No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 438 (เล่ม 64)

เสียงดังครืน ดุจเสียงฟ้าฟาดตั้งแสนครั้ง ได้แยกช่องให้แก่พระโพธิสัตว์ ฝ่าย
ปุณณกยักษ์เมื่อเห็นว่าพระโพธิสัตว์ไม่เป็นอันตรายด้วยลมเวรัมภะนั้น ได้ขับ
ม้าไปสู่กาฬาคิรีบรรพต. เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสพระคาถาว่า
พระยาม้านั้น นำวิธุรบัณฑิตเหาะไปในอากาศ
กลางหาว ไม่กระทบที่กิ่งไม้หรือภูเขา วิ่งเข้าไปสู่
กาฬาคิรีบรรพตโดยฉับพลัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสชฺชมาโน ความว่า ไม่ติดขัด ไม่
กระทบกระทั่ง นำวิธุรบัณฑิตเข้าไปสู่ยอดแห่งกาฬาคิรีบรรพต.
ในเวลาที่ปุณณกยักษ์พาพระมหาสัตว์ไปอย่างนั้น ปิยชนทั้งหลายมี
บุตรและภรรยาเป็นต้นของวิธุรบัณฑิต ไปสู่ที่พักแห่งปุณณกยักษ์ ไม่เห็น
พระมหาสัตว์จึงล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาดุจมีเท้าขาดไป ต่างคนต่างพากันร้องไห้
ร่ำไรด้วยเสียงอันดัง
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
ภรรยาพันหนึ่ง และทาสีเจ็ดร้อย ประคองแขน
ร้องไห้คร่ำครวญว่า ยักษ์แปลงเพศเป็นพราหมณ์มา
พาเอาวิธุรบัณฑิตไป พระสนมกำนัลใน พระราช-
กุมาร พ่อค้า ชาวนา และพราหมณ์ กองช้าง กอง
ม้า กองรถ กองเดินเท้า ชาวชนบท และชาวนิคม
ต่างมาประชุมพร้อมกัน ประคองแขนทั้งสองร้องไห้
คร่ำครวญว่า ยักษ์แปลงเพศเป็นพราหมณ์มาพาเอา
วิธุรบัณฑิตไป ภรรยาพันหนึ่งและทาสีเจ็ดร้อย ต่าง
ประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า วิธุรบัณฑิตนั้น ไป
แล้ว ณ ที่ไหน พระสนมกำนัลใน พระราชกุมาร

438
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 439 (เล่ม 64)

พ่อค้า ชาวนาและพราหมณ์ กองช้าง กองม้า กอง
รถ กองเดินเท้า ชาวชนบท และชาวนิคม ต่างมา
ประชุมพร้อมกัน ประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า
วิธุรบัณฑิตไปแล้ว ณ ที่ไหน.
ชนเหล่านั้นทั้งหมด เห็นและได้ทราบว่าปุณณกยักษ์พาพระมหาสัตว์
ไปทางอากาศพากันคร่ำครวญแล้วแม้อย่างนี้ พากันคร่ำครวญพร้อมด้วยชน
พระนครทั้งสิ้น ได้พากันไปยังพระราชวัง. พระราชาทรงสดับเสียงคร่ำครวญ
อันดัง ทรงเปิดสีหบัญชรทอดพระเนตรดู จึงตรัสถามว่า พวกเจ้าร้องไห้พิไร
ร่ำรำพัน เพราะเหตุไร. ลำดับนั้น ชนชาวพระนครเหล่านั้นทูลบอกเนื้อความ
นั้นแด่ท้าวเธอว่า ข้าแต่สมมติเทพ นัยว่ามาณพนั้นไม่ใช่พราหมณ์ เป็นยักษ์
จำแลงเพศเป็นพราหมณ์มาเอาวิธุรบัณฑิตไป ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายพลัดพราก
จากวิธุรบัณฑิตนั้นเสียแล้วชีวิตเห็นจะหาไม่ ถ้าวิธุรบัณฑิตจักไม่กลับมาใน
วันที่ ๗ แต่วันนี้ไปไซร้ พวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งปวง จักขนเอาฟืนมาด้วย
เกวียน ๑๐๐ เล่ม ๑,๐๐๐ เล่ม ก่อไฟให้เป็นเปลวลุกรุ่งโรจน์ แล้วเข้าไปสู่
กองไฟ ดังนี้แล้ว ทูลด้วยคาถานี้ว่า
ถ้าวิธุรบัณฑิตนั้น จักไม่มาโดย ๗ วัน ข้าพระ
พุทธเจ้าจักพากันเข้าไปสู่กองไฟ ข้าพระพุทธเจ้าทั้ง
หลาย ไม่มีความต้องการด้วยชีวิต.
แม้ในกาลเป็นที่ปรินิพพานแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทวยเทพและ
มนุษย์ทั้งหลาย ไม่มีใครพูดว่าพวกเราจะเข้ากองไฟตายเช่นนี้ หาได้มีเหมือน
ครั้งเสวยพระชาติเป็นวิธุรบัณฑิตไม่ เหตุนั้น ผู้มีปัญญาจึงเข้าใจว่า ในพระนคร
พระมหาสัตว์ครอบครองด้วยแล้วแล. พระราชาทรงสดับถ้อยคำของชนเหล่า

