No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 368 (เล่ม 64)

ก็นางนาคมาณวิกานั้นได้สดับพระดำรัสของพระ
บิดาแล้ว เป็นผู้มีจิตชุ่มด้วยกิเลส ออกเที่ยวแสวงหา
สามีในเวลากลางคืน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวสฺสตี จริ ความว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย นางนาคมาณวิกานั้น ได้สดับคำพระบิดาแล้ว จึงปลอบโยนพระ-
บิดาให้เบาพระทัยแล้วไปสู่สำนักพระมารดาแล้ว ไปยังห้องอันประกอบด้วยสิริ
ของตน ประดับพร้อมสรรพนุ่งผ้าสีดอกดำผืนหนึ่ง ทำเฉวียงบ่าผืนหนึ่ง แหวก
น้ำเป็นสองส่วน ออกจากนาคพิภพไปในคืนนั้นเอง เหาะไปสู่กาฬคิรีบรรพต
มีแท่งทึบเป็นอันเดียว มีสีดังดอกอัญชันสูงได้ ๖๐ โยชน์ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ฝั่ง
สมุทร ณ หิมวันตประเทศ เป็นผู้มีจิตชุ่มด้วยอำนาจกิเลส ได้เทียวแสวงหา
ภัสดาแล้ว.
นางอิรันทตีนาคกัญญานั้น เก็บดอกไม้ในหิมวันตประเทศนั้น ที่
สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่น มาประดับยอดบรรพตทั้งสิ้น ให้เป็นดุจพนมแก้วมณี
ลาดดอกไม้ที่พื้นเบื้องบนแห่งบรรพตนั้น ฟ้อนรำด้วยท่าทางอันงามเพริศพริ้ง
ขับร้องเพลงขับไพเราะจับใจ ได้กล่าวคาถาที่ ๗ ว่า
คนธรรพ์ รากษส นาค กินนร หรือมนุษย์
คนไหนเป็นผู้ฉลาดสามารถจะให้สิ่งทั้งปวงได้ คนนั้น
จักได้เป็นสามีของเราตลอดกาลนาน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เก คนฺธพฺเพ จ รกฺขเส นาเค ความว่า
คนธรรพ์ รากษส หรือนาคก็ตาม. บทว่า เก ปณฺฑิเต สพฺพกามทเท
ในบรรดาคนธรรพ์เป็นต้นนั้น คนไหนเป็นผู้ฉลากสามารถเพื่อจะให้สมบัติ
อันน่าใคร่ทุกอย่าง เมื่อนำมโนรถของมารดาของเราผู้ปรารถนาดวงหทัยของ
วิธุรบัณฑิตมา ผู้นั้นจักได้เป็นภัสดาของเราตลอดกาลนาน.

368
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 369 (เล่ม 64)

ขณะนั้น ปุณณกยักษ์เสนาบดี หลานของท้าวเวสวัณมหาราช เผ่น
ขึ้นม้ามโนมัยสินธพสูงประมาณ ๓ คาวุต เหาะไปสู่ยักษ์สมาคมที่พื้นมโนศิลา
เหนือยอดกาฬาคิรีบรรพต ได้ยินเสียงแห่งนางอิรันทตีนาคกัญญานั้น เสียง
ขับร้องของนางอิรันทตี ได้ตัดผิวหนังเป็นต้นของปุณณกยักษ์ เข้าไปกระทั่ง
ถึงเยื่อในกระดูก เพราะเคยอยู่ร่วมกันในอัตภาพถัดมา ปุณณกยักษ์นั้นมี
จิตปฏิพัทธ์ ชักม้ากลับคืน นั่งอยู่บนหลังม้าสินธพนั้นแล เล้าโลมนางให้
ยินดีว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ พี่เป็นผู้สามารถนำดวงหทัยของวิธุรบัณฑิตมาให้
ได้โดยชอบธรรมด้วยปัญญาของพี่ อย่าคิดวิตกไปเลย แล้วกล่าวคาถาที่ ๘ ว่า
ดูก่อนนางผู้มีนัยน์ตาหาที่ติไม่ได้ เธอจงเบาใจ
เถิด เราจักเป็นสามีของเธอ จักเป็นผู้เลี้ยงดูเธอเพราะ
ปัญญาของเรา อันสามารถจะนำเนื้อหทัยของวิธุรบัณ-
ฑิตมาให้ จงเบาใจเถิด เธอจักเป็นภรรยาของเรา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนินฺทโลจเน แปลว่า ผู้มีขนตางาม
ที่จะพึงตำหนิมิได้. บทว่า ตถาวิธาหิ ความว่า อันสามารถนำนาซึ่งเนื้อ
หทัยของวิธุรบัณฑิตมาได้. บทว่า อสฺสาส ความว่า เจ้าจงได้ความดีใจไว้
วางใจเถิด. บทว่า เหสฺสสิ ความว่า เจ้าจักเป็นภรรยาของพี่.
เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
นางอิรันทตีผู้มีใจกำหนัดรักใคร่ เพราะเคยร่วม
อภิรมย์กันมาในภพก่อน ได้กล่าวกะปุณณกยักษ์ว่า
มาเถิดท่าน เราจักไปในสำนักพระบิดาของดิฉัน พระ
บิดาของดิฉันจักตรัสบอกเนื้อความนั้นแก่ท่าน.

