No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 72 (เล่ม 16)

กระทำความสมบูรณ์แก่พระเนตรย่อมเกิดขึ้น ชื่อว่า คล้ายกรรม. ลักษณะ
ทั้งสองประการนี้แหละชื่อว่า ลักษณะ. ความเป็นผู้ดูด้วยความรัก ชื่อว่า
อานิสงส์.
บทว่า อภิโยคิโน คือประกอบในลักษณะศาสตร์. บทว่า พระ-
ตถาคตเป็นหัวหน้าของชนเป็นอันมาก ความว่า ได้เป็นหัวหน้าคือเป็น
ผู้ใหญ่ได้ในหมู่ของชนเป็นอันมาก ชนเหล่าอื่นย่อมยึดถือทิฏฐานุคติของ
พระตถาคตนั้น ความเป็นหัวหน้าชื่อว่ากรรมในที่นี้ ผู้ใดเป็นหัวหน้ากระทำ
กุศลธรรม มีทานเป็นต้น ผู้นั้น เป็นผู้ไม่เก้อเขินเงยศีรษะ เป็นผู้มีศีรษะ
บริบูรณ์ด้วยปิติและปราโมทย์เที่ยวไป ก็พระมหาบุรุษได้เป็นอย่างนั้น ที่
นั้นโลกพร้อมด้วยเทวโลก จงรู้กรรมคือการเป็นหัวหน้านี้ ของพระมหา
บุรุษนั้นด้วยเหตุนี้ ดังนั้นลักษณะคือมีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบ
พระพักตร์ย่อมเกิดขึ้น ชื่อว่า คล้ายกรรม. ลักษณะนี้แหละชื่อว่า ลักษณะ
ความเป็นผู้อนุวัตรตามมหาชน ชื่อว่า อานิสงส์.
บทว่า หมู่ชนที่ช่วยเหลือ คือพวกที่ทำการช่วยเหลือ เป็นอัน
มาก จักมีแก่พระองค์. บทว่า ครั้งนั้นพวกพราหมณ์ย่อมพยากรณ์
ความว่า พวกพราหมณ์ พยากรณ์อย่างนั้น ในคราวที่พระองค์ทรงพระเยาว์.
บทว่า ปฏิหารกํ แปลว่า ความเป็นผู้ช่วยเหลือ. บทว่า วิสวี แปลว่า
มีความชำนาญสั่งสมแล้ว. บทว่า ประพฤติตาม คือประพฤติตามอัธยาศัย.
การกล่าวความจริงตลอดกาลนาน ชื่อว่า กรรมในที่นี้ โลกพร้อมด้วย
เทวโลกจงรู้ความที่พระองค์ตรัสถ้อยคำไม่เป็นที่สอง คือถ้อยคำบริสุทธิ์ตลอด
กาลนาน ด้วยเหตุนี้ ดังนั้น พระลักษณะคือมีพระโลมาขมละเส้นๆ เสมอ

72
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 73 (เล่ม 16)

กันไปทุกขุมขนและพระลักษณะคือพระอุณาโลมย่อมเกิด ชื่อว่า คล้าย
กรรม. ลักษณะทั้งสองนี้แหละชื่อว่าลักษณะ ความเป็นผู้อนุวัตรตามโดย
ความอนุวัตรตามอัธยาศัยแก่มหาชน ชื่อว่า อานิสงส์.
การกล่าววาจาไม่ส่อเสียดตลอดกาลนาน ชื่อว่า กรรมในที่นี้. บทว่า
อเภชฺชปริโส แปลว่า ไม่นำบริษัทให้แตกกัน. นัยว่า ผู้กล่าววาจาส่อเสียด
ทำลายความสามัคคี ฟันย่อมไม่สมบูรณ์และย่อมเป็นผู้มีฟันห่าง อนึ่ง โลก
พร้อมด้วยเทวโลกจงรู้ความที่พระตถาคตมีพระวาจาไม่ส่อเสียด ตลอดกาล
นาน ด้วยเหตุนี้ ดังนั้น ลักษณะทั้งสองนี้ย่อมเกิด ชื่อว่า คล้ายกรรม
ลักษณะทั้งสองนี้แหละ ชื่อว่า ลักษณะ ความที่บริษัทไม่แตกกัน ชื่อว่า
อานิสงส์.
บทว่า จตุโร ทส แปลว่า ๔๐. บทว่า อาเทยฺยวาโจ แปลว่า
มีคำควรเชื่อถือได้. ความเป็นผู้ไม่กล่าวคำหยาบ ตลอดกาลนาน ชื่อว่า
กรรมในที่นี้ ผู้ใดเป็นผู้มีวาจาหยาบ ชนจงรู้ความที่เขาเหล่านั้น กลับลิ้น
กล่าววาจาหยาบ ด้วยเหตุนี้. ดังนั้น ผู้นั้นจะมีลิ้นกระด้าง มีลิ้นอำพราง
มีสองลิ้น หรือติดอ้าง อนึ่งผู้ใดกลับลิ้นไปมาไม่พูดวาจาหยาบ ผู้นั้นจะเป็น
ผู้ไม่มีลิ้นกระด้าง ไม่มีลิ้นอำพราง ไม่สองลิ้น ลิ้นของเขาอ่อน มีสีเหมือน
ผ้ากัมพลสีแดง เพราะฉะนั้น โลกพร้อมด้วยเทวโลกจงรู้ความที่พระตถาคต
ได้กลับลิ้นไปมา แล้วตรัสวาจาหยาบด้วยเหตุนี้. ดังนั้น พระลักษณะคือมี
พระชิวหาใหญ่ย่อมเกิดขึ้น อนึ่งเสียงของผู้กล่าววาจาหยาบย่อมแตก ชนจง
รู้ความที่เขาทำเสียงแตกแล้วกล่าววาจาหยาบ ดังนั้น เขาย่อมเป็นผู้มีเสียง
ขาดหรือมีเสียงแตก หรือมีเสียงเหมือนกา. อนึ่ง ผู้ใดไม่กล่าววาจาหยาบ
อันทำให้เสียงแตก เสียงของผู้นั้น ย่อมเป็นเสียงไพเราะและเป็นเสียงน่ารัก.