439
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 440 (เล่ม 64)

นั้นแล้ว จึงมีพระราชดำริว่า พวกเจ้าอย่าพากันวิตก อย่าเศร้าโศกร่ำไรไป
นักเลย วิธุรบัณฑิตเป็นผู้แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดจะ
เล้าโลมมาณพด้วยธรรมกถา ให้หมอบลงแทบบาทของตนไม่กี่วันก็จักมาเช็ด
หน้าของพวกเราที่เต็มไปด้วยน้ำตาให้เบิกบาน พวกเจ้าอย่าละห้อยสร้อยเศร้า
ไปเลย ดังนี้แล้วตรัสพระคาถาว่า
วิธุรบัณฑิตเป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลมสามารถแสดง
ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์แจ้งชัด มีปัญญาเครื่อง
พิจารณา คงจะเปลื้องตนได้โดยพลัน ท่านทั้งหลาย
อย่ากลัวไปเลย วิธุรบัณฑิตปลดเปลื้องตนแล้วก็จักรีบ
กลับมา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิยตฺโต ความว่า ประกอบด้วยความ
เป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลมคือด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา. บทว่า วิภาวี
ความว่า เป็นผู้สามารถแสดงถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ เหตุและมิใช่เหตุ
ให้แจ่มชัด. บทว่า วิจกฺขโณ ความว่า ประกอบด้วยปัญญาอันเป็นเครื่องรู้แจ้ง
ถึงเหตุที่เกิดขึ้นตามฐานะในขณะนั้นนั่นเอง. บทว่า มา ภายิตฺถ ความว่า
ท่านสั่งสอนว่า พวกท่านอย่ากลัวเลย วิธุรบัณฑิตปลดเปลื้องตนให้พ้นแล้วจัก
กลับมาโดยเร็วพลัน.
ฝ่ายชาวพระนครกลับได้ความอุ่นใจว่า วิธุรบัณฑิตจักทูลบอกกับ
พระราชาแล้วจึงไปด้วยประการฉะนี้แล
จบกัณฑ์ว่าด้วยการปลดเปลื้องโทษ
ฝ่ายปุณณกยักษ์พักพระมหาสัตว์ไว้บนยอดกาฬาคิรีบรรพตแล้ว จึง
คิดว่า เมื่อวิธุรบัณฑิตนี้ยังมีชีวิตอยู่ ชื่อว่าความเจริญย่อมไม่มีแก่เรา จำเรา

440
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 441 (เล่ม 64)