369
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 370 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น พระคาถาว่า ปุพฺพปถานุคเตน เจตสา
ความว่า นางมีใจกำหนัดรักใคร่ในปุณณกยักษ์นั้น ผู้เคยเป็นสามีมาในอัต-
ภาพถัดมา เพราะเคยร่วมอภิรมย์กันมาในกาลก่อนนั่นแล. บทว่า เอหิ คจฺฉาม
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุณณกยักษ์เสนาบดีนั้นครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว
จึงคิดว่า เราจักขึ้นหลังม้านี้ นำไปลงเหนือยอดบรรพต จึงเหยียดมือออกจับ
มือนางอิรันทตีนั้น ฝ่ายนางอิรันทตีนั้นไม่ให้จับมือตน จับมือปุณณกยักษ์ที่
เหยียดออกไปเสียเองแล้วกล่าวว่า ข้าแต่นาย ดิฉันมิใช่คนไร้ที่พึ่ง พระยานาค
นามว่าวรุณเป็นบิดาของดิฉัน พระนางวิมลาเทวีเป็นมารดาของดิฉัน มาเถิด
ท่าน ดิฉันจะพาไปสู่สำนักแห่งบิดาของดิฉัน เราทั้งสองจะควรทำมงคลด้วย
ประการใด ท้าวเธอคงตรัสบอกเนื้อความนั้นแก่ท่านด้วยประการนั้น.
พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศความนั้น จึงตรัสว่า
นางอิรันทตีประดับประดานุ่งผ้าเรียบร้อย ทัด
ทรงดอกไม้ ประพรมด้วยจุรณแก่นจันทน์ จูงมือ
ปุณณกยักษ์เข้าไปสู่สำนักแห่งพระบิดา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิตุ สนฺติกมุปาคมิ ความว่า เข้าไปสู่
สำนักพระบิดา.
ฝ่ายปุณณกยักษ์ ติดตามไปยังสำนักแห่งพระยานาค เมื่อจะทูลขอ
นางอิรันทตีจึงทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นาค ขอพระองค์
ได้ทรงโปรดสดับถ้อยคำของข้าพระองค์ ขอพระองค์
จงทรงรับสินสอดตามสมควร ข้าพระองค์ปรารถนา
พระนางอิรันทตี ขอพระองค์ได้ทรงโปรดกรุณาให้

370
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 371 (เล่ม 64)

