No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 348 (เล่ม 64)

เป็นผู้มีความพร้อมเพรียงกับภรรยา และท่านก็ได้ถึงที่
อยู่ของตนแล้ว.
[๑๐๔๐] ปุณณกยักษ์ผู้มีวรรณะ วางวิธุรบัณฑิต
ผู้ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐ ลงในท่ามกลางธรรมสภา
แล้วขึ้นม้าอาชาไนยเหาะไปในอากาศกลางหาว พระ-
ราชาทอดพระเนตรเห็นวิธุรบัณฑิตนั้น ทรงพระปรีดา
ปราโมทย์เป็นอย่างยิ่ง เสด็จลุกขึ้น สวมกอดวิธุร-
บัณฑิตด้วยพระพาหาทั้งสอง ไม่ทรงหวั่นไหว ทรง
เชื้อเชิญให้นั่งเหนืออาสนะท่ามกลางสภาตรงพระ-
พักตร์ของพระองค์.
พระเจ้าธนัญชัยตรัสว่า
[๑๐๔๑] ท่านเป็นผู้แนะนำเราทั้งหลาย เหมือน
นายสารถีนำเอารถที่หายแล้วกลับมาได้ ฉะนั้น ชาว
กุรุรัฐทั้งหลายย่อมยินดี เพราะได้เห็นท่าน ฉันถาม
แล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อควานนั้นแก่ฉัน ท่านหลุดพ้น
จากมาณพมาได้อย่างไร.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๔๒] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมประชาชน ผู้ทรง
แกล้วกล้า ประเสริฐกว่านรชน บุรุษที่ฝ่าพระบาทตรัส
เรียกมาณพนั้นไม่ใช่มนุษย์ เป็นยักษ์ชื่อปุณณกะพระ-
เจ้าข้า ฝ่าพระบาททรงเคยได้ยินชื่อมาแล้ว ก็ปุณณก-
ยักษ์นั้น เป็นอำมาตย์ของท้าวกุเวรพระยานาคทรง
นามว่าวรุณผู้ครองนาคพิภพ มีพระกายใหญ่โตสะอาด
ทรงสมบูรณ์ด้วยวรรณะและกำลัง ปุณณกยักษ์รักใคร่

348
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 349 (เล่ม 64)

นางนาคกัญญานามว่าอิรันทตี พระธิดาของพระยา-
นาคราชนั้นจึงตกลงใจจะฆ่าข้าพระองค์ เพราะเหตุ
แห่งนางอิรันทตีผู้มีเอวบางร่างน้อยน่ารักใคร่ แต่
ปุณณกยักษ์เป็นผู้พร้อมเพรียงกับภรรยา ส่วนข้า-
พระองค์เป็นผู้อันพระยานาคทรงอนุญาตให้มา และ
ปุณณกยักษ์ให้แก้วมณีมาด้วย.
พระเจ้าธนัญชัยตรัสว่า
[๑๐๔๓] มีต้นไม้ต้นหนึ่ง เกิดริมประตูวังของ
เรา ลำต้นประกอบด้วยปัญญา กิ่งแล้วด้วยศีล ต้นไม้
นั้นตั้งอยู่ในอรรถและธรรมมีผลเต็มไปด้วยเบญจโครส
ดารดาษไปด้วยช้าง ม้าและโค เมื่อมหาชนทำการบูชา
ต้นไม้นั้น เล่นเพลินอยู่ด้วยการฟ้อนรำขับร้องและ
ดนตรี มีบุรุษมาไล่เสนาที่ยืนแวดล้อมต้นไม้นั้นให้หนี
ไปแล้วถอนต้นไม้ไป ต้นไม้นั้นกลับมาตั้งอยู่ที่ประตู
วังของเราตามเดิม วิธุรบัณฑิตเช่นกับต้นไม้ใหญ่นี้
กลับมาสู่ที่อยู่ของตนแล้ว ท่านทั้งหลายจงกระทำการ
เคารพนบนอบแก่ต้นไม้ คือ วิธุรบัณฑิตนี้เถิด ขอ
เชิญอำมาตย์ผู้มีความปลื้มใจด้วยยศที่ได้ เพราะอาศัย
เราทุก ๆ ท่านเทียว จงแสดงจิตของตนให้ปรากฏใน
วันนี้ ท่านทั้งหลายจงกระทำบรรณาการให้มา จงทำ
การเคารพนบนอบแก่ต้นไม้ คือ วิธุรบัณฑิตนี้ สัตว์
เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่ถูกผูกไว้และถูกขังไว้ ซึ่งมีอยู่ใน
แว่นแคว้นของเรา จงปล่อยไปให้หมด วิธุรบัณฑิตนี้
หลุดพ้นจากเครื่องผูก ฉันใด สัตว์เหล่านั้นก็หลุดพ้น

