No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 408 (เล่ม 64)

ความว่า เว้นจากความตระหนี่เหนียวแน่น. บทว่า สุรโต ความว่า ประกอบ
ด้วยความสงบเสงี่ยม. บทว่า สขิโล แปลว่า ผู้มีวาจาเป็นที่ตั้งแห่งความ
รัก. บทว่า มุทุ ได้แก่ ผู้ไม่หยาบคายด้วยกายวาจาและจิต. บทว่า
สงฺคเหตา จ มิตฺตานํ ความว่า ผู้อยู่ครองเรือนพึงเป็นผู้ทำการสงเคราะห์
มิตรอันดีงาม คือ พึงสงเคราะห์ในบรรดาทานเป็นต้น อันเป็นเครื่องสงเคราะห์
กันนั้น. บทว่า สํวิภาคี ได้แก่ ทำการจำแนกทาน แก่สมณพราหมณ์ผู้
ตั้งอยู่ในธรรมเป็นต้น และแก่คนกำพร้าเป็นต้น. บทว่า วิธานวา ความว่า
พึงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยการจัดแจง ในกิจทั้งหมดอย่างนี้ว่า ในเวลานี้ควรจะไถ
เวลานี้ควรจะหว่าน. บทว่า ตปฺเปยฺย ความว่า พึงบรรจุภาชนะที่ตนรับ
แล้ว ๆ ให้เต็มแล้ว เมื่อให้พึงพอใจ. บทว่า ธมฺมกาโม ความว่า ผู้ครอง
เรือน พึงเป็นผู้ใคร่ปรารถนาประเพณีธรรมบ้างสุจริตธรรมบ้าง. บทว่า
สุตาธาโร ความว่า เป็นผู้ทรงสุตะ. บทว่า ปริปุจฺฉโก ความว่า ผู้อยู่ครอง
เรือนพึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรม แล้วมีปกติ ไต่ถามด้วยคำมีอาทิว่า
อะไรเป็นกุศลนะขอรับ. บทว่า สกฺกจฺจํ แปลว่า โดยความเคารพ. บทว่า
เอวํ นุ อสฺส สงฺคโห ความว่า ผู้อยู่ครองเรือน แม้การสงเคราะห์ก็สมควร
ทำเช่นนั้น. บทว่า สจฺจวาที ความว่า ผู้อยู่ครองเรือนปฏิบัติได้อย่างนี้
ชื่อว่าเป็นผู้กล่าวคำสัตย์.
พระมหาสัตว์ แสดงปัญหาในฆราวาสธรรมถวายแด่พระราชาอย่างนี้
แล้ว ลงจากบัลลังก์ถวายบังคมพระราชา ฝ่ายพระราชาทรงกระทำมหาสักการะ
แก่พระมหาสัตว์นั้น มีพระราชา ๑๐๑ พระองค์แวดล้อมเป็นบริวาร เสด็จ
กลับไปสู่พระนิเวศน์ของพระองค์
จบฆราวาสธรรมปัญหา

408
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 409 (เล่ม 64)

