No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 24 (เล่ม 43)

๔. อสชฺฌายมลา มนฺตา อนุฏฺฐานมลา ฆรา
มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ ปมาโท รกฺขโต มลํ.
"มนต์ทั้งหลาย มีอันไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน, เรือน
มีความไม่หมั่นเป็นมลทิน, ความเกียจคร้าน เป็น
มลทินของผิวพรรณ, ความประมาท เป็นมลทินของ
ผู้รักษา."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสชฺฌายมลา เป็นต้น ความว่า
เพราะปริยัติหรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อบุคคลไม่ท่อง ไม่ประกอบ
เนือง ๆ ย่อมเสื่อมสูญ หรือไม่ปรากฏติดต่อกัน; ฉะนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า "อสชฺฌายมลา มนฺตา."
อนึ่ง เพราะชื่อว่าเรือนของบุคคลผู้อยู่ครองเรือน ลุกขึ้นเสร็จสรรพ
แล้วไม่ทำกิจ มีการซ่อมแซมเรือนที่ชำรุดเป็นต้น ย่อมพินาศ ฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "อนุฏฺฐานมลา ฆรา."
เพราะกายของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ผู้ไม่ทำการชำระสรีระ หรือ
การชำระบริขาร ด้วยอำนาจความเกียจคร้าน ย่อมมีผิวพรรณมัวหมอง;
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "มลํ วณฺณสฺส โกสชฺชํ."
อนึ่ง เพราะเมื่อบุคคลรักษาโคอยู่ หลับหรือเล่นเพลินด้วยอำนาจ
ความประมาท, โคเหล่านั้นย่อมถึงความพินาศ ด้วยเหตุมีวิ่งไปสู่ที่มิใช่ท่า
เป็นต้นบ้าง ด้วยอันตรายมีพาลมฤค๑ และโจรเป็นต้นบ้าง ด้วยอำนาจการ
๑. พาลมิค-เนื้อร้าย

24
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 25 (เล่ม 43)

ก้าวลงสู่ที่ทั้งหลาย มีนาข้าวสาลีเป็นต้นของชนพวกอื่นแล้วเคี้ยวกินบ้าง,
แม้ตนเอง ย่อมถึงอาชญาบ้าง การบริภาษบ้าง.
ก็อีกอย่างหนึ่ง กิเลสทั้งหลายล่วงล้ำเข้าไปด้วยอำนาจความประมาท
ย่อมยังบรรพชิตผู้ไม่รักษาทวาร ๖ ให้เคลื่อนจากศาสนา; ฉะนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ปมาโท รกฺขโต มลํ." อธิบายว่า ก็ความ
ประมาทนั้น ชื่อว่าเป็นมลทิน เพราะความประมาทเป็นที่ตั้งของมลทิน
ด้วยการนำความพินาศมา.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระโลฬุทายีเถระ จบ.

25
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 26 (เล่ม 43)

๕. เรื่องกุลบุตรคนใดคนหนึ่ง [๑๘๖]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภกุลบุตรคน
ใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ" เป็นต้น.
สามีละอายเพราะภริยาประพฤตินอกใจ
ดังได้สดับมา มารดาและบิดานำกุลสตรีผู้มีชาติเสมอกันมาเพื่อ
กุลบุตรนั้น. นางได้เป็นหญิงมักประพฤตินอกใจ๑ ( สามี) จำเดิมแต่วันที่นำ
มาแล้ว. กุลบุตรนั้นละอาย เพราะการประพฤตินอกใจของนาง ไม่อาจ
เข้าถึงความเป็นผู้เผชิญหน้าของใครได้ เลิกกุศลกรรมทั้งหลาย มีการ
บำรุงพระพุทธเจ้าเป็นต้น โดยกาลล่วงไป ๒-๓วัน เข้าไปเฝ้าพระศาสดา
ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง เมื่อพระศาสดาตรัสว่า " อุบาสก
เพราะเหตุไร เราจึงไม่ (ใคร่) เห็นท่าน ?" จึงกราบทูลความนั้นแล้ว.
สตรีเปรียบเหมือนของ ๕ อย่าง
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะกุลบุตรนั้นว่า " อุบาสก แม้ในกาล
ก่อน เราก็ได้กล่าวแล้วว่า ' ขึ้นชื่อว่าสตรีทั้งหลาย เป็นเช่นกับแม่น้ำ
เป็นต้น. บัณฑิตไม่ควรทำความโกรธในสตรีเหล่านั้น,' แต่ท่านจำไม่
ได้ เพราะความเป็นผู้อันภพปกปิดไว้" อันกุลบุตรนั้นทูลอาราธนาแล้ว
ตรัสชาดก๒ ให้พิสดารว่า:-
๑. อติจารินี ผู้มักประพฤติล่วง. ๒. ขุ. ชุ. ๒๗/๒๑ อรรถกถา. ๓/๙๘.

