคว้น ชนบท ฉาง คลัง และวัตถุ
อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดทุกชนิด ท่านกล่าวว่า เครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์.
คำว่า เป็นวีรชน . . ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์แล้ว ความว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นเป็นวีรชน ตัด ตัดขาด ละ บรรเทา ทำให้
สิ้นสุดให้ถึงความไม่มี ซึ่งเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เป็นวีรชน . . . ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าเป็นวีรชน ปลงเสียแล้วซึ่ง
เครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ ตัดเครื่องผูกของคฤหัสถ์แล้ว

550
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 551 (เล่ม 67)

เหมือนต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๐๑] ถ้าพึงได้สหายผู้มีปัญญา ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติ
อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ ครอบงำอันตรายทั้งปวง
แล้ว พึงปลื้มใจ มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น.
[๗๐๒] คำว่า ถ้าพึงได้สหายผู้มีปัญญา ความว่า ถ้าพึงได้
พึงได้เฉพาะ พึงประสบ พึงพบ ซึ่งสหายผู้มีปัญญา คือเป็นบัณฑิต
มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำสายกิเลส
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าพึงได้สหายผู้มีปัญญา.
[๗๐๓] คำว่า เที่ยวไปด้วยกัน ในอุเทศว่า สทฺธึจรํ สาธุวิหาริ
ธีรํ ดังนี้ ความว่า เที่ยวไปร่วมกัน.
คำว่า มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี ความว่า อยู่ด้วยกรรมดีแม้ด้วยปฐม-
ฌานแม้ด้วยทุติยฌาน แม้ด้วยตติยฌาน แม้ด้วยจตุตถฌาน อยู่ด้วย -
กรรมดีแม้ด้วยเมตตาเจโตวิมุตติ แม้ด้วยกรุณาเจโตวิมุตติ แม้ด้วย
มุทิตาเจโตวิมุตติ แม้ด้วยอุบกขาเจโตวิมุตติ อยู่ด้วยกรรมดีแม้ด้วย
อากาสานัญจายตนสมาบัติ แม้ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ แม้ด้วยอากิญ-
จัญญายตนสมาบัติ แม้ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ อยู่ด้วยกรรมดี
แม้ด้วยนิโรธสมาบัติ อยู่ด้วยกรรมดีแม้ด้วยผลสมาบัติ.
คำว่า เป็นนักปราชญ์ คือ เป็นผู้มีปัญญาทรงจำ เป็นบัณฑิต มี
ความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส

551
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 552 (เล่ม 67)

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็น
นักปราชญ์.
[๗๐๔] ชื่อว่า อันตราย ในอุเทศว่า อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺส-
ยานิ ดังนี้ ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ อันตรายปรากฏ ๑ อันตราย
ปกปิด ๑ ฯ ล ฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า อันตรายปรากฏ ฯ ล ฯ เหล่านี้
ท่านกล่าวว่า อันตรายปกปิด.
คำว่า ครอบงำอันตรายทั้งปวงแล้ว ความว่า ครอบงำ ย่ำยี
ท่วมทับ กำจัดอันตรายทั้งปวงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ครอบงำ
อันตรายทั้งปวงแล้ว.
[๗๐๕] คำว่า พึงปลื้มใจ มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น ความว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น พึงเป็นผู้ปลื้มใจ มีใจยินดี มีใจร่าเริง มีใจ
ชื่นชม มีใจปีติกล้า มีใจเบิกบาน เที่ยวไป เที่ยวไปทั่ว ผลัดเปลี่ยน
อิริยาบถ รักษา บำรุง เยียวยา ไปกับสหายผู้มีปัญญา คือ เป็นบัณฑิต
มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญาทำลายกิเลส
นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงปลื้มใจเที่ยวไปกับสหายนั้น.
คำว่า มีสติ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้มีสติ คือ
ประกอบด้วยสติแก่กล้าอย่างยิ่ง เป็นผู้ระลึก ตามระลึกได้ซึ่งกรรมที่ทำ
และคำที่พูดแล้วแม้นานได้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้ปลื้มใจ
มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึง
กล่าวว่า
ถ้าพึงได้สหายผู้มีปัญญา ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติ
อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ ครอบงำอันตรายทั้งปวง
แล้ว พึงปลื้มใจ มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น.

