No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 428 (เล่ม 64)

เพราะแต่งตั้งคนเช่นนั้น เหล่านั้นไว้ให้เป็นใหญ่ ก็เหมือนแต่งตั้งคนตายที่เขา
ทิ้งไว้ในป่าช้า ฉะนั้น. เพราะพวกเหล่านั้นย่อมผลาญทรัพย์ให้พินาศ และผู้
ผลาญทรัพย์หรือคนจนย่อมไม่ยังราชกิจให้สำเร็จบริบูรณ์ได้. บทว่า อาสีนานํ
ความว่า แต่ว่า ครั้น เขามาถึงแล้ว ควรให้วัตถุสักว่า อาหารและเครื่องนุ่งห่ม
เหมือนให้มตกภัตเพื่อคนตายฉะนั้น. บทว่า อุฏฺฐานสมฺปนฺเน ได้แก่ ผู้
ประกอบด้วยความขยันหมั่นเพียร.
ราชเสวกพึงเป็นผู้มีศีล ไม่โลภมากพึงประพฤติ
ตามเจ้านาย ประพฤติประโยชน์แก่เจ้านาย ทั้งต่อหน้า
และลับหลัง ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้
ราชเสวกพึงเป็นผู้รู้จักพระราชอัธยาศัยและพึงปฏิบัติ
ตามพระราชประสงค์ ไม่ควรประพฤติขัดต่อพระราช-
ประสงค์ ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราช
เสวกพึงก้มศีรษะลงชำระพระบาท ในเวลาผลัดพระ
ภูษาทรง และในเวลาสรงสนาน แม้ถูกกริ้วก็ไม่ควร
โกรธตอบ ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโลโภ แปลว่า ผู้ไม่โลภ. บทว่า
อนุวตฺโต จสฺส ราชิโน ความว่า พึงเป็นผู้ประพฤติตามใจเจ้านาย. บทว่า
จิตฺตตฺโถ ได้แก่ ตั้งอยู่ในจิต อธิบายว่า อยู่ในอำนาจแห่งจิตของเจ้านาย.
บทว่า อสํกุสกวุตฺติสฺส แปลว่า พึงประพฤติตามเจ้านายไม่เข้ากับคนผิด.
บทว่า อโธสิรํ ความว่า ราชเสวก แม้เมื่อล้างพระบาท พึงก้มศีรษะลง พึง
ก้มหน้าลงล้าง ไม่พึงแลดูหน้าพระราชา.

428
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 429 (เล่ม 64)

บุรุษผู้หวังหาความเจริญ พึงกระทำอัญชลีใน
หม้อน้ำและพึงกระทำประทักษิณนกแอ่นลม อย่างไร
เขาจักไม่พึงนอบน้อม พระราชาผู้เป็นนักปราชญ์สูงสุด
พระราชทานสมบัติอันน่าใคร่ทุกอย่างเล่า เพราะพระ
ราชาพระราชทานที่นอน ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ยวดยานที่
อยู่อาศัย บ้านเรือน ยังโภคสมบัติให้ตกทั่วถึง เหมือน
มหาเมฆยังน้ำฝนให้ตก เป็นประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั่ว
ไปฉะนั้น ดูก่อนเจ้าทั้งหลาย นี้ชื่อว่าราชวัสดี เป็น
อนุศาสน์สำหรับราชเสวก นรชนประพฤติตาม ย่อม
ยังพระราชาให้โปรดปราน และย่อมได้การบูชาใน
เจ้านายทั้งหลาย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุมฺภิมฺหิ อญฺชลึ กยิรา วายสํ วาปิ
ปทกฺขิณํ ความว่า ก็บุรุษผู้หวังความเจริญ (แก่ตน) เห็นหม้อที่เต็มด้วยน้ำ
พึงทำอัญชลีแก่หม้อน้ำนั้น แม้เพียงแก่นกแอ่นลมเขายังทำประทักษิณได้ เมื่อ
เขาทำอัญชลีแล้วทำประทักษิณแก่ชนเหล่าใด ชนเหล่านั้น ย่อมไม่สามารถจะให้
อะไรได้. บทว่า กิเมว ความว่า พระราชาผู้เป็นนักปราชญ์ พระราชทาน
สมบัติที่น่าใคร่ทุกอย่าง เหตุไฉนจึงไม่นมัสการพระราชานั้นเล่า. พระราชาเท่า
นั้น ที่พึงนมัสการ และพึงให้โปรดปราน. บทว่า ปชฺชุนฺโนริว แปลว่า
ดุจเมฆ. บทว่า เอเสยฺยา ราชวสดี ความว่า นี่แน่ะเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า
ราชวสดีที่เรากล่าวแล้วนี้ เป็นอนุสาสนีสำหรับราชเสวกทั้งหลาย. บทว่า ยถา
ความว่า ราชวสดีนี้อันนรชนประพฤติตามอยู่ ย่อมเป็นเหตุให้พระราชาทรง
โปรดปราน และย่อมได้รับการบูชาจากสำนักพระราชาทั้งหลายแล.

