No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 398 (เล่ม 64)

สกาชื่อพหุลรทราบว่ามี ๔ แต้ม ลูกบาศก์สกาชื่อสันติ-
ภัทรทราบว่า มี ๒ แต้ม และกระดานสกานั้น ท่าน
ผู้รู้ประกาศว่ามี ๒๔ ตา.
พระราชาครั้นทรงขับเพลงสกาแล้ว ทรงพลิกลูกบาศก์ด้วยพระหัตถ์
โยนขึ้นไปในอากาศ ด้วยอานุภาพแห่งปุณณกยักษ์ ลูกบาศก์จะยังพระราชา
ปราชัย ย่อมตกลงไม่ดี. พระราชทรงฉลาดในศิลปศาสตร์สกา เมื่อทราบว่า
ลูกบาศก์หมุนตกลงจะทำพระองค์ให้ปราชัย ทรงรับไว้เสียก่อนในอากาศ ทรง
จับโยนขึ้นไปใหม่ในอากาศ. แม้ครั้งที่ ๒ ก็ทรงทราบลูกบาศก์ตกลงจะทำให้
พระองค์ปราชัย จึงทรงรับไว้อย่างนั้นเหมือนกัน. ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์ดำริ
ว่า พระราชาองค์นี้เล่นสกากับยักษ์ผู้เช่นเรา ยังมายื่นมือรับลูกบาศก์อัน
กำลังตกลงไว้ได้ นี่เพราะเหตุอะไรหนอ เมื่อทราบว่าเพราะอานุภาพของ
อารักขเทวดาแล้ว จึงถลึงตาดูอารักขเทวดานั้น แสดงดุจดังว่าโกรธ. อารักข-
เทวดาพอปุณณกยักษ์เพ่งดูเท่านั้น ก็สะดุ้งกลัว วิ่งหนีไปถึงที่สุดเขาจักรวาล
ได้ยืนแอบตัวสั่นอยู่รัว ๆ. พระราชา ทรงโยนลูกบาศก์ขึ้นไปครั้งที่ ๓ แม้จะ
ทรงทราบว่า ลูกบาศก์ตกลงแล้วจะทำพระองค์ให้ปราชัยก็หาสามารถจะทรง
เหยียดพระหัตถ์ออกรับไว้ได้ไม่ เพราะอานุภาพแห่งปุณณกยักษ์. ลูกบาศก์นั้น
ตกลงไม่ดี ยังพระราชาให้ปราชัย. ลำดับนั้นปุณณกยักษ์ทราบว่า ท้าวเธอ
ทรงปราชัย มีใจยินดีตบมือหัวเราะด้วยเสียงอันดัง ๓ ครั้งว่า ข้าพเจ้าชนะแล้ว
ข้าพเจ้าชนะแล้ว ข้าพเจ้าชนะแล้วดังนี้. เสียงนั้นได้แผ่ไปทั่วชมพูทวีป.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความนั้นจึงตรัสพระคาถาว่า
พระราชาของกุรุรัฐและปุณณกยักษ์ ผู้มัวเมาใน
การเล่นสกาเข้าไปสู่โรงเล่นสกาแล้ว พระราชทรง
เลือกได้ลูกบาศก์ ที่มีโทษ ทรงปราชัย ส่วนปุณณก-

398
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 399 (เล่ม 64)

