No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 14 (เล่ม 65)

เป็นผู้ประกอบด้วยสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้อยู่ด้วยสติ, ชื่อว่า
เป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้คล่องแคล้วด้วยสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็น
ผู้ไม่หวนกลับจากสติ.
เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ
เป็นผู้ระลึกได้, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้สงบ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ
เป็นผู้ระงับ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของ
สัตบุรุษ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะพุทธานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ
ธรรมานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะสังฆานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ
เพราะสีลานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะจาคานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ
เพราะเทวดานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะอานาปานัสสติ, ชื่อว่าเป็น
ผู้มีสติ เพราะมรณานุสสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะกายคตาสติ, ชื่อว่า
เป็นผู้มีสติ เพราะอุปสมานุสสติ, ความระลึก ความระลึกถึง ความระลึก
เฉพาะ ความระลึกคือสติ, ความทรงจำ ความไม่เลื่อนลอย ความไม่หลงลืม
สตินทรีย์ สติพละ สัมมาสติ สติสัมโพชฌงค์ เอกายนมรรค ธรรมเหล่า
นี้เรียกว่าสติ, บุคคลเป็นผู้เข้าใกล้ เข้าชิด เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้า
ไปถึง เข้าไปถึงพร้อม ประกอบด้วยสตินี้ บุคคลนั้นเรียกว่ามิสติ.
คำว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกา
นี้ในโลกเสียได้ มีความว่า เป็นผู้มีสติ ย่อมข้าม ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าว
ล่วง ล่วงเลยตัณหาชื่อว่าวิสัตติกานี้ในโลก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้นั้น
เป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า วิสัตติกานี้ในโลกเสียได้
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

14
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 15 (เล่ม 65)

ผู้ใดย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย เหมือนบุคคลเว้น
ขาดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอัน
ชื่อว่า วิสัตติกานี้ในโลกเสียได้
[๑๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
นรชนใดย่อมปรารถนา ไร่ นา ที่ดิน เงิน โค ม้า
ทาส คนภายใน สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก.
[๑๖] คำว่า ไร่ นา ที่ดิน เงิน มีความว่า คำว่า :-
ไร่ คือ ไร่ถั่วเขียว ไร่ถั่วราชมาส ไร่ข้าวเหนียว ไร่ข้าวละมาน
ไร่งา.
นา คือ นาข้าวสาลี นาข้าวจ้าว
ที่ดิน คือ ที่เรือน ที่ฉาง ที่หน้าเรือน ที่หลังเรือน ที่สวน ที่อยู่.
เงิน คือ กหาปณะ เรียกว่า เงิน
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไร่ นา ที่ดิน เงิน.
ว่าด้วยทาส ๔ จำพวก
[๑๗] คำว่า โค ม้า ทาส คนภายใน มีความว่า :-
โคทั้งหลาย เรียกว่า โค.
ปสุสัตว์เป็นต้น เรียกว่า ม้า.
คำว่า ทาส ได้แก่ ทาส ๔ จำพวก คือ ทาสที่เกิดภายใน ๑ ทาส
ที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ ๑ ผู้ที่สมัครเข้าถึงความเป็นทาสเอง ๑ เชลยผู้ที่เข้าถึง
ความเป็นทาส ๑ สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

15
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 16 (เล่ม 65)

