No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 328 (เล่ม 64)

[๙๘๐] ข้าพเจ้าจักสะดุ้งกลัวไปทำไม เพราะ
ข้าพเจ้าไม่มีกรรมชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ
อันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ.
[๙๘๑] พระยาม้านั้น นำวิธุรบัณฑิตเหาะไปใน
อากาศกลางหาวไม่กระทบที่กิ่งไม้หรือภูเขา วิ่งเข้าไป
สู่กาฬคีรีบรรพตโดยฉับพลัน.
[๙๘๒] ภรรยาพันหนึ่ง และทาสีเจ็ดร้อยประ-
คองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า ยักษ์แปลงเพศเป็น
พราหมณ์มาพาเอาวิธุรบัณฑิตไป พระสนมกำนัลใน
พระราชกุมาร พ่อค้า ชาวนาและพราหมณ์ กอง
ช้าง กองม้า กองรถ กองเดินเท้า... ชาวชนบท
และชาวนิคมต่างมาประชุมพร้อมกัน ประคองแขน
ทั้งสองร้องไห้คร่ำครวญว่า ยักษ์แปลงเพศเป็น
พราหมณ์มาพาเอาวิธุรบัณฑิตไป ภรรยาพันหนึ่งและ
ทาสีเจ็ดร้อย ต่างประคองแขนร้องไห้คร่ำครวญว่า
วิธุรบัณฑิตนั้นไปแล้ว ณ ที่ไหน พระสนมกำนัลใน
พระราชกุมาร พ่อค้า ชาวนาและพราหมณ์ กองช้าง
กองม้า กองรถ กองเดินเท้า.... ชาวชนบทและชาว
นิคม ต่างมาประชุมพร้อมกันประคองแขนร้องไห้
คร่ำครวญว่า วิธุรบัณฑิตไปแล้ว ณ ที่ไหน
[๙๘๓] ถ้าท่านวิธุรบัณฑิต จักไม่มาโดย ๗ วัน
ข้าพระพุทธเจ้าจักพากันเข้าไปสู่กองไฟ ข้าพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลาย ไม่มีความต้องการด้วยชีวิต.

328
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 329 (เล่ม 64)

[๙๘๔] ก็วิธุรบัณฑิตเป็นผู้ฉลาดเฉียบแหลม
สามารถแสดงปะโยชน์ และมิใช่ประโยชน์แจ้งชัด
มีปัญญาเครื่องพิจารณา คงจะเปลื้องตนได้โดยพลัน
ท่านทั้งหลายอย่ากลัวไปเลย วิธุรบัณฑิตปลดเปลื้อง
ตนแล้ว ก็จักรีบกลับมา.
(นี้) ชื่ออันตรเปยยาล.
[๙๘๕] ปุณณกยักษ์นั้น ไปยืนคิดอยู่บนยอด
กาฬาคีรีบรรพต ความคิดย่อมเป็นความคิดสูง ๆ ต่ำ ๆ
ประโยชน์อะไร ๆ ด้วยความเป็นอยู่ของวิธุรบัณฑิตนี้
หามีแก่เราไม่ เราจักฆ่าวิธุรบัณฑิตนี้เสีย แล้วนำเอา
แต่ดวงใจไปเถิด.
[๙๘๖] ปุณณกยักษ์นั้นมีจิตประทุษร้ายลงจาก
ยอดเขาไปสู่เชิงเขา วางพระมหาสัตว์ไว้ในระหว่าง
ภูเขา ชำแรกเข้าไปภายในภูเขานั้นจับพระมหาสัตว์
เอาศีรษะลงเบื้องต่ำ ขว้างลงไปที่พื้นดินที่ไม่มีอะไร
กีดกั้น.
[๙๘๗] วิธุรบัณฑิตผู้เป็นอำมาตย์ประเสริฐสุด
ของชาวกุรุรัฐ เมื่อถูกห้อยศีรษะลงในเหวอันชัน เป็น
ที่น่ากลัว น่าสยดสยอง น่าหวาดเสียวมา ไม่สะดุ้งกลัว
ได้กล่าวกะปุณณกยักษีว่า ท่านเป็นผู้มีรูปดังผู้ประ-
เสริฐ แต่หาเป็นคนประเสริฐไม่ คล้ายจะเป็นคน
สำรวม แต่ไม่สำรวม กระทำกรรมอันหยาบช้าไร้

