No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 8 (เล่ม 64)

เราเป็นอาจารย์ของพวกหมอฆ่าพิษ ชนทั้งหลายรู้จัก
เราว่าอาลัมพายน์.
[๗๑๘] เราทั้งหลายจงรับแก้วไว้สิ ดูกรพ่อโสม-
ทัต เจ้าจงรู้ไว้ เราทั้งหลายอย่าละสิริ อันมาถึงตน
ด้วยท่อนไม้ตามชอบใจสิ.
[๗๑๙] ข้าแต่พ่อผู้เป็นพราหมณ์ ภูริทัตนาค-
ราชบูชาคุณพ่อผู้ไปถึงที่อยู่ของตน เพราะเหตุไร คุณ
พ่อจึงปรารถนาประทุษร้ายต่อผู้กระทำดีเพราะความ
หลงอย่างนี้ ถ้าคุณพ่อปรารถนาทรัพย์ ภูริทัตนาคราช
ก็คงจักให้ คุณพ่อไปขอท่านเถิด ภูริทัตนาคราชคง
จักให้ทรัพย์เป็นอันมากแก่คุณพ่อ.
[๗๒๐] ดูก่อนโสมทัต การกินของที่ถึงมือ ถึง
ภาชนะ หรือที่ตั้งอยู่เบื้องหน้า เป็นความประเสริฐ
ประโยชน์ที่เห็นประจักษ์ อย่าได้ล่วงเราไปเสียเลย.
[๗๒๑] คนประทุษร้ายมิตร สละความเกื้อกูล
จะต้องหมกไหม้อยู่ในนรกอันร้ายแรง แผ่นดินย่อม
สูบผู้นั้น หรือเมื่อผู้นั้นมีชีวิตอยู่ก็ซูบซีด ถ้าคุณพ่อ
ปรารถนาทรัพย์ ภูริทัตนาคราชก็คงจักให้ ผมเข้าใจ
ว่า คุณพ่อจักต้องได้ประสบเวรที่ตนทำไว้ในไม่ช้า.
[๗๒๒] พราหมณ์ทั้งหลายบูชายัญแล้ว ย่อม
บริสุทธิ์ได้ เราจักบูชามหายัญ ก็จักพ้นจากบาปด้วย
การบูชายัญอย่างนี้.

8
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 9 (เล่ม 64)

[๗๒๓] เชิญเถิด ผมจะขอแยกไป ณ บัดนี้
วันนี้ผมจะไม่ขออยู่ร่วมกับคุณพ่อ จะไม่ขอเดินทาง
ร่วมกับคุณพ่อผู้ทำกรรมหยาบอย่างนี้สักก้าวเดียว.
[๗๒๔] โสมทัตผู้ได้ยินได้ฟังมามาก ครั้น
กล่าวกะบิดา และประกาศกะเทวดาทั้งหลายอย่างนี้
แล้ว ก็หลีกไปจากที่นั้น.
[๗๒๕] ท่านจงจับเอานาคใหญ่นั่น จงส่งแก้ว
มณีนั้นมาให้เรา นาคใหญ่นั่นมีรัศมีดังสีแมลงค่อม
ทอง ศีรษะแดง ตัวปรากฏดังกองปุยนุ่น นอนอยู่บน
จอมปลวกนั่น ท่านจงจับเอาเถิดพราหมณ์.
[๗๒๖] อาลัมพายน์เอาทิพยโอสถทาตัว และ
ร่ายมนต์ทำการป้องกันตัวอย่างนี้ จึงสามารถจับพระ-
ยานาคนั้นได้.
[๗๒๗] เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นข้าพระองค์
ผู้ให้สำเร็จสิ่งที่น่าใคร่ทั้งปวง มาเฝ้าแล้ว อินทรีย์ของ
พระแม่เจ้าไม่ผ่องใส พระพักตร์พระแม่เจ้าก็เกรียมดำ
เพราะทอดพระเนตรเห็นข้าพระองค์เช่นนี้ พระพักตร์
พระแม่เจ้าเกรียมดำ เหมือนดอกบัวอยู่ในมือลูกขยี้
ฉะนั้น.
[๗๒๘] ใครว่าล่วงเกินพระแม่เจ้าหรือ หรือ
พระแม่เจ้ามีเวทนาอะไร เพราะทอดพระเนตรเห็น
ข้าพระองค์ผู้มาเฝ้า พระพักตร์ของพระแม่เจ้าเกรียม
ดำเพราะเหตุไร.