429
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 430 (เล่ม 64)

พระวิธุรบัณฑิตผู้มีธุรกิจหาผู้อื่นเสมอเหมือนมิได้ ได้แสดงราชวสดี-
ธรรมสอนบุตรภรรยาญาติและมิตรด้วยพุทธลีลา จบลงด้วยประการฉะนี้แล.
จบราชสวดีกัณฑ์
เมื่อพระมหาสัตว์พร่ำสอนบุตรภรรยาญาติและมิตรเป็นต้น อย่างนี้นั่น
แลจบลง ก็เป็นวันที่ ๓. พระมหาสัตว์นั้น ครั้นทราบว่าครบกำหนดวันแล้ว
อาบน้ำแต่เช้าตรู่ บริโภคโภชนาหารที่รสเลิศต่าง ๆ คิดว่า เราพร้อมด้วย
มาณพจักทูลลาพระราชาไป ดังนี้แล้วแวดล้อมด้วยหมู่ญาติไปสู่พระราชนิเวศน์
ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กรามทูลถ้อยคำอันสมควรที่
ตนจะพึงกราบทูล.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสพระคาถาว่า
วิธุรบัณฑิตผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ครั้นพร่ำ
สอนหมู่ญาติอย่างนี้แล้ว หมู่ญาติมิตรพากันห้อมล้อม
เข้าไปเฝ้าพระราชา ถวายบังคมพระยุคลบาทด้วยเศียร
เกล้า และทำประทักษิณท้าวเธอ แล้วประคองอัญชลี
กราบบังคมทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงปราบศัตรู
มาณพนี้ปรารถนาจะทำตามความประสงค์จึงจะนำข้า-
พระองค์ไป ข้าพระองค์จะกราบทูลประโยชน์แห่งญาติ
ทั้งหลาย ขอเชิญพระองค์ทรงสดับประโยชน์นั้น ขอ
พระองค์ ได้ทรงพระกรุณาเอาพระทัยใส่ดูแลบุตร
ภรรยาของข้าพระองค์ทั้งทรัพย์อื่น ๆ ที่อยู่ในเรือน
โดยที่หมู่ญาติของข้าพระองค์ จะไม่เสื่อมในภายหลัง
ในเมื่อข้าพระองค์ถวายบังคมลาไปแล้ว ความพลั้ง
พลาดของข้าพระองค์นี้ เหมือนบุคคลพลาดล้มบน

430
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 431 (เล่ม 64)