ต้องฆ่าวิธุรบัณฑิตนี้ให้ตายเสีย ถือเอาเนื้อหทัยไปถวายพระนางวิมลาที่นาค-
พิภพจักรับนางอิรันทตีไปสู่เทวโลก.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้นได้ตรัสพระคาถาว่า
ปุณณกยักษีนั้น ไปยืนคิดอยู่บนยอดกาฬาคีรี
บรรพต ความคิดย่อมเป็นความคิดสูง ๆ ต่ำ ๆ ประ-
โยชน์อะไร ๆ ด้วยความเป็นอยู่ของวิธุรบัณฑิตนี้ หามี
แก่เราไม่ เราจักฆ่าวิธุรบัณฑิตนี้เสียแล้วนำเอาแต่ดวง
ใจไปเถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ได้แก่ ปุณณกยักษ์นั้น. บทว่า
ตตฺถ คนฺตฺวาน ความว่า ไปยืนอยู่ที่บนยอดกาฬาคีรีบรรพตนั้น. บทว่า
เจตนกา ความว่า ความคิดที่เกิดขึ้นทุกขณะจิต ย่อมเป็นความคิดสูงบ้างต่ำบ้าง
แต่ว่า ความคิดเป็นเหตุให้ชีวิตแก่พระมหาสัตว์เป็นฐานะอันจะพึงเกิดขึ้นบ้างมิ
ได้มีเลย ได้ทำตามความตกลงใจว่า เรามิต้องการด้วยความเป็นอยู่ของวิธุร-
บัณฑิตนี้แม้แต่น้อยหนึ่งเลย เราจักฆ่าวิธุรบัณฑิตนี้ นำเอาไปแต่ดวงหทัยของ
เธอนี้เท่านั้น.
ลำดับนั้นปุณณกยักษ์คิดว่า ถ้าอย่างไรเราไม่พึงฆ่าวิธุรบัณฑิตนี้ให้
ตายด้วยมือของตน จะให้ถึงซึ่งความสิ้นชีวิต ด้วยการแสดงรูปอันน่าสะพึงกลัว
แล้วจึงแปลงกายเป็นยักษ์น่าสะพึงกลัวมาขู่พระมหาสัตว์ ผลักพระมหาสัตว์นั้น
ให้ล้มลง จับเท้าทั้งสองใส่เข้าในระหว่างแห่งฟัน ทำอาการเหมือนประสงค์จะ
เคี้ยวกิน ถึงทำอาการอย่างนั้น ความสะดุ้งกลัวแม้เพียงเป็นเครื่องทำให้ขนลุกก็
มิได้มีแก่พระมหาสัตว์ ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์จำแลงเพศเป็นพระยาไกรสร-
ราชสีห์เป็นช้างตกมันตัวใหญ่บ้าง วิ่งมาทำดังจะทิ่มแทงด้วยเขี้ยวและงา เมื่อ
พระมหาสัตว์ไม่สะดุ้งกลัวแม้ด้วยอาการอย่างนั้น จึงนฤมิตเพศเป็นงูใหญ่ประ-

441
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 442 (เล่ม 64)

