No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 388 (เล่ม 64)

บทว่า สนฺธิพฺยูฬเห๑ ได้แก่ ที่ต่อแห่งเรือน และตรอกน้อย. บพว่า
นิพฺพิทฺธวีถิโย ได้แก่ ถนนใหญ่.
ขอเชิญทอดพระเนตรโรงขายสุรา นักเลงสุรา
พ่อครัว โรงครัว พ่อค้า และหญิงแพศยา อันธรรม-
ดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตร
ช่างดอกไม้ ช่างย้อม ช่างปรุงของหอม ช่างทอผ้า
ช่างทอง และช่างแก้วอันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้ว
มณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตร ช่างของหวาน ช่าง
ของคาว นักมหรสพ บางพวกฟ้อนรำขับร้อง บาง
พวกปรบมือ บางพวกตีฉิ่ง อันธรรมดาสร้างสรรไว้
ในแก้วมณีดวงนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสณฺเฑ จ ความว่า โรงสุราอันประ-
กอบด้วยเครื่องประดับคอและเครื่องประดับหูอันสมควรแก่ตน และนักเลงสุรา
ผู้นั่งจัดแจงที่ดื่มสุรา. บทว่า อาฬาริเก แปลว่า พ่อครัว. บทว่า สูเท
แปลว่า ผู้ปรุงอาหาร. บทว่า ปาณิสฺสเร ความว่า ขับร้องด้วยการตบมือ.
บทว่า กุมฺภถูนิเก แปลว่า พวกตีฉิ่ง.
ขอเชิญทอดพระเนตรกลอง ตะโพน สังข์
บัณเฑาะว์ มโหรทึก และเครื่องดนตรีทุกอย่าง อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอด
พระเนตรเปิงมาง กังสดาล พิณ การฟ้อนรำขับร้อง
เครื่องดนตรีดีดสีตีเป่า อันเขาประโคมครึกครื้น อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอด
พระเนตรนักกระโดด นักมวยปล้ำ นักเล่นกล หญิง
๑. บาลีว่า สนฺธิพฺยูเห.

388
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 389 (เล่ม 64)

งาม ชายงาม คนเฝ้ายาม และช่างตัดผม อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมตาลํ ได้แก่ ตะโพน ที่ทำด้วยไม้
ตะเคียนเป็นต้นและกังสดาล. บทว่า ตุริยตาฬิตสํฆุฏฺฐํ ได้แก่ เครื่องดนตรี
ต่างๆ ที่เขาประโคมไว้อย่างครึกครื้นเป็นอันมาก. บทว่า มุฏฺฐิกา ได้แก่นก
มวยปล้ำ. บทว่า โสภิยา ได้แก่ หญิงงามเมือง และชายรูปงาม. บทว่า
เวตาลิเก ได้แก่ ผู้ทำกาลเวลาให้ปรากฏขึ้น. บทว่า ชลฺเล ได้แก่ ช่างตัด
ผมกำลังปลงผมและหนวดอยู่.
ในแก้วมณีดวงนี้ มีงามมหรสพอันเกลื่อนกล่น
ไปด้วยชายหญิง ขอเชิญทอดพระเนตรพื้นที่เป็นที่เล่น
มหรสพ บนเตียงที่ซ้อนกันเป็นชั้น ๆ อันธรรมดา
สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มญฺจาติมญฺเจ ได้แก่ เตียงที่ผูกไว้ข้างบน
แห่งเตียงใหญ่. บทว่า ภูมิโย ได้แก่ ภูมิที่แสดงมหรสพ อันน่ารื่นรมย์.
ขอพระองค์จงทอดพระเนตรดูพวกนักมวย ซึ่ง
ต่อยกันด้วยแขนทั้งสองอยู่ในสนามเล่นมหรสพ ทั้งผู้
ชนะและผู้แพ้ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณี
ดวงนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมชฺชสฺมึ แปลว่า ในสนามมวย.
บทว่า นีหเต แปลว่า ผู้กำจัด คือชนะตั้งอยู่. บทว่า นีหตมาเน แปลว่า
ผู้แพ้.
ขอเชิญทอดพระเนตรฝูงเนื้อต่าง ๆ เป็นอันมาก
ที่เชิงภูเขา คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง ช้าง หมี หมาใน