แผ่นดิน ย่อมกลับตั้งอยู่บนแผ่นดินนั้นเอง ฉะนั้น
ข้าพระองค์ย่อมเห็นโทษนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุหเทหิ ได้แก่ อันญาติและมิตรเป็น
ต้นผู้มีใจดี. บทว่า ยญฺจมญฺญํ ความว่า ขอพระองค์เท่านั้น จงดูแลทรัพย์
สมบัติอย่างอื่นทั้งหมดนั้น อันจะนับจะประมาณมิได้ ที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท
และพระราชาเหล่าอื่น พระราชทานไว้สำหรับเรือนของข้าพระองค์. บทว่า
เปจฺจ แปลว่า ในภายหลัง. บทว่า ขลติ แปลว่า ย่อมพลาดล้ม. บทว่า
เอเวตํ ตัดบทเป็น เอวํ เตตํ เพราะความพลั้งพลาดในใต้ฝ่าละอองธุลี
พระบาทแล้ว ข้าพระองค์ขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ในพระองค์ตามเดิม
เหมือนบุคคลพลาดล้มบนแผ่นดิน ย่อมตั้งขึ้นบนแผ่นดินนั้นนั่นแหละ. บท
ว่า เอตํ ปสฺสามิ ความว่า เมื่อข้าพระองค์ ถูกมาณพถามว่า พระราชาเป็น
อะไรแก่ท่านหรือ จึงไม่มองพระองค์ ปรารถนาแต่ความสัตย์จริงกล่าวว่า
ข้าพระองค์เป็นทาส นี้เป็นโทษของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เห็นแต่โทษนี้
แต่โทษของข้าพระองค์อย่างอื่นไม่มี ขอพระองค์จงอดโทษนั้น แก่ข้าพระองค์
เถิด ขออย่าได้การทำโทษนั้นไว้ในพระหฤทัย จับผิดในบุตรและภริยาของ
ข้าพระองค์ในภายหลัง.
พระราชาครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดงว่า ดูก่อนบัณฑิต
การไปของท่านไม่ถูกใจเราเลย เราจักทำอุบายเรียกมาณพสั่งบังคับให้เอาไปฆ่า
แล้วปิดเนื้อความเสียมิให้ใครได้รู้ ข้อนั้นแหละจะชอบใจเรา ดังนี้ จึงได้ตรัส
คาถาว่า.
ท่านไม่อาจจะไปนั่นแล เป็นความพอใจของเรา
เราจะสั่งให้ฆ่าตัดออกเป็นท่อน ๆ แล้วหมกไว้ให้มิด
ชิดในเมืองนี้ ท่านอยู่ในที่นี้แหละ การทำดังนี้เราชอบ

431
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 432 (เล่ม 64)

ใจ ดูก่อนบัณฑิตผู้มีปัญญาอันสูงสุด กว้างขวางดุจ
แผ่นดิน ท่านอย่าไปเลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆตฺวา ความว่า เราจะโบยท่านให้ตาย
แล้วปกปิดไว้ในกรุงราชคฤห์นี้เอง.
พระมหาสัตว์ ได้สดับดังนั้น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติ-
เทพ พระราชอัธยาศัยเห็นปานนี้ มิบังควรแก่พระองค์เลย ดังนี้แล้ว กล่าว
คาถาว่า.
ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท อย่าทรงตั้งพระ-
ราชหฤทัยไว้ในอธรรมเลย ขอจงทรงประกอบพระองค์
ไว้ในอรรถและในธรรมเถิด กรรมอันเป็นอกุศลไม่
ประเสริฐ บัณฑิตติเตียนว่า ผู้ทำกรรมอันเป็นอกุศล
พึงเข้าถึงนรกในภายหลัง นี้มิใช่ธรรมเลย ไม่เข้าถึง
กิจที่ควรทำ ข้าแต่พระจอมประชาชน ธรรมดาว่านาย
ผู้เป็นใหญ่ของทาส จะทุบตีก็ได้ จะเผาก็ได้ จะฆ่า
เสียก็ได้ ข้าพระองค์ไม่มีความโกรธเลย และข้าพระ-
องค์ขอกราบทูลลาไป.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา เหว ธมฺเมสุ ความว่า ขอใต้ฝ่า
ละอองธุลีพระบาท อย่าทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ในอธรรมคือในอนัตถะได้แก่
ในความชั่วของพระองค์เลย. บทว่า ปจฺฉา ความว่า ความไม่แก่และไม่ตาย
ย่อมไม่มีเพราะการทำกรรมใด โดยที่แท้ บุคคลผู้การทำกรรมนั้น ย่อมเข้า
ถึงนรกในภายหลังทีเดียว. บทว่า ธิรตฺถุ กมฺมํ ความว่า กรรมนั้น น่า
ติเตียน คือเป็นกรรมที่บัณฑิตในปางก่อนติเตียนแล้ว. บทว่า เนเวส ความ
ว่า นี้มิใช่เป็นสภาวะธรรมของโปราณกบัณฑิต. บทว่า อยิโร แปลว่า นาย.
บทว่า ฆาเตตุํ ความว่า ธรรมดาว่า นายผู้เป็นใหญ่แห่งทาส เพื่อจะทำ

432
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 433 (เล่ม 64)

