No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 34 (เล่ม 65)

อนึ่ง ข้าพเจ้าขอนมัสการพระสารีบุตรพุทธชิโน-
รสองค์นั้น ผู้เป็นพระเถระที่มีเถรคุณมิใช่น้อยเป็นที่
ยินดียิ่ง ผู้มีเกียรติคุณสูงสุดเพราะสภาพปัญญา และ
ผู้มีความประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นอันดี ข้าพเจ้า
อันพระเทวเถระผู้พหูสูต ผู้ประกอบด้วยคุณมีความ
อดทนเป็นต้น มีปกติกล่าวคำที่สมควรและพอดีเป็น
ต้น อาราธนาแล้วจักดำรงอยู่ในแนวสาธยายของ
พระเถระ ชาวมหาวิหาร ถือเอาข้อวินิจฉัยเก่า ๆ ที่
ควรถือเอา ไม่ทอดทิ้งลัทธิของตน และไม่ทำลัทธิ
ผู้อื่นให้เสียหาย ทั้งรวบรวมนัยแห่งอรรถกถาทั้ง
เบื้องต้นเบื้องปลายได้ตามสมควร พรรณนาตามเนื้อ
ความที่ยังไม่เคยพรรณนาของนัยนั้น อันนำมาซึ่ง
ประเภทแห่งญาณ ที่พระโยคาวจรทั้งหลายมิใช่น้อย
เสพอาศัยแล้ว ไม่ทอดทิ้งพระสูตรและข้อยุติ จัก
เริ่มพรรณนามหานิทเทสโดยย่อ ด้วยความนับถือ
มากในพระสัทธรรม มิใช่ประสงค์จะยกตน ข้าพเจ้า
จักกล่าวอรรถกถา เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน
และเพื่อความดำรงอยู่นานแห่งพระสัทธรรม ขอ
ท่านสัตบุรุษทั้งหลายจงฟัง สัทธัมมปัชโชติกา โดย
เคารพและจงทรงจำไว้ด้วยดีเถิด.

34
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 35 (เล่ม 65)

เพราะได้กล่าวไว้แล้วในอารัมภกถานั้นว่า ซึ่งมหานิทเทสนั้นโดยชื่อ
อันวิเศษว่า ปาฐะวิสิฏฐนิทเทส, ปาฐะ มี ๒ อย่างคือ พยัญชน-
ปาฐะ ๑ อรรถปาฐะ ๑.
ในปาฐะทั้ง ๒ นั้น พยัญชนปาฐะ มี ๖ อย่างคือ อักขระ ๑,
บท ๑, พยัญชนะ ๑, อาการะ ๑, นิรุตติ ๑, นิทเทส ๑.
อรรถปาฐะ ก็มี ๖ อย่างคือ สังกาสนะ ๑, ปกาสนะ ๑,
ววรณะ ๑, วิภชนะ ๑, อุตตานีกรณะ ๑, บัญญัตติ ๑.
ว่าด้วยอักขระ
ในพยัญชนะปาฐะนั้น เทสนาที่เป็นไปด้วยจิตที่คิดถึงเหตุอันหมด
จด ด้วยสามารถแห่งปโยคะอันบริสุทธิ์ในไตรทวาร บัณฑิตรู้ได้ว่า
อักขระ เพราะมิได้แสดงคือไม่ได้เสวนาด้วยวาจา. อักขระนั้น พึงถือเอาว่า
ชื่อว่า อักขระ ด้วยสามารถแห่งปัญหาที่บรรดาพราหมณ์ผู้มีจุดหมายปลาย
ทางถามด้วยใจ และด้วยสามารถแห่งปัฏฐานมหาปกรณ์อัน พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าประทับนั่งพิจารณาแล้วที่รตนฆรเจดีย์.
อีกอย่างหนึ่ง บทที่ไม่บริบูรณ์ก็พึงรับรู้ว่า อักขระ ดุจในคำมีอาทิ
อย่างนี้ว่า สฏฺฐีวสฺสสหสฺสานิ หกหมื่นปี ดังนี้. ในคำนี้อาจารย์พวก
หนึ่งกล่าวว่า ส - อักษร และ ทุ - อักษร ก็ชื่อว่า อักขระ, หรือบทที่มี
อักขระเดียว ก็ชื่อว่า อักขระ.
ว่าด้วยบท
อักขรสันนิบาตอันส่องความที่จำแนกไว้ในคำเป็นต้นว่า ยายํ ตณฺหา
โปโนพฺภวิกา - ตัณหานี้ใดเป็นปัจจัยให้เกิดอีก ดังนี้ ชื่อว่า บท คำที่

