No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 34 (เล่ม 43)

เป็นต้นอันสะอาด. บทว่า อลีเนน ความว่า ไม่หดหู่ด้วยความเป็นไป
แห่งชีวิต.
สองบทว่า สุทฺธาชีเวน ปสฺสตา ความว่า ก็บุคคลเห็นปานนี้ย่อม
เป็นผู้ชื่อว่า มีอาชีวะหมดจด, อันบุคคลผู้มีอาชีวะหมดจดแล้วอย่างนี้นั้น
เห็นอาชีวะหมดจดนั้นแลโดยความเป็นสาระ ย่อมเป็นอยู่ได้ยาก ด้วย
อำนาจแห่งความเป็นอยู่เศร้าหมอง.
ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุชื่อจูฬสารี จบ

34
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 35 (เล่ม 43)

๗. เรื่องอุบาสก ๕ คน [๑๘๘]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอุบาสก ๕ คน
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย ปาณมติมาเปติ" เป็นต้น.
อุบาสกเถียงกันในเรื่องศีล
ความพิสดารว่า บรรดาอุบาสกเหล่านั้น อุบาสกคนหนึ่งย่อมรักษา
สิกขาบท คือเจตนาเครื่องงดเว้นจากการยังชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไปอย่าง
เดียว. (ส่วน) อุบาสกทั้งหลายนอกนี้ ย่อมรักษาสิกขาบททั้งหลายนอกนี้.
วันหนึ่ง อุบาสกเหล่านั้นเกิดทุ่มเถียงกันว่า " เราย่อมทำกรรมที่ทำได้โดย
ยาก. เราย่อมรักษาสิ่งที่รักษาได้โดยยาก" ไปสู่สำนักของพระศาสดา
ถวายบังคมแล้วกราบทูลความนั้น.
พระศาสดาทรงตัดสิน
พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของอุบาสกเหล่านั้นแล้ว มิได้ทรง
กระทำศีลแม้ข้อหนึ่งให้ต่ำต้อย ตรัสว่า "มีศีลทั้งหมดเป็นของรักษาไว้
โดยยากทั้งนั้น" ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
๗. โย ปาณมติมาเปติ มุสาวาทญฺจ ภาสติ
โลเก อทินฺนํ อาทิยติ ปรทารญฺจ คจฺฉติ
สุราเมรยปานญฺจ โย นโร อนุยุญฺชติ
อิเธวเมโส โลกสฺมึ มูลํ ขนติ อตฺตโน.
เอวํ โภ ปุริส ชานาหิ ปาปธมฺมา อสญฺญตา
มา ตํ โลโภ อธมฺโม จ จิรํ ทุกฺขาย รนฺธยุํ.

35
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 36 (เล่ม 43)

" นระใด ย่อมยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ๑,
กล่าวมุสาวาท ๑, ถือเอาทรัพย์ที่บุคคลอื่นไม่ให้ใน
โลก ๑, ถึงภริยาของผู้อื่น ๑, อนึ่ง นระใดย่อม
ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งการดื่มสุราและเมรัย นระนี้
(ชื่อว่า) ย่อมขุดซึ่งรากเหง้าของตนในโลกนี้ทีเดียว.
บุรุษผู้เจริญ ท่านจงทราบอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้มีบาป-
ธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ไม่สำรวมแล้ว' ความโลภ
และสภาพมิใช่ธรรม จงอย่ารบกวนท่าน เพื่อความ
ทุกข์ ตลอดกาลนานเลย."
แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า โย ปาณมติมาเปติ ความว่า
บรรดาประโยคทั้งหก มีสาหัตถิกประโยค๑เป็นต้น นระใดย่อมเข้าไปตัด
อินทรีย์คือชีวิตของผู้อื่น แม้ด้วยประโยคอันหนึ่ง.
บทว่า มุสาวาทํ ความว่า และย่อมกล่าวมุสาวาท อันหักเสียซึ่ง
ประโยชน์ของชนเหล่าอื่น.
บาทพระคาถาว่า โลเก อทินฺนํ อาทิยติ ความว่า ย่อมถือเอาทรัพย์
อันบุคคลอื่นหวงแหนแล้ว ด้วยบรรดาอวหาร (การนำเอาไป) ทั้งหลาย
มีไถยาวหาร (การนำเอาไปโดยขโมย) เป็นต้น อวหารแม้อันหนึ่งใน
สัตวโลกนี้.
บาทพระคาถาว่า ปรทารญฺจ คจฺฉติ ความว่า นระเมื่อผิดใน
๑. ประโยคแห่งการฆ่ามี ๖ คือ สาหัตถิกประโยค ๑ นิคสัคคิยประโจค ๑ อาณัตติประโยค ๑
ถาวรประโยค ๑ วิชชามยประโยค ๑ อิทธิมยประโยค ๑ สาหัตถิกประโยคนั้น ได้แก่การทำ
ด้วยมือตนเอง. สมันตปาสาทิกา ๑/๕๒๖.

