No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 768 (เล่ม 64)

ตระหนี่, ความตระหนี่ทุกอย่างนั้น อันพระมหาสัตว์ผู้ประทานโอรสธิดาและ
มเหสี ทรงชำนะแล้ว เพราะเหตุนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสว่า สพฺเพ
ชิตา เต ปจฺจูหา ดังนี้. บทว่า ทุกฺกรํ หิ กโรติ โส ความว่า ท้าว-
สักกเทวราชตรัสว่า เทวดาทั้งปวงเหล่านั้นอนุโมทนาอย่างนี้ว่า พระราชา
เวสสันดรนั้นประทับอยู่ในป่าพระองค์เดียวเท่านั้น เมื่อประทานพระมเหสีแก่
พราหมณ์ ย่อมกระทำกรรมที่ทำได้โดยยาก ท้าวสักกเทวราชเมื่อทรงทำอนุ-
โมทนาจึงตรัสคาถาว่า ยเมตํ เป็นต้น. บทว่า วเน วสํ แปลว่า ประทับ
อยู่ในป่า. บทว่า พฺรหฺมยานํ ได้แก่ ยานอันประเสริฐก็ธรรมคือความ
สุจริตสามอย่างและธรรมคือการบริจาคเห็นปานนี้ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งอริยมรรค
ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่าพรหมยาน เพราะฉะนั้นพรหมยานนี้จึงสำเร็จแก่พระองค์
ผู้ให้ทานในวันนี้เพราะไม่ต้องเสด็จไปสู่อบายภูมิ. บทว่า สคฺเค เต ตํ
วิปจฺจตุ ความว่า จงให้พระสัพพัญญุตญาณในที่สุดแห่งวิบากนั่นเทียว
ท้าวสักกเทวราชทรงอนุโมทนาแด่พระเวสสันดรอย่างนี้แล้ว ทรงดำริ
ว่า บัดนี้ควรที่เราจะไม่ชักช้าในที่นี้ ควรถวายคืนพระนางมัทรีแด่พระเวสสันดร
แล้วกลับไป ทรงดำริฉะนี้แล้วตรัสว่า
ข้าพระองค์ขอถวายพระนางมัทรีพระมเหสีผู้งาม
ทั่วสรรพางค์ คืนแด่พระองค์ผู้เจริญ เพราะพระองค์
มีพระฉันทะอัธยาศัยเสมอด้วยพระนางมัทรี และพระ-
นางมัทรีก็ทรงมีพระฉันทะอัธยาศัยเสมอด้วยพระองค์
พระสวามี.
น้ำมันและสังข์มีสีเสมอเหมือนกัน ฉันใด พระ-
องค์และพระนางมัทรี ก็มีพระมนัสเจตนาเสมอเหมือน
กัน ฉันนั้น.

768
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 769 (เล่ม 64)