35
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 36 (เล่ม 65)

ประกอบด้วยอักขระมากมายได้ในคำเป็นต้นว่า นามญฺจ รูปญฺจ - นาม
ด้วยรูปด้วย ก็ชื่อว่า บท - อักขรสันนิบาต.
ว่าด้วยพยัญชนะ
ชื่อว่า พยัญชนะ เพราะอรรถว่า ยังเนื้อความอันเป็นประโยชน์
เกื้อกูลให้ชัดเจน คือทำให้รู้ ทำให้ปรากฏด้วยบท๑ว่า พึงทำบทที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้โดยย่อให้แจ่มแจ้งดังนี้ ได้แก่คำพูดนั่นเอง.
เนื้อความที่ตรัสโดยย่อว่า จตฺตาโร อิทฺธิปาทา - อิทธิบาท ๔ ก็
ชื่อว่า พยัญชนะ - ทำเนื้อความให้ชัดเจน เพราะทำเนื้อความให้ปรากฏ
ได้ในคำว่า กตเม จตฺตาโร - ๔ เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย ฉันทะ, สมาธิปธานสังขาร
คือ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วย วิริยะ, จิตตะ, วิมังสา, สมาธิประธาน-
สังขาร.
ว่าด้วยอาการะ
การประกาศวิภาคแห่งพยัญชนะ ชื่อว่า อาการะ. การกระทำวิภาค
หลายอย่างซึ่งพยัญชนะที่ตรัสไว้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า อิทธิบาท ๔ นั้น
ฉันทะเป็นไฉน ? ฉันทะคือความพอใจ ความเป็นผู้พอใจ ความเป็นผู้ใคร่
เพื่อจะทำ ดังนี้ ชื่อว่า อาการะ - ประกาศวิภาคแห่งพยัญชนะ.
ว่าด้วยนิรุตติ
คำขยายเนื้อความอันประกอบด้วยอาการ ชื่อว่า นิรุตติ. คำที่นำมา
กล่าวว่า ชื่อว่า ผัสสะ เพราะอรรถว่ากระทบอารมณ์, ชื่อว่า เวทนา
๑ ฉบับพม่าว่า สเรน - ด้วยสระ, หรือด้วยเสียง.

36
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 37 (เล่ม 65)

เพราะอรรถว่าเสวยอารมณ์ ซึ่งตรัสไว้แล้วโดยอาการ มาในคำเป็นต้นว่า
ผสฺโส เวทนา ดังนี้ ก็ชื่อว่า นิรุตติ - แสดงสภาวะ.
ว่าด้วยนิทเทส
ความพิสดารแห่งคำขยาย ชื่อว่า นิทเทส เพราะอรรถว่าแสดง
เนื้อความโดยไม่เหลือ. บทที่ได้คำขยายว่า เวทยตีติ เวทนา - ชื่อว่า
เวทนา เพราะอรรถว่าเสวยอารมณ์ ดังนี้. ก็ชื่อว่า นิทเทส - แสดงขยาย
ความ เพราะท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถความพิสดารแห่งเนื้อความเป็นต้นว่า
สุขะ ทุกขะ อทุกขมสุขะ, ชื่อว่า สุขะ เพราะอรรถว่าเป็นไปสบาย. ชื่อว่า
ทุกขะ เพราะอรรถว่าเป็นไปลำบาก. ชื่อว่า อทุกขมสุขะ เพราะอรรถว่า
ไม่เป็นไปลำบาก ไม่เป็นไปสบาย.
ว่าด้วยสังกาสนะ
การรู้บทแห่งพยัญชนปาฐะ ๖ อย่าง ด้วยประการฉะนี้แล้ว
ประกาศแสดงในบทแห่ง อรรถปาฐะ ๖ อย่างโดยย่อ ชื่อว่า สังกาสนา
- ประกาศให้รู้ชัด. การแสดงข้อความโดยสังเขปได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า
ภิกษุเมื่อสำคัญอยู่แล ย่อมถูกมารผูกมัด, เมื่อไม่สำคัญอยู่ ย่อมพ้นจาก
มารผู้มีบาป ดังนี้ ก็ชื่อว่า สังกาสนา - ให้รู้ชัด ก็พระเถระนี้เป็นผู้สามารถ
เพื่อจะกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ได้รู้ทั่วแล้ว ข้าแต่
พระสุคตเจ้า ข้าพระองค์ได้รู้ทั่วแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า แทงตลอดแล้วซึ่งเนื้อ
ความที่พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วโดยสังเขปด้วยประการฉะนี้.

