No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 539 (เล่ม 67)

บิดาก็ดี พีน้องชายก็ดี พี่น้องหญิงก็ดี บุตรก็ดี ธิดาก็ดี มิตรก็ดี
พวกพ้องก็ดี ญาติก็ดี สายโลหิตก็ดี เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความ
เกื้อกูล หวังความสบาย หวังความปลอดโปร่งจากโยคกิเลสแก่บุคคลนั้น
ชนเหล่านั้น ชื่อว่าสัตว์อันเป็นที่รัก.
สังขารอันเป็นที่รักเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
ส่วนที่ชอบใจ สิ่งเหล่านี้ ชื่อว่าสังขารอันเป็นที่รัก.
คำว่า เมื่อเกลียดความพลัดพรากจากของที่รัก ความว่า เมื่อ
เกลียด เมื่ออึดอัด เมื่อเบื่อ ซึ่งความพลัดพรากจากของที่รัก เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เมื่อเกลียดความพลัดพรากจากของที่รัก พึงเที่ยวไปผู้เดียว
เหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า
การเล่น ความยินดี มีอยู่ในท่ามกลางแห่งสหาย
แต่ความรักในบุตรทั้งหลายมีมาก บุคคลเมื่อเกลียดความ
พลัดพรากจากของที่รัก พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
ฉะนั้น.
[๖๘๙] พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มีปกติอยู่ตามสบายใน
ทิศทั้ง ๔ ไม่มีความขัดเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้
ครอบงำอันตรายทั้งหลาย ไม่มีความหวาดเสียว พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๖๙๐] คำว่า มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้ง ๔ ในอุเทศว่า จาตุทฺ-
ทิโส อปฺปฏิโฆ จ โหติ ดังนี้ ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มีใจ
ประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็

539
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 540 (เล่ม 67)

เหมือนกันโดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง มีใจประกอบด้วย
เมตตา เป็นจิตกว้างขวาง เป็นมหัคคตะ มีสัตว์หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร
ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน
มีใจประกอบด้วยกรุณา. . . มีใจประกอบด้วยมุทิตา. . . มีใจประกอบด้วย
อุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือน
กัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง มีใจประกอบด้วย
อุเบกขา เป็นจิตกว้างขวางถึงความเป็นใหญ่ มีสัตว์หาประมาณมิได้
ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ใน
ที่ทุกสถาน.
คำว่า มีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้ง ๔ ไม่มีความขัดเคือง ความ
ว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เพราะเป็นผู้เจริญเมตตา จึงไม่มีความ
เกลียดชังสัตว์ทั้งหลายในทิศตะวันออก ในทิศตะวันตก ในทิศใต้ ใน
ทิศเหนือ ในทิศอาคเนย์ ในทิศหรดี ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ
เบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ในทิศใหญ่ ในทิศน้อย เพราะเป็นผู้เจริญกรุณา
เพราะเป็นผู้เจริญมุทิตา เพราะเป็นผู้เจริ อุเบกขา จึงไม่มีความเกลียดชัง
สัตว์ทั้งหลายในทิศตะวันออก ฯ ล ฯ ในทิศน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นมีปกติอยู่ตามสบายในทิศทั้ง ๔ ไม่มีความขัดเคือง.
[๖๙๑] คำว่า ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ความว่า พระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ทั้งกล่าว
สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และไม่ถึงความแสวงหาผิด
อันไม่สมควรเพราะเหตุแห่งจีวร เมื่อไม่ได้จีวรก็ไม่สะดุ้ง (ไม่ขวนขวาย)
เมื่อได้จีวรแล้วก็ไม่ติดใจ ไม่หลงใหล ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มี

540
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 541 (เล่ม 67)

ปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภค ทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความ
สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ก็พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าใดเป็นผู้ขยัน
ไม่เกียจคร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติอยู่ ในจีวรสันโดษนั้น พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านี้ ท่านกล่าวว่า ดำรงอยู่ในวงศ์ของพระอริยะ ที่ทราบกันว่า
เป็นวงศ์เลิศอันมีมาแต่โบราณสมัย พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น เป็นผู้
สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้. . . เป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมี
ตามได้. . . เป็นผู้สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ ทั้ง
กล่าวสรรเสริญความสันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ และ
ไม่ถึงความแสวงหาผิดอันไม่สมควร เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัช
บริขาร เมื่อไม่ได้คิลานปัจจัยเภสัชบริขารก็ไม่สะดุ้ง เมื่อได้คิลานปัจจัย
เภสัชบริขารก็เป็นผู้ไม่ติดใจ ไม่หลงใหล ไม่พัวพัน มีปกติเห็นโทษ มี
ปัญญาเป็นเครื่องสลัดออกบริโภค ทั้งไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความ
สันโดษด้วยคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้นั้น ก็พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้าใดเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน มีความรู้สึกตัว มีสติอยู่ ใน
คิลานปัจจัยเภสัชบริขารสันโดษนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ท่าน
กล่าวว่าดำรงอยู่ในวงศ์ของพระอริยะ ที่ทราบกันว่าเป็นวงศ์เลิศอันมีมา
แต่โบราณสมัย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้.
[๖๙๒] ชื่อว่า อันตราย ในอุเทศว่า ปริสฺสยานํ สหิตา อจฺฉมฺภี
ดังนี้ ได้แก่อันตราย ๒ อย่าง คือ อันตรายปรากฏ ๑ อันตรายปกปิด ๑.
อันตรายปรากฏเป็นไฉน ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี
เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ พวกโจร
พวกคนที่ทำกรรมแล้วหรือที่ยังไม่ได้ทำกรรม โรคตา โรคหู โรคจมูก

541
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 542 (เล่ม 67)

โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคเรอ
โรคมองคร่อ โรคร้อนใน โรคผอม โรคในท้อง โรคลมวิงเวียน โรค
ลงแดง โรคจุกเสียด โรคลงท้อง โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรค
หืด โรคลมบ้าหมู หิตด้าน หิดเปื่อย โรคคัน ขี้เรื้อนกวาง โรค
ลักปิดลักเปิด โรคดี โรคเบาหวาน โรคริดสีดวง โรคต่อมแดง
บานทะโรค อาพาธเกิดแต่ดี อาพาธเกิดแต่เสมหะ อาพาธเกิดแต่ลม
อาพาธมีดีเป็นต้นประชุมกัน อาพาธเกิดเพราะฤดูแปรไป อาพาธเกิด
เพราะเปลี่ยนอิริยาบถไม่เท่ากัน อาพาธเกิดเพราะความเพียร อาพาธเกิด
เพราะผลกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวด
อุจจาระ ปวดปัสสาวะ หรือว่าสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์
เสือกคลาน อันตรายเหล่านี้ท่านกล่าวว่า อันตรายปรากฏ.
อันตรายปกปิดเป็นไฉน กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต กาม
ฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์
วิจิกิจฉานิวรณ์ ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่
ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความ
กระด้าง ความแข็งดี ความถือตัว ความดูหมิ่นท่าน ความเมา ความ
ประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง
ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง
อันตรายเหล่านี้ท่านกล่าวว่า อันตรายปกปิด.
อันตราย ชื่อว่า ปริสฺสยา เพราะอรรถว่า กระไร เพราะอรรถว่า
ครอบงำ ว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม ว่าอกุศลธรรมทั้งหลายอยู่อาศัยใน
อัตภาพนั้น.

542
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 543 (เล่ม 67)

ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า ครอบงำอย่างไร อันตรายเหล่านั้น
ย่อมครอบงำ ย่อมทับ ย่อมท่วมทับ ย่อมเบียดเบียนบุคคลนั้น ชื่อว่า
อันตราย เพราะอรรถว่า ครอบงำอย่างนี้.
ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อมอย่างไร
อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่ออันตราย เพื่อความเสื่อมแห่งกุศลธรรม
ทั้งหลาย อันตรายเหล่านั้น ย่อมเป็นไปเพื่ออันตราย เพื่อความเสื่อมแห่ง
กุศลธรรมทั้งหลายเหล่าไหน อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่ออันตราย
เพื่อความเสื่อมแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ คือ ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติ
สมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์
ความปฏิบัติโดยสมควรแก่ธรรม ความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณใน
โภชนะ การประกอบความเพียร สติสัมปชัญญะ ความหมั่นในการเจริญ
สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า เป็นไป
เพื่อความเสื่อมอย่างนี้.
ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอาศัยอยู่ใน
อัตภาพนั้นอย่างไร อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อาศัยอัตภาพ ย่อม
เกิดขึ้นในอัตภาพนั้น เหล่าสัตว์ผู้อาศัยโพรงย่อมอยู่ในโพรง เหล่าสัตว์
ผู้อาศัยน้ำย่อมอยู่ในน้ำ เหล่าสัตว์ผู้อาศัยป่าย่อมอยู่ในป่า เหล่าสัตว์ที่
อาศัยต้นไม้ย่อมอยู่ที่ต้นไม้ ฉันใด อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น อาศัย
อัตภาพย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพ ฉันนั้นเหมือนกัน. ชื่อว่าอันตราย เพราะ
อรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอาศัยอยู่ในอัตภาพอย่างนี้.

