No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 778 (เล่ม 64)

มณีและแก้วประพาฬ ข้าแต่พระอัยกาเจ้า พระราช-
บิดาจะพึงพระราชทานอะไรเล่า.
พระเจ้ากรุงสญชัยได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า
ดูก่อนพระหลานน้อย พวกเราสรรเสริญทาน
ของบิดาเจ้าดอก มิได้ติเตียนเลย บิดาของหลานให้
หลานทั้งสองแก่คนขอทาน หฤทัยของเขาเป็นอย่างไร
หนอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทานมสฺส ปสํสาม ความว่า ดูก่อน
พระหลานน้อย พวกเราสรรเสริญทานของบิดาเจ้า มิได้ติเตียน.
พระชาลีราชกุมารได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า
ข้าแต่พระอัยกามหาราช พระบิดาของหม่อม
ฉันพระราชทานหม่อมฉันทั้งสองแก่คนขอทานแล้ว
ได้ทรงฟังวาจาอันน่าสงสารที่น้องหญิงกัณหากล่าว
พระองค์ทรงมีพระทัยเป็นทุกข์และเร่าร้อน มีพระ-
เนตรแดงก่ำดังดาวโรหิณี มีพระอัสสุชลหลั่งไหล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขสฺส ความว่า ข้าแต่พระอัยกาเจ้า
พระบิดานั้นทรงสดับคำนี้ที่น้องกัณหาชินาของหม่อมฉันกล่าว พระองค์ได้มี
พระหฤทัยเป็นทุกข์. บทว่า โรหิณีเหว ตามฺพกฺขี ความว่า พระบิดาของ
หม่อมฉันมีพระเนตรแดงก่ำราวกะดาวโรหิณีที่มีสีแดงฉะนั้น ทรงมีพระอัสสุชล
หลั่งไหลเป็นดังสายเลือดในขณะนั้น.

778
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 779 (เล่ม 64)

บัดนี้ พระชาสีราชกุมารเมื่อจะทรงแสดงพระวาจาของพระกัณหาชินา
นั้น จึงตรัสว่า
น้องกัณหาชินาได้กราบทูลพระบิดาว่า ข้าแต่
พระบิดา พราหมณ์นี้ตีหม่อมฉันด้วยไม้เท้า ดุจตีทาสี
เกิดในเรือน ข้าแต่พระบิดา พราหมณ์ทั้งหลายเป็น
ผู้ประกอบด้วยธรรม แต่พราหมณ์นี้หาเป็นเช่นนั้นไม่
แกเป็นยักษ์แปลงเพศเป็นพราหมณ์ มานำหม่อมฉัน
ทั้งสองไปเคี้ยวกิน ข้าแต่พระบิดา หม่อมฉันทั้งสอง
ถูกปีศาจนำไป พระองค์ทอดพระเนตรเห็นหรือหนอ.
ลำดับนั้น พระเจ้ากรุงสญชัยทอดพระเนตรเห็นพระราชนัดดาทั้งสอง
ยังไม่พ้นจากมือพราหมณ์ชูชก จึงตรัสคาถาว่า
พระมารดาของหลานทั้งสองก็เป็นราชบุตรี พระ
บิดาของหลานทั้งสองก็เป็นราชโอรส แต่ก่อนหลาน
ทั้งสองขึ้นนั่งบนตักปู่ เดี๋ยวนี้มายืนอยู่ไกล เพราะ
อะไรหนอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ เม ความว่า แต่ก่อนนี้ หลาน
ทั้งสองเห็นปู่เข้ามาโดยเร็ว ขึ้นตักปู่ บัดนี้เหตุอะไรหนอ หลานทั้งสองจึงยืน
อยู่ไกล.
พระชาลีราชกุมารกราบทูลว่า
พระชนนีของหม่อมฉันทั้งสองเป็นพระราชบุตรี
พระชนกของหม่อมฉันทั้งสองเป็นพระราชบุตร แต่
หม่อมฉันทั้งสองเป็นทาสีของพราหมณ์ เพราะเหตุนั้น
หม่อมฉันทั้งสองจึงต้องยืนอยู่ไกล.

