No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 556 (เล่ม 63)

ที่พระชนนีมีอุปการะแก่ข้าพเจ้า แต่คุณของข้าพเจ้านี่แหละมีมากกว่านั้น เมื่อ
จะทรงพรรณนาโทษของพระมารดา จึงตรัสคาถา ๒ คาถาว่า
พระมารดาทรงชราแล้วก็ทำเป็นสาว ทรง
เครื่องประดับซึ่งไม่ควรประดับ ตรัสซิกซี้สรวลเส
เฮฮากะพวกรักษาประตูและพวกฝึกหัดม้าจนเกินเวลา
ยิ่งกว่านั้นพระมารดายังสั่งทูตถึงพวกเจ้าผู้ครองนคร
เสียเอง ข้าพเจ้าจึงให้พระชนนี แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษ
นั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทหรา วิย ความว่า แม้ทรงชราแล้ว
ก็ยังทรงเครื่องประดับ คือแต่งพระองค์เหมือนคนสาว. บทว่า อปิลนฺธนํ
ได้แก่ ไม่ควรประดับ ได้ยินว่า พระนางสลากเทวีนั้นทรงประดับสายรัดเอว
ทองเต็มไปด้วยเพชร ทรงดำเนินไป ๆ มา ๆ ในเวลาที่พระราชาประทับ ณ
มหาปราสาทกับเหล่าอมาตย์ ทั่วพระราชนิเวศน์ได้ดังก้องเป็นอันเดี่ยวกันด้วย
เสียงของสายรัดเอว. บทว่า ปชคฺฆติ ความว่า ทรงเรียกพวกคนเฝ้าประตู
และพวกฝึกช้างฝึกม้าเป็นต้น ซึ่งเป็นผู้ไม่สมควรจะบริโภคแม้อาหารอันเป็น
เดนของพระนางมาสรวลเสเฮฮากับพวกเหล่นั้นจนเกินเวลา. บทว่า ปฏิรา-
ชานํ ได้แก่ พวกเจ้าครองนคร. บทว่า สยํ ทูตานิ สาสติ ความว่า
ทรงพระอักษรเองว่าเป็นคำของข้าพเจ้าแล้วส่งทูตไปว่า พระชนนีของเราตั้ง
อยู่ในวัยที่บุคคลควรใคร่ เจ้านั้น ๆ จงมานำพระชนนีไป พวกเจ้าครองนคร
เหล่านั้นส่งราชสาสน์ตอบมาว่า พวกข้าพระองค์เป็นอุปัฏฐากของพระองค์
เหตุไรพระองค์จึงตรัสแก่พวกข้าพระองค์อย่างนี้ เมื่อเขาอ่านราชสาสน์นั้น ๆ
ในท่านกลางที่ประชุม ได้เป็นเหมือนเวลาที่ตัดเศียรของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจัก
ให้พระชนนีนั้นแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.

556
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 557 (เล่ม 63)