คนบางพวกเป็นทาสโดยกำเนิดบ้าง คนบางพวก
เป็นทาสที่เขาซื้อมาด้วยทรัพย์บ้าง คนบางพวกสมัครเข้า
เป็นทาสเองบ้าง คนบ้างพวกเป็นทาสเพราะตกเป็นเชลย
บ้าง.
คำว่า คนภายใน ได้แก่ บุรุษ ๓ จำพวก คือ คนรับจ้าง ๑
กรรมกร ๑ พวกอยู่อาศัย ๑.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โค ม้า ทาส คนภายใน.
[๑๘] คำว่า สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก มีความว่า :-
สตรีที่มีเจ้าของ เรียกว่า สตรี.
คำว่า พวกพ้อง ได้แก่ พวกพ้อง ๔ จำพวก คือ พวกพ้อง
โดยเป็นญาติ ชื่อว่า พวกพ้อง ๑ พวกพ้องโดยโคตร ชื่อว่า พวกพ้อง ๑
พวกพ้องโดยการเรียนมนต์ ชื่อว่า พวกพ้อง ๑ พวกพ้องโดยการเรียน
ศิลปะ ชื่อว่า พวกพ้อง ๑.
คำว่า กามเป็นอันมาก คือ กามมาก, กามมากเหล่านี้ ได้แก่
รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ โผฏฐัพพะที่
ชอบใจ.
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก.
[๑๙] คำว่า นรชนใดย่อมปรารถนา มีความว่า :-
คำว่า ใด คือ เช่นใด ประกอบ อย่างใด จัดแจงอย่างใด มี
ประการอย่างใด ถึงฐานะอย่างใด ประกอบด้วยธรรมอย่างใด คือ เป็น
กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือเป็นมนุษย์.

16
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 17 (เล่ม 65)

คำว่า นรชน คือ สัตว์ นระ มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต
ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์.
คำว่า ย่อมปรารถนา คือย่อมปรารถนา ย่อมตามปรารถนา
ย่อมปรารถนาทั่วไป ย่อมติดพัน ในวัตถุกามทั้งหลาย ด้วยกิเลสกาม
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นรชนใดย่อมปรารถนา.
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
นรชนใดย่อมปรารถนาไร่ นา ที่ดิน เงิน โค ม้า
ทาส คนภายใน สตรี พวกพ้อง กามเป็นอันมาก.
[๒๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชนนั้น
เหล่าอันตรายย่อมย่ำยีนรชนนั้น เพราะอันตรายนั้น
ทุกข์ย่อมติดตามนรชนนั้นไป เหมือนน้ำไหลเข้าสู่เรือที่
แตกแล้วฉะนั้น.
[๒๑] คำว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง ย่อมครอบงำนรชน
นั้น มีความว่า คำว่า ไม่มีกำลัง คือ กิเลสอันไม่มีกำลัง คือทุรพล
มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม ตกต่ำ ลามก เป็นดัง
ลูกนก เล็กน้อย. กิเลสเหล่านั้น ย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ
กำจัด ย่ำยี บุคคลนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่ากิเลสอันไม่มีกำลัง
ย่อมครอบงำนรชนนั้น แม้ด้วยประการอย่างนี้.
อีกนัยหนึ่ง สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ
หิริพละ โอตตัปปพละ ไม่มีแก่บุคคลใด กิเลสเหล่านั้น ย่อมครอบงำ

17
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 18 (เล่ม 65)

ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น ผู้ไม่มีกำลัง มีกำลัง
ทราม มีกำลังน้อย มีเรี่ยวแรงน้อย เลว ทราม เสื่อม ตกต่ำ ลามก
เป็นดังลูกนก เล็กน้อย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เหล่ากิเลสอันไม่มี
กำลังย่อมครอบงำนรชนนั้น แม้ด้วยประการอย่างนี้.
ว่าด้วยอันตราย ๒ อย่าง
[๒๒] คำว่า เหล่าอันตราย่อมย่ำยีนรชนนั้น มีความว่า :-
คำว่า อันตราย ได้แก่ อันตราย ๒ อย่าง คือ อันตรายที่ปรากฏ
อย่าง ๑ อันตรายที่ปกปิดอย่าง ๑.
อันตรายที่ปรากฏ เป็นไฉน ? คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสื่อเหลือง
หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง ตะขาบ โจร
คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมจะทำกรรมชั่ว, และโรคทางจักษุ โรคทาง
โสตะ โรคทางจมูก โรคทางลิ้น โรคทางกาย โรคทางศีรษะ โรคทาง
หู โรคทางปาก โรคทางฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ
โรคไข้เชื่อมซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด
โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝี โรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู
โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด โรคหูด โรคละลอก โรคคุด-
ทะราดบวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีกำเริบ โรคเบาหวาน โรคเริม
โรคพุพอง โรคริดสีดวง. อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็น
สมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธสันนิบาต อาพาธเกิดแต่ฤดูแปร
ปรวน อาพาธเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธรู้สึกเจ็บปวด
อาพาธเกิดแต่วิบากของกรรม, ความหนาว ความร้อน ความหิว ความ