ส่วนพระมหาสัตว์ กลับเรือนของตนแล้ว. ลำดับนั้นปุณณกยักษ์ จึง
กล่าวคาถาว่า
ท่านมาไปด้วยกัน ณ บัดนี้ พระเจ้าแผ่นดิน
ธนัญชัย ผู้เป็นอิสราธิบดี พระราชทานท่านให้แก่
ข้าพเจ้าแล้ว ขอท่านจงปฏิบัติประโยชน์แก่ข้าพเจ้า
ธรรมนี้เป็นของเก่า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โน ในบทว่า ทินฺโน โน นี้เป็น
เพียงนิบาต. อธิบายว่า ท่านอันพระเจ้าธนัญชัยผู้เป็นอิสราธิบดี ได้พระรา-0
ทานแล้ว. บทว่า เอส ธมฺโม สนนฺตโน ความว่า เพราะเมื่อท่านปฏิบัติ ให้
เป็นประโยชน์แก่เรา ชื่อว่าเป็นอันปฏิบัติให้เป็นประโยชน์แก่นายของตน การ
ทำให้เป็นประโยชน์แก่นายของตนนั้น ชื่อว่าเป็นธรรมของเก่าคือ เป็นแบบ
ของบัณฑิตในปางก่อนอย่างแท้จริง.
วิธุรบัณฑิตกล่าวคาถาว่า
ดูก่อนมาณพ ข้าพเจ้าย่อมรู้ว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้อัน
ท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าเป็นผู้อันพระราชาผู้เป็นอิสราธิบดี
พระราชทานแก่ท่านแล้ว แต่ข้าพเจ้าขอให้ท่านพักอยู่
ในเรือนสัก ๓ วัน ขอให้ท่านยับยั้งอยู่ตลอดเวลาที่
ข้าพเจ้าสั่งสอนบุตรภรรยาก่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตยาหมสฺมิ ความว่า ข้าพเจ้าย่อมรู้ว่า
ท่านได้ข้าพเจ้าแล้ว คือ เมื่อได้ข้าพเจ้า ไม่ใช่ได้โดยประการอื่น. บทว่า
ทินฺโนหมสฺมิ ตว อิสฺสเรน ความว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้อันพระราชาผู้เป็น
อิสราธิบดีของข้าพเจ้า ได้พระราชทานแก่ท่านแล้ว. บทว่า ตีหญฺจ ความว่า

409
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 410 (เล่ม 64)

ดูก่อนมาณพ เราเป็นผู้มีอุปการะมากแก่ท่าน เพราะไม่เห็นคล้อยตามพระราชา
พูดไปตามความจริงเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้อันท่านได้แล้ว
ท่านจงรู้ว่าข้าพเจ้าเป็นใหญ่แก่ตน พวกเราจะพักอยู่ในเรือนของตน ๓ วัน
เพราะฉะนั้นท่านจงยับยั้งอยู่ ให้ข้าพเจ้าสั่งสอนบุตรและภรรยาก่อน.
ปุณณกยักษ์ ได้ฟังดังนั้นแล้วคิดว่า บัณฑิตนี้พูดจริง เธอมีอุปการะ
แก่เราเป็นอย่างมาก แม้หากว่าเมื่อเธอจะขอให้เราพักอยู่ ๗ วันก็ดี ครึ่งเดือน
ก็ดี เราก็จะยับยั้งอยู่โดยแท้ ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถาว่า
คำที่ท่านกล่าวนั้น จงมีแก่ข้าพเจ้าเหมือนอย่าง
นั้น ข้าพเจ้าจักพักอยู่ ๓ วัน ตั้งแต่วันนี้ ท่านจงทำ
กิจในเรือนทั้งหลาย ท่านจงสั่งสอนบุตรภริยาเสียแต่
วันนี้ ตามที่บุตรภริยาของท่านจะพึงมีความสุขในภาย
หลัง ในเมื่อท่านไปแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตมฺเม ความว่า คำที่ท่านขอนั้นทั้งหมด
ข้าพเจ้าตามใจท่าน. บทว่า ภวชฺช ความว่า ท่านผู้เจริญ จงสั่งสอนบุตร
และภริยา ๓ วันตั้งแต่วันนี้ไป. บทว่า ตยี เปจฺจ ความว่า ท่านจงสั่งสอน
โดยประการที่เมื่อท่านไปแล้ว ภายหลังบุตรและภริยาของท่านจะพึงมีความสุข.
ปุณณกยักษ์ ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว เข้าไปสู่นิเวศน์ของพระมหา-
สัตว์นั้นแล.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
ปุณณกยักษ์ ผู้มีสมบัติน่าใคร่มากมายกล่าวว่า
ดีละ แล้วหลีกไปกับวิธุรบัณฑิต เป็นผู้มีมารยาทอัน
ประเสริฐสุด เข้าไปในบ้านของวิธุรบัณฑิต อัน
บริบูรณ์ด้วยช้างและม้าอาชาไนย.