นางเภรีได้ฟังพระราชดำรัสแล้วจึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์
จะประทานพระราชมารดาด้วยโทษนี้ก็สมควร แต่พระมเหสีของพระองค์เป็นผู้
มีพระคุณ เมื่อจะพรรณนาคุณของพระนางนันทาเทวีมเหสีนั้น ได้กล่าวคาถา
๒ คาถาว่า
พระนางนันทาเทวีเป็นพระมเหสีผู้ประเสริฐกว่า
หมู่บริจาริกานารี มีพระเสาวนีย์เป็นที่รักเหลือเกิน
เป็นผู้ประพฤติตามที่ชอบ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้ตามเสด็จ
ประดุจพระฉายา ไม่ทรงพิโรธง่าย ๆ เป็นผู้มีบุญ
เป็นบัณฑิต เห็นประโยชน์ พระองค์จักประทานพระ-
ราชเทวีแก่ผีเสื้อน้ำ ด้วยโทษอะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตฺถีคุมฺพสฺส ได้แก่ หมู่สตรี. บทว่า
อนุพฺพตา ความว่า จำเดิมแต่เวลาทรงพระเยาว์ เป็นผู้ประพฤติตามที่ชอบ
คือไปตามที่ควร เป็นผู้มีศีล เป็นผู้ตามเสด็จประดุจพระฉายา ก็นางเภรี
ปริพาชิกาเมื่อจะกล่าวคุณของพระนางนันทาเทวีนั้น โดยบทว่า อกฺโกธน
เป็นต้น จึงกล่าวคำนี้ว่า ในเวลาประทับอยู่ในสากลนครในมัททรัฐ พระนาง
นันทาเทวีแม้ถูกพระองค์ตี ก็ไม่ทูลฟ้องพระชนกชนนีด้วยความเสน่หาใน
พระองค์ เพราะกลัวจะลงอาญาพระองค์ พระนางนั้นเป็นผู้ไม่โกรธ มีบุญ
เป็นบัณฑิต เห็นประโยชน์อย่างนี้ ดังนี้ หมายเอาความไม่โกรธเป็นต้นใน
เวลาที่ยังทรงพระเยาว์. บทว่า อุพฺพรึ ได้แก่ พระมเหสี นางเภรีกล่าวว่า
พระองค์จักประทานพระนางนันทาเทวีผู้สมบูรณ์ด้วยคุณอย่างนี้ แก่ผีเสื้อน้ำ
ด้วยโทษอะไร.

557
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 558 (เล่ม 63)

พระเจ้าจุลนีเมื่อจะทรงแสดงโทษของพระนางนันทาเทวีผู้มเหสีนั้น
ได้ตรัสคาถานี้ว่า
พระนางนันทาเทวีนั้นรู้ว่าข้าพเจ้าถึงพร้อมด้วย
ความยินดีในการเล่น ตกอยู่ในอำนาจแห่งกิเลสผู้ทำ
ความพินาศ ก็ขอทรัพย์คือเครื่องประดับที่ข้าพเจ้าให้
แก่บุตรธิดาและชายาอื่น ๆ ซึ่งไม่ควรขอกะข้าพเจ้า
ข้าพเจ้านั้นมีความกำหนัดนักแล้ว ก็ให้ทรัพย์คือเครื่อง
ประดับทั้งประณีตทั้งทรามเป็นอันมาก ครั้นสละสิ่งที่
ไม่ควรสละแล้ว ภายหลังก็เศร้าโศกเสียใจ ข้าพเจ้า
ให้พระราชเทวีแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนตฺถวสมาคตํ/B> ความว่า รู้ว่าข้าพเจ้า
ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสที่ทำความพินาศ เพราะความยินดีในการเล่น คือ
กามกีฬานั้น. บทว่า สา มํ ความว่า พระนางนันทาเทวีนั้นรู้ข้าพเจ้า. บทว่า
สกานํ ปุตฺตานํ ความว่า เครื่องประดับอันใดที่ข้าพเจ้าให้แก่บุตรธิดาและ
ภรรยาทั้งหลายของข้าพเจ้า นางขอเครื่องประดับอันนั้น ซึ่งไม่ควรจะขอ ว่า
จงให้แก่หม่อมฉัน. บทว่า ปจฺฉา โสจานิ ความว่า ในวันที่สอง พระนาง
กล่าวกะบุตรเป็นต้นของข้าพเจ้าว่า เครื่องประดับเหล่านี้ พระราชาประทานแก่
เราแล้ว ท่านทั้งหลายจงนำมาให้เรา ดังนี้ เมื่อบุตรเป็นต้นของข้าพเจ้าร้องไห้
อยู่ ก็เปลื้องเอาไป ต่อมาข้าพเจ้าเห็นบุตรเป็นต้นเหล่านั้นร้องไห้มาหาข้าพเจ้า
ข้าพเจ้าก็เศร้าโศกภายหลัง พระนางนันทาเทวีนี้ทำโทษอย่างนี้ ข้าพเจ้าให้นาง
แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนี้.

