No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 4 (เล่ม 65)

ดับพร้อมกัน มีวัตถุอย่างเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน กับด้วยความ
อิ่มนี้.
คำว่า ย่อมเป็นผู้อิ่มใจ คือ เป็นผู้มีใจยินดี มีใจร่าเริง มีใจ
เบิกบาน มีใจดี มีใจสูง มีใจปลาบปลื้ม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อม
เป็นผู้อิ่มใจแน่นอน.
[๕] คำว่า สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว มีความว่า
คำว่า ได้ คือได้ ได้แล้ว ได้เฉพาะ ประสบ พบ. คำว่า สัตว์ คือ สัตว์ นระ
มาณพ บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์. คำว่า
ตามปรารถนา คือ รูป เสียง กลิ่น รส หรือโผฏฐัพพะ. ตามปรารถนา
ยินดี. ประสงค์ มุ่งหมาย ชอบใจ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์นั้นได้
กามตามปรารถนาแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
เมื่อสัตว์ปรารถนากามอยู่ ถ้ากามนั้นย่อมสำเร็จแก่
สัตว์นั้น สัตว์นั้นได้กามตามปรารถนาแล้ว ย่อมเป็นผู้
อิ่มใจแน่นอน.
[๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ เมื่อสัตว์นั้นมีฉันทะ
เกิดแล้ว ถ้ากามเหล่านั้นเสื่อมไป สัตว์นั้นย่อมกระสับ
กระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงแล้ว.
[๗] คำว่า เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ มีความว่า คำว่า
เมื่อสัตว์นั้น ได้แก่ สัตว์ผู้เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์
บรรพชิต เทวดาหรือมนุษย์ คำว่า ปรารถนากามอยู่ คือ เมื่อใคร่ อยาก

4
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 5 (เล่ม 65)

ได้ ยินดี ปรารถนา มุ่งหมาย ชอบใจ. อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ย่อมไป
ออกไป ลอยไป แล่นไป เพราะกามตัณหา เปรียบเหมือนมนุษย์ ย่อม
ไป ออกไป ลอยไป แล่นไป ด้วยยานช้างบ้าง ยานม้าบ้าง ยานโคบ้าง
ยานแกะบ้าง ยานแพะบ้าง ยานอูฐบ้าง ยานลาบ้าง ฉันใด สัตว์ย่อม
ไป ออกไป ลอยไป แล่นไป เพราะกามตัณหา ฉันนั้น เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่.
[๘] คำว่า เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว ความว่า คำว่า ฉันทะ
ได้แก่ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลินในกาม ความ
อยากในกาม ความเสน่หาในกาม ความเร่าร้อนในกาม ความหลงในกาม
ความคิดใจในกาม ห้วงคือกาม ความประกอบคือกาม ความยึดถือในกาม
เครื่องกั้นคือกามฉันทะ ความพอใจในกามนั้น เกิดแล้ว เกิดพร้อม เกิดขึ้น
เกิดเฉพาะ ปรากฏแล้วแก่สัตว์นั้น. คำว่า สัตว์ คือ สัตว์ นระ มาณพ
บุรุษ บุคคล ผู้มีชีวิต ผู้เกิด สัตว์เกิด ผู้มีกรรม มนุษย์ เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิดแล้ว.
[๙] คำว่า กามเหล่านั้นเสื่อมไป มีความว่า กามเหล่านั้นเสื่อม
ไปบ้าง สัตว์นั้นเสื่อมจากกามทั้งหลายบ้าง.
กามเหล่านั้นเสื่อมไป อย่างไร ? เมื่อสัตว์นั้นดำรงอยู่นั่นแหละ โภคะ
เหล่านั้น ถูกพระราชาริบไปบ้าง ถูกโจรลักไปบ้าง ถูกไฟไหม้บ้าง ถูกน้ำ
พัดไปบ้าง ถูกพวกญาติผู้ไม่เป็นที่ชอบใจนำไปบ้าง สัตว์นั้นไม่พบโภค
ทรัพย์ที่เก็บฝังไว้บ้าง การงานที่ประกอบไม่ดีเสียไปบ้าง คนผลาญสกุล
ผู้แจกจ่ายกระจัดกระจายทำลายโภคะเหล่านั้นเกิดในสกุลบ้าง ความเป็นของ