9
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 10 (เล่ม 64)

[๗๒๙] พ่อสุทัสสนะลูกเอ๋ย แม่ได้ฝันเห็นล่วงมา
เดือนหนึ่งแล้วว่า (มี) ชายมาตัดแขนของแม่ดูเหมือน
ข้างขวา พาเอาไปทั้งที่เปื้อนเลือด เมื่อแม่กำลังร้องไห้
อยู่ ตั้งแต่แม่ได้ฝันเห็นแล้ว เจ้าจงรู้เถิดว่า แม่ไม่
ได้ความสุขทุกวันคืน.
[๗๓๐] แต่ก่อนนางกัญญาทั้งหลาย ผู้มีร่างกาย
อันสวยสดงดงาม ปกคลุมด้วยตาข่ายทอง พากันบำ
เรอภูริทัตใด บัดนี้ภูริทัตนั้นย่อมไม่ปรากฏ แต่ก่อน
เสนาทั้งหลายผู้ถือดาบอันคมกล้า งามดังดอกกรรณิการ์
พากันห้อมล้อมภูริทัตใด บัดนี้ภูริทัตนั้นย่อมไม่ปรากฏ
เอาละ เราจักไปยังนิเวศน์แห่งภูริทัตเดี๋ยวนี้ จักไป
เยี่ยมน้องของเจ้า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล.
[๗๓๑] ภริยาทั้งหลายของภูริทัต เห็นพระ-
มารดาของภูริทัตเสด็จมา ต่างพากันประคองแขน
คร่ำครวญว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า หม่อมฉันทั้งหลายไม่
ทราบเกล้า ล่วงมาเดือนหนึ่งแล้วว่า ภูริทัตผู้เรืองยศ
โอรสของพระแม่เจ้าสิ้นชีพเสียแล้ว หรือว่ายังดำรง
ชนม์อยู่.
[๗๓๒] เราไม่เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วย
ทุกข์สิ้นกาลนาน ดังนางนกพลัดพรากจากลูกเห็นแต่
รังเปล่า เราไม่เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วยทุกข์สิ้น
กาลนาน ดังนางหงส์ขาวพลัดพรากจากลูกอ่อน เรา

10
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 11 (เล่ม 64)

ไม่เห็นภูริทัต จักตรอมตรมด้วยทุกข์สิ้นกาลนาน ดัง
นางนกจากพรากในเปือกตมอันไม่มีน้ำเป็นแน่ เราไม่
เห็นภูริทัตจักตรอมตรมด้วยความโศก เปรียบเหมือน
เบ้าของช่างทอง เกรียมไหม้ในภายใน ไม่ออกไปภาย
นอกฉะนั้น.
[๗๓๓] บุตรธิดาและชายาในนิเวศน์ของภูริทัต
ล้มนอนระเนระนาดดังต้นรังอันลมฟาดหักลง ฉะนั้น.
[๗๓๔] อริฏฐะและสุโภคะ ได้ฟังเสียงอันกึก
ก้องของบุตรธิดาและชายาของภูริทัต จึงวิ่งไปในระ-
หว่าง ช่วยกันปลอบมารดาว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า จง
เบาพระทัยอย่าเศร้าโศกไปเลย เพราะว่าสัตว์ทั้งหลาย
ย่อมมีความตายและความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาอย่างนี้
การตายและการเกิดขึ้นนี้ เป็นความแปรของสัตว์โลก.
[๗๓๕] ดูก่อนพ่อสุทัสสนะ ถึงแม่รู้ว่าสัตว์ทั้ง
หลายมีอย่างนี้เป็นธรรมดา ก็แต่ว่าแม่เป็นผู้อันความ
เศร้าโศกครอบงำแล้ว ถ้าเมื่อแม่ไม่ได้เห็นภูริทัตคืน
วันนี้เจ้าจงรู้ว่า แม่ไม่ได้เห็นภูริทัต เห็นจะต้องละชีวิต
ไปแน่.
[๗๓๖] ข้าแต่พระแม่เจ้า จงเบาพระทัย อย่า
เศร้าโศกไปเลย ลูกทั้ง ๓ จักเที่ยวแสวงหาภูริทัตไป
ตามทิศน้อยทิศใหญ่ ที่ภูเขา ซอกเขา บ้าน และนิคม
แล้วจักนำท่านพี่ภูริทัตมา พระแม่เจ้าจักได้ทรงเห็น
ท่านพี่ภูริทัตภายใน ๗ วัน.