การฆ่าเป็นต้นนั้นย่อมไม่ได้ เพื่อจะทำกรรมทั้งหมดนั้นได้ ดูก่อนมาณพ
ความโกรธของเราแม้มีประมาณน้อย ย่อมไม่มี นับตั้งแต่เวลาพระราชทาน
ข้าพระองค์ให้แก่มาณพนี้ ควรที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จะทรงตั้งพระราช
หฤทัยไว้ให้เที่ยงตรง ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งนรชน ข้าพระองค์ขอลาไป.
พระมหาสัตว์ ครั้นกราบทูลอย่างนั้นแล้วจึงถวายบังคมลาพระราชาไป
สั่งสอนพระสนมกำนัลใน และราชบริษัท เมื่อชนเหล่านั้น แม้อดกลั้นความ
โศกไว้ตามปกติไม่ได้ ร้องไห้คร่ำครวญอย่างใหญ่หลวง ได้ออกจากพระราช-
นิเวศน์ไป. ชนชาวพระนครทั้งสิ้นพูดกันเซ็งแซ่ว่า ข่าวว่า วิธุรบัณฑิต
จะไปกับมาณพ พวกเราจงมาไปเยี่ยมท่านเถิด ดังนี้แล้ว จึงไปประชุมกัน
เยี่ยมพระมหาสัตว์ที่หน้าพระลานหลวง. ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ ได้สั่งสอน
ชาวพระนครเหล่านั้นว่า พวกท่านอย่าคิดวิตกไปเลย สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
สรีระไม่ยั่งยืน สมมติธรรมอันได้นามว่า ยศ ย่อมมีความวิบัติเป็นที่สุด
อนึ่งท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาทในบุญกุศลมีทานเป็นต้น ดังนี้แล้ว
ได้บ่ายหน้ากลับสู่เรือนของตน. ขณะนั้น ธรรมปาลกุมารพาหมู้น้องชายน้อง
หญิงออกไป ด้วยหวังว่า จะทำการต้อนรับบิดา ได้พร้อมกันคอยบิดาอยู่ที่
ประตูบ้าน. พระมหาสัตว์เห็นธรรมปาลกุมารนั้นแล้วไม่อาจกลั้นความโศกไว้
ได้ สวมกอดธรรมปาสกุมารเข้าไว้กันทรวงแล้วอุ้มไปสู่เรือน.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสพระคาถาว่า
พระมหาสัตว์นั้น มีเนตรทั้งสองนองด้วยน้ำตา
กำจัดความกระวนกระวายในหทัยแล้ว สวมกอดบุตร
คนโตแล้วเข้าไปยังเรือนหลังใหญ่.
ก็พระมหาสัตว์นั้น มีบุตรพันหนึ่ง มีธิดาพันหนึ่ง ภริยาพันหนึ่ง
นางวรรณทาสีเจ็ดร้อย และทั้งทาสกรรมกรญาติและมิตรที่เหลือ บรรดามีอยู่

433
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 434 (เล่ม 64)

ในเรือนของท่าน ต่างก็พากันร้องไห้ ล้มฟุบลงทับกันไปประดุจป่าไม้รัง ถูก
ลมยุคันต์พัดให้หักทับล้มลงไปฉะนั้น
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
บุตรพันหนึ่ง ธิดาพันหนึ่ง ภริยาพันหนึ่ง และ
ทาสเจ็ดร้อย ในนิเวศน์ของวิธุรบัณฑิต ต่างประคอง
แขนทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญ กลิ้งเกลือกกลับทับกันไป
เหมือนป่าไม้รังถูกลมพัดล้มระเนระนาดทับกันไป
ฉะนั้น พระสนมกำนัลใน พระราชกุมาร พวกพ่อค้า
ชาวนา และพราหมณ์ทั้งหลาย ต่างก็มาประคองแขน
ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ในนิเวศน์ของวิธุรบัณฑิต พวกกอง
ช้าง กองม้า กองรถ กองเดินเท้า ชาวชนบทและ
ชาวนิคม ต่างมาประชุมประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญ
อยู่ในนิเวศน์ของวิธุรบัณฑิต ภริยาพันหนึ่ง และทาสี
เจ็ดร้อยต่างพากันประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า
เพราะเหตุไร ท่านจึงจะละดิฉันทั้งหลายไปเสีย พระ-
สนมกำนัล พระราชกุมาร พ่อค้า ชาวนา และ
พราหมณ์ทั้งหลาย พวกกองช้าง กองม้า กองรถ
กองเดินเท้า ชาวชนบท และชาวนิคม ต่างมาประชุม
ประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า เพราะเหตุไร ท่าน
จึงจักละข้าพเจ้าทั้งหลายไปเสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสนฺติ ความว่า บุตรพันหนึ่ง ธิดา
พันหนึ่ง ภริยาพันหนึ่ง และนางวรรณทาสีเจ็ดร้อย บรรดามีอยู่ในเรือนของ
วิธุรบัณฑิต ต่างกอดแขนทั้งสองข้างร้องไห้คร่ำครวญ กลิ้งเกลือกล้มระเน