349
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 350 (เล่ม 64)

จากเครื่องผูก ฉันนั้น พวกชาวไร่ชาวนา จงหยุดพัก
เล่นมหรสพตลอดเดือนหนึ่งนี้ ขอเชิญพราหมณ์ทั้ง
หลายมาบริโภคข้าวอันเจือด้วยเนื้อ พวกนักเลงสุราจง
เว้นการเที่ยวดื่มสุรา เอาหม้อใส่ให้เต็มปรี่ ไปนั่งดื่ม
ที่ร้านของตน ๆ พวกหญิงแพศยาที่อาศัยอยู่ตามถนน
ใหญ่ จงเล้าโลมชายที่มีความต้องการเป็นนิตย์ อนึ่ง
ราชบุตรทั้งหลายจงจัดการรักษาในแว่นแคว้นให้เข้ม
แข็ง โดยมิได้เบียดเบียนกันและกันได้ ท่านทั้งหลาย
จงกระทำการเคารพนบนอบแก่ต้นไม้ คือ วิธุรบัณฑิต
นี้.
[๑๐๔๔] พระสนมกำนัลใน พวกราชกุมาร พวก
พ่อค้าชาวนา และพราหมณ์ทั้งหลาย ได้นำข้าวและ
น้ำเป็นอันมากมาให้แก่วิธุรบัณฑิต พวกกองช้าง กอง
ม้า กองรถ และกองเดินเท้าได้นำข้าวและน้ำเป็นอัน
มากมาให้แก่วิธุรบัณฑิต ชาวชนบท และชาวนิคม
พร้อมเพรียงกัน ได้นำเอาข้าวและน้ำเป็นอันมากมาให้
แก่วิธุรบัณฑิต คนเป็นอันมาก เมื่อวิธุรบัณฑิตมาถึง
แล้ว ได้เห็นวิธุรบัณฑิตมาแล้ว ต่างก็มีจิตโสมนัสพา
กันโบกผ้าขาว โห่ร้องขึ้นเสียงอึงมี ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบวิธุรชาดกที่ ๙

350
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 351 (เล่ม 64)