11
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 12 (เล่ม 64)

[๗๓๗] นาคหลุดพ้นจากมือ ไปฟุบลงที่เท้าของ
ท่าน คุณพ่อ มันกัดเอากระมังหนอ คุณพ่ออย่ากลัว
เลย จงถึงความสุขเถิด.
[๗๓๘] นาคตนนี้ ไม่สามารถจะทำความทุกข์
อะไร ๆ แก่เราเลย หมองูมีอยู่เท่าใด ก็ไม่ดียิ่งไปกว่า
เรา.
[๗๓๙] คนเซอะอะไรหนอ แปลงเพศเป็น
พราหมณ์มาท้ารบในที่ประชุมชน ขอบริษัทจงฟังเรา.
[๗๔๐] ดูก่อนหมองู ท่านจงต่อสู้กับเราด้วยนาค
เราจักต่อสู้กับท่านด้วยลูกเขียด ในการรบของเรานั้น
เราทั้งสองจงมาพนันกันด้วยเดิมพัน ๕,๐๐๐ กหาปณะ.
[๗๔๑] ดูก่อนมาณพ เราเท่านั้นเป็นคนมั่งคั่ง
ด้วยทรัพย์ ท่านเป็นคนจน ใครจะเป็นคนรับประกัน
ท่าน และอะไรเป็นเดิมพันของท่านเดิมพันของเรามี
และคนรับประกันเช่นนั้นก็มี ในการรบของเราทั้งสอง
เราทั้งสองมาพนันกันด้วยเดิมพัน ๕,๐๐๐ กหาปณะ.
[๗๔๒] ดูก่อนมหาบพิตรผู้ทรงเกียรติ เชิญสดับ
คำของอาตมภาพ ขอความเจริญจงมีแก่มหาบพิตร
ขอมหาบพิตรทรงรับประกันทรัพย์ ๕,๐๐๐ กหาปณะ
ของอาตมภาพเถิด.
[๗๔๓] ข้าแต่ดาบส หนี้เป็นของบิดา หรือว่า
เป็นหนี้ที่ท่านทำเอง เพราะเหตุไรท่านจึงขอทรัพย์
มากมายอย่างนี้ต่อข้าพเจ้า.

12
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 13 (เล่ม 64)

[๗๔๔] เพราะนายอาลัมพายน์ ปรารถนาจะ
ต่อสู้กับอาตมภาพด้วยนาค อาตมภาพจักให้ลูกเขียด
กัดนายอาลัมพายน์ ดูก่อนมหาบพิตรผู้ผดุงรัฐ ขอเชิญ
พระองค์ผู้มีหมู่ทหารดาบเป็นกองทัพ เสด็จไปทอด
พระเนตรนาคในวันนี้.
[๗๔๕] ข้าแต่ดาบส เราไม่ได้ดูหมิ่นท่านโดย
ทางศิลปศาสตร์เลย ท่านมัวเมาด้วยศิลปศาสตร์มาก
ไป ไม่ยำเกรงนาค.
[๗๔๖] ดูก่อนพราหมณ์ แม้อาตมภาพก็ไม่ได้ดู
หมิ่นท่านในทางศิลปศาสตร์ แต่ว่าท่านล่อลวงประ-
ชาชนนักด้วยนาคอันไม่มีพิษ ถ้าชนพึงรู้ว่านาคของ
ท่านไม่มีพิษ เหมือนอย่างอาตมารู้แล้ว ท่านก็จะไม่
ได้แกลบสักกำมือหนึ่งเลย จักได้ทรัพย์แต่ที่ไหนเล่า
หมองู.
[๗๔๗] ท่านผู้นุ่งหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ เกล้า
ชฎารุ่มร่าม เหมือนคนเซอะ เข้ามาในประชุม ดู
หมิ่นนาคเช่นนี้ว่าไม่มีพิษ ท่านเข้ามาใกล้แล้วก็จะพึง
รู้ว่านาคนั้นเต็มไปด้วยเดช เหมือนของนาคอันสูงสุด
ข้าพเจ้าเข้าใจว่านาคตัวนี้จักทำท่านให้แหลกเป็น
เหมือนเถ้าไปโดยฉับพลัน.
[๗๔๘] พิษของงูเรือน งูปลา งูเขียว พึงมี
แต่พิษของนาคมีศีรษะแดง ไม่มีเลยทีเดียว.