ยักษ์ชนะ พระราชาและปุณณกยักษ์ทั้งสองนั้น เมื่อ
เจ้าพนักงานเอาสกามารวมพร้อมแล้ว ได้เล่นสกากัน
อยู่ในโรงสกานั้น ปุณณกยักษ์ได้ชัยชนะ พระราชา
ผู้แกล้วกล้าประเสริฐกว่านรชน ท่านกลางพระราชา
๑๐๑ พระองค์ และพยานที่เหลือ เสียงบันลือลั่นได้มี
ขึ้น ในสนามสกานั้น ๓ ครั้ง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาวิสุํ ความว่า เข้าไปในโรงสกา.
บทว่า วิจินํ ความว่า พระราชา ทรงเลือกใน ๒๔ ตา ได้ยึดในทางที่มี
โทษ คือยึดเอาทางปราชัย. บทว่า กฏมคฺคหิ ความว่า ส่วนปุณณกยักษ์
ยึดเอาชัยชนะ พระราชากับปุณณกยักษ์ทั้งสองนั้น เมื่อเจ้าพนักงานเอาสกามา
พร้อมกันในโรงเล่นสกานั้น ท่านทั้งสองได้เล่นสกาแล้ว. บทว่า รญฺญํ ความ
ว่า ครั้นปุณณกยักษ์นั้น ชนะพระราชา ผู้แกล้วกล้าประเสริฐกว่านรชนใน
ท่ามกลางแห่งพระราชา ๑๐๑ และท่านผู้เป็นสักขีพยานที่เหลือ. บทว่า ตตฺถปฺ-
ปนาโท ตุมุโล พภูว ความว่า เสียงบันลือลั่นได้มีขึ้นในมณฑลสกานั้น
๓ ครั้งว่า ขอพระองค์จงทราบความที่พระราชาทรงปราชัยแล้ว ข้าพเจ้าชนะ
แล้ว ข้าพเจ้าชนะแล้ว ข้าพเจ้าชนะแล้ว.
พระราชา ครั้นทรงปราชัยแล้ว ทรงเสียพระทัยเป็นกำลัง. ลำดับ
นั้นปุณณกยักษ์เมื่อจะปลอบโยนท้าวเธอให้เบาพระทัย จึงทูลเป็นคาถาว่า
ข้าแต่พระมหาราชา เราทั้งสองผู้พยายามเล่น
สกา ความชนะและความแพ้ย่อมมีแก่คนใดคนหนึ่ง
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชน ข้าพระองค์ชนะพระองค์
ด้วยทรัพย์อันประเสริฐแล้ว ข้าพระองค์ชนะแล้ว ขอ
พระองค์ทรงพระราชทานเสียเร็ว ๆ เถิด.

399
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 400 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อายูหตํ ความว่า บรรดาเราทั้งสองผู้
พยายามเล่นสกา ความชนะและความแพ้ย่อมมีแก่คนใดคนหนึ่งเป็นธรรมดา
เพราะฉะนั้น ท่านอย่าคิดว่า เราเป็นผู้แพ้แล้ว. บทว่า ฆินฺโนสิ๑ ความว่า
ท่านเป็นผู้เสื่อมแล้ว. บทว่า วรนฺธเนน แปลว่า ด้วยทรัพย์อันประเสริฐ.
บทว่า ขิปฺปมาวากโรหิ ความว่า ขอพระองค์โปรดพระราชทานทรัพย์สำหรับ
เป็นค่าชัยชนะโดยฉับพลันเถิดพระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะตรัสกะปุณณกยักษ์ว่า จงรับเอาซิ พ่อ
จึงตรัสพระคาถาว่า
ดูก่อนท่านกัจจานะ ช่าง ม้า โค แก้วมณี
กุณฑล และแก้วอันประเสริฐกว่าทรัพย์ทั้งหลายมีอยู่
ในแผ่นดินของเรา ท่านจงรับเอาเถิด เชิญขนเอาไป
ตามปรารถนาเถิด.
ปุณณกยักษ์กราบทูลว่า
ช้าง ม้า โค แก้วมณี กุณฑล และแก้วอื่นใด
ที่มีอยู่ในแผ่นดินของพระองค์ บัณฑิตมีนามว่าวิธุระ
เป็นแก้วมณีอันประเสริฐกว่าทรัพย์เหล่านั้น ข้าพระ-
องค์ชนะพระองค์แล้ว โปรดพระราชทานวิธุรบัณฑิต
แก่ข้าพระองค์เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส เม ชิโต ความว่า ข้าพระองค์ก็
ชนะพระองค์แล้ว ผู้เป็นรัตนะอันสูงสุด และพระองค์ก็เป็นผู้ประเสริฐกว่ารัตนะ
ทั้งปวง เพราะฉะนั้น เป็นอันชื่อว่า ข้าพระองค์ชนะพระองค์แล้ว พระองค์
โปรดจงทรงพระราชทานวิธุรบัณฑิตแก่ข้าพระองค์เถิด.
๑. บาลีเป็น ชินฺโนสิ- ท่านเป็นผู้ชนะแล้ว.