อรรถกถามหานิบาต
วิธุรชาดก
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงพระปรารภปัญญาบารมี
จึงได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปณฺฑ กีสิยาสิ ทุพฺพลา ดังนี้.
ความพิศดารว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากัน ที่โรงธรรมสภาว่า
ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริงหนอ พระศาสดา ทรงมีพระปัญญา
มาก มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญาเร็วไว มีพระปัญญาร่าเริง มี
พระปัญญาเฉียบแหลม มีพระปัญญาปรุโปร่ง ทรงย่ำยีถ้อยคำกล่าวด้วยของคน
อื่น ทรงทำลายปัญหาอันละเอียด ที่กษัตริย์และบัณฑิตเป็นต้นแต่งขึ้นได้
ด้วยอานุภาพแห่งพระปัญญาของพระองค์ ทรงทรมานให้หมดพยศ แล้วให้ตั้ง
อยู่ในสรณะ และศีล และให้ดำเนินไปตามหนทางอันจะนำสัตว์ไป สู่อมตมหา-
นิพพาน พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่อง
อะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบ จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
ข้อที่เราตถาคตได้บรรลุพระปรมาภิสัมโพธิญาณ อันสามารถทำลายเสียซึ่งคำที่
คนอื่นกล่าวให้ร้าย แนะนำชนทั้งหลายมีกษัตริย์เป็นต้น ได้เช่นนี้ ไม่น่า
อัศจรรย์ เพราะว่าตถาคตแม้เมื่อกำลังแสวงหา พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ในภพก่อน ก็เป็นผู้มีปัญญา ย่ำยีถ้อยคำที่คนอื่นกล่าวให้ร้ายเช่นนี้ เหมือนกัน
จริงอย่างนั้น ในกาลที่เราเป็น วิธุรบัณฑิต เราทรมานยักษ์เสนาบดีนามว่า
ปุณณกะ ได้ด้วยกำลังญาณ บนยอดกาฬคิริบรรพต สูงถึง ๖๐ โยชน์
ปราบให้หมดพยศ ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ จนยอมมอบชีวิตให้แก่เรา ดังนี้แล้ว

351
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 352 (เล่ม 64)

ทรงดุษณีภาพ อันภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเรื่องในอดีตมา
ตรัสดังตอไปนี้.
ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า ธนัญชัยโกรพยราช ทรง
ครองราชย์ในกรุงอินทปัตตะ แคว้นกุรุ อำมาตย์ชื่อว่า วิธุรบัณฑิต ได้เป็น
ราชเสวกของพระเจ้าธนัญชัยโกรพยราชนั้น ในตำแหน่งผู้ถวายอรรถธรรม
ท่านเป็นผู้มีถ้อยคำไพเราะ เป็นมหาธรรมกถึก ประเล้าประโลมพระราชาชาว
ชมพูทวีปทั้งสิ้น ด้วยธรรมเทศนาอันไพเราะจับใจของตน ประหนึ่งกระแส
เสียงแห่งพิณอันยังช้างให้รักใคร่ ฉะนั้น ไม่ยอมให้พระราชาเหล่านั้นเสด็จ
กลับไปยังแว่นแคว้นของพระองค์ แสดงธรรมแก่มหาชน ด้วยพุทธลีลา
อาศัยอยู่ในนครนั้นด้วยยศใหญ่. แม้ในกรุงพาราณสีแล ยังมีพราหมณมหาศาล
๔ คน เคยเป็นเพื่อนคฤหัสถ์ด้วยกัน ในเวลาที่ตนแก่ลง เห็นโทษในกาม
ทั้งหลาย ละทิ้งเหย้าเรือน เข้าไปสู่หิมวันตประเทศ บวชเป็นฤาษีบำเพ็ญ
อภิญญาและสมาบัติให้เกิดแล้ว มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่ใน
หิมวันตประเทศนั้นนั่นแลสิ้นกาลนาน จึงเที่ยวจาริกไป เพื่อต้องการเสพ
รสเค็มและรสเปรี้ยว ไปถึงกรุงกาลจัมปากนคร ในแคว้นอังคะ พากันพักอยู่
ในพระราชอุทยาน วันรุ่งขึ้นจึงเข้าไปภิกษาจารยังนคร.
ในกรุงกาลจัมปากะนั้น ยังมีกุฎุมพีอยู่ ๔ สหาย เลื่อมใสในอิริยาบถ
ของฤาษีเหล่านั้น ต่างก็ไหว้แล้วรับเอาภิกษาภาชนะ นำมาสู่เรือนของตน คนละ
องค์ ๆ อังคาสด้วยอาหารอันประณีต จึงขอรับปฏิญญาแล้วให้อยู่ในสวน. ดาบส
ทั้ง ๔ ครั้นฉันอาหารในเรือนกุฏุมพี ๔ สหายเสร็จแล้ว มีความประสงค์
จะพักผ่อนกลางวัน จึงองค์หนึ่งไปสู่ภพชั้นดาวดึงส์ องค์หนึ่งไปสู่ภพพระยา-
นาค องค์หนึ่งไปสู่ภพพระยาครุฑ องค์หนึ่งไปสู่พระราชอุทยานชื่อว่า มิคา-
ชินะ ของพระเจ้าโกรพยราช บรรดาดาบสทั้ง ๔ องค์ที่ไปพักผ่อนกลางวัน