543
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 544 (เล่ม 67)

สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็นอันเตวาสิก ผู้อยู่ร่วมกับกิเลส
ที่เป็นอาจารย์ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ไม่ผาสุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่
ร่วมกับกิเลสที่เป็นอันเตวาสิก ย่อมอยู่เป็นทุกข์ไม่ผาสุกอย่างไร ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเห็นรูปด้วยตา อกุศลธรรมอันลามกเหล่าใด ที่ดำริ
ด้วยความระลึกถึงอันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุในศาสนานี้
อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ ย่อมซ่านไปภายในจิตของภิกษุนั้น
เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้น เราจึงกล่าวว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็น
อันเตวาสิก อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมปกครองภิกษุนั้น เพราะ
เหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้น เราจึงกล่าวว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็นอาจารย์.
อีกประการหนึ่ง เพราะฟังเสียงด้วยหู เพราะดมกลิ่นด้วยจมูก
เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย เพราะรู้ธรรมารมณ์
ด้วยใจ อกุศลธรรมอันลามกเหล่าใด ที่ดำริด้วยความระลึก อันเกื้อกูลแก่
สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่
ย่อมซ่านไปภายในจิตของภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้น เราจึง
กล่าวว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็นอันเตวาสิก อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น
ย่อมปกครองภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้น เราจึงกล่าวว่าผู้อยู่ร่วม
กับกิเลสที่เป็นอาจารย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็น
อันเตวาสิก ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่เป็นอาจารย์ย่อมอยู่เป็นทุกข์ไม่ผาสุกอย่างนี้
แล ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอาศัยอยู่ในอัตภาพ
นั้นแม้อย่างนี้.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน

544
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 545 (เล่ม 67)

ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ เป็นมลทินในระหว่าง เป็นไพรีใน
ระหว่าง เป็นศัตรูในระหว่าง เป็นผู้ฆ่าในระหว่าง เป็นข้าศึกในระหว่าง
๓ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลภะเป็นมลทินในระหว่าง
เป็นไพรีในระหว่าง เป็นศัตรูในระหว่าง เป็นข้าศึกในระหว่าง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย โทสะ ฯ ล ฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมหะเป็นมลทินใน
ระหว่าง เป็นไพรีในระหว่าง เป็นศัตรูในระหว่าง เป็นข้าศึกในระหว่าง
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นมลทินในระหว่าง
เป็นไพรีในระหว่าง เป็นศัตรูในระหว่าง เป็นผู้ฆ่าในระหว่าง เป็นข้าศึก
ในระหว่าง
โลภะยังโทษอันไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โลภะยังจิต
ให้กำเริบ ภัยเกิดภายในจิต คนพาลย่อมไม่รู้สึกถึงภัยนั้น
คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม โลภะ
ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมีในขณะ
นั้น.
โทสะยังโทษอันไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โทสะยังจิต
ให้กำเริบ ภัยเกิดภายในจิต คนพาลย่อมไม่รู้สึกถึงภัยนั้น
คนโกรธย่อมไม่รู้จักอรรถ คนโกรธย่อมไม่เห็นธรรม
โทสะย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมี
ในขณะนั้น.
โมหะยังโทษอันไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โมหะยัง
จิตให้กำเริบ ภัยเกิดภายในจิต คนพาลย่อมไม่รู้สึกถึง
ภัยนั้น คนหลงย่อมไม่รู้จักอรรถ คนหลงย่อมไม่เห็น

545
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 546 (เล่ม 67)

ธรรม โมหะย่อมครอบงำนรชนรนขณะใด ความมืดตื้อ
ย่อมมีในขณะนั้น.
ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอาศัยอยู่ใน
อัตภาพนั้นแม้อย่างนี้.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมอันกระทำอันตราย ๓ ประการแล เมื่อเกิด
ในภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ
ความอยู่ไม่ผาสุก. ธรรมอันกระทำอันตราย ๓ ประการเป็นไฉน ดูก่อน
มหาบพิตร ธรรมอันกระทำอันตราย คือ โลภะแล เมื่อเกิดขึ้นในภายใน
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความไม่ผาสุก
ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมอันกระทำอันตราย คือ โทสะแล ฯ ล ฯ ดูก่อน
มหาบพิตร ธรรมอันกระทำอันตราย คือ โมหะแล เมื่อเกิดขึ้นในภายใน
ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก
ดูก่อนมหาบพิตร ธรรมอันกระทำอันตราย ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้น
ในภายใน ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความ
อยู่ไม่ผาสุก.
โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมเบียด-
เบียนบุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่เกิดแล้วในตนของ
ตน เบียดเบียนไม้ไผ่ฉะนั้น.
ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอยู่อาศัยใน
อัตภาพนั้นแม้อย่างนี้.
และสมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

