No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 24 (เล่ม 65)

โลภะ โทสะ โมหะ เกิดขึ้นในตน ย่อมกำจัด
บุรุษผู้มีจิตลามก เหมือนขุยไผ่กำจัดไม้ไผ่ ฉะนั้น.
เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า
อันตราย แม้ด้วยประการฉะนี้.
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ราคะและโทสะ มีอัตภาพนี้เป็นเหตุ เกิดแต่อัต
ภาพนี้ ไม่ยินดีกุศล ยินดี แต่กามคุณ ทำให้ขนลุก บาป
วิตกในใจ ตั้งขึ้นแต่อัตภาพนี้ ผูกจิตไว้เหมือน พวกเด็ก
ผูกกาที่ข้อเท้าไว้ ฉะนั้น.
เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า
อันตราย แม้ด้วยประการฉะนี้.
คำว่า เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น มีความว่า อันตราย
เหล่านั้นย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น.
[๒๓] คำว่า เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชน
นั้นไป มีความว่า เพราะอันตรายนั้น ๆ ทุกข์ย่อมติดตาม ตามไป ไป
ตามบุคคลนั้น คือชาติทุกข์ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตาม ชราทุกข์....พยาธิ
ทุกข์.......มรณทุกข์........ทุกข์คือความโศกคร่ำครวญ ลำบากกาย ทุกข์
ใจ ความแค้นใจ........ทุกข์คือความเกิดในนรก.......ทุกข์คือความเกิดใน
กำเนิดเดียรัจฉาน...........ทุกข์คือความเกิดในเปรตวิสัย.......ทุกข์คือความ
เกิดในมนุษย์.........ทุกข์มีความเกิดในครรภ์เป็นมูล........ทุกข์มีความตั้งอยู่

24
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 25 (เล่ม 65)

ในครรภ์เป็นมูล.........ทุกข์มีความตลอดจากครรภ์เป็นมูล..........ทุกข์ที่ติด
ตามสัตว์ที่เกิดเเล้ว........ทุกข์อันเนื่องแต่ผู้อื่นแห่งสัตว์ที่เกิดแล้ว.........ทุกข์
อันเกิดแต่ความขวนขวายของตน........ทุกข์อันเกิดแต่ความขวนขวายของผู้
อื่น.........ทุกข์อันเกิดแต่ทุกขเวทนา.........ทุกข์อันเกิดแต่สังขาร.........ทุกข์
อันเกิดแต่ความแปรปรวน.........
โรคทางจักษุ โรคทางโสด โรคทางฆานะ โรคทางชิวหา โรค-
ทางกาย โรคทางศีรษะ โรคทางหู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ
โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ
โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝีโรคกลาก โรคมองคร่อ
โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรค-
ละลอก โรคคุดทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรค-
เบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง.
อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมี
ลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธ
เกิดแต่บริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธ
เกิดแต่วิบากแห่งกรรม.
ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย ปวดอุจจาระ
ปวดปัสสาวะ.
ทุกข์เกิดแต่สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน
ทุกข์เพราะความตายแห่งมารดา ทุกข์เพราะความตายแห่งบิดา ทุกข์เพราะ
ความตายแห่งพี่ชายน้องชาย ทุกข์เพราะความตายแห่งพี่สาวน้องสาว ทุกข์

25
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 26 (เล่ม 65)