329
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 330 (เล่ม 64)

ประโยชน์ ส่วนกุศลแม้แต่น้อยหนึ่งย่อมไม่มีในจิต
ของท่าน ท่านจะโยนข้าพเจ้าลงในเหว ประโยชน์
อะไรด้วยการตายของข้าพเจ้า จะพึงมีแต่ท่านหนอ
วันนี้ผิวพรรณของท่านเหมือนของอมนุษย์ ท่านจง
บอกข้าพเจ้า ท่านเป็นเทวดาชื่ออะไร.
ปุณณกยักษ์ตอบว่า
[๙๘๘] ข้าพเจ้าเป็นยักษ์ชื่อปุณณกะ และเป็น
อำมาตย์ของท้าวกุเวร ถ้าท่านคงได้ฟังมาแล้ว พระ-
ยานาคใหญ่นามว่าวรุณ ผู้ครอบครองนาคพิภพมีรูป
งามสะอาด สมบูรณ์ด้วยผิวพรรณและกำลัง ข้าพเจ้า
รักใคร่อยากได้นางนาคกัญญานามว่าอิรันทตีธิดาของ
พระยานาคนั้น ดูก่อนท่านผู้เป็นปราชญ์ เพราะเหตุ
แห่งนางอิรันทตีผู้มีเอวอันงามน่ารักนั้น ข้าพเจ้าจึง
ตกลงใจจะฆ่าท่าน.
วิธุรบัณฑิตกล่าวว่า
[๙๘๙] ดูก่อนยักษ์ ท่านอย่าได้มีความลุ่มหลง
นักเลย สัตว์โลกเป็นอันมากฉิบหายแล้วเพราะความ
ถือผิด เพราะเหตุไรท่านจึงทำความรักใคร่ในนาง
อิรันทตีผู้มีเอวอันงามน่ารัก ท่านจะมีประโยชน์อะไร
ด้วยความตายของข้าพเจ้า เชิญท่านจงบอกเหตุทั้งปวง
แก่ข้าพเจ้าด้วย.

330
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 331 (เล่ม 64)

ปุณณกยักษ์กล่าวว่า
[๙๙๐] ข้าพเจ้าปรารถนาธิดาของพระยาวรุณ-
นาคราช ผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้รับ
อาสาญาติของนางอิรันทตีมา ญาติเหล่านั้นได้สำคัญ
ข้าพเจ้าว่า ถูกความรักใคร่ครอบงำโดยส่วนเดียว
เหตุนั้น พระยาวรุณนาคราชได้ตรัสกะข้าพเจ้า ผู้ทูล
ขอนางอิรันทตีนาคกัญญาว่า เราทั้งหลายพึงให้ธิดา
ของเรา ผู้มีร่างกายอันสลวย มีเนตรงามอย่างน่าพิศวง
ลูบไล้ด้วยจุรณแก่นจันทน์ ถ้าท่านพึงได้ดวงหทัยของ
วิธุรบัญฑิตนำมาในนาคพิภพนี้โดยธรรม เพราะความ
ดีความชอบนี้ ท่านก็จะได้ธิดาของเรา เราทั้งหลาย
มิได้ปรารถนาทรัพย์อื่นยิ่งไปกว่านั้น ดูก่อนท่าน
อำมาตย์ ข้าพเจ้าไม่ได้เป็นคนหลง ท่านจงฟังให้
ทราบเรื่องอย่างนี้ อนึ่งข้าพเจ้ามิได้มีความถือผิด
อะไรๆ เลย เพราะดวงหทัยของท่าน ที่ข้าพเจ้าได้ไป
โดยชอบธรรม ท้าววรุณนาคราชและพระนางวิมลาจะ
ประทานนางอิรันทตีนาคกัญญาแก่ข้าพเจ้า เพราะ
ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงพยายามเพื่อจะฆ่าท่าน ข้าพเจ้ามี
ประโยชน์ด้วยการตายของท่าน จึงจะผลักท่านให้ตก
ลงในเหวนี้ ฆ่าเสียแล้วนำเอาดวงหทัยไป.
วิธุรบัณฑิตกล่าวว่า
[๙๙๑] จงวางข้าพเจ้าลงเร็วเถิด ถ้าท่านมีกิจที่
จะต้องทำด้วยหทัยของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะแสดงสาธุ-
นรธรรมทั้งปวงนี้แก่ท่านในวันนี้.