434
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 435 (เล่ม 64)

ระนาดทับกันไป ดังป่าไม้รังใหญ่ที่ถูกลมพัดหักทับทอดพื้นแผ่นดินใหญ่ฉะนั้น.
บทว่า ภริยานํ ได้แก่ หญิงคือภริยาพันหนึ่ง. บทว่า กสฺมา โน ความ
ว่า พากันคร่ำครวญว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงจักละพวกเราไป.
พระมหาสัตว์ ปลอบโยนมหาชนทั้งหมดนั้นให้สร่างโศก ทำกิจที่ยัง
เหลือให้เสร็จ สั่งสอนอันโตชนและพาหิรชน บอกเรื่องที่ควรจะบอกทุกอย่าง
แก่บุตรและภริยาเสร็จแล้ว ไปสู่สำนักของปุณณกยักษ์ บอกกิจของตนที่ทำ
เสร็จแล้วแก่ปุณณกยักษ์นั้น
พระศาสดา เมื่อจะประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
พระมหาสัตว์ กระทำกิจทั้งหลายในเรือนสั่งสอน
คนของตน คือมิตร สหาย คนใช้ บุตร ธิดา ภริยา
และพวกพ้อง จัดการงาน บอกมอบทรัพย์ในเรือน
ขุมทรัพย์และการส่งหนี้เสร็จแล้ว ได้กล่าวกะปุณณก-
ยักษ์ว่า ท่านได้พักอยู่ในเรือนของข้าพเจ้า ๓ วันแล้ว
กิจที่จะพึงทำในเรือนของข้าพเจ้าทำเสร็จแล้ว อนึ่ง
บุตรและภริยาข้าพเจ้าได้สั่งสอนแล้ว ข้าพเจ้าย่อมทำ
กิจตามอัธยาศัยของท่าน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺมนฺตํ สํวิเธตฺวาน ความว่า จัด
กิจที่ควรทำในเรือนว่า ควรทำอย่างนี้และอย่างนี้. บทว่า นิธึ ได้แก่ ทรัพย์
ที่ฝังไว้ในที่นั้น ๆ. บทว่า อิณทานํ ได้แก่ ทรัพย์ที่ประกอบไว้ด้วยอำนาจหนี้.
บทว่า ยถามตึ เต ความว่า บัดนี้ท่านจงกระทำตามอัธยาศัยของท่าน.
ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์กล่าวกะพระมหาสัตว์ว่า
ดูก่อนมหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชกิจทั้งปวง ถ้าว่า
ท่านสั่งสอนบุตรภริยาและคนอาศัยแล้ว เชิญท่านมา

435
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 436 (เล่ม 64)

รีบไปในบัดนี้ เพราะในทางข้างหน้ายังไกลนัก ท่าน
อย่ากลัวเลย จงจับหางม้าอาชาไนย การเห็นชีวโลก
ของท่านนี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตฺเต ความว่า ปุณณกยักษ์ถึงโสมนัส
เรียกมหาสัตว์ว่า กตฺเต. บทว่า อทฺธาปิ ความว่า แม้เพียงหนทางที่จะพึง
ไปก็ยังไกลนัก. บทว่า อสมฺภีโตว แปลว่า เป็นทางปลอดภัย. ปุณณกยักษ์
นั้น ไม่หยั่งลงสู่ภายใต้ปราสาท ประสงค์จะหลีกไปจากนั้น จึงได้กล่าวอย่างนั้น.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์กล่าวกะปุณณกยักษ์นั้นว่า
ข้าพเจ้าจักสะดุ้งกลัวทำไปทำไม ข้าพเจ้าไม่มีกรรม
ชั่วทางกาย ทางวาจาและทางใจ อันเป็นเหตุให้ไปสู่
ทุคติ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสหํ กิสฺสานุภายิสฺสํ ความว่า พระ
มหาสัตว์ ถูกปุณณกยักษ์กล่าวว่า อย่ากลัวเลย ท่านจงถือเอาเถิดดังนี้ จึงได้
กล่าวอย่างนั้น.
พระมหาสัตว์บันลือสีหนาทด้วยประการอย่างนี้ จะได้สะดุ้งกลัวหามิได้
เป็นผู้หมดภัยองอาจดังพระยาไกรสรราชสีห์ ทำอธิษฐานบารมีให้เป็นปุเรจาริก
ว่าผ้าสาฎกของอาตมาผืนนี้ จงอย่าหลุดลุ่ยออกจากร่างกายของอาตมา แล้วนุ่ง
ผ้าให้แน่นจับหางม้าด้วยมือทั้งสองกระหวัดหางม้าไว้ให้มั่น เอาเท้าทั้งสองเกี่ยว
ขาม้าไว้ให้แน่นกล่าวว่า ดูก่อนมาณพ ข้าพเจ้าจับทางม้าแล้ว ท่านจงไปตาม
ความชอบใจเถิด ขณะนั้นปุณณกยักษ์ได้ให้สัญญาแก่ม้ามโนมัยสินธพ ส่วน
ม้ามโนมัยสินธพนั้น ได้พาวิธุรบัณฑิตเหาะไปในอากาศ.

