No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 82 (เล่ม 16)

ไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าเย็นแล้ว แล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่า
ยังเข้าอยู่ แล้วไม่ทำการงาน มักให้อ้างว่าหิวนักแล้วไม่ทำการงาน ๑ มัก
ให้อ้างว่ากระหายนัก แล้วไม่ทำการงาน ๑ เมื่อเขามากไปด้วยการอ้างเลศ
ผัดเพี้ยนการงานอยู่อย่างนี้ โภคะที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็ถึงความเสื่อมสิ้นไป. ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเกียจ
คร้านเหล่านี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์
ภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๘๕] เพื่อนในโรงสุราก็มี เพื่อนกล่าวแต่ปาก
ว่าเพื่อน ๆ ก็มี ส่วนผู้ใดเป็นสหาย เมื่อความ
ต้องการเกิดขึ้นแล้ว ผู้นั้นจัดว่าเป็นเพื่อแท้.
เหตุ ๖ ประการเหล่านี้คือ การนอนสาย ๑
การเสพภรรยาผู้อื่น ๑ การผูกเวร ๑ ความเป็นผู้
ทำแต่สิ่งหาประโยชน์มิได้ ๑ มิตรชั่ว ๑ ความ
เป็นผู้ตระหนี่เหนี่ยวแน่น ๑ ย่อมกำจัดบุรุษ
เสียจากประโยชน์สุขที่จะพึงได้ พึงถึง.
คนมีมิตรชั่วมีมารยาทและโคจรชั่ว ย่อม
เสื่อมจากโลกทั้งสองคือ จากโลกนี้และจาก
โลกหน้า.
เหตุ ๖ ประการ คือ การพนันและหญิง ๑

82
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 83 (เล่ม 16)

สุรา ๑ ฟ้อนรำขับร้อง ๑ นอนหลับในกลางวัน
บำเรอตนในสมัยมิใช่กาล ๑ มิตรชั่ว ๑ ความ
ตระหนี่เหนียวแน่น ๑ เหล่านี้ย่อมกำจัดบุรุษ
เสียจากประโยชน์ที่จะพึงได้ พึงถึง.
ชนเหล่าใดเล่นการพนัน ดื่มสุรา เสพหญิง
ภรรยาที่รักเสมอด้วยชีวิตของผู้อื่น คบแต่คน
ต่ำช้า และไม่คบหาคนที่มีความเจริญ ย่อม
เสื่อมดุจดวงจันทร์ในข้างแรม ผู้ใดดื่มสุรา
ไม่มีทรัพย์ หาการงานทำเลี้ยงชีวิตมิได้ เป็น
คนขี้เมาปราศจากสิ่งเป็นประโยชน์ เขาจักจม
ลงสู่หนี้เหมือนก้อนหินจมน้ำฉะนั้น จักทำ
ความอากูลแก่ตนทันที.
คนที่ปกตินอนหลับในกลางวัน เกลียด-
ชังการลุกขึ้นในกลางคืน เป็นนักเลงขี้เมา
เป็นนิจไม่อาจครอบครองเรือนให้ดีได้ ประ-
โยชน์ทั้งหลาย ย่อมล่วงเลย ชายหนุ่มที่
ละทิ้งการงาน ด้วยอ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก
เวลานี้เย็นเสียแล้วดังนี้เป็นต้น ส่วนผู้ใดไม่
สำคัญความหนาว ความร้อน ยิ่งไปกว่าหญ้า
ทำกิจของบุรุษอยู่ ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจาก
ความสุข ดังนี้.

