No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 358 (เล่ม 64)

ดังนั้น พระราชาทั้ง ๔ พระองค์นั้น ต่างสรรเสริญศีลของตน ๆ
เท่านั้นว่า มีมากกว่าดังนี้แล้ว จึงตรัสถามพระเจ้าธนัญชัยว่า ดูก่อนมหาราช-
เจ้า ก็ใครๆ เป็นบัณฑิตในสำนักของพระองค์ที่จะพึงบรรเทาความสงสัยของ
พวกเรามีอยู่หรือ. พระเจ้าธนัญชัยตรัสตอบว่า มีอยู่มหาราชเจ้า คือวิธุร-
บัณฑิตผู้ดำรงตำแหน่งอรรถธรรมานุสาสน์ เป็นผู้ทรงปัญญาหาผู้เสมอเหมือน
มิได้ จักบรรเทาความสงสัยของพวกเราได้ พวกเราจงพากันไปยังสำนักของ
วิธุรบัณฑิตนั้นเถิด พระราชาทั้ง ๓ พระองค์นั้น ทรงรับคำพร้อมกันแล้ว.
ลำดับนั้น พระราชาเหล่านั้นทั้งหมดพากันเสด็จออกจากพระราชอุทยานไปสู่
โรงธรรมสภา รับสั่งให้ประดับธรรมาสน์ เชิญพระโพธิสัตว์ให้นั่ง ณ ท่าม
กลางบัลลังก์อันประเสริฐ ทำปฏิสันถารแล้วประทับ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้วได้ตรัสกะบัณฑิตว่า ความสงสัยเกิดขึ้นแก่พวกเรา ขอท่านจงทรงบรรเทา
ความสงสัยนั้นเถิด ดังนี้แล้วได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอถามบัณฑิต ผู้มีปัญญาไม่ต่ำ
ทราม สามารถรู้เหตุและมิใช่เหตุ ควรทำและไม่ควร
ทำ ด้วยการโต้เถียงกันในเรื่องศีลได้เกิดมีแก่ข้าพเจ้า
ทั้งหลาย ขอท่านได้โปรดตัดความสงสัยคือวิจิกิจฉา
ทั้งหลายให้ในวันนี้ จงช่วยพวกข้าพเจ้าทั้งปวงให้ข้าม
พ้นความสงสัยในวันนี้เถิด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตฺตารํ ได้แก่ ท่านผู้สามารถทราบเหตุ
และมิใช่เหตุ อันได้แก่เหตุที่ควรทำและไม่ควรทำ. บทว่า วิคฺคโห อตฺถิ
ชาโต ความว่า การกล่าวขัดแย้งกันในเรื่องศีล คือการโต้เถียงกันในเรื่อง
ศีลเรื่องหนึ่ง เกิดขึ้นอยู่. บทว่า ฉินฺทชฺช ความว่า วันนี้ท่านจงตัดความ
สงสัยคือความลังเลใจนั้นของข้าพเจ้าทั้งหลาย เหมือนท้าวสักกเทวราชตัดยอด

358
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 359 (เล่ม 64)

เขาสิเนรุด้วยเพชรฉะนั้น. บทว่า วิตเรมุ แปลว่า ให้พวกข้าพเจ้าข้ามไป.
ลำดับนั้น วิธุรบัณฑิต ได้สดับพระกระแสรับสั่งของพระราชาทั้ง ๔
พระองค์นั้น จึงทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เรื่องโต้เถียงกันที่อาศัยศีลของ
พระองค์ทั้งหลายเกิดแล้วนั้น ข้าพระองค์จะทราบได้อย่างไรว่า พระกระแส
รับสั่งนั้น เช่นไรผิด เช่นไรถูก ดังนี้ แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า
บัณฑิตทั้งหลาย ผู้ที่เห็นข้อความแต่จะตัดสิน
ความด้วยอุบายอันแยบคายได้ ในเมื่อโจทก์และจำเลย
บอกข้อที่พิพาทกันให้ตลอด ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอม
แห่งทวยราษฎร์ ข้าพระองค์ขอพระวโรกาส บัณฑิตผู้
ฉลาดทั้งหลาย เมื่อโจทก์และจำเลย ไม่บอกข้อความ
ให้แจ้งจะพึงตัดสินพิจารณาข้อความนั้นได้อย่างไร
เหตุนั้น ขอพระองค์ตรัสเล่าข้อความให้ข้าพระองค์
ทราบก่อน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถทสฺส ความว่า ผู้สามารถเพื่อเห็น
ข้อความ. บทว่า ตตฺถ กาเล ความว่า ในกาลที่โจทก์และจำเลยบอกข้อ
ความที่ทะเลาะกันนั้นกาลที่ควรและไม่ควร บัณฑิตทั้งหลายเมื่อบอกข้อความ
นั้น ย่อมกล่าวโดยแยบคาย. บทว่า อตฺถํ เนยฺยุํ กุสลา ความว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งทวยราษฎร์ บัณฑิตทั้งหลาย แม้เป็นผู้ฉลาดเฉียบ
แหลม เมื่อโจทก์และจำเลยไม่บอกข้อความให้แจ้งชัด จะพึงพิจารณาข้อความ
นั้นได้อย่างไร. วิธุรบัณฑิต เรียกพระราชาทั้งหลายว่าผู้เป็นจอมแห่งทวย-
ราษฎร์. เพราะฉะนั้นขอพระองค์จงตรัสข้อความนี้ให้ข้าพเจ้าทราบก่อน
พระมหาสัตว์ ทูลต่อไปว่า

