No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 788 (เล่ม 64)

พวกเจ้าจงจัดบุปผชาติทั้งระเบียบดอกไม้ของ
หอมเครื่องทา กับทั้งข้าวตอกเรี่ยรายลง ทั้งบุปผชาติ
และรัตนะอันมีค่า จัดหม้อสุราเมรัย ๑๐๐ หม้อทุก
ประตูบ้าน จัดมังสะ ขนม ขนมทำด้วยงา ขนมกุมมาส
ประกอบด้วยปลา และจัดเนยใส น้ำมัน น้ำส้ม นม
สด สุราทำด้วยแป้งข้าวฟ่างให้มาก แล้วจงยืนอยู่ ณ
ทางที่พ่อเวสสันดรลูกข้าจะมา. ให้มีคนหุงต้ม พ่อครัว
คนฟ้อนรำ คนโลดเต้น และคนขับร้องเพลง ปรบ
มือ กลองยาว คนขับเสียงแจ่มใส คนเล่นกลสามารถ
กำจัดความโศกได้ จงนำพิณทั้งปวง และกลอง ทั้ง
มโหระทึกมา จงเป่าสังข์ ตีกลองหน้าเดียว จงประโคม
ตะโพน บัณเฑาะว์ สังข์ และดุริยางค์ ๔ คือ โคธะ
กลองใหญ่ กลองรำมะนา กุฏุมพะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลาชา โอโลกิยา ปุปฺผา ความว่า
พระเจ้าสญชัยมีรับสั่งว่า จงจัดโปรยดอกไม้ดอกกับข้าวตอกทั้งหลาย ซึ่งชื่อว่า
ดอกไม้มีข้าวตอกเป็นที่ห้า โปรยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ใน
มรรคาห้อยดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ที่เพดาน. บทว่า อคฺฆิยานิ จ
ความว่า จงตั้งบุปผชาติและรัตนะอันมีค่าในทางที่ลูกของเราจะมา. บทว่า
คาเม คาเม ได้แก่ ตั้งไว้ทุก ๆ ประตูบ้าน. บทว่า ปติตา ฐนฺตุ ความ
ว่า จงจัดแจงตั้งหม้อสุราเมรัยเป็นต้น เพื่อผู้ระหายจะได้ดื่ม. บทว่า มจฺฉ-
สํยุตา ได้แก่ ประกอบด้วยปลาทั้งหลาย. บทว่า กงฺคุปิฏฺฐา ได้แก่ สำเร็จด้วย
แป้งข้าวฟ่าง. บทว่า มุทฺทิกา ได้แก่ คนขับร้องเสียงใส. บทว่า โสกชฺ-
ฌายิกา ความว่า พวกเล่นกล หรือแม้คนอื่น ๆ ใครก็ตามที่สามารถระงับ

788
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 789 (เล่ม 64)

