No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 338 (เล่ม 64)

บาท ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง พระกำลังกาย พระวิริยภาพ
และการอุบัติในนาคพิภพ ทั้งวิมานใหญ่ของฝ่า
พระบาทนี้ เป็นผลแห่งกรรมอะไร อันฝ่าพระบาท
ทรงประพฤติดีแล้ว.
ท้าววรุณตรัสว่า
[๑๐๑๑] เราและภรรยาเมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก
เป็นผู้มีศรัทธา เป็นทานบดี ในครั้งนั้น เรือนของ
เราเป็นดังบ่อน้ำของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย และเราได้
บำรุงสมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญ เราทั้งสองได้
ถวายทาน คือดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ เครื่อง
ประทีป ที่นอนที่พักอาศัย ผ้านุ่งผ้าห่ม ผ้าปูนอน
ข้าวและน้ำโดยเคารพ ทานที่ได้ถวายโดยเคารพนั้น
เป็นวัตรของเรา และการสมาทานวัตรนั้น เป็น
พรหมจรรย์ของเรา ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ ฤทธิ์
ความรุ่งเรือง กำลังกาย ความเพียร การเกิดในนาค
พิภพและวิมานใหญ่ของเรานี้เป็นวิบากแห่งวัตรและ
พรหมจรรย์นั้น อันเราประพฤติดีแล้ว.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๑๒] ถ้าวิมานนี้ ฝ่าพระบาทได้ด้วยอานุภาพ
แห่งทานอย่างนี้ ฝ่าพระบาทก็ชื่อว่าทรงทราบผลแห่ง
บุญ และทรงทราบการเสด็จอุบัติในนาคพิภพเพราะ
ผลแห่งบุญ เพราะเหตุนั้นแล ขอฝ่าพระบาททรงเป็น
ผู้ไม่ประมาทประพฤติธรรม ตามที่จะได้ทรงครอบ
ครองวิมานนี้ต่อไปฉะนั้นเถิด พระเจ้าข้า.

338
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 339 (เล่ม 64)

ท้าววรุณตรัสว่า
[๑๐๑๓] ดูก่อนบัณฑิต ในนาคพิภพนี้ ไม่มี
สมณพราหมณ์ที่เราจะพึงถวายข้าวและน้ำเลย เราถาม
แล้วขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่เรา ตามที่เราจะ
พึงได้ครอบครองวิมานต่อไปเถิด.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๑๔] ข้าแต่พระยานาคราช ก็นาคทั้งหลาย
ที่เป็นพระโอรส พระธิดา พระชายา ทั้งพระญาติ
พระมิตร และข้าเฝ้าของฝ่าพระบาท ซึ่งเกิดในนาค
พิภพนี้ มีอยู่ ขอฝ่าพระบาททรงเป็นผู้ไม่ประทุษร้าย
ในนาคมีพระโอรสเป็นต้นเท่านั้น ด้วยพระกายและ
พระวาจาเป็นนิตย์ ฝ่าพระบาททรงรักษาความไม่ประ-
ทุษร้ายด้วยพระกาย และพระวาจาอย่างนี้ ฝ่าพระบาท
ทรงสถิตอยู่ในวิมานนี้ตลอดพระชนมายุ แล้วจักเสด็จ
ไปสู่เทวโลกอันสูงกว่านาคพิภพ.
ท้าววรุณตรัสว่า
[๑๐๑๕] ท่านเป็นอำมาตย์ของพระราชาผู้
ประเสริฐสุดพระองค์ใด พระราชาผู้ประเสริฐสุด
พระองค์นั้น พรากจากท่านแล้ว ย่อมจะเศร้าโศก
แน่แท้ทีเดียว คนที่ถูกความทุกข์ครอบงำก็ดี คนป่วย
หนักก็ดี ได้สมาคมกับท่านแล้วพึงได้ความสุข.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๑๖] ข้าแต่พระยานาคราช ฝ่าพระบาทตรัส
ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ซึ่งเป็นบทอันแสดงประ-

339
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 340 (เล่ม 64)

