No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 566 (เล่ม 63)

ของข้าพเจ้าให้มีความสุข มโหสถย่อมเห็นแจ่มแจ้ง
ซึ่งความเจริญทุกอย่างทั้งอนาคตและปัจจุบัน ข้าพเจ้า
ไม่ยอมให้มโหสถบัณฑิตผู้ไม่มีความผิดเลยแก่ผีเสื้อ
น้ำ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมฺหิจิ กาเล แปลว่า ในกาลไหน ๆ
บทว่า สุขาเปยฺย ความว่า พึงให้ตั้งอยู่ในความสุขทีเดียว. บทว่า สพฺพมตฺถํ
ความว่า มโหสถย่อมเห็นแจ่มแจ้งซึ่งความเจริญทุกอย่างทั้งอนาคตและปัจจุบัน
หรืออดีต ราวกะพระพุทธเจ้าผู้สัพพัญญู. บทว่า อนาปราธกมฺมนฺต
ความว่า เว้นจากความผิดทางกายกรรมเป็นต้น. บทว่า น ทชฺชํ ความว่า
ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าจักไม่ให้บัณฑิตผู้มีธุระไม่มีใครเสมอเหมือนอย่างนี้ แก่
ผีเสื้อน้ำ.
พระเจ้าจุลนีทรงยกเกียรติคุณของพระมหาสัตว์ขึ้นประกาศ ประหนึ่ง
ทรงยกดวงจันทร์ขึ้นฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้ ชาดกนี้มีเนื้อความคิดต่อกัน
ด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น นางเภรีปริพาชิกาคิดว่า เกียรติคุณของมโหสถบัณฑิต
ปรากฏเพียงเท่านี้ ยังไม่เพียงพอ เราจักกระทำเกียรติคุณของมโหสถบัณฑิต
ให้ปรากฏในท่ามกลางชาวเมืองทั้งสิ้นทีเดียว ให้เป็นประหนึ่งว่ารดน้ำมันลง
บนผิวแม่น้ำแผ่ขยายไปฉะนั้น คิดฉะนี้แล้วจึงเชิญพระเจ้าจุลนีลงจากปราสาท
ให้ปูลาดอาสนะพระลานหลวงนั่งบนอาสนะนั้นแล้ว ประกาศให้ชาวเมืองมา
ประชุมกัน แล้วทูลถามพระเจ้าจุลนีถึงปัญหาผีเสื้อน้ำ ตั้งแต่ต้นอีกในเวลาที่
พระเจ้าจุลนีตรัสโดยนัยที่ตรัสแล้วในหนหลัง นางเภรีปริพาชิกาได้กล่าวประ-
กาศแก่ชาวเมืองว่า
ชาวปัญจาละทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงพึงพระ-
ดำรัสของพระเจ้าจุลนีนี้ พระองค์ทรงปกป้องมโหสถ

566
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 567 (เล่ม 63)

บัณฑิตสละพระชนม์ซึ่งสละได้ยาก พระเจ้าปัญจาละ
ทรงสละชีวิตของพระชนนี พระมเหสี พระกนิษฐ-
ภาดา พระสหาย และพราหมณ์เกวัฏ และแม่ของ
พระองค์เอง เป็น ๖ คนด้วยกัน ปัญญามีประโยชน์
ใหญ่หลวงเป็นสิ่งละเอียด เป็นเหตุให้คนเรามีความ
คิดในทางที่ดี ย่อมมีเพอประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน
และเพื่อความสุขในภายหน้า ด้วยประการฉะนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหตฺถิยา ความว่า ถือเอาประโยชน์
ใหญ่ตั้งอยู่. บทว่า ทิฏฐธมฺมหิตตฺหาย ความว่า ย่อมมีเพื่อประโยชน์
เกื้อกูลในอัตภาพนี้ทีเดียว และเพื่อประโยชน์สุขในปรโลก.
นางเภรีปริพาชิกาถือเอายอดธรรมเทศนาด้วยคุณทั้งหลายของพระ-
มหาสัตว์ ดุจถือเอายอดเรือนแก้วด้วยดวงแก้วมณีฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ปัญหาผีเสื้อน้ำ
จบอรรถกถามหาอุมมังคชาดกโดยประการทั้งปวง
พระศาสดาครั้น ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงด้วยประการฉะนี้
แล้ว เมื่อทรงประกาศอริยสัจ ๔ ประชุมชาดก ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น ที่ตถาคตมีปัญญาย่ำยีวาทะของผู้อื่น แม้ในอดีตกาลเมื่อ
ญาณยังไม่แก่กล้า ตถาคตยังบำเพ็ญจิริยาเพื่อประโยชน์โพธิญาณอยู่ ก็มีปัญญา
เหมือนกัน ตรัสฉะนี้แล้วได้ตรัสคาถาเหล่านั้นว่า
เสนกบัณฑิตในครั้งนั้น คือกัสสปภิกษุในบัดนี้
กามินทะคือ อัมพัฏฐภิกษุ
ปุกกุสะคือ โปฏฐปาทภิกษุ
ปัญจาลจันทกุมารคือ อนุรุทธภิกษุ