359
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 360 (เล่ม 64)

พระยานาคราชตรัสว่าอย่างไร พระยาครุฑตรัส
ว่าอย่างไร ท้าวสักกเทวราชตรัสว่าอย่างไร ส่วน
มหาราชเจ้า ผู้เป็นจอมแห่งชาวกุรุรัฐตรัสว่าอย่างไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คนฺธพฺพราชา วิธุรบัณฑิตกล่าวหมาย
เอาท้าวสักกเทวราช.
ลำดับนั้น พระราชาทั้ง ๔ พระองค์นั้นตรัสพระคาถาตอบพระมหา-
สัตว์นั้นว่า
พระยานาค ย่อมทรงสรรเสริญอธิวาสนขันติ
กล่าวคือ ความไม่โกรธในบุคคลแม้ผู้ควรโกรธ.
พระยาครุฑ ย่อมทรงสรรเสริญการไม่ทำความชั่ว
เพราะเหตุแห่งอาหารกล่าวคือ บริโภคอาหารแต่น้อย.
ท้าวสักกเทวราช ทรงสรรเสริญการละความยิน
ดีในกามคุณ ๕.
พระเจ้ากุรุรัฐ ทรงสรรเสริญความไม่มีความกังวล.
พึงทราบคำอันเป็นคาถานั้นดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อนบัณฑิต พระยานาค-
ราชสรรเสริญอธิวาสนขันติ กล่าวการไม่โกรธในบุคคลแม้ผู้ควรโกรธ พระยา-
ครุฑย่อมสรรเสริญการไม่ทำความชั่วเพราะเหตุแห่งอาหาร กล่าวคือการบริโภค
อาหารน้อย ท้าวสักกเทวราช ทรงสรรเสริญการละความยินดีในกามคุณ ๕
พระเจ้ากุรุรัฐ ทรงสรรเสริญความไม่มีความกังกล.
พระมหาสัตว์ได้สดับพระกระแสรับสั่งของพระราชาทั้ง ๔ พระองค์
แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า
พระกระแสรับสั่งทั้งปวงนี้ เป็นสุภาษิตทั้งหมด
แท้จริงพระกระแสรับสั่งเหล่านี้ จะเป็นทุพภาษิต

360
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 361 (เล่ม 64)