546
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 547 (เล่ม 67)

ราคะ โหสะ โมหะ ความไม่ยินดี ความยินดี
ความเป็นผู้ขนลุกขนพอง มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่
อัตภาพนี้ ความตรึกในใจตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้ ย่อมผูก
สัตว์ไว้ เหมือนพวกเด็ก ๆ ผูกกาไว้ฉะนั้น.
ชื่อว่าอันตราย เพราะอรรถว่า อกุศลธรรมทั้งหลายอาศัยอยู่ใน
อัตภาพนั้นแม้อย่างนี้.
คำว่า ครอบงำอันตรายทั้งหลาย ความว่า ครอบงำ คือ ไม่ยินดี
ท่วมทับ บีบคั้น กำจัด ซึ่งอันตรายทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ครอบงำอันตรายทั้งหลาย.
คำว่า ผู้ไม่มีความหวาดเสียว ความว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
นั้น ไม่ขลาด ไม่มีความหวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่หนี เป็นผู้ละความ
กลัวความขลาดแล้ว ปราศจากความเป็นผู้ขนลุกขนพองอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งหลาย ไม่มีความหวาดเสียว พึงเที่ยวไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
จึงกล่าวว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น มีปกติอยู่ตามสบายใน
ทิศทั้ง ๔ ไม่มีความขัดเคือง ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตาม
ได้ ครอบงำอันตรายทั้งหลาย ไม่มีความหวาดเสียว พึง
เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๖๙๓] แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน
เป็นผู้อันคนอื่นสงเคราะห์ยาก บุคคลพึงเป็นผู้มีความ

547
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิเทส เล่ม ๖ – หน้าที่ 548 (เล่ม 67)

ขวนขวายน้อย ในผู้อื่นและบุตรทั้งหลาย พึงเที่ยว ไป
ผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.
[๖๙๔] คำว่า แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง . . . เป็นผู้อันคนอื่น
สงเคราะห์ยาก ความว่า แม้บรรพชิตบางพวกในศาสนานี้ เมื่อคนอื่น
ให้นิสัยก็ดี ให้อุเทศก็ดี ให้ปริปุจฉาก็ดี ให้จีวรก็ดี ให้บาตรก็ดี ให้
ภาชนะที่ทำด้วยโลหะก็ดี ให้ธมกรกก็ดี ให้ผ้ากรองน้ำก็ดี ให้ลูกตาลก็ดี
ให้รองเท้าก็ดี ให้ประคดเอวก็ดี ย่อมไม่ฟัง ไม่ตั้งโสตลงสดับ ไม่ตั้งจิต
เพื่อจะรู้ เป็นผู้ไม่ฟัง ไม่ทำตามคำ เป็นผู้ประพฤติหยาบ เบือนหน้าไป
โดยอาการอื่น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า แม้บรรพชิตพวกหนึ่ง . . . เป็น
ผู้อันคนอื่นสงเคราะห์ยาก.
[๖๙๕] คำว่า และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ความว่า แม้
คฤหัสถ์บางพวกในโลกนี้ เมื่อคนอื่นให้ช้างก็ดี ให้รถก็ดี ให้นาก็ดี ให้
ที่ดินก็ดี ให้เงินก็ดี ให้ทองก็ดี ให้บ้านก็ดี ให้นครก็ดี ให้ชนบทก็ดี
ย่อมไม่ฟัง ไม่ทั้งโสตลงสดับ ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ เป็นผู้ไม่ฟัง ไม่ทำตามคำ
เป็นผู้ประพฤติหยาบ ย่อมเบือนหน้าไปโดยอาการอื่น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน.
[๖๙๖] ชนทั้งปวงยกตนเสีย ท่านกล่าวในอรรถนี้ว่า พึงเป็นผู้มี
ความขวนขวายน้อยในผู้อื่นและบุตรทั้งหลาย.
คำว่า พึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในผู้อื่นและบุตรทั้งหลาย
ความว่า พึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย คือพึงเป็นผู้ไม่ห่วงใย เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า พึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในผู้อื่นและบุตรทั้งหลาย

548