เพราะความตายแห่งบุตร ทุกข์เพราะความตายแห่งธิดา ทุกข์เพราะความ
ฉิบหายแห่งญาติ ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งโภคทรัพย์ ทุกข์เพราะความ
ฉิบหายอันเกิดแค่โรค ทุกข์เพราะความฉิบหายแห่งศีล ทุกข์เพราะความ
ฉิบหายแห่งทิฏฐิ ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้นเพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เพราะอันตรายนั้น ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป.
[๒๔] คำว่า เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่รั่วแล้วฉะนั้น มี
ความว่าน้ำไหลซึมเข้าสู่เรือที่รั่วแล้ว คือ น้ำย่อมซึมเข้าไป ตามเข้าไป
ไหลเข้าไป แต่ที่นั้น ๆ คือ ย่อมซึมเข้าไป เซาะเข้าไป ไหลเข้าไป
ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้าง ข้างท้องบ้าง แต่ข้าง ๆ บ้าง ฉันใด เพราะ
อันตรายนั้น ๆ ทุกข์ย่อมติดตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้น คือ ชาติทุกข์
ย่อมติดตาม ตามไป ไปตาม ฯลฯ ทุกข์อันเกิดแต่ทิฏฐิพยสนะ ย่อมติด
ตาม ตามไป ไปตามบุคคลนั้นฉันนั้น ฉะนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่รั่วแล้วฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า.
เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น
เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น
ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่
รั่วแล้วฉะนั้น.
ว่าด้วยผู้มีสติทุกเมื่อ
[๒๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ

26
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 27 (เล่ม 65)

พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดตามเหล่านั้นแล้ว
พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง
ฉะนั้น.
[๒๖] คำว่า เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติ
ทุกเมื่อ มีความว่า :-
คำว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะฉะนั้น เพราะกาลนั้น เพราะ
เหตุนั้น เพราะปัจจัยนั้น เพราะนิทานนั้น สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อเห็นโทษ
นั้นในกามทั้งหลาย ฉะนั้น จึงชื่อว่า เพราะเหตุนั้น.
คำว่า สัตว์ผู้เกิดมา ได้แก่สัตว์ นรชน มาณพ บุรุษ บุคคล
ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์.
คำว่า ในกาลทุกเมื่อ ได้แก่ ในกาลทุกเมื่อ ในกาลทั้งปวง
ตลอดกาลทั้งปวง ตลอดก็เป็นนิจ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลเป็น
นิรันดร์ ตลอดกาลเป็นอันเดียวกัน ตลอดกาลติดต่อ ตลอดกาลเป็น
ลำดับ ตลอดกาลไม่ขาดระยะ ตลอดกาลไม่มีระหว่าง ตลอดกาลสืบเนื่อง
ตลอดกาลไม่ขาดสาย ตลอดกาลกระชั้นชิด.
ในกาลก่อนภัต ในกาลหลังภัต ในปฐมยาม ในมัชฌิมยาม ใน
ปัจฉิมยาม ในข้างแรม ในข้างขึ้น ในฤดูฝน ในฤดูหนาว ในฤดูร้อน
ในตอนปฐมวัย ในตอนมัชฌิมวัย ในตอนปัจฉิมวัย.
คำว่า มีสติ ได้แก่ เป็นผู้มีสติโดยเหตุ ๔ อย่าง คือ เจริญ
สติปัฏฐาน มีการตามเห็นกายในกายอยู่ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เจริญสติ
ปัฏฐาน มีการตามเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ,

27
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 28 (เล่ม 65)

เจริญสติปัฏฐานมีการตามเห็นจิตในจิตอยู่ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เจริญสติ
ปัฏฐานมีการตามเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ ก็ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เป็น
ผู้มีสติโดยเหตุ อย่างแม้อื่นอีก คือ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเว้นจาก
ความเป็นผู้ไม่มีสติ ฯลฯ บุคคลเป็นผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม
เข้าไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบด้วยสตินี้ บุคคลนั้นเรียกว่า มีสติ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์ผู้เกิดมาพึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ.
[๒๗] คำว่า พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย มีความว่า กามทั้ง
หลาย ได้แก่ กาม ๒ อย่าง โดยหัวข้อ คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑
วัตถุกามเป็นไฉน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่
ชอบใจ ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่า
กิเลสกาม.
คำว่า พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย ได้แก่ พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย
โดยเหตุ ๒ ประการ คือ โดยการข่มไว้ประการ ๑ โดยการตัดขาดประ
การ ๑.
พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้อย่างไร ? สัตว์ผู้เกิดมา เมื่อเห็นอยู่ว่า
กามทั้งหลายเปรียบด้วยโครงกระดูก เพราะอรรถว่า เป็นของมีความยินดี
น้อย พึงเว้น ขาดกามโดยการข่มไว้.
เมื่อเห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่า เป็น
ของสาธารณ์แก่ชนหมู่มาก พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้
เมื่อเห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่า
เป็นของตามเผา พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ ฯลฯ แท้เจริญเนวสัญญานา-