เพียงเล็กน้อยหามิได้ คุณธรรม ๔ ประการนี้ตั้งมั่นอยู่
ในนรชนใด เป็นดังกำเกวียนที่รวมกันอยู่ ที่ดุมเกวียน
บัณฑิตเรียกนรชนผู้ประกอบพร้อมด้วยธรรม ๔ ประ-
การนั้นแลว่า เป็นผู้สงบในโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตานิ ความว่า คุณชาติทั้ง ๔ ประการ
นี้ ตั้งมั่นด้วยดีในบุคคลใด เป็นดังกำเกวียนตั้งรวมกันอยู่ด้วยดีที่คุมเกวียน
ฉะนั้นบัณฑิตทั้งหลายเรียกบุคคลนั้น ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้
ว่าผู้สงบในโลกฉะนั้น.
พระมหาสัตว์ได้ทำศีลของพระราชาทั้ง ๔ พระองค์ให้มีคุณสม่ำเสมอ
กันทีเดียวอย่างนี้.
ท้าวเธอทั้ง ๔ ครั้นได้ทรงสดับดังนั้น ต่างมีพระหฤทัยร่าเริงยินดี
เมื่อจะทรงชมเชยพระมหาสัตว์ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
ท่านเป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นผู้ยอดเยี่ยม ไม่มี
ใครเทียมถึง มีปัญญาดี รักษาธรรม และรู้แจ้งธรรม
วิเคราะห์ปัญหาของพวกข้าพเจ้าได้ด้วยดี ด้วยปัญญา
ของตน พวกข้าพเจ้าอ่อนวอนท่านว่า ขอท่านผู้เป็น
ปราชญ์ จงตัดความสงสัยลังเลใจของพวกข้าพเจ้าให้
ขาดไปในวันนี้เหมือนช่างทำงาช้าง ตัดงาช้างให้ขาด
ไปด้วยเลื่อยอันคม ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวมนุตฺตโรสิ ความว่า ท่านเป็นผู้
ยอดเยี่ยมไม่มีผู้เทียมถึง ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีผู้ยอดเยี่ยมเท่าท่าน. บทว่า ธมฺมคู
ความว่า ทั้งเป็นผู้รักษาธรรมและรู้ธรรม. บทว่า ธมฺมวิทู ความว่า ผู้มี

361
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 362 (เล่ม 64)

ธรรมเป็นที่ปรากฏ. บทว่า สุเมโธ ความว่า ผู้มีปัญญาดี. บทว่า ปญฺญาย
ความว่า ศึกษาปัญหาของพวกเราเป็นอย่างดีด้วยปัญญาแล้ว ก็ทราบความจริง
ว่า ในเรื่องนี้มีเหตุอย่างนี้. บทว่า อจฺเฉจฺฉ ความว่า ขอท่านผู้ทรงเป็น
ปราชญ์โปรดตัดสินข้อสงสัยของพวกข้าพเจ้า และเมื่อตัดสินอย่างนี้ โปรดให้
คำขอร้องของพวกข้าพเจ้านี้จบสิ้นว่า ท่านได้ตัดสินข้อสงสัย คือวิจิกิจฉาแล้ว
ดังนี้. บาทคาถาว่า จุนฺโท ยถา นาคทนฺตํ ขเรน ความว่า ขอท่านช่วย
ตัดข้อสงสัย เหมือนนายช่างทำงาช้าง ตัดงาช้างด้วยเลื่อยเล่มคม ฉะนั้น.
พระราชาแม้ทั้ง ๔ พระองค์นั้น ครั้นตรัสชมเชยพระมหาสัตว์อย่างนั้น
แล้ว ต่างทรงพอพระหฤทัยด้วยพยากรณ์ปัญหาของพระมหาสัตว์ ลำดับนั้น
ท้าวสักกเทวราชจึงทรงบูชาพระมหาสัตว์ด้วยผ้าทุกุลพัสตร์อันเป็นทิพย์ พระยา
ครุฑบูชาด้วยมาลัยทอง วรุณนาคราชบูชาด้วยแก้วมณี พระเจ้าธนัญชัยบูชา
ด้วยวัตถุต่างๆ มีโคนมนับจำนวนพันเป็นต้น พระราชาทั้ง ๔ พระองค์นั้น
ได้ตรัสอย่างนี้ว่า
ดูก่อนท่านผู้เป็นนักปราชญ์ ข้าพเจ้ายินดีด้วย
การพยากรณ์ปัญหา นี้ผ้าทิพย์สีดอกบัวเขียว ปราศ
จากมลทิน เนื้อละเอียดดังควันเพลิง หาค่ามิได้ข้าพ-
เจ้าให้แก่ท่านเพื่อบูชาธรรม พระยาครุฑบูชาด้วยดอก
ไม้ทองตรัสว่า ดูก่อนท่านผู้เป็นนักปราชญ์ ข้าพเจ้า
ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหานี้ ดอกไม้ทอง มีกลีบร้อย
กลีบแย้มออกแล้ว มีเกสรแล้วด้วยแก้วนับด้วยพัน
ข้าพเจ้าให้แก่ท่านเพื่อบูชาธรรม พระยาวรุณนาคราช

362
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 363 (เล่ม 64)