558
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 559 (เล่ม 63)

ลำดับนั้น ปริพาชิกาเภรีเมื่อจะทูลถามพระเจ้าจุลนีว่า พระองค์จะ
ประทานพระมเหสีด้วยโทษนี้ก็สมควร แต่ติขิณกุมารพระกนิษฐภาดา มีอุปการะ
แด่พระองค์ พระองค์จักประทานเขาด้วยโทษอะไร ดังนี้ จึงกล่าวคาถาว่า
พระกนิษฐภาดาผู้มีพระนามว่าติขิณราชกุมารยัง
ชนบทให้เจริญ เชิญเสด็จพระองค์ผู้ประทับอยู่ ณ
สากลนครให้กลับมาสู่ราชธานีนี้ ทรงอันเคราะห์
พระองค์ครอบงำพระราชาทั้งหลายเสีย นำทรัพย์เป็น
อันมากมาแต่ราชสมบัติอื่น เป็นผู้ประเสริฐกว่านาย
ขมังธนูทั้งหลาย ทรงกล้าหาญกว่าผู้มีความคิดหลัก-
แหลมทั้งหลาย พระองค์จักประทานพระกนิษฐภาดา
แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยโนจิตา ได้แก่ ที่ให้เจริญแล้ว. บทว่า
ปฏิคฺคหํ ความว่า และที่นำพระองค์ผู้ประทับอยู่ในประเทศอื่น กลับมาสู่
พระราชมณเฑียร. บทว่า อภิฏฺฐาย ได้แก่ ครอบงำแล้ว. บทว่า ติขิณฺ-
มนฺตินํ ได้แก่ ผู้มีปัญญาแหลมคม.
ได้ยินว่า ติขิณราชกุมารนั้น ประสูติในกาลเมื่อพระราชมารดาอยู่ร่วม
กับพราหมณ์ เมื่อพระราชกุมารทรงเจริญแล้ว พราหมณ์ได้ให้พระแสงขรรค์
สั่งว่า เจ้าจงถือพระแสงขรรค์นี้เข้าหาข้าได้ พระราชกุมารนั้นก็บำรุงพราหมณ์
ด้วยสำคัญว่าเป็นพระชนกของตน ลำดับนั้น อมาตย์คนหนึ่งได้ทูลพระราช-
กุมารว่า ข้าแต่พระราชกุมาร พระองค์มิใช่เป็นพระโอรสแห่งพราหมณ์นี้ ใน
เวลาเมื่อพระองค์ยังอยู่ในพระครรภ์ พระนางสลากเทวีผู้เป็นพระราชมารดาให้
ปลงพระชนม์พระราชบิดาเสีย แล้วมอบราชสมบัติแก่พราหมณ์นี้ พระองค์
เป็นพระราชโอรสแห่งพระเจ้ามหาจุลนี พระราชกุมารได้สดับประพฤติเหตุนั้น

559
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 560 (เล่ม 63)