779
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 780 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทาสา มยํ ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้
สมมติเทพ เมื่อก่อนหม่อมฉันทั้งสองรู้ตัวว่าเป็นราชบุตร แต่เดี๋ยวนี้หม่อมฉัน
ทั้งสองเป็นทาสของพราหมณ์ ไม่ได้เป็นนัดดาของพระองค์.
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
หลานรักทั้งสองอย่าได้พูดอย่างนี้เลย หทัยของปู่
เร่าร้อน กายของปู่เหมือนถูกยกขึ้นไว้บนจิตกาธาร ปู่
ไม่ได้ความสุขในราชบัลลังก์ หลานรักทั้งสองอย่าได้
พูดอย่างนี้เลย เพราะยิ่งเพิ่มความโศกแก่ปู่ ปู่จักไถ่
หลานทั้งสองด้วยทรัพย์ หลานทั้งสองจักไม่ต้องเป็น
ทาส แน่ะพ่อชาลี บิดาของหลานให้หลานทั้งสองแก่
พราหมณ์ ตีราคาไว้เท่าไร หลานจงบอกปู่ตามจริง
พนักงานจะได้ให้พราหมณ์รับทรัพย์ไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺม เป็นคำแสดงความรัก. บทว่า
จิตกายํว เม กาโย ความว่า บัดนี้กายของปู่เป็นเหมือนถูกยกขึ้นสู่เชิง
ตะกอนถ่านเพลิง. บทว่า ชเนถ มํ ความว่า ให้เกิดแก่ปู่ บาลีก็อย่างนี้
แหละ. บทว่า นิกฺกีณิสฺสามิ ทพฺเพน ความว่า จักให้ทรัพย์แล้วเปลื้อง
จากความเป็นทาส. บทว่า กิมฺคฺฆิยํ ความว่า ตีราคาไว้เท่าไร. บทว่า
ปฏิปาเทนฺติ ความว่า ให้รับทรัพย์.
พระชาลีราชกุมารได้สดับดังนั้น จึงตรัสว่า
ข้าแต่พระอัยกา พระบิดาพระราชทานหม่อมฉัน
แก่พราหมณ์ ทรงตีราคาพันตำลึงทองคำ ทรงตีราคา
น้องกัณหาชินาผู้มีพระพักตร์ผ่องใส ด้วยทรัพย์มีช้าง
เป็นต้นอย่างละร้อย.

780
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 781 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสคฺฆํ หิ มํ ความว่า ข้าแต่
สมมติเทพ พระบิดาพระราชทานหม่อมฉันแก่พราหมณ์ ทรงตีราคาพันลิ่ม
ทองคำ. บทว่า อจฺฉํ ความว่า แต่น้องหญิงกัณหาชินาของหม่อมฉัน บทว่า
หตฺถิอาทิสเตน ความว่า พระชาลีทูลว่า พระบิดาทรงตีราคาด้วยช้าง ม้า
รถ เหล่านั้นทั้งหมดอย่างละร้อยแม้โดยที่สุดจนเตียงและตั่งก็อย่างละร้อยทั้งนั้น.
พระเจ้าสญชัยได้ทรงฟังพระชาลีกราบทูล เมื่อจะทรงโปรดให้ไถ่พระ-
กุมารกุมารีทั้งสององค์ จึงตรัสว่า
ดูก่อนเสวกามาตย์ เจ้าจงลุกขึ้น รีบให้ทาสี
ทาส โคเมีย โคผู้ ช้าง อย่างละร้อยๆ แก่พราหมณ์
เป็นค่าไถ่แม่กัณหา และจงให้ทองคำพันตำลึงเป็นด่า
ไถ่พ่อชาลี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวากรา ได้แก่ จงให้. บทว่า นิกฺกยํ
ความว่า จงให้ค่าไถ่.
เสวกามาตย์ทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสสั่งดังนั้นแล้วจึงกระทำตามนั้น
ได้จัดค่าไถ่สองกุมารให้แก่พราหมณ์ทันที.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้น เสวกามาตย์รีบให้ทาสี ทาส โคเมีย โค
ผู้ ช้าง อย่างละร้อย ๆ แก่พราหมณ์เป็นค่าไถ่พระ-
กัณหา และได้ให้ทองคำพันตำลึงเป็นค่าพระชาลี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวากริ ได้แก่ ได้ให้แล้ว บทว่า
นิกฺกยํ ความว่า ให้ค่าไถ่.
พระเจ้าสญชัยได้พระราชทานสิ่งทั้งปวงอย่างละร้อยและทองคำพันตำลึง
แก่พราหมณ์ชูชกเป็นค่าไถ่พระราชกุมารกุมารี และพระราชทานปราสาท ๗

781
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 782 (เล่ม 64)