บูชาด้วยแก้วมณีตรัสว่า ดูก่อนท่านผู้เป็นนักปราชญ์
ข้าพเจ้ายินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหานี้ แก้วมณีอันเป็น
เครื่องประดับของข้าพเจ้า มีสีงดงามผุดผ่อง หาค่ามิ
ได้ ข้าพเจ้าให้แก่ท่านเพื่อบูชาธรรม พระเจ้าธนัญชัย
ทรงบูชาด้วยวัตถุต่างๆ มีโคนมพันหนึ่งเป็นต้น แล้ว
มีพระราชดำรัสว่า ข้าพเจ้ายินดีด้วยการพยากรณ์
ปัญหา โคนมพันหนึ่งและโคอุสุภราชนายฝูง รถ ๑๐
คัน เทียมด้วยอาชาไนย บ้านส่วย ๖ บ้าน เหล่านี้
ข้าพเจ้าให้แก่ท่านเพื่อบูชาธรรม.
พระราชาทั้ง ๔ พระองค์ มีท้าวสักกเทวราชเป็นต้น ครั้นทรงบูชา
พระมหาสัตว์แล้ว ได้เสด็จไปยังที่ประทับของพระองค์ตามเดิมด้วยประการ
ฉะนี้.
จบจตุโปสถกัณฑ์
บรรดาพระราชา ๔ พระองค์นั้น พระยานาคมีพระชายานามว่า พระ-
นางวิมลาเทวี พระนางนั้น เมื่อไม่เห็นเครื่องประดับแก้วมณีที่พระศอของ
พระยานาคี จึงทูลถามว่า แก้วมณีของพระองค์หายไปไหนเล่าพระเจ้าข้า. ท้าว-
เธอจึงตรัสว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เราได้สดับธรรมกถาของวิธุรบัณฑิต บุตรแห่ง
จันทพราหมณ์ มีจิตเลื่อมใสจึงเอาแก้วมณีนั้นบูชาเธอ จะบูชาแต่เราคนเดียว
ก็หามิได้ แม้ท้าวสักกเทวราชก็ยังทรงบูชาเธอด้วยผ้าทุกุลพัสตร์อันเป็นทิพย์
พระยาครุฑบูชาเธอด้วยดอกไม้ทอง พระเจ้าธนัญชัยทรงบูชาเธอด้วยวัตถุต่าง ๆ
มีโคนมพันหนึ่งเป็นต้น. พระนางทูลถามว่า พระวิธุรบัณฑิตนั้นเป็นพระธรรม-

363
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 364 (เล่ม 64)

กถึกหรือพระเจ้าข้า. ดูก่อนนางผู้เจริญแล้วจะพูดไปไยเล่า พระราชา ๑๐๑
พระองค์ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ล้วนพอพระหฤทัยในธรรมกถาอันไพเราะของเธอ
เหมือนกับกาลอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้ายังเป็นไปอยู่ในชมพูทวีปทั้งสิ้น จนจะ
เสด็จกลับไปยังแว่นแคว้นของตน ๆ ไม่ได้ เป็นดังกระแสเสียงพิณ ชื่อหัตถี
กันต์ ประโลมฝูงช้างตกมันให้ใคร่ เธอเป็นธรรมกถึกเอก แสดงธรรมไพเราะ
จับใจยิ่งนัก พระยาวรุณนาคราชทรงสรรเสริญคุณของพระมหาสัตว์ ด้วยประ
การฉะนี้. พระนางได้สดับคุณกถาของพระวิธุรบัณฑิตใคร่จะสดับธรรมกถาของ
ท่าน จึงทรงดำริว่า หากเราจะทูลว่า หม่อมฉันใคร่จะฟังธรรมกถาของพระ-
วิธุรบัณฑิต ขอพระองค์โปรดให้เชิญมาในนาคพิภพนี้เถิด พระเจ้าข้า ดังนี้
ท้าวเธอจักไม่โปรดให้เชิญมาให้แก่เรา อย่ากระนั้นเลย เราควรจะแสดงอาการ
ดังเป็นไข้ด้วยปรารถนาดวงหฤทัยวิธุรบัณฑิตนั้น. พระนางครั้นกระทำอย่าง
นั้นแล้ว ให้สัญญาแก่เหล่านักสนม จึงเสด็จเข้าผทมอยู่ ณ พระแท่นอัน
ประกอบด้วยสิริ. พระยานาคราชเมื่อไม่ทรงเห็นพระนางวิมลาเทวีในเวลาเข้า
เฝ้า จึงตรัสถามว่า พระนางวิมลาไปไหน ? เมื่อเหล่านางนักสนมทูลว่า
พระนางทรงประชวร พระเจ้าข้า ท้าวเธอจึงเสด็จลุกจากพระราชอาสน์ เสด็จ
ไปยังสำนักแห่งพระนางวิมลานั้น ประทับนั่งข้างพระแท่น ทรงลูบคลำ
พระสรีระกายของพระนางอยู่ ได้ตรัสพระคาถาที่ ๑ ว่า
เธอเป็นไรไป มีผิวพรรณเหลืองซูบผอม ถด
ถอยกำลัง ในปางก่อนรูปโฉมของเธอไม่ได้เป็นเช่นนี้
เลย ดูก่อนพระน้องวิมลา พี่ถามแล้วจงบอก เวทนา
ในร่างกายของเธอเป็นเช่นไร ?
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑุ แปลว่า มีผิวพรรณดังใบไม้
เหลือง. บทว่า กีสิยา แปลว่า ซูบผอม. บทว่า ทุพฺพลา แปลว่า มี

