No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 378 (เล่ม 64)

วพฺภฆนา ความว่า เปรียบเหมือนสายฟ้า ที่แลบออกจากกลีบเมฆ คือจาก
ภายในแห่งกลีบเมฆอันหนาทึบ. บทว่า ตํ เนสํ ททามิ ความว่า เราจะ
ให้ดวงหทัยของวิธุรบัณฑิตแก่พวกเขา ท่านจงรู้อย่างนี้. ปุณณกยักษ์เรียก
พระเจ้าลุงว่า อิสฺสร ผู้เป็นใหญ่.
ปุณณกยักษ์นั้น ท้าวเวสวัณยังไม่ทรงอนุญาต ก็ไม่อาจจะไปได้
จึงได้กล่าวคาถามีประมาณเท่านี้ เมื่อเขาทูลท้าวเวสวัณให้ทรงอนุญาต ด้วย
ประการฉะนี้ ส่วนท้าวเวสวัณ ไม่ทรงได้ยินถ้อยคำของปุณณกยักษ์นั้น มี
คำถามสอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร ท้าวเวสวัณ จึงไม่ทรงได้ยินถ้อยคำของ
ปุณณกยักษ์ ? แก้ว่า เพราะว่า ท้าวเวสวัณ กำลังตัดสินคดีของเทวบุตร
๒ องค์ เรื่องที่พิพาทกันด้วยวิมาน ปุณณกยักษ์ทราบว่า ท้าวเธอมิได้ยิน
ถ้อยคำของตน จึงไปยืนใกล้เทวบุตรผู้ชนะ ท้าวเวสวัณ ทรงตัดสินคดีแล้ว
บังคับเทวบุตร ผู้แพ้มิให้ลุกขึ้น ตรัสกะเทวบุตรผู้ชนะว่า ท่านจงไปอยู่ใน
วิมานของท่าน ในขณะที่ท้าวเวสวัณตรัสว่า ท่านจงไปดังนี้นั่นแล ปุณณก-
ยักษ์บอกเทวบุตร ๒-๓ องค์ ให้เป็นพยานว่า ท่านทั้งหลายจงทราบว่า
พระเจ้าลุงของเราส่งเราไป แล้วสั่งให้นำม้าสินธพมา เผ่นขึ้นม้าสินธพนั้น
เหาะไป โดยนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
ปุณณยักษ์นั้น ทูลลาท้าวกุเวรเวสวัณผู้เรืองยศ
เป็นใหญ่ในหมู่ยักษ์ แล้วไปสั่งบุรุษคนใช้ของตนผู้อยู่
ในที่นั้นว่า เจ้าจงเอาน้ำอาชาไนยที่ประกอบแล้วมา ณ
ที่นี้ ม้าสินธพนั้นมีหูทั้งสองประดับด้วยทองคำ กีบ
หุ้มด้วยแก้วแดง เครื่องประดับอกล้วนด้วยทองคำ
ชมพูนุทอันสุกใส ปุณณกยักษ์ผู้ประดับประดาแล้ว

378
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 379 (เล่ม 64)