400
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 401 (เล่ม 64)

พระราชาตรัสพระคาถาว่า
วิธุรบัณฑิตนั้นเป็นตัวของเรา เป็นที่พึ่งเป็นคติ
เป็นเกาะ เป็นที่เร้น และเป็นที่ไปในเบื้องหน้าของเรา
ท่านไม่ควรจะเปรียบวิธุรบัณฑิตนั้นกับทรัพย์ของเรา
วิธุรบัณฑิตนั้นเช่นกับชีวิตของเรา คือ เป็นตัวเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตา จ เ ม โส ความว่า ก็วิธุร-
บัณฑิตนั้น ชื่อว่าเป็นตัวของเรา และเราได้พูดแล้วว่า เว้น ตัวเรา เศวตฉัตร
และอัครมเหสีเสีย นอกนั้นเราให้แก่ท่าน เพราะเหตุนั้น ท่านอย่ายึดวิธุร-
บัณฑิตนั้นไว้ และวิธุรบัณฑิตนั้นไม่ใช่เพียงแต่เป็นตัวของเราอย่างเดียว โดย
ที่แท้วิธุรบัณฑิตนั้น ทั้งเป็นที่พึ่ง เป็นคติ เป็นเกาะ เป็นที่เร้น และเป็นที่
ไปในเบื้องหน้าของเราอีกด้วย. บทว่า อสนฺตุเลยฺโย มม โส ธเนน
ความว่า ท่านไม่ควรเปรียบวิธุรบัณฑิตกับด้วยทรัพย์ ๗ ประการของเรา.
ปุณณกยักษ์กล่าวคาถาว่า
การโต้เถียงกันของข้าพระองค์และของพระองค์
จะพึงเป็นการช้านาน ขอเชิญเสด็จไปถามวิธุรบัณฑิต
กันดีกว่า ให้วิธุรบัณฑิตนั้นแลชี้แจงเนื้อความนั้น
วิธุรบัณฑิตจักกล่าวเท่าใด คำนั้นจงเป็นอย่างนั้นแก่
เราทั้งสอง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวรตุ เอตมตฺถํ ความว่า ขอวิธุร-
บัณฑิตนั้นนั่นแล จงประกาศว่า ท่านเป็นตัวของท่านหรือไม่. บทว่า โหตุ
กถา อุภินฺนํ ถ้อยคำที่วิธุรบัณฑิตนั่นแล จงเป็นประมาณแก่เราทั้งสอง.
พระราชาตรัสพระคาถาว่า
ดูก่อนมาณพ ท่านพูดจริงแต่ทีเดียวและไม่ผลุน
ผลัน เราถามวิธุรบัณฑิตกันเถิดนะ เราทั้งสองจงยินดี

401
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 402 (เล่ม 64)