ความโศกที่เกิดขึ้นเสียได้ ท่านเรียกว่า โสกชฺฌายิกา. บทว่า ขรมุขานิ
ได้แก่ สังข์ใหญ่เกิดแต่สมุทรเป็นทักษิณาวัฏ. บทว่า สํขา ได้แก่ สังข์สอง
ชนิดคือ สังข์รูปกำมือ และสังข์รูปขวด ดนตรี ๔ อย่างเหล่านี้คือ โคธะ
กลองใหญ่ กลองรำมะนา และกุฏุมพะ.
พระเจ้าสญชัยทรงสั่งจัดการประดับบรรดาด้วยประการฉะนี้ กาลนั้น
ฝ่ายชูชกบริโภคอาหารเกินประมาณ ไม่อาจให้อาหารที่บริโภคนั้นย่อยได้ ก็
ทำกาลกิริยาในที่นั้นเอง. ครั้งนั้นพระเจ้าสญชัยให้ทำฌาปนกิจชูชก ให้ตีกลอง
ใหญ่ป่าวประกาศในพระนครว่า คนใดคนหนึ่งซึ่งเป็นญาติของชูชก จงเอา
สมบัติที่พระราชทานเหล่านั้นไป ครั้นไม่พบคนที่เป็นญาติของชูชก จึงโปรดให้
ขนทรัพย์ทั้งปวงคืนเข้าพระคลังหลวงอีกตามเดิม.
ครั้งนั้น พระเจ้าสญชัยจัดประชุมกองทัพทั้งปวงประมาณ ๑๒ อักโขภิณี
สิ้น ๗ วัน พระบรมกษัตริย์พร้อมด้วยราชบริพารใหญ่ ยกกองทัพออกจาก
พระนคร ให้พระชาลีราชกุมารเป็นผู้นำทางเสด็จ.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
กองทัพใหญ่นั้น เป็นพาหนะของชนชาวสีพี
ควบคุมกัน มีพระชาลีราชกุมารเป็นผู้นำทางไปสู่เขา
วงกต ช้างพลายกุญชรมีอายุ ๖๐ ปี พอควาญช้างผูก
สายรัดก็บันลือโกญจนาท ม้าอาชาไนยทั้งหลายก็ร่าเริง
เสียงกงรถก็เกิดดังกึกก้อง ธุลีละอองก็ฟุ้งปิดนภากาศ
เมื่อกองทัพพาหนะของชาวสีพีควบคุมกันยกไป กอง
ทัพใหญ่นั้นควบคุมกัน นำสิ่งที่ควรนำไป มีพระชาลี
ราชกุมารเป็นผู้นำทางไปสู่เขาวงกต โยธาทั้งหลายเข้า

789
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 790 (เล่ม 64)

ไปสู่ป่าใหญ่อันมีกิ่งไม้มาก มีน้ำมาก ดาดาษไปด้วย
ไม้ดอกและไม้ผลทั้งสองอย่าง เสียงหยาดน้ำไหลใน
ไพรสณฑ์นั้นดังลั่น นกทั้งหลายเป็นอันมากมีพรรณ
ต่าง ๆ กัน เข้าไปร่ำร้องกะนกที่ร่ำร้องอยู่ที่แถวไม้อัน
มีดอกบานตามฤดูกาล กษัตริย์ทั้ง ๔ องค์ เสด็จทาง
ไกลล่วงวันและคืน ก็ลุถึงประเทศที่พระเวสสันดร
ประทับอยู่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหตี ได้แก่กองทัพนับประมาณ ๑๒
อักโขภิณี. บทว่า อุยฺยุตฺตา ได้แก่ ควบคุมกัน. บทว่า โกญฺจํ นทติ
ความว่า ในกาลนั้น พราหมณ์ชาวกาลิงครัฐ เมื่อฝนตกในแคว้นของตนแล้ว
ก็นำช้างปัจจัยนาคตัวประเสริฐนั้นมาถวายคืนแด่พระเจ้าสญชัย ช้างนั้นดีใจว่า
จักได้พบนายละหนอ จึงได้บันลือโกญจนาท ท่านกล่าวคำนี้หมายเอาช้างนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กจฺฉาย ความว่า พอควาญช้างผูกสายรัดทองคำ
ก็ดีใจบันลือโกญจนาท. บทว่า หสิสฺสนฺติ ได้แก่ ได้ส่งเสียงดัง. บทว่า
หาริหารินี ได้แก่ สามารถนำสิ่งที่พึงนำไป. บทว่า ปาวึสุ ได้แก่ เข้า
ไปแล้ว. บทว่า พหุสาขํ ได้แก่ มีกิ่งไม้มาก. บทว่า ทีฆมทฺธานํ ได้
แก่ ทางประมาณ ๖๐ โยชน์. บทว่า อุปาคญฺฉุํ ความว่า ลุถึงประเทศที่
พระเวสสันดรประดับอยู่.
จบมหาราชบรรพ

790
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 791 (เล่ม 64)