มาณเท่าเรือโกลนลำหนึ่ง เลื้อยมาพันสรีระร่างกายของพระมหาสัตว์กระหวัดรัด
ให้รอบแล้วแผ่พังพานไว้บนศีรษะ แม้เหตุทำให้กลัวเพียงความแสยงขนก็มิได้
มีแก่พระมหาสัตว์ ลำดับนั้นปุณณกยักษ์จึงพักพระมหาสัตว์ไว้บนยอดบรรพต
บันดาลให้พายุใหญ่พัดมา ด้วยหมายว่าจักทำให้มหาสัตว์ตกลงเป็นจุณวิจุณไป
พายุใหญ่นั้นมิอาจพัดแม้สักว่าปลายเส้นผมให้ไหวได้ ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์
จึงพักพระมหาสัตว์ไว้บนยอดบรรพตนั่นแหละ. เขย่าบรรพตให้ไหวไปมา ดุจ
ช้างเขย่าต้นเป้งฉะนั้น ถึงอย่างนั้น ก็ไม่อาจทำพระมหาสัตว์ให้เคลื่อนจากที่ยืน
แม้ประมาณเท่าเส้นผมได้ ขณะนั้นจึงชำแรกเข้าไปภายในแห่งบรรพตร้องขึ้น
ด้วยเสียงอันดังทำแผ่นดินและนภากาศให้มีเสียงกึกก้องสนั่นหวั่นไหวเป็นอัน
เดียวกัน ด้วยหมายใจว่าจักชำแหละหทัยของพระมหาสัตว์ให้ตายด้วยความ
สะดุ้งหวาดเสียวแต่เสียง ถึงทำอาการอย่างนั้น เหตุทำให้กลัวแม้เพียงแต่ความ
แสยงขนก็มิได้มีแก่พระมหาสัตว์ แท้จริงพระมหาสัตว์ย่อมทราบว่าที่แปลงเพศ
เป็นยักษ์เป็นราชสีห์เป็นช้าง และเป็นพระยานาคมาก็ดี ทำให้ลมพัดและเขย่า
บรรพตก็ดี ชำแรกเข้าไปยังภายในบรรพตแล้วเปล่งสีหนาทก็ดี คือมาณพนั้น
เองหาเป็นคนอื่นไม่ ลำดับนั้นปุณณกยักษ์คิดว่า เราไม่สามารถให้วิธุรบัณฑิต
นี้ตายด้วยความพยายามภายนอกได้ อย่าเลยเราจะให้เธอตายด้วยมือของเรา
นี่แหละ คิดดังนี้แล้วจึงพักพระมหาสัตว์ไว้บนยอดบรรพตลงไปสู่เชิงบรรพต
ชำแรกขึ้นไปโดยภายในแห่งบรรพต ดังบุคคลร้อยด้ายแดงเข้าไปในดวงแก้ว-
มณี ร้องตวาดด้วยเสียงอันดัง จับพระมหาสัตว์เข้าให้มั่นกวัดแกว่งให้ศีรษะ
ลงเบื้องต่ำ แล้วขว้างไปในอากาศซึ่งไม่มีที่ยึดเหนี่ยว.
เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสพระคาถาว่า
ปุณณกยักษ์นั้นมีจิตคิดประทุษร้ายลงจากยอดเขา
วางพระมหาสัตว์ไว้ในระหว่างภูเขา ชำแรกเข้าไป

442
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 443 (เล่ม 64)

ภายในภูเขานั้น จับพระมหาสัตว์เอาศีรษะลงเบื้องต่ำ
ขว้างลงไปที่พื้นดิน ไม่มีอะไรกีดกั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คนฺตฺวา ความว่า ปุณณกยักษ์ลงจากยอด
บรรพตไปสู่เชิงบรรพต แล้วพักวิธุรบัณฑิตไว้ที่ระหว่างแห่งบรรพต ชำแรก
ไปในภายใต้แห่งที่ ๆ พระมหาสัตว์ผู้ยืนอยู่บนยอดแห่งบรรพต จับพระมหาสัตว์
ขว้างลงไปที่พื้นแผ่นดินที่ไม่มีอะไรกีดขวาง. บทว่า ธารยิ ความว่า ครั้งแรก
ให้พระมหาสัตว์นั้นยืนอยู่บนยอดบรรพตนั่นเอง.
ก็ปุณณกยักษ์ ยืนอยู่บนยอดบรรพตนั่นเองขว้างพระมหาสัตว์ลงไปที่
พื้นแผ่นดิน ครั้งแรกพระมหาสัตว์ตกลงไกลประมาณ ๑๕ โยชน์ แล้วยื่นมือ
ออกไปจับเท้าทั้ง ๒ ของพระมหาสัตว์ ยกขึ้นให้มีศีรษะลงเบื้องต่ำ มองดู
หน้าทราบว่ายังไม่ตายจึงขว้างพระมหาสัตว์ไปอีก แม้ครั้งที่ ๒ พระมหาสัตว์
ตกไปไกลประมาณ ๓๐ โยชน์ แล้วยื่นมือออกไปจับพระมหาสัตว์ยกขึ้นโดย
ทำนองนั้นเหมือนกัน แลดูหน้าเห็นว่ายังมีชีวิตอยู่. จึงคิดว่าคราวนี้เธอตกไป
แม้ไกลได้ประมาณ ๖๐ โยชน์จักไม่ตายไซร้ เราจักจับเท้าของเธอฟาดลงบน
ยอดบรรพตนี้ให้ตาย ลำดับนั้นปุณณกยักษ์ได้ขว้างพระมหาสัตว์เป็นครั้งที่ ๓
ในเวลาที่พระมหาสัตว์ตกลงไปไกลได้ ๖๐ โยชน์ แล้วจึงยื่นมือออกไปจับเท้า
พระมหาสัตว์ยกขึ้นมองดูหน้า ฝ่ายพระมหาสัตว์คิดว่า มาณพนี้ขว้างอาตมาไป
ครั้งแรกไกล ๑๕ โยชน์ แม้ครั้งที่ ๒ ก็ไกลได้ ๓๐ โยชน์ ครั้งที่ ๓ ไกลได้
๖๐ โยชน์ บัดนี้มาณพนี้จักไม่ขว้างอาตมาไปอีก แต่ว่าเขาจักยกอาตมาขึ้นฟาด
บนยอดบรรพตนี้ให้ตายโดยแท้ อาตมาซึ่งมีศีรษะห้อยลงเบื้องต่ำอยู่อย่างนี้จัก
ถามถึงเหตุแห่งการจะฆ่าอาตมา ในเวลาที่ปุณณกยักษ์จะยกพระมหาสัตว์ขึ้น
ฟาดลงกับยอดบรรพต พระมหาสัตว์มิได้สะดุ้งกลัวและครั่นคร้ามเลย ได้กระ-
ทำอย่างนั้นแล้ว