26
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 27 (เล่ม 43)

"ธรรมดาสตรีในโลก เป็นเหมือนแม่น้ำ หนทาง
โรงดื่ม (สุรา) ที่พักและบ่อน้ำ, เวลาย่อมไม่มีแก่สตรี
เหล่านั้น."
ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ก็อุบาสก ความเป็นผู้มักประพฤตินอกใจ เป็น
มลทินของสตรี, ความตระหนี่ เป็นมลทินของผู้ให้ทาน, อกุศลกรรม
เป็นมลทินของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้และโลกหน้า เพราะอรรถว่า เป็น
เครื่องยังสัตว์ให้ฉิบหาย, แต่อวิชชา เป็นมลทินอย่างยอดยิ่ง กว่ามลทิน
ทั้งปวง" ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
๕. มลิตฺถิยา ทุจฺจริตํ มจฺเฉรํ ททโต มลํ
มลา เว ปาปกา ธมฺมา อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ
ตโต มลา มลตรํ อวิชฺชา ปรมํ มลํ
เอตํ มลํ ปหนฺตฺวาน นิมฺมลา โหถ ภิกฺขโว.
" ความประพฤติชั่ว เป็นมลทินของสตรี, ความ
ตระหนี่ เป็นมลทินของผู้ให้, ธรรมอันลามกทั้งหลาย
เป็นมลทินแล ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้า, เราจะ
บอกมลทินอันยิ่งกว่ามลทินนั้น, อวิชชาเป็นมลทิน
อย่างยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ละมลทินนั่น
ได้แล้ว ย่อมเป็นผู้หมดมลทิน."
แก้อรรถ
ความประพฤตินอกใจ ชื่อว่า ความประพฤติชั่วในพระคาถานั้น.
๑. ได้แก่ กำหนด, เขตแดน, ความจำกัด.

27
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 28 (เล่ม 43)

ก็แม้สามี ย่อมขับไล่สตรีผู้มักประพฤตินอกใจออกไปเสียจากเรือน, สตรี
นั้นไปสู่สำนักของมารดาบิดา (ก็ถูก) มารดาบิดาขับไล่ด้วยคำว่า "เอ็ง
ไม่มีความเคารพตระกูล เราไม่อยากเห็นแม้ด้วยนัยน์ตาทั้งสอง" สตรี
นั้นหมดที่พึ่ง เทียวไปย่อมถึงความลำบากมาก; เพราะเหตุนั้น พระศาสดา
จึงตรัสความประพฤติชั่วของสตรีนั้นว่า " เป็นมลทิน."
บทว่า ททโต แปลว่า ของผู้ให้. ก็เมื่อบุคคลใดในเวลาไถนา คิด
อยู่ว่า " เมื่อนานี้สมบูรณ์แล้ว , เราจักถวายภัตทั้งหลาย มีสลากภัต
เป็นต้น," เมื่อข้าวกล้าเผล็ดผลแล้ว, ความตระหนี่เกิดขึ้น ห้ามจิตอัน
สัมปยุตด้วยจาคะ, บุคคลนั้น เมื่อจิตสัมปยุตด้วยจาคะ ไม่งอกงามขึ้นได้
ด้วยอำนาจความตระหนี่ ย่อมไม่ได้สมบัติสามอย่าง คือ มนุษย์สมบัติ
ทิพยสมบัติ (และ) นิพพานสมบัติ; เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า
" ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้." แม้ในบทอื่น ๆ ซึ่งมีรูปอย่างนี้ ก็
มีนัยเช่นนี้เหมือนกัน.
สองบทว่า ปาปกา ธมฺมา ความว่า ก็อกุศลธรรมทั้งหลายเป็น
มลทินทั้งนั้น ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้า. บทว่า ตโต ความว่า กว่า
มลทินที่ตรัสแล้ว ในหนหลัง. บทว่า มลตรํ ความว่า เราจะบอกมลทิน
อันยิ่งแก่ท่านทั้งหลาย.
บทว่า อวิชฺชา ความว่า ความไม่รู้ อันมีวัตถุ๑ ๘ นั่นแล เป็น
มลทินอย่างยิ่ง.
๑. พึงดู อวิชชา ๘ ในธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๒ หมวด ๘.