แต่งผม และหนวดดีแล้ว ขึ้นม้าอันเป็นยานพาหนะ
ของเทวดา เหาะไปในอากาศกลางหาว
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อามนฺตย แปลว่า เรียกมาแล้ว.
ปุณณกยักษ์นั้น เหาะไปทางอากาศนั้นเองคิดว่า วิธุรบัณฑิตมีบริวาร
มาก เราไม่อาจจับเอาเธอได้ แต่ว่าพระเจ้าธนัญชัยโกรพยราช พอพระทัย
ในการทรงสกา เราชนะท้าวเธอด้วยสกาแล้ว จักจับเอาวิธุรบัณฑิต เออก็แก้ว
ในพระคลังข้างที่ ของท้าวเธอมีเป็นจำนวนมาก ท้าวเธอคงไม่ทรงสกาด้วย
แก้วที่เป็นของพนันมีค่าเล็กน้อย บุคคลผู้ชนะพระราชาได้ควรจะนำเอาแก้ว
มณีมีค่ามากมา พระราชาจักไม่ทรงรับแก้วชนิดอื่น แก้วมณีเป็นเครื่องใช้สอย
ของพระเจ้าจักรพรรดิราช มีอยู่ในระหว่างแห่งวิบุลบรรพตใกล้กรุงราชคฤห์
เราต้องเอาแก้วมณี ซึ่งมีอานุภาพมากนั้นมาโลมล่อพระราชาจึงจะชนะพระราชา
ได้ ปุณณกยักษ์ได้ทำอย่างนั้นแล้ว.
พระศาสดา เมื่อทรงประกาศความนั้น จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
ปุณณยักษ์นั้น ได้เหาะไปสู่กรุงราชคฤห์อันน่า
รื่นรมย์ยิ่งนัก เป็นนครของพระเจ้าอังคราช อันพวก
ข้าศึกไม่กล้าเข้าใกล้ มีภักษาหาร และข้าวน้ำมากมาย
ดังมสักกสารพิภพของท้าววาสวะ เป็นนครกึกก้องด้วย
หมู่นกยูงและนกกะเรียน อื้ออึงด้วยฝูงนกต่าง ๆ ชนิด
เป็นที่เสพอาศัยของฝูงทิชาชาติ มีนกต่าง ๆ ส่งเสียง
ร้องอยู่ อึงมี่ ภูมิภาคราบเรียบ ดารดาษไปด้วยบุปผ-
ชาติ ดังขุนเขาหิมวันต์ ปุณณกยักษ์นั้น ขึ้นสู่วิบุล-
บรรพตอันเป็นภูเขาศิลาล้วน เป็นที่อาศัยอยู่ของหมู่
กินนร เที่ยวแสวงหาแก้วมณีดวงประเสริฐอยู่ ได้เห็น
ดวงแก้วมณีนั้น ณ ท่ามกลางยอดภูเขา.

379
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 380 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า องฺคสส รญฺโญ ความว่า ในกาลนั้น
พระเจ้าอังคราช ได้ครองมคธรัฐ ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสไว้. บทว่า ทุราสทํ
ความว่า อันข้าศึกจะเข้าไปหาได้ยาก. บทว่า มสกฺกสารํ วิย วาสวสฺส
ความว่า ดุจพิภพแห่งท้าววาสวะ อันได้นามว่า มสักกสาระ เพราะสร้างไว้
ใกล้ภูเขาสิเนรุ กล่าวคือ มสักกสาระ. บทว่า ทิชาภิสํฆุฏฺฐํ ความว่า
เป็นที่อยู่กึกก้องลือลั่นไปด้วยฝูงนกอื่น ๆ. บทว่า นานาสกุณาภิรุทํ ความว่า
ฝูงนกนานาชนิด ส่งเสียงร้องด้วยเสียงอันไพเราะ เซ็งแซ่ อื้ออึงอยู่. บทว่า
สุวงฺคณํ ความว่า มีเนินอันสวยงาม มีภาคพื้นราบเรียบเป็นที่น่าฟูใจ. บทว่า
หิมวํวํ ปพฺพตํ แปลว่า เหมือนภูเขาหิมันต์. บทว่า วิปุลมาภิรุยฺห ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุณณกยักษ์นั้นขึ้นสู่วิบุลบรรพตเห็นปานนั้น. บทว่า
ปพฺพตกูฏมชฺเฌ ความว่า ได้เห็นแก้วมณีนั้นในระหว่างยอดแห่งภูเขา.
ปุณณกยักษ์ครั้นเห็นแก้วมณีมีรัศมีอันผุดผ่อง
เป็นแก้วมณีดีเลิศด้วยยศ รุ่งโรจน์โชติช่วงด้วยแก้วมณี
เป็นอันมาก สว่างไสวดังสายฟ้าแลบในอากาศ สามารถ
นำทรัพย์มาให้ดังใจหวัง แล้วถือเอาแก้วมโนหรจินดา
มีค่ามาก มีอานุภาพมากนั้น เผ่นขึ้นม้าสินพอาชาไนย
เหาะไปในอากาศกลางหาว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนาหรํ ความว่า สามารถนำทรัพย์มา
ได้ตามใจหวัง. บทว่า ททฺทลฺลมานํ แปลว่า รุ่งโรจน์ชัชวาล. บทว่า
ยสสา แปลว่า ด้วยหมู่แก้วมณีมีบริวารมาก. บทว่า โอภาสตี ความว่า
แก้วมณีนั้นสว่างไสว เหมือนสายฟ้าแลบในอากาศฉะนั้น. บทว่า ตมคฺคหี
ความว่า ได้ถือเอาแก้วมณีนั้น. บทว่า มโนหรนฺนาม ความว่า ได้นาม
อย่างนี้ว่า สามารถนำมาซึ่งทรัพย์ดังใจนึก.