โยชน์อย่างล้ำเลิศ ที่นักปราชญ์ประพฤติแล้วโดยแท้
ก็คุณวิเศษของบุคคลผู้มีปัญญาเช่นข้าพระองค์ย่อม
ปรากฏในเมื่อมีภยันตรายเช่นนี้แหละ พระเจ้าข้า.
ท้าวรุณตรัสว่า
[๑๐๑๗] ขอท่านจงบอกแก่เรา ปุณณกยักษ์นี้
ได้ท่านมาเปล่า ๆ หรือ ขอจงบอกแก่เรา ปุณณกยักษ์
นี้ชนะในการเล่นสกาจึงได้ท่านมา ปุณณกยักษ์นี้
กล่าวว่าได้มาโดยธรรม ท่านถึงเงื้อมมือของปุณณก-
ยักษ์นี้ได้อย่างไร.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๑๘] ปุณณกยักษ์นี้ เล่นสกาชนะพระราชา
ของข้าพระองค์ ผู้เป็นอิสราธิบดีในอินทปัตตะนครนั้น
พระราชาพระองค์นั้นอันปุณณกยักษีชนะแล้ว ได้ทรง
พระราชทานข้าพระองค์แก่ปุณณกยักษ์นี้ ข้าพระองค์
เป็นผู้อันปุณณกยักษ์นี้ได้มาแล้วโดยธรรม มิใช่ได้มา
โดยธรรมอันสาหัสพระเจ้าข้า.
[๑๐๑๙] ในกาลนั้น พระยานาคผู้ประเสริฐ ทรง
สดับคำสุภาษิตของวิธุรบัณฑิตผู้เป็นปราชญ์แล้วทรง
ชื่นชมโสมนัส มีพระทัยเต็มตื้นด้วยปีติ ทรงจูงมือ
วิธุรบัณฑิตผู้มีปัญญาไม่ทราม เสด็จเข้าไปในที่อยู่ของ
พระชายา ตรัสว่า ดูก่อนพระน้องวิมลา เพราะเหตุ
ใด พระน้องจึงดูผอมเหลืองไป เพราะเหตุใด พระ
น้องจึงไม่เสวยกระยาหาร ก็คุณงามความดีของวิธุร-
บัณฑิตผู้ที่พระน้องต้องประสงค์ดวงหทัย เป็นผู้บรร-

340
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 341 (เล่ม 64)

เทาความมืดของโลกทั้งปวง เช่นนี้นั้นของเราไม่มี ผู้
นี้คือวิธุรบัณฑิตมาถึงแล้ว จะทำความสว่างไสวให้
แก่พระน้อง เชิญพระน้องตั้งหทัยฟังคำของท่าน การ
ที่จะได้เห็นท่านอีกเป็นการหาได้ยาก.
[๑๐๒๐] พระนางวิมาลา ทอดพระเนตรเห็น
วิธุรบัณฑิต ผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดินนั้นแล้ว
มีพระทัยยินดีโสมนัส ทรงยกพระองคุลีทั้ง ๑๐ ขึ้น
อัญชลี และตรัสกะวิธุรบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์
ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐว่า ท่านเป้นมนุษย์มาเห็น
พิภพของนาคที่ตนไม่เคยเห็น เป็นผู้ถูกภัยคือความตาย
คุกคาม เป็นผู้ไม่กลัว และไม่อภิวาท อาการเช่นนี้ดู
เหมือนจะไม่มีแก่ผู้มีปัญญา.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๒๑] ข้าแต่พระนางเจ้านาคี ข้าพระองค์
เป็นผู้ไม่กลัว และไม่เป็นผู้อันภัยคือความตายคุกคาม
นักโทษประหารไม่พึงไหว้เพชฌฆาต หรือเพชฌฆาต
ก็ไม่พึงให้นักโทษประหารกราบไหว้ตน อย่างไรหนอ
นรชนจะพึงกราบไหว้ บุคคลผู้ที่ปรารถนาจะฆ่าตน
และผู้ปรารถนาจะฆ่าเขา จะพึงให้บุคคลผู้ที่ตนจะฆ่า
กราบไหว้ตนอย่างไรเล่า กรรมนั้นย่อมไม่สำเร็จ
ประโยชน์พระเจ้าข้า.