410
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 411 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหูตกาโม แปลว่า ผู้มีโภคทรัพย์
มากมาย. บทว่า ตํ กุญฺชราชญิญหยานุจิณฺณํ ความว่า สั่งสมคือบริบูรณ์
ด้วยช้างและม้าอาชาไนย. บทว่า อริยเสฏฺโฐ ความว่า เป็นผู้สูงสุดในมารยาท
อันประเสริฐสุด.
ปุณณกยักษ์ เข้าไปในบ้านแห่งวิธุรบัณฑิตแล้ว ก็พระมหาสัตว์ได้มี
ปราสาท ๓ หลัง เพื่อเป็นที่พักแรม ๓ ฤดู. ในปราสาท ๓ หลังนั้น หลัง
หนึ่งชื่อว่าโกญจะ หลังหนึ่งชื่อว่ามยูระ. หลังหนึ่งชื่อว่าปิยเกต. พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงหมายเอาปราสาท ๓ หลังนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ปราสาทของพระมหาสัตว์มีอยู่ ๓ หลังคือ โกญจ-
ปราสาท ๑ มยูรปราสาท ๑ ปิยเกตปราสาท ๑ ใน
ปราสาททั้ง ๓ นั้น พระมหาสัตว์ได้พาปุณณกยักษ์เข้า
ไปยังปราสาทอันเป็นที่น่ารื่นรมย์ยิ่งนักมีภักษาหาร
บริบูรณ์ มีข้าวน้ำเป็นอันมาก ดังหนึ่งมสักกสารวิมาน
ของท้าววาสวะ ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ความว่า บรรดาปราสาททั้ง ๓
นั้น พระมหาสัตว์พาปุณณกยักษ์เข้าไปยังปราสาท อันเป็นที่ที่ตนอยู่ในสมัย
นั้น ซึ่งเป็นที่ที่น่ารื่นรมย์ยิ่งนัก ก็แลครั้นเข้าไปแล้ว ให้จัดแจงห้องอันเป็น
ที่นอน และห้องโถงใหญ่ ในชั้นที่ ๗ แห่งปราสาทที่ได้ตบแต่งไว้ แล้ว
ให้ปูที่นอนอันทรงสิริบำรุงวิธีมีข้าวและน้ำเป็นต้นทั้งหมด แล้วมอบให้แก่
ปุณณกยักษ์นั้นด้วยสั่งว่า หญิง ๕๐๐ ดุจนางเทพกัญญาเหล่านี้ จงเป็นหญิง
บำรุงบำเรอท่าน ท่านอย่าเบื่อหน่ายจงอยู่ในที่นี้เถิด ครั้นมอบให้แล้ว จึงได้
ไปสู่ที่อยู่ของตน. เมื่อพระมหาสัตว์ไปแล้ว หญิงบำเรอเหล่านั้น จับเครื่อง
ดนตรีต่าง ๆ เริ่มการประโคมมีฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น เพื่อบำเรอปุณณกยักษ์.

411
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 412 (เล่ม 64)

พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
นารีทั้งหลายผู้ประดับประดางดงามดังเทพอัปสร
ในเทวโลก ฟ้อนรำขับเพลงอันไพเราะจับใจ กล่อม
ปุณณกยักษ์อยู่ในปราสาทหลังนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวฺหยนฺติ แปลว่า ย่อมร้องเรียก.
บทว่า วราวรํ ความว่า นางบำเรอเหล่านั้นประดับองค์ทรงเครื่องอันงดงาม
พากันฟ้อนรำและขับกล่อมประสานเสียงกันอยู่.
พระมหาสัตว์ ผู้รักษาธรรม รับรองปุณณก-
ยักษ์ ด้วยนางบำเรอที่น่ายินดี ทั้งข้าวและน้ำแล้ว
คิดถึงประโยชน์ส่วนตน ได้เข้าไปในสำนักของภริยา
ในกาลนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมุทาหิ ความว่า พระมหาสัตว์ รับ
รองปุณณกยักษ์ ด้วยเหล่านางบำเรอที่น่ายินดีชื่นใจ และด้วยข้าวและน้ำ.
บทว่า ธมฺมปาโล แปลว่า ผู้รักษาธรรม คือ ผู้คุ้มครองธรรม. บทว่า
อคฺคตฺถเมว ได้แก่ ซึ่งประโยชน์อันเลิศนั่นเอง. บทว่า ปาเวกฺขิ ภริยาย
ความว่า ได้เข้าไปใกล้ภริยาผู้ประเสริฐกว่าสตรีทั้งปวง.
ได้กล่าวกะภริยาผู้มีผิวพรรณอันผุดผ่อง ดุจแท่ง
ทองชมพูนุท มีองค์อันลูบไล้ด้วยแก่นจันทร์และของ
หอมว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ ผู้มีเนตรอันแดงงาม เจ้า
จงมา จงเรียกบุตรธิดาของเรามาฟังคำสั่งสอน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภริยํ อวจ แปลว่า ได้กล่าวกะภริยา.
บทว่า อามนฺตย แปลว่า ได้เรียก.

412
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 413 (เล่ม 64)

นางอโนชาได้สดับถ้อยคำของสามี ได้กล่าวกะ
ลูกสะใภ้ ผู้มีเล็บอันแดง มีตาอันงดงามว่า ดูก่อน
ยอดดวงใจ ผู้มีดวงตาอันงดงามหาที่ติมิได้ เจ้าจงเรียก
บุตรทั้งหลายของเราผู้ทรงเครื่องปกปิดหนังผู้แกล้ว
กล้าสามารถมา ณ บัดนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโนชา ได้แก่ ภรรยาผู้มีชื่ออย่างนั้น.
บทว่า สุณิสํ อวจ ตมฺพนขึ สุเนตฺตํ ความว่า นางอโนชาได้สดับถ้อย
คำของสามี เป็นผู้มีหน้านองด้วยน้ำตาร้องไห้อยู่ คิดว่า เราไม่ควรจะไปเรียก
บุตรด้วยตนเอง เราจักสั่งลูกสะใภ้ไป ดังนี้แล้วไปสู่ที่อยู่ของลูกสะใภ้นั้น ได้
กล่าวกะลูกสะใภ้ผู้มีเล็บอันแดง มีดวงตางดงาม. บทว่า อามนฺตย แปลว่า
จงเรียก. บทว่า จมฺมธรานิ ความว่า ผู้ทรงซึ่งเครื่องปกปิดหนัง ผู้แกล้วกล้า
สามารถ. ก็เครื่องอาภรณ์นั่นเอง ท่านประสงค์เอาว่า จมฺม เครื่องปกปิดหนึ่ง
ในที่นั้น เพราะฉะนั้นจึงมีความว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งเครื่องอาภรณ์ดังนี้ก็มี. บทว่า
เจเต ความว่า ลูกสะใภ้เรียกเขาโดยชื่อ. บทว่า ปุตฺตานิ ได้แก่ บุตรและ
ธิดาของเรา. บทว่า อินฺทีวรปุปฺผสาเม ความว่า ย่อมร้องเรียกเขา.
ลูกสะใภ้รับคำว่า ดีละ แล้วเที่ยวไปตามปราสาท ร้องเรียกเพื่อนสนิท
ของพระมหาสัตว์บุตรและธิดาหมดทุกคนให้ไปประชุมกันว่า ดูก่อนท่านทั้ง
หลาย บิดาต้องการจะให้โอวาท จึงเรียกท่านทั้งหลายมา ได้ยินว่า ท่านทั้ง
หลาย เห็นบิดาครั้งนี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย. ส่วนว่า ธรรมปาลกุมารได้
ยินคำนั้นแล้ว จึงพาพี่น้องร้องไห้ไปสู่สำนักของท่านบิดา. ฝ่ายวิธุรบัณฑิต