ชั้นแก่ชูชกด้วยประการฉะนี้ จำเดิมแต่นั้น ชูชกก็มีบริวารมาก แกรวบรวม
ทรัพย์ขึ้นสู่ปราสาท นั่งบนบัลลังก์ใหญ่ บริโภคโภชนะมีรสอันดี แล้วนอน
บนที่นอนใหญ่.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเจ้าสญชัยสีวีราชได้พระราชทานทาสี ทาส
โคเมีย ช้าง โคผู้ แม่ม้าอัสดรและรถ ทั้งเครื่อง
บริโภคอุปโภคทั้งปวงอย่างละร้อยๆ และทองคำพัน
ตำลึง แก่พราหมณ์ชูชกผู้แสวงหาทรัพย์ ผู้ร้ายกาจ
เหลือเกิน เป็นค่าไถ่สองกุมารกุมารี.
ลำดับนั้น พระเจ้าสญชัยมหาราชให้พระชาลีและพระกัณหาสนานพระ-
เศียร แล้วให้เสวยโภชนาหารทรงประดับราชกุมารกุมารีทั้งสอง ทรงจุมพิต
พระเศียรพระเจ้าสญชัยให้พระชาลีประทับนั่งบนพระเพลา พระนางเจ้าผุสดีให้
พระกัณหาชินาประทับนั่งบนพระเพลา.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระอัยกาพระอัยกีทรงไถ่พระชาลีพระกัณหาแล้ว
ให้สนานพระกาย ให้เสวยโภชนาหาร แต่งองค์ด้วย
ราชาภรณ์แล้วให้ประทับนั่งบนพระเพลา.
เมื่อพระราชกุมารกุมารีสนานพระเศียร ทรงภูษา
อันหมดจด ประดับด้วยสรรพาภรณ์และสรรพาลังการ
คือกุณฑลซึ่งมีเสียงดังเสนาะ ทั้งระเบียบดอกไม้แล้ว
พระอัยกาให้พระชาลีประทับนั่งบนพระเพลา แล้ว
ตรัสถามด้วยคำนี้ว่า.

782
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 783 (เล่ม 64)

แน่ะพ่อชาลี พระชนกชนนีทั้งสองของพ่อไม่มี
พระโรคาพาธกระมัง ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเสาะ
แสวงหาผลาหารสะดวกกระมัง มูลผลาหารมีมาก
กระมัง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานทีจะมีน้อย
กระมัง ความเบียดเบียนให้ลำบากในวนประเทศที่
เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย ไม่ค่อยมีกระมัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุณฺฑเล ได้แก่ ให้ประดับกุณฑลทั้ง
หลาย. บทว่า ฆุสิเต ได้แก่ กุณฑลซึ่งมีเสียงดังเสนาะ คือส่งเสียงเป็นที่
ยินดีแห่งใจ. บทว่า มาเล ได้แก่ ให้ประดับดอกไม้นั้น ๆ ทั้งสอง. บทว่า
องฺเก กริตฺวาน ได้แก่ ให้พระชาลีราชกุมารประทับนั่งบนพระเพลา.
พระชาลีราชกุมารได้ทรงฟังพระราชดำรัสถามดังนั้น จึงกราบทูล
สนองว่า
ข้าแต่สมมติเทพ พระชนกชนนีทั้งสองของ
หม่อมฉันไม่ค่อยมีพระโรคาพาธ ยังอัตภาพให้เป็นไป
ด้วยเสาะแสวงหาผลาหารสะดวกดี และมูลผลาหารก็
มีมาก อนึ่ง เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลาน มีบ้าง
ก็เล็กน้อย ความเบียดเบียนให้ลำบากในวนประเทศที่
เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย ก็ไม่ค่อยมีแด่พระชนกพระ-
ชนนีทั้งสองนั้น.
พระชนนีของหม่อมฉันทั้งสองเสด็จไปขุดมัน
กระชากมันอ่อน มันมือเสือ มันนก และนำผลกะเบา
ผลจาก มะนาว มาเลี้ยงกัน.

783
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 784 (เล่ม 64)