341
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 342 (เล่ม 64)

พระนางวิมลาตรัสว่า
[๑๐๒๒] ดูก่อนบัณฑิต คำนั้นถูกอย่างที่ท่านพูด
ท่านพูดจริง นักโทษประหารไม่พึงกราบไหว้เพชฌฆาต
หรือเพชฌฆาตก็ไม่พึงให้นักโทษประหารกราบไหว้
ตน อย่างไรหนอนรชน จะพึงกราบไหว้บุคคลผู้
ปรารถนาจะฆ่าตน และผู้ปรารถนาจะฆ่าเขา จะพึงให้
บุคคลผู้ที่ตนจะฆ่ากราบไหว้อย่างไรเล่า กรรมนั้นย่อม
ไม่สำเร็จประโยชน์เลย.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๒๓] ข้าแต่พระนางเจ้านาคกัญญา วิมาน
ของพระองค์นี้เป็นของไม่เที่ยง แต่เป็นเช่นกับของ
เที่ยง ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง พระกำลังกาย พระวิริยภาพ
และการเสด็จอุบัติในนาคพิภพไม่มีแล้วแก่ฝ่าพระบาท
ข้าพระองค์ขอทูลถามเนื้อความนั้น กะฝ่าพระบาท
วิมานนี้ฝ่าพระบาทได้มาอย่างไรหนอ วิมานนี้ฝ่าพระ-
บาทได้มาเพราะอาศัยอะไร หรือเป็นของเกิดขึ้นตาม
ฤดูกาล ฝ่าพระบาททรงกระทำเอง หรือเทวดาทั้งหลาย
ถวายฝ่าพระบาท ข้าแต่พระนางเจ้านาคกัญญา ขอ
ฝ่าพระบาทตรัสบอกเนื้อความนี้แก่ข้าพระองค์ ตามที่
ฝ่าพระบาทได้วิมานเถิด พระเจ้าข้า.
พระนางวิมาลาตรัสว่า
[๑๐๒๔] วิมานนี้ ฉันจะได้มาเพราะอะไรก็หา
มิได้ เกิดขึ้นตามฤดูกาล ก็หามิได้ ฉันมิได้กระทำเอง
แม้เทวดาทั้งหลายก็มิได้ให้ แต่วิมานนี้ฉันได้มาด้วยบุญ
กรรมอันไม่ลามกของตนเอง.

342
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 343 (เล่ม 64)

วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๒๕] ข้าแต่พระนางเจ้านาคี อะไรเป็นวัตร
ของฝ่าพระบาท และอะไรเป็นพรหมจรรย์ของฝ่า
พระบาท ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง พระกำลังกาย พระวิริย-
ภาพ และการเสด็จอุบัติในนาคพิภพ ทั้งวิมานอัน
ใหญ่ของฝ่าพระบาทนี้ เป็นผลแห่งกรรมอะไร อัน
ฝ่าพระบาททรงประพฤติดีแล้ว พระเจ้าข้า.
พระนางวิมลาตรัสว่า
[๑๐๒๖] ฉันและพระสวามีของฉัน เป็นผู้มี
ศรัทธา เป็นทานบดีในครั้งนั้น เรือนของฉันเป็นดัง
บ่อน้ำของสมณพราหมณ์ทั้งหลาย และฉันได้บำรุง
สมณพราหมณ์ให้อิ่มหนำสำราญ ฉันและพระสวามี
เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลกนั้น ได้ถวายทานคือ ดอกไม้
ของหอม เครื่องลูบไล้ เครื่องประทีป ที่นอน ที่พัก
อาศัย ผ้านุ่งผ้าห่ม ผ้าปูนอน ข้าวและน้ำ โดยเคารพ
ทานที่ฉันได้ถวายโดยเคารพนั้น เป็นวัตรของฉัน และ
การสมาทานวัตรนั้นเป็นพรหมจรรย์ของฉัน ดูก่อน
ท่านผู้เป็นปราชญ์ ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง กำลังกาย ความ
เพียร การเกิดในนาคพิภพ และวิมานใหญ่ของเรานี้
เป็นวิบากแห่งวัตรและพรหมจรรย์นั้น อันเราประพฤติ
ดีแล้ว.