83
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 84 (เล่ม 16)

กถาว่าด้วยมิตรเทียม
[๑๘๖] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คน ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ คน
ปอกลอก ๑ คนดีแต่พูด ๑ คนหัวประจบ ๑ คนชักชวนในทางฉิบหาย ๑
ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร.
[๑๘๗] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนปอกลอกท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร
เป็นแต่คนเทียมมิตรโดยสถาน ๔ คือ เป็นคนติดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ๑
เสียให้น้อยคิดเอาให้ได้มาก ๑ ไม่รับทำกิจของเพื่อนในคราวมีภัย ๑ คบ
เพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว ๑. คฤหบดีบุตร คนปอกลอกท่าน
พึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.
[๑๘๘] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนดีแต่พูด ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร
แต่เป็นคนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ คือ เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย ๑
อ้างเอาของที่ยังไม่มาถึงมาปราศรัย ๑ สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๑
เมื่อกิจเกิดขึ้นแสดงความขัดข้อง ( ออกปากพึ่งมิได้ ) ๑. ดูก่อนคฤหบดีบุตร
คนดีแต่พูดท่านพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน
๔ เหล่านี้แล.
[๑๘๙] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่
มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ คือ ตามใจเพื่อน ให้ทำความชั่ว
(จะทำชั่วก็คล้อยตาม) ๑ ตามใจเพื่อนให้ทำความดี (จะทำดีก็คล้อยตาม)
ต่อหน้าก็สรรเสริญ ๑ ลับหลังนินทา ๑. ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนหัวประจบ
ท่านพึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.

84
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 85 (เล่ม 16)

[๑๙๐] ดูก่อนคฤหบดีบุตร คนชักชวนในทางฉิบหาย ท่าน
พึงทราบว่าไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร โดยสถาน ๔ คือ ชักชวนให้
ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ชักชวนให้เที่ยว
ตามตรอกต่างๆ ในเวลากลางคืน ๑ ชักชวนให้ดูการมหรสพ ๑ ชักชวน
ให้เล่นการพนัน อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตร
คนชักชวนในทางฉิบหาย ท่านพึงทราบว่า ไม่ใช่มิตร เป็นแต่คนเทียมมิตร
โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว
จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๙๑] บัณฑิตผู้รู้แจ้งมิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ
มิตรปอกลอก ๑ มิตรดีแต่พูด ๑ มิตรหัว
ประจบ ๑ มิตรชักชวนในทางฉิบหาย ว่าไม่
ใช่มิตรแท้ พึงเว้นเสียให้ห่างไกล เหมือนคน
เดินทาง เว้นทางที่มีภัยเฉพาะหน้า ฉะนั้น
[๑๙๒] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตร ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ มิตรมี
อุปการะ ๑ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มิตรแนะประโยชน์ มิตรมีความ
รักใคร่ ๑ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรมีใจดี ( เป็นมิตรแท้ ).
กถาว่าด้วยมิตรแท้
[๑๙๓] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีอุปการะ ท่านพึงทราบว่า
เป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ รักษาทรัพย์
สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว ๑ เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้ ๑ เมื่อกิจที่

85
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 86 (เล่ม 16)

จำต้องทำเกิดขึ้น เพิ่มทรัพย์ให้สองเท่า ๑. ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมี
อุปการะท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.
[๑๙๔] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบ
ว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ บอกความลับแก่เพื่อน ๑ ปิดความลับ
ของเพื่อน ๑ ไม่ละทิ้งในเหตุอันตราย ๑ แม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์
แก่เพื่อนได้ ๑. ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่า
เป็นมิตรแท้โดยสถาน . เหล่านี้แล.
[๑๙๕] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบ
ว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ ห้ามจากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความ
ดี ๑ ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ บอกทางสวรรค์ให้ ๑. ดูก่อนคฤหบดี
บุตร มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบว่า เป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔
เหล่านี้แล.
[๑๙๖] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ พึงทราบว่าเป็น
มิตรแท้ โดยสถาน ๔ คือ ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน ๑ ยินดี
ด้วยความเจริญของเพื่อน. ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน ๑ สรรเสริญคนที่
สรรเสริญเพื่อน ๑. ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรมีความรักใคร่ ท่านพึงทราบ
ว่าเป็นมิตรแท้ โดยสถาน ๔ เหล่านี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตแล้ว จึง
ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๙๗] บัณฑิตรู้แจ้งมิตร ๔ จำพวก เหล่านี้ คือ

86
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 87 (เล่ม 16)