389
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 390 (เล่ม 64)

เสือดาว แรด โคลาน กระบือ ละมั่ง กว้าง เนื้อ
ทราย ระนาด วัว สุกรบ้าน ชะมด แมวป่า
กระต่าย และกระแต ซึ่งมีอยู่มากมายหลายหลาก
ขอเชิญทอดพระเนตรฝูงเนื้อต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่เกลื่อน-
กลาด อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปลสตา แปลว่า เนื้อแรด. บาลีว่า
พลสตา ดังนี้ก็มี. บทว่า ควชา แปลว่า โคลาน. บทว่า สรภา ได้แก่ เนื้อ
ชนิดหนึ่ง ระมาดและสุกรบ้าน. บทว่า พหู จิตฺรา ได้แก่ เนื้ออันวิจิตรโดย
ประการต่างๆ. บทว่า วิฬารา แปลว่า แมวป่า. บทว่า สสกณฺณกา
ได้แก่ กระต่ายและกระแต.
ในแก้วมณีดวงนี้ มีแม่น้ำอันมีท่า อันราบเรียบ
ลาดด้วยทรายทอง มีน้ำใสสะอาดไหลไปไม่ขาดสาย
เป็นที่อาศัยแห่งฝูงปลา อนึ่ง ในแม่น้ำนี้มีฝูงจระเข้
มังกร ปลาฉลาม เต่า ปลาสลาด ปลากระบอก
ปลากด ปลาเค้า ปลาตะเพียน ท่องเที่ยวไปมา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นชฺชาโย แปลว่า แม่น้ำ. บทว่า
โสวณฺณพากุลสณฺฐิตา ความว่า มีพื้นตั้งอยู่ราบเรียบลาดด้วยทรายทอง.
บทว่า กุมฺภิลา ความว่า สัตว์เหล่านี้ มีรูปเห็นปานนี้เที่ยวสัญจรไปมาใน
แม่น้ำ เชิญทอดพระเนตรสัตว์แม้เหล่านั้นที่ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีนี้.
เชิญทอดพระเนตร ขอบสระโบกขรณี อันก่อ
สร้างด้วยแผ่นแก้วไพฑูรย์ เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงนก
นานาชนิดดารดาษไปด้วยหมู่ไม้นานาพรรณ อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.

390
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 391 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬุริยผลกโรทาโย ความว่า ฝูงนก
ป่าพากันเคาะแผ่นหินอันล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ส่งเสียงร้องเพราะเสียง
แก้วมณีนั้น.
ขอเชิญทอดพระเนตรดูสระโบกขรณีในแก้วมณี
ดวงนี้ อันธรรมดาสร้างสรรไว้เรียบร้อยทั้ง ๔ ทิศ
เกลื่อนกล่นด้วยฝูงนกต่างชนิด เป็นที่อยู่อาศัยของ
ปลาใหญ่ ๆ ขอเชิญทอดพระเนตรแผ่นดิน อันมีน้ำ
ล้อมโดยรอบ เป็นกุณฑลแห่งสาครประกอบด้วยทิว
ป่า (เขียวขจี) อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุถุโลมจฺฉเสวิตา แปลว่า เป็นที่อยู่
อาศัยของฝูงปลา. บทว่า วนราเชภิ แปลว่า ด้วยทิวป่าเป็นดังเทริดประดับ.
อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
เชิญทอดพระเนตรบุพวิเทหทวีป อมรโคยาน
ทวีป อุตรกุรุทวีป และชมพูทวีป ขอเชิญทอดพระ-
เนตรสิ่งอัศจรรย์ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณี
ดวงนี้ พระเจ้าข้า ขอเชิญทอดพระเนตรพระจันทร์
และพระอาทิตย์ อันเวียนรอบสิเนรุบรรพต ส่องสว่าง
ไปทั่ว ๔ ทิศ ขอเชิญทอดพระเนตรสิ่งอัศจรรย์ อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอด
พระเนตรสิเนรุบรรพต หิมวันตบรรพต สมุทรสาคร
แผ่นดินใหญ่ และท้าวมหาราชทั้ง ๔ อันธรรมดา
สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตร
พุ่มไม้ในสวน แผ่นหินและเนินหินอันน่ารื่นรมย์เกลื่อน