552
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 553 (เล่ม 67)

[๗๐๖] ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติ
อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ ก็พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรด ดังพระราชา ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว
เสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียวฉะนั้น.
[๗๐๗] คำว่า ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา ความว่า ถ้าไม่พึงได้
ไม่พึงได้เฉพาะ ไม่พึงประสบ ไม่พึงพบ ซึ่งสหายผู้มีปัญญา คือที่เป็น
บัณฑิต มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญา
ทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา.
[๗๐๘] คำว่า เที่ยวไปด้วยกัน ในอุเทศว่า สทฺธึจรํ สาธุวิหาริ
ธีรํ ดังนี้ ความว่า เที่ยวไปร่วมกัน.
คำว่า มีปกติอยู่ด้วยกรรมดี ความว่า มีปกติอยู่ด้วยกรรมดีแม้
ด้วยปฐมฌาน ฯ ล ฯ อยู่ด้วยกรรมดีแม้ด้วยนิโรธสมาบัติ อยู่ด้วยกรรมดี
แม้ด้วยผลสมาบัติ.
คำว่า เป็นนักปราชญ์ ความว่า เป็นผู้มีปัญญาทรงจำ คือ เป็น
บัณฑิต มีความรู้ มีความตรัสรู้ มีญาณ มีปัญญาแจ่มแจ้ง มีปัญญา
ทำลายกิเลส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติอยู่ด้วย
กรรมดี เป็นนักปราชญ์.
[๗๐๙] คำว่า ดังพระราชา ทรงละแว่นแคว้นที่ชนะแล้ว เสด็จ
เที่ยวไปพระองค์เดียว ความว่า พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ได้รับมูรธาภิเษก
แล้ว ทรงชนะสงคราม กำจัดข้าศึกแล้ว ได้ความเป็นใหญ่ มีคลัง
บริบูรณ์ ทรงละแล้วซึ่งแว่นแคว้น ชนบท คลัง เงิน ทองเป็นอันมาก
และนคร ทรงปลงพระเกสา พระมัสสุแล้ว ทรงผ้ากาสายะ เสด็จออก

553
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 554 (เล่ม 67)

ผนวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความเป็นผู้ไม่มีกังวล เสด็จเที่ยวไป เที่ยวไป
ทั่ว เดินไป พักผ่อน รักษา บำรุง เยียวยา ไปผู้เดียว ฉันใด แม้
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นก็ฉันนั้น ตัดกังวลในฆราวาสทั้งหมด ตัดกังวล
ในบุตรและภรรยา ตัดกังวลในญาติ ตัดกังวลในมิตรและพวกพ้องแล้ว
ปลงผมและหนวด นุ่งผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความ
เป็นผู้ไม่มีกังวล เที่ยวไป เดินไป พักผ่อน เป็นไป รักษา บำรุง
เยียวยา ไปผู้เดียวฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ดังพระราชา ทรง
ละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น
เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา ผู้เที่ยวไปด้วยกัน มีปกติ
อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรด ดังพระราชา ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว
เสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียวฉะนั้น.
[๗๑๐] เราทั้งหลายย่อมสรรเสริญสหาย ผู้ถึงพร้อมด้วยธรรม
โดยแท้ ควรเสพแต่สหายที่ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอ
กัน (เท่านั้น) เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้น ก็ควรบริโภค
ปัจจัยอันไม่มีโทษ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๗๑๑] คำว่า อทฺธา ในอุเทศว่า อทฺธา ปสํสาม สหายสมฺปทํ
ดังนี้ เป็นเครื่องกล่าวโดยส่วนเดียว เป็นเครื่องกล่าวไม่สงสัย เป็น
เครื่องกล่าวโดยไม่เคลือบแคลง เป็นเครื่องกล่าวไม่เป็นสองส่วน เป็น

554
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 555 (เล่ม 67)