364
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 365 (เล่ม 64)

กำลังน้อย. บทว่า วณฺณรูเป น ตเวทิสํ ปุเร ความว่า รูปกล่าวคือ
วรรณะของเจ้า มิได้เป็นเหมือนในก่อนเลย คือในก่อนไม่มีโทษไม่เศร้าหมอง
แต่บัดนี้รูปนั้นได้เปลี่ยนแปลงไป มีภาวะไม่เป็นที่ชื่นใจเลย. พระยานาคตรัส
เรียกพระนางวิมลาเทวีว่า วิมลา ดูก่อนพระน้องวิมลาดังนี้.
ลำดับนั้น พระนางวิมลาเทวี เมื่อจะทูลบอกความนั้นแก่ท้าวเธอจึง
ตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมหมู่นาคชื่อว่าความอยาก
ได้โน่นอยากได้นี่ เขาเรียกกันว่า เป็นธรรมดาของ
หญิงทั้งหลายในหมู่มนุษย์ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ
สุดในหมู่นาค หม่อมฉันอยากได้ดวงหทัยของวิธุร-
บัณฑิต ที่บุคคลนำมาได้โดยชอบเพคะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่ สภาวะ. บทว่า มาตีนํ
ได้แก่ หญิงทั้งหลาย. บทว่า ชนินฺท แปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอม
แห่งหมู่นาค. สองบาทคาถาว่า ธมฺมาหฏํ นาคกุญฺชร วิธุรสฺส หทยาภิ-
ปตฺถเย ความว่า ข้าแต่นาคผู้ประเสริฐสุด เมื่อดิฉันอยากได้ดวงหทัยของ
วิธุรบัณฑิตที่พระองค์นำมาได้โดยชอบธรรม ไม่ใช่โดยกรรมที่สาหัส ชีวิตของ
หม่อมฉันจะยังทรงอยู่ได้ ถ้าเมื่อดิฉันไม่ได้ไซร้ หม่อมฉันเห็นจะมรณะอยู่ในที่
นี้แล พระนางตรัสอย่างนั้นหมายถึงปัญญาของวิธุรบัณฑิตนั้น.
ดูก่อนพระน้องวิมลา เธอปรารถนาดวงหทัย
ของวิธุรบัณฑิตนั้น ดังจะปรารถนา พระจันทร์
พระอาทิตย์หรือลม เพราะว่าวิธุรบัณฑิต ยากที่บุคคล
จะเห็นได้ ใครจะนำวิธุรบัณฑิตมาในนาคพิภพนี้ได้.