391
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 392 (เล่ม 64)

กล่นไปด้วยพวกกินนร อันธรรมดาสร้างสรรไว้ใน
แก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรสวนสวรรค์ คือ
ปารุสกวัน จิตตลดาวัน มิสสกวันและนันทวัน ทั้ง
เวชยันตปราสาท อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณี
ดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรสุธรรมเทวสภา ต้นปาริ-
ฉัตตกพกฤษ์อันมีดอกแย้มบาน และพระยาช้าง
เอราวัณซึ่งมีอยู่ในดาวดึงส์พิภพ อันธรรมดาสร้างสรร
ไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรเถิด พระ-
เจ้าข้า ขอเชิญทอดพระเนตรดูเหล่านางเทพกัญญาอัน
ทรงโฉมล้ำเลิศ ดังสายฟ้าแลบออกจากกลีบเมฆเที่ยว
เล่นอยู่ในนันทวันนั้น อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้ว
มณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรเถิดพระเจ้าข้า ขอ
เชิญทอดพระเนตรเหล่าเทพกัญญาผู้ประเล้าประโลม
เทพบุตร อภิรมย์เหล่าเทพกัญญาอยู่ในนันทนวันนั้น
อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิเทเห ได้แก่ บุพวิเทหทวีป. บทว่า
โคยานิเย จ ได้แก่ อมรโคยานทวีป. บทว่า กุรุโย ชมฺพูทีปญฺจ ได้แก่
อุตรกุรุทวีปและชมพูทวีป. บทว่า อนุปริยายนฺเต ความว่า ซึ่งพระจันทร์
และพระอาทิตย์เหล่านั้น เวียนรอบภูเขาสิเนรุ. บทว่า ปาฏิเย ความว่า
หลังแผ่นหินดุจตั้งลาดไว้.
ขอเชิญทอดพระเนตรปราสาทมากกว่าพัน ใน
ดาวดึงส์พิภพ พื้นลาดด้วยแผ่นแก้วไพฑูรย์ มีรัศมี
รุ่งเรือง อันธรรมสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอ

392
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 393 (เล่ม 64)

เชิญทอดพระเนตรสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้น
ดุสิต ชั้นนิมมานรดี และชั้นปรนิมมิตวสวัสดี อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอด
พระเนตรสระโบกขรณีในสวรรค์ชั้นนั้น ๆ อันมีน่าใส
สะอาดดารดาษไปด้วยมณฑาลกะ ดอกปทุมและอุบล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปโรสทสฺสํ ความว่า ในปราสาทมาก
กว่าพัน ในภพชั้นดาวดึงส์.
ลายขาว ๑๐ แห่งอันน่ารื่นรมย์ใจ ลายเหลือง
อ่อน ๒๑ แห่ง ลายเหลืองขมิ้น ๑๔ แห่ง ลายสีทอง
๒๑ แห่ง ลายสีน้ำเงิน ๒๐ ลายสีแมลงค่อมทอง ๓๐
แห่ง มีปรากฏในแก้วมณีนี้ แก้วมณีดวงนี้มีลายดำ
๑๖ แห่ง และลายแดง ๒๕ แห่ง อันเจือด้วยดอกชะบา
วิจิตรด้วยนิลุบล ข้าแต่มหาราชผู้สูงสุดกว่าปวงชน
ขอเชิญทอดพระเนตรแก้วมณีดวงนี้ อันสมบูรณ์ด้วย
องค์ทั้งปวงมีรัศมีรุ่งเรืองผุดผ่องอย่างนี้ ผู้ใดจักชนะ
ข้าพระองค์ด้วยการเล่นสกา แก้วมณีดวงนี้ จักเป็น
ส่วนค่าพนันของผู้นั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทเสตฺถ ราชิโย ความว่า ลายขาว ๑๐
แห่ง มีอยู่ในแท่งแก้วมณีนั้น. บทว่า ฉ ปิงฺคลา ปณฺณรส แปลว่า ลายเหลือง
อ่อน ๒๑ แห่ง. บทว่า หลิทฺทา แปลว่า ลายเหลืองขมิ้น ๑๔ แห่ง. บทว่า
ตึสติ ความว่า ลายสีแมลงค่อมทอง ๓๐ แห่ง. บทว่า ฉ จ ความว่า ลาย
สีดำ ๑๖ แห่ง. บทว่า มญฺเชฏฺฐา ปญฺจวีสติ ความว่า โปรดทอดพระ-
เนตรลายสีแดง ๒๕ แห่ง. บทว่า มิสฺสา พนฺธุกปุปฺเผหิ ความว่า ขอจง