343
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 344 (เล่ม 64)

วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๒๗] ถ้าวิมานนี้ฝ่าพระบาท ทรงได้ด้วย
อานุภาพแห่งทานอย่างนี้ ฝ่าพระบาทก็ชื่อว่าทรงทราบ
ผลแห่งบุญ และทรงทราบการเสด็จอุบัติในนาคพิภพ
เพราะผลแห่งบุญ เพราะเหตุนั้นแล ขอฝ่าพระบาท
ทรงเป็นผู้ไม่ประมาท ประพฤติธรรมตามที่จะได้ทรง
ครอบครองวิมานนี้ต่อไปฉะนั้นเถิด พระเจ้าข้า.
พระนางวิมลาตรัสว่า
[๑๐๒๘] ดูก่อนบัณฑิต ในพิภพนี้ ไม่มีสมณ-
พราหมณ์ที่เราจะพึงถวายข้าวและน้ำเลย ฉันถามแล้ว
ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ฉัน ตามที่ฉันจะพึงได้
ครอบครองวิมานต่อไปเถิด.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๒๙] ข้าแต่พระนางเจ้านาคี ก็นาคทั้งหลาย
ที่เป็นพระโอรส พระธิดา พระสวามี ทั้งพระญาติ พระ-
มิตร และข้าเฝ้าของฝ่าพระบาท ซึ่งเกิดในนาคพิภพ
นี้ มีอยู่ ขอฝ่าพระบาททรงเป็นผู้ไม่ประทุษร้ายใน
นาคมีพระโอรสเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยพระกาย และ
พระวาจาเป็นนิตย์ ฝ่าพระบาทจงทรงรักษาความไม่
ประทุษร้ายด้วยพระกายและพระวาจาอย่างนี้ ฝ่าพระ-
บาททรงสถิตอยู่ในวิมานนี้ตลอดพระชนมายุแล้ว จัก
เสด็จไปสู่เทวโลกอันสูงส่งกว่านาคพิภพนี้ พระเจ้าข้า.

344
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 345 (เล่ม 64)

พระนางวิมลาตรัสว่า
[๑๐๓๐] ท่านเป็นอำมาตย์ของพระราชาผู้ประ-
เสริฐสุดพระองค์ใด พระราชาผู้ประเสริฐสุดพระองค์
นั้น พรากจากท่านแล้ว ย่อมจะทรงเศร้าโศกแน่แท้ที่
เดียว คนผู้ถูกความทุกข์ ครอบงำก็ดี คนผู้ป่วยหนักก็
ดี ได้สมาคมกับท่านแล้วพึงได้ความสุข.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๓๑] ข้าแต่พระนางเจ้านาคี ฝ่าพระบาท
ตรัสธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย ซึ่งเป็นบทอันแสดง
ประโยชน์ล้ำเลิศ ที่นักปราชญ์ประพฤติดีแล้วโดยแท้
ก็คุณวิเศษของบุคคลผู้มีปัญญาเช่นข้าพระองค์ ย่อม
ปรากฏในเมื่อมีภัยอันตรายเช่นนี้แหละ พระเจ้าข้า.
พระนางวิมลาตรัสว่า
[๑๐๓๒] ขอท่านจงบอกแก่ฉัน ปุณณกยักษ์นี้ได้
ท่านมาเปล่า ๆ หรือขอท่านจงบอกแก่ฉัน ปุณณกยักษ์
นี้ชนะในการเล่นสกาจึงได้ท่านมา ปุณณกยักษ์นี้
กล่าวว่าได้มาโดยธรรม ท่านถึงเงื้อมมือของปุณณก-
ยักษ์นี้ได้อย่างไร.
วิรุธบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๓๓] ปุณณกยักษ์นี้ เล่นสกาชนะพระราชา
ของข้าพระองค์ผู้เป็นอิสราธิบดีในอินทปัตตะนครนั้น
พระราชาพระองค์นั้น อันปุณณกยักษีชนะแล้ว ได้
ทรงพระราชทานข้าพระองค์แก่ปุณณกยักษ์นี้ ข้าพระ-

345
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 346 (เล่ม 64)