36
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 37 (เล่ม 43)

ภัณฑะทั้งหลาย ที่บุคคลอื่นรักษาและคุ้มครองแล้ว ชื่อว่าย่อมประพฤติ
นอกทาง.
บทว่า สุราเมรยปานํ ได้แก่ การดื่มซึ่งสุราและเมรัยอย่างใดอย่าง
หนึ่งนั่นเทียว. บทว่า อนุยุญฺชติ คือ ย่อมเสพ ได้แก่ ย่อมกระทำ
ให้มาก.
สองบทว่า มูลํ ขนติ ความว่า ปรโลกจงยกไว้. ก็ในโลกนี้นั่นแล
นระนี้จำนองหรือขายขาด แม้ซึ่งทรัพย์อันเป็นต้นทุนมีนาและสวนเป็นต้น
อันเป็นเครื่องที่จะพึงดำรง (ตน) อยู่ได้ ดื่มสุราอยู่ ชื่อว่าย่อมขุดซึ่ง
รากเหง้าของตน คือเป็นคนหาที่พึ่งมิได้. เป็นคนกำพร้าเที่ยวไป.
พระศาสดา ย่อมตรัสเรียกบุคคลผู้ทำกรรมคือทุศีล ๕ ด้วยคำว่า
เอวํ โภ. บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่ ผู้มีธรรมลามก. บทว่า อสญฺญตา
ได้แก่ ผู้เว้นแล้วจากการสำรวม มีการสำรวมทางกายเป็นต้น. พระบาลีว่า
อเจตสา ดังนี้บ้าง. ความว่า ผู้ไม่มีจิต.
สองบทว่า โลโภ อธมฺโม จ ได้แก่ โลภะและโทสะ. แท้จริง
กิเลสชาตแม้ทั้งสองนี้ เป็นอกุศลโดยแท้.
บาทพระคาถาว่า จิรํ ทุกฺขาย รนฺธยุํ ความว่า ธรรมเหล่านี้
จงอย่าฆ่า อยู่ย่ำยี (ซึ่งท่าน) เพื่อประโยชน์แก่ทุกข์ทั้งหลายมีทุกข์ใน
นรกเป็นต้น ตลอดกาลนาน.
ในกาลจบเทศนา อุบาสก ๕ คนนั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว.
พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์ แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องอุบาสก ๕ คน จบ.

37
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 38 (เล่ม 43)