413
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 414 (เล่ม 64)

เห็นบุตรธิดาเหล่านั้น ก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ตามปกติ มีเนตรเต็มไปด้วยน้ำตา
สวมกอดและจูบศีรษะบุตรธิดาเหล่านั้น ให้บุตรคนโตนอนบนตัก สักครู่หนึ่ง
แล้วก็ยกลงจากตัก ออกจากห้องอันประกอบด้วยสิริ ขึ้นนั่งบนบัลลังก์ ที่พื้น
ปราสาทหลังใหญ่ ได้ให้โอวาทแก่บุตรพันหนึ่ง
พระศาสดาเมื่อประกาศความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
พระมหาสัตว์ผู้รักษาธรรม ได้จุมพิตบุตรธิดา
ผู้มาแล้วนั้นที่กระหม่อมไม่หวั่นไหว ครั้นเรียกบุตร
ธิดามาพร้อมแล้ว ได้กล่าวสั่งสอนว่า พระราชาใน
พระนครอินทปัตตะนี้ พระราชทานพ่อให้แก่มาณพ
แล้วพ่อพึงมีความสุขของตนเองได้เพียง ๓ วัน ตั้งแต่
วันนี้ไป พ้นจากนั้นไป พ่อก็ต้องเป็นไปในอำนาจของ
มาณพนั้น เขาจะพาพ่อไปตามที่เขาปรารถนา ก็พ่อ
มาเพื่อจะสั่งสอนลูกทั้งหลาย พ่อยังไม่ได้ทำเครื่อง
ป้องกันให้แก่ลูกทั้งหลายแล้ว จะพึงไปได้อย่างไร ถ้า
พระราชาผู้ปกครองกุรุรัฐ ผู้มีพระราชสมบัติอันน่า
ใคร่เป็นอันมาก ทรงต้องการกัลยาณมิตร จะพึงตรัส
ถามลูกทั้งหลายว่า เมื่อก่อนเจ้าทั้งหลายย่อมรู้เหตุเก่า ๆ
อะไรบ้าง พ่อของเจ้าทั้งหลายได้พร่ำสอนอะไรไว้ใน
กาลก่อนบ้าง ถ้าแหละพระราชาจะพึงมีพระราชโอง
การตรัสว่า เจ้าทั้งปวงเป็นผู้มีอาสนะเสมอกัน กับเรา
ในราชตระกูลนี้ มนุษย์คนไรซึ่งจะมีชาติตระกูลคู่ควร
กับพระราชาไม่มี ลูกทั้งหลายพึงถวายบังคมกราบทูล

414
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 415 (เล่ม 64)

อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ พระองค์อย่าได้
รับสั่งอย่างนั้นเลยพระเจ้าข้า เพราะข้อนี้มิใช่ธรรม
เนียม ขอเดชะ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีชาติต่ำต้อย ไม่
สมควรมีอาสนะเสมอด้วยพระองค์ผู้สูงศักดิ์ เหมือน
สุนัขจิ้งจอกผู้มีชาติต่ำต้อย จะพึงมีอาสนะเสมอด้วย
พระยาไกรสรราชสีห์อย่างไรได้พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมปาโล ได้แก่ พระมหาสัตว์.
บทว่า ทินฺนาหํ ความว่า เราเป็นผู้อันพระราชาทอดทิ้งทรัพย์ในชัยชนะ
พระราชทานแก่มาณพ. บทว่า ตสฺสชฺชหํ อตฺตสุขี วิเธยฺโย ความว่า
บิดามีความสุขในอำนาจแห่งตนได้ชั่ว ๓ วัน แต่วันนี้ไป พ้นจาก ๓ วันนี้ไป
บิดาก็เป็นไปในอำนาจแห่งมาณพ ก็ในวันที่ ๔ มาณพนั้นจะพาบิดาไปในที่
ไหน ๆ ที่เขาปรารถนาโดยส่วนเดียว. บทว่า อปริตฺตาย ความว่า ก็บิดา
มาเพื่อจะสอนเจ้าทั้งหลายว่า บิดาหากยังมิได้ทำเครื่องป้องกันแก่พวกเจ้าจะพึง
ไปได้อย่างไร เหตุนั้น บิดาจะต้องมาเพื่อสั่งสอนพวกเจ้า. บทว่า ชนสณฺโฐ
ความว่า พระราชาผู้ทำความมั่นคงแก่ชนผู้เป็นมิตรด้วยการผูกมิตร. บทว่า
ปุเร ปุราณํ ความว่า ในกาลก่อนแต่นี้พวกเจ้าย่อมรู้เหตุการณ์เก่า ๆ อะไรบ้าง
บิดาของพวกเจ้าสั่งสอนพร่ำสอนไว้อย่างไรบ้าง เจ้าทั้งหลายที่พระราชาตรัสถาม
อย่างนี้พึงทูลว่า บิดาของข้าพระองค์ทั้งหลายได้ให้โอวาทอย่างนี้ ๆ. บทว่า
สมานาสนา โหถ ความว่า ก็ถ้าว่า เมื่อพวกเจ้าทูลบอกโอวาทที่บิดาให้นี้
พระราชาจะพึงมีพระราชโองการตรัสว่า พวกเจ้าทั้งปวงมานั่งบนอาสนะเสมอ
กันกับเราในวันนี้. บทว่า โกนีธ รญฺโญ อพฺภุติโก มนุสฺโส ความว่า
ในตระกูลนี้ มนุษย์คนไรนอกจากพวกเจ้า ซึ่งจะมีชาติสกุลสูงศักดิ์เสมอด้วย

415
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 416 (เล่ม 64)

พระราชาหามิได้ เพราะฉะนั้น จงให้นั่งบนอาสนะของตน. บทว่า ตมญฺชลึ
ความว่า ถ้าพวกเจ้าพึงกระทำอัญชลีถวายบังคมทูลอย่างนี้ไซร้ ขอเดชะ ขอ
พระองค์อย่าได้ตรัสอย่างนั้น เพราะข้อนั้นหาได้ถูกธรรมเนียมไม่. บทว่า
วิยคฺฆราชสฺส ได้แก่ ไกรสรราชสีห์. บทว่า นิหีนชจฺโจ ความว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์มีชาติต่ำต้อยเหมือนสุนัขจิ้งจอกแก่ จะพึงมี
อาสนะเสมอด้วยพระองค์ได้อย่างไร สุนัขจิ้งจอกย่อมเป็นผู้มีอาสนะเสมอด้วย
ราชสีห์แม้ฉันใด พวกข้าพระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ควรมีอาสนะเสมอด้วย
พระองค์
ส่วนพวกบุตรธิดาญาติผู้มีใจดีและทาสกรรมกรทั้งหมดนั้น ได้สดับ
ถ้อยคำของพระมหาสัตว์ดังนี้ ไม่อาจดำรงอยู่ได้ตามปกติ ต่างพากันร้องไห้
พิไรร่ำไปตามกัน. พระมหาสัตว์ได้ตักเตือนชนเหล่านั้น ให้คลายโศกาดูรมีสติ
รู้สึกตัวได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.
จบลักขกัณฑ์
ลำดับนั้น วิธุรบัณฑิตเห็นบุตรธิดาและพวกญาติเข้าไปหาตนนั่ง
นิ่งเงียบอยู่ จึงกล่าวว่า ดูก่อนพ่อและแม่ทั้งหลาย พวกเจ้าอย่าวิตกไปเลย
อย่าเศร้าโศก อย่าพิไรร่ำร่ำพันไปเลย สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนมีความ
แปรปรวนไปเป็นธรรมดา สมมติธรรมอันได้นามว่ายศ ย่อมมีวิบัติเป็นที่สุด
อนึ่ง เราจักแสดงจริยาวัตรของพระราชเสวกนามว่า ราชวสดีธรรม อันเป็น
เหตุให้เกิดยศแก่พวกเจ้า พวกเจ้าจงตั้งใจสดับราชวสดีธรรมนั้น ครั้นกล่าวดัง
นี้แล้วจึงเริ่มแสดงราชวสดีธรรมด้วยพุทธลีลา.
พระศาสดาเมื่อจะประกาศเนื้อความนั้นจึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ก็วิธุรบัณฑิตนั้น มีความดำริแห่งใจอันหดหู่
กล่าวกะบุตร ธิดา ญาติมิตรและเพื่อนสนิทว่า ดูก่อน