567
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 568 (เล่ม 63)

เทวินทะ คือโสณทัณฑกภิกษุ
พราหมณ์เกวัฏ คือเทวทัตภิกษุ
พระนางสลากเทวี คือถูลนันทิกาภิกษุณี
พราหมณ์อนุเกวัฏ คือโมคคัลลานภิกษุ
พระนางปัญจาลจันที คือสุนทรีภิกษุณี
นางนกสาริกา คือพระนางมัลลิกาเทวี
พระนางอูทุมพรเทวี คือโคดมภิกษุณี
พระเจ้าวิเทหราช คือกาฬุทายีภิกษุ
นางเภรีปริพาชิกา คืออุบลวรรณาภิกษุณี
คฤหบดีผู้บิดา คือพระเจ้าสุทโธทนมหาราช
คฤหปตานีผู้มารดา คือพระสิริมหามายา
นางอมรา คือพระพิมพาผู้เลอโฉม
ติขิณกุมาร คือฉันนภิกษุ
ธนุเสข คือราหุลภิกษุ
นกสุวบัณฑิต คืออานนทภิกษุ
พระเจ้าจุลนี คือสารีบุตรภิกษุ
มโหสถบัณฑิต คือเราผู้โลกนาถ
เธอทั้งหลายจงทรงจำชาดกไว้อย่างนี้แล.
จบ มโหสถชาดกบัณฑิต
รวมชาดกที่มีในเล่มนี้ คือ
๑. เตมิยชาดก ๒. มหาชนกชาดก ๓. สุวรรณสามชาดก ๔. เนมิ-
ราชชาดก ๕. มโหสถชาดก และอรรถกถา.

568
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 1 (เล่ม 64)

พระสุตตันตปิฎก
ขุททกนิกาย ชาดก
เล่มที่ ๔ ภาคที่ ๓๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มหานิบาตชาดก
๖. ภูริทัตชาดก
พระเจ้าภูริทัตทรงบำเพ็ญศีลบารมี
[๖๘๗] รัตนะอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอยู่ในนิเวศน์
ของท้าวธตรฐ รัตนะทั้งหมดนั้นจงมาสู่พระราชนิเวศน์
ของพระองค์ ขอพระองค์จงทรงพระกรุณาโปรด
ประทานพระราชธิดาแก่พระราชาของข้าพระองค์เถิด
พระเจ้าข้า.
[๖๘๘] พวกเราไม่เคยทำการวิวาห์กับนาคทั้ง
หลาย ในกาลไหน ๆ เลย พวกเราจะทำการวิวาห์อัน
ไม่สมควรนั้นได้อย่างไรเล่า.
[๖๘๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่กว่ามนุษย์พระ-
องค์จำต้องทรงสละพระชนม์ชีพหรือแว่นแคว้นเสีย
๑. บาลีเล่มที่ ๒๘ อรรถกถาชาดกเล่มที่ ๑๐.