73
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 74 (เล่ม 16)

เพราะฉะนั้น โลกพร้อมด้วยเทวโลก จงรู้ความที่พระตถาคตไม่ตรัสวาจา
หยาบ อันทำให้เสียงแตก ตลอดกาลนานด้วยเหตุนี้. ดังนั้น พระลักษณะ
คือมีเสียงดุจเสียงพรหมย่อมเกิดขึ้น ชื่อว่า คล้ายกรรม. พระลักษณะทั้งสอง
นี้แหละชื่อว่า ลักษณะ. ความเป็นผู้มีวาจาควรเชื่อถือ ชื่อว่า อานิสงส์.
บทว่า ทำความเจ็บใจ คือ ทำความเจ็บใจเพราะประกอบด้วย
การด่า. บทว่า พหุชนปฺปมทฺทนํ แปลว่า ย่ำยีชนเป็นอันมาก. พึงประกอบ
อ. อักษร ในบทนี้ว่า อพาฬฺหํ คิรํ โส น ภณิ ผรุสํ ด้วย ภณิศัพท์
ข้างหน้า. บทว่า หนัก คือ ถ้อยคำหนัก มีกำลัง คือ หยาบยิ่งนัก ในบท
นี้มีอธิบายว่า เขามิได้พูดคำหนัก. บทว่า สุสหิตํ แปลว่า ประกอบความ
รักด้วยดี. บทว่า สขิลํ แปลว่า อ่อน. บทว่า วาจา คือคำพูดทั้งหลาย.
บทว่า สะดวกหู ความว่า ความสุขทางหู ปาฐะว่า กณฺณสุขํ ก็มี,
อธิบายว่า ความสุขย่อมมีแก่หูอย่างใด ย่อมกล่าวอย่างนั้น.
บทว่า เวทยิถ แปลว่า เสวยแล้ว. บทว่า พฺรหฺมสฺส แปลว่า
เป็นผู้มีเสียดุจเสียงพรหม. บทว่า ไม่มีใครกำจัดได้ ความว่า เป็นผู้
อันใคร ๆ ไม่สามารถกำจัด คือ ให้เคลื่อนจากคุณธรรมหรือฐานะได้ การ
ไม่พูดถ้อยคำเพ้อเจ้อ ชื่อว่า กรรมในที่นี้ ผู้ใดกล่าวคำเช่นนั้น ชนจงรู้
ความที่เขาเหล่านั้น คางสั่น แล้วพูดคำเพ้อเจ้อด้วยเหตุนี้ ดังนั้น ผู้นั้น
ย่อมเป็นผู้มีคางเข้าไปแล้วในภายใน หรือมีคางคด หรือมีคางเหมือนเงื้อม
เขา แต่พระตถาคตย่อมไม่ตรัสอย่างนั้น โลกพร้อมด้วยเทวโลกจงรู้ความที่
พระตถาคตนั้นไม่สั่นคางแล้ว ๆ เล่า ๆ แล้วตรัสคำเพ้อเจ้อด้วยเหตุนี้ ดังนั้น
พระลักษณะคือมีพระหนุดุจคางสีหะ ย่อมเกิดขึ้น ชื่อว่า คล้ายกรรม.
พระลักษณะนี้และชื่อว่า ลักษณะ. ความเป็นผู้อันใครกำจักไม่ได้ ชื่อว่า
อานิสงส์.