5
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 6 (เล่ม 65)

ไม่เที่ยงแห่งโภคะเป็นที่แปด กามเหล่านั้นย่อมเสื่อม เสียหาย กระจัด
กระจาย รั่วไหล อันตรธาน สูญหายไปอย่างนี้.
สัตว์นั้นย่อมเสื่อมจากกามทั้งหลาย อย่างไร ? โภคะเหล่านั้นยังตั้งอยู่
นั่นแหละ สัตว์นั้นเคลื่อน ตาย อันตรธาน สูญหายไปจากโภคะเหล่านั้น
สัตว์นั้นย่อมเสื่อม เสียหาย กระจัดกระจา รั่วไหล อันตรธาน สูญหาย
ไปจากกามทั้งหลายอย่างนี้.
สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-
โภคทรัพย์ทั้งหลาย ถูกโจรลักไป ถูกพระราชาริบ
ไป ถูกไฟไหม้ เสียหาย อนึ่ง บุคคลผู้เป็นเจ้าของย่อม
ละทิ้งสรีระ กับทั้งข้าวของ เพราะความตาย นักปราชญ์
ทราบเหตุนี้แล้ว พึงใช้สอยบ้าง พึงให้ทานบ้าง ครั้น
ให้ทานและใช้สอยตามสมควรแล้ว เป็นผู้ไม่ถูกติเตียน
ย่อมเข้าถึงสถาน คือ สวรรค์.
เพราะฉะนั้น จึงว่า กามเหล่านั้นย่อมเสื่อมไป.
[๑๐] คำว่า สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย เหมือนสัตว์ที่ถูก
ลูกศรแทงแล้ว มีความว่า สัตว์ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วย เหล็กแทงแล้วบ้าง
ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยกระดูกแทงแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยงาแทงแล้วบ้าง
ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยเขาแทงแล้วบ้าง ผู้ถูกลูกศรที่ทำด้วยไม้แทงแล้วบ้าง
ย่อมกระสับกระส่ายหวั่นไหว ดิ้นรน จุกเสียด เจ็บตัว เจ็บใจ ฉันใด
ความโศก คร่ำครวญ เจ็บกาย เจ็บใจ และคับแค้นใจ ย่อมเกิดขึ้นเพราะ
วัตถุกามทั้งหลายแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป สัตว์นั้นถูกลูกศรคือกามแทง

6
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 7 (เล่ม 65)

แล้ว ย่อม ๆ กระสับกระส่าย หวั่นไหว ดิ้นรน จุกเสียด เจ็บกาย เจ็บใจ
ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย
เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงแล้ว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า :-
เมื่อสัตว์นั้นปรารถนากามอยู่ เมื่อสัตว์มีฉันทะเกิด
แล้ว ถ้ากามเหล่านั้นเสื่อมไป สัตว์นั้นย่อมกระสับกระส่าย
เหมือนสัตว์ที่ถูกลูกศรแทงแล้ว.
[๑๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า :-
ผู้ใดย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย เหมือนบุคคลเว้น
ขาดหัวงูด้วยเท้า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอัน
ชื่อว่าวิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้.
ว่าด้วยการเว้นขาดกามด้วยเหตุ ๒ ประการ
[๑๒] คำว่า ผู้ใดย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย มีความว่า คำว่า
ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ผู้ประกอบอย่างใด ผู้ตั้งไว้อย่างใด ผู้มีประการอย่างใด
ผู้ถึงฐานะใด ผู้ประกอบด้วยธรรมใด เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร
คฤหัสถ์ บรรพชิต เทวดา หรือเป็นมนุษย์.
คำว่า กาม ในคำว่า ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย โดยหัวข้อ
ได้แก่กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑.
วัตถุกามเป็นไฉน ? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่
ชอบใจ ฯลฯ กามเหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม ฯลฯ กามเหล่านั้นเรียกว่า

