No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 14 (เล่ม 43)

ในที่นี้ควร" จึงให้สร้างศาลาแล้วคิดว่า "บัดนี้ เราจักทำการฉลองศาลา,"
จึงนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้ภิกษุทั้งหลายนั่งทั้งภายใน
ทั้งภายนอก ถวายทาน, ในเวลาเสร็จภัตกิจ รับบาตรพระศาสดา เพื่อ
ประโยชน์แก่การทรงอนุโมทนา แล้วกราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมด จำเดิม
ตั้งแต่ต้นว่า " พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ยืนแลดูอยู่ในที่นี้ ในเวลาที่พวก
ภิกษุห่มจีวร, เห็นเหตุการณ์อย่างนี้ ๆ จึงให้สร้างสิ่งนี้ ๆ ขึ้น."
พระศาสดาทรงแสดงธรรม
พระศาสดาทรงสดับคำของเขาแล้ว ตรัสว่า " พราหมณ์ ธรรมดา
บัณฑิตทั้งหลายทำกุศลอยู่คราวละน้อย ๆ ทุก ๆ ขณะ, ย่อมนำมลทิน
คืออกุศลของตน ออกโดยลำดับทีเดียว" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถา
นี้ว่า :-
๒. อนุปุพฺเพน เมธาวี โถกํ โถกํ ขเณ ขเณ
กมฺมาโร รชตสฺเสว นิทฺธเม มลมตฺตโน.
"ผู้มีปัญญา (ทำกุศลอยู่) คราวละน้อย ๆ ทุก ๆ
ขณะ โดยลำดับ พึงกำจัดมลทินของตนได้ เหมือน
ช่างทอดปัดเป่าสนิมทองฉะนั้น."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุปุพฺเพน คือ โดยลำดับ, ผู้ประกอบ
ด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม ชื่อว่า เมธาวี.
สองบทว่า ขเณ ขเณ ความว่า ทำกุศลอยู่ทุก ๆ โอกาส.
บาทพระคาถาว่า กมฺมาโร รชตสฺเสว ความว่า บัณฑิตทำกุศล
อยู่บ่อย ๆ ชื่อว่าพึงกำจัดมลทิน คือกิเลสมีราคะเป็นต้นของตน, ด้วยว่า

14
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 15 (เล่ม 43)

เมื่อเป็นอย่างนั้น บัณฑิตย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีมลทินอันขจัดแล้ว คือไม่มีกิเลส
เหมือนช่างทองหลอมแล้วทุบทองครั้งเดียวเท่านั้น ย่อมไม่อาจไล่สนิมออก
แล้วทำเครื่องประดับต่าง ๆ ได้. แต่เมื่อหลอมทุบบ่อย ๆ ย่อมไล่สนิม
ออกได้, ภายหลัง ย่อมทำให้เป็นเครื่องประดับต่าง ๆ หลายอย่างได้
ฉะนั้น.
ในกาลจบเทศนา พราหมณ์ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนา
ได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง จบ.

15
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 16 (เล่ม 43)

๓. เรื่องพระติสสเถระ [๑๘๔]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง
ชื่อติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อยสาว มลํ สมุฏฺฐิตํ"
เป็นต้น.
พระติสสะมอบผ้าสาฎกเนื้อหยาบให้พี่สาว
ดังได้สดับมา กุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง ได้บรรพชาอุปสมบท
แล้ว ปรากฏชื่อว่า " พระติสสเถระ."
ในกาลต่อมา พระติสสเถระนั้นเข้าจำพรรษา ณ วิหารในชนบท,
ได้ผ้าสาฎกเนื้อหยาบประมาณ ๘ ศอก จำพรรษา ปวารณาแล้ว, ถือผ้า
นั้นไปวางไว้ใกล้มือพี่สาว. พี่สาวนั้นดำริว่า " ผ้าสาฎกผืนนี้ไม่สมควร
แก่น้องชายเรา" แล้วตัดผ้านั้นด้วยมีดอันคม ทำให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่,
โขลกในครก แล้วสาง ดีด กรอ ปั่น ให้เป็นด้ายละเอียด ให้ทอเป็น
ผ้าสาฎกแล้ว.
พระเถระเตรียมจะตัดจีวร
ฝ่ายพระเถระ ก็จัดแจงด้ายและเข็ม, นิมนต์ภิกษุหนุ่มและสามเณร
ผู้ทำจีวรให้ประชุมกันแล้ว ไปยังสำนักพี่สาว พูดว่า " พี่จงให้ผ้าสาฎก
ผืนนั้นแก่ฉัน, ฉันจักให้ทำจีวร."
พี่สาวนั้น นำผ้าสาฎกประมาณ ๙ ศอกออกมาวางไว้ใกล้มือของ
พระผู้น้องชาย. ท่านรับผ้าสาฎกนั้นมาพิจารณาแล้ว พูดว่า " ผ้าสาฎก
ของฉันเนื้อหยาบ ประมาณ ๘ ศอก, ผืนนี้เนื้อละเอียด ประมาณ ๙ ศอก,