28
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 29 (เล่ม 43)

บทว่า ปหนฺตฺวาน ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละมลทิน
นั่นได้แล้ว ย่อมเป็นผู้หามลทินมิได้.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องกุลบุตรคนใดคนหนึ่ง จบ.

29
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 30 (เล่ม 43)

๖. เรื่องภิกษุชื่อจูฬสารี [๑๘๗]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสัทธิวิหาริก
ของพระสารีบุตรเถระ ชื่อจูฬสารี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สีชีวํ
อหิริเกน" เป็นต้น.
พระจูฬสารีได้โภชนะเพระทำเวชกรรม
ดังได้สดับมา วันหนึ่ง พระจูฬสารีนั้นทำเวชกรรมแล้วได้โภชนะ
อันประณีตแล้ว ถือออกไปอยู่ พบพระเถระในระหว่างทาง จึงเรียนว่า
" ท่านขอรับ โภชนะนี้ กระผมทำเวชกรรมได้แล้ว, ใต้เท้าจักไม่ได้
โภชนะเห็นปานนี้ในที่อื่น, ขอใต้เท้าจงฉันโภชนะนี้, กระผมจักทำ
เวชกรรม นำอาหารเห็นปานนี้มาเพื่อใต้เท้าตลอดกาลเป็นนิตย์." พระเถระ
ฟังคำของพระจูฬสารีนั้นแล้ว ก็นิ่งเฉย หลีกไปแล้ว. ภิกษุทั้งหลายมาสู่
วิหารแล้ว กราบทูลความนั้นแด่พระศาสดา.
ผู้ตั้งอยู่ในอเนสนกรรมเป็นอยู่ง่าย
พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาบุคคลผู้ไม่มีความ
ละอาย ผู้คะนอง เป็นผู้เช่นกับกา ตั้งอยู่ในอเนสนา ๒๑ อย่าง ย่อม
เป็นอยู่ง่าย, ส่วนบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ย่อมเป็นอยู่ยาก"
ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-
๖. สุชีวํ อหิริเกน กากสูเรน ธํสินา
ปกฺขนฺทินา ปคพฺเภน สงฺกิลิฏฺเฐน ชีวิตํ.

30
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 31 (เล่ม 43)