พระองค์ทั้งสองเป็นขัตติยชาติ สมบูรณ์ด้วย
พระวงศ์ เกิดดีแล้วแต่พระมารดาพระบิดา ถูกเนรเทศ
เสด็จมาแรมอยู่ ณ อาศรมในราวไพรนี้ ขอพระองค์
เมื่อทรงบำเพ็ญทานต่อ ๆ ไป พึงบำเพ็ญบุญกุศลตาม
สมควรเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺโน ได้แก่ สมควร. บทว่า อุโภ
สมานวณฺณิโน ความว่า ทั้งสองมีวรรณะเสมอกันบริสุทธิ์แท้. บทว่า สมาน-
มนเจตสา ความว่า ประกอบด้วยใจกล่าวคือมนะที่เสมอกันโดยคุณมีอาจาระ
เป็นต้น. บทว่า อวรุทฺเธตฺถ ความว่า ถูกเนรเทศจากแว่นแคว้น ประทับ
อยู่ในอรัญประเทศนี้. บทว่า ยถา ปุญฺญานิ ความว่า พระองค์อย่าทรง
ยินดีด้วยบุญเพียงเท่านี้คือ บุญที่ทรงทำไว้เป็นอันมากในกรุงเชตุดร บุญที่
ทรงทำเช่นเมื่อวันวานพระราชทานพระโอรสธิดา วันนี้พระราชทานพระมเหสี
ทรงบริจาคทานต่อ ๆ ไปแม้ยิ่งขึ้นกว่าที่กล่าวแล้วนั้นพึงบำเพ็ญบุญทั้งหลายตาม
สมควรเถิด.
ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงมอบพระนางมัทรีแด่พระมหาสัตว์แล้ว
เมื่อจะแจ้งพระองค์ว่าเป็นพระอินทร์ เพื่อถวายพระพร จึงตรัสว่า
หม่อมฉันคือท้าวสักกะจอมเทพ มาสู่สำนักของ
พระองค์ ข้าแต่พระราชฤาษีขอพระองค์จงทรงเลือก
เอาพระพร หม่อมฉันขอถวายพระพร ๘ ประการแด่
พระองค์ท่าน.
เมื่อท้าวสักกะจอมเทพตรัสอยู่อยู่นั่นเอง ก็รุ่งเรืองเปล่งปลั่งด้วยอัตภาพ
ทิพย์ สถิตอยู่ในอากาศปานประหนึ่งภาณุมาศเปล่งรัศมีอ่อน ๆ ฉะนั้น

769
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 770 (เล่ม 64)

แต่นั้นพระโพธิสัตว์เมื่อจะทรงรับพระพร จึงตรัสว่า
ข้าแต่ท้าวสักกะผู้เป็นใหญ่ของสรรพสัตว์ ถ้า
พระองค์จะประทานพระพรแก่หม่อมฉัน ขอพระชนก
ของหม่อมฉันพึงทรงยินดีให้หม่อมฉันกลับจากป่านี้สู่
นิเวศน์ของหม่อมฉัน พึงเชื้อเชิญด้วยราชบัลลังก์
หม่อมฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพรข้อที่ ๑.
หม่อมฉันไม่ชอบการฆ่าคน แม้ทำผิดร้ายแรง
พึงยังคนมีโทษให้พ้นจากการประหารชีวิต หม่อมฉัน
ขอเลือกข้อนี้เป็นพระพนข้อที่ ๒.
ชนเหล่าใดเป็นคนแก่ เป็นคนหนุ่ม และเป็น
คนกลางคน ชนเหล่านั้นพึงอาศัยหม่อมฉันเลี้ยงชีพ
หม่อมฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพรข้อที่ ๓.
หม่อมฉันไม่พึงถึงภรรยาของคนอื่น พึงขวน
ขวายแต่ในภรรยาของตน และไม่พึงตกอยู่ในอำนาจ
แห่งสตรีทั้งหลาย หม่อมฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพร
ข้อที่ ๔.
ข้าแต่ท้าวสักกะ บุตรของหม่อมฉันที่พลัดพราก
ไปนั้น พึงมีอายุยืน พึงครองแผ่นดินโดยธรรม หม่อม
ฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพรข้อที่ ๕.
เมื่อราตรีสิ้นไป พระอาทิตย์อุทัยขึ้นมา ขอให้
ภิกษาหารอันเป็นทิพย์พึงปรากฏมี หม่อมฉันขอเลือก
ข้อนี้เป็นพระพรข้อที่ ๖.

770
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 771 (เล่ม 64)