๘. เรื่องภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ [๑๘๓]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุหนุ่ม
ชื่อติสสะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ททาติ เว ยถาสทฺธํ" เป็นต้น.
พระติสสะนินทาชนอื่นแต่ชมเชยญาติของตน
ได้ยินว่า พระติสสะนั้นเที่ยวติเตียนทานของพระอริยสาวก แม้ ๕
โกฏิ คือ อนาถบิณฑิกคฤหบดี นางวิสาขาอุบาสิกา (เป็นต้น ). แม้ถึง
อสทิสทาน๑ก็ติเตียนเหมือนกัน, ได้ของเย็นในโรงทานของอริยสาวก
เหล่านั้น ย่อมติเตียนว่า " เย็น " ได้ของร้อน ย่อมติเตียนว่า " ร้อน "
แม้เขาให้น้อย ย่อมติเตียนว่า " เพราะเหตุไร ชนเหล่านี้จึงให้ของเพียง
เล็กน้อย ?" แม้เขาให้มาก ย่อมติเตียนว่า " ในเรือนของชนเหล่านี้ เห็น
จะไม่มีที่เก็บ, ธรรมดาบุคคลควรให้วัตถุพอยังอัตภาพให้เป็นไปแก่ภิกษุ
ทั้งหลายมิใช่หรือ ? ยาคูและภัตเท่านี้ย่อมวิบัติไปไม่มีประโยชน์เลย,"
แต่กล่าวปรารภพวกญาติของตนเป็นต้นว่า " น่าชมเชยเรือนของพวกญาติ
ของเรา เป็นโรงเลี้ยงของภิกษุทั้งหลาย ผู้มาแล้วจากทิศทั้งสี่" ดังนี้
แล้ว ย่อมยังคำสรรเสริญให้เป็นไป.
พวกภิกษุสอบสวนฐานะของพระติสสะ
ก็พระติสสะนั้น เป็นบุตรของผู้รักษาประตูคนหนึ่ง เที่ยวไปกับ
พวกช่างไม้ผู้เที่ยวไปยังชนบท ถึงพระนครสาวัตถี บวชแล้ว.
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเห็นเธอผู้ (เที่ยว) ติเตียนทานของมนุษย์
๑. หาทานเสมอเหมือนมิได้.

38
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 39 (เล่ม 43)

ทั้งหลายอยู่อย่างนั้น คิดกันว่า " พวกเราจักสอบสวนภิกษุนั้น " จึงถาม
ว่า " ผู้มีอายุ พวกญาติของท่านอยู่ที่ไหน ?" ได้ฟังว่า " อยู่ในบ้านชื่อ
โน้น " จึงส่งภิกษุหนุ่มไป ๒-๓ รูป.
ภิกษุหนุ่มเหล่านั้นไปในบ้านนั้นแล้ว อันชนชาวบ้านนิมนต์ให้นั่ง
ที่โรงฉันแล้วกระทำสักการะ จึงถามว่า เด็กหนุ่มชื่อติสสะออกจากบ้าน
นี้ไปบวชแล้ว มีอยู่หรือ ? ชนเหล่าไหนเป็นญาติของติสสะนั้น." มนุษย์
ทั้งหลาย (ต่าง) คิดว่า " ในบ้านนี้ เด็กผู้ออกจากเรือนแห่งตระกูลไป
บวชแล้ว ไม่มี; ภิกษุเหล่านั้น พูดถึงใครหนอ ?" แล้วเรียนว่า " ท่านขอรับ
กระผมทั้งหลายได้ยินว่า ' บุตรของผู้รักษาประตูคนหนึ่ง เที่ยวไปกับพวก
ช่างไม้ บวชแล้ว;' ท่านทั้งหลายเห็นจะกล่าวหมายเอาผู้นั้นกระมัง ?"
จับโกหกได้
ภิกษุหนุ่มทั้งหลายทราบว่า พวกญาติผู้ใหญ่ของติสสภิกษุหนุ่มนั้น
ไม่มีในบ้านนั้นแล้ว (จึงพากัน) กลับไปสู่พระนครสาวัตถี แจ้งเรื่องนั้น
แก่ภิกษุทั้งหลายว่า " ท่านผู้เจริญ พระติสสะย่อมเที่ยวพูดเพ้อถึงสิ่งอัน
หาเหตุมิได้เลย." แม้ภิกษุทั้งหลายก็กราบทูล (เรื่องนั้น) แด่พระ-
ตถาคต.
บุรพกรรมของพระติสสะ
พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าติสสะนั้นย่อมเที่ยว
โอ้อวด ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้; แม้ในกาลก่อน เธอก็ได้เป็นผู้โอ้อวด
แล้ว," อันภิกษุทั้งหลายทูลวิงวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาแล้ว ทรง
ยังกฏาหกชาดก๑นี้ให้พิสดารว่า :-
๑. ขุ. ชา. ๒๗/๔๐. อรรถกถา. ๒/๓๒๖.