380
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 381 (เล่ม 64)

ยักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า กุมภิระ มีพวกยักษ์กุมภัณฑ์แสนหนึ่งเป็นบริวาร
รักษาแก้วมณีนั้นอยู่ แต่กุมภิรยักษ์นั้น เมื่อปุณณกยักษ์ทำท่าโกรธถลึงตาดู
เท่านั้น ก็สะดุ้งกลัวตัวสั่นหนีไปแอบเขาจักวาลแลดูอยู่. ปุณณกยักษ์นั้นขับไล่
กุมภิรยักษ์ให้หนีไปแล้ว จึงถือเอาแก้วมณีเหาะไปโดยทางอากาศถึงนครนั้น.
พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า
ปุณณกยักษ์นั้น ได้เหาะไปยังอินทปัตตนคร
ลงจากหลังม้าแล้วเข้าไปสู่ที่ประชุมของชาวกุรุรัฐ ไม่
กลัวเกรงพระราชา ๑๐๑ พระองค์ ที่ประชุมพร้อม
เพรียงกันอยู่ ณ ที่นั้น กล่าวท้าทายด้วยสกาว่า บรรดา
พระราชาในราชสมาคมนี้ พระองค์ไหนหนอจะทรง
ชิงเอาแก้วอันประเสริฐ ของข้าพระองค์ได้ หรือว่า
ข้าพระองค์จะพึงชนะพระราชาพระองค์ไหน ด้วย
ทรัพย์อันประเสริฐ อนึ่ง ข้าพระองค์จะชิงแก้วอัน
ประเสริฐยิ่ง กะพระราชาพระองค์ไหน หรือพระราชา
พระองค์ไหนจะทรงชนะข้าพระองค์ด้วยทรัพย์อัน
ประเสริฐ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอรุยฺหุปาคญฺฉิ สภํ กุรูนํ ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุณณกยักษ์นั้นลงจากหลังม้าแล้ว พักม้าที่มีรูปอันใครไม่
เห็นแล้วเข้าไปสู่สภาแห่งชาวกุรุรัฐ ด้วยเพศแห่งมาณพน้อย. บทว่า เอกสตํ
ความว่า เป็นผู้ไม่เกรงกลัวพระราชา ๑๐๑ พระองค์ ได้กล่าวท้าทายด้วยสกา
โดยนัยมีอาทิว่า พระราชาพระองค์ไหนหนอ. บทว่า โกนีธ ความว่า พระราชา
พระองค์ไหนหนอในราชสมาคมนี้. บทว่า รญฺญํ ความว่า ในระหว่างพระราชา
ทั้งหลาย. บทว่า วรมาภิเชติ ความว่า พระราชาพระองค์ไหนที่จะชิงเอาแก้ว

381
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 382 (เล่ม 64)

อันประเสริฐของข้าพเจ้าได้ คืออาจกล่าวได้ว่าเราชนะดังนี้. บทว่า กมาภิเชยฺ-
ยาม ความว่า หรือว่า พวกเราจะพึงชนะใคร ?. บทว่า วรทฺธเนน แปลว่า
ด้วยทรัพย์อันสูงสุด. บทว่า กมนุตฺตรํ ความว่า ก็พวกเรา เมื่อจะชนะ
จงชนะทรัพย์อันประเสริฐกะพระราชาพระองค์ไหน ?. บทว่า โก วาปิ โน
เชติ ความว่า ก็หรือว่า พระราชาพระองค์ไหนจะชนะพวกเราด้วยทรัพย์อัน
ประเสริฐ ปุณณกยักษ์นั้น พูดเคาะพระเจ้าโกรพยราชนั่นแลด้วยบท ๔ บท
ด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น พระเจ้าโกรพยราชทรงพระดำริว่า ก่อนแต่นี้ เรายังไม่
เคยเห็นใครที่พูดกล้าหาญเช่นนี้ นี่จะเป็นใครหนอแล เมื่อจะรับสั่งถามจึง
ตรัสพระคาถาว่า
ชาติภูมิของท่านอยู่ในแว่นแคว้นไหน ? ถ้อยคำ
ของท่านนี้ ไม่ใช่ถ้อยคำของชาวกุรุรัฐเลย ท่านมิได้
กลัวเกรงเราทั้งปวง ด้วยรัศมีแห่งผิวพรรณ ท่านจง
บอกชื่อและพวกพ้องของท่านแก่เรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกรพฺยสฺเสว ความว่า ถ้อยคำของ
ท่าน ไม่ใช่ถ้อยคำของคนผู้อยู่ในแว่นแคว้นกุรุรัฐเลย.
ฝ่ายปุณณกยักษ์ได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า พระราชานี้ ย่อมถามชื่อของ
เราด้วย ทาสชื่อปุณณกะมีอยู่คนหนึ่ง ถ้าเราจะทูลบอกว่าชื่อปุณณกะไซร้
ท้าวเธอจักดูหมิ่นได้ว่า เพราะเหตุไรทาสจึงพูดกะข้าด้วยความคะนองอย่างนี้
อย่าเลย เราจักทูลบอกชื่อของเราในชาติอดีตเป็นลำดับแก่ท้าวเธอ แล้วกล่าว
คาถาว่า
ข้าแต่พระราชา ข้าพระองค์เป็นมาณพกัจจายน-
โคตร ชื่อปุณณกะ ญาติและพวกพ้องของข้าพระองค์