443
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 444 (เล่ม 64)

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสพระคาถาว่า
วิธุรบัณฑิตผู้เป็นอำมาตย์ประเสริฐสุดของชาว
กุรุรัฐ เมื่อถูกห้อยศีรษะลงในเหวอันชัน อันเป็นที่น่า
กลัว น่าสยดสยอง น่าหวาดเสียวมาก ก็ไม่สะดุ้ง ได้
กล่าวกะปุณณกยักษ์ว่า ท่านเป็นผู้มีรูปดังผู้ประเสริฐ
แต่หาเป็นคนประเสริฐไม่ คล้ายจะเป็นคนสำรวม แต่
ไม่สำรวม กระทำกรรมอันหยาบช้า ไร้ประโยชน์
ส่วนกุศลแม้แต่น้อยย่อมไม่มีในจิตของท่าน ท่านจะ
โยนข้าพเจ้าลงไปในเทวประโยชน์อะไร ด้วยการตาย
ของข้าพเจ้า จะพึงมีแก่ท่านหนอ วันนี้ ผิวพรรณของ
ท่านเหมือนอมนุษย์ ท่านจงบอกข้าพเจ้า ท่านเป็น
เทวดาชื่ออะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส ลมฺพมาโน ความว่า วิธุรบัณฑิต
ผู้เป็นปราชญ์ประเสริฐสุดของชนชาวกุรุ เมื่อมีศีรษะห้อยลงไปในเหวอันชัน
เป็นวาระที่ ๓. บทว่า อริยาวกาโส ความว่า ท่านมีผู้มีรูปเช่นกับผู้ประเสริฐ
มีวรรณะดังเทพบุตรเที่ยวไปอยู่. บทว่า อสญฺญโต ความว่า ท่านเป็นผู้ไม่
สำรวมกายเป็นต้น เป็นผู้ทุศีล. บทว่า อจฺจาหิตํ แปลว่า ซึ่งกรรมอันล่วง
เสียซึ่งประโยชน์ หรือกรรมอันไม่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง. บทว่า ภาเว จ เต
ความว่า กรรมอันกุศลแม้น้อยหนึ่งก็ย่อมไม่มีในจิตของท่าน. บทว่า อมา-
นุสสฺเสว เต อชฺช วณฺโณ ความว่า วันนี้เหตุของท่านที่จะบวงสรวง
อมนุษย์มีอยู่. บทว่า กตมาสิ เทวตา ความว่า ท่านเป็นเทวดาชื่ออะไรใน
ระหว่างแห่งเทวดาทั้งหลาย.