352
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 353 (เล่ม 64)

ยังเทวโลก ได้เห็นพระอิสริยยศแห่งท้าวสักกเทวราช จึงได้พรรณนาพระ
อิสริยยศนั้นนั่นแล แก่กุฏุมพีผู้เป็นอุปัฏฐากของตน องค์ที่ไปพักผ่อนกลางวัน
ยังพิภพนาค ได้เห็นสมบัติของพระยานาค เมื่อกลับมาถึงแล้ว จึงพรรณนา
สมบัติของพระยานาคนั้นนั่นแล แก่กุฏุมพีผู้เป็นอุปัฏฐากของตน องค์ที่ไปพัก
ผ่อนกลางวัน ยังพิภพพระยาครุฑ ได้เห็นเครื่องประดับของพระยาครุฑ เมื่อ
กลับมาแล้ว จึงพรรณนาเครื่องประดับของพระยาครุฑนั้นแก่กุฏุมพีผู้เป็น
อุปัฏฐากของตน องค์ที่ไปพักผ่อนกลางวัน ยังพระราชอุทยานของพระเจ้า
โกรพยราชได้เห็นสมบัติอันเลิศด้วยความงามคือ สิริของพระเจ้าธนัญชัย ครั้น
กลับมาจึงพรรณนาโภคสมบัติของพระเจ้าธนัญชัยนั้น แก่กุฏุมพีผู้เป็นอุปัฏฐาก
ของตน. กุฏุมพี ๔ สหายนั้น เมื่อปรารถนาฐานะนั้น ๆ จึงบำเพ็ญบุญมีทาน
เป็นต้นในที่สุดแห่งการสิ้นอายุ คนหนึ่งบังเกิดเป็นท้าวสักกเทวราช คนหนึ่ง
พร้อมด้วยบุตรและภรรยา เกิดเป็นพระยานาคในนาคพิภพ คนหนึ่งเกิดเป็น
พระยาครุฑในฉิมพลีรุกขพิมาน คนหนึ่งเกิดในครรภ์ของพระอัครมเหสี ของ
พระเจ้าธนัญชัย ดาบสทั้ง ๔ นั้น ก็ไม่เสื่อมจากฌาน ทำกาละแล้วบังเกิดในพรหม
โลก บรรดากุฏุมพี สหายนั้น กุฏุมพีผู้เป็นพระโกรัพยกุมาร ทรงเจริญวัยขึ้น
แล้ว ครั้นพระราชบิดาสวรรคต ทรงครองราชสมบัติสืบสันติวงศ์ ครองราชย์
โดยธรรม โดยถูกต้อง อันพระเจ้าโกรพยราชนั้นทรงพอพระราชหฤทัยใน
การทรงสกา ท้าวเธอทรงตั้งอยู่ในโอวาทของวิธุรบัณฑิต ทรงบำเพ็ญทาน
รักษาเบญจศีล และอุโบสถศีล วันหนึ่งท้าวเธอทรงสมาทานอุโบสถแล้ว ทรง
ดำริว่า เราจะพอกพูนวิเวกดังนี้ แล้วเสด็จพระราชดำเนินสู่พระราชอุทยาน
ประทับนั่ง ณ มนุญสถาน ทรงเจริญสมณธรรม ฝ่ายท้าวสักกเทวราชทรง
สมาทานอุโบสถแล้ว ทรงพระดำริว่า ในเทวโลก ยังมีความกังวลอยู่ ดังนี้