หิรีมตา จ ทุชฺชีวํ นิจฺจํ สุจิคเวสินา
อลีเนนาปคพฺเภน สุทฺธาชีเวน ปสฺสตา.
"อันบุคคลผู้ไม่มีความละอาย กล้าเพียงดังกา
มีปกติกำจัด (คุณผู้อื่น) มักแล่นไป (เอาหน้า) ผู้
คะนอง ผู้เศร้าหมอง เป็นอยู่ง่าย. ส่วนบุคคลผู้มี
ความละอาย ผู้แสวงหากรรมอันสะอาดเป็นนิตย์ ไม่
หดหู่ ไม่คะนอง มีอาชีวะหมดจดเห็นอยู่ เป็นอยู่
ยาก."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหิริเกน คือผู้ขาดหิริและโอตตัปปะ.
อธิบายว่า อันบุคคลผู้เห็นปานนั้น อาจเรียกหญิงผู้มิใช่มารดานั่นแลว่า
" มารดาของเรา" เรียกชายทั้งหลายผู้มิใช่บิดาเป็นต้นนั่นแล โดยนัย
เป็นต้นว่า "บิดาของเรา" ตั้งอยู่ในอเนสนา ๒๑ อย่าง เป็นอยู่โดยง่าย.
บทว่า กากสูเรน ได้แก่ เช่นกาตัวกล้า. อธิบายว่า เหมือนอย่าง
ว่า กาตัวกล้า ใคร่จะคาบวัตถุทั้งหลายมียาคูเป็นต้น ในเรือนแห่ง
ตระกูลทั้งหลาย จับ ณ ที่ทั้งหลายมีฝาเรือนเป็นต้นแล้ว รู้ว่าเขาแลดูตน
จึงทำเป็นเหมือนไม่แลดู เหมือนส่งใจไปในที่อื่น และทำเป็นเหมือนหลับ
อยู่ กำหนดความเผอเรอของพวกมนุษย์ได้แล้วก็โผลง, เมื่อพวกมนุษย์
ไล่ว่า " สุ สุ " อยู่นั่นแล ก็คาบเอาอาหารเต็มปากแต่ภาชนะแล้วบินหนี
ไปฉันใด; แม้บุคคลผู้ไม่มีความละอายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เข้าไปบ้าน
กับภิกษุทั้งหลายแล้ว ย่อมกำหนดที่ทั้งหลาย มีที่ตั้งแห่งยาคูแลภัต
เป็นต้น, ภิกษุทั้งหลายเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านนั้น รับเอาอาหารสักว่า

31
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 32 (เล่ม 43)

ยังอัตภาพให้เป็นไป ไปสู่โรงฉันพิจารณาอยู่ ดื่มยาคูแล้ว ทำกัมมัฏฐาน
ไว้ในใจ สาธยายอยู่ ปัดกวาดโรงฉันอยู่; ส่วนบุคคลนี้ไม่ทำอะไร ๆ
เป็นผู้บ่ายหน้าตรงไปยังบ้าน, เขาแม้ถูกภิกษุทั้งหลายบอกว่า " จงดูบุคคล
นี้ " แล้วจ้องดูอยู่ ทำเป็นเหมือนไม่แลดู เหมือนส่งใจไปในที่อื่น เหมือน
หลับอยู่ ดุจกลัดลูกดุม ทำที่เป็นดุจจัดจีวร พูดว่า " การงานของเรา
ชื่อโน้นมีอยู่ " ลุกจากอาสะเข้าไปบ้าน เข้าไปสู่เรือนหลังโคหลังหนึ่ง
บรรดาเรือนที่กำหนดไว้แล้วแต่เช้า, เมื่อหมู่มนุษย์ในเรือน แม้แง้ม
ประตู๑แล้วนั่งกรอด้ายอยู่ริมประตู, เอามือข้างหนึ่งผลักประตูแล้วเข้าไป
ภายใน. ลำดับนั้น มนุษย์เหล่านั้นเห็นบุคคลนั้นแล้ว แม้ไม่ปรารถนา
ก็นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะ แล้วถวายของมียาคูเป็นต้นที่มีอยู่, เขาบริโภค
ตามต้องการแล้ว ถือเอาของส่วนที่เหลือด้วยบาตรหลีกไป, บุคคลนี้ชื่อว่า
ผู้กล้าเพียงดังกา, อันบุคคลผู้หาหิริมิได้เห็นปานนี้ เป็นอยู่ง่าย.
บทว่า ธํสินา ความว่า ชื่อว่าผู้มีปกติกำจัด เพราะเมื่อคนทั้งหลาย
กล่าวคำเป็นต้นว่า " พระเถระชื่อโน้น เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย,"
กำจัดคุณของคนเหล่าอื่นเสีย ด้วยคำเป็นต้นว่า " ก็แม้พวกเราไม่เป็นผู้มี
ความปรารถนาน้อยดอกหรือ ?" ก็มนุษย์ทั้งหลายฟังคำของคนเห็นปาน
นั้นแล้ว เมื่อสำคัญว่า " แม้ผู้นี้ก็เป็นผู้ประกอบด้วยคุณ มีความเป็นผู้
ปรารถนาน้อยเป็นต้น" ย่อมสำคัญของที่ตนควรให้. แต่ว่าจำเดิมแต่นั้น
ไป เขาเมื่อไม่อาจเพื่อยังจิตของบุรุษผู้รู้ทั้งหลายให้ยินดี ย่อมเสื่อมจาก
ลาภแม้นั้น. บุคคลผู้มีปกติกำจัดอย่างนี้ ย่อมยังลาภทั้งของตนทั้งช่องผู้อื่น
ให้ฉิบหายแท้.
๑. โถกํ กวาฏํ ปิธาย ปิดบานประตูหน่อยหนึ่ง.