331
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 332 (เล่ม 64)

[๙๙๒] ปุณณกยักษ์นั้น รีบวางวิธุรบัณฑิตอำ-
มาตย์ผู้ประเสริฐที่สุดของชาวกุรุรัฐลงบนยอดเขา เห็น
วิธุรบัณฑิตผู้มีปัญญาไม่ทรามนั่งอยู่ จึงถามว่า ท่าน
อันข้าพเจ้ายกขึ้นจากเหวแล้ว วันนี้ข้าพเจ้ามีกิจที่จะ
ต้องทำด้วยหทัยของท่าน ท่านจงแสดงสาธุนรธรรม
ทั้งหมดนั้นแก่ข้าพเจ้าในวันนี้.
วิธุรบัณฑิตกล่าวว่า
[๙๙๓] ข้าพเจ้าอันท่านยกขึ้นจากเหวแล้ว ถ้า
ท่านมีกิจที่จะต้องทำด้วยหทัยของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะ
แสดงสาธุนรธรรมทั้งหมดนี้แก่ท่านในวันนี้.
[๙๙๔] ดูก่อนมาณพ ท่านจงเดินไปตามทางที่
ท่านเดินไปแล้ว ๑ จงอย่าเผาฝ่ามืออันชุ่ม ๑ อย่าได้
ประทุษร้ายในหมู่มิตร ในกาลไหนๆ ๑ อย่าตกอยู่ใน
อำนาจของหญิงอสติ ๑.
ปุณณกยักษ์กล่าวว่า
[๙๙๕] บุคคลชื่อว่า เป็นผู้เดินไปตามทางที่
ท่านเดินไปแล้วอย่างไร บุคคลชื่อว่าเผาฝ่ามืออันชุ่ม
อย่างไร บุคคลเช่นไรชื่อว่าประทุษร้ายมิตร หญิง
เช่นไรชื่อว่าอสติ ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอท่านจงบอก
เนื้อความนั้น.
[๙๙๖] ผู้ใดพึงเชื้อเชิญคนที่ไม่คุ้นเคยกัน ไม่
เคยพบเห็นกันแม้ด้วยอาสนะ บุรุษพึงกระทำประโยชน์

332
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 333 (เล่ม 64)

แก่บุคคลนั้นโดยแท้ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุรุษนั้นว่า
ผู้เดินไปตามทางที่ท่านเดินแล้ว บุคคลพึงอยู่ในเรือน
ของผู้ใดแม้คืนเดียว ได้ข้าวน้ำด้วย ไม่ควรคิดร้ายแก่
ผู้นั้นแม้ด้วยใจ ผู้คิดร้ายต่อบุคคลเช่นนั้น ชื่อว่าเผา
ฝ่ามืออันชุ่ม และชื่อว่าประทุษร้ายมิตร บุคคลนั่ง
หรือนอนที่ร่มเงาของต้นไม้ใด ไม่ควรหักรานกิ่งของ
ต้นไม้นั้น เพราะผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนชั่วช้า หญิง
ที่สามียกย่องอย่างดี ถึงแก่ให้แผ่นดินนี้อันบริบูรณ์
ด้วยทรัพย์ ได้โอกาสแล้วพึงดูหมิ่นสามีนั้นได้ บุคคล
ไม่ควรตกอยู่ในอำนาจของหญิงเหล่านั้น ผู้ชื่อว่าอสติ
บุคคลชื่อว่าเดินไปตามทางที่ท่านเดินแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า
ตกอยู่ในอำนาจของหญิงผู้ชื่อว่าอสติอย่างนี้ ชื่อว่า
ประทุษร้ายมิตรอย่างนี้ ท่านจงเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม
จงละอธรรมเสีย.
(นี้) ชื่อสาธุนรธรรมกัณฑ์.
[๙๙๗] ข้าพเจ้าได้อยู่ในเรือนท่านตลอด ๓ วัน
ทั้งเป็นผู้ที่ท่านบำรุงด้วยข้าวและน้ำ ท่านเป็นผู้พ้น
จากข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอปล่อยท่าน ดูก่อนท่านผู้มี
ปัญญาอันสูงสุด เชิญท่านกลับไปเรือนของท่าน
ตามปรารถนาเถิด ความต้องการของตระกูลพระยา
นาคจะเสื่อมไปก็ตามที เหตุที่จะให้ได้นางนาคกัญญา
ข้าพเจ้าเลิกละ ดูก่อนท่านผู้มีปัญญา เพราะคำสุภาษิต
ของตนนั่นแล ท่านจึงพ้นจากข้าพเจ้าผู้จะฆ่าท่าน
ในวันนี้.