393
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 394 (เล่ม 64)

ทอดพระเนตรลายสีดำอันวิจิตร ลายสีแดงเจือด้วยดอกเหล่านั้นอันวิจิตร จริง
อยู่ในแก้วมณีนี้มีลายดำลายสีแดงเจือด้วยดอกชะบาวิจิตรด้วยดอกอุบลเขียว.
บทว่า โอธิสุงฺกํ แปลว่า เป็นส่วนค่าพนัน. ปุณณกยักษ์กล่าวว่า ผู้ชำนะเรา
ด้วยการเล่นสกา แก้วมณีนี้จะเป็นส่วนค่าพนันของผู้นั้น. ก็บาลีในอรรถกถาว่า
โหตุ สุงฺกํ มหาราช จงเป็นส่วยของพระมหาราช ดังนี้ก็มี คำนั้นมีอธิบาย
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า พระองค์จงทอดพระเนตร แก้วมณี
นี้คือเห็นปานนี้ ข้าแต่มหาราชเจ้า แก้วมณีนี้เป็นส่วยของข้าพระองค์ ผู้ใดชนะ
ข้าพระองค์ด้วยการเล่นสกา แก้วมณีนี้เป็นส่วยของผู้นั้น.
จบมณิกัณฑ์
ปุณณกยักษ์ ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
แม้ถ้าพระองค์ทรงชนะข้าพระองค์ด้วยสกาก่อน ข้าพระองค์จักถวายแก้วมณีนี้
แต่หากข้าพระองค์ชนะ พระองค์จะประทานอะไรแก่ข้าพระองค์. พระเจ้า
ธนัญชัยตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ยกเว้นตัวของเราและเศวตฉัตรกับพระมเหสีเสีย ของ
ที่เหลือซึ่งเป็นของ ๆ เรา เรายกให้เป็นส่วยสำหรับท่าน. ปุณณกยักษ์ทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ถ้าอย่างนั้น พระองค์อย่าชักช้าเลย เพราะข้าพระองค์
มาแต่ไกล โปรดให้จัดแจงโรงสกาเสียเถิด พระราชารับสั่งให้พวกอำมาตย์จัด
แจงแล้ว. อำมาตย์เหล่านั้นจัดแจงโรงเล่นสกาโดยเร็ว ปูพระที่นั่งด้วยเครื่อง
ลาดอันวิจิตรงดงามสำหรับพระราชา ตกแต่งอาสนะถวายพระราชาที่เหลือ และ
ตกแต่งอาสนะอันสมควรแก่ปุณณกยักษ์ เสร็จแล้วกราบบังคมทูลกำหนดกาล
แด่พระราชา.
ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์ได้กราบทูลพระราชาด้วยคาถาว่า

394
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 395 (เล่ม 64)

