No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 418 (เล่ม 64)

ราชเสวกอันพระราชามิได้ตรัสใช้ ไม่พึงหวั่น
ไหวด้วยอำนาจฉันทาคติเป็นต้น ดังตราชูที่บุคคล
ประคองให้มีคันเสมอ เที่ยงตรงฉะนั้น ราชเสวกนั้น
พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงตั้งใจกระทำราชกิจ
ทุกอย่างให้เสมอต้นเสมอปลาย เหมือนตราชูที่บุคคล
ประคองให้มีคันเสมอเที่ยงตรงฉะนั้น ราชเสวกนั้น
พึงอยู่ในราชสำนักได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุลา ยถา ความว่า ราชเสวกอันพระ
ราชาตรัสใช้ว่า เจ้าจงทำกรรมนี้ในราชกิจบางอย่าง เป็นผู้ไม่หวั่นไหวด้วย
อำนาจการถึงอคติมีฉันทาคติเป็นต้น คือ พึงเป็นผู้เสมอในกิจทั้งปวง เหมือน
ตราชูที่มีประการดังกล่าวแล้วนี้ ย่อมไม่ยุบลง ไม่ฟูขึ้นฉะนั้น. บทว่า
ส ราชวสตึ ความว่า ราชเสวกเห็นปานนี้นั้น พึงอยู่ในราชตระกูล พึงปรน-
นิบัติพระราชา ก็แลเมื่อปรนนิบัติอย่างนี้ พึงได้ยศ. บทว่า สพฺพานิ อภิสมฺ-
โภนฺโต ความว่า เมื่อทำราชกิจทุกอย่าง.
ราชเสวกต้องเป็นคนฉลาดในราชกิจ อันพระ-
ราชาตรัสใช้ กลางวันหรือกลางคืนก็ตามไม่พึงหวาด
หวั่นไหวในการกระทำราชกิจนั้น ๆ ราชเสวกนั้นพึง
อยู่ในราชสำนักได้ ทางใดที่เขาตกแต่งไว้เรียบร้อยดี
สำหรับเสด็จพระราชดำเนิน ถึงพระราชาทรงอนุญาต
ราชเสวกก็ไม่ควรเดินโดยทางนั้น ราชเสวกนั้นพึง
อยู่ในราชสำนักได้.

418
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 419 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น วิกมฺเปยฺย ความว่า ราชเสวกไม่
พึงหวั่นไหวปฏิบัติราชกิจเหล่านั้น. บทว่า โย จสฺส ความว่า หนทางที่
เขาตบแต่งไว้เป็นอันดี เพื่อเป็นมรรควิถีเสด็จพระราชดำเนิน. บทว่า สุปฏิยา-
ทิโต ความว่า เป็นราชเสวกแม้จะได้พระราชานุญาติ ก็ไม่ควรเดินไปทาง
นั้น.
ราชเสวกไม่พึงบริโภคสมบัติที่น่าใคร่ ทัดเทียม
กับพระราชาในกาลไหน ๆ ควรเดินหลังในทุกสิ่ง
ทุกอย่าง ราชเสวกนั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราช-
เสวกไม่ควรใช้สอยประดับประดาเสื้อผ้า มาลา เครื่อง
ลูบไล้ทัดเทียมกับพระราชาไม่พึงประพฤติอากัปกิริยา
หรือพูดจาทัดเทียมกับพระราชา ควรทำอากัปกิริยา
เป็นอย่างหนึ่ง ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น รญฺโญ ความว่า เป็นราชเสวก
ไม่พึงบริโภคโภคสมบัติที่น่าใคร่ ทัดเทียมกับพระราชา เพราะพระราชาย่อม
ทรงกริ้วต่อบุคคลเช่นนั้น. บทว่า สพฺพตฺถ ความว่า พึงเดินตามหลัง ปฏิบัติ
ให้ต่ำกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง ในกามคุณมีรูปเป็นต้น. บทว่า อญฺญํ กเรยฺย
ความว่า พึงกระทำอากัปกิริยาอย่างอื่น จากราชอากัปกิริยา. บทว่า ส ราชวสตึ
วเส ความว่า บุคคลนั้น พึงเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วพึงอยู่.
เมื่อพระราชาทรงพระสำราญอยู่กับหมู่อำมาตย์
อันพระสนมกำนัลในเฝ้าแหนอยู่ เสวกามาตย์เป็นผู้
ฉลาด ไม่พึงทำการทอดสนิท ในพระสนมกำนัลใน