16
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 17 (เล่ม 43)

ผ้ามิใช่ผ้าสาฎกของฉัน, นี่เป็นผ้าสาฎกของพี่, ฉันไม่ต้องการผ้าผืนนี้
พี่จงให้ผ้าสาฎกผืนนั้นแหละแก่ฉัน." พี่สาวตอบว่า " ท่านผู้เจริญ นี่เป็น
ผ้าของท่านทีเดียว, ขอท่านจงรับผ้านั้นเถิด." ท่านไม่ปรารถนาเลย.
ลำดับนั้น พี่สาวจึงบอกกิจที่ตนทำทุกอย่างแก่พระเถระนั้นแล้ว
ได้ถวายว่า " ท่านผู้เจริญ นั่นเป็นผ้าของท่านทีเดียว, ขอท่านจงรับผ้า
นั้นเถิด." ท่านถือผ้านั้นไปวิหาร เริ่มจีวรกรรม.
พระเถระห่วงใยในจีวร ตายแล้วเกิดเป็นเล็น
ลำดับนั้น พี่สาวของท่านจัดแจงวัตถุมียาคูและภัตเป็นต้น เพื่อ
ประโยชน์แก่ภิกษุสามเณรผู้ทำจีวรของพระติสสะนั้น. ก็ในวันที่จีวรเสร็จ
พี่สาวให้ทำสักการะมากมาย. ท่านแลดูจีวรแล้ว เกิดความเยื่อใยในจีวรนั้น
คิดว่า "ในวันพรุ่งนี้ เราจักห่มจีวรนั้น" แล้วพับพาดไว้ที่สายระเดียง,
ในราตรีนั้น ไม่สามารถให้อาหารที่ฉันแล้วย่อยไปได้ มรณภาพแล้ว เกิด
เป็นเล็นที่จีวรนั้นนั่นเอง.
พระศาสดารับสั่งไม่ให้แจกจีวร
ฝ่ายพี่สาว สดับการมรณภาพของท่านแล้ว ร้องไห้กลิ้งเกลือกใกล้
เท้าของพวกภิกษุ. พวกภิกษุทำสรีรกิจ (เผาศพ) ของท่านแล้วพูดกันว่า
" จีวรนั้นถึงแก่สงฆ์ทีเดียว เพราะไม่มีคิลานุปัฏฐาก, พวกเราจักแบ่งจีวร
นั้น" แล้วให้นำจีวรนั้นออกมา. เล่นวิ่งร้องไปข้างโน้นและข้างนี้ว่า
" ภิกษุพวกนี้แย่งจีวรอันเป็นของเรา."
พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎีเทียว ทรงสดับเสียงนั้นด้วย

17
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 18 (เล่ม 43)

โสตธาตุเพียงดังทิพย์ ตรัสว่า " อานนท์ เธอจงบอก อย่าให้พวกภิกษุ
แบ่งจีวรของติสสะ แล้วเก็บไว้ ๗ วัน." พระเถระให้ทำอย่างนั้นแล้ว.
พระศาสดารับสั่งให้แจกจีวรของพระติสสเถระ
แม้เล็นนั้น ทำกาละในวันที่ ๗ เกิดในวิมานชั้นดุสิตแล้ว, ใน
วันที่ ๘ พระศาสดารับสั่งว่า " ภิกษุทั้งหลาย จงแบ่งจีวรของติสสะแล้ว
ถือเอา." พวกภิกษุทำอย่างนั้นแล้ว.
พวกภิกษุสนทนากันในธรรมสภาว่า " เหตุไรหนอแล พระศาสดา
จึงให้เก็บจีวรของพระติสสะไว้สิ้น ๗ วัน แล้วทรงอนุญาตเพื่อถือเอาใน
วันที่ ๘."
ตัณหาทำให้สัตว์ถึงความพินาศ
พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวก
เธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูล
ว่า "ด้วยเรื่องชื่อนี้," ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ติสสะเกิดเป็นเล็นที่จีวร
ของตน, เมื่อพวกเธอจะแบ่งจีวรนั้น วิ่งร้องไปข้างโน้นและข้างนี้ว่า
' ภิกษุพวกนี้แย่งจีวรอันเป็นของเรา,' เมื่อพวกเธอถือเอาจีวรอยู่. เขา
ขัดใจในพวกเธอแล้วพึงเกิดในนรก, เพราะเหตุนั้น เราจึงให้เก็บจีวรไว้;
ก็บัดนี้เขาเกิดในวิมานชั้นดุสิตแล้ว. เพราะเหตุนั้น เราจึงอนุญาตการถือ
เอาจีวรแก่พวกเธอ," เมื่อภิกษุพวกนั้นกราบทูลอีกว่า "พระเจ้าข้า ขึ้น
ชื่อว่าตัณหานี้หยาบหนอ" จึงตรัสว่า " อย่างนั้นภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า
ตัณหาของสัตว์เหล่านี้หยาบ; สนิมตั้งขึ้นแต่เหล็ก ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง
ย่อมให้เหล็กพินาศไป ทำให้เป็นของใช้สอยไม่ได้ ฉันใด; ตัณหานี้ (ก็)