353
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 354 (เล่ม 64)

แล้วจึงเสด็จไปยังพระอุทยานนั้นนั่นแลในมนุษยโลก ได้ประทับนั่ง เจริญ
สมณธรรมอยู่ ณ มนุญสถาน แม้วรุณนาคราช สมาทานอุโบสถแล้ว
คิดว่า ในนาคพิภพมีความกังวลอยู่ จึงไปในพระราชอุทยานนั้น นั่งเจริญ
สมณธรรม ณ มนุญสถานส่วนหนึ่ง ฝ่ายพระยาครุฑ สมาทานอุโบสถแล้วก็
ดำริว่า ในพิภพครุฑมีความกังวล จึงไปในพระราชอุทยานนั้น แล้วนั่ง
เจริญสมณธรรม ณ มนุญสถานส่วนหนึ่ง พระราชาทั้ง ๔ พระองค์นั้น
ในเวลาเย็นออกจากที่อยู่ของตน ๆ ไปพบกันที่ฝั่งสระโบกขรณีอันเป็นมงคล
พอเห็นกันและกัน ต่างก็มีความพร้อมเพรียงชื่นชมยินดี เข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตมี
เมตตาแก่กันและกัน ต้อนรับด้วยถ้อยคำอันไพเราะ ด้วยอำนาจแห่งความรัก
ใคร่ ซึ่งเคยมีแก่กันและกันในปางก่อน ฝ่ายท้าวสักกเทวราช ประทับนั่ง
เหนือพื้นศิลาอันเป็นมงคล ส่วนพระราชาทั้ง ๓ นั้น ทรงทราบโอกาสที่
ควรแก่พระองค์ ๆ ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสกับพระราชาทั้ง ๓
นั้นว่า พวกเราทั้ง ๔ ล้วนเป็นพระราชาสมาทานอุโบสถ แต่ในบรรดาเรา
ทั้ง ๔ ใครจะมีศีลมากกว่ากัน ลำดับนั้น วรุณนาคราชได้พูดขึ้นว่า ศีลของ
ข้าพเจ้าเท่านั้น มากกว่าศีลของพวกท่านทั้ง ๓ ท้าวสักกเทวราชตรัสถาม
เธอว่า เหตุไฉนในเรื่องนี้ท่านจึงพูดอย่างนั้น วรุณนาคราชกล่าวว่า เหตุว่า
พระยาครุฑนี้เป็นข้าศึกแก่พวกข้าพเจ้า ทั้งที่เกิดแล้วและยังไม่เกิด แม้ข้าพเจ้า
เห็นพระยาครุฑ ผู้เป็นข้าศึกที่อาจทำร้ายพวกข้าพเจ้าให้สิ้นชีวิตได้เช่นนี้ ก็มิได้
ทำความโกรธต่อพระยาครุฑนั้นเลย เพราะเหตุนี้ ศีลของข้าพเจ้าจึงมากกว่า ๆ
ศีลของท่านทั้ง ๓ ดังนี้แล้ว จึงตรัสคาถาที่ ๑ ในจตุโปสถชาดกใน
ทสกนิบาตดังนี้ว่า

354
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 355 (เล่ม 64)