419
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 420 (เล่ม 64)

ราชเสวกไม่ควรเป็นคนฟุ้งซ่าน ไม่คะนองกายวาจา มี
ปัญญาเครื่องรักษาตน สำรวมอินทรีย์ สมบูรณ์ด้วย
การตั้งใจไว้ดี ราชเสวกนั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาวํ ได้แก่ ความประสงค์ด้วยอำนาจ
ความคุ้นเคย. บทว่า อจปโล ได้แก่ ไม่เป็นผู้ตบแต่งประดับเป็นปกติ. บทว่า
นิปโก ได้แก่ ผู้มีญาณแก่กล้า. บทว่า สํวุตินฺทฺริโย ได้แก่ ผู้สำรวม
ปิดกั้นอินทรีย์ ๖ ได้แล้ว คืออย่าพึงมองดูอวัยวะน้อยใหญ่ของพระราชา และ
ไม่พึงมองดูตำหนักนางสนมกำนัลของพระราชานั้น. บทว่า มโนปณิธิ
สมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยจิตอันไม่หวั่นไหว คือตั้งไว้ด้วยดี.
ราชเสวกไม่ควรเล่นหัว เจรจาปราศรัยในที่ลับ
กับพระสนมกำนัลใน ไม่ควรถือเอาทรัพย์จากพระคลัง
หลวง ราชเสวกนั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวก
ไม่พึงเห็นแก่การหลับนอนมากนัก ไม่พึงดื่มสุราจน
เมามาย ไม่พึงฆ่าเนื้อในสถานที่พระราชทานอภัย ราช
เสวกนั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกไม่พึงขึ้น
ร่วมพระตั่ง ราชบัลลังก์ พระราชอาสน์ เรือและรถ
พระที่นั่ง ด้วยอาการทนงตนว่าเป็นคนโปรดปราน
ราชเสวกนั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกต้อง
เป็นผู้มีปัญญาเครื่องพิจารณา ไม่ควรเข้าเฝ้าให้ไกลนัก
ใกล้นัก ควรยืนเฝ้าพอให้ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็น
ถนัด ในสถานที่ที่พอจะได้ยินพระราชดำรัสเบื้องพระ-
พักตร์ของพระราชา ราชเสวกไม่ควรทำความวางใจว่า

420
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 421 (เล่ม 64)

พระราชาเป็นเพื่อนของเรา พระราชาเป็นคู่กันกับเรา
พระราชาทั้งหลาย ย่อมทรงพระพิโรธได้โดยเร็วไว
เหมือนนัยน์ตาอันผงกระทบ ราชเสวกไม่ควรถือตนว่า
เป็นนักปราชญ์ ราชบัณฑิต พระราชาทรงบูชา ไม่
ควรเพ็ดทูลถ้อยคำหยาบคายกับพระราชา ซึ่งประทับ
อยู่ในราชบริษัท.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น มนฺเตยฺย ความว่า เป็นราชเสวก
ไม่ควรเล่นหัวกับพระสนมกำนัลใน ไม่พึงเจรจาปราศรัยในที่ลับ. บทว่า
โกสา ธนํ ความว่า อย่าลักลอบเอาพระราชทรัพย์จากพระคลังหลวง. บทว่า
น มทาย ความว่า ดูก่อนพ่อและแม่ทั้งหลาย ราชเสวกไม่พึงดื่มสุราจนเมา
มาย. บทว่า ทาเย ความว่า ไม่พึงฆ่า ไม่พึงเบียดเบียนมฤคที่พระราชทาน
อภัย. บทว่า โกจฺฉํ ได้แก่ พระแท่นภัทรบิฐ. บทว่า สมฺมโตมฺหิ ความว่า
ราชเสวกอย่าทนงตนว่า เราเป็นคนโปรดปรานแล้วจะขึ้นร่วม. บทว่า สเมกฺ-
ขญฺจสฺส ติฏฺเฐยฺย ความว่า เป็นราชเสวก พึงยืนข้างหน้าของพระราชาในที่ไม่
ไกลนัก ไม่ใกล้นัก พอที่จะได้ยินพระดำรัสที่ตรัสใช้. บทว่า สนฺทิสฺสนฺโต
สภตฺตุโน ความว่า ราชเสวกนั้น พึงยืนอยู่ในที่ที่ท้าวเธอจะทอดพระเนตรเห็น
ได้. บทว่า สุเกน ความว่า เป็นราชเสวกอย่าชะล่าใจว่า พระราชาเป็นเพื่อน
ของเรา และเป็นคู่กันกับเรา อันพระราชาทั้งหลายย่อมทรงพระพิโรธเร็วไว
ดุจนัยน์ตาถูกผงกระทบฉะนั้น. บทว่า น ปูชิโต มญฺญมาโน ความว่า เป็น
ราชเสวกไม่พึงถือตนว่า เป็นนักปราชญ์ราชบัณฑิต พระราชาทรงนับถือบูชา
ชะล่าใจจ้วงจาบเพ็ดทูลถ้อยคำที่หยาบคาย. บทว่า ผรุสํ ความว่า ไม่พึงเจรจา
ปราศรัยถ้อยคำ อันเป็นเหตุให้พระราชาทรงพระพิโรธ.