ฉขัตติยบรรพ
ฝ่ายพระชาลีราชกุมารให้ตั้งค่ายแทบฝั่งสระมุจลินท์ ให้กลับรถหมื่น
สี่พันคัน ตั้งให้มีหน้าเฉพาะทางที่มา แล้วให้จัดการรักษาสัตว์ร้ายมีราชสีห์
เสือโคร่งเสือเหลืองและแรดเป็นต้นในประเทศนั้น ๆ เสียงพาหนะทั้งหลาย
มีช้างเป็นต้นอื้ออึงสนั่น ครั้งนั้น พระเวสสันดรมหาสัตว์ได้ทรงสดับเสียงนั้น
ก็ทรงกลัวแต่มรณภัย ด้วยเข้าพระทัยว่า เหล่าปัจจามิตรของเราปลงพระชนม์
พระชนกของเราแล้วมาเพื่อต้องการตัวเรากระมังหนอ จึงพาพระนางมัทรีเสด็จ
ขึ้นภูผาทอดพระเนตรดูกองทัพ.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเวสสันดรราชฤาษีได้ทรงสดับเสียงกึกก้อง
แห่งกองทัพเหล่านั้น ก็ตกพระหฤทัย เสด็จขึ้นสู่
บรรพต ทอดพระเนตร ดูกองทัพด้วยความกลัว ตรัส
ว่า แน่ะพระน้องมัทรี เธอจงพิจารณาสำเนียงกึกก้องใน
ป่าฝูงม้าอาชาไนยร่าเริง ปลายธงปรากฏไสว พวกที่มา
เหล่านี้ ดุจพวกพรานล้อมฝูงมฤคชาติในป่าไว้ด้วยข่าย
ต้อนให้ตกในหลุมก่อน แล้วทิ่มแทงด้วยหอกสำหรับ
ฆ่ามฤคชาติอันคม เลือกฆ่าเอาแต่ที่มีเนื้อล่ำ ๆ เราทั้ง
หลายผู้หาความผิดมิได้ ต้องเนรเทศมาอยู่ป่า ถึงความ
ฉิบหายด้วยมือมิตร เธอจงดูคนฆ่าคนไม่มีกำลัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า ตักเตือน.
บทว่า นิสาเมหิ ความว่า เธอจงดู คือใคร่ครวญดูว่า กองทัพของเราหรือ

791
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 792 (เล่ม 64)

กองทัพปรปักษ์ การเชื่อมความของสองคาถากึ่งว่า อิเม นูน อรญฺญมฺหิ เป็นต้น
พึงทราบอย่างนี้ แน่ะพระน้องมัทรี พวกพรานล้อมฝูงมฤคในป่าไว้ด้วยข่าย
หรือต้อนลงหลุม พูดในขณะนั้นว่า จงฆ่าสัตว์ร้ายเสีย ทิ่มแทงด้วยหอกสำหรับ
ฆ่ามฤคอันคม เลือกฆ่ามฤคเหล่านั้นเอาแต่ตัวล่ำ ๆ ฉันใด สองเรานี้ถูกทิ่มแทง
ด้วยวาจาอสัตบุรุษว่า จักฆ่าเสียด้วยหอกอันคม และเราผู้ไม่มีผิด ถูกขับไล่คือ
เนรเทศออกจากแว่นแคว้นมาอยู่ในป่า ก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้เมื่อเป็นเช่น
นั้น . บทว่า อมิตฺตหตฺถฏฺฐคตา ได้แก่ ก็ยังถึงความฉิบหายด้วยมือของ
เหล่าอมิตร. บทว่า ปสฺส ทุพฺพลฆาตกํ ความว่า พระเวสสันดรทรง
คร่ำครวญเพราะมรณภัย ด้วยประการฉะนี้.
พระนางมัทรีได้ทรงสดับพระราชดำรัส จึงทอดพระเนตรกองทัพ ก็
ทรงทราบว่า เป็นกองทัพของตนเมื่อจะให้พระมหาสัตว์ทรงอุ่นพระหฤทัย จึง
ตรัสคาถานี้
เหล่าอมิตรไม่พึงข่มเหงพระองค์ได้ เหมือนเพลิง
ไม่พึงข่มเหงทะเลได้ฉะนั้น ขอพระองค์ทรงพิจารณา
ถึงพระพรที่ท้าวสักกเทวราชประทานนั้นนั่นแล ความ
สวัสดีจะพึงมีแก่เราทั้งหลายจากพลนิกายนี้เป็นแน่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคิว อุทกณฺณเว ความว่า ไฟที่
ติดด้วยคบหญ้าเป็นต้น ย่อมไม่ข่มเหงน้ำทั้งกว้างทั้งลึกกล่าวคือทะเล คือไม่
อาจทำให้ร้อนได้ ฉันใด ปัจจามิตรทั้งหลายย่อมข่มเหงพระองค์ไม่ได้ คือ
ข่มขี่ไม่ได้ ฉันนั้น. บทว่า ตเทว ความว่า พระนางมัทรีให้พระมหาสัตว์
อุ่นพระหฤทัยว่า ก็พรอันใดที่ท้าวสักกเทวราชประทานแด่พระองค์ตรัสว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ไม่นานนักพระชนกของพระองค์จะเสด็จมา ขอพระองค์
จงพิจารณาพร้อมนั้นเถิด ความสวัสดีพึงมีแก่พวกเราจากพลนิกายนี้เป็นแน่แท้.