เมื่อหม่อมฉันบริจาคทาน ทรัพย์สมบัติพึงไม่
หมดสิ้นไป บริจาคแล้วไม่พึงเดือดร้อนภายหลัง เมื่อ
กำลังบริจาคพึงทำจิตให้ผ่องใส หม่อมฉันขอเลือกข้อ
นี้เป็นพระพรข้อที่ ๗.
เมื่อหม่อมฉันพ้นจากอัตภาพนี้ พึงไปสู่สวรรค์
ถึงชั้นดุสิตอันวิเศษ จุติจากชั้นดุสิตนั้นมาเป็นมนุษย์
พึงเป็นผู้ไม่เกิดอีก หม่อมฉันขอเลือกข้อนี้เป็นพระพร
ข้อที่ ๘.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุโมเทยฺย ได้แก่ พึงทรงรับ คือ
ไม่กริ้ว. บทว่า อิโต ปตฺตํ ได้แก่ จากป่านี้ถึงนิเวศน์ของตน. บทว่า
อาสเนน ได้แก่ ด้วยราชบัลลังก์ คือพระเวสสันดรตรัสว่า ขอพระชนกจง
ประทานราชสมบัติแก่หม่อมฉัน. บทว่า อปิ กิพฺพิสการกํ ความว่า
หม่อมฉันเป็นพระราชา พึงปล่อยนักโทษประหารแม้เป็นผู้ทำความผิดต่อ
พระราชา ให้พ้นจากถูกประหาร หม่อมฉันแม้เป็นถึงอย่างนี้ก็ไม่ชอบการ
ประหาร. บทว่า มเมว อุปชีเวยฺยุํ ความว่า ขอเขาเหล่านั้นทั้งหมดพึง
อาศัยหม่อมฉันนี่แหละเลี้ยงชีพ. บทว่า ธมฺเมน ชิเน ความว่า จงชนะ
โดยธรรม คือจงครองราชสมบัติโดยเรียบร้อย. บทว่า วิเสสคู ความว่า
พระเวสสันดรตรัสว่า ขอหม่อมฉันจงเป็นผู้ไปสู่สวรรค์ชั้นพิเศษ คือเป็นผู้
บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต. บทว่า อนิพฺพตฺตี ตโต อสฺสํ ความว่า พระ-
เวสสันดรตรัสว่า หม่อมฉันจุติจากดุสิตพิภพนั้นแล้วมาสู่ความเป็นมนุษย์ พึง
เป็นผู้ไม่บังเกิดในภพใหม่ทีเดียว คือพึงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ.

771
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 772 (เล่ม 64)

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงสดับพระดำรัสของ
พระมหาสัตว์นั้นแล้ว ได้ตรัสคำนี้ว่า พระราชธิดาผู้
บังเกิดเกล้าของพระองค์ จักเสด็จมาพบพระองค์โดย
ไม่นานนัก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฏฺฐุเมสฺสติ ความว่า ข้าแต่พระ-
มหาราชเจ้า พระบิดาของพระองค์ประสงค์จะเยี่ยมพระองค์ จักเสด็จมาที่นี้
โดยไม่นานนัก ก็และครั้นเสด็จมาแล้ว จักพระราชทานเศวตฉัตรแด่พระองค์
แล้วเชิญเสด็จไปกรุงเชตุดรทีเดียว ความปรารถนาของพระองค์ทุกอย่างจักถึง
ที่สุดอย่าร้อนพระหฤทัยไปเลย จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด มหาราช.
ครั้นประทานโอวาทแด่พระมหาสัตว์อย่างนี้แล้วท้าวสักกเทวราชก็เสด็จ
ไปสู่ทิพยสถานของพระองค์นั่นแล.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศข้อความนั้น จึงตรัสว่า
ท้าวมัฆวานสุชัมบดีเทวราชตรัสดังนี้แล้ว ประ-
ทานพระพรแด่พระเวสสันดรแล้วเสด็จไปสู่หมู่เทพใน
สรวงสวรรค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวสฺสนฺตเร ได้แก่ แด่พระเวสสันดร.
บทว่า อปกฺกมิ ได้แก่ เสด็จไปแล้ว คือเสด็จถึงแล้วโดยลำดับนั่นแล.
จบสักกบรรพ

772
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 773 (เล่ม 64)