1
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 2 (เล่ม 64)

เป็นแน่ เพราะเมื่อนาคโกรธแล้ว คนทั้งหลาย เช่น
พระองค์จะมีชีวิตอยู่นานไม่ได้ ข้าแต่พระองค์ผู้ประ-
เสริฐ พระองค์เป็นมนุษย์ไม่มีฤทธิ์ มาดูหมิ่นพระยา
นาคธตรผู้มีฤทธิ์ ผู้เป็นบุตรของท้าววรุณนาคราช
เกิดภายใต้แม่น้ำยมุนา.
[๖๙๐] เราไม่ได้ดูหมิ่นท้าวธตรผู้เรืองยศ ก็
ท้าวธตรฐเป็นใหญ่กว่านาคแม่ทั้งหมด ถึงจะเป็นพระ-
ยานาคผู้มีอานุภาพมาก ก็ไม่สมควรกะธิดาของเรา
เราเป็นกษัตริย์ของชนชาววิเทหรัฐ และนางสมุททชา
ธิดาของเราก็เป็นอภิชาต.
[๖๙๑] พวกนาคเหล่ากัมพลอัสสดรจงเตรียมตัว
จงไปบอกให้นาคทั้งปวงรู้ จงพากันไปเมืองพาราณสี
แต่อย่าได้เบียดเบียนใคร ๆ เลย.
[๖๙๒] นาคทั้งหลาย จงแผ่พังพานห้อยอยู่ที่
บ้านเรือน ในสระน้ำ ที่ทางเดิน ที่ทาง ๔ แพร่ง บน
ยอดไม้ และบนเสาระเนียด แม้เราก็จะนิรมิตตัว ให้
ใหญ่ขาวล้วน วงล้อมเมืองใหญ่ด้วยขนดหาง ยังความ
กลัวให้เกิดแก่ชนชาวกาสี.
[๖๙๓] นาคทั้งหลายได้ฟังคำของท้าวธตรฐแล้ว
แปลงเพศเป็นหลายอย่าง พากันเข้าไปยังพระนครพา-
ราณสี แต่มิได้เบียดเบียนใคร ๆ เลย แผ่พังพานห้อย
อยู่ที่บ้านเรือน ในสระน้ำ ที่ทางเดิน ที่ทาง ๔ แพร่ง

2
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 3 (เล่ม 64)

บนยอดไม้ พวกสตรีเป็นอันมากได้เห็นนาคเหล่านั้น
แผ่พังพานห้อยอยู่ ตามที่ต่าง ๆ หายใจฟู่ ๆ ก็พากัน
คร่ำครวญ ชาวเมืองพาราณสีมีความสะดุ้งกลัว เดือด
ร้อน ก็พากันไปประชุมกอดอกร้องทุกข์ว่า ขอพระ-
องค์จงทรงพระราชทานพระราชธิดา แก่พระยานาค
เถิดพระเจ้าข้า.
[๖๙๔] ท่านชื่ออะไร มีนัยน์ตาแดง อกผาย นั่ง
อยู่ท่ามกลางป่าอันเต็มไปด้วยดอกไม้ สตรี ๑๐ คน
เป็นใคร ทรงเครื่องประดับล้วนแต่ทองคำ นุ่งผ้างาม
ยืนเคารพอยู่ ท่านเป็นใคร มีแขนใหญ่ รุ่งเรืองอยู่
ในท่ามกลางป่า เหมือนไฟอันลุกโชนด้วยเปรียง ท่าน
คงเป็นผู้มีศักดิ์ใหญ่คนใดคนหนึ่ง เป็นยักษ์หรือ
เป็นนาคผู้มีอานุภาพมาก.
[๖๙๕] เราเป็นนาคผู้มีฤทธิ์เดช ยากที่ใคร ๆ
จะล่วงได้ ถ้าแม้เราโกรธแล้ว พึงขบชนบทที่เจริญ
ให้แหลกได้ด้วยเดช มารดาของเราชื่อสมุททชา บิดา
ของเราชื่อว่าธตรฐ เราเป็นน้องของสุทัสสนะ คน
ทั้งหลายเรียกเราว่า ภูริทัต.
[๖๙๖] ท่านเพ่งดูห้วงน้ำลึกวนอยู่ทุกเมื่อใด น่า
กลัว ห้วงน้ำนั้นเป็นที่อยู่อันรุ่งเรืองของเรา ลึก
หลายร้อยชั่วบุรุษ ท่านอย่ากลัวเลย จงเข้าไปยังแม่น้ำ
ยมุนา เป็นแม่น้ำมีสีเขียวไหลจากกลางป่า กึกก้องด้วย

3
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 4 (เล่ม 64)