444
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 445 (เล่ม 64)

ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์กล่าวกับพระมหาสัตว์ด้วยคาถาว่า
ข้าพเจ้าเป็นยักษ์ชื่อปุณณกะ และเป็นอำมาตย์
ของท้าวกุเวร ถ้าท่านได้ฟังมาแล้ว พระยานาคใหญ่
นามว่าวรุณ ผู้ครอบครองนาคพิภพมีรูปงามสะอาด
สมบูรณ์ด้วยผิวพรรณและกำลัง ข้าพเจ้ารักใคร่อยาก
ได้นางนาคกัญญานามอิรันทตีธิดาของพระยานาคนั้น
ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ เพราะเหตุแห่งนางอิรันทตีผู้
มีเอวอันงามน่ารักนั้น ข้าพเจ้าจึงตกลงใจจะฆ่าท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สชีโว ได้แก่ เป็นอำมาตย์ชื่อว่า สชีวะ.
บทว่า พฺรหา ความว่า สมบูรณ์ด้วยส่วนยาวและส่วนกว้าง. บทว่า สุจิ
ได้แก่ เช่นรูปทองอันยกขึ้นแล้ว. บทว่า วณฺณพลูปปนฺโน ความว่า ผู้เข้า
ถึงด้วยความงามแห่งเรือนร่าง และด้วยกำลังกาย. บทว่า ตสฺสานุชํ ได้แก่
ธิดาผู้เกิดแต่พระยานาคนั้น. บทว่า ปตารยึ ความว่า ข้าพเจ้ายังจิตให้เป็นไป
แล้วคือได้กระทำการตกลงใจแล้ว .
พระมหาสัตว์ได้สดับดังนั้น จึงคิดว่า โลกนี้ย่อมฉิบหายเพราะความ
ถือผิด ปุณณกยักษ์เมื่อปรารถนานางนาคมาณวิกา จะฆ่าอาตมาประโยชน์อะไร
อาตมาถามให้รู้เหตุนั้นโดยถ่องแท้เสียก่อน แล้วกล่าวคาถาว่า
ดูก่อนปุณณกยักษ์ ท่านอย่าได้มีความลุ่มหลง
นักเลย สัตว์โลกเป็นอันมากฉิบหายแล้วเพราะความ
ถือผิด เพราะเหตุไรท่านจึงทำความรักใคร่ในนางอิ-
รันทตี ผู้มีเอวอันงามน่ารัก ท่านจะมีประโยชน์อะไร
ด้วยความตายของข้าพเจ้า เชิญท่านจงบอกเหตุทั้งปวง
แก่ข้าพเจ้าด้วย.

445
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 446 (เล่ม 64)

ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์เมื่อจะบอกแก่พระมหาสัตว์จึงกล่าวคาถาว่า
ข้าพเจ้าปรารถนาธิดาของพระยาวรุณนาคราช
ผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้รับอาสาญาติของ
นางอิรันทตีมา ญาติเหล่านั้นได้สำคัญข้าพเจ้าว่า ถูก
ความรักใคร่ครอบงำโดยส่วนเดียว เหตุนั้น พระยา
วรุณนาคราชได้ตรัสกะข้าพเจ้า ผู้ทูลขอนางอิรันทตี
นาคกัญญาว่า เราทั้งหลายพึงให้ธิดาของเรา ผู้มีร่าง
กายอันสลวย มีเนตรงามอย่างน่าพิศวงลูบไล้ด้วยจุรณ
แก่นจันทน์ ถ้าท่านพึงได้ดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต
นำมาในนาคพิภพนี้โดยธรรม เพราะความดีความชอบ
นี้ ท่านก็จะได้ธิดาของเรา เราทั้งหลายมิได้ปรารถนา
ทรัพย์อื่นยิ่งไปกว่านั้น ดูก่อนท่านอำมาตย์ ข้าพเจ้า
ไม่ได้เป็นคนหลง ท่านจงพึงให้ทราบเรื่องอย่างนี้ อนึ่ง
ข้าพเจ้ามิได้มีความถือผิดอะไรๆ เลย เพราะดวงหทัย
ท่าน ที่ข้าพเจ้าได้ไปโดยชอบธรรม ท้าววรุณนาคราช
และพระนางวิมาลาจะประทานนางอิรันทตีนาคกัญญา
แก่ข้าพเจ้า เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าพึงพยายามเพื่อจะ
ฆ่าท่าน ข้าพเจ้ามีประโยชน์ด้วยการตายของท่าน จึง
จะผลักท่านให้ตกลงไปในเหวนี้ ฆ่าเสียแล้วนำดวง
หทัยไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธีตุกาโม ความว่า ข้าพเจ้าอยากได้คือ
ปรารถนาธิดา จึงเที่ยวไปเพื่อต้องการธิดา. บทว่า ญาติภโตหมสฺมิ ความว่า
ข้าพเจ้าเป็นผู้รับอาสาพวกญาติของนางอิรันทตีนั้นมา. บทว่า ตํ แปลว่า ซึ่ง