มหาราชบรรพ
กาลนั้น พระเวสสันดรโพธิสัตว์และพระนางมัทรี ทรงบันเทิงเสด็จ
แรมอยู่ในอาศรมที่ท้าวสักกะประทาน ครั้งนั้น พราหมณ์ชูชกพาพระชาลีพระ-
กัณหาทั้งสององค์เดินทาง ๖๐ โยชน์ เหล่าเทพเจ้าได้อารักขาพระกุมารกุมารี
ฝ่ายชูชกครั้นดวงอาทิตย์อัสดงคต ก็ผูกพระกุมารกุมารีทั้งสองไว้ที่กอไม้ ให้
บรรทมเหนือพื้นดิน ตนเองขึ้นต้นไม้นอนที่หว่างค่าคบกิ่งไม้ ด้วยเกรงพาล-
มฤคที่ดุร้าย.
ในขณะนั้น มีเทพบุตรองค์หนึ่งแปลงเพศเป็นพระเวสสันดรมา ภาย
หลังมีเทพธิดาองค์หนึ่งแปลงเพศเป็นพระนางมัทรี มาแก้สองกุมาร นวดพระ
หัตถ์และพระบาทของสองกุมาร สรงน้ำ ประดับ ให้เสวยทิพยโภชนาหาร
ตกแต่งด้วยสรรพาลังการ ให้บรรทมบนพระยี่ภู่ทิพย์ พออรุณขึ้นก็ให้บรรทม
ด้วยเครื่องพันธนาการตามเดิมอีก แล้วอันตรธานหายไป ราชกุมารกุมารีทั้ง
สองนั้นหาพระโรคมิได้ เสด็จไปด้วยเทวสงเคราะห์อย่างนี้ เมื่อราตรีนั้นสว่าง
แล้ว ชูชกลงจากต้นไม้ล้างหน้าบ้วนปากสีฟันแล้ว บริโภคผลาผล กาลนั้น
แกพาสองกุมารไปถึงมรรคาหนึ่งคิดว่า เราจักไปกาลิงครัฐ แล้วเดินไป
เห็นทางสองแพร่ง ทางหนึ่งไปกาลิงครัฐ ทางหนึ่งไปกรุงเชตุดร เทวดาดล
ใจ แกจึงละทางไปกาลิงครัฐ เห็นทางหนึ่งไปกรุงเชตุดร จึงนำสองกุมารไป
ด้วยสำคัญว่า ทางนี้เป็นทางไปกาลิงครัฐ แกคิดว่า เราจักไปกาลิงครัฐ ล่วง
เชิงภูผาของภูผาที่ไปยากทั้งหลาย ถึงกรุงเชตุดรโดยกาลนับได้กึ่งเดือน.
วันนั้นเวลาใกล้รุ่ง พระเจ้ากรุงสญชัยสีวีมหาราชทรงพระสุบิน พระ
สุบินนั้นมีข้อความนี้ว่า เมื่อพระเจ้าสญชัยมหาราชประทับนั่งในสถานที่มหา

773
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 774 (เล่ม 64)

วินิจฉัยมีชายคนหนึ่งผิวดำ นำดอกปทุมสองดอกมาวางไว้ในพระหัตถ์แห่งพระ-
ราชา พระราชาทรงรับดอกปทุมทั้งสองดอกนั้นไว้ ทรงประดับที่พระกรรณ
สองข้าง ละอองเกสรแห่งดอกปทุมสองดอกนั้น ล่วงลงบนพระอุระแห่งพระ-
ราชา พระเจ้าสญชัยตื่นบรรทม ตรัสเรียกพวกพราหมณ์ผู้รู้ทำนายสุบินมาตรัส
ถาม พราหมณ์เหล่านั้นทูลพยากรณ์ว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระประยูรญาติของ
พระองค์ที่จากไปนานจักมา พระเจ้ากรุงสญชัยได้ทรงสดับคำพยากรณ์นั้น ทรง
ยินดี โปรดให้พราหมณ์เหล่านั้นกลับไป สนานพระเศียรแต่เช้าแล้วเสวย
โภชนาหารมีรสเลิศต่าง ๆ ตกแต่งพระองค์ด้วยเครื่องอลังการคืออาภรณ์ทั้งปวง
ประทับนั่ง ณ สถานมหาวินิจฉัย เทวดานำพราหมณ์กับกุมารมายืนอยู่ที่พระ
ลานหลวง ขณะนั้นพระเจ้ากรุงสญชัยทอดพระเนตรดูมรรคาทรงเห็นสองกุมาร
จึงตรัสว่า
นั้นเป็นดวงหน้าของใครงามนัก ราวกะว่าทอง
คำที่หลอมร้อนแล้วด้วยไฟ หรือประหนึ่งว่าลิ่มแห่ง
ทองคำที่ละลายกว่างในปากเบ้า ทั้งสองกุมารกุมารีมี
อวัยวะคล้ายกัน ทั้งสองกุมารกุมารีมีลักษณะคล้ายกัน
คนหนึ่งเหมือนพระชาลี คนหนึ่งเหมือนแม่กัณหาชินา
ทั้งสองกุมารกุมารีมีรูปสมบัติ ดังราชสีห์ออกจากป่า
กุมารกุมารีเหล่านี้ปรากฏประดุจหล่อด้วยทองคำที่
เดียว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุตฺตตฺตมคฺคินา ได้แก่ หลอมร้อน
แล้วด้วยไฟ. บทว่า สีหา วิลาว นิกฺขนฺตา ความว่า เป็นราวกะราชสีห์
ออกจากถ้ำทองทีเดียว.