เสียงนกยูงและนกกระเรียน เป็นที่เกษมสำราญของ
ผู้มีอาจารวัตร.
[๖๙๗] ดูกรพราหมณ์ ท่านพร้อมด้วยบุตรและ
ภรรยา ไปถึงนาคพิภพแล้ว เราจะบูชาท่านด้วยกาม
ทั้งหลาย ท่านจักอยู่เป็นสุข.
[๖๙๘] แผ่นดินมีพื้นอันราบเรียบ ประกอบด้วย
ต้นกฤษณาเป็นอันมาก ดารดาษด้วยหมู่แมลงค่อมทอง
มีหญ้าเขียวชะอุ่มงามอุดม หมู่ไม้อันน่ารื่นรมย์ สระ-
โบกขรณีที่สร้างไว้สวยงาม ระงมด้วยเสียงหงส์ มี
ดอกปทุมร่วงหล่นอยู่เกลื่อนกลาด มีปราสาท ๘ มุม
มีเสาพันเสาอันขัดเกลาดีแล้วทุกเสา สำเร็จด้วยแก้ว
ไพฑูรย์ เรืองจรูญด้วยเหล่านางนาคกัญญา พระองค์
เป็นผู้บังเกิดในวิมานทิพย์อันกว้างใหญ่ เป็นวิมาน
เกษมสำราญรื่นรมย์ มีสุขหาอันใดจะเปรียบปานมิได้
ด้วยบุญของพระองค์ พระองค์เห็นจะไม่ทรงหวังวิมาน
ของพระอินทร์ เพราะฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ไพบูลย์ของ
พระองค์นี้ ก็เหมือนของท้าวสักกะผู้รุ่งเรือง ฉะนั้น.
[๖๙๙] อานุภาพของคนรับใช้ชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งอยู่ใน
บังคับบัญชาของท้าวสักกเทวราชผู้รุ่งเรือง ใคร ๆ ไม่
พึงถึงแม้ด้วยใจ.
[๗๐๐] เราปรารถนาวิมานของเทวดาทั้งหลาย
ผู้ตั้งอยู่ในความสุขนั้น จึงไปรักษาอุโบสถอยู่บนจอม
ปลวก.

4
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 5 (เล่ม 64)

[๗๐๑] ข้าพระองค์พร้อมด้วยบุตรเข้าไปสู่ป่า
แสวงหาเนื้อ ญาติเหล่านั้นไม่รู้ว่าข้าพระองค์ตายหรือ
เป็น ข้าพระองค์ขอทูลลาพระภูริทัตผู้เรืองยศ โอรส
แห่งกษัตริย์แคว้นกาสี พระองค์ทรงอนุญาตแล้ว ข้า-
พระบาทก็จะได้ไปเยี่ยมญาติ.
[๗๐๒] การที่ท่านได้มาอยู่ในสำนักของเรานี้
เป็นความพอใจของเราหนอ แต่ว่าถามารมณ์เช่นนี้
เป็นของหาไม่ได้ง่ายในมนุษย์ ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะ
อยู่ เราจะบูชาท่านด้วยกามารมณ์ทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้ท่านไปเยี่ยมญาติได้โดยสวัสดี.
[๗๐๓] ดูกรพราหมณ์ เมื่อท่านทรงทิพยมณี
นี้อยู่ ย่อมได้ปศุสัตว์และบุตรทั้งหลายตามปรารถนา
ท่านจงถือเอาทิพยมณี ไปปราศจากโรคภัยเป็นสุขเถิด.
[๗๐๔] ข้าแต่พระภูริทัต พระดำรัสของพระ
องค์หาโทษมิได้ ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์
แก่แล้วจักบวช ไม่ปรารถนากามทั้งหลาย.
[๗๐๕] ถ้าหากพรหมจรรย์มีการแตกหัก กิจที่
ต้องทำด้ายโภคทรัพย์ทั้งหลายเกิดขึ้น ท่านอย่าได้มี
ความหวั่นใจ ควรมาหาเรา เราจะให้ทรัพย์แก่ท่าน
มาก ๆ.
[๗๐๐] ข้าแต่พระภูริหัต พระดำรัสของพระ-
องค์หาโทษมิได้ ข้าพระองค์ยินดียิ่งนัก ข้าพระองค์
จักกลับมาอีก ถ้าจักมีความต้องการ.