382
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 383 (เล่ม 64)

อยู่ในนครกาลจัมปากะ แคว้นอังคะย่อมเรียกข้าพระ-
องค์อย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ข้าพระองค์
มาถึงในนี้ด้วยต้องการจะเล่นพนันสกา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนูนนาโม ความว่า ได้กล่าวปกปิด
เฉพาะชื่อเต็มเท่านั้นโดยชื่อที่บกพร่องนั้น. บทว่า อิติ มาหุยนฺติ ความว่า
พวกญาติย่อมกล่าวย่อมเรียกข้าพเจ้าดังนี้. บทว่า องฺเคสุ ความว่า อยู่ใน
นครกาลจัมปากะ ในอังครัฐ. บทว่า อตฺเถน เทวสฺมิ ความว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระองค์มาถึงในที่นี้ด้วยประสงค์จะเล่นสกา.
ลำดับนั้น พระราชาเมื่อจะตรัสถามปุณณกยักษ์นั้นว่า ดูก่อนมาณพ
ท่านผู้ที่พระราชาชำนะด้วยสกา จักถวายอะไรแก่พระราชาท่านมีอะไรหรือ
จึงตรัสพระคาถาว่า
พระราชาผู้ทรงชำนาญการเล่นสกา เมื่อชนะ
ท่านจึงพึงนำเอาแก้วเหล่าใดไป แก้วเหล่านั้นของ
มาณพมีอยู่หรือ แก้วของพระราชามีอยู่จำนวนมาก
ท่านเป็นคนเข็ญใจ จะมาพนันกะพระราชาเหล่านั้นได้
อย่างไร.
คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ แก้วเหล่านั้นของมาณพผู้เจริญมีอยู่
หรือ. บทว่า เย ตํ ชินนฺโต ความว่า พระราชตรัสว่า ท่านผู้ชำนาญ
เล่นสกา เมื่อท่านชำนะเขาแล้ว ท่านกล่าวว่า จงนำมา ดังนี้แล้ว พึงนำไป
แต่แก้วเป็นอันมากมีอยู่ในพระนิเวศน์ของพระราชาทั้งหลาย ท่านเป็นคนจน
ท่านจะเอาทรัพย์เป็นค่าเดิมพันพนันกะพระราชาเหล่านั้น ผู้มีทรัพย์มากอย่างนี้
ได้อย่างไร ?
ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์ทูลว่า

383
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 384 (เล่ม 64)