365
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 366 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุลฺลเก หิ วิธุรสฺส ทสฺสเน ความ
ว่า การเห็นวิธุรบัณฑิตผู้มีเสียงอันไพเราะ หาผู้เสมือนมิได้นั้น หาได้ยาก.
ด้วยว่า พระราชาในชมพูทวีปทั้งสิ้น ทรงจัดการพิทักษ์รักษาป้องกันวิธุร-
บัณฑิตอย่างกวดขันประกอบโดยธรรม. แม้ใคร ๆ จะเห็นก็เห็นไม่ได้ ใครเล่า
จะนำวิธุรบัณฑิตนั้นมาในนาคพิภพนี้ได้.
พระนางวิมลาเทวีได้สดับพระสวามีตรัสดังนั้นจึงทูลว่า เมื่อหม่อมฉัน
ไม่ได้ จักตายในที่นี้แล แล้วเบือนพระพักตร์ผันพระปฤษฎางค์ให้แก่พระสวามี
เอาชายพระภูษาปิดพระพักตร์บรรทมนิ่งอยู่. พระยานาคเสด็จไปสู่ห้องที่
ประกอบด้วยสิริของพระองค์ ประทับนั่งลงเหนือพระแท่นบรรทม ทรงเข้า
พระทัยว่า พระนางวิมลาเทวีจะให้เอาเนื้อหทัยของวิธุรบัณฑิตมาให้ จึงทรง
พระดำริว่า เมื่อพระนางวิมลาไม่ได้ดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต ชีวิตของเธอ
จักหาไม่ ทำอย่างไรหนอ เรจึงจักได้เนื้อหทัยของวิธุรบัณฑิตนั้น. ลำดับนั้น
นางนาคกัญญานามว่า อิรันทตี ซึ่งเป็นธิดาของพระยานาคนั้น ประดับด้วย
เครื่องประดับพร้อมสรรพ มาสู่ที่เฝ้าพระบิดาด้วยสิริวิลาสอันใหญ่ ถวายบังคม
พระบิดาแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เห็นพระอินทรีย์ของพระบิดาผิด
ปกติ จึงทูลว่า ข้าแต่สมเด็จพ่อ ดูเหมือนสมเด็จพ่อได้รับความน้อยพระทัย
เป็นอย่างยิ่ง นี่เป็นเพราะเหตุไรหนอ พระพุทธเจ้าข้า ดังนี้แล้วจึงได้ตรัส
พระคาถาว่า
ข้าแต่สมเด็จพระบิดา เหตุไรหนอสมเด็จพระ-
บิดาจึงทรงซบเซา พระพักตร์ของสมเด็จพระธิดา
เป็นเหมือนดอกปทุมที่ถูกขยำด้วยมือ ข้าแต่สมเด็จ
พระบิดาผู้เป็นใหญ่ เป็นที่เกรงขามของศัตรู เหตุไร

366
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 367 (เล่ม 64)

หนอสมเด็จพระบิดา จึงทรงเป็นทุกข์พระทัย อย่าทรง
เศร้าโศกไปเลยเพคะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปชฺฌายสิ ได้แก่ คิดบ่อยๆ. บทว่า
ทตฺถคตํ ความว่า พระพักตร์ของพระองค์ เป็นเหมือนดอกปทุมที่ถูกขยำ
ด้วยมือ. บทว่า อิสฺสร ความว่า ข้าแต่พระบิดาผู้เป็นเจ้าของมณฑลนาค
พิภพ ซึ่งมีประมาณห้าร้อยโยชน์.
พระยานาคราชทรงสดับคำของธิดา เมื่อจะทรงบอกเรื่องนั้น จึงตรัส
พระคาถานี้ว่า
อิรันทตีลูกรัก ก็พระมารดาของเจ้าปรารถนา
ดวงหทัยของวิธุรบัณฑิต เพราะวิธุรบัณฑิต ยากที่
บุคคลจะเห็นได้ ใครจะนำวิธุรบัณฑิต มาในนาคพิภพ
นี้ได้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนิยฺยติ แปลว่า ย่อมปรารถนา. ลำดับ
นั้นพระยานาคราชจึงตรัสกะเธอว่า ดูก่อนลูกหญิง บุคคลผู้สามารถเพื่อจะนำ
วิธุรบัณฑิตมาในสำนักของเราได้ก็ไม่มี เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาเถิด จงไป
แสวงหาภัสดาผู้สามารถนำดวงหทัยของวิธุรบัณฑิตมาให้ได้ เมื่อจะส่งธิดาไป
จึงตรัสกึ่งคาถาว่า
เจ้าจงไปเที่ยวแสวงหาภัสดา ซึ่งสามารถนำ
วิธุรบัณฑิตมาในนาคพิภพนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จร แปลว่า จงเที่ยวไป.
พระยานาคนั้นได้ตรัสถ้อยคำ แม้ที่ไม่สมควรแก่ธิดา เพราะถูกกิเลส
ครอบงำด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า

367