333
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 334 (เล่ม 64)

วิธุรบัณฑิตกล่าวว่า
[๙๙๘] ดูก่อนปุณณกยักษ์ เชิญท่านนำข้าพเจ้า
ไปในสำนักของพ่อตาของท่าน จงประพฤติประโยชน์
ในข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าก็อยากเห็นท้าววรุณผู้เป็นอธิบดี
ของนาคและวิมานของท้าวเธอซึ่งข้าพเจ้าไม่เคยเห็น.
ปุณณกยักษ์กล่าวว่า
[๙๙๙] คนมีปัญญา ไม่ควรจะดูสิ่งที่ไม่เป็นไป
เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่นรชนนั้นเลย ดูก่อนท่านผู้มี
ปัญญาอันสูงสุด เออก็เพราะเหตุอะไรหนอ ท่านจง
ปรารถนาจะไปยังที่อยู่ของศัตรูเล่า.
วิธุรบัณฑิตกล่าวว่า
[๑๐๐๐] แม่ข้าพเจ้าก็รู้ชัด ซึ่งข้อที่ผู้มีปัญญาไม่
ควรเห็นสิ่งที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่นรชน
นั้นแน่แท้ แต่ข้าพเจ้าไม่มีความชั่วที่กระทำไว้ในที่ ๆ
ไหนเลย เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่รังเกียจต่อความ
ตายอันจะมาถึงตน.
ปุณณกยักษ์กล่าวว่า
[๑๐๐๑] ดูก่อนบัณฑิต เชิญเถิด ท่านกับข้าพเจ้า
มาไปดูพิภพของพระยานาคราช ซึ่งมีอานุภาพหาที่
เปรียบมิได้ เป็นที่อยู่อันมีการฟ้อนรำขับร้องตาม
ปรารถนา เหมือนนิฬิญญราชธานีเป็นที่ประทับอยู่ของ
ท้าวเวสวัณ ฉะนั้น นาคพิภพนั้น เป็นที่ไปเที่ยว

334
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 335 (เล่ม 64)

เล่นเป็นหมู่ ๆ ของนางนาคกัญญา ตลอดวันและคืน
เป็นนิตย์ มีดอกไม้ดารดาษอยู่มากมายหลายชนิดสว่าง
ไสวดังสายฟ้าในอากาศ บริบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำเพียบ
พร้อมด้วยการฟ้อนรำขับร้องและการประโคม พร้อม
มูลไปด้วยนางนาคกัญญาที่ประดับประดาสวยงาม งาม
สง่าไปด้วยผ้านุ่งผ้าห่มและเครื่องประดับ.
[๑๐๐๒] ปุณณกยักษีนั้น เชิญให้วิธุรบัณฑิตผู้
ประเสริฐสุดของชาวกุรุรัฐ นั่งเหนืออาสนะข้างหลัง
ได้พาวิธุรบัณฑิตผู้มีปัญญาไม่ทรามเข้าไปสู่ภพของ
พระยานาคราช วิธุรบัณฑิตได้สถิตอยู่ข้างหลังแห่ง
ปุณณกยักษ์ จนถึงพิภพของพระยานาคซึ่งมีอานุภาพที่
เปรียบมิได้ ก็พระยานาคทอดพระเนตรเห็นลูกเขยผู้มี
ความจงรักภักดี ได้ตรัสทักทายปราศรัยก่อนทีเดียว.
ท้าววรุณตรัสว่า
[๑๐๐๓] ท่านได้ไปยังมนุษยโลก เที่ยวแสวงหา
ดวงหทัยของบัณฑิตกลับมาถึงในนาคพิภพนี้ด้วยความ
สำเร็จหรือ หรือว่าท่านได้พาเอาบัณฑิตผู้มีปัญญาไม่
ต่ำทรามมาด้วย.
ปุณณกยักษ์ทูลว่า
[๑๐๐๔] ท่านผู้นี้แหละ คือวิธุรบัณฑิต ที่พระ-
องค์ทรงปรารถนานั้นมาแล้วโดยธรรม เชิญใต้ฝ่าละออง
ธุลีพระบาททอดพระเนตรวิธุรบัณฑิต ผู้จะแสดงธรรม
ถวายด้วยเสียงอันไพเราะ เฉพาะพระพักตร์ ณ บัดนี้