792
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 793 (เล่ม 64)

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ทรงบรรเทาความโศกให้เบาลงแล้ว พร้อม
ด้วยพระนางมัทรีเสด็จลงจากภูเขาประทับนั่งที่ทวารบรรณศาลา ฝ่ายพระนาง
มัทรีก็ประทับนั่งที่ทวารบรรณศาลาของพระองค์.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
แต่นั้นพระเวสสันดรราชฤาษีเสด็จลงจากบรรพต
ประทับนั่ง ณ บรรณศาลา ทำพระหฤทัยให้มั่นคง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฬฺหํ กตฺวาน มานสํ ความว่า
ประทับนั่งทำพระหฤทัยให้มั่นคงว่า เราเป็นบรรพชิต ใครจักทำอะไรแก่เรา.
ขณะนั้น พระเจ้าสญชัยตรัสเรียกพระนางผุสดีราชเทวีมารับสั่งว่า แน่ะ
ผุสดีผู้เจริญ เมื่อพวกเราทั้งหมดไปพร้อมกัน จักมีความเศร้าโศกใหญ่ ฉันจะ
ไปก่อน ต่อนั้น เธอจงกำหนดดูว่า เดี๋ยวนี้พวกเข้าไปก่อนจักบรรเทาความเศร้า
โศกนั่งอยู่แล้ว พึงไปด้วยบริวารใหญ่ ลำดับนั้น พ่อชาลีและแม่กัณหาชินา
รออยู่สักครู่หนึ่งแล้วจงไปภายหลัง ตรัสสั่งฉะนี้แล้วให้กลับรถให้มีหน้าเฉพาะ
ทางที่มา จัดการรักษาในที่นั้น ๆ เสด็จลงจากคอช้างตัวประเสริฐซึ่งประดับแล้ว
เสด็จไปสู่สำนักของพระราชโอรส.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
พระเจ้าสญชัยผู้ชนกนาถให้กลับรถ ให้กองทัพ
ตั้งยับยั้งอยู่แล้ว เสด็จไปยังพระเวสสันดรผู้โอรสซึ่ง
เสด็จประทับอยู่ในป่าพระองค์เดียว เสด็จลงจากคอช้าง
พระที่นั่ง ทรงสะพักเฉวียงพระอังสาประนมพระหัตถ์
อันเหล่าอำมาตย์ห้อมล้อม เสด็จนาเพื่ออภิเษกพระ
โอรส พระเจ้าสญชัยได้ทอดพระเนตรเห็นพระเวส-

793
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 794 (เล่ม 64)