มิตรมีอุปการะ ๑ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ มิตร
แนะประโยชน์ ๑ มิตรมีความรักใคร่ ๑ ว่าเป็น
มิตรแท้ฉะนี้แล้ว พึงเข้าไป คบหาโดยเคารพ
เหมือนมารดากับบุตรฉะนั้น.
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองส่อง
สว่างเพียงดังไฟ เมื่อบุคคลสะสมโภคสมบัติ
อยู่เหมือนแมลงผึ้งสร้างรัง โภคสมบัติย่อมถึง
ความเพิ่มพูนดุจจอมปลวกอันตัวปลวกก่อขึ้น
ฉะนั้น
คฤหัสถ์ในตระกูลผู้สามารถ ครั้นสะสม
โภคสมบัติได้อย่างนี้ พึงแบ่งโภคสมบัติ
ออกเป็น ๔ ส่วน เขาย่อมผูกมิตรไว้ได้ พึงใช้
สอยโภคทรัพย์ด้วยส่วนหนึ่ง พึงประกอบการ
งานด้วยสองส่วน พึงเก็บส่วนที่สี่ไว้ด้วย
หมายจักมีไว้ในยามมีอันตราย ดังนี้.
กถาว่าด้วยทิศ ๖
[๑๙๘] ดูก่อนคฤหบดีบุตร ก็อริยสาวกเป็นผู้ปกปิดทิศทั้ง ๖
อย่างไร. ท่านพึงทราบทิศ ๖ เหล่านี้คือ พึงทราบมารดาบิดาว่า เป็นทิศ
เบื้องหน้า อาจารย์เป็นทิศเบื้องขวา บุตรและภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตร

87
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 88 (เล่ม 16)

และอำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย ทาสและกรรมกรเป็นทิศเบื้องต่ำ สมณ-
พราหมณ์ เป็นทิศเบื้องบน.
[๑๙๙] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดา เป็นทิศเบื้องหน้า อัน
บุตรธิดาพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยตั้งใจว่า ท่านเลี้ยงเรามา เราจัก
เลี้ยงท่านตอบ ๑ จักรับทำกิจของท่าน ๑ จักดำรงวงศ์ตระกูล ๑ จักปฏิบัติ
ตนให้เป็นผู้สมควรรับทรัพย์มรดก ๑ เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศ
ให้ท่าน ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดา ผู้เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรพึง
บำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้วย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ ห้าม
จากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความดี ๑ ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๑ หาภรรยาที่
สมควรให้ ๑ มอบทรัพย์ให้ในสมัย ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดา ผู้เป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรบำรุง
ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้วย่อมอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๔ เหล่านี้ ทิศ
เบื้องหน้านั้น ชื่อว่า อันบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการ
ฉะนี้
[๒๐๐] ดูก่อนคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์
บำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยลุกขึ้นยืนรับ ๑ ด้วยเข้าไปยินคอยต้อนรับ .
ด้วยการเชื่อฟัง ๑ ด้วยการปรนนิบัติ ๑ ด้วยการเรียนศิลปวิทยาโดย
เคารพ ๑.

88
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 89 (เล่ม 16)

ดูก่อนคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์พึงบำรุง
ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ คือ แนะนำ
ดี ๑ ให้เรียนดี บอกศิษย์ด้วยดีในศิลปวิทยาทั้งหมด ๑ ยกย่องให้ปรากฏ
ในเพื่อนฝูง ๑ ทำความป้องกันในทิศทั้งหลาย ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร อาจารย์ผู้เป็นทิศเบื้องขวา อันศิษย์บำรุงด้วย
สถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศ
เบื้องขวานั้น ชื่อว่า อันศิษย์ปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการ
ฉะนี้.
[๒๐๑] ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง อันสามีพึง
บำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยยกย่องว่าเป็นภรรยา ๑ ด้วยไม่ดูหมิ่น ๑ ด้วย
ไม่ประพฤตินอกใจ ๑ ด้วยมอบความเป็นใหญ่ให้ ๑ ด้วยให้เครื่องแต่งตัว ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง อันสามีบำรุงด้วย
สถาน ๕ เหล่านี้ แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ คือ จัดการงานดี ๑
สงเคราะห์คนข้างเคียงสามีดี ๑ ไม่ประพฤตินอกใจสามี ๑ รักษาทรัพย์ที่
สามีหามาให้ ๑ ขยันไม่เกียจคร้านในกิจการทั้งปวง ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลังอันสามีบำรุงด้วยสถาน
เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศเบื้องหลังนั้น
ชื่อว่า อันสามีปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการฉะนี้ .
[๒๐๒] ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย อันกุลบุตร
พึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยการให้ปัน ๑ ด้วยเจรจาถ้อยคำเป็นที่รัก ๑