18
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 19 (เล่ม 43)

ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นภายในของสัตว์เหล่านี้แล้ว ย่อมให้สัตว์เหล่านั้น
เกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ให้ถึงความพินาศ ' ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระ-
คาถานี้ว่า :-
๓. อยสา ว มลํ สมุฏฺฐิตํ
ตหุฏฺฐาย ตเมว ขาทติ
เอวํ อติโธนจารินํ
สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ.
"สนิมตั้งขึ้นแต่เหล็ก ครั้นตั้งขึ้นแต่เหล็กแล้ว
ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ฉันใด; กรรมทั้งหลายของตน
ย่อมนำบุคคลผู้มักประพฤติล่วงปัญญาชื่อว่าโธนา ไป
สู่ทุคติ ฉันนั้น."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยสา คือแต่เหล็ก. บทว่า สมุฏฺฐิตํ
คือตั้งขึ้นแล้ว. บทว่า ตทุฏฺฐาย คือครั้นตั้งขึ้นแต่เหล็กนั้น.
ในบทว่า อติโธนจารินํ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังนี้.
ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาปัจจัย ๔ ว่า " การบริโภคนี้ เป็นประ-
โยชน์ด้วยปัจจัยเหล่านี้" แล้วบริโภค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าโธนา,
บุคคลประพฤติก้าวล่วงปัญญาชื่อว่าโธนานั่น ชื่อว่า อติโธนจารี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า " สนิมเกิดขึ้นแต่
เหล็ก ตั้งขึ้นแต่เหล็ก ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ฉันใด; กรรมทั้งหลายของ
ตน คือกรรมเหล่านั้นชื่อว่าเป็นของตนนั่นแหละ เพราะตั้งขึ้นในตน

19
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 20 (เล่ม 43)

ย่อมนำบุคคลผู้ไม่พิจารณาปัจจัย ๔ แล้วบริโภค ชื่อว่าผู้ประพฤติก้าวล่วง
ปัญญาชื่อว่าโธนา ไปสู่ทุคติ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องพระติสสเถระ จบ.

20
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 21 (เล่ม 43)

๔. เรื่องพระโลฬุทายีเถระ [๑๘๕]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระโลฬุทายี-
เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อสชฺฌายมลา มนฺตา" เป็นต้น.
พระโลฬุทายีอวดดีอยากแสดงธรรม
ดังได้สดับมา พวกอริยสาวกประมาณ ๕ โกฏิในพระนครสาวัตถี
ถวายทานในเวลาก่อนภัตแล้ว ในเวลาหลังภัตจึงถือวัตถุทั้งหลายมีเนยใส
น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และผ้าเป็นต้น ไปวิหารแล้วฟังธรรมกถาอยู่,
ก็ในเวลาฟังธรรมแล้วเดินไป ย่อมกล่าวคุณของพระสารีบุตรและพระ-
โมคคัลลานะ.
พระอุทายีเถระ สดับถ้อยคำของอริยสาวกเหล่านั้นแล้ว จึงพูดว่า
" พวกท่านฟังธรรมกถาของพระเถระทั้งสองนั้น ยังกล่าวถึงอย่างนั้นก่อน,
ฟังธรรมกถาของฉันแล้ว จักกล่าวอย่างไรหนอแล ?"
พวกมนุษย์ ฟังถ้อยคำของท่านแล้วคิดว่า " พระเถระแม้นี้ จัก
เป็นพระธรรมกถึกองค์หนึ่ง, พวกเราฟังธรรมกถาของพระเถระแม้นี้
ควร." วันหนึ่ง พวกเขาอาราธนาพระเถระว่า๑ " ท่านขอรับ วันนี้เป็น
วันฟังธรรมของพวกกระผม," ถวายทานแก่พระสงฆ์แล้วพูดว่า " ท่าน
ขอรับ ขอท่านพึงกล่าวธรรมกถาในกลางวันเถิด." ฝ่ายพระเถระนั้น
รับนิมนต์ของพวกมนุษย์นั้นแล้ว.
พระเถระไม่สามารถแสดงธรรมได้
เมื่อพวกมนุษย์นั้นมาในเวลาฟังธรรมแล้ว พูดว่า "ท่านขอรับ
๑. ยาจิตฺวา=ขอหรือวิงวอน.