37
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 38 (เล่ม 65)

ว่าด้วยปกาสนะ
การประกาศการแสดงแต่เบื้องต้น ซึ่งเนื้อความที่ควรกล่าวใน
เบื้องต้น ชื่อว่า ปกาสนะ. การแสดงการประกาศซึ่งเนื้อความที่ควร
กล่าวในภายหลังด้วยคำแรกได้ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า สพฺพํ ภิกฺขเว อา-
ทิตฺตํ - สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อนดังนี้ ก็ชื่อว่า ปกาสนะ - ประกาศ. ด้วย
การแสดงข้อความที่แสดงแล้วในครั้งแรกทำให้ปรากฏอีกอย่างนี้ เป็นอัน
ตรัสบทแห่งอรรถทั้งสองในข้อความที่ตรัสไว้มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อะไรคือสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็น
ของร้อน, รูปเป็นของร้อน, ดังนี้ เพื่ออุปการะแก่ภิกษุผู้มีอินทรีย์แก่กล้า
เพราะตรัสไว้ว่า ภิกษุผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ย่อมแทงตลอดเนื้อความที่ตรัส
ไว้โดยสังเขปได้ดังนี้.
ว่าด้วยวิวรณะ
การทรงไว้โดยพิสดารซึ่งเนื้อความที่กล่าวแล้วโดยสังเขป และการ
ทรงไว้ได้อีกซึ่งเนื้อความที่กล่าวแล้วเพียงครั้งเดียว ชื่อว่า วิวรณะ.
การขยายเนื้อความที่ตั้งไว้โดยสังเขปว่า กุสลา ธมฺมา สภาวธรรมทั้ง
หลายที่เป็นกุศลดังนี้ ให้พิสดารด้วยสามารถแห่งนิทเทสว่า สภาวธรรม
ทั้งหลายที่เป็นกุศล เป็นไฉน ? สมัยใดกามาวจรกุศลจิต เกิดขึ้นแล้วดังนี้
เป็นต้น ก็ชื่อว่า วิวรณะ - เปิดเผย.
ว่าด้วยวิภชนะ
การทำเนื้อความนั้นเป็นส่วน ๆ ชื่อว่า วิภชนะ. การทำกุศลธรรม
ทั้งหลายที่เปิดเผยแล้วว่า ยสฺมึ สมเย ในสมัยใด ดังนี้ เป็นส่วน ๆ ว่า

38
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 39 (เล่ม 65)