39
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 40 (เล่ม 43)

"นายกฏาหกนั้น ไปสู่ชนบทอื่น จึงพูดอวดซึ่ง
ทรัพย์แม้มาก, นายมาตามแล้ว พึงประทุษร้าย,
กฏาหก ท่านจงบริโภคโภคะทั้งหลายเถิด."
ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลใดเมื่อชนเหล่าอื่นให้ซึ่งวัตถุ
น้อยก็ตาม มากก็ตาม เศร้าหมองก็ตาม ประณีตก็ตาม หรือให้วัตถุแก่
ชนเหล่าอื่น (แต่) ไม่ให้แก่ตน ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน; ฌานก็ดี วิปัสสนา
ก็ดี มรรคและผลก็ดี ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะ
ทรงแสดงธรรมได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
๘. ททาติ เว ยถาสทฺธํ ยถาปสาทนํ ชโน
ตตฺถ โย มงฺกุโต โหติ ปเรสํ ปานโภชเน
น โส ทิวา วา รตฺตึ วา สมาธึ อธิคจฺฉติ.
ยสฺสเจตํ สมุจฺฉินฺนํ มูลฆจฺจํ สมูหตํ
ส เว ทิวา วา รตฺตึ วา สมาธึ อธิคจฺฉติ.
"ชนย่อมให้ (ทาน) ตามศรัทธา ตามความ
เลื่อมใสแล, ชนใด ย่อมเป็นผู้เก้อเขินในเพราะน้ำ
และข้าวของชนเหล่าอื่นนั้น, ชนนั้นย่อมไม่บรรลุ
สมาธิในกลางวันหรือในกลางคืน. ก็อกุศลธรรมอัน
บุคคลใดตัดขาดแล้ว ถอนขึ้นทำให้มีรากขาดแล้ว,
บุคคลนั้นแล ย่อมบรรลุสมาธิ ในกลางวันหรือใน
กลางคืน."

40
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 41 (เล่ม 43)

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ททาติ เว ยถาสทฺธํ ความ
ว่า ชนเมื่อให้บรรดาวัตถุมีของเศร้าหมองและประณีตเป็นต้น อย่างใด
อย่างหนึ่ง ชื่อว่าย่อมให้ตามศรัทธา คือ ตามสมควรแก่ศรัทธาของตน
นั่นแล.
บทว่า ยถาปสาทนํ ความว่า ก็บรรดาภิกษุผู้เป็นเถระและภิกษุ
ใหม่เป็นต้น ความเลื่อมใสในภิกษุใด ๆ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น, เมื่อ
ถวาย (ทาน) แก่ภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมถวายตามความเลื่อมใส คือตาม
สมควรแก่ความเลื่อมใสของตนนั่นแล.
บทว่า ตตฺถ เป็นต้น ความว่า ย่อมถึงความเป็นผู้เก้อเขินในเพราะ
ทานของชนอื่นนั้นว่า " เราได้วัตถุเล็กน้อย, เราได้ของเศร้าหมอง."
บทว่า สมาธึ เป็นต้น ความว่า บุคคลนั้นย่อมไม่บรรลุสมาธิด้วย
สามารถแห่งอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ หรือด้วยสามารถแห่งมรรค
และผล ในกลางวันหรือในกลางคืน.
สองบทว่า ยสฺส เจตํ ความว่า อกุศลกรรมนั่น กล่าวคือความ
เป็นผู้เก้อเขินในฐานะเหล่านั้น อันบุคคลใดตัดขาดแล้ว ถอนขึ้น ทำให้มี
รากขาดแล้ว ด้วยอรหัตมรรคญาณ. บุคคลนั้นย่อมบรรลุสมาธิ มีประการ
ดังกล่าวแล้ว.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ จบ.

41
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 42 (เล่ม 43)