421
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 422 (เล่ม 64)

ราชเสวก ผู้ได้รับพระราชทานพระทวารเป็น
พิเศษ ไม่ควรวางใจในพระราชาทั้งหลาย พึงเป็นผู้
สำรวมดำรงตนไว้เพียงดังไฟ ราชเสวกนั้น พึงอยู่ใน
ราชสำนักได้ พระเจ้าอยู่หัวจะทรงยกย่องพระราชโอรส
หรือพระราชวงศ์ด้วยบ้าน นิคม แว่นแคว้น หรือ
ชนบท ราชเสวกควรนิ่งดูก่อน ไม่ควรเพ็ดทูลคุณ
หรือโทษ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลทฺธทฺวาโร ลเภ ทฺวารํ ความว่า
เราเป็นราชเสวก เราไม่ใช่คนเฝ้าประตู แต่ได้ประตูเป็นพิเศษ ไม่ทรง
อนุญาตอย่าพึงเข้าไป แม้ได้ประตูอีกต่อเมื่อได้รับอนุญาตจึงเข้าไป. บทว่า
สโต ได้แก่ เป็นผู้ไม่ประมาท. บทว่า ภาตรํ สํ วา ได้แก่ พระราชโอรส
หรือพระราชวงศ์. บทว่า สมฺปคฺคณฺหาติ ความว่า ในกาลใดพระราชาตรัส
กับเสวกทั้งหลายว่า เราจะให้บ้านโน้น หรือนิคมโน้นแก่ผู้โน้น. บทว่า น
ภเณ เฉกปาปกํ ความว่า เป็นเสวกไม่พึงกล่าวสรรเสริญคุณหรือโทษใน
กาลนั้น.
พระราชาทรงปูนบำเหน็จรางวัลให้แก่กรมช้าง
กรมม้า กรมรถ กรมเดินเท้า ตามความชอบใน
ราชการของเขา ราชเสวกไม่ควรทัดทานเขา ราชเสวก
นั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวยผู้เป็นนักปราชญ์
พึงโอนไปเหมือนคันธนู และพึงไหวไปตามเหมือน
ไม้ไผ่ ไม่ควรทูลทัดทาน ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราช-
สำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นผู้มีท้องน้อยเหมือนคันธนู

422
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 423 (เล่ม 64)