446
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 447 (เล่ม 64)

นางนาคมาณวิกานั้น. บทว่า ยาจมานํ แปลว่า ซึ่งข้าพเจ้าผู้ขออยู่. บทว่า
ยถา มํ ความว่า เพราะเหตุนั้น พระยาวรุณนาคราชจึงได้ตรัสกะข้าพเจ้า ผู้ทูล
ขออยู่. บทว่า สุกามนีตํ ความว่า ญาติเหล่านั้นได้สำคัญ คือรู้ว่าเราถูกความ
รักใคร่นำไปด้วยดีคือโดยส่วนเดียว เพราะเหตุนั้นพระยาวรุณนาคราชผู้เป็นพ่อ
ตา จึงได้รับสั่งกะข้าพเจ้าผู้ไปสู่ขอนางอิรันทตีนาคกัญญานั้นว่า เราทั้งหลายจะ
พึงให้ลูกสาวแก่ท่านแลเป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทชฺเชมุ แปลว่า
ข้าพเจ้าทั้งหลายพึงให้. บทว่า สุตนุํ แปลว่า ผู้มีรูปร่างอันสวยงาม. บทว่า
อิธ มาหเรสิ ความว่า ท่านพึงนำมาในที่นี้
พระมหาสัตว์ได้สดับถ้อยคำของปุณณกยักษ์นั้นจึงคิดว่า พระนางวิมลา
จะต้องการดวงหทัยของเราหามิได้ แต่ว่าพระยาวรุณนาคราชฟังธรรมกถา
ของเราเกิดความเลื่อมใส เอาแก้วมณีบูชาเรา กลับไปถึงนาคพิภพ
นั้นแล้ว จักพรรณนาความที่เราเป็นธรรมกถึกแก่พระนางเป็นแน่ เมื่อเป็น
อย่างนั้น ความปรารถนาด้วยธรรมกถาของเรา จักเกิดขึ้นแก่พระนางวิมลา
พระยาวรุณนาคราชจักถือผิดไป จึงทรงบังคับปุณณกยักษ์นี้ที่ถือผิดไปตาม
พระองค์มาเพื่อฆ่าเราให้ตาย ภาวะที่เราเป็นบัณฑิต เป็นผู้สามารถใน
อันค้นคว้าหาเหตุที่ตั้งและเกิดขึ้นได้นั้น ได้ทำเราให้ได้รับทุกข์ถึงเพียงนี้
เมื่อปุณณกยักษ์ฆ่าเราให้ตายเสียจักทำประโยชน์อะไรได้ เอาเถอะเรา
จักเตือนมาณพนั้นให้รู้สึกตัว ดังนี้แล้วกล่าวว่า ดูก่อนมาณพ ข้าพเจ้าย่อม
ทราบสาธุนรธรรม ในขณะที่ข้าพเจ้ายังไม่ตาย ท่านจงยังข้าพเจ้าให้นั่งลงบน
ยอดบรรพต แล้วตั้งใจฟังสาธุนรธรรมก่อน พึงทำกิจที่ท่านปรารถนาจะทำ
ในภายหลัง แล้วคิดว่าเราพึงพรรณนาสาธุนรธรรม ยังปุณณกยักษ์ให้มอบ
ชีวิตคืนแก่เรา พระมหาสัตว์ มีศีรษะห้อยลงเบื้องต่ำอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ
กล่าวคาถาว่า

447