แก้วมณีของข้าพระองค์ดวงนี้ ชื่อว่า สามารถนำ
ทรัพย์มาให้ได้ดังใจปรารถนา นักเลงเล่นสกาชนะ
ข้าพระองค์แล้ว พึงนำแก้วมณีดวงประเสริฐสามารถ
นำทรัพย์มาให้ได้ดังใจปรารถนา และม้าอาชาไนย
เป็นที่เกรงขามของศัตรูนี้ไป.
ก็ในบาลีโปตถกะ ท่านลิขิตไว้ว่า แก้วมณีของข้าพระองค์นี้ มีสีแดง
ก็แก้วมณีนั้นเป็นแก้วไพฑูรย์ เพราะฉะนั้นคำนี้แหละจึงสมกัน. บรรดาบท
เหล่านั้น. บทว่า อาชญฺญํ ความว่า นักเลงผู้ชำนาญเล่นสกาชนะแล้วพึงนำสิ่ง
ทั้งสองของเรานี้คือ ม้าอาชาไนยและแก้วมณีนี้ไป เพราะฉะนั้น ปุณณกยักษ์
เมื่อจะแสดงม้าจึงได้กล่าวอย่างนั้น.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้วจึงตรัสพระคาถาว่า
ดูก่อนมาณพ แก้วมณีดวงเดียวจักทำอะไรได้
อนึ่ง ม้าอาชาไนยตัวเดียวจักอะไรได้ แก้วของ
พระราชามีเป็นอันมาก ม้าอาชาไนยมีกำลังรวดเร็วดัง
ลมของพระราชามีมิใช่น้อย.
จบโทหฬินีกัณฑ์
ปุณณกยักษ์นั้นได้สดับพระดำรัสของพระราชาดังนั้นแล้ว จึงกราบทูล
ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เพราะเหตุไรพระองค์จึงตรัสดังนั้น ม้าของข้าพระองค์ตัว
เดียวเท่ากับม้าพันตัว แก้วมณีของข้าพระองค์ดวงเดียวเท่ากับแก้วพันดวง ม้า
ทั้งปวงจะเทียมเท่าม้าของข้าพระองค์ตัวเดียวหามิได้ ขอพระองค์ทอดพระเนตร
ดูความว่องไวของม้าตัวนี้ก่อน แล้วเผ่นขึ้นม้าขับไปโดยเบื้องบนแห่งกำแพง
พระนครที่กว้าง ๗ โยชน์ ได้ปรากฏประหนึ่งว่าม้าเอาคอจดกันเรียงล้อม

384
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 385 (เล่ม 64)

พระนคร ถ้าม้าวิ่งเร็วกว่าลำดับนั้นไปก็ไม่ปรากฏ. แม้ยักษ์ก็ไม่ปรากฏ มีแต่
ผ้าแดงคาดพุงเท่านั้น ได้ปรากฏดังผ้าแดงผืนเดียววงรอบพระนคร ปุณณกยักษ์
ลงจากหลังม้ากราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ทอดพระเนตรเห็นกำลัง
เร็วแห่งม้าแล้วหรือ เมื่อท้าวเธอตรัสบอกว่า เออมาณพเราเห็นแล้ว จึงกราบทูล
ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์จงทอดพระเนตรดูอีกในกาลบัดนี้ แล้วขับม้าไป
บนหลังน้ำในสระโบกขรณีที่อุทยานภายในพระนคร ม้าได้วิ่งไปมิได้ให้ปลาย
กีบเปียกเลย. ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์ให้ม้าวิ่งควบไปบนใบบัว ตบมือแล้ว
เหยียดมือออก ม้าวิ่งเผ่นมาหยุดอยู่ที่ฝ่ามือ. ลำดับนั้น ปุณณกยักษ์กราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งนรชน ม้าเห็นปานนี้ ควรจะจัดเป็นม้าแก้ว
หรือไม่พระพุทธเจ้าข้า เมื่อพระองค์ตรัสว่า ควรมาณพ จึงกราบทูลอีกว่า
ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ม้าแก้วยกไว้ก่อนเถิด พระองค์จงทอดพระเนตรดู
อานุภาพแห่งแก้วมณี ดังนี้แล้วเมื่อจะประกาศอานุภาพแห่งแก้วมณีนั้น จึง
กล่าวคาถาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้สูงสุดในทวีป ขอพระองค์จง
ทอดพระเนตรดูแล้วมณีของข้าพระองค์นี้ รูปหญิง
และรูปชาย รูปเนื้อและรูปนกมิใช่น้อย ย่อมปรากฏ
อยู่ในแก้วมณีนี้ หมู่เนื้อและหมู่นกต่างชนิด ย่อม
ปรากฏอยู่ในแก้วมณีนี้ พระยานาคและพระยาครุฑก็
ปรากฏอยู่ในแล้วมณีนี้ เชิญพระองค์ทอดพระเนตร
สิ่งที่น่าอัศจรรย์ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีนี้
พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตฺถีนํ ความว่า รูปหญิงมิใช่น้อย ที่
ประดับตกแต่งในแก้วมณีนั้น รูปชายก็เหมือนกัน หมู่เนื้อและนกมีประการ
ต่างๆ หมู่เสนาเป็นต้นย่อมปรากฏ เมื่อจะประกาศสิ่งเหล่านั้น จึงได้ทูลอย่างนั้น.