ในสมัยนั้น ผัสสะ ก็เกิด เวทนา ก็เกิด ดังนี้ ก็ชื่อว่า วิภชนะ - จำแนก.
ว่าด้วยอุตตานีกรณะ
การทำเนื้อความให้ถึงพร้อม ด้วยการทรงไว้โดยพิสดารซึ่งเนื้อความ
ที่จำแนกแล้ว และด้วยการตั้งไว้ซึ่งเนื้อความที่จำแนกแล้วด้วยอุปมา ชื่อว่า
อุตตานีกรณะ. เนื้อความที่เปิดเผยแล้วโดยการเปิดเผย กล่าวคือ เปิดเผย
อย่างยิ่งว่า ผัสสะมีในสมัยนั้นเป็นไฉน ? คือ ในสมัยนั้น ผัสสะ กระทบ
อารมณ์. ผุสนา - ถูกต้องอารมณ์. สัมผุสนา - สัมผัสอารมณ์ ดังนี้, และ
เนื้อความที่จำแนกแล้ว โดยการจำเเนกกล่าวอุปมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าวว่า ผัลสาหารพึงเห็นได้ ดุจดังแม่โคที่ปราศจากหนังฉะนั้น ดังนี้
ก็ชื่อว่า อุตตานีกรณะ - ทำให้ง่าย.
ว่าด้วยปัญญัตติ
การยังโสมนัสให้เกิดขึ้นแก่จิตด้วยอเนกวิธี คือ ด้วยการแสดงธรรม
แก่สาธุชนผู้สดับธรรมอยู่. และการกระทำความคมกล้าของญาณด้วยอเนก
วิธี ให้แก่สาธุชนที่ยังมีปัญญายังไม่คมกล้า ชื่อว่า ปัญญัตติ เพราะอรรถ
ว่า ย่อมปรากฏแก่สาธุชนผู้สดับอยู่เหล่านั้น ด้วยความยินดีของจิตที่
ประกอบด้วยโสมนัสนั้น และด้วยความใคร่ครวญของจิตที่ประกอบด้วย
โสมนัสนั้น จึงชื่อว่า ปัญญัตติ.
ในปาฐะทั้ง ๒ นั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้รู้ชัดด้วยอักขระ,
ทรงประกาศด้วยบท, ทรงเปิดเผยด้วยพยัญชนะ, ทรงจำแนกด้วย
อาการะ, ทรงทำให้ง่ายด้วยนิรุตติ, ทรงทำให้ปรากฏด้วยนิทเทส.
คำนี้มีอธิบายไว้อย่างไร ?

39
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 40 (เล่ม 65)

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงกระทำเวไนยสัตว์บางพวกให้รู้
ชัดเนื้อความด้วย อักขระ ในการแสดงธรรมครั้งหนึ่ง ฯลฯ ทรงทำเนื้อ
ความให้ปรากฏด้วย นิทเทส นี้เป็นอธิบายในปาฐะทั้ง ๒ นั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เวไนยสัตว์รู้ชัดด้วยอักขระ
ทั้งหลายแล้วทรงประกาศด้วยบททั้งหลาย ทรงเปิดเผยด้วยพยัญชนะ
ทั้งหลาย แล้วทรงจำแนกด้วยอาการทั้งหลาย ทรงทำให้ง่ายด้วยนิรุตติ
ทั้งหลาย แล้วทรงบัญญัติด้วยนิทเทสทั้งหลาย มีอธิบายไว้อย่างไร ?
มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำเวไนยสัตว์บางพวกใน
ฐานะบางอย่าง ด้วยพระธรรมเทศนาเห็นปานนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเมื่อทรงให้เหล่าเวไนยรู้ชัดด้วยอักขระ ทั้งหลายแล้วทรงประกาศ
ด้วยบททั้งหลาย ย่อมทรงแนะนำพวกอุคฆติตัญญู เมื่อทรงเปิดเผยด้วย
พยัญชนะทั้งหลาย แล้วทรงจำแนกด้วยอาการทั้งหลาย ย่อมทรงแนะนำพวก
วิปจิตัญญู เมื่อทรงทำให้ง่ายด้วยนิรุตติทั้งหลาย แล้วทรงบัญญัติด้วย
นิทเทสทั้งหลาย ย่อมทรงแน่ะนำพวกเนยยะ แม้ด้วยสามารถแห่งเวไนยสัตว์
ก็พึงประกอบด้วยประการฉะนี้แล.
แต่โดยใจความในที่นี้ พระสุรเสียงที่เป็นไปกับด้วยวิญญัติซึ่งรู้เนื้อ
ความ ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ทรงแสดงพระธรรมว่า
พยัญชนปาฐะเป็นไฉน ? อรรถปาฐะเป็นไฉน ? ดังนี้นั้น ชื่อพยัญชน-
ปาฐะ. พระธรรมที่ประกอบด้วยลักษณะและรสเป็นต้นอันพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าพึงบรรลุ นั้นพึงทราบว่า อรรถปาฐะ.