32
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 33 (เล่ม 43)

บทว่า ปกฺขนฺทินา ความว่า ผู้มักประพฤติแล่นไป คือผู้แสดงกิจ
ของคนเหล่าอื่นให้เป็นดุจกิจของตน. เมื่อภิกษุทั้งหลายทำวัตรที่ลานพระ-
เจดีย์เป็นต้นแต่เช้าตรู่ นั่งด้วยกระทำไว้ในใจซึ่งกัมมัฏฐานหน่อยหนึ่ง
แล้วลุกขึ้น เข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต, บุคคลนั้นล้างหน้า แล้วตกแต่ง
อัตภาพ ด้วยอันห่มผ้ากาสาวะมีสีเหลือง หยอดนัยน์ตาและทาศีรษะ
เป็นต้น ให้ประหารด้วยไม้กวาด ๒-๓ ทีเป็นดุจว่ากวาดอยู่ เป็นผู้บ่าย
หน้าไปสู่ซุ้มประตู, พวกมนุษย์มาแต่เช้าตรู่ ด้วยคิดว่า "จักไหว้พระเจดีย์
จักกระทำบูชาด้วยระเบียบดอกไม้" เห็นเขาแล้ว พูดกันว่า "วิหารนี้"
อาศัยภิกษุหนุ่มนี้ จึงได้การปฏิบัติบำรุง, ท่านทั้งหลายอย่าละเลยภิกษุ
นี้" ดังนี้แล้ว ย่อมสำคัญของที่ตนพึงให้แก่เขา. อันบุคคลผู้มักแล่นไป
เช่นนี้ เป็นอยู่ง่าย.
บทว่า ปคพฺเภน ความว่า ผู้ประกอบด้วยความคะนองกายเป็นต้น.
สองบทว่า สงฺกิลิฏฺเฐน ชีวิตํ ความว่า ก็อันบุคคลผู้เลี้ยงชีวิตเป็นอยู่
อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้เศร้าหมองแล้ว เป็นอยู่. การเป็นอยู่นั้น ชื่อว่าเป็น
อยู่ชั่ว คือเป็นอยู่ลามกแท้.
บทว่า หิริมตา จ ความว่า อันบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอต-
ตัปปะ เป็นอยู่ยาก. เพราะเขาไม่กล่าวคำว่า "มารดาของเรา" เป็นต้น
กะหญิงผู้มิใช่มารดาเป็นต้น เกลียดปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบธรรมดุจคูถ
แสวงหา (ปัจจัย) โดยธรรมโดยเสมอ เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก
สำเร็จชีวิตเป็นอยู่เศร้าหมอง.
บทว่า สุจิคเวสินา ความว่า แสวงหากรรมทั้งหลาย มีกายกรรม

33