คนใดย่อมไม่ทำความโกรธ ในบุคคลควรโกรธ
อนึ่งคนใดเป็นสัปบุรุษ ย่อมไม่โกรธในกาลไหน ๆ
ถึงเขาโกรธแล้ว ก็หาทำความโกรธให้ปรากฏไม่ บัณ-
ฑิตทั้งหลายเรียกคนนั้นแลว่า ผู้สงบในโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย ได้แก่ ในบรรดาชนทั้งหลายมี
กษัตริย์เป็นต้น คนใดคนหนึ่ง. บทว่า โกปเนยฺเย ความว่า ไม่กระทำ
ความโกรธ ในบุคคลที่ควรโกรธ เหมือนขันติวาทีดาบสฉะนั้น. บทว่า กทาจิ
ความว่า ก็บุคคลใดไม่กระทำความโกรธ ในกาลไหน ๆ. บทว่า กุทฺโธปิ
ความว่า ก็ถ้าบุคคลนั้นเป็นสัปบุรุษ ย่อมโกรธไซร้ หรือแม้โกรธแล้ว ก็ไม่
ทำความโกรธนั้นให้ปรากฏเหมือนจูฬโพธิดาบสฉะนั้น. บทว่า ตํ เว นรํ
ความว่า ดูก่อนมหาราชเจ้า บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกบุคคลผู้นั้น ผู้เป็น
สัปบุรุษ ว่าเป็นผู้สงบในโลก เพราะสงบความชั่วเสียได้ ก็คุณธรรมเหล่านี้
มีอยู่ในข้าพเจ้า เพราะฉะนั้น ศีลของข้าพเจ้า เท่านั้นจึงมากกว่าศีลของท่าน
ทั้งสาม
พระยาครุฑได้สดับดังนั้น จึงกล่าวว่า นาคนี้เป็นอาหารอย่างดีของ
ข้าพเจ้า แต่ข้าพเจ้าแม้เห็นนาค ผู้เป็นอาหารอย่างดีเช่นนี้แล้ว ก็อดกลั้น
ความอยากไว้เสีย ไม่ทำความชั่ว เพราะเหตุแห่งอาหาร เพราะฉะนั้นศีลของ
ข้าพเจ้าจึงมากกว่า ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถาว่า
คนใดมีท้องพร่อง แต่ทนความอยากไว้ได้ เป็น
ฝน มีความเพียรเผาผลาญกิเลส บริโภคข้าวและ
น้ำพอประมาณ ไม่ทำความชั่ว เพราะเหตุแห่งอาหาร
ปราชญ์เรียกคนนั้นแลว่า ผู้สงบในโลก.

355
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 356 (เล่ม 64)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทนฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยการฝึก
อินทรีย์. บทว่า ตปสฺสี แปลว่า ผู้อาศัยความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลส.
บทว่า อาหารเหตุ น กโรติ ปาปํ ความว่า บุคคลแม้ถูกความหิวเบียด
เบียน ก็ไม่ทำกรรมอันลามก เหมือนพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร แต่
ข้าพเจ้าในวันนี้ไม่กระทำความชั่วเพราะเหตุแห่งอาหาร เพราะฉะนั้นศีลของ
ข้าพเจ้าจึงมากกว่า.
ลำดับนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงตรัสว่า ข้าพเจ้าละสมบัติในเทวโลก
อันมีความสุขเป็นเหตุใกล้มีประการต่างๆ มาสู่มนุษยโลกเพื่อต้องการจะรักษา
ศีล เพราะฉะนั้นศีลของข้าพเจ้าจึงมากกว่าศีลของท่าน ดังนี้แล้วจึงตรัส
พระคาถานี้ว่า
บุคคลใดละขาดการเล่น การยินดีในกามได้ทั้ง
หมด ไม่พูดเหลาะแหละแม้น้อยหนึ่งในโลก เว้นจาก
เมถุน เว้นจากตกแต่งร่างกาย นักปราชญ์ทั้งหลาย
เรียกคนนั้นนั่นแลว่า เป็นผู้สงบในโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขิฑฺฑํ ได้แก่ การเล่นทางกายและการ
พูดเล่นทางวาจา. บทว่า รตึ ได้แก่ ความยินดีในกามคุณอันเป็นทิพย์.
บทว่า กิญฺจิ แปลว่า แม้มีประมาณน้อย. บทว่า วิภูสนฏฺฐานา ความว่า
การตกแต่งมี ๒ อย่างคือ การตกแต่งเนื้อ ๑ การตกแต่งผิวหนัง ๑ ในการ
ตกแต่ง ๒ อย่างนั้น อาหารที่กลืนกินเข้าไปชื่อว่า การตกแต่งเนื้อ การตกแต่ง
ด้วยมาลาและเครื่องหอมเป็นต้น ชื่อว่า การตกแต่งผิวหนัง อันเป็นเหตุเป็นที่
ตั้งแห่งอกุศลจิตที่เกิดความยินดี เว้นขาดจากความยินดีนั้น. บทว่า เมถุนสฺมา
ความว่า เว้นขาดจากการซ่องเสพเมถุน. บทว่า ตํ เว นรํ สมณมาหุ โลเก
ความว่า ก็วันนี้ เราละนางเทพอัปสรทั้งหลายมาในมนุษยโลกนี้ทำสมณธรรม
เพราะฉะนั้นศีลของเราจึงมากกว่า.