พึงเป็นผู้ไม่มีลิ้นเหมือนปลา พึงเป็นผู้รู้จักประมาณใน
โภชนะ มีปัญญาเครื่องรักษาตน แกล้วกล้า ราชเสวก
นั้นพึงอยู่ในราชสำนักได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เตสํ อนฺตรํ คจฺเฉ ความว่า เป็น
ราชเสวก ไม่ควรทูลขัดตัดลาภผลของคนเหล่านั้น. บทว่า วํโส วา ความว่า
พึงเป็นผู้มีจิตอ่อนโยนโอนไปในกาลที่พระราชาตรัส เหมือนยอดไม้ไผ่ลำที่สูง
กว่าทุกลำในกอไผ่ ย่อมไหวในคราวที่ต้องลมพัดฉะนั้น. บทว่า จาโปวูโนทโร
ความว่า เป็นราชเสวก ไม่พึงเป็นผู้มีท้องใหญ่เหมือนคันธนู ฉะนั้น. บทว่า
อชิวฺหตา ความว่า พึงเป็นผู้ไม่มีลิ้นด้วยการพูดแต่น้อย เหมือนปลาย่อมไม่
พูดเพราะไม่มีลิ้น. บทว่า อปฺปาสิ ความว่า พึงเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ.
ราชเสวกไม่พึงสัมผัสหญิงนัก ซึ่งเป็นเหตุให้สิ้น
เดช ผู้สิ้นเดชย่อมได้ประสบโรคไอม่องคร่อ ความ
กระวนกระวาย ความอ่อนกำลัง ราชเสวกไม่ควรพูด
มากเกินไปไม่ควรนิ่งทุกเมื่อ เมื่อถึงเวลาพึงเปล่งวาจา
พอประมาณ ไม่ควรพร่ำเพรื่อ เป็นคนไม่มักโกรธ ไม่
กระทบกระเทียบ เป็นคนพูดจริง อ่อนหวาน ไม่ส่อ-
เสียด ไม่ควรพูดถ้อยคำเพ้อเจ้อ ราชเสวกนั้นพึงอยู่
ในราชสำนักได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น พาฬฺหํ ความว่า เสวกไม่พึงมัวเมา
ด้วยสตรีบ่อยๆ. บทว่า เตชสํขฺยํ ความว่า เพราะว่าบุรุษเมื่อถึงอย่างนี้
ย่อมจะถึงความสิ้นไปแห่งเดช เมื่อสัมผัสซึ่งเหตุให้สิ้นเดชนั้น อย่าพึง
มัวเมามากนัก. บทว่า ทรํ แปลว่า ความกระวนกระวายแห่งกาย. บทว่า

423
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 424 (เล่ม 64)

พาลฺยํ แปลว่า ซึ่งความเป็นผู้อ่อนกำลัง. บทว่า ขีณเมโธ ความว่า บุรุษ
ผู้สิ้นปัญญา ด้วยอำนาจความยินดีด้วยกิเลสบ่อย ๆ ย่อมถึงความเป็นโรคไอ
เป็นต้น. บทว่า นาติเวลํ ความว่า ดูก่อนพ่อและแม่ทั้งหลาย เสวก ไม่พึง
พูดมากเกินประมาณ ในสำนักของพระราชาทั้งหลาย. บทว่า ปตฺเต กาเล
ความว่า เมื่อถึงเวลาที่ตนจะต้องพูด. บทว่า อสํฆฏฺโฏ แปลว่า ไม่พูด
กระทบกระทั่งบุคคลอื่น. บทว่า สมฺผํ แปลว่า คำไร้ประโยชน์. บทว่า
คิรํ แปลว่า ถ้อยคำ.
ราชเสวกพึงเลี้ยงดูมารดาบิดา พึงประพฤติอ่อน
น้อมต่อยู่เจริญที่สุดในตระกูล สมบูรณ์ด้วยหิริโอต-
ตัปปะ ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวก
พึงเป็นผู้ได้รับแนะนำดีแล้ว มีศิลปฝึกตนแล้ว เป็นผู้
ทำประโยชน์ เป็นผู้คงที่ อ่อนโยน ไม่ประมาท
สะอาดหมดจด เป็นคนขยัน ราชเสวกนั้น ควรอยู่ใน
ราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นผู้มีความประพฤติอ่อน
น้อม มีความเคารพยำเกรงในท่านผู้เจริญ เป็นผู้สงบ
เสงี่ยม มีการอยู่ร่วมเป็นสุข ราชเสวกนั้นควรอยู่ใน
ราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเว้นให้ห่างไกล ซึ่งทูตที่
ส่งมาเกี่ยวด้วยความลับ พึงดูแลแต่เจ้านายของตนไม่
ควรพูด (เรื่องลับ) ในสำนักของพระราชาอื่น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วินีโต ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยมารยาท.
บทว่า สิปฺปวา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยศิลปะที่จะพึงศึกษาในตระกูลของ
ตน. บทว่า ทนฺโต ได้แก่ ผู้หมดพยศในทวารทั้ง ๖. บทว่า กตตฺโต
ได้แก่ ผู้มีตนถึงพร้อมแล้ว (ทั้งวิทยาและจริยาสมบัติ). บทว่า นิยโต ได้แก่