13
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 14 (เล่ม 64)

[๗๔๙] ข้าพเจ้าได้ฟังคำของพระอรหันต์ทั้ง
หลายผู้สำรวม ผู้มีตบะ มาว่า ทายกทั้งหลายให้ทาน
ในโลกนี้แล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ท่านมีชีวิตอยู่ จงให้
ทานเสียเถิด ท่านมีสิ่งของที่ควรจะให้ นาคนี้มีฤทธิ์
มากมีเดช ยากที่ใคร ๆ จะก้าวล่วงได้ เราจะให้นาค
นั้นกัดท่าน มันก็จักทำท่านให้เป็นเถ้าไป.
[๗๕๐] ดูกรสหาย แม้เราก็ได้ฟังคำของพระ-
อรหันต์ทั้งหลายผู้สำรวม ผู้มีตบะมาว่า ทายกทั้งหลาย
ให้ทานในโลกนี้แล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ ท่านนั่นแหละ
เมื่อมีชีวิตอยู่ จงให้ทานเสีย ถ้าท่านมีสิ่งของที่ควร
จะให้ ลูกเขียดชื่อว่าอัจจิมุขีนี้ เต็มด้วยเดชเหมือน
ของนาคอันสูงสุด เราจักให้ลูกเขียดนั้นกัดท่าน
ลูกเขียดนั้นจักทำท่านให้เป็นเถ้าไป นางเป็นธิดาของ
ท้าวธตรฐ เป็นน้องสาวต่างมารดาของเรา นางอัจจิมุขี
ผู้เต็มไปด้วยเดช เหมือนของนาคอันสูงสุดนั้นจงกัด
ท่าน.
[๗๕๑] ดูกรมหาบพิตร ถ้าอาตมภาพจักหยดพิษ
ลงบนแผ่นดิน มหาบพิตรจงทรงทราบเถิด ต้นหญ้า
ลดาวัลย์ และต้นยาทั้งหลาย พึงเหี่ยวแห้งไปโดยไม่
ต้องสงสัย.
[๗๕๒] ดูกรมหาบพิตร ถ้าอาตมภาพจักขว้าง
พิษขึ้นไปบนอากาศ มหาบพิตรจงทราบเถิดว่า ฝน
และน้ำค้างจะไม่ตกตลอด ๗ ปี.

14
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 15 (เล่ม 64)

[๗๕๓] ดูกรมหาบพิตร ถ้าอาตมภาพจักหยด
พิษลงในน้ำ มหาบพิตรจงทราบเถิด สัตว์น้ำมีประ-
มาณเท่าใด ทั้งปลาและเต่าก็พึงตายหมด.
[๗๕๔] น้ำที่โลกสมมติว่าสามารถลอยบาปได้
มีอยู่ที่ท่าปยาคะ ภูตผีอะไรฉุดเราลงสู่แม่น้ำยมุนาอัน
ลึก.
[๗๕๕] นาคราชใด เป็นใหญ่ในโลก เรืองยศ
พันเมืองพาราณสีไว้โดยรอบ เราเป็นลูกของนาคราช
ผู้ประเสริฐนั้น ดูกรพราหมณ์ นาคทั้งหลายเรียกเรา
ว่า สุโภคะ.
[๗๕๖] ถ้าท่านเป็นโอรสของนาคราชผู้ประ-
เสริฐ ผู้เป็นพระราชาของชนชาวกาสี เป็นอธิบดีอมร
พระชนกของท่านเป็นคนใหญ่คนโตผู้หนึ่ง และพระ
ชนนีของท่าน ก็ไม่มีใครเทียบเท่าในหมู่มนุษย์ ผู้มี
อานุภาพมากเช่นท่าน ย่อมไม่สมควร จะฉุดแม้คน
เพียงเป็นทาสของพราหมณ์ให้จมน้ำเลย.
[๗๕๗] เจ้าแอบต้นไร่ยิงเนื้อซึ่งมาเพื่อจะดื่มน้ำ
เนื้อถูกยิงแล้วรู้สึกได้ด้วยกำลังลูกศร จึงวิ่งหนีไปไกล
เจ้าได้พบมันล้มอยู่ในป่าใหญ่ จึงแล่เนื้อหาบมาถึงต้น
ไทรในเวลาเย็น อันกึกก้องไปด้วยเสียงร้องของนก
แขกเต้าและนกสาลิกา มีใบเหลืองเกลื่อนกล่นไปด้วย
ย่านไทร มีฝูงนกดุเหว่าร้องอยู่ระงมน่ารื่นรมย์ใจ ภูมิ-

15
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 16 (เล่ม 64)