ข้าพระองค์ได้ทรงอยู่ร่วมกับพระนางอิรันทตีเถิด ข้า
แต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอได้ทรงพระกรุณารับสิน
สอดนั้นคือ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ รถเทียมม้า ๑๐๐ เกวียน
บรรทุกของเต็ม ล้วนแก้วต่าง ๆ ๑๐๐ ขอได้โปรด
พระราชทานพระราชธิดาอิรันทตี แก่ข้าพระองค์เถิด
พระเจ้าข้า.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุงฺกยํ ความว่า ขอพระองค์จงทรงรับ
เอาทรัพย์คือสินสอดเพื่อพระราชา ตามสมควรแก่ตระกูลและประเทศของพระ-
องค์เถิด. บาทพระคาถาว่า ตาย สมงฺคึ กโรหิ มํ ตุวํ ความว่า ขอพระองค์
จงทรงพระกรุณากระทำข้าพระองค์ให้เป็นผู้อยู่ร่วมกับพระนางอิรันทตีราชธิดา
นั้นเถิด. บทว่า พลภิยฺโย แปลว่า เกวียนอันเต็มไปด้วยสิ่งของ. บทว่า
นานารตนสฺส เกวลา ความว่า ล้วนเต็มไปด้วยแก้วนานาชนิด.
ลำดับนั้น พระยานาคราชจึงตรัสกะปุณณกยักษ์นั้น ด้วยพระคาถาว่า
ขอท่านจงรออยู่จนกว่าเราจะได้ปรึกษาหารือกับ
บรรดาญาติมิตรและเพื่อนสนิทเสียก่อนกรรมที่กระทำ
ด้วยการไม่ปรึกษาหารือ ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว อามนฺตเย ความว่า ดูก่อนยักษ์-
เสนาบดีผู้เจริญ เราจะให้ธิดาแก่ท่าน หรือจะไม่ให้ก็หามิได้ แต่ว่าท่านจง
รอก่อน เราจะปรึกษาหารือกะพวกญาติมิตรและเพื่อนที่สนิทดูก่อน. บาท
พระคาถาว่า ตํ ปจฺฉา อนุตปฺปติ ความว่า พระยาวรุณนาคราชกล่าวว่า
เพราะว่าหญิงทั้งหลายบางทีก็ยินดีรักใคร่กัน บางทีก็ไม่ยินดีรักใคร่กัน กรรม
ที่เราทำลงไปโดยมิได้ปรึกษาหารือใคร เมื่อเวลาเขาไม่ยินดีรักใคร่ต่อกัน เพราะ
ฉะนั้นพวกญาติมิตรและเพื่อนสนิทย่อมจะไม่ช่วยกระทำความขวนขวาย ด้วย

371
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 372 (เล่ม 64)

เหตุที่กรรมที่เราทำโดยมิได้ปรึกษาหารือกับเขา จึงเป็นเช่นนี้ กรรมนั้นย่อม
จะนำมาซึ่งความเดือดร้อนในภายหลัง
ลำดับนั้น ท้าววรุณนาคราชเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์
ปรึกษากะพระชายาเป็นพระคาถาความว่าปุณณยักษ์
มาขอลูกอิรันทตีกะเรา เราจะให้ลูกอิรันทตี ซึ่งเป็น
ที่รักของเราแก่ปุณณกยักษ์นั้น เพราะได้ทรัพย์เป็น
จำนวนมากหรือ ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวิสิตฺวา ความว่า ปล่อยปุณณกยักษ์
ไว้ในที่นั้นนั่นเอง พระองค์ก็เสด็จลุกขึ้นเข้าไปยังพระนิเวศน์ที่ชายาของพระองค์
บรรทมอยู่ทันที. บทว่า ปิยํ มมํ ความว่า พระองค์ตรัสถามว่า เราจะให้
ธิดาซึ่งเป็นที่รักของเรา โดยได้ทรัพย์เครื่องปลื้มใจเป็นอันมากหรือ ?
พระนางวิมลาเทวี ตรัสว่า
ปุณณกยักษ์ไม่พึงได้ลูกอิรันทตีของเราเพราะ
ทรัพย์ เพราะสิ่งที่ปลื้มใจ ถ้าปุณณกยักษ์ได้หทัยของ
วิธุรบัณฑิตนำมาในนาคพิภพนี้โดยชอบธรรม เพราะ
ความชอบธรรมนั่นแล เขาจะพึงได้ลูกสาวของเรา
หม่อมฉันปรารถนาทรัพย์อื่น ยิ่งกว่าหทัยของวิธุร-
บัณฑิตหามิได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมฺหํ อิรนฺทตี ความว่า อิรันทตีธิดา
ของเรา. บทว่า เอเตน จิตฺเตน ความว่า ด้วยอาการที่ยินดีนั้นนั่นแล.
ลำดับนั้น ท้าววรุณนาคราชเสด็จออกจากนิเวศน์
ตรัสเรียกปุณณยักษ์มาตรัสว่า ท่านไม่พึงได้ลูก

372
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 373 (เล่ม 64)