ตามคำที่วิธุรบัณฑิตพูดนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น จ มาณว สาหสํ ความว่า ท่าน
อย่าใช้คำอำนาจกล่าวคำผลุนผลันออกไป.
ก็แลพระราชาครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ทรงร่าเริงพระทัยพาพระราชา
๑๐๑ พระองค์ และปุณณกยักษ์เข้าไปโรงธรรมสภาโดยเร็ว. วิธุรบัณฑิตลง
จากอาสนะถวายบังคมพระราชาแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น
ปุณณกยักษ์เจรจาปราศรัยกะพระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่บัณฑิต เกียรติศัพท์ของ
ท่านได้ปรากฏไปในสากลโลกว่า ท่านตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่พูดเท็จแม้เพราะ
เหตุแห่งชีวิตเช่นนี้ ก็ข้าพเจ้าจักทราบความที่ท่านเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรมได้ใน
วันนี้แล แล้วกล่าวคาถาว่า
เทวดาทั้งหลายย่อมรู้จักอำมาตย์ในแคว้นกุรุรัฐ
ชื่อวิธุรบัณฑิตผู้ตั้งอยู่ในธรรม จริงหรือ การบัญญัติ
ชื่อว่าวิธุระในโลกนั้น ท่านเป็นอะไร คือเป็นทาส
หรือเป็นพระประยูรญาติของพระราชา.
ในคาถานั้น ข้าพเจ้าขอถามว่าเทวดาทั้งหลายเรียก คือกล่าวประกาศถึง
ท่านวิธุระ. ผู้เป็นอำมาตย์ผู้ตั้งอยู่ในธรรมแห่งแคว้นกุรุอย่างนี้ว่า อำมาตย์ชื่อว่า
วิธุระผู้ตั้งอยู่ในธรรม ไม่พูดมุสาวาทแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต. เทพเหล่านั้น
เมื่อทราบชัดอย่างนี้ จึงได้กล่าวแต่คำสัตย์ หรือว่าเทพเหล่านั้นพูดแต่ความ
ไม่เป็นจริงเท่านั้นแล. บทว่า วิธุโรติ สํขฺยํ กตโมสิ โลเก ความว่า
ชื่อของท่านปรากฏอยู่ในโลกว่าวิธุระ ท่านประกาศเป็นไฉน คือเป็นทาสเป็น
คนชนต่ำ หรือเป็นเสมอ หรือยิ่งกว่า หรือเป็นพระประยูรญาติของพระราชา
คำที่เราถามมาแล้วนี้ท่านจงบอกแก่เราก่อนว่า ท่านเป็นทาส หรือเป็นพระ
ประยูรญาติของพระราชา.

402
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 403 (เล่ม 64)

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ดำริว่า มาณพนี้ถามเราอย่างนี้ เราจะบอก
เขาว่าเราเป็นญาติของพระราชา เราเป็นคนสูงกว่าพระราชา หรือไม่ได้เป็น
อะไรเลยของพระราชาเช่นนี้ก็ได้เหมือนกัน แต่ว่าชื่อว่าที่พึ่งในโลกนี้ จะเสมอ
ด้วยคำจริงย่อมไม่มี เราควรจะพูดคำจริงเท่านั้น เพื่อจะแสดงว่า ข้าพเจ้าไม่
ได้เป็นพระประยูรญาติของพระราชา และมิได้เป็นคนสูงกว่าพระราชา แต่ว่า
ข้าพเจ้าเป็นทาสคนใดคนหนึ่งแห่งทาส ๔ จำพวก จึงกล่าว ๒ คาถาว่า
ในหมู่นรชน ทาสมี ๔ จำพวกคือ ทาสครอก
จำพวก ๑ ทาสไถ่จำพวก ๑ ทาสที่ยอมตัวเป็นข้าเฝ้า
จำพวก ๑ ทาสเชลยจำพวก ๑ แม้ข้าพเจ้าก็เป็นทาส
โดยกำเนิดแท้ทีเดียว ความเจริญก็ตาม ความเสื่อมก็
ตาม จะมีแก่พระราชา แม้ข้าพเจ้าจะไปยังที่อื่น ก็
คงเป็นทาสของสมมติเทพนั่นเอง ดูก่อนมาณพ พระ
ราชาเมื่อจะพระราชทานข้าพเจ้าให้เป็นค่าพนันแก่ท่าน
ก็พึงพระราชทานโดยชอบธรรม.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อามายทาสา ได้แก่ ทาสที่เกิดในท้อง
ของนางทาสีผู้มีสามีเป็นทาส. บทว่า สยํปิ เหเก อุปยนฺติ ทาสา ความ
ว่า คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เกิดมาเป็นคนใช้เขาทั้งหมดนั้น ชื่อว่า ทาสผู้เข้า
ถึงความเป็นทาสเอง. บทว่า ภยา ปนุนฺนา ความว่า คนผู้เป็นเชลยถูก
ไล่ออกจากที่อยู่ของตน โดยราชภัยหรือโจรภัยแม้ไปสู่แดนแห่งข้าศึก ก็ชื่อ
ว่าเป็นทาสเหมือนกัน . บทว่า อทฺธา หิ โยนิโต อหํปิ ทาโส ความว่า
ดูก่อนมาณพ แม้เราก็เป็นทาสเกิดจากกำเนิดทาสเอง รวมอยู่ในกำเนิดทาส
๔ จำพวกโดยส่วนเดียวแท้ๆ. บทว่า ภโว จ รญฺโญ อภโว จ ความว่า
ความเจริญหรือความเสื่อม จงมีแก่พระราชาก็ตาม ข้าพเจ้าไม่สามารถจะพูด