28
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 29 (เล่ม 65)

สัญญายตนสมาบัติ พึงเว้นขาดกามโดยการข่มไว้. พึงเว้นขาดกามโดยการ
ข่มไว้อย่างนี้ ฯลฯ พึงเว้นขาดกามโดยการตัดขาดอย่างนี้. เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย.
[๒๘] คำว่า ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะ
ได้ มีความว่า คำว่า เหล่านั้น ได้แก่ สัตว์ผู้เกิดมา กำหนดรู้
วัตถุกามทั้งหลาย ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีใน
ภายหลัง ซึ่งกิเลสกาม คือ ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความ
ไม่มีในภายหลัง ซึ่งกามฉันทนิวรณ์....พยาบาทนิวรณ์....ถีนมิทธนิวรณ์....
อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มี
ในภายหลัง ซึ่งวิจิกิจฉานิวรณ์ พึงข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง เป็น
ไปล่วง กามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ อวิชชาโอฆะ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า ครั้นเว้นขาดกามเหล่านั้นแล้ว พึงข้ามโอฆะได้.
[๒๙] คำว่า เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น
มีความว่า บุคคลวิด สาดออก ทิ้งออกซึ่งน้ำในเรืออันทำให้หนัก บรรทุก
หนักแล้ว พึงไปถึงฝั่งด้วย เรือที่เบา โดยเร็วไว โดยไม่ลำบาก ฉันใด สัตว์ผู้
เกิดมา กำหนดรู้วัตถุกามทั้งหลาย ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้สูญสิ้น ให้
ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งกิเลสกาม คือ ละ ละทั่ว บรรเทา ทำให้
สูญสิ้น ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง ซึ่งกามฉันทนิวรณ์....พยาบาทนิวรณ์....
ถีนมิทธนิวรณ์....อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์....วิจิกิจฉานิวรณ์ พึงไปถึงฝั่งโดย
เร็วไว โดยไม่ลำบาก ฉันนั้น.
อมตนิพพาน เรียกว่า ฝั่ง ได้แก่ธรรม เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง

29
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 30 (เล่ม 65)