5
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 6 (เล่ม 64)

[๗๐๗] พระภูริทัตตรัสดำรัสนี้แล้ว จึงใช้ให้นาค
มาณพ ๔ ตนไปส่งว่า ท่านทั้งหลายจงมา เตรียมตัว
พาพราหมณ์ไปส่งให้ถึงโดยเร็ว นาคมาณพ ๔ ตนที่
ภูริทัตตรัสใช้ให้ไปส่ง ฟังรับสั่งของภูริทัต เตรียมตัว
แล้ว พาพราหมณ์ไปส่งให้ถึงโดยเร็ว.
[๗๐๘] แก้วมณีที่สมมติกันว่าเป็นมงคล เป็น
ของดี เป็นเครื่องปลื้มรื่นรมย์ใจ เกิดแต่หิน สมบูรณ์
ด้วยลักษณะ ที่ท่านถืออยู่นี้ ใครได้มาไว้.
[๗๐๙] แก้วมณีนี้ พวกนางนาคมาณวิกาประ-
มาณพันหนึ่งล้วนมีตาแดงแวดล้อมอยู่โดยรอบ ในกาล
วันนี้ เราเดินทางไปได้แก้วมณีนั้นมา.
[๗๑๐] แก้วมณีอันเกิดแต่หินนี้ ที่หามาได้ด้วยดี
อันบุคคลเคารพบูชา ประดับประดาเก็บรักษาไว้ด้วย
ดีทุกเมื่อ ยังประโยชน์ทั้งปวงให้สำเร็จได้ เมื่อบุคคล
ปราศจากการระวังในการเก็บรักษา หรือในการประ-
ดับประดา แก้วมณีอันเกิดแต่หินนี้ ที่บุคคลหามาได้
โดยไม่แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อความพินาศ คนผู้ไม่
มีกุศลไม่ควรประดับแก้วมณีอันเป็นทิพย์นี้ เราจักให้
ทองคำร้อยแท่ง ขอท่านจงให้แก้วมณีนี้แก่เราเถิด.
[๗๑๑] แก้วมณีของเรานี้ ไม่ควรแลกเปลี่ยน
ด้วยโคหรือรัตนะ เพราะแก้วมณีอันเกิดแต่หิน
บริบูรณ์ด้วยลักษณะ เราจึงไม่ขาย.

6
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 7 (เล่ม 64)

[๗๑๒] ถ้าท่านไม่แลกเปลี่ยนแก้วมณีด้วยโค
หรือรัตนะ เมื่อเช่นนั้นท่านจะแลกเปลี่ยนแก้วมณีด้วย
อะไร เราถามแล้ว ขอท่านจงบอกความข้อนั้นแก่เรา.
[๗๑๓] ผู้ใดบอกนาคใหญ่ผู้มีเดช ยากที่บุคคล
จะล่วงเกินได้ เราจะให้แก้วมณีอันเกิดแต่หิน อัน
รุ่งเรืองด้วยรัศมี.
[๗๑๔] ครุฑผู้ประเสริฐหรือหนอ แปลงเพศ
เป็นพราหมณ์มาแสวงหานาค ประสงค์จะนำไปเป็น
อาหารของตน.
[๗๑๕] ดูกรพราหมณ์ เรามิได้เป็นครุฑ เราไม่
เคยเห็นครุฑ เราเป็นผู้สนใจด้วยงูพิษ ชนทั้งหลายรู้
จักเราว่าเป็นหมองู.
[๗๑๖] ท่านมีกำลังอะไร มีศิลปอะไร ท่านเป็น
ผู้ทรงไว้ซึ่งผลอันพิเศษในอะไร จึงไม่ยำเกรงนาค.
[๗๑๗] ครุฑมาบอกวิชาหมองูอย่างสูง แก่ฤาษี
โกสิยโคตรผู้อยู่ในป่าประพฤติตบะอยู่สิ้นกาลนาน เรา
เข้าไปหาฤาษีตนหนึ่งซึ่งนับเข้าในพวกฤาษีผู้บำเพ็ญ
ตนอาศัยอยู่ในระหว่างภูเขา ได้บำรุงท่านโดยเคารพ
มิได้เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลางวัน ในกาลนั้นท่าน
บำเพ็ญวัตรและพรหมจรรย์ เป็นผู้มีโชค เมื่อได้
สมาคมกับเรา จึงสอนมนต์ทิพย์ให้แก่เราด้วยความรัก
เราทรงไว้ซึ่งผลอันวิเศษในมนต์นั้น จึงไม่กลัวต่อนาค

7