403
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 404 (เล่ม 64)

เท็จได้เลย. บทว่า ปรํปิ ความว่า ข้าพเจ้าแม้ไปสู่ที่ไกล ก็ต้องเป็นทาส
ของสมมติเทพอยู่ตามเดิม. บทว่า ทชฺชา ความว่า พระราชาทอดทิ้งข้าพเจ้า
เพราะทรัพย์ในการชนะแล้ว ประทานข้าพเจ้าเป็นค่าพนันแก่ท่าน จึงพึง
พระราชทานโดยธรรม คือ โดยความเป็นจริงนั่นเอง.
ปุณณกยักษ์ได้ยินดังนั้น ก็ยินดีร่าเริงปรบมืออีก แล้วกล่าวคาถาว่า
วันนี้ ความชนะได้มีแก่ข้าพระองค์เป็นครั้งที่ ๒
เพราะว่าวิธุรบัณฑิตผู้เป็นปราชญ์ อันข้าพระองค์ถาม
แล้ว ได้ชี้แจงปัญหาอย่างแจ่มแจ้ง พระราชาผู้ประ-
เสริฐไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรมหนอ ไม่ทรงยอมให้วิธุร-
บัณฑิตแก่ข้าพระองค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราชเสฏฺโฐ ความว่า พระราชาผู้
ประเสริฐนี้ ไม่ทรงตั้งอยู่ในธรรมหนอ. บทว่า สุภาสิตํ ความว่า อัน
วิธุรบัณฑิตกล่าวดีแล้ว คือวินิจฉัยดีแล้ว. บทว่า นานุชานาสิ มยฺหํ ความ
ว่า ปุณณกยักษ์กล่าวว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ยอมให้ข้าพเจ้าได้รู้จักกับ
วิธุรบัณฑิต ท่านไม่ให้เพื่ออะไร.
พระราชา ได้ทรงสดับดังนั้น ทรงโทมนัสว่า วิธุรบัณฑิตนี้ ไม่
เห็นแก่ผู้มีอุปการะคุณ ผู้ให้ลาภให้ยศเช่นเรา เห็นแก่มาณพที่พึงเห็นกันเดี๋ยวนี้
แล้วทรงพระพิโรธแก่พระมหาสัตว์ ตรัสกะปุณณกยักษ์ว่า แน่ะมาณพ ถ้า
วิธุรบัณฑิตเป็นทาส ท่านจงเอาเขาไปเสีย ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า
ดูก่อนกัจจานะ ถ้าวิธุรบัณฑิตชี้แจงปัญหาแก่เรา
ทั้งหลายอย่างนี้ว่า เราเป็นทาส เราหาได้เป็นญาติไม่
ท่านจงรับเอาวิธุรบัณฑิต ผู้เป็นทรัพย์อันประเสริฐกว่า
ทรัพย์ทั้งหลาย พาไปตามที่ท่านปรารถนาเถิด.