335
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 336 (เล่ม 64)

การสมาคมด้วยสัปบุรุษทั้งหลาย ย่อมเป็นเหตุนำความ
สุขมาให้โดยแท้.
(นี้) ชื่อว่ากาลาคิรีกัณฑ์.
ท้าววรุณตรัสว่า
[๑๐๐๕] ท่านเป็นมนุษย์ มาเห็นพิภพของนาคที่
ตนไม่เคยเห็นแล้วเป็นผู้ถูกภัยคือความตายคุกคามแล้ว
เป็นผู้ไม่กลัว และไม่อภิวาท อาการเช่นนี้ดูเหมือนจะ
ไม่มีแก่ผู้มีปัญญา.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๐๖] ข้าแต่พระยานาคราช ข้าพระองค์เป็น
ผู้ไม่กลัวและไม่เป็นผู้อันภัยคือความตายคุกคาม นัก-
โทษประหารไม่พึงกราบไหว้เพชฌฆาต หรือเพชฌฆาต
ก็ไม่พึงให้หนักโทษประหารกราบไหว้ตน อย่างไรหนอ
นรชนจะพึงกราบไหว้บุคคลผู้ปรารถนาจะฆ่าตน และ
ผู้ปรารถนาจะฆ่าเขา จะพึงให้บุคคลผู้ที่ตนจะฆ่า
กราบไหว้ตนอย่างไรเล่า กรรมนั้นย่อมไม่สำเร็จ
ประโยชน์เลยพระเจ้าข้า.
ท้าววรุณตรัสว่า
[๑๐๐๗] ดูก่อนบัณฑิต คำนั้นถูกอย่างที่ท่านพูด
ท่านพูดจริง นักโทษประหารไม่พึงกราบไหว้เพชฌ-
ฆาต หรือเพชฌฆาตก็ไม่พึงให้นักโทษประหารกราบ
ไหว้ตน อย่างไรหนอนรชนพึงกราบไหว้บุคคลผู้

336
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 337 (เล่ม 64)

ปรารถนาจะฆ่าตน และผู้ปรารถนาจะฆ่าเขา จะพึง
ให้บุคคลผู้ที่ตนจะฆ่ากราบไหว้ตนอย่างไรเล่า กรรม
นั้นย่อมไม่สำเร็จประโยชน์เลย.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๐๘] ข้าแต่พระยานาคราช วิมานของฝ่า
พระบาทนี้เป็นของไม่เที่ยงแต่เป็นเช่นกับของเที่ยง
ฤทธิ์ ความรุ่งเรือง พระกำลังกาย พระวิริยภาพและ
การเสด็จอุบัติในนาคพิภพ ได้มีแล้วแก่ฝ่าพระบาท
ข้าพระองค์ขอทูลถามเนื้อความนั้น กะฝ่าพระบาท
วิมานนี้ทรงได้มาอย่างไรหนอ วิมานนี้ฝ่าพระบาท
ทรงได้มาเพราะอาศัยอะไร หรือเป็นของเกิดขึ้นตาม
ฤดูกาล ฝ่าพระบาททรงกระทำเอง หรือเทวดาทั้งหลาย
ถวายแก่พระองค์ ข้าแต่พระยานาคราช ขอฝ่าพระ-
บาทตรัสบอกเนื้อความนี้แก่ข้าพระองค์ ตามที่ฝ่า-
พระบาทได้วิมานมาเถิด พระเจ้าข้า.
ท้าววรุณตรัสว่า
[๑๐๐๙] วิมานนี้ เราจะได้มาเพราะอาศัยอะไร
ก็หามิได้ เกิดขึ้นตามฤดูกาลก็หามิได้ เรามิได้กระทำ
เอง แม้เทวดาทั้งหลายก็มิได้ให้ แต่วิมานนี้เราได้มา
ด้วยบุญกรรมอันไม่ลามกของตนเอง.
วิธุรบัณฑิตทูลว่า
[๑๐๑๐] ข้าแต่พระยานาคราช อะไรเป็นวัตร
ของฝ่าพระบาท และอะไรเป็นพรหมจรรย์ของฝ่าพระ-

337