เครื่องกล่าวไม่เป็นสองแยก เป็นเครื่องกล่าวไม่เป็นสองทาง เป็นเครื่อง
กล่าวไม่ผิด. คำว่า อทฺธา นี้ เป็นเครื่องกล่าวแน่นอน สหายผู้ใดเป็น
ผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณ-
ทัสสนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ สหายผู้นั้นท่านกล่าวว่า สหายผู้ถึง
พร้อมด้วยธรรม ในคำว่า สหายสมฺปทํ ดังนี้.
คำว่า ย่อมสรรเสริญซึ่งสหายผู้ถึงพร้อมด้วยธรรม ความว่า ย่อม
สรรเสริญ คือ ย่อมชมเชย ยกย่อง พรรณนาคุณ ซึ่งสหายผู้ถึงพร้อม
ด้วยธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมสรรเสริญ ซึ่งสหายผู้ถึงพร้อม
ด้วยธรรมโดยแท้.
[๗๑๒] คำว่า ควรเสพแต่สหายที่ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอกัน
ความว่า สหายทั้งหลายเป็นผู้ประเสริฐกว่าด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ
วิมุตติญาณทัสสนะ สหายทั้งหลายเป็นผู้เสมอกันด้วยศีล สมาธิ ปัญญา
วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ควรเสพ คือ ควรคบ ควรนั่งใกล้ ควร
ไต่ถาม ควรสอบถาม สหายที่ประเสริฐกว่า หรือสหายที่เสมอกัน (เท่านั้น)
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ควรเสพสหายที่ประเสริฐกว่า หรือที่เสมอกัน
(เท่านั้น).
[๗๑๓] พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศว่า เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้น
ก็ควรบริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ ดังต่อไปนี้ บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันมี
โทษก็มี ผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษก็มี.
ก็บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันมีโทษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้
ได้ คือ ได้ ได้รับ ประสบ ได้มาซึ่งปัจจัย ด้วยการหลอกลวง ด้วย
การพูดเลียบเคียง ด้วยความเป็นหมอดู ด้วยความเป็นคนเล่นกล ด้วย

555
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 556 (เล่ม 67)

การแสวงหาลาภด้วยลาภ ด้วยการให้ไม้จริง ด้วยการให้ไม้ไผ่ ด้วยการ
ให้ใบไม้ ด้วยการให้ดอกไม้ ด้วยการให้เครื่องอาบน้ำ ด้วยการให้จุรณ
ด้วยการให้ดิน ด้วยการให้ไม้สีฟัน ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก ด้วยความ
เป็นผู้ใคร่ให้ปรากฏ ด้วยความพูดเหลวไหลเหมือนแกงถั่ว ด้วยความ
ประจบเขา ด้วยการขอมาก ดังที่พูดกันว่ากินเนื้อหลังผู้อื่น ด้วยวิชา
ดูพื้นที่ ด้วยติรัจฉานวิชา ด้วยวิชาทำนายอวัยวะ ด้วยวิชาดูฤกษ์ยาม
ด้วยการเป็นทูต ด้วยการเดินรับใช้ ด้วยการเดินสาสน์ ด้วยทูตกรรม
ด้วยการให้บิณฑบาตอบแก่บิณฑบาต ด้วยการเพิ่มให้แก่การให้โดยผิด
ธรรม โดยไม่สม่ำเสมอ ครั้นแล้วก็สำเร็จความเป็นอยู่ บุคคลนี้ท่าน
กล่าวว่า ผู้บริโภคปัจจัยอันมีโทษ.
ก็บุคคลผู้บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษเป็นไฉน บุคคลบางคนใน
โลกนี้ ได้ คือ ได้ ได้รับ ประสบ ได้มาซึ่งปัจจัย ด้วยการไม่หลอก-
ลวง ด้วยการไม่พูดเลียบเคียง ด้วยความไม่เป็นคนเล่นกล ด้วยการไม่
แสวงหาลาภด้วยลาภ ไม่ใช่ด้วยการให้ไม้จริง ไม่ใช่ด้วยการให้ไม้ไผ่
ไม่ใช่ด้วยการให้ใบไม้ ไม่ใช่ด้วยการให้ดอกไม้ ไม่ใช่ด้วยการให้เครื่อง
อาบน้ำ ไม่ใช่ด้วยการให้จุรณ ไม่ใช่ด้วยการให้ดิน ไม่ใช่ด้วยการให้
ไม้สีฟัน ไม่ใช่ด้วยการให้น้ำบ้วนปาก ไม่ใช่ด้วยความเป็นผู้ใคร่ให้ปรากฏ
ไม่ใช่ด้วยความพูดเหลวไหลเหมือนแกงถั่ว ไม่ใช่ด้วยความประจบเขา
ไม่ใช่ด้วยการขอมาก ดังที่พูดกันว่ากินเนื้อหลังผู้อื่น ไม่ใช่ด้วยวิชาดูพื้นที่
ไม่ใช่ด้วยติรัจฉานวิชา ไม่ใช่ด้วยวิชาทำนายอวัยวะ ไม่ใช่ด้วยวิชาดูฤกษ์
ยาม ไม่ใช่ด้วยการเดินเป็นทูต ไม่ใช่ด้วยการเดินรับใช้ ไม่ใช่ด้วยการ
เดินสาสน์ ไม่ใช่ด้วยเวชกรรม ไม่ใช่ด้วยทูตกรรม ไม่ใช่ด้วยการให้