424
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 425 (เล่ม 64)

ผู้มีสภาวะไม่หวั่นไหวเหตุอาศัยยศเป็นต้น. บทว่า มุทุ ได้แก่ ผู้อ่อนโยน
ไม่เย่อหยิ่ง. บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ ผู้เว้นแล้วจากความเลินเล่อใน
ราชกิจที่ควรทำ. บทว่า ทกฺโข ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในตำแหน่งการบำรุง.
บทว่า นิวาตวุตฺติ ได้แก่ มีความประพฤติอ่อนน้อม. บทว่า สปฺปติสฺโส
ได้แก่ ผู้มีปกติอยู่ร่วมกันด้วยความเคารพ. บทว่า สณฺหิตุํ ปหิตํ ความ
ว่า ทูตที่พระราชาอื่นส่งไปยังราชสำนักด้วยอำนาจรักษาความลับ และกระทำ
ความลับให้ปรากฏ. ราชเสวกเมื่อจะกล่าวทูลเช่นนั้น พึงกล่าวต่อพระพักตร์
กับพระราชา. บทว่า ภตฺตารญฺเญ วุทิกฺเขยฺย ความว่า พึงดูแลเอาใจใส่
แต่เฉพาะเจ้านายของตนเท่านั้น. บทว่า น อญฺญสฺส จ ราชิโน ความว่า
ราชเสวกไม่พึงพูดในสำนักของพระราชาอื่น.
ราชเสวก พึงเข้าหาสมาคมสมณะและพราหมณ์
ผู้มีศีลเป็นพหูสูตโดยเคารพ ราชเสวกนั้นควรอยู่ใน
ราชสำนักได้ ราชเสวกเมื่อได้เข้าหาสมาคมกับสมณะ
และพราหมณ์ผู้มีศีลเป็นพหูสูตแล้ว พึงสมาทาน
รักษาอุโบสถศีลโดยเคารพ ราชเสวยพึงบำรุงเลี้ยง
สมณะและพราหมณ์ผู้มีศีลเป็นพหูสูต ด้วยข้าวและน้ำ
ราชเสวกนั้น ควรอยู่ในสำนักได้ ราชเสวก ผู้หวัง
ความเจริญแก่ตน พึงเข้าไปสมาคมคบหากับสมณะ
และพราหมณ์ผู้มีศีล เป็นพหูสูต มีปัญญา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกจฺจํ ปยิรูปาเสยฺย ความว่า
ราชเสวก พึงเข้าไปทาบ่อย ๆ ด้วยความเคารพ. บทว่า อนุวาเสยฺย ความว่า
พึงเข้าจำอุโบสถประพฤติ. บทว่า ตปฺเปยฺย ความว่า พึงเลี้ยงดูด้วยการให้

425
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 426 (เล่ม 64)