7
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 8 (เล่ม 65)

กิเลสกาม.
คำว่า ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย คือ ย่อมเว้นขาดกามโดยเหตุ
๒ ประการ คือ โดยการข่มไว้ประการ ๑ โดยการตัดขาดประการ ๑.
ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้ อย่างไร ? บุคคลผู้เห็นอยู่ว่า
กามทั้งหลายเปรียบด้วยโครงกระดูก เพราะอรรถว่า เป็นของมีความยินดี
น้อย ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่า เป็น
ของสาธารณ์แก่ชนหมู่มาก ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่า
เป็นของตามเผา ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า
เป็นของให้เร่าร้อนมาก ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยความฝัน เพราะอรรถว่า เป็น
ของปรากฏชั่วเวลาน้อย ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยของขอยืม เพราะอรรถว่า เป็น
ของเป็นไปชั่วกาลที่กำหนด ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั่งหลายเปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก เพราะอรรถว่า
เป็นของทำให้กิ่งหักและให้ต้นล้ม ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยดาบและมีด เพราะอรรถว่า
เป็นของพื้น ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วย หอก หลาว เพราะอรรถว่า เป็น

8
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 9 (เล่ม 65)

ของทิ่มแทง ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหัวงู. เพราะอรรถว่า เป็นของ
น่าสะพึงกลัว ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
ผู้เห็นอยู่ว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยกองไฟ เพราะอรรถว่า เป็น
ดังไฟกองใหญ่ให้เร่าร้อน ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
แม้ผู้เจริญพุทธานุสสติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
แม้ผู้เจริญธรรมานุสสติย่อมเว้นขาดกามโดยการข่มไว้.
แม้ผู้เจริญสังฆานุสสติ..........
แม้ผู้เจริญสีลานุสสติ.........
แม้ผู้เจริญจาคานุสสติ.........
แม้ผู้เจริญเทวตานุสสติ..........
แม้ผู้เจริญอานาปานุสสติ.........
แม้ผู้เจริญมรณานุสสติ............
แม้ผู้เจริญกายคตาสติ............
แม้ผู้เจริญอุปสมานุสสติ...........
แม้ผู้เจริญปฐมฌาน...........
แม้ผู้เจริญทุติยฌาน...........
แม้ผู้เจริญตติยฌาน...........
แม้ผู้เจริญจตุตถฌาน...........
แม้ผู้เจริญอากาสานัญจายตนสมาบัติ...........
แม้ผู้เจริญวิญญาณัญจายตนสมาบัติ...........

9
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 10 (เล่ม 65)