ข้าแต่พระมหาราชเจ้า กรรมในโรงเล่นสกา
สำเร็จแล้ว เชิญพระองค์ไปทรงเล่นสกา แก้วมณีเช่น
นี้ ของพระองค์ไม่มี เราพึงชนะกันโดยธรรม อย่า
ชนะกันโดยไม่ชอบธรรม ถ้าข้าพระองค์ชนะพระองค์
ไซร้ ขอพระองค์อย่าได้ทรงทำให้เนิ่นช้า.
คำเป็นคาถานั้นมีอธิบายว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า กรรมในโรงสกาถึงเข้าแล้ว
คือสำเร็จแล้ว แก้วมณีเช่นนี้นี่ ไม่มีแก่พระองค์ ขอพระองค์อย่าได้ทรงทำ
ให้เนิ่นช้า. บทว่า อุเปหิ ลกฺขํ ความว่า ขอพระองค์จงทรงเข้าไปสู่โรง-
สกา อันเป็นสถานที่เล่นด้วยสกาทั้งหลาย และเมื่อเล่น เราทั้งหลายพึงชนะ
กันโดยชอบธรรมเท่านั้น ความชนะจงมีแก่เราทั้งหลายโดยสงบเถิด ก็ถ้า
ข้าพระองค์พึงชนะไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้พระองค์จงอย่าชักช้าจงรีบกระทำทีเดียว
เพราฉะนั้นพระองค์ไม่พึงกระทำให้เนิ่นช้า พึงให้ทรัพย์ที่ข้าพระองค์ชนะแล.
ลำดับนั้นพระราชาจึงตรัสกะปุณณกยักษ์นั้นว่า ดูก่อนมาณพ ท่าน
อย่ากลัวเราว่าเป็นพระราชา ชัยชนะหรือปราชัยจักมีโดยธรรมเท่านั้น ความ
ชนะและแพ้ของเราจักมีโดยสงบ.
ปุณณกยักษ์ได้สดับดังนั้น จึงทูลว่า ขอพระองค์ทั้งหลายจงทรงทราบ
ความชนะและแพ้ของเราทั้งสองก็โดยธรรมเท่านั้น ดังนี้แล้ว เมื่อจะกระทำ
พระราชาเหล่านั้นให้เป็นพยานจึงกล่าวคาถาว่า
ข้าแต่พระสุรเสนผู้ปรากฏในกรุงปัญจาละ พระ-
เจ้ามัจฉราชและพระเจ้ามัททราช ทั้งพระเจ้าเกกกะราช
พร้อมด้วยชาวชนบท ขอจงทอดพระเนตรดู ข้าพเจ้า
ทั้งสองจะสู้กันด้วยสกา กษัตริย์ก็ดี พราหมณ์ก็ดี

395
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 396 (เล่ม 64)

ไม่ได้ทำสักขีพยานไว้แล้ว ย่อมไม่ทำกิจอะไร ๆ ใน
ที่ประชุม.
บรรดาบทเหล่านั้น ปุณณกยักษ์เรียกพระเจ้าปัญจาลราชนั่นแลว่า
ปัจจุคคตา เพราะเป็นผู้เลื่องชื่อคือผู้ปรากฏ ลือเด่น. บทว่า มจฺฉา จ
ความว่า ข้าแด่พระสหาย ก็พระองค์เป็นพระราชาในมัจฉรัฐ. บทว่า มทฺทา
ความว่า ข้าแต่พระเจ้ามัททราช. บทว่า สห เกกเกภิ ความว่า ข้าแต่พระเจ้า
วัตตมานเกกกะราชพระองค์พร้อมด้วยชาวชนบทชื่อเกกกะ อีกอย่างหนึ่ง
บัณฑิตวาง สห ศัพท์ ไว้หลังบทว่า เกกเกภิ และกระทำศัพท์ว่า ปจฺจุคฺคต
ให้เป็นบทวิเสสนะ ของบทว่า สูรเสน แล้วพึงทราบความในคาถานี้อย่างนี้ว่า
พระเจ้าสูรเสนมัจฉะผู้ปรากฏในแคว้นปัญจาละและพระเจ้ามัททะ พระเจ้าเกกกะ
และพระราชาที่เหลือพร้อมด้วยขาวชนบทชื่อว่า เกกกะ. บทว่า ปสฺสตุ โน เต
ความว่า ขอพระราชเหล่านั้นจงดูการต่อสู้กันเป็นคะแนนด้วยสกาของเราทั้ง
สอง. บทว่า โน ในบทว่า น โน สภายํ กโรนฺติ กญฺจิ นี้ เป็นเพียงนิบาต.
ความว่า กษัตริย์ทั้งหลายก็ดี พราหมณ์ทั้งหลายก็ดี ย่อมไม่กระทำใคร ๆ ให้
เป็นพยานในที่ประชุม แต่ย่อมกระทำตามธรรมเนียม เพราะฉะนั้น ปุณณกยักษ์
จึงได้กระทำยักษ์เสนาบดีให้เป็นพยานอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจักไม่ได้กล่าวว่า
เหตุอันไม่สมควรอะไรจะเกิดว่า ที่เราไม่ยอมรับฟัง เราไม่ยอมรับเห็น พวก
ท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด
ลำดับนั้น พระเจ้าธนัญชัยโกรพยราช มีพระราชา ๑๐๑ พระองค์
แวดล้อมเป็นบริวาร ทรงพาปุณณกยักษ์เสด็จเข้าสู่โรงเล่นสกา พระราชาแม้
ทั้งหมดและปุณณกยักษ์ต่างก็ประทับนั่งและนั่งบนอาสนะอันสมควรแล้ว. เจ้า
พนักงานก็ยกกระดานสกาที่ทำด้วยเงิน และลูกบาศก์ที่ทำด้วยทองมาตั้งลงใน
ท่ามกลาง. ฝ่ายปุณณกยักษ์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรง

396
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 397 (เล่ม 64)

ทอดสกาเร็ว ๆ ลูกบาศก์สกาทั้งหลายจัดเป็น ๒๔ ลูก มีชื่อว่า มาลี สาวดี พหุลี
และสันติภัทรเป็นต้น ในลูกบาศก์สกาเหล่านั้น ขอพระองค์ทรงถือลูกบาศก์
ลูกที่ชอบพระทัยของพระองค์เถิด. พระราชาตรัสว่า ดีละ แล้วทรงถือเอาลูก
บาศก์ที่ชื่อว่า พหุลี ปุณณกยักษ์ถือเอาลูกบาศก์ที่ชื่อว่า สาวดี ขณะนั้นพระ
ราชาตรัสกะปุณณกยักษ์ว่า ดูก่อนมาณพ ถ้ากระนั้นท่านจงทอดลูกสกาก่อน.
ปุณณกยักษ์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า วาระที่ข้าพระองค์จะทอดยังไม่
ถึง ขอพระองค์ทรงทอดก่อนเถิดพระเจ้าข้า. พระราชาทรงรับว่า ดีละ. ก็
อารักขเทวดาที่เคยเป็นพระชนนีของท้าวเธอในอัตภาพที่ ๓ มีอยู่ พระราชา
ทรงชนะด้วยสกา เพราะอานุภาพแห่งอารักขเทวดานั้น. อารักขเทวดานั้น
ได้สถิตอยู่ในที่ใกล้แห่งพระราชานั้น. พระราชาทรงระลึกถึงนางเทพธิดานั้น
เมื่อจะทรงทอดสกาจึงตรัสพระคาถาว่า
ข้าแต่มารดา ขอมารดาจงดูแลข้าพเจ้าด้วย
โปรดช่วยให้ความชนะปรากฏแก่ข้าพเจ้า ข้าแต่มารดา
ขอมารดาจงช่วยอนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้า เพราะเดชแห่ง
มารดา ความชนะมากจะมีแก่ข้าพเจ้า ลูกบาศก์ที่ทำ
ด้วยทองชมพูนุท ๔ เหลี่ยมจตุรัส กว้างและยาว ๘ นิ้ว
รุ่งเรืองอยู่ในท่ามกลางบริษัทดุจแก้วมณีมีรัศมีสว่าง
ไสว ที่ข้าพเจ้าจะทอดลง ณ บัดนี้ ขอให้พลิกขึ้นตาม
ใจหวัง ข้าแต่เทวดา จงให้ความชนะแก่ข้าพเจ้า จง
เห็นแก่ข้าพเจ้าผู้มีโภคสมบัติน้อย อันคนที่มารดาคอย
ช่วยอนุเคราะห์อยู่แล้ว ย่อมจะเห็นแต่ความเจริญทุก
เมื่อ ลูกบาศก์สกาชื่อมาลี ท่านกล่าวว่ามี ๘ แต้ม ลูก
บาศก์สกาชื่อสาวดี ท่านกล่าวว่ามี ๖ แต้ม ลูกบาศก์

397