พระชนนีเป็นผู้หามูลผลในป่า ทรงนำมาซึ่งมูล
ผลใด หม่อมฉันทั้งหลายประชุมพร้อมกันเสวยมูลผล
นั้นในเวลากลางคืน ไม่ได้เสวยในเวลากลางวัน.
พระชนนีของหม่อมฉันทั้งสองเป็นสุขุมาลชาติ
ต้องทรงหาผลไม้ในป่ามาเลี้ยงกัน จนทรงซูบมีพระ
ฉวีเหลืองเพราะลมและแดด ดุจดอกปทุมอยู่ในกำมือ.
เมื่อพระชนนีเสด็จเที่ยวอยู่ในป่าใหญ่ ซึ่งเกลื่อน
ไปด้วยพาลมฤค มีแรดและเสือเหลืองอยู่อาศัย พระ-
เกสาก็ยุ่งเหยิง พระองค์เกล้าพระชฎาบนพระเกสา
ทรงเปรอะเปื้อนที่พระกัจฉประเทศ.
พระชนกทรงเพศบรรพชิตผู้ประเสริฐ ทรงถือ
ไม้ขอ ภาชนะเครื่องบูชาเพลิงและชฎา ทรงหนังเสือ
เหลืองเป็นพระภูษาทรง บรรทมเหนือแผ่นดินนมัส-
การเพลิง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนนฺตาลุกลมฺพานิ ความว่า พระชาลี
ราชกุมารทรงพรรณนาถึงชีวิตลำเค็ญของพระชนกชนนี ด้วยคำว่า ขุดมันมือ
เสือ มันนกเป็นต้น. บทว่า โน ในบทว่า ตนฺโน นี้ เป็นเพียงนิบาต.
บทว่า ปทุมํ หตฺถคตมิว ความว่า เหมือนดอกปทุมที่ถูกขยำด้วยมือ.
บทว่า ปตนูเกสา ความว่า ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อพระชนนีของหม่อมฉัน
เสด็จเที่ยวไปหามูลผลาหารในป่าใหญ่ พระเกศาซึ่งดำมีสีเหมือนขนปีกแมลงภู่
ถูกกิ่งไม้เป็นต้นเกี่ยวเสียยุ่งเหยิง. บทว่า ชลฺลมธารยิ ความว่า มีพระกัจฉ-
ประเทศทั้งสองข้างเปรอะเปื้อน เสด็จเที่ยวไปด้วยเครื่องแต่งองค์ปอน ๆ.

784
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 785 (เล่ม 64)

พระชาลีราชกุมารกราบทูลถึงความที่พระชนนีมีความทุกข์ยากอย่างนี้
แล้ว เมื่อจะทูลท้วงพระอัยกา จึงตรัสว่า
ลูกทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลก ย่อมเป็นที่รักของ
มนุษย์ผู้เป็นพ่อแม่ทั้งหลาย พระอัยกาของหม่อมฉัน
ทั้งสอง คงไม่เกิดเสน่หาในพระโอรสเป็นแน่ทีเดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทปชฺชึสุ ความว่า ย่อมเกิดขึ้น
ลำดับนั้น พระเจ้าสญชัยเมื่อชี้โทษของพระองค์ จึงตรัสว่า
ดูก่อนพระหลานน้อย จริงทีเดียว การที่ปู่ให้
ขับไล่พระบิดาของเจ้าผู้ไม่มีโทษเพราะถ้อยคำของชาว
สีพีนั้น ชื่อว่าปู่ได้กระทำกรรมอันชั่วช้า ทำกรรมอัน
ทำลายความเจริญแก่พวกเรา สิ่งใด ๆ ของปู่ที่อยู่ใน
นครนี้ก็ดี ทรัพย์และธัญชาติที่มีอยู่ก็ดี ปู่ขอยกให้แก่
พระบิดาของเจ้าทั้งสิ้น ขอให้เวสสันดรจงมาเป็นราชา
ปกครองในสีพีรัฐเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โปต ความว่า ดูก่อนชาลีกุมารหลาน
น้อย นั่นเป็นกรรมที่พวกเราทำไว้ชั่ว. บทว่า ภูนหจฺจํ ได้แก่ เป็นกรรม
ที่ทำลายความเจริญ. บทว่า ยํ เน กิญฺจิ ความว่า สิ่งอะไร ๆ ของปู่มีอยู่
ในพระนครนี้ สิ่งนั้นทั้งหมดปู่ยกให้แก่พระบิดาของหลาน. บทว่า สิวิรฏฺเฐ
ปสาสตุ ความว่า ขอพระเวสสันดรนั้นจงเป็นราชาปกครองในพระนครนี้.
พระชาลีราชกุมารกราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ พระชนกของหม่อมฉันคงจัก
ไม่เสด็จมาเป็นพระราชาของชาวสีพี เพราะถ้อยคำ

785
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 786 (เล่ม 64)