ก็กริ้ว ดำริว่า ช่างเถิด เราจักฆ่าพราหมณ์นั้นเสียด้วยอุบายอย่างหนึ่ง แล้ว
เข้าไปสู่ราชสำนัก ประทานพระแสงขรรค์แก่มหาดเล็กใกล้ชิดคนหนึ่ง แล้ว
ตรัสกะมหาดเล็กอีกคนหนึ่งว่า เจ้าจงยืนอยู่แทบประตูพระราชนิเวศน์ กล่าวกะ
มหาดเล็กที่ถือพระขรรค์นั้นว่า นั่นพระขรรค์ของเรา แล้วพึงก่อวิวาทกับ
มหาดเล็กคนนั้น ตรัสสั่งฉะนี้แล้วเสด็จเข้าข้างใน มหาดเล็กทั้งสองนั้นได้
ทะเลาะกัน พระราชกุมารส่งบุรุษคนหนึ่งไปเพื่อให้รู้ว่า นั่นทะเลาะอะไรกัน
บุรุษนั้นมาทูลว่า ทะเลาะกันด้วยต้องการพระขรรค์ลำดับนั้น พราหมณ์ได้ฟัง
ดังนั้นจึงถามพระราชกุมารว่า เรื่องเป็นอย่างไร พระราชกุมารกล่าวว่า ได้ยิน
ว่า พระขรรค์ที่พระองค์ประทานแก่หม่อมฉัน เป็นของคนอื่น พราหมณ์
กล่าวว่า พูดอะไรพ่อ ถ้าอย่างนั้น จงให้เขานำมา ฉันจำพระขรรค์นั้น ได้
พระราชกุมารให้นำพระขรรค์นั้นมาแล้วชักออกจากฝัก ทำเป็นให้จำได้ด้วย
คำว่า เชิญทอดพระเนตรเถิด เข้าไปใกล้พราหมณ์นั้นแล้วตัดศีรษะพราหมณ์
นั้น ให้ตกลงแทบพระบาทของคนด้วยการฟันฉับเดียวเท่านั้น ต่อแต่นั้น เมื่อ
นำศพพราหมณ์ออกจากพระราชนิเวศน์ แล้วได้จัดแต่งพระราชนิเวศน์ตกแต่ง
พระนครอภิเษกพระราชกุมารนั้น พระชนนีแจ้งว่าจุลนีราชกุมารอยู่ในมัททรัฐ
พระราชกุมารทรงสดับดังนั้น แวดล้อมด้วยเสนางคนิกรเสด็จมัททรัฐ นำ
พระเชษฐาธิราชมาให้ครองราชสมบัติ จำเดิมแต่นั้นมา ชนทั้งหลายก็รู้จัก
พระองค์ว่า ติขิณมนตรี ปริพาชิกาทูลถามว่า พระองค์จะประทานพระกนิษฐ-
ภาดาเห็นปานนี้นั้นแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.
พระราชาเมื่อจะตรัสโทษของติขิณกุมารนั้น ตรัสว่า
ติขิณราชกุมารยังชนบทให้เจริญ เชิญเราผู้อยู่
ณ สากลนครให้กลับมาสู่ราชธานีนี้อนุเคราะห์เรา
ครอบงำพระราชาทั้งหลายเสีย นำทรัพย์เป็นอันมาก

560
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 561 (เล่ม 63)

มาแต่ราชสมบัติอื่น เป็นผู้ประเสริฐกว่านายขมังธนู
ทั้งหลาย กล้าหาญ มีความคิดหลักแหลม แต่เธอคุย
เสมอว่า พระราชาองค์นี้มีความสุขเพราะข้าพเจ้า เธอ
สำคัญว่าฉันเป็นเด็กไป ในคราวที่มาเฝ้าเล่านะ
พระแม่เจ้า เธอไม่มาเหมือนแต่ก่อน ข้าพเจ้าจึงให้
พระกนิษฐภาดาแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรรชฺเชภิ ความว่า ติขิณราชกุมาร
คุยเสมอว่า เรานำทรัพย์เป็นอันมากมาแต่ราชสมบัติอื่นถวายแก่พระราชานี้
และเมื่อพระองค์เองประทับอยู่ในราชสมบัติอื่น เราก็นำกลับมาสู่ราชธานีนี้
เราได้ประดิษฐานพระราชานี้ไว้ในยศอันยิ่งใหญ่. บทว่า ยถาปุเร ความว่า
เมื่อก่อน เธอมาเฝ้าแต่เช้าทีเดียว แต่บัดนี้ เธอไม่มาเหมือนอย่างนั้น ข้าพเจ้า
ให้เธอแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.
ปริพาชิกาทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โทษของพระกนิษฐภาดาจง
ยกไว้ก่อน แต่ธนุเสขกุมารประกอบด้วยคุณมีความเสน่หาในพระองค์ เป็นผู้
มีอุปการะมาก เมื่อจะกล่าวคุณของธนุเสขกุมาร จึงทูลว่า
พระองค์และธนุเสขเกิดในราตรีเดียวกัน ทั้งสอง
เป็นชาวปัญจาละเกิดในพระนครนี้ เป็นสหายมีวัย
เสมอกัน มีจริยางามติดตามพระองค์ไปร่วมสุขร่วม
ทุกข์กับพระองค์ ขยันขันแข็งในกิจทั้งปวงของ
พระองค์ทั้งกลางวันและกลางคืน จงรักภักดีพระองค์
จะให้พระสหายแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.