สันดรราชโอรส มีพระกายมิได้ลูบได้ตกแต่ง มีพระ-
มนัสแน่วแน่ นั่งเข้าฌานอยู่ในบรรณศาลานั้น ไม่มี
ภัยแต่ที่ไหน ๆ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุฏฺฐาเปตฺวาน เสนิโย ความว่า
ให้พลนิกายตั้งยับยั้งอยู่เพื่อประโยชน์แก่การอารักขา. บทว่า เอกํโส ได้แก่
ทำผ้าห่มเฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง. บทว่า สิญฺจิตุมาคมิ ความว่า เสด็จเข้า
ไปเพื่ออภิเษกในราชสมบัติ. บทว่า รมฺมรูปํ ได้แก่ มิได้ลูบไล้และตกแต่ง.
พระเวสสันดรและพระนางมัทรีทอดพระเนตร
เห็นพระราชบิดาผู้มีความรักในพระโอรสนั้น เสด็จมา
เสด็จลุกต้อนรับถวายบังคม ฝ่ายพระนางมัทรีทรงซบ
พระเศียรอภิวาทแทบพระบาทพระสัสสุระ กราบทูลว่า
ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันมัทรีผู้สะใภ้ของพระองค์
ขอถวายบังคม พระยุคลบาทของพระองค์ พระเจ้า
สญชัยทรงสวมกอดสองกษัตริย์ประทับทรวง ฝ่าพระ-
หัตถ์ลูบพระปฤษฎางค์อยู่ไปมา ณ อาศรมนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเท วนฺทามิ เต ทุสา ความว่า
พระนางมัทรีกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันผู้สะใภ้ของพระองค์ ขอ
ถวายบังคมแทบพระยุคลบาท กราบทูลฉะนั้นแล้วถวายบังคม. บทว่า เตสุ
ตตฺถ ได้แก่ กษัตริย์ทั้งสองนั้น ณ อาศรมที่ท้าวสักกเทวราชประทานนั้น.
บทว่า ปลิสชฺช ความว่า ให้อิงแอบแนบพระทรวง ทรงจุมพิตพระเศียร
ทรงลูบพระปฤษฎางค์ของสองกษัตริย์ด้วยพระหัตถ์อันอ่อนนุ่ม.
ต่อนั้น พระเจ้าสญชัยทรงกันแสงคร่ำครวญ ครั้นสร่างโศกแล้ว เมื่อ
จะทรงทำปฏิสันถารกับสองกษัตริย์นั้น จึงตรัสว่า

794
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 795 (เล่ม 64)

ลูกรัก พ่อไม่มีโรคาพาธกระมัง สุขสำราญดี
กระมัง ยังอัตภาพให้เป็นรูปด้วยเสาะแสวงหาผลาหาร
สะดวกกระมัง มูลผลาหารมีมากกระมัง เหลือบ ยุง
และสัตว์เลื้อยคลานทีจะมีน้อยกระมัง ความเบียดเบียน
ให้ลำบากในวนประเทศที่เกลื่อนไปด้วยเนื้อร้าย ไม่
ค่อยมีกระมัง.
พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับพระดำรัสของพระบิดา จึงกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ หม่อมฉันทั้งสองมี
ความเป็นอยู่อย่างฝืดเคือง เที่ยวเสาะแสวงหามูลผลา-
หารเลี้ยงชีพ ข้าแต่พระมหาราชเจ้า หม่อมฉันทั้งหลาย
เป็นผู้เข็ญใจ ฝึกแล้วคือหมดพยศ ความเข็ญใจฝึกหม่อม
ฉันทั้งหลาย ดุจนายสารถีฝึกม้าให้หมดพยศฉะนั้น ข้า
แต่มหาราช หม่อมฉันทั้งหลายลูกเนรเทศมีร่างกาย
เหี่ยวแห้ง ด้วยการหาเลี้ยงชีพในป่า จึงมีเนื้อหนังซูบ
ลงเพราะไม่ได้เห็นพระชนกและพระชนนี.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาทิสิ กีทิสา ความว่า เป็นความ
เป็นอยู่ต่ำอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า กสิรา ชีวิกา โหม ความว่า ข้าแต่
พระบิดา ความเป็นอยู่ของหม่อมฉันทั้งหลายเป็นทุกข์ เพราะหม่อมฉันทั้งหลาย
มีชีวิตอยู่ด้วยการเที่ยวเสาะแสวงหามูลผลาหาร. บทว่า อนิทฺธินํ ความ
ว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ความเข็ญใจย่อมฝึกคนจนที่เข็ญใจและความเข็ญใจนั้น
ย่อมฝึก คือทำให้หมดพยศ เหมือนนายสารถีผู้ฉลาดฝึกม้าฉะนั้น หม่อมฉัน
ทั้งหลายอยู่ในที่นี้เป็นผู้เข็ญใจอันความเข็ญใจฝึกแล้ว คือทำให้หมดพยศแล้ว

795
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 796 (เล่ม 64)