จนพอแก่ความต้องการ. บทว่า อาสชฺช แปลว่า เข้าไปใกล้. บทว่า
ปญฺเญ ได้แก่ ผู้เป็นบัณฑิต. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า อาลชฺช ปญฺหํ ดังนี้
ก็มี. บทว่า ปญฺหํ ความว่า พึงถามถึงเหตุที่เป็นกุศลและอกุศล ที่บัณฑิต
ทั้งหลาย พึงกระทำด้วยปัญญา.
ราชเสวก ไม่พึงทำทาน ที่เคยพระราชทานใน
สมณะและพราหมณ์ให้เสื่อมไป อนึ่ง เห็นพวกวณิพก
ซึ่งมาในเวลาพระราชทานไม่ควรท่านอะไรเลย ราช-
เสวกพึงเป็นผู้มีปัญญา สมบูรณ์ด้วยความรู้ ฉลาด
ในวิธีจัดราชกิจ รู้จักกาล รู้จักสมัย ราชเสวกนั้นควร
อยู่ในราชสำนักได้ ราชเสวกพึงเป็นคนขยันหมั่นเพียร
ไม่ประมาท มีปัญญาสอดส่องพิจารณาในการงานที่
ตนพึงทำ จัดการงานให้สำเร็จด้วยดี ราชเสวกนั้น
ควรอยู่ในราชสำนักได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทินฺนปุพพํ ได้แก่ ทานวัตรที่ตกแต่ง
ไว้โดยปกติ. บทว่า สมณพฺราหฺมเณ ได้แก่ สมณะหรือพราหมณ์. บทว่า
วนิพฺพเก ราชเสวกเห็นพวกวณิพกมาในเวลาที่พระราชทาน ไม่พึงห้าม
อะไรๆ เลย. บทว่า ปญฺญวา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา
สอดส่อง. บทว่า พุทฺธิสมฺปนฺโน ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้ไม่บกพร่อง.
บทว่า วิธานวิธิโกวิโท ได้แก่ ผู้ฉลาดในส่วนเครื่องจัดแจงทาส กรรมกร
และบุรุษ เป็นต้น มีประการต่างๆ. บทว่า กาลญฺญู ความว่า ราชเสวก
พึงรู้ว่า กาลนี้เป็นกาลควรเพื่อจะให้ทาน กาลนั้นเป็นกาลเพื่อจะรักษาศีล
กาลนี้เป็นกาลเพื่อจะกระทำอุโบสถกรรม. บทว่า สมยญฺญู ความว่า ราชเสวก

426
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 427 (เล่ม 64)

พึงรู้ว่า สมัยนี้เป็นสมัยที่ควรไถ สมัยนี้เป็นสมัยที่ควรหว่าน สมัยนี้เป็นสมัย
ที่ควรค้าขาย สมัยนี้เป็นสมัยที่ควรบำรุง. บทว่า กมฺมเธยฺเยสุ ได้แก่ ใน
การงานที่ตนควรกระทำ.
อนึ่ง ราชเสวก พึงไปตรวจตราดูลานข้าวสาลี
ปศุสัตว์และนาเสมอๆ พึงตวงข้าวเปลือกให้รู้ประมาณ
แล้วให้เก็บไว้ในฉาง พึงนับบริวารชนในเรือนแล้ว
ให้หุงต้มพอประมาณ ไม่ควรตั้งบุตรธิดา พี่น้อง หรือ
วงศ์ญาติ ผู้ไม่ตั้งอยู่ในศีลให้เป็นใหญ่ เพราะคน
เหล่านั้นเป็นคนพาล ไม่จัดว่าเป็นพี่น้องคนเหล่านั้น
เป็นเหมือนคนที่ตายไปแล้ว แต่เมื่อเขาเหล่านั้น มา
หาถึงสำนัก ก็ควรให้ผ้านุ่งผ้าห่ม และอาหารควรตั้ง
พวกทาสหรือกรรมกร ผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีล เป็นคนขยัน
หมั่นเพียรให้เป็นใหญ่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสุํ เขตฺตํ ได้แก่ ตระกูลปศุสัตว์ และ
สถานที่หว่านข้าวกล้า. บทว่า คนฺตฺวา แปลว่า มีการไปเป็นปกติ. บทว่า
มิตํ ความว่า ควรตวงให้รู้ว่าข้าวเปลือกมีประมาณเท่านี้ แล้วเก็บไว้ในยุ้งฉาง.
บทว่า ฆเร ความว่า พึงนับบริวารชนในเรือนให้หุงต้มพอประมาณเหมือน
กัน. บทว่า สีเลสุ อสมาหิตํ ความว่า บุตรหรือพี่น้องวงศ์ญาติผู้ไม่ตั้ง
อยู่ในศีลาจารวัตรควรตั้งไว้โดยฐานะที่ควรยกย่องให้ปกครองอะไรๆ. บทว่า
อนงฺควา หิ เต พาลา ความว่า คำว่า องค์ นี้ ชาวโลกกล่าวหมายถึง
ความเป็นญาติพี่น้องของมนุษย์ ญาติพี่น้อง แม้บางคน เหล่านั้น ที่กล่าวว่า
องคาพยพ เพราะมีส่วนเสมอญาติ แต่ผู้ทุศีล ฉะนั้น จึงย่อมไม่เป็นเสมอญาติ

427