561
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 562 (เล่ม 63)

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนุเสขวา ความว่า ชื่อว่า ธนุเสขกุมาร
เพราะเป็นผู้ศึกษาธนุศิลป์. บทว่า เอตฺถ ได้แก่ ในพระนครนี้แหละ.
บทว่า ปญฺจาลา ความว่า ที่เรียกอย่างนี้ เพราะเกิดขึ้นอุตตรปัญจาลนคร.
บทว่า สุสมาวยา ได้แก่ มีวัยเสมอกันด้วยดี. บทว่า จริยา ตํ อนุพนฺ-
ธิตฺโถ ความว่า ได้ติดตามพระองค์ผู้หลีกไปเที่ยวตามชนบทในเวลายังทรง
พระเยาว์ เหมือนอะไร เหมือนเงาไม่ละพระองค์. บทว่า อุสฺสุกฺโก เต
ความว่า ขยันขันแข็ง คือเกิดความพอใจในกิจทั้งหลายของพระองค์ทั้งกลางคืน
และกลางวัน จงรักภักดีเป็นนิจ พระองค์จะให้พระสหายนั้นแก่ผีเสื้อน้ำด้วย
โทษอะไร.
ลำดับนั้น พระเจ้าจุลนีเมื่อจะกล่าวโทษของธนุเสขกุมารนั้น ตรัสว่า
ข้าแต่แม่เจ้า ธนูเสขนี้ประพฤติกระซิกกระซี้
ตีเสมอข้าพเจ้า แม้วันนี้ก็หัวเราะดังเกินขอบเขตแบบ
นั้น ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าอยู่ในที่รโหฐาน ปรึกษากับ
พระเทวีของข้าพเจ้าอยู่ ไม่ได้เรียกหาก็เข้าไปและไม่
แจ้งให้ทราบก่อน เขาได้พรจากข้าพเจ้าให้เข้าพบได้
ทุกที่ทุกเวลา แต่สหายไม่มีความยำเกรงไม่มีความ
เอื้อเฟื้อเลย ข้าพเจ้าให้แก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชฺชาปิ เตน วณฺเณน ความว่า
สหายธนุเสขนี้ เมื่อก่อนเที่ยวติดตามข้าพเจ้า ร่วมกินร่วมนอนกับ ข้าพเจ้ายาม
ตกยาก ตบมือหัวเราะลั่น ฉันใด แม้วันนี้สหายธนูเสขก็หัวเราะฉันนั้นแหละ
ยังแลดูข้าพเจ้าเหมือนเวลาตกยาก. บทว่า อนามนฺโต ความว่า เมื่อข้าพเจ้า
ปรึกษาอยู่กับพระนางนันทาเทวีในที่ลับ เขาไม่ขออนุญาตดูก่อน พรวดพราด
เข้าไป ข้าพเจ้าให้เขาผู้ไม่มีความยำเกรงไม่มีความเอื้อเฟื้อแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษนี้.