18
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 19 (เล่ม 65)

ระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ, ความสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม
แดด และสัตว์เลื้อยคลาน อันตรายเหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ปรากฏ.
อันตรายที่ปกปิดเป็นไฉน ? คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโน
ทุจริต. กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุก-
กุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์. ราคะ โทสะ โมหะ ความโกรธ ผูก
โกรธไว้ ลบหลู่คุณท่าน ตีเสมอ ริษยา ตระหนี่ มายา โอ้อวด หัวดื้อ
แข็งดี ถือตัว ดูหมิ่นท่าน มัวเมา ประมาท, กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง
ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง
อกุศลธรรมทั้งปวง อันตรายเหล่านี้ เรียกว่า อันตรายที่ปกปิด.
คำว่า อันตราย ความว่า เพราะอรรถว่าอะไร จึงชื่อว่าอันตราย ?
เพราะอรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่าอันตราย, เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อ
ความเสื่อม จึงชื่อว่าอันตราย, เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรม
ทั้งหลายจึงชื่อว่าอันตราย.
เพราะอรรถว่า ครอบงำ จึงชื่อว่า อันตราย อย่างไร. อันตราย
เหล่านั้นย่อมครอบงำ ปราบปราม กดขี่ ท่วมทับ กำจัด ย่ำยีบุคคลนั้น
เพราะอรรถว่าครอบงำ จึงชื่อว่า อันตราย อย่างนี้.
เพราะอรรถว่า เป็นไปเพื่อความเสื่อม จึงชื่อว่า อันตราย อย่าง
ไร่ ? อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศล
ธรรมทั้งหลาย อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่ออันตรธาน
ไปแห่งกุศลธรรมเหล่าไหน ? อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม
เพื่ออันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้คือ ความปฏิบัติชอบ ความปฏิบัติ

19
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 20 (เล่ม 65)

สมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตามประโยชน์ ความ
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีล ความเป็นผู้มี
ทวารอันคุ้มครองในอินทรีย์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ความ
ประกอบเนือง ๆ ในความเป็นผู้อื่นมีสติสัมปชัญญะ ความประกอบเนือง ๆ
ในอันเจริญสติปัฏฐาน ๔ ความประกอบเนือง ๆ ในอันเจริญสัมมัปปธาน ๔
ความประกอบเนือง ๆ ในอันเจริญอิทธิบาท ความประกอบเนือง ๆ ใน
อันเจริญอินทรีย์ ๕ ความประกอบเนือง ๆในอันเจริญพละ ๕ ความ
ประกอบเนือง ๆ ในอันเจริญ โพชฌงค์ ๗ ความประกอบเนือง ๆ ในอัน
เจริญมรรคมีองค์ ๘ อันตรายเหล่านั้นย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อม เพื่อ
อันตรธานไปแห่งกุศลธรรมเหล่านี้ เพราะอรรถว่าเป็นไปเพื่อความเสื่อม
จึงชื่อว่า อันตราย อย่างนี้.
เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า
อันตราย อย่างไร ? อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพนั้น
ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ เปรียบเหมือนเหล่าสัตว์ที่อาศัยรู ย่อมอยู่
ในรู ที่อาศัยน้ำ ย่อมอยู่ในน้ำ ที่อาศัยป่า ย่อมอยู่ในป่า ที่อาศัยต้นไม้
ย่อมอยู่ที่ต้นไม้ ฉันใด อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นใน
อัตภาพนั้น ย่อมเป็นธรรมอยู่อาศัยในอัตภาพ ฉันนั้น เพราะอรรถว่า
เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลายจึงชื่อว่า อันตราย อย่างนี้.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้
อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