ภาคเขียวไปด้วยหญ้าแพรกอยู่เป็นนิตย์ พี่ชายของเรา
เป็นผู้รุ่งเรืองไปด้วยฤทธิ์และยศ มีอานุภาพมาก อัน
นางนาคกัญญาทั้งหลายแวดล้อม ปรากฏแก่เจ้าผู้อยู่ที่
ต้นไทรนั้น ท่านพาเจ้าไปเลี้ยงดู บำรุงบำเรอด้วยสิ่ง
ที่น่าใคร่ทุกอย่าง เป็นคนประทุษร้ายต่อท่านผู้ไม่
ประทุษร้าย เวรนั้นมาถึงเจ้าในที่นี้แล้ว เจ้าจงเหยียด
คอออกเร็ว ๆ เถิด เราจักไม่ไว้ชีวิตแก่เจ้า เราระลึก
ถึงเวรที่เจ้าทำต่อพี่เรา จักตัดศีรษะเจ้าเสีย.
[๗๕๘] พราหมณ์ผู้ทรงเวท ๑ ผู้ประกอบในการ
ขอ ๑ ผู้บูชาไฟ ๑ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้ พราหมณ์
เป็นผู้ที่ใคร ๆ ไม่ควรจะฆ่า.
[๗๕๙] เมืองของท้าวธตรฐอยู่ภายใต้แม่น้ำยมุนา
จดหิมวันตบรรพต ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลแม่น้ำยมุนา ล้วน
แล้วไปด้วยทองคำงามรุ่งเรือง พี่น้องร่วมต้องของเรา
ล้วนเป็นคนมีชื่อลือชา อยู่ในเมืองนั้น ดูก่อนพราหมณ์
พี่น้องของเราเหล่านั้นจักว่าอย่างไร เจ้าจักต้องเป็น
อย่างนั้น.
[๗๖๐] ข้าแต่พี่สุโภคะ ยัญและเวททั้งหลายใน
โลกที่พวกพราหมณ์ประกอบขึ้น ไม่ใช่เป็นของเล็ก
น้อย เพราะฉะนั้น ผู้ติเตียนพราหมณ์ซึ่งใคร ๆ ไม่
ควรติเตียน ชื่อว่าย่อมละทิ้งทรัพย์เครื่องปลื้มใจและ
ธรรมของสัตบุรุษเสีย.

16
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 17 (เล่ม 64)

[๗๖๑] พวกพราหมณ์ถือการทรงไตรเพท พวก
กษัตริย์ปกครองแผ่นดิน พวกแพศย์ยึดการไถนา และ
พวกศูทรยึดการบำเรอวรรณะทั้ง ๔ นี้ เข้าถึงการงาน
ตามที่อ้างมาเฉพาะอย่าง ๆ นั้นกล่าวกันว่า มหาพรหม
ผู้มีอำนาจจัดไว้.
[๗๖๒] พระพรหมผู้สร้างโลก ท้าววรุณ ท้าว-
กุเวร ท้าวโสมะ พระยายม พระจันทร์ พระวายุ
พระอาทิตย์ แม้ท่านเหล่านี้ก็ล้วนบูชายัญมามากแล้ว
แ ละบูชาสิ่งที่น่าใคร่ทุกอย่างแก่พราหมณ์ผู้ทรงเวท
ท้าวอรชุน และท้าวภีมเสน มีกำลังมากมีแขนนับพัน
ไม่มีใครเสมอในแผ่นดิน ยกธนูได้ ๕๐๐ คัน ก็ได้
บูชาไฟมาแต่ก่อน.
[๗๖๓] ดูกรพี่สุโภคะ ผู้ใดเลี้ยงพราหมณ์ทั้ง
หลายมานานด้วยข้าวและน้ำตามกำลัง ผู้นั้นมีจิตเลื่อม
ใสอนุโมทนาอยู่ ได้เป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง.
[๗๖๔] พระเจ้ามุจลินท์สามารถบูชาเทวดาคือ
ไฟ ผู้กินมาก มีสีไม่ทราม ให้อิ่มหนำด้วยเนยใส
ทรงบูชายัญวิธีแก่เทวดา คือไฟผู้ประเสริฐแล้วได้
บังเกิดในทิพยคติ.
[๗๖๕] พระเจ้าทุทีปะ มีอานุภาพมาก มีอายุยืน
๑,๐๐๐ ปี มีพระรูปงามน่าดูยิ่งนัก ทรงละแว่นแคว้น
อันไม่มีที่สุด พร้อมทั้งเสนา เสด็จออกผนวชแล้ว
ได้เสด็จสู่สวรรค์.

17