แม้ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ............
แม้ผู้เจริญเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามโดยการ
ข่มไว้ ย่อมเว้น ขาดกามโดยการข่มไว้อย่างนี้.
ย่อมเว้นขาดกามโดยการตัดขาด อย่างไร ? แม้บุคคลผู้เจริญ
โสดาปัตติมรรค ย่อมเว้นขาดกามอันให้ไปสู่อบายโดยการตัดขาด. แม้
บุคคลผู้เจริญสกทาคามิมรรค ย่อมเว้นขาดกามส่วนหยาบโดยการตัดขาด.
แม้บุคคลผู้เจริญอนาคามิมรรค ย่อมเว้นขาดกามอันเป็นส่วนละเอียดโดย
การตัดขาด. แม้บุคคลผู้เจริญอรหัตมรรค ย่อมเว้นขาดกามโดยอาการ
ทั้งปวง โดยประการทั้งปวง หมดสิ้น มิให้มีส่วนเหลือโดยการตัดขาด
ย่อมเว้นขาดกามโดยการตัดขาด อย่างนี้เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ใด
ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย.
[๑๓] คำว่า เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า มีความว่า
งูเรียกว่าสัปปะ เพราะอรรถว่าอะไร งูจึงเรียกว่าสัปปะ ? เพราะอรรถว่า
เสือกไป งูจึงเรียกว่าสัปปะ, เพราะอรรถว่า ขนดไป งูจึงเรียกว่า ภุชคะ,
เพราะอรรถว่าไปด้วยอก งูจึงเรียกว่า อุรคะ, เพราะอรรถว่า มีหัวตกไป
งูจึงเรียกว่า ปันนคะ, เพราะอรรถว่า นอนด้วยหัว งูจึงเรียกว่า สิริสปะ
เพราะอรรถว่า นอนในรู งูจึงเรียกว่า วิลาสยะ, เพราะอรรถว่า นอน
ในถ้ำ งูจึงเรียกว่า คุหาสยะ, เพราะอรรถว่า มีเขี้ยวเป็นอาวุธ งูจึงเรียกว่า
ทาฒาวุธ, เพราะอรรถว่า มีพิษร้ายแรง งูจึงเรียกว่า โฆรวิสะ, เพราะ
อรรถว่า มีลิ้นสองแฉก งูจึงเรียกว่า ทุชิวหา, เพราะอรรถว่า ลิ้มรส

10
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 11 (เล่ม 65)

ด้วยลิ้นสองแฉก งูจึงเรียกว่า ทิรสัญญู.
บุรุษผู้ใคร่ต่อชีวิต ไม่อยากตาย อยากได้สุข เกลียดทุกข์ พึงเว้น
หลีก หลบ อ้อมหนีหัวงูด้วยเท้า ฉันใด บุคคลผู้รักสุข เกลียดทุกข์
พึงเว้น หลีก หลบ อ้อมหนีกามทั้งหลาย ฉันนั้น เหมือนกัน เพราะฉะนั้น
จึงชื่อว่า เหมือนบุคคลเว้นขาดหัวงูด้วยเท้า.
[๑๔] คำว่า ผู้นั้นเป็นผู้มีสติ ย่อมล่วงพ้นตัณหาอันชื่อว่า
วิสัตติกานี้ ในโลกเสียได้ มีความว่า คำว่า ผู้นั้น คือผู้เว้นขาดกาม
ทั้งหลาย.
ตัณหา เรียกว่า วิสัตติกา ได้แก่ ความกำหนัด, ความกำหนัดกล้า,
ความพอใจ, ความชอบใจ, ความเพลิดเพลิน, ความกำหนัดด้วยสามารถ
แห่งความเพลิดเพลิน, ความกำหนัดกล้าแห่งจิต, ความปรารถนา, ความ
หลง, ความติดใจ, ความยินดี, ความยินดีทั่วไป, ความข้อง, ความ
ติดพัน, ความแสวงหา, ความลวง, ความให้สัตว์เกิด, ความให้สัตว์
เกี่ยวกับทุกข์, ความเย็บไว้, ความเป็นดังว่าข่าย, ความเป็นดังว่ากระแส
น่า ความซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ความเป็นดังว่าเส้นด้าย, ความกระจาย
ไป ความให้อายุเสื่อมไป, ความเป็นเพื่อน, ความตั้งมั่น, เครื่องนำไป
สู่ภพ, ความติดอารมณ์, ความตั้งอยู่ในอารมณ์, ความสนิท, ความรัก
ความเพ่งเล็ง, ความผูกพัน, ความหวัง, ความจำนง, ความประสงค์,
ความหวังในรูป, ความหวังในเสียง, ความหวังในกลิ่น, ความหวังในรส,
ความหวังในโผฏฐัพพะ, ความหวังในลาภ, ความหวังในทรัพย์, ความ
หวังในบุตร, ความหวังในชีวิต, ความปรารถนา, ความให้สัตว์ปรารถนา

11
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 12 (เล่ม 65)