562
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 563 (เล่ม 63)

ลำดับนั้น ปริพาชิกาทูลพระเจ้าจุลนีว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โทษ
ของพระสหายธนุเสขนี้ยกไว้ก่อน แต่ปุโรหิตเกวัฏเป็นผู้มีอุปการะแก่พระองค์
มาก เมื่อจะกล่าวคุณของปุโรหิตนั้น ทูลว่า
ท่านเกวัฏปุโรหิตาจารย์เป็นผู้ฉลาดในนิมิต
ทั้งปวง รู้เสียงร้องของสัตว์ทั้งหลายเชี่ยวชาญในคัมภีร์
พระเวท รอบรู้ในเรื่องอุบาท เรื่องสุบิน มีความ
ชำนาญในการหาฤกษ์ยกทัพและการเข้ารบ เป็นผู้บอก
ฤกษ์ล่างฤกษ์บน ฉลาดในทางแห่งดาวฤกษ์ พระองค์
ให้พราหมณ์ปุโรหิตแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพนิมิตฺตานํ ความว่า เป็นผู้ฉลาด
ในนิมิตทั้งปวงอย่างนี้ว่า ด้วยนิมิตนี้สิ่งนี้จักมี ด้วยนิมิตนี้สิ่งนี้จักมี. บทว่า
รุทญฺญู ความว่า รู้เสียงร้องของสัตว์ทั้งปวง. บทว่า อุปฺปาเท ได้แก่
เรื่องอุบาทมีจันทรคราสสุริยคราส อุกกาบาตและลำพู่กันเป็นต้น. บทว่า
สุปิเน ยุตฺโต ความว่า รอบรู้ในเรื่องสุบินว่าฝันเช่นนี้จะเป็นอย่างนั้น. บทว่า
นิยฺยาเน จ ปเวสเน ความว่า รู้ว่า โดยนักษัตรนี้พึงยกทัพ โดยนักษัตรนี้
พึงเข้ารบ. บทว่า ปโฐ ภุมฺมนฺตลิกฺขสฺมึ ความว่า เป็นผู้ฉลาด คือ
สามารถ ได้แก่สามารถรู้โทษและคุณในพื้นดินและในอากาศ. บทว่า นกฺขตฺต-
ปทโกวิโท ความว่า เป็นผู้ฉลาดในส่วนแห่งนักษัตร ๒๘ พระองค์ให้เกวัฏ
ปุโรหิตนั้นแก่ผีเสื้อน้ำด้วยโทษอะไร.
พระราชาเมื่อจะตรัสโทษของเกวัฏปุโรหิตนั้น ตรัสว่า
ข้าแต่แม่เจ้า เกวัฏปุโรหิต แม้ในที่ประชุมก็
เลิกคิ้วแลดูข้าพเจ้า เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงให้นาย-
พรานผู้เลิกคิ้วแก่ผีเสื้อน้ำเสีย.

563
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 564 (เล่ม 63)