เป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่คลายกำหนัด เป็นที่ดับ
กิเลสเครื่องร้อยรัด พึงถึง บรรลุ ถูกต้อง ทำให้แจ้งซึ่งฝั่ง.
คำว่า ถึงฝั่ง ได้แก่ ผู้ใดใคร่เพื่อจะถึงฝั่ง ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง
ผู้ใดต่อไปสู่ฝั่ง ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง ผู้ใดถึงฝั่งแล้ว ผู้นั้นชื่อว่า ผู้ถึงฝั่ง
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลผู้ข้ามพ้นแล้ว
ถึงฝั่งแล้ว ยืนอยู่บน ชื่อว่าเป็นพราหมณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า พราหมณ์ เป็นชื่อพระอรหันต์
พระอรหันต์นั้นถึงฝั่งด้วยการรู้ยิ่ง ถึงฝั่งด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่งด้วยการละ
ถึงฝั่งด้วยการเจริญ ถึงฝั่งด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งด้วยสมาบัติ ถึงฝั่งแห่ง
ธรรมทั้งปวงด้วยการรู้ยิ่ง ถึงฝั่งแห่งทุกข์ทั้งปวงด้วยการกำหนดรู้ ถึงฝั่ง
แห่งกิเลสทั้งปวงด้วยการละ ถึงฝั่งแห่งอริยมรรค ๔ ด้วยการเจริญ ถึงฝั่ง
แห่งนิโรธด้วยการทำให้แจ้ง ถึงฝั่งแห่งสมาบัติทั้งปวงด้วยการบรรลุ.
พระอรหันต์นั้น ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยศีล ถึง
ความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยสมาธิ ถึงความชำนาญ ถึงความ
สำเร็จในอริยปัญญา ถึงความชำนาญ ถึงความสำเร็จในอริยวิมุตติ.
พระอรหันต์นั้น ไปสู่ฝั่งแล้ว ถึงฝั่งแล้ว ไปสู่ส่วนสุดแล้ว ถึงส่วน
สุดแล้ว ไปสู่ที่สุดแล้ว ถึงที่สุดแล้ว ไปสู่ที่สุดรอบแล้ว ถึงที่สุดรอบแล้ว
ไปสู่ความสำเร็จแล้ว ถึงความสำเร็จแล้ว ไปสู่ที่ป้องกันแล้ว ถึงที่ป้องกัน
แล้ว ไปสู่ที่ลับแล้ว ถึงที่ลับแล้ว ไปสู่ที่พึ่งแล้ว ถึงที่พึ่งแล้ว ไปสู่ที่ไม่
มีภัยแล้ว ถึงที่ไม่มีภัยแล้ว ไปสู่ที่ไม่จุติแล้ว ถึงที่ไม่จุติแล้ว ไปสู่ที่ไม่
ตายแล้ว ถึงที่ไม่ตายแล้ว ไปสู่นิพพานแล้ว ถึงนิพพานแล้ว.

30
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 31 (เล่ม 65)

พระอรหันต์นั้น อยู่จบแล้ว พระพฤติจรณะ มีทางไกลอันถึงแล้ว
มีทิศอันถึงแล้ว มีที่สุดอันถึงแล้ว มีพรหมจรรย์อันรักษาแล้ว ถึงทิฏฐิ
อันอุดมแล้ว มีมรรคอันเจริญแล้ว มีกิเลสอันละเสียแล้ว มีการแทงตลอด
มิได้กำเริบ มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว มีทุกข์อันกำหนดรู้แล้ว มีสมุทัยอัน
ละแล้ว มีนิโรธอันทำให้แจ้งแล้ว มีมรรคอันเจริญแล้ว มีธรรมที่ควรรู้
ยิ่งอันได้รู้ยิ่งแล้ว มีธรรมที่ควรกำหนดรู้อันกำหนดรู้แล้ว มีธรรมที่ควร
ละอันละแล้ว มีธรรมที่ควรเจริญอันเจริญแล้ว มีธรรมที่ควรทำให้แจ้งอัน
ทำให้แจ้งแล้ว.
พระอรหันต์นั้นมีอวิชชาเป็นลิ่มสลักอันถอนเลียแล้ว มีกรรมเป็นดู
อันกำจัดเสียแล้ว มีตัณหาเป็นเสาระเนียดอันถอนเสียแล้ว ไม่มีสังโยชน์
เป็นบานประตู เป็นผู้ไกลจากกิเลสอันเป็นข้าศึก มีมานะเป็นธงอันให้ตก
ไปแล้ว มีภาระอันปลงเสียแล้ว มีโยคกิเลสมิได้เกี่ยวข้อง มีองค์ ๕ อันละ
เสียแล้ว ประกอบด้วยองค์ ๖ มีสติเป็นธรรมเครื่องรักษาอย่างเอก มี
ธรรมเป็นเครื่องอาศัย ๘ มีทิฏฐิสัจจะเฉพาะอย่างอันละเสียแล้ว มีการ
แสวงหาอันชอบไม่หย่อนประเสริฐ มีความดำริมิได้ขุ่นมัว มีการสังขาร
อันระงับแล้ว มีจิตหลุดพ้นแล้ว มีปัญญาเป็นเครื่องหลุดพ้นด้วยดี เป็น
ผู้มีความบริบูรณ์ มีพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว เป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ
ถึงความบรรลุปรมัตถะ.
พระอรหันต์นั้น มิได้ก่อมิได้กำจัด กำจัดตั้งอยู่แล้ว มิได้ละ มิ
ได้ถือมั่น ละแล้วจึงตั้งอยู่ มิได้เย็บ มิได้ตก เย็บแล้วจึงตั้งอยู่ มิได้ดับ
มิได้ให้ลุกดับแล้วจึงตั้งอยู่ ดำรงอยู่ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์