404
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 405 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวญฺจ โน โส วิวเรตฺถ ปญฺหํ
ความว่า ถ้าวิธุรบัณฑิตเปิดเผยปัญหาอย่างนี้ว่า เราเป็นทาสหาได้เป็นญาติไม่
เลย ขอท่านจงรับเอาวิธุรบัณฑิตผู้เป็นแก้วอันประเสริฐ กว่าทรัพย์ทั้งหลาย
พาไปตามปรารถนาในบริษัทมณฑลของท่านเถิด.
จบอักขขัณฑกัณฑ์
ก็แลพระราชา ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงทรงพระดำริว่า มาณพลักพา
วิธุรบัณฑิตไปตามชอบใจ นับตั้งแต่วันที่เธอจากไป ยากที่เราจะได้ฟัง
ธรรมกถาอันไพเราะ ถึงอย่างไรเราควรขอให้เธอพักอยู่ในถิ่นของตน ถาม
ปัญหาในฆราวาสธรรมเสียก่อน ลำดับนั้นท้าวเธอทรงอาราธนาพระมหาสัตว์
นั้นอย่างนี้ว่า ข้าแต่บัณฑิต เมื่อท่านจากไปแล้ว ยากที่ข้าพเจ้าจักได้ฟัง
ธรรมกถาอันไพเราะ ขอท่านพักอยู่ในถิ่นของตนเองก่อน เชิญนั่งบนธรรมาสน์
อันประดับแล้วแสดงปัญหาในฆราวาสธรรมแก่ข้าพเจ้า ณ บัดนี้ พระมหาสัตว์
รับพระบรมราชโองการว่า ดีละ พระเจ้าข้า แล้วนั่งบนธรรมาสน์ที่ประดับ
แล้ว วิสัชนาปัญหาที่พระราชาตรัสถาม ปัญหาคาถาในฆราวาสธรรมนั้น
มีดังต่อไปนี้.
ท่านวิธุรบัณฑิต คฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือนจะพึงมี
ความประพฤติอันปลอดภัยได้อย่างไร จะพึงมีความ
สงเคราะห์ได้อย่างไร จะพึงมีความไม่เบียดเบียนได้
อย่างไร และอย่างไรมาณพจึงจะชื่อว่ามีปกติกล่าวคำ
สัตย์ จากโลกนี้ไปยังโลกหน้าแล้วจะไม่เศร้าโศกได้
อย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เขมา วุตฺติ กถํ อสฺส ความว่า
คฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือน จะพึงประพฤติตนให้ปลอดภัยได้อย่างไร. บทว่า

405
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 406 (เล่ม 64)

กถนฺน อสฺส สงฺคโห ความว่า อย่างไรหนอ เขาจะพึงมีการสงเคราะห์
กล่าวคือ สังคหวัตถุ ๔ ประการใด. บทว่า อพฺยาปชฺฌํ แปลว่า ความ
เป็นผู้ปราศจากทุกข์. บทว่า สจฺจวาที จ ความว่า ก็อย่างไร มาณพจะพึง
ชื่อว่ากล่าวแต่คำสัตย์. บทว่า เปจฺจ แปลว่าไปสู่ ปรโลก.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความข้อนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
วิธุรบัณฑิตผู้มีคติ มีความเพียร มีปัญญาเห็น
อรรถธรรมอันสุขุม กำหนดรู้ธรรมทั้งปวง ได้กราบทูล
พระราชาในโรงธรรมสภานั้นว่า ผู้ครองเรือนไม่ควร
คบหญิงสาธารณะเป็นภริยา ไม่ควรบริโภคอาหารมีรส
อร่อยแต่ผู้เดียว ไม่ควรซ่องเสพถ้อยคำอันให้ติดอยู่ใน
โลก ไม่ให้สวรรค์และนิพพาน เพราะถ้อยคำเช่นนั้น
ไม่ทำให้ปัญญาเจริญได้เลย ผู้ครองเรือนพึงเป็นผู้มีศีล
สมบูรณ์ด้วยวัตร ไม่ประมาท มีปัญญาเครื่องสอดส่อง
เหตุผล มีความประพฤติถ่อมตน ไม่พึงเป็นคนตระหนี่
เหนียวแน่น เป็นผู้สงบเสงี่ยม มีวาจาน่าคบเป็นสหาย
อ่อนโยน ผู้ครองเรือนพึงเป็นผู้สงเคราะห์มิตร จำแนก
แจกทาน รู้จักจัดทำ พึงบำรุงสมณพราหมณ์ด้วย
ข้าวน้ำทุกเมื่อ ผู้ครองเรือนพึงเป็นผู้ใคร่ต่อธรรม จำ
ทรงอรรถธรรมที่ได้สดับมาแล้ว หมั่นไต่ถาม พึงเข้า
ไปหาท่านผู้มีศีล เป็นพหูสูตโดยเคารพ คฤหัสถ์ผู้
ครองเรือนจะพึงมีความประพฤติอันปลอดภัยได้อย่างนี้
จะพึงมีความสงเคราะห์ได้อย่างนี้ จะพึงมีความไม่