เนื้อความของคาถานั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า ปุโรหิตเกวัฏนี้เมื่อแลดู
ข้าพเจ้าในท่ามกลางบริษัท ก็ลืมตาแลดูเหมือนคนโกรธ เพราะฉะนั้นข้าพเจ้า
จึงให้นายพรานคือนักล่าสัตว์ผู้ทำเป็นเลิกคิ้ว เพราะโทษที่เลิกคิ้วนั้นแก่ผีเสื้อน้ำ.
ต่อนั้น ปริพาชิกาเมื่อจะทูลถามว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์
ตรัสว่าจักให้ชน ๕ คนเหล่านั้นมีพระราชมารดาเป็นต้นแก่ผีเสื้อน้ำ และตรัสว่า
จักประทานชีวิตของพระองค์แก่มโหสถบัณฑิต โดยไม่คำนึงถึงสิริราชสมบัติ
เห็นปานนี้ พระองค์ทรงเห็นคุณของมโหสถบัณฑิตนั้นอย่างไร ดังนี้ จึงกล่าว
คาถาเหล่านั้นว่า
พระองค์ทรงปกครองแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพ-
ศาลมีสมุทรเป็นขอบเขตทุกด้าน พสุธาที่เป็นพระราช
อาณาเขต เป็นประหนึ่งกุณฑลที่อยู่ในสาคร ทรงมี
อมาตย์แวดล้อมเป็นที่เฉลิมพระราชอิสริยยศ ทรงมี
บ้านเมืองแว่นแคว้นใหญ่จดสี่คาบสมุทร ทรงพิชิตชมพู
ทวีปได้แล้ว ทั้งรี้พลของพระองค์เล่า ก็มากถึง ๑๘
กองทัพ พระองค์ทรงเป็นพระราชาเอกแห่งปฐพี
พระราชอิสริยยศของพระองค์ถึงความไพบูลย์ เหล่า
นารีของพระองค์ก็มีถึง ๑๖,๐๐๐ นาง ล้วนสำอางแต่ง
องค์ทรงเครื่องเรื่องระยับ มาจากชนบทต่าง ๆ ทั่ว
ชมพูทวีป ทรงสิริโสภาคย์เปรียบด้วยเทพกัญญา
พระชนมชีพของพระองค์เพรียบพร้อมด้วยองค์ ประ-
กอบแห่งความสุขอย่างครบครั้น ทุกสิ่งทุกอย่างใน
แผ่นดิน แม้พระองค์มีพระราชประสงค์ ก็จะสำเร็จ

564
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๒ – หน้าที่ 565 (เล่ม 63)

สมพระหฤทัยปรารถนาทุกประการ น่าที่พระองค์จะ
ตรัสว่าต้องการจะมีพระชนม์อยู่ยาวนาน ตามคติชีวิต
ที่นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า คนที่มีความสุขทั่ว ๆ
ไป ล้วนต้องการจะมีชีวิตอยู่นาน ๆ ชีวิตเป็นที่รักยิ่ง
นักของตนที่มีความสุข เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ทรง
ป้องกันมโหสถบัณฑิตไว้ ทรงสละพระชนม์ของพระ-
องค์ซึ่งเป็นสิ่งสละได้ยากด้วยเหตุอันใด.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สสมุทฺทปริสาสํ ได้แก่ ประกอบด้วย
เครื่องแวดล้อม คือสมุทร กล่าวคือมีสมุทรเป็นคู. บทว่า สาครกุณฺฑลํ
ความว่า เป็นกุณฑลแห่งสาครที่ตั้งแวดล้อมแผ่นดินนั้น. บทว่า วิชิตาวี
ได้แก่ ทรงพิชิตสงคราม. บทว่า เอกราชา ความว่า เป็นพระราชาเอก
ทีเดียว เพราะไม่มีพระราชาอื่นที่เช่นกับพระองค์. บทว่า สพฺพกามสมิทฺธินํ
ความว่า ประกอบด้วยความสำเร็จแห่งวัตถุกามและกิเลสกามแม้ทุกอย่าง.
บทว่า สุขิตานํ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เหล่าสัตว์ที่มีความสุข
เห็นปานนี้ ย่อมปรารถนาชีวิตที่สมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบทุกอย่างอย่างนี้
อันเป็นที่รักให้อยู่นาน ๆ ไม่ต้องการชีวิตความเป็นอยู่น้อยเลย. บทว่า ปาณํ
ความว่า พระองค์ทรงป้องกันมโหสถบัณฑิต สละชีวิตของพระองค์เห็นปานนี้
เพราะเหตุไร.
ข้าแต่แม่เจ้า มโหสถบัณฑิตแม้จะมาจากบ้าน
เมืองอื่น ก็มาด้วยมุ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้า
ยังไม่ทราบถึงความชั่ว แม้สักน้อยของมโหสถผู้เป็น
ปราชญ์เลย ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจะต้องตายไปก่อนใน
กาลไหน ๆ ก็ตามเถิด มโหสถก็พึงยังลูกและหลาน

565