40
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 41 (เล่ม 65)

อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะมี ๖ อย่าง คือ สันธายภาสิตปาฐะ พยัญชน-
ภาสิตปาฐะ สาวเสสปาฐะ อนวเสสปาฐะ นีตปาฐะ และเนยย-
ปาฐะ.
ในปาฐะเหล่านั้น ปาฐะที่กล่าวข้อความไม่น้อยมีอาทิอย่างนี้ว่า
ฆ่ามารดาบิดา และกษัตริยราชทั้งสอง ดังนี้ ชื่อ สันธายภาสิตปาฐะ.
ปาฐะที่กล่าวข้อความอย่างเดียวมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งหลายมีใจ
ถึงก่อน ดังนี้ ชื่อ พยัญชนภาสิตปาฐะ.
ปาฐะมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน
ดังนี้ ชื่อ สาวเสสปาฐะ.
ปาฐะที่ตรงกันข้ามมีอาทิอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งปวงย่อมมาสู่คลองใน
ญาณมุขของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า โดยอาการทั้งปวง ดังนี้ ชื่อ
อนวเสสปาฐะ.
ปาฐะที่พึงรู้อย่างที่กล่าวมีอาทิอย่างนี้ว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ดังนี้ ชื่อ นีตปาฐะ.
ปาฐะที่พึงระลึกถึงโดยความถูกต้องมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคลเอก ดังนี้ ชื่อเนยยปาฐะ.
อนึ่ง อรรถมีประการไม่น้อย มีอาทิ คือ ปาฐัตถะ, สภาวัตถะ,
ญายัตถะ, รูปาฐานุรูป, นปาฐานุรูป, ชาวเสสตถะ, นิรวเสสตถะ,
นีตัตถะ และ เนยยัตถะ ในอรรถเหล่านั้น :-
ปาฐะใดพ้นข้อความที่ให้รู้ซึ่งข้อความที่ยังไม่รู้ไม่เห็น ปาฐะนั้นชื่อ
ปาฐัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
ดังนี้.

41
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 42 (เล่ม 65)

ลักษณะและรสเป็นต้นของรูปธรรม และอรูปธรรมทั้งหลายข้อ
สภาวัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า เจริญสัมมาทิฏฐิดังนี้.
อรรถใดอันบุคคลรู้อยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล ย่อมควร
เพื่อให้รู้พร้อมดังนี้ อรรถนั้นชื่อ ญายัตถะ ดุจในประโยกมีอาทิว่า ผู้
มีปกติกล่าวอรรถ ผู้มีปกติกล่าวธรรม ดังนี้.
อรรถที่สมควรตามปาฐะชื่อ ปาฐานุรูป อรรถที่บุคคลผู้ปฏิเสธข้อ
ความด้วยพยัญชนฉายาว่า เพราะฉะนั้น แม้จักษุก็เป็นกรรม ดังนี้.
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นกรรม
เก่า ดังนี้ กล่าวแล้ว ชื่อ นปาฐานุรูป.
อรรถนั้นโดยปาฐะมิได้ทรงอนุญาตไว้ มิได้ทรงปฏิเสธ มิได้ทรง
ประกอบไว้. ก็อรรถนั้น แม้ที่ควรสงเคราะห์ก็มิได้ทรงสงเคราะห์ หรือ
แม้ที่ควรเว้น ก็มิได้ทรงเว้นอะไร ๆ เลย มิได้ทรงปฏิเสธตรัสไว้ ชื่อ
สาวเสสัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า อาศัยจักขุประสาทและรูปารมณ์
จักขุวิญญาณจึงเกิดขึ้น สัตว์ทั้งปวงย่อมสะดุ้งต่ออาชญา สัตว์ทั้งปวงย่อม
กลัวต่อมัจจุ ดังนี้.
อรรถที่ตรงกันข้าม ชื่อ นิรวเสสัตถะ ดุจในประโยคมีอาทิว่าทั้ง
เราทั้งท่าน แล่นไปพร้อมแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
ข้อนั้น นอกจากบทที่เห็นแล้ว ใครรู้ใครทรงจำไว้ได้ ดังนี้.
อรรถที่พึงทราบด้วยสามารถแห่งเสียงนั้นแล ชื่อ นีตัตถะ ดุจใน
ประโยคมีอาทิว่า รูป เสียง รส๑ กลิ่น และโผฏฐัพพะ เป็นที่รื่นรมย์
แห่งใจ ดังนี้.
๑. น่าจะอยู่หลัง กลิ่น ตามลำดับในวิสยรูป.