อิรันทตีของเรา เพราะทรัพย์ เพราะสิ่งเครื่องปลื้มใจ
ถ้าท่านได้หทัยของวิธุรบัณฑิตนำมา ในนาคพิภพนี้โดย
ชอบธรรม ท่านจะพึงได้ลูกสาวของเรา เราปรารถนา
ทรัพย์อื่นยิ่งไปกว่าหทัยของวิธุรบัณฑิตหามิได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ปุณฺณกามนฺตยิตฺวาน ความ
ว่า เรียกปุณณกยักษ์มา.
ปุณณกยักษ์ทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ในโลกนี้คนบางพวก
ย่อมเรียกคนใดว่าเป็นบัณฑิต คนบางพวกกลับเรียก
คนนั้นนั่นแลว่าเป็นพาล ในเรื่องนี้ คนทั้งหลายยัง
กล่าวแย้งกันอยู่ ขอได้ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ พระ-
องค์ทรงเรียกใครว่าเป็นบัณฑิต.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ ปณฺฑิโต ความว่า ได้ยินว่า ปุณณก-
ยักษ์ได้สดับว่าให้นำหทัยวิธุรบัณฑิตมาดังนี้ คิดว่า คนบางพวก เรียกคนใด
ว่า เป็นบัณฑิต แต่คนพวกอื่นก็เรียกคนนั้นแหละว่าเป็นพาล. ทั้งที่แม่นาง
อิรันทตีบอกเราว่า วิธุรบัณฑิตแม้โดยแท้ ถึงกระนั้นเราจักทูลถามท้าวเธอให้
รู้แน่นอนกว่านั้น เพราะเหตุดังนี้นั้นจึงได้กล่าวอย่างนั้น.
พระยานาคราชตรัสว่า
บัณฑิตชื่อว่าวิธุระ ผู้ทำการสั่งสอนอรรถธรรม
แก่พระเจ้าธนัญชัยโกรพยราช ถ้าท่านได้ยินได้ฟังมา
แล้ว ท่านจงไปนำบัณฑิตนั้นมา ครั้นท่านได้มาโดย
ธรรมแล้ว อิรันทตีธิดาของเรา จงเป็นภรรยาของ
ท่านเถิด.

373
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 374 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมลทฺธา แปลว่า ได้มาแล้วโดย
ธรรม. บทว่า ปาทจราว แปลว่า เป็นหญิงบำเรอ.
ฝ่ายปุณณกยักษ์ ได้สดับพระดำรัส ของท้าว
วรุณนาคราชดังนี้แล้ว ยินดียิ่งนัก ลุกขึ้นแล้ว ไปสั่ง
บุรุษ คนใช้ของตน ผู้อยู่ในที่นั้นว่า เจ้าจงนำม้า
อาชาไนยที่ประกอบไว้แล้ว มา ณ ที่นี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสํสิ ได้แก่ สั่งบังคับคนใช้ของตน.
บทว่า อาชญฺญํ ได้แก่ ม้าสินธพผู้รู้เหตุ และมิใช่เหตุ. บทว่า ยุตฺตํ
แปลว่า ประกอบเสร็จแล้ว.
พระโบราณาจารย์ กล่าวพรรณนาม้าสินธพนั้นไว้ว่า
ม้าสินธพอาชาไนยนั้น มีหูทั้งสองประดับด้วย
ทองคำ กีบหุ้มด้วยแก้วแดง มีเครื่องประดับอก ล้วน
แล้วด้วยทองชมพูนุทอันสุกใส.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาตรูปมยา ความว่า เมื่อจะกล่าว
พรรณนาม้าสินธพนั้นนั่นแล จึงได้กล่าวอย่างนั้น จริงอยู่ม้าสินธพมโนมัยนั้น
มีหูทั้งสองล้วนแล้วด้วยทองคำ. บทว่า กาจมหิจมยา ขุรา ความว่า ม้า
สินธพนั้น มีกีบล้วนแล้วด้วยแก้วมณี. บทว่า ชมฺโพนทสฺส ปากสฺส
ความว่า มีเครื่องประดับอก ล้วนแล้วด้วยทองชมพูนุท มีสีแดงสุกปลั่ง.
บุรุษคนใช้นั้น นำม้าสินธพมาในขณะนั้นนั่นเอง ปุณณกยักษ์ ขึ้นขี่
ม้าสินธพอาชาไนยนั้น เหาะไปสู่สำนักของท้าวเวสวัณโดยทางอากาศ แล้ว
พรรณนาภพแห่งนาค แล้วบอกเรื่องนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงประกาศความนั้นจึงได้ตรัสว่า

374
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 375 (เล่ม 64)