21
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 22 (เล่ม 43)

ขอท่านจงกล่าวธรรมแก่พวกกระผมเถิด," พระโลฬุทายีเถระนั่งบนอาสนะ
แล้ว จับพัดอันวิจิตรสั่นอยู่, ไม่เห็นบทธรรม แม้บทหนึ่งพูดว่า " ฉัน
จักสวดสรภัญญะ, ขอภิกษุรูปอื่นจงกล่าวธรรมกถา" ดังนี้แล้ว ก็ลง (จาก
อาสนะ). มนุษย์พวกนั้น นิมนต์ภิกษุรูปอื่นให้กล่าวธรรมกถาแล้ว นิมนต์
พระโลฬุทายีขึ้นอาสนะอีก เพื่อต้องการสวดสรภัญญะ. พระโลฬุทายีนั้น
ไม่เห็นบทธรรมอะไร ๆ แม้อีก จึงพูดว่า " ฉันจักกล่าวในกลางคืน, ขอ
ภิกษุรูปอื่นจงสวดสรภัญญะ" แล้วก็ลง มนุษย์พวกนั้น นิมนต์ภิกษุรูป
อื่นให้สวดสรภัญญะแล้ว นำพระเถระมาในกลางคืนอีก. พระเถระนั้น ก็ยัง
ไม่เห็นบทธรรมอะไร ๆ แม้ในกลางคืน พูดว่า " ฉักจักกล่าวในเวลา
ใกล้รุ่งเทียว, ขอภิกษุรูปอื่นจงกล่าวในเวลากลางคืน" แล้วก็ลง. มนุษย์
พวกนั้น นิมนต์ภิกษุรูปอื่นให้กล่าวแล้วในเวลาใกล้รุ่ง ก็นำพระเถระนั้น
มาอีก. พระเถระนั้น แม้ในเวลาใกล้รุ่ง ก็มิได้เห็นบทธรรมอะไร ๆ.
พระเถระถูกมหาชนไล่ไปตกหลุมคูถ
มหาชน ถือวัตถุทั้งหลายมีก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น คุกคามว่า
"พระอันธพาล เมื่อพวกข้าพเจ้ากล่าวสรรเสริญพระสารีบุตรและพระโมค-
คัลลานะ ท่านพูดอย่างนั้นและอย่างนั้น, บัดนี้ เหตุไรจึงไม่พูด ?" ดังนี้แล้ว
ก็ติดตามพระเถระผู้หนีไป. พระเถระนั้นหนีไปตกลงในเวจกุฎีแห่งหนึ่ง.
มหาชนสนทนากันว่า "พระโลฬุทายี เมื่อถ้อยคำสรรเสริญคุณ
พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นไปอยู่ อวดอ้างประกาศความที่ตน
เป็นธรรมกถึก, เมื่อพวกมนุษย์ทำสักการะแล้ว พูดว่า ' พวกกระผมจะ
ฟังธรรม,' นั่งบนอาสนะถึง ๔ ครั้ง ไม่เห็นบทธรรมอะไร ๆ ที่สมควร
จะพึงกล่าว ถูกพวกมนุษย์ถือวัตถุทั้งหลายมีก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น

22
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 23 (เล่ม 43)

คุกคามว่า ' ท่านถือตัวเท่าเทียม๑กับพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานเถระ
ผู้เป็นเจ้าของพวกเรา' ไล่ให้หนีไปตกลงในเวจกุฎีแล้ว.
บุรพกรรมของพระโลฬุทายี
พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวก
เธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร ?" เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า " ด้วยเรื่อง
ชื่อนี้," จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น, แม้ในกาล
ก่อน โลฬุทายีนี้ ก็จมลงในหลุมคูถเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีต
นิทานมา ตรัสชาดก๒นี้ให้พิสดารว่า :-
"สหาย เรามี ๔ เท้า, สหาย แม้ท่านก็มี ๔ เท้า.
มาเถิด สีหะ ท่านจงกลับ, เพราะเหตุไรหนอ ท่าน
จึงกลัวแล้วหนีไป ? สุกร ท่านเป็นผู้ไม่สะอาด มีขน
เปื้อนด้วยของเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป; ถ้าท่านประสงค์
ต่อสู้, เราจะให้ความชนะแก่ท่าน นะสหาย"
ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ราชสีห์ในกาลนั้นได้เป็นสารีบุตร, สุกรได้เป็น
โลฬุทายี."
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย โสฬุทายีเรียนธรรมมีประมาณน้อยแท้, อนึ่ง มิได้ทำการท่อง
เลย; การเรียนปริยัติอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ไม่ทำการท่องปริยัตินั้น เป็น
มลทินแท้" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
๑. ยคคฺคาหํ คณฺหสิ=ถือความเป็นคู่. ๒. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๑. อรรถกถา. ๓/๑๑.

23