42
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 43 (เล่ม 65)

อรรถที่พึงทราบด้วยสามารถแห่งสมมติ ชื่อ เนยยัตถะ ดุจใน
ประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยพลาหก ๔ เหล่านั้น
ดังนี้. บุคคลรู้แจ้งทั้งปาฐะ และอรรถะดำรงอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ง่อนแง่นจาก
พวกกล่าวตรงกันข้ามทั้งหลาย ด้วยดำรงอยู่สิ้นกาลนาน.
บุคคลผู้สามารถเข้าใจด้วยเหตุและอุทาหรณ์เป็นต้น ทั้งโดยสังเขป
นัย และวิตถารนัย ย่อมอาจที่จะกล่าวจนถึงความถึงพร้อมแห่งอาคมและ
อธิคมอย่างไม่ง่อนแง่น ด้วยประการฉะนี้ ครั้นรู้แจ้งอย่างนี้แล้ว ย่อมเป็น
ผู้สะอาด เพราะเว้นจากมลทินคือศีลและทิฏฐิชั่ว ด้วยความเป็นผู้สามารถ
ที่จะชำระตนและผู้อื่นให้บริสุทธิ์ได้. ด้วยว่าคนทุศีลย่อมเบียดเบียนตน เป็น
ผู้มีวาจาไม่น่าเชื่อถือ เพราะความทุศีลนั้นไม่สามารถจะนำอาหารมาได้
เดือนร้อนอยู่เป็นนิตย์โนโลกนี้ดุจลูกโค คนมีทิฏฐิชั่วย่อมเบียดเบียนผู้อื่น
และเป็นที่พึ่งอาศัยไม่ได้ เพียงดังกอบัวที่อากูลอยู่ในถ้ำของสัตว์ร้าย ก็ผู้
วิบัติทั้งสองอย่าง เป็นผู้ไม่ควรนั่งใกล้ เหมือนหีบศพที่อยู่ในคูถ และ
เหมือนงูเห่าที่อยู่ในคูถ. ส่วนผู้สมบูรณ์ทั้งสองอย่าง เป็นผู้สะอาดควรนั่ง
ใกล้และควรคบหาแม้ด้วยประการทั้งปวง เหมือนบ่อรัตนะปราศจาก
อันตรายจากวิญญูชนทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นอย่างนี้ ไม่ตระหนี่อย่างนี้ ไม่
ลืมอาจารย์ ไม่สละ ๔ อย่าง คือ สุตตะ, สุตตานุโลม, อาจริยวาท,
และ อัตตโนมติ กล่าวข้อความได้ต่าง ๆ ด้วยสามารถแห่งสิ่งสำคัญ ๔
อย่างนั้น อีกอย่างหนึ่งเป็นผู้ไม่สละสิ่งสำคัญ ๔ อย่างเหล่านี้คือ :-
การกล่าวโดยส่วนเดียวเป็นสุตตะที่ ๑ การกล่าวจำแนก
เป็นบทสุตตานุโลมเป็นที่ ๒ ไต่ถามเป็นอาจริยวาทที่ ๓

43