ปุณณยักษ์ผู้ประดับประดาแล้ว แต่งผมและ
หนวดดีแล้ว ขึ้นม้าอันเป็นพาหนะของเทวดา เหาะ
ไปในอากาศกลางหาว ปุณณกยักษ์นั้น กำหนัดแล้ว
ด้วยกามราคะ ปรารถนานางอิรันทตีนาคกัญญา ไป
ทูลท้าวกุเวรเวสวัณผู้เรืองยศ ซึ่งเป็นใหญ่แห่งหมู่ยักษ์
ว่า ภพนาคนั้นเขาเรียกชื่อว่าโภควดีนครบ้าง วาส-
นครบ้าง หิรัญญวดีนครบ้าง เป็นเมืองที่บุญกรรม
นิรมิต ล้วนแต่ทองคำ สำเร็จแก่พระยานาคผู้บริบูรณ์
ด้วยโภคทรัพย์ทุกอย่าง ป้อมและเชิงเทิน สร่างโดย
สัณฐานคออูฐ ล้วนแล้วด้วยแก้วแดงและแล้วลาย ใน
นาคพิภพนั้น มีปราสาทล้วนแล้วด้วยหิน มุงด้วย
กระเบื้องทองในนาคพิภพนั้น มีไม้มะม่วง ไม้หมาก
เม่า ไม้หว้า ไม้ตีนเป็ด ไม้จิก ไม้การะเกด ไม้
ประยงค์ ไม้ราชพฤกษ์ ไม้มะม่วงหอม ไม้ชะเบา
ไม้ยางทราย ไม่จำปา ไม้กากะทิง มะลิซ้อน มะลิ
ลา และไม้ละเบา ต้นไม้ในนาคพิภพเหล่านี้มีกิ่งต่อ
กันและกัน งามยิ่งนัก ในนาคพิภพนั้น มีต้นอินท-
ผาลัม อันสำเร็จด้วยแก้วอินทนิล มีดอกและผลล้วน
ไปด้วยทองเนืองนิตย์ ท้าววรุณนาคราชผู้มีฤทธิ์มาก
เป็นผู้ผุดขึ้นเกิดอยู่ในนาคพิภพนั้น มเหสีของพระ
ยานาคราชนั้น กำลังรุ่นสาว ทรงพระนามว่าวิมลา
มีพระรูป พระโฉมอันประกอบด้วยสิริ งดงามดังก้อน
ทองคำ สะโอดสะองดังหน่อเถาจิงจ้อดำ พระถันทั้ง

375
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 376 (เล่ม 64)

คู่มีสัณฐานดังผลมะพลับ น่าดูยิ่งนัก พระฉวีวรรณ
แดงดังน้ำครั่ง เปรียบเหมือนดอกกรรณิการ์อันแย้ม
บาน เปรียบดังนางอัปสร ผู้อยู่ในสวรรค์ชั้นไตรทศ
หรือเปรียบเหมือนสายฟ้าอันแลบออกจากกลีบเมฆ
ข้าพระองค์ผู้เป็นใหญ่ พระนางวิมลานั้น ทรงแพ้พระ-
ครรภ์ ทรงปรารถนาดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต ข้า-
พระองค์ จะถวายดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต แก่ท้าว
วรุณนาคราชและพระนางวิมลา เพราะการนำดวงหทัย
ของวิธุรบัณฑิตไปถวายแล้ว ท้าววรุณนาคราช และ
พระนางวิมลา จะพระราชทานพระนางอิรันทตีราช
ธิดาแก่ข้าพระองค์.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทววาหวหํ ความว่า พาหนะที่จะพึง
นำไป ย่อมนำพาหนะ กล่าวคือเทวดาไป เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เทววาหวหะ
นำไปด้วยพาหนะเทวดา. บทว่า ยานํ ความว่า ชื่อว่ายาน เพราะเป็นเครื่อง
นำไป คือเป็นเครื่องไป. บทว่า กปฺปิตเกสมสฺสุ ความว่า แต่งผมและ
หนวดดีแล้ว ด้วยอำนาจประดับ ถามว่า ก็ธรรมดาการแต่งผมและหนวด
ของเทวดาทั้งหลายย่อมไม่มี แต่ก็กล่าวถ้อยคำให้วิจิตรไป. บทว่า ชิคึสํ
แปลว่า ผู้ปรารถนา. บทว่า เวสฺสวณํ ได้แก่ พระราชาผู้เป็นอิสระแห่ง
ราชธานีประจำทิศอีสาน. บทว่า กุเวรํ ได้แก่ ผู้มีชื่อว่า กุเวร อย่างนั้น.
บทว่า โภควตี นาม ได้แก่ ผู้ได้ชื่ออย่างนั้น เพราะเป็นมีโภคสมบัติ
สมบูรณ์ บทว่า มนฺทิเร ความว่า พระราชมนเทียรคือพระราชวัง บทว่า
วาสา หิรญฺญวตี ความว่า ท่านเรียกว่า ที่ประทับ เพราะเป็นที่ประทับ
ของพระยานาค และกล่าวว่า หิรญฺญวตี เพราะพระที่นั่งหิรัญญวดี แวด