89
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 90 (เล่ม 16)

ด้วยประพฤติประโยชน์ ๑ ด้วยความเป็นผู้มีตนเสมอ ๑ ด้วยไม่แกล้งกล่าว
ให้คลาดจากความเป็นจริง ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย อันกุลบุตรบำรุงด้วย
สถาน ๕ เหล่านี้ แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ คือ รักษามิตร
ผู้ประมาทแล้ว ๑ รักษาทรัพย์ของมิตรผู้ประมาทแล้ว ๑ เมื่อมิตรมีภัย เอา
เป็นที่พึงพำนักได้ ๑ ไม่ละทิ้งในยามวิบัติ ๑ นับถือตลอดถึงวงศ์ตระกูล
ของมิตร ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรผู้เป็นทิศเบื้องซ้ายอันกุลบุตรบำรุงด้วย
สถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศ
เบื้องซ้ายนั้นชื่อว่าอันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสำราญ ให้ไม่มีภัยด้วยประการ
ฉะนี้.
[๒๐๓] ดูก่อนคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกร ผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ อัน
นายพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยจัดการงานให้ทำตามสมควรแก่กำลัง ๑
ด้วยให้อาหารและรางวัล ๑ ด้วยรักษาในคราวเจ็บไข้ ๑ ด้วยแจกของมีรส
แปลกประหลาดให้ ๑ ด้วยปล่อยให้ในสมัย ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ อันนายบำรุง
ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ คือ ลุกขึ้นทำ
การงานก่อนนาย ๑ เลิกการงานทีหลังนาย ๑ ถือเอาแต่ของที่นายให้ ๑
ทำการงานให้ดีขึ้น ๑ นำคุณของนายไปสรรเสริญ ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ทาสกรรมกรผู้เป็นทิศเบื้องต่ำ อันนายบำรุง
ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ แล้ว ย่อมอนุเคราะห์นายด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ทิศ

90
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 91 (เล่ม 16)

เบื้องต่ำนั้น ชื่อว่า อันนายปกปิดให้เกษมสำราญ ไม่ให้มีภัยด้วยประการ
ฉะนี้.
[๒๐๔] ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน
อันกุลบุตรพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ ด้วยกายกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑
ด้วยวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑ ด้วยมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ๑
ด้วยความเป็นผู้ไม่ปิดประตู ๑ ด้วยให้อามิสทานเนือง ๆ ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตร
บำรุงด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖
เหล่านี้ คือ ห้ามจากความชั่ว ๑ ให้ตั้งอยู่ในความดี อนุเคราะห์ด้วย
ใจงาม ๑ ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ๑ ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง ๑
บอกทางสวรรค์ให้ ๑.
ดูก่อนคฤหบดีบุตร สมณพราหมณ์ผู้เป็นทิศเบื้องบน อันกุลบุตร
บำรุงแล้วด้วยสถาน ๕ เหล่านี้ ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรด้วยสถาน ๖ เหล่านี้
ทิศเบื้องบนนั้นชื่อว่า อันกุลบุตรปกปิดให้เกษมสำราญให้ไม่มีภัย ด้วย
ประการฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้
แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๒๐๕ ] มารดาบิดาเป็นทิศเบื้องหน้า อาจารย์เป็น
ทิศเบื้องขวา บุตรภรรยาเป็นทิศเบื้องหลัง มิตร
อำมาตย์เป็นทิศเบื้องซ้าย ทาสกรรมกรเป็นทิศ
เบื้องต่ำ สมณพราหมณ์เป็นทิศเบื้องบน คฤหัสถ์

91