774
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 775 (เล่ม 64)

พระเจ้าสญชัยตรัสสรรเสริญสองกุมารด้วยคาถา ๓ คาถาอย่างนี้แล้ว มี
พระราชดำรัสสั่งอมาตย์คนหนึ่งผู้ฉลาดศึกษาดีแล้วว่า เจ้าจงไปนำพราหมณ์กับ
ทารกทั้งสองมา อมาตย์นั้นได้ฟังดังนั้น ก็ลุกขึ้นไปโดยเร็ว นำพราหมณ์กับ
ทารกทั้งสองมาแสดงแด่พระเจ้าสญชัย. ลำดับ นั้น พระเจ้าสญชัยเมื่อตรัสถาม
พราหมณ์ชูชก ตรัสว่า
ดูก่อนตาพราหมณ์ภารทวาชโคตร แกนำทารก
ทั้งสองนี้มาแต่ไหน แกมาจากไหนถึงแว่นแคว้นใน
วันนี้.
ชูชกกราบทูลสนองว่า
ข้าแต่พระเจ้าสญชัย พระราชกุมารราชกุมารีทั้ง
สองนี้ พระเวสสันดรทรงยินดี พระราชทานแก่
ข้าพระบาท ๑ ราตรีทั้งวันนี้ นับแต่ข้าพระบาทได้
พระราชกุมารกุมารีมา.
พระเจ้าสญชัยได้ทรงสดับคำชูชกกราบทูล จึงตรัสว่า
แกได้มาด้วยวาจาพึงให้รักอย่างไร ต้องให้พวก
ข้าเชื่อด้วยเหตุโดยชอบ ใครบ้างจะให้บุตรบุตรีอัน
เป็นทานสูงสุดเป็นทานแก่แก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทินฺนา จิตฺเตน ได้แก่ ยินดีคือเลื่อมใส.
บทว่า อชฺช ปณฺณรสา รตฺตี ความว่า ชูชกกราบทูลว่า จำเดิมแต่วันที่
ข้าพระบาทได้สองกุมารกุมารีนี้มา ๑๕ ราตรีเข้าวันนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกน วาจาย เปยฺเยน ความว่า
ตาพราหมณ์ แกได้สองกุมารกุมารีเหล่านั้นด้วยคำอันเป็นที่รักอย่างไร. บทว่า

775
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 776 (เล่ม 64)