20
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 21 (เล่ม 65)

ก็ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน
ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุกอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมอัน
ลามก มีความดำริอันซ่านไปในอารมณ์ อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อม
เกิดขึ้นแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ อกุศลธรรมอัน
ลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปในภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น
ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรม
อันลามกเหล่านั้นย่อมกลุ้มรุมภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึง
เรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง อกุศลธรรมอันลามก มีความ
ดำริอันซ่านไปในอารมณ์ อันเกื้อกูลแก่สังโยชน์ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ
เพราะได้ยินเสียงด้วยโสต .............เพราะสูดกลิ่นด้วยฆานะ.............เพราะ
ลิ้มรสด้วยชิวหา...........เพราะถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย..........เพราะรู้แจ้ง
ธรรมารมณ์ด้วยใจ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมอยู่ซ่านไปใน
ภายในแห่งภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับ
กิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน อกุศลธรรมอันลามกเหล่านั้น ย่อมกลุ้มรุม
ภิกษุนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ภิกษุนั้นจึงเรียกว่า ผู้อยู่ร่วมกับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้อยู่ร่วมกับกิเลสอันอยู่อาศัยในภายใน ผู้อยู่ร่วม
กับกิเลสที่ฟุ้งซ่าน ย่อมอยู่ลำบาก ไม่ผาสุก อย่างนี้แล เพราะอรรถว่า
เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า อันตราย แม้ด้วยประการ
ฉะนี้.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

21
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 22 (เล่ม 65)

ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน
เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน.
ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ โลภะ เป็นมลทินในภายใน เป็น
อมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรู
ในภายใน, โทสะ เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็น
ข้าศึกในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน. โมหะ
เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึกในภายใน เป็น
เพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม
๓ ประการนี้แล เป็นมลทินในภายใน เป็นอมิตรในภายใน เป็นข้าศึก
ในภายใน เป็นเพชฌฆาตในภายใน เป็นศัตรูในภายใน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า.
โลภะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โลภะยัง
จิตให้กำเริบ โลภะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อม
ไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้โลภแล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โลภแล้ว
ย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความโลภครอบงำนรชน เมื่อนั้น
นรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ.
โทสะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โทสะยัง
จิตให้กำเริบ โทสะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อม
ไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้โกรธแล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้โกรธ
แล้วย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความโกรธครอบงำนรชน
เมื่อนั้นนรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ.

22
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 23 (เล่ม 65)

โมหะ ยังสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ให้เกิด โมหะยัง
จิตให้กำเริบ โมหะเป็นภัยเกิดขึ้นในภายใน พาลชนย่อม
ไม่รู้สึกภัยนั้น คนผู้หลงแล้วย่อมไม่รู้อรรถ คนผู้หลงแล้ว
ย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อใดความหลงครอบงำนรชน เมื่อนั้น
นรชนนั้น ย่อมมีความมืดตื้อ.
เพราะอรรถว่า เป็นที่อยู่แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงชื่อว่า
อันตราย แม้ด้วยประการฉะนี้.
สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
ดูก่อนมหาบพิตร ธรรม ๓ ประการ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่ง
บุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่
ผาสุก.
ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ โลภะ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่ง
บุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่
ผาสุก, โทสะ เมื่อเกิดขึ้นในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อความอยู่ไม่ผาสุก. โมหะ เมื่อเกิดขึ้น
ในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ
ความอยู่ไม่ผาสุก. ดูก่อนมหาพิตร ธรรม ๓ ประการนี้แล เมื่อเกิดขึ้น
ในภายในแห่งบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ เพื่อ
ความอยู่ไม่ผาสุก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง
แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า :-

23