ของหม่อมฉัน ขอพระองค์เสด็จไปอภิเษกพระราช
โอรสด้วยราชสมบัติ ด้วยพระองค์เองเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิวิสุตฺตโม ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐที่
สุดของชาวสีพี. บทว่า สิญฺจ ความว่า อภิเษกด้วยราชสมบัติ เหมือนมหาเมฆ
โปรยหยาดน้ำฝนฉะนั้น.
พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับฟังพระชาลีตรัส จึงมีพระราชดำรัสเรียกหา
เสนาคุตอมาตย์มาสั่งให้ตีกลองใหญ่ป่าวประกาศทั่วเมือง
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้นพระเจ้าสญชัยบรมกษัตริย์ตรัสกะเสนาบดี
ว่า กองทัพ คือกองช้าง กองม้า กองม้า กองราบ
จงผูกสอดศัสตราวุธ ชาวนิคม พราหมณ์ปุโรหิตจง
ตามข้าไป แต่นั้นอมาตย์หกหมื่นผู้สหชาตของบุตรเรา
งามน่าดู ประดับแล้วด้วยผ้าสีต่าง ๆ พวกหนึ่งทรงผ้า
สีเขียว พวกหนึ่งทรงผ้าสีเหลือง พวกหนึ่งทรงผ้าสี
แดงเป็นดุจอุณหิส พวกหนึ่งทรงผ้าสีขาว ผูกสอด
ศัสตราวุธจงมาโดยพลัน เขาหิมวันต์ เขาคันธรและ
เขาคันธมาทน์ ปกคลุมด้วยนานาพฤกษชาติ เป็นที่อยู่
แห่งหมู่ยักษ์ยังทิศทั้งหลายให้รุ่งเรืองฟุ้งตลบไปด้วย
ทิพยโอสถ ฉันใด โยธาทั้งหลายผูกศัสตราวุธแล้ว จง
มาพลันจงยังทิศทั้งหลายให้รุ่งเรืองฟุ้งตลบไปฉันนั้น
จงผูกช้างหมื่นสี่พันเชือกให้มีสายรัดแล้วด้วยทองแท่ง
เครื่องประดับแล้วด้วยทอง อันเหล่าควาญช้างถือโตมร

786
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 787 (เล่ม 64)

และขอขึ้นขี่ ผูกสอดศัสตราวุธแล้ว มีอลังการปรากฏ
บนคอช้าง จงรีบมา แต่นั้นจงผูกม้าหมื่นสี่พันตัว
ที่เป็นชาติอาชาไนยสินธพมีกำลัง อันควาญม้าถือดาบ
และแล่งธนูขี่ ผูกสอดศัสตราวุธแล้ว ประดับกายแล้ว
อยู่บนหลังม้า จงรีบมาแต่นั้น จงเทียมรถหมื่นสี่พัน
คัน ซึ่งมีกงรถแล้วด้วยเหล็ก มีเรือนรถขจิตด้วยทอง
จงยกขึ้นซึ่งธง โล่ เขน แล่งธนู ในรถนั้น เป็นผู้
มีธรรมมั่นคง มุ่งประหารข้าศึก ผูกสอดศัสตราวุธ
แล้ว เป็นช่างรถอยู่ในรถ จงรีบมา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺนาหยนฺตุ ได้แก่ จงผูกสอดอาวุธ
ทั้งหลาย. บทว่า สฏฐีสหสฺสานิ ได้แก่ อมาตย์หกหมื่นผู้เป็น
สหชาติกับบุตรของเรา. บทว่า นีลวตฺถาธราเนเก ความว่า พวกหนึ่งทรง
ผ้าสีเขียว คือเป็นผู้นุ่งห่มผ้าสีเขียวจงมา. บทว่า มหาภูตคณาลโย ได้แก่
เป็นที่อยู่ของหมู่ยักษ์ทั้งหลาย. บทว่า ทิสา ภนฺตุ ปวนฺตุ จ ความว่า
จงให้รุ่งเรืองและฟุ้งตลบไปด้วยอาภรณ์และเครื่องลูบไล้ทั้งหลาย. บทว่า
หตฺถิกฺขนฺเธหิ ความว่า ควาญช้างเหล่านั้นจงขี่คอช้างรีบมา. บทว่า ทสฺสิตา
ได้แก่ มีเครื่องประดับปรากฏ. บทว่า อโยสุกตเนมิโย ได้แก่ มีกงรถที่
ใช้เหล็กหุ้มอย่างดี. บทว่า สุวณฺณจิตฺรโปกฺขเร ความว่า พระเจ้าสญชัย
ตรัสว่า จงเทียมรถหมื่นสี่พันคันปานนี้ ซึ่งมีเรือนรถขจิตด้วยทอง. บทว่า
วิปฺผาเลนฺตุ ได้แก่ จงยกขึ้น.
พระเจ้าสญชัยจัดกองทัพอย่างนี้แล้ว ตรัสสั่งว่า พวกเจ้าจงตกแต่ง
มรรคาเป็นที่มา ให้มีพื้นเรียบ กว้างแปดอุสภะ ตั้งแต่เชตุดรราชธานีจนถึงเขา
วงกต แล้วทำสิ่งนี้ด้วย ๆ เพื่อต้องการตกแต่งบรรดาให้งดงาม แล้วตรัสว่า

787