406
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 407 (เล่ม 64)

เบียดเบียนกันได้อย่างนี้ และมาณพพึงปฏิบัติอย่างนี้
จึงจะชื่อว่ามีปกติกล่าวคำสัตย์ จากโลกนี้แล้วไปยัง
โลกหน้า จะไม่เศร้าโศกด้วยอาการอย่างนี้ พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตํ ตตฺถ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
วิธุรบัณฑิตได้แสดงฆราวาสธรรมถวายพระราชาในโรงธรรมสภานั้น. บทว่า
คติมา ความว่า ชื่อว่า ผู้มีคติด้วยญาณคติอันประเสริฐ. บทว่า ธิติมา ได้แก่
ผู้มั่นคงเพราะมีความเพียรไม่ขาดสาย. บทว่า มติมา ความว่า ชื่อว่า ผู้มีปัญญา
เพราะมีปัญญาอันไพบูลย์เสมอด้วยแผ่นดิน. บทว่า อตฺถทสฺสินา ความว่า
ชื่อว่า ผู้เห็นอรรถด้วยญาณอันเห็นอรรถอันละเอียดสุขุม. บทว่า สงฺขาตา
ความว่า วิธุรบัณฑิต กำหนดรู้ธรรมได้ทั้งหมดด้วยปัญญา คือญาณเครื่องรู้
แล้ว กราบทูลคำมีอาทิว่า อย่าคบหาภริยาอันสาธารณะ ในฆราวาสธรรมนั้น
ผู้ใดผิดภรรยาของชนเหล่าอื่น ผู้นั้นชื่อว่ามีภริยาเป็นสาธารณะ ผู้เช่นนั้น
อย่าพึงมีภริยาอันเป็นสาธารณะเลย. บทว่า สาธุเมกโก ความว่า ผู้อยู่
ครองเรือน ไม่ให้โภชนะอันประณีตมีรสอร่อยแก่ชนเหล่าอื่น ไม่พึงบริโภค
แต่ผู้เดียว. บทว่า โลกายติกํ ความว่า ไม่ควรซ่องเสพวาทะอันเกี่ยวใน
ทางหายนะ อันเป็นคำพูดให้เขาหลงเชื่อ ไม่อาศัยประโยชน์ ไม่เป็นทางให้
ไปสวรรค์. บทว่า เนตํ ปญฺญาย วฑฺฒนํ ความว่า ก็ข้อนั้น เป็นทาง
ทำโลกให้ปั่นป่วน ไม่ทำให้ปัญญาเจริญ. บทว่า สีลวา ได้แก่ ประกอบ
ด้วยศีล ๕ ข้อ ไม่ขาด. บทว่า วตฺตสมฺปนฺโน ความว่า ผู้อยู่ครอบครอง
เรือน ต้องเข้าถึงความประพฤติอนุวัตรตามพระราชา. บทว่า อปฺปมตฺโต
ความว่า เป็นผู้ไม่ประมาทในกุศลธรรม. บทว่า นิวาตวุตฺติ ความว่า ไม่
กระทำความเย่อหยิ่งประพฤติตนตกต่ำ รับโอวาทานุศาสนี. บทว่า อตฺถทฺโธ

407