356
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 357 (เล่ม 64)

แม้ท้าวสักกเทวราชก็ย่อมทรงสรรเสริญศีลของพระองค์เท่านั้น.
พระเจ้าธนัญชัยได้ทรงสดับดังนั้น จึงตรัสว่า วันนี้ ข้าพเจ้าละราช-
สมบัติที่หวงแหนเป็นอันมาก และพระราชวังที่พรั่งพร้อมด้วยเหล่าหญิงนักฟ้อน
หกหมื่น มาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในพระราชอุทยานนี้ ฉะนั้นศีลของข้าพเจ้าจึง
มากกว่า ดังนี้แล้วจึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า
นรชนใดแล กำหนดรู้วัตถุกามและกิเลสกามด้วย
ปริญญาแล้ว สละ วัตถุกามและกิเลสกามทั้งปวง
ได้เด็ดขาด นักปราชญ์ทั้งหลายเรียกนรชนนั้นแล ผู้
ฝึกตนแล้วมีตนอันมั่นคง ปราศจากตัณหาเป็นเหตุยึด
ถือว่าของเรา หมดความหวังว่า เป็นผู้สงบในโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริคฺคหํ ได้แก่ วัตถุกามมีประการต่างๆ.
บทว่า โลภธมฺมํ ได้แก่ ตัณหาที่เกิดขึ้นในเพราะวัตถุกามนั้น. บทว่า
ปริญฺญาย ความว่า กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ เหล่านี้คือ ญาตปริญญา ตีรณ-
ปริญญา ปหานปริญญา ความรู้สภาวะแห่งขันธ์เป็นต้น ชื่อญาตปริญญา ใน
บรรดาปริญญา ๓ อย่างนั้น กิริยาที่ใคร่ครวญพิจารณาเห็นโทษในขันธ์ทั้ง
หลาย ชื่อว่า ตีรณปริญญา กิริยาที่เห็นโทษในขันธ์เหล่านั้นแล้วพราก
ความติดอยู่ด้วยอำนาจความพอใจ ชื่อว่า ปหานปริญญา ชนเหล่าใดกำหนด
รู้ด้วยปริญญา ๓ เหล่านี้แล้วสละละทิ้งวัตถุกามและกิเลสกามไปอยู่. บทว่า
ทนฺตํ ได้แก่ ผู้หมดพยศแล้ว. บทว่า  ิตตฺตํ ได้แก่ มีสภาวะตั้งอยู่ โดย
ความไม่มีแห่งมิจฉาวิตก. บทว่า อมมํ ได้แก่ ไม่มีตัณหาเป็นเหตุยึดถือ
ว่าของเรา. บทว่า นิราสํ ได้แก่ มีจิตหมดห่วงใยด้วยบุตรและภรรยา
เป็นต้น. บทว่า ตํ เว นรํ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมเรียกบุคคลเห็น
ปานนั้นว่า ผู้สงบดังนี้.

357