416
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 417 (เล่ม 64)

ลูกรักทั้งหลาย ลูกทั้งหลายจงมานั่งฟังราชวสดีธรรม
อันเป็นเหตุให้บุคคลผู้เข้าไปสู่ราชสกุลได้ยศ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุหทชฺชเน แปลว่า คนมีหทัยดี. บทว่า
เอถยฺยา ความว่า วิธุรบัณฑิตนั้น เรียกบุตรและธิดา ด้วยคำร้องเรียกอัน
น่ารักว่า แม่และพ่อจงมาดังนี้. บทว่า ราชวสตึ ความว่า พวกเจ้าจงพึง
การบำรุงพระราชาที่เราจะกล่าว. บทว่า ยถา แปลว่า ด้วยเหตุใด. บทว่า
ราชกุลมฺปตฺโต ความว่า บุคคลผู้เข้าไปสู่ราชสกุล คืออยู่ในสำนักพระราชา
ย่อมประสพยศ พวกเจ้าจงพึงเหตุนั้น ดังที่เราจะกล่าวต่อไปนี้
ผู้เข้าสู่ราชสกุล พระราชายังไม่ทรงทราบ ย่อม
ไม่ได้ยศ ราชเสวกไม่ควรกล้าเกินไป ไม่ควรขลาด
เกินไป ควรเป็นผู้ไม่ประมาทในกาลทุกเมื่อ เมื่อใด
พระราชาทรงทราบความประพฤติปรกติ ปัญญา และ
ความบริสุทธิ์ของราชเสวกนั้น เมื่อนั้น ย่อมทรงวาง
พระทัยและไม่ทรงรักษาความลับ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺญาโต ได้แก่ ผู้มีคุณยังไม่ปรากฏ
ผู้ยังไม่รับพระราชทานยศศักดิ์อันแจ่มชัด. บทว่า นาติสูโร แปลว่า ผู้ไม่
แกล้วกล้า. บทว่า นาติทุมฺเมโธ แปลว่า ไม่ใช่ผู้มีชาติแห่งบุคคลผู้ขลาด.
บทว่า ยทาสฺส สีลํ ความว่า เมื่อใดพระราชาทรงประสบศีล ปัญญา ความ
สะอาดและทรงทราบอาจารสมบัติ กำลังแห่งญาณ และความเป็นผู้สะอาดของ
เสวกนั้น. บทว่า อถ วิสฺสาสเต ตมฺหิ ความว่า เมื่อนั้น พระราชาทรงไว้วาง
ใจในเสวกนั้น คือทรงกระทำความคุ้นเคย ไม่ต้องรักษา ไม่ต้องปกปิดความ
ลับของพระองค์ ย่อมทรงเปิดเผย.

417