ความเข็ญใจนั่นแหละฝึกหม่อมฉันทั้งหลาย. ปาฐะว่า ทเมถ โน ดังนี้ก็มี ความ
ว่า ฝึกหม่อมฉันทั้งหลายแล้ว. บทว่า ชีวิโสกินํ ความว่า พระเวสสันดรทูล
ว่าหม่อมฉันทั้งหลายมีความเศร้าโศกอยู่ในป่า จะมีความสุขอย่างไรได้.
ก็และครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระเวสสันดรเมื่อจะทูลถามถึงข่าว
คราวของพระโอรสและพระธิดาอีกจึงทูลว่า
ทายาทผู้มีมโนรถยังไม่สำเร็จ ของพระองค์ผู้
ประเสริฐของชาวสีพี คือพ่อชาลีและแม่กัณหาชินา
ทั้งสองตกอยู่ในอำนาจของพราหมณ์ร้ายกาจเหลือเกิน
แกตีพ่อชาลีและแม่กัณหาชินา ดุจคนตีฝูงโค ถ้า
พระองค์ทรงทราบ หรือได้สดับข่าวลูกทั้งสองของ
พระราชบุตรีมัทรีนั้น ขอได้โปรดตรัสบอกแก่หม่อม
ฉันทั้งสองทันที ดุจหมองูเยียวยามาณพที่ถูกงูกัด
ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทายาทปฺปตฺตมานสา ความว่า พระ-
เวสสันดรกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ทายาทของพระองค์ผู้ประเสริฐ
ของชาวสีพี มีมนัสยังไม่ถึงแล้ว คือมีมโนรถยังไม่สมบูรณ์ ตกอยู่ในอำนาจ
ของพราหมณ์ พราหมณ์นั้นแกตีสองกุมารนั้นราวกะว่าคนตีฝูงโค ถ้าพระองค์
ทรงทราบ หรือได้สดับข่าวลูกทั้งสองของพระราชบุตรีมัทรีนั้น ด้วยได้ทอด
พระเนตรเห็นหรือด้วยได้ทรงสดับข่าวก็ตาม. บทว่า สปฺปทฏฺฐํว มาณวํ
ความว่า ขอได้โปรดแจ้งให้ทราบคือตรัสบอกแก่หม่อมฉันทั้งสองทันที
เหมือนหมองูเยียวยามาณพที่ถูกงูกัด เพื่อสำรอกพิษเสียฉะนั้น.

796
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 797 (เล่ม 64)

พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
หลานทั้งสองคือชาลีและกัณหาชินา พ่อได้ให้
ทรัพย์แก่พราหมณ์ชูชกไถ่ไว้แล้ว เจ้าอย่าวิตกเลย จง
โปร่งใจเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺกีตา ได้แก่ ให้ทรัพย์ไถ่ไว้แล้ว.
พระมหาสัตว์ได้ทรงสดับดังนั้น ก็ทรงได้ความโปร่งพระหฤทัย เมื่อ
จะทรงทำปฏิสันถารกับพระบิดาจึงตรัสว่า
ข้าแต่พระบิดา พระองค์ไม่มีพระโรคาพาธ
กระมัง สุขสำราญดีกระมัง พระเนตรแห่งพระมารดา
ของหม่อมฉันยังไม่เสื่อมกระมัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จกฺขุ ความว่า พระเวสสันดรทูลถามว่า
พระเนตรของพระมารดาผู้ทรงกันแสงเพราะความเศร้าโศกถึงพระโอรส ไม่
เสื่อมเสียหรือ.
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า
ลูกรัก พ่อไม่ค่อยมีโรค และมีความสุขสำราญ
ดี อนึ่ง จักษุของมารดาเจ้าก็ไม่เสื่อม.
พระมหาสัตว์กราบทูลว่า
ยวดยานของพระองค์หาโรคภัยนี้ได้กระมัง พา-
หนะยังใช้ได้คล่องแคล่วดีกระมัง ชนบทมั่งคั่งกระมัง
ฝนตกต้องตามฤดูกาลกระมัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุฏฺฐิ ได้แก่ ฝน.
พระเจ้าสญชัยตรัสว่า

797