31
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 32 (เล่ม 65)

สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ซึ่งเป็นอเสขะ
แทงตลอดอริยสัจจะแล้วตั้งอยู่ ก้าวล่วงตัณหาอย่างนี้แล้วตั้งอยู่ ดับไฟ
กิเลสแล้วตั้งอยู่ ตั้งอยู่ด้วยไม่ต้องไปรอบ ยึดถือเอายอดแล้วตั้งอยู่ ตั้งอยู่
ด้วยเป็นผู้ซ่องเสพวิมุตติ ดำรงอยู่ด้วยเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
อันบริสุทธิ์ ดำรงอยู่ด้วยความบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดำรงอยู่ในความเป็น
ผู้ไม่แข็งกระด้างด้วยตัณหาทิฏฐิมานะอันบริสุทธิ์ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้หลุดพ้น
ตั้งอยู่เพราะเป็นผู้สันโดษ ตั้งอยู่ในส่วนสุดรอบแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ
คติ อุปบัติ ปฏิสนธิ ภพ สงสาร วัฏฏะ ตั้งอยู่ในภพอันมีในที่สุด
ตั้งอยู่ในสรีระอันมีในที่สุด ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด สมจริงดังคาถา
ประพันธ์ว่า :-
พระขีณาสพนั้นมีภพนี้เป็นที่สุด มีสรีระนี้เป็นที่
หลัง มิได้มีชาติ มรณะ สงสาร และภพใหม่.
เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง ฉะนั้น.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
เพราะเหตุนั้น สัตว์ผู้เกิดมา พึงเป็นผู้มีสติทุกเมื่อ
พึงเว้นขาดกามทั้งหลาย ครั้นเว้นขาดตามเหล่านั้นแล้ว
พึงข้ามโอฆะได้ เหมือนบุคคลวิดน้ำในเรือแล้วไปถึงฝั่ง
ฉะนั้น ดังนี้.
จบ กามสุตตนิทเทส ที่ ๑

32
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 33 (เล่ม 65)

สัทธัมมปัชโชติกา
อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส
ภาคที่ ๑
อารัมภกถา
พระชินเจ้าพระองค์ใดทรงกำจัดเสียซึ่งลิ่มคือ
อวิชชา และความกำหนัดด้วยสามารถแห่งความยิน
ดี อย่างถอนราก ทรงเจริญอัฏฐังคิกมรรคถูกต้อง
อมตบท. ทรงบรรลุพระโพธิญาณ เสด็จหยั่งลงสู่
อิสิปตนมฤคทายวันประกาศธรรมจักรยังเวไนยสัตว์
๑๘ โกฏิ มีพระโกณฑัญญเถระเป็นต้น ให้บรรลุธรรม
ในวันนั้นในที่นั้น.
ข้าพเจ้าขอนมัสการด้วยเศียรเกล้า ซึ่งพระชินเจ้า
พระองค์นั้น ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง และพระธรรม
อันสูงสุด ทั้งพระสงฆ์ผู้ไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า.
ก็ธรรมจักรใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อ
พระสารีบุตรผู้มีปัญญามากเกือบเท่าพระศาสดา ผู้
เกิดแต่องค์พระชินเจ้า จำแนกธรรมจักรนั้นเป็น
ส่วน ๆ กล่าวมหานิทเทสซึ่งชื่อว่าเป็นปาฐะประเสริฐ
และวิเศษ.

33