๙. เรื่องอุบาสก ๕ คน [๑๙๐]
ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอุบาสก ๕
คน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ" เป็นต้น.
ได้ยินว่า อุบาสกเหล่านั้นใคร่จะฟังธรรม ไปสู่วิหาร ถวายบังคม
พระศาสดาแล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. ก็ความดำริว่า " ผู้นี้เป็นกษัตริย์
ผู้นี้เป็นพราหมณ์, ผู้นี้เป็นคนมั่งมี, ผู้นี้เป็นคนยากจน, เราจักแสดงธรรม
ให้ยวดยิ่งแก่ผู้นี้, จักไม่แสดง (ธรรมให้ยวดยิ่ง) แก่ผู้นี้" ย่อมไม่เกิด
ขึ้นแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงธรรมปรารภบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ย่อม
ทรงทำความเคารพธรรมไว้เป็นเบื้องหน้า แล้วจึงแสดง ประหนึ่ง
เทพเจ้าผู้มีฤทธิ์บันดาลให้น้ำในอากาศหลั่งไหลลงอยู่ฉะนั้น. ก็บรรดา
อุบาสกเหล่านั้น ผู้นั่งแล้วในสำนักของพระตถาคตผู้ทรงแสดง (ธรรม)
อยู่อย่างนั้น อุบาสกคนหนึ่งนั่งหลับแล้วเทียว, คนหนึ่งนั่งเขียนแผ่นดิน
ด้วยนิ้วมือ, คนหนึ่งนั่งเขย่าต้นไม้, คนหนึ่งนั่งแหงน (หน้า) มองดู
อากาศ, แต่คนหนึ่งได้ฟังธรรมโดยเคารพ.
พระอานนทเถระ ถวายงานพัดพระศาสดาอยู่ แลดูอาการของ
อุบาสกเหล่านั้น กราบทูลพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ทรงบันลือลั่นดุจมหาเมฆคำรน ทรงแสดงธรรมแก่อุบาสกเหล่านี้, แต่
อุบาสกเหล่านั้น เมื่อพระองค์ตรัสธรรมอยู่, นั่งทำกรรมนี้และนี้."
พระศาสดา. อานนท์ เธอไม่รู้จักอุบาสกเหล่านั้นหรือ ?

42
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ – หน้าที่ 43 (เล่ม 43)

อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้จัก พระเจ้าข้า.
ประวัติเดิมของอุบาสก ๕ คน
พระศาสดา. ก็บรรดาอุบาสกเหล่านั้น อุบาสกผู้นั่งหลับแล้วนั่น
เกิดในกำเนิดแห่งงูสิ้น ๕๐๐๐ ชาติ พาดศีรษะไว้บนขนดทั้งหลายหลับแล้ว.
แม้ในบัดนี้ ความอิ่มในการหลับของเขาย่อมไม่มี, เสียงของเราย่อมไม่
เข้าไปสู่หูของเขา.
อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสโดยลำดับหรือตรัส
เป็นตอน๑ ๆ ?
พระศาสดา. อานนท์ แท้จริง แม้พระสัพพัญญุตญาณ ก็ไม่อาจทรง
กำหนด ซึ่งความอุบัติของอุบาสกนั่น ผู้อุบัติอยู่ในระหว่าง ๆ อย่างนี้คือ
' ความเป็นมนุษย์ตามกาล, ความเป็นเทพตามกาล, ความเป็นนาคตาม
กาล,' แต่อุบาสกนั่นเกิดแล้วในกำเนิดแห่งนาคสิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ
แม้หลับอยู่ (ก็) ไม่อิ่มในการหลับเสียเลย.
ฝ่ายบุรุษผู้นั่งเขียนแผ่นดินด้วยนิ้วมือ เกิดในกำเนิดไส้เดือนสิ้น
๕๐๐ ชาติโดยลำดับ ขุดแผ่นดินแล้ว, ถึงบัดนี้ก็เขียนแผ่นดินอยู่ ด้วย
อำนาจความประพฤติที่ตนได้เคยประพฤติแล้ว ในกาลก่อนย่อมไม่ฟัง
เสียงของเรา.
ฝ่ายบุรุษผู้นั่งเขย่าต้นไม้อยู่นั่น เกิดแล้วในกำเนิดลิงสิ้น ๕๐๐ ชาติ
โดยลำดับ, ถึงบัดนี้ก็เขย่าต้นไม้อยู่ ด้วยสามารถแห่งความประพฤติที่ตน
ได้เคยประพฤติมาแล้วในกาลก่อนนั่นเทียว. เสียงของเราย่อมไม่เข้าหูของ
เขา. แม้พราหมณ์ผู้นั่งแหงน (หน้า) มองอากาศอยู่นั่น ก็เกิดเป็น (หมอ)
๑. อนฺตรนฺตรา=ในระหว่าง ๆ.

43