376
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 377 (เล่ม 64)

ล้อมไปด้วยกำแพงทอง. บทว่า นครํ นิมิตฺตํ แปลว่า มีนครเป็นเครื่อง
หมาย. บทว่า กาญฺจนมเย แปลว่า สำเร็จแล้วด้วยทอง. บทว่า มณฺฑลสฺส
ได้แก่ ประกอบด้วยโภคมณฑล. บทว่า นิฏฺฐิตํ แปลว่า สำเร็จในเพราะ
การทำ. บทว่า โอฏฺฐคีวิโย ได้แก่ กระทำโดยสัณฐานดังคออูฐ. บาทคาถาว่า
โลหิตงฺคสฺส มสารคลฺลิโน ได้แก่ ป้อมและคอหอย อันสำเร็จด้วยแก้ว
แดง สำเร็จด้วยแก้วตาแมว. บทว่า ปาสาเทตฺถ นี้ ได้แก่ ปราสาทใน
นาคพิภพนี้. บทว่า สิลามยา แปลว่า สำเร็จด้วยแก้วมณี. บทว่า โสวณฺณ-
รตเนน ความว่า มุงด้วยรัตนะ กล่าวคือทอง คือด้วยอิฐอันสำเร็จด้วย
ทองคำ. บทว่า สห แปลว่า ทำพร้อมกัน. บทว่า อุปริ ภณฺฑกา
ได้แก่ ต้นปาริฉัตตกะ. บทว่า อุทฺทาลกา ได้แก่ ต้นจำปา ต้นกากะทิง
และต้นมะลิวัลย์. บาทพระคาถาว่า ภคินิมาลา อตฺเถตฺถ โกลิยา ความว่า
ไม้มะลิลา และต้นกระเบา ย่อมมีในนาคพิภพนี้. บทว่า เอเต ทุมา ปรินามิตา
ความว่า ต้นไม้ที่เผล็ดดอก ออกผลเหล่านั้น มีกิ่งเกี่ยวพันน้อมหากันและกัน
นุงนัง. บทว่า ขชฺชุเรตฺถ ได้แก่ ต้นอินทผาลัม มีในนาคพิภพนี้. บทว่า
สิลามยา แปลว่า สำเร็จด้วยแก้วอินทนิล. บทว่า โสวณฺณธุวปุปฺผิตา
ความว่า ก็ต้นไม้เหล่านั้น มีดอกอันสำเร็จด้วยทองบานอยู่เป็นนิตย์. บทว่า
ยตฺถ วสโตปปาติโก ความว่า พระยานาคผู้เกิดอยู่ในภพนาคใด. บทว่า
กาญฺจนเวลฺลิวิคฺคหา ได้แก่ มีพระสรีระเช่นกับหน่อทองคำ. บาทพระคาถา
ว่า กาฬา ตรุณาว อุคฺคตา ความว่า ผุดขึ้นแล้ว ดังแก้วกาฬวัลลีและแก้ว
ประพาฬ เพราะประกอบด้วยความงาม. บทว่า ปิจุมณฺฑตฺถนี มีพระถัน
ทั้งสองมีสัณฐานดังผลมะพลับ. บทว่า ลาขารสรตฺตสุจฺฉวี นี้ ท่านกล่าว
หมายถึงพระฉวีวรรณ แห่งพื้นพระหัตถ์และพระบาท. บทว่า ติทิโวกฺ-
กจรา แปลว่า เปรียบเหมือนนางอัปสรในสวรรค์ชั้นไตรทศ. บทว่า วิชฺชุ-

377