องค์เป็นผู้อันปุณณกยักษ์นี้ได้มาแล้วโดยธรรม มิใช่
ได้มาด้วยกรรมอันสาหัสพระเจ้าข้า.
[ ๑๐๓๕] ท้าววรุณนาครา ตรัสถามปัญหากะ
วิธุรบัณฑิต ฉันใด แม้พระนางวิมลานาคกัญญา ก็
ตรัสถามปัญหากะวิธุรบัณฑิต ฉันนั้น วิธุรบัณฑิตผู้
เป็นปราชญ์ อันท้าววรุณนาคราชตรัสถามแล้ว ได้
พยากรณ์ปัญหาให้ท้าววรุณนาคราชทรงยินดี ฉันใด
วิธุรบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ แม้พระนางวิมลานาค-
กัญญาตรัสถามแล้ว ก็พยากรณ์ให้นางวิมลานาค-
กัญญาทรงยินดี ฉันนั้น วิธุรบัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์
ทราบว่าพระยานาคราชผู้ประเสริฐ และพระนางนาค-
กัญญาทั้งสองพระองค์นั้น ทรงมีพระทัยชื่นชมโสมนัส
ไม่ครั่นคร้ามไม่กลัว ไม่ขนพองสยองเกล้า ได้กราบ
ทูลท้าววรุธนาคราชว่า ข้าแต่พระยานาคราช ฝ่าพระ-
บาทอย่าทรงพระวิตกว่า ทรงกระทำกรรมของคนผู้
ประทุษร้ายมิตร และอย่าทรงพระดำรู้ว่าจักฆ่าบัณฑิต
นี้ ขอฝ่าพระบาททรงกระทำกิจด้วยเนื้อหทัยของข้า
พระองค์ ตามที่ฝ่าพระบาททรงพระประสงค์เถิด ถ้า
ฝ่าพระบาทไม่ทรงสามารถจะฆ่าข้าพระองค์ ข้า-
พระองค์ จะทำถวายตามพระอัธยาศัยของฝ่าพระบาท
เอง พระเจ้าข้า.
[๑๐๓๕] ปัญญานั่นเอง เป็นหทัยของบัณฑิตทั้ง
หลาย เราทั้งสองนั้นยินดีด้วยปัญญาของท่านยิ่งนัก

346
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 347 (เล่ม 64)

ปุณณกยักษ์จงไปส่งท่าน ให้ถึงแคว้นกุรุรัฐในวันนี้ที
เดียว.
[๑๐๓๖] ปุณณกยักษีนั้น ได้นางอิรันทตีนาค-
กัญญาแล้ว มีใจชื่นชมโสมนัสปีติปราโมทย์ ได้กล่าว
กะวิธุรบัณฑิตผู้ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐว่า ข้าแต่
ท่านวิธุรบัณฑิต ท่านได้ทำให้ข้าพเจ้ามีความพร้อม
เพรียงกันกับภรรยา ข้าพเจ้าจะทำกิจตอบแทนท่าน
ข้าพเจ้าจะให้แก้วมณีนี้แก่ท่าน และจะน้ำท่านไปส่ง
ให้ถึงแคว้นกุรุรัฐในวันนี้ทีเดียว.
วิธุรบัณฑิตกล่าวว่า
[๑๐๓๗] ดูก่อนกัจจานะ ท่านจงมีความไมตรี
สนิทสนมกับภรรยาที่น่ารัก อันไม่มีใครทำให้แตก
แยกตลอดไป ท่านจงเป็นผู้มีจิตเบิกบาน มีปีติโสมนัส
ท่านได้ให้แก้วมณีแต่ข้าพเจ้าแล้ว ขอจงนำข้าพเจ้าไป
ยังอินทปัตตนครด้วยเถิด.
[๑๐๓๘] ปุณณกยักษ์นั้น เชิญวิธุรบัณฑิตผู้
ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐผู้มีปัญญาไม่ทราม ให้ขึ้น
นั่งบนอาสนะข้างหน้าของตนขึ้นม้าอาชาไนยเหาะไป
ในอากาศกลางหาว ปุณณกยักษ์นั้น ได้นำวิธุรบัญฑิต
ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐไปถึงอินทปัตตนครเร็วยิ่ง
กว่าใจของมนุษย์พึงไป.
ปุณณกยักษ์กล่าวว่า
[๑๐๓๙] อินทปัตตนครปรากฏอยู่โน่น และป่า
มะม่วงอันน่ารื่นรมย์ ก็เห็นอยู่เป็นหย่อม ๆ ข้าพเจ้า

347