556
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 557 (เล่ม 67)

บิณฑบาตตอบแก่บิณฑบาต ไม่ใช่ด้วยการเพิ่มให้แก่การให้ โดยธรรม
โดยสม่ำเสมอ ครั้นแล้วก็สำเร็จความเป็นอยู่ บุคคลนี้ท่านกล่าวว่า ผู้
บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ.
คำว่า เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้น ก็ควรบริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ
ความว่า เมื่อไม่ได้ ไม่ประสบ ไม่ได้เฉพาะ ไม่พบ ไม่ปะสหายเหล่านั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้น ก็ควรบริโภคปัจจัยอัน
ไม่มีโทษ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
เราทั้งหลายย่อมสรรเสริญสหาย ผู้ถึงพร้อมด้วย
ธรรมโดยแท้ ควรเสพแต่สหายที่ประเสริฐกว่า หรือที่
เสมอกัน (เท่านั้น) เมื่อไม่ได้สหายเหล่านั้น ก็ควร
บริโภคปัจจัยอันไม่มีโทษ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน
นอแรดฉะนั้น.
[๗๑๔] บุคคลเห็นซึ่งกำไลทองสองวงอันสุกปลั่ง ที่นายช่าง
ทองให้สำเร็จดีแล้ว เสียดสีกันที่มือ พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๑๕] คำว่า เห็นซึ่งกำไลทองอันสุกปลั่ง ความว่า เห็น เห็น
แจ้ง เทียบเคียง พิจารณาให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏ.
คำว่า สุวณฺณเสฺส คือ ทองคำ. คำว่า สุกปลั่ง คือ บริสุทธิ์
เปล่งปลั่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นซึ่งกำไลทองอันสุกปลั่ง.

557
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 558 (เล่ม 67)

[๗๑๖] ช่างทอง ท่านกล่าวว่า กัมมารบุตร ในอุเทศว่า กมฺมาร-
ปุตฺเตน สุนิฏฺฐิตานิ ดังนี้.
คำว่า ที่นายช่างทองให้สำเร็จดีแล้ว ความว่า ที่นายช่างทองให้
สำเร็จดีแล้ว ทำดีแล้ว มีบริกรรมดี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่นายช่าง
ทองให้สำเร็จดีแล้ว.
[๗๑๗] มือ ท่านกล่าวว่า ภุชะ ในอุเทศว่า สงฺฆฏฺฏยนฺตานิ
ทุเว ภุชสฺมึ ดังนี้ กำไลมือสองวงในมือข้างหนึ่ง ย่อมเสียดสีกัน ฉันใด
สัตว์ทั้งหลายย่อมกระทบกระทั่งกันด้วยสามารถแห่งตัณหา สืบต่อใน
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในเปรตวิสัย ในมนุษยโลก ในเทวโลก สืบต่อ
คติด้วยคติสืบต่ออุปบัติด้วยอุปบัติ สืบต่อปฏิสนธิด้วยปฏิสนธิ สืบต่อ
ภพด้วยภพ สืบต่อสงสารด้วยสงสาร สืบต่อวัฏฏะด้วยวัฏฏะ เที่ยวไป อยู่
ผลัดเปลี่ยน เป็นไป รักษา บำรุง เยียวยา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สองวง
ในมือข้างหนึ่ง เสียดสีกันอยู่ พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
บุคคลพึงเห็นซึ่งกำไลทองสองวงอันสุกปลั่ง ที่นาย
ช่างทองให้สำเร็จดีแล้ว เสียดสีกันที่มือ พึงเที่ยวไปผู้
เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๑๘] การพูดด้วยวาจาก็ดี ความเกี่ยวข้องก็ดี กับสหาย
พึงมีแก่เราอย่างนี้ บุคคลเมื่อเห็นภัยนี้ต่อไป พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๗๑๙] คำว่า กับสหาย พึงมีแก่เราอย่างนี้ ความว่า ด้วยตัณหา

558