385
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 386 (เล่ม 64)

ด้วยบทว่า นิมฺมิตํ นี้ ปุณณกยักษ์กล่าวว่า ขอพระองค์จงทอดพระเนตร
ดูสิ่งอันน่าอัศจรรย์เห็นปานนี้อันธรรมดาสร้างไว้ในแก้วมณีนี้ เมื่อจะแสดงแม้
สิ่งอื่น ๆ อีกจึงกล่าวคาถาว่า
ขอพระองค์จงทอดพระเนตรจตุรงคินีเสนาคือ
กองช้าง กองม้า กองรถ และ กองเดินเท้าอันสวม
เกราะ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ เชิญ
ทอดพระเนตรพลทหารที่จัดไว้เป็นกรม ๆ คือกองช้าง
กองม้า กองรถ กองราบ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ใน
แก้วมณีดวงนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พลคฺคานิ แปลว่า กองพลนั้นเอง.
บทว่า วิยูหานิ ได้แก่ ตั้งด้วยอำนาจกระบวน.
ขอเชิญทอดพระเนตรพระนครอันสมบูรณ์ด้วย
ป้อม มีกำแพงและค่ายเป็นอันมาก มีถนนสามแพร่ง
สี่แพร่ง มีพื้นราบเรียบ อันธรรมดาสร้างสรรไว้ใน
แก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรเสาระเนียด เสา
เขื่อน กลอนประตู ซุ้มประตูกับประตู อันธรรมดา
สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุรํ แปลว่า พระนคร. บทว่า
อฏฺฏาลสมฺปนฺนํ ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยป้อมและเชิงเทิน. บทว่า พหุปาการ-
โตรณํ แปลว่า มีกำแพงรั้วค่ายอันสูง. บทว่า สีฆาฏเก แปลว่า ถนน
สี่แพร่ง. บทว่า สุภูมิโย ความว่า มีพื้นอันน่ารื่นรมย์วิจิตรด้วยอุปจารแห่ง
นคร. บทว่า เอสิกา ได้แก่เสาระเนียดที่ตั้งขึ้นที่ประตูพระนคร, บทว่า
ปลีฆํ ได้แก่ กลอนเหล็ก อีกอย่างหนึ่งบาลีก็อย่างนี้แล. บทว่า อคฺคฬานิ

386
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 387 (เล่ม 64)

ได้แก่ ประตูพระนครและหน้าต่าง. บทว่า อฏฺฏาลเก จ แปลว่า ซุ้ม
ประตู.
ขอเชิญทอดพระเนตรฝูงนก นานาชนิดมากมาย
ที่เขาค่ายและหนทาง คือ ฝูงหงส์ นกกะเรียน นกยูง
นกจากพราก และนกเขา อันธรรมดาสร้างสรรไว้ใน
แก้วมณีดวงนี้ ขอเชิญทอดพระเนตรพระนครอัน
เกลื่อนกล่น ไปด้วยฝูงนกต่างๆ คือ นกดุเหว่าดำ
ดุเหว่าลาย ไก่ฟ้า นกโพระดก เป็นจำนวนมาก อัน
ธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โตรณมคฺเคสุ ได้แก่ ที่เสาค่ายและหน
ทางในพระนครนี้. บทว่า กุณาลกา แปลว่า นกดุเหว่าดำ. บทว่า จิตฺรา
ได้แก่ นกดุเหว่าลาย.
ขอเชิญทอดพระเนตรพระนครอันแวดล้อมไป
ด้วยกำแพง เป็นนครน่าอัศจรรย์ ขนพองสยองเกล้า
เขาชักธงขึ้นประจำ ลาดด้วยทรายทองอันน่ารื่นรมย์
อันธรรมดาสร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้ เชิญทอด
พระเนตรร้านตลาดอันบริบูรณ์ด้วยสินค้าต่าง ๆ เรือน
สิ่งของในเรือน ถนนซอย ถนนใหญ่ อันธรรมดา
สร้างสรรไว้ในแก้วมณีดวงนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุปาการํ ได้แก่ แวดล้อมไปด้วยกำแพง
แก้ว. บทว่า ปณฺณสาลาโย ได้แก่ ร้านตลาดอันพรั่งพร้อมไปด้วยสินค้า
นานาชนิด. บทว่า นิเวสเน นิเวเส จ ได้แก่ เรือน และสิ่งของในเรือน.

387