สมฺมา ฌาเยน สทฺทเห ความว่า แกอย่าทำมุสาวาท ต้องให้พวกข้าเชื่อ
ด้วยเหตุการณ์โดยชอบทีเดียว. บทว่า ปุตฺตเก ความว่า ใครจะทำลูกน้อย ๆ
ที่น่ารักของตนให้เป็นทานอันสูงสุดแล้วให้ทานนั้นแก่แก.
ชูชกกราบทูลว่า
พระราชาเวสสันดรพระองค์ใดเป็นที่พึ่งอาศัย
ของยาจกทั้งหลาย ดุจธรณีเป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์ทั้ง
หลาย หรือเป็นที่ไปมาของยาจกทั้งหลาย ดุจสาคร
เป็นที่ไหลหลั่งไปมาแห่งแม่น้ำทั้งหลาย พระราชา-
เวสสันดรพระองค์นั้น เมื่อเสด็จประทับแรม ณ ราว
ไพร ได้พระราชทานพระโอรสพระธิดาแก่ข้าพระบาท.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปติฏฺฐาสิ ได้แก่ เป็นที่พึ่ง.
อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟังชูชกกล่าวดังนั้น เมื่อจะติเตียนพระเวสสันดร
จึงกล่าวว่า
เรื่องนี้พระราชาเวสสันดร ถึงมีพระราชศรัทธา
แต่ยังครองฆราวาสวิสัย ทำไม่ถูก พระองค์ถูกขับจาก
ราชอาณาจักรไปประทับอยู่ในป่า พึงพระราชทาน
พระโอรสพระธิดาเสียอย่างไรหนอ.
ท่านผู้เจริญทั้งหลายผู้มาประชุมกัน ณ ที่นี้ จง
พิจารณาเรื่องนี้ดู พระราชาเวสสันดรเมื่อประทับอยู่
ในป่า พระราชทานพระโอรสพระธิดาเสียอย่างไร.
พระราชาเวสสันดรควรพระราชทานทาส ทาสี
ม้า แม่ม้าอัสสดร รถ ช้างตัวประเสริฐพระองค์ต้อง

776
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 777 (เล่ม 64)

พระราชทานพระโอรสพระธิดาทำไมหนอ พระองค์
ควรพระราชทานทอง เงิน ศิลา แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์
แก้วมณี แก้วประพาฬ พระองค์ต้องพระราชทาน
พระโอรสพระธิดาทำไม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺเธน ความว่า แม้มีศรัทธา. บทว่า
ฆรเมสินา ความว่า เรื่องนี้ พระราชาเวสสันดรเมื่อทรงอยู่ครองฆราวาส
วิสัย ทรงทำไม่ถูก คือทรงทำไม่ควรหนอ. บทว่า อวรุทฺธโก ความว่า
พระเวสสันดรถูกขับไล่จากแว่นแคว้นประทับแรมในป่า. บทว่า อิมํ โภนฺโต
ความว่า อมาตย์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ด้วยความประสงค์ว่า ขอชาวพระนครผู้
เจริญทั้งหลายบรรดาที่มาประชุมกันอยู่ ณ ที่นี้ทั้งหมด จงพิจารณา คือใคร่
ครวญเรื่องนี้ดูเถิด พระเวสสันดรนี้พระราชทานพระโอรสน้อย ๆ ของพระ-
องค์ให้เป็นทาสได้อย่างไร เรื่องอย่างนี้เคยมีใครทำไว้. บทว่า ทชฺชา ความ
ว่า จงพระราชทานทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาทรัพย์ทั้งหลายมีทาสเป็น
ต้น. บทว่า กถํ โส ทชฺชา ทารเก ความว่า อมาตย์ทั้งหลายกล่าวว่า
พระเวสสันดรได้พระราชทานพระโอรสธิดาเหล่านั้นด้วยเหตุไร.
พระชาลีราชกุมารได้ทรงฟังคำอมาตย์เหล่านั้น เมื่อทรงอดทนคำครหา
พระชนกไม่ได้ เป็นผู้ราวกะจะค้ำจุนเขาสิเนรุที่ถูกลมประหารด้วยพระพาหา
ของพระองค์ จึงตรัสคาถานี้ว่า
ทาส ม้า แม่ม้าอัสสดร รถ และช่างกุญชร
ตัวประเสริฐ ไม่มีในนิเวศน์แห่งพระราชธิดา ข้าแต่
พระอัยกาเจ้า พระราชบิดาจะพึงพระราชทานอะไรเล่า
ในอาศรมแห่งพระราชบิดาไม่มีศิลา ทอง เงิน แก้ว

777