ความที่จิตปรารถนา, ความเหนี่ยวรั้ง, ความให้สัตว์เหนี่ยวรั้ง, ความที่
จิตเหนี่ยวรั้ง, ความหวั่นไหว, อาการแห่งความหวั่นไหว, ความพรั่ง
พร้อมด้วยความหวั่นไหว, ความกำเริบ, ความใคร่ดี, ความกำหนัดในที่
ผิดธรรม, ความโลภไม่เสมอ, ความใคร่, อาการแห่งความใคร่, ความ
มุ่งหมาย, ความปอง, ความปรารถนาดี, กามตัณหา, ภวตัณหา, วิภว-
ตัณหา, ตัณหาในรูปภพ, ตัณหาในอรูปภพ, ตัณหาในนิโรธ, รูปตัณหา,
สัททตัณหา, คันธตัณหา, รสตัณหา, โผฏฐัพพตัณหา, ธัมมตัณหา, โอฆะ,
โยคะ, คันถะ, อุปาทาน, ความกั้น, ความปิด, ความบัง, ความผูก,
ความเข้าไปเศร้าหมอง, ความนอนเนื่อง, ความกลุ้มรุมจิต, ความเป็น
ดังว่าเถาวัลย์, ความปรารถนาวัตถุต่าง ๆ, รากเง่าแห่งทุกข์, เหตุแห่งทุกข์,
แดนเกิดแห่งทุกข์, บ่วงมาร, เบ็ดมาร, วิสัยมาร, แม่น้ำตัณหา, ข่าย
ตัณหา, โซ่ตัณหา, สมุทรตัณหา, อภิชฌา, โลภะ, อกุศลมูล, เรียกว่า
วิสัตติกา.
คำว่า วิสัตติกา ความว่า เพราะอรรถว่าอะไร ตัณหาจึงชื่อว่า
วิสัตติกา (ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ) เพราะอรรถว่า ซ่านไป ตัณหาจึง
ชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า แผ่ไป ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะ
อรรถว่า แล่นไป ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า ครอบงำ
ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า สะท้อนไป ตัณหาจึงชื่อว่า
วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้พูดผิด ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา
เพราะอรรถว่า มีมูลรากเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถ
ว่า มีผลเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา, เพราะอรรถว่า เป็นเครื่อง

12
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 13 (เล่ม 65)

บริโภคสิ่งเป็นพิษ ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา.
อีกนัยหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ,
สกุล คณะ ที่อยู่, ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร, กามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ, กามภพ รูปภพ
อรูปภพ, สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญานาสัญญาภพ, เอกโวการภพ
จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ, ในอดีต ในอนาคต ในปัจจุบัน, แล่นไป
ซ่านไป ในรูปที่เห็นแล้ว, ในเสียงที่ได้ยินแล้ว, กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่
ทราบแล้ว, และในธรรมที่พึงรู้แจ้ง, ตัณหาจึงชื่อว่า วิสัตติกา.
คำว่า ในโลก คือ อบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก
ธาตุโลก อายตนโลก.
คำว่า เป็นผู้มีสติ มีความว่า เป็นผู้มีสติ ด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ
เมื่อเจริญ กายานุปัสสนาสติปัฎฐานในกาย ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เมื่อเจริญ
เวทนานุปัสสนาสติปัฎฐานในเวทนาทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ, เมื่อ
เจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานในจิต ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ. เมื่อเจริญธรรมา-
นุปัสสนาสติปัฏฐานในธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ.
เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ
เว้นจากความเป็นผู้ไม่มีสติ ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้กระทำธรรมทั้ง
หลายที่ควรทำด้วยสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้กำจัดธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นข้าศึกต่อสติ, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะเป็นผู้ไม่หลงลืมธรรมทั้งหลาย
ที่เป็นนิมิตแห่งสติ.
เป็นผู้มีสติด้วยเหตุ ๔ อย่างแม้อื่นอีก คือชื่อว่าเป็นผู้มีสติ เพราะ

13