436
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 437 (เล่ม 64)

พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงได้ตรัสพระคาถาว่า
พระยาม้านั้น นำวิธุรบัณฑิตเหาะไปในอากาศ
กลางหาว ไม่กระทบที่กิ่งไม้หรือภูเขา วิ่งเข้าไปสู่
กาฬาคิรีบรรพตโดยฉับพลัน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาขาสุ เสเลสุ อสชฺชมาโน ความ
ว่า ได้ยินว่า ปุณณกยักษ์คิดว่า เรามาไกลแล้ว เราควรจะทุบวิธุรบัณฑิตนี้
ให้ตายที่ต้นไม้และภูเขาในหิมวันตประเทศ ถือเอาแต่เนื้อหทัย ทิ้งทรากศพ
เสียในซอกแห่งภูเขา แล้วไปสู่นาคพิภพ ถวายเนื้อหทัยนั้นแก่พระนางวิมลา
เทวีในนาคพิภพ แล้วจักรับเอานางอิรันทตีกลับมา.
ปุณณกยักษ์นั้น ทุบพระมหาสัตว์ที่ต้นไม้และภูเขา ขับม้าไปในระหว่าง
ทางแห่งต้นไม้และภูเขานั้นแล ด้วยอานุภาพแห่งพระมหาสัตว์ ต้นไม้ก็ดี
ภูเขาก็ดี ได้แหวกช่องหลีกออกห่างจากสรีระของพระมหาสัตว์ข้างละศอก
ปุณณกยักษ์เหลียวกลับหลังมองดูหน้าพระมหาสัตว์ เพื่ออยากทราบว่าตายแล้ว
หรือยัง เห็นหน้าพระมหาสัตว์ผ่องใสดุจแว่นทอง รู้ว่าแม้ทำเพียงนี้เธอก็ยัง
ไม่ตาย จึงทุบตีพระมหาสัตว์ที่ต้นไม้และภูเขา ๓ ครั้ง ขับม้าไปในระหว่าง
แห่งต้นไม้และภูเขาในหิมวันตประเทศนั้นอีก ต้นไม้ก็ดี ภูเขาก็ดี ย่อมแหวก
ช่องหลีกออกให้ห่างไกลเช่นกับหนก่อนนั่น และพระมหาสัตว์ได้รับความลำบาก
กายเป็นอย่างยิ่ง ปุณณกยักษ์ดำริว่า เราจักทำเธอให้เป็นจุณวิจุณไปที่กองลม
ในบัดนี้ แล้วขับม้าไปในกองลม เหลียวกลับดูด้วยคิดว่า เธอตายแล้วหรือยัง
ไม่ตาย เห็นหน้าพระมหาสัตว์เบิกบานดังดอกปทุมที่แย้มบานก็โกรธเหลือกำลัง
ควบม้าไปสู่กองลมแล่นกลับไปกลับมาสิ้น ๗ ครั้ง. ด้วยอานุภาพแห่งพระโพธิ-
สัตว์ กองลมได้แยกออกเป็น ๒ ภาคให้ช่องแก่พระมหาสัตว์. ลำดับนั้น
ปุณณกยักษ์ขับม้าไปให้กระทบสมแม้ที่ลมเวรัมภะ. แม้อันว่าลมเวรัมภะก็มี

437