74
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 75 (เล่ม 16)

บทว่า มีคลองพระวาจาไม่เหลวไหล คือ มีฉลองพระวาจาของ
สัตว์ผู้จะได้ตรัสรู้ก่อนดุจของสัตว์ผู้มีวาจาไม่เหลวไหล บทว่า ทฺวีทุคฺคม-
วรตรหนุตฺตมลตฺถ ความว่า ชื่อว่า ทฺวิทุคฺคม เพราะไป ๔ เท้า อธิบาย
ว่า ได้ความที่สีหะประเสริฐกว่าสัตว์ ๔ เท้า. คำว่า มนุชาธิปติ ได้แก่
เป็นใหญ่ในหมู่มนุษย์. คำว่า ตถตฺโต คือ สภาพที่เป็นจริง.
บทว่า สุจิปริจาโร ได้แก่มีบริวารสะอาด. ความเป็นผู้มีอาชีพ
ชอบ ชื่อว่า กรรมในที่นี้ ผู้ใดสำเร็จชีวิตด้วยอาชีพเศร้าหมอง ไม่สม่ำเสมอ
แม้ฟันของผู้นั้นก็ไม่เสมอ แม้เขี้ยวก็สกปรก ก็โลกพร้อมด้วยเทวโลกจงรู้
ความที่พระตถาคตทรงสำเร็จชีวิตด้วยอาชีพบริสุทธิ์สม่ำเสมอ ด้วยเหตุนี้
ดังพระลักษณะคือมีพระทนต์เรียบเสมอกัน และพระลักษณะคือมีพระทาฐะ
ขาวงามย่อมเกิดขึ้น ชื่อว่า คล้ายกรรม. พระลักษณะทั้งสองนี้แหละชื่อว่า
ลักษณะ. ความเป็นผู้มีบริวารสะอาด ชื่อว่า อานิสงส์.
บทว่า ไม่กดขี่เบียดเบียนชาวชนบท ความว่า การกดขี่หรือ
เบียดเบียนด้วยคนอื่นของชนชาวชนบทอันกำหนดด้วยจักรวาล ย่อมไม่มี.
บทว่า นิทิวปุรวรสโม ความว่า เสมอด้วยท้าวสักกะผู้มีเมืองสวรรค์อัน
ประเสริฐ. บทว่า ลปนชํ คือ ฟันอันเกิดในปาก. บทว่า ทิชสมสุกฺก-
สุจิโสภนทนฺโต ความว่า ชื่อว่า ทิชสมสุกฺกสุจิโสภนทนฺโต เพราะ
มีฟันขาวสะอาดงาม ชื่อ ทิช เพราะเกิดสองหน. บทว่า น จ ชนปทตุทนํ
ความว่า ชนบทอันกำหนดด้วยจักรวาล ไม่มีรบกวนเบียดเบียนความเจ็บ
ป่วย. บทว่า ย่อมประพฤติแม้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และความสุขแก่
ชนหมู่มาก ความว่า ชนเป็นอันมาก เป็นผู้มีสุขและทุกข์เสมอกันย่อม

75
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 76 (เล่ม 16)

ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์และความสุขแก่กันและกันในชนบทนั้น. บทว่า
วิปาโป ได้แก่ ปราศจากบาป. บทว่า ปราศจากความกระวนกระวาย
และความลำบาก ความว่า ปราศจากความกระวนกระวายและความ
ลำบากทางกาย. บทว่า ผู้กำจัดกิเลสเป็นมลทิน เป็นตอ เป็นโทษ
ความว่า กำจัดกิเลสทั้งปวง อันเป็นมลทิน มีราคะเป็นต้น อันเป็นตอ
มีราคะเป็นตันและอันเป็นโทษ คือ โทสะ. บทที่เหลือในบททั้งหมดมี
อรรถง่ายนั่นแล.
จบอรรถกถาลักขณะสูตร ที่ ๗

76
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 77 (เล่ม 16)

๘. สิงคาลกสูตร
เรื่อง สิงคาลกคฤหบดีบุตร - ว่าด้วยคิหิปฏิบัติ
[๑๗๒] ข้าพเจ้า ได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน
อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต ใกล้กรุงราชคฤห์ สมัยนั้นสิงคาลก-
บุตรคฤหบดีลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก
ประคองอัญชลีนอบน้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา
ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน
[๑๗๓] ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองผ้า ถือ
บาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ได้ทอดพระเนตรเห็น
สิงคาลกบุตรคฤหบดี ซึ่งลุกขึ้นแต่เช้า ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก
มีผมเปียก ประคองอัญชลี นอบน้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า
ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบน ครั้น
ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนบุตรคฤหบดี เธอลุกแต่เช้า
ออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคองอัญชลี นอบน้อม
ทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องซ้าย ทิศเบื้องหลัง
ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่ เพราะเหตุอะไร
สิงคาลกบุตรคฤหบดีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บิดาของ
ข้าพระองค์ เมื่อจะทำกาสกิริยา ได้กล่าวไว้อย่างนี้ว่า นี่แน่ลูก เจ้าพึง
นอบน้อมทิศทั้งหลาย ข้าพระองค์สักการะเคารพนับถือบูชาคำของบิดา

77
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 78 (เล่ม 16)

จึงลุกขึ้นแต่เช้าออกจากกรุงราชคฤห์ มีผ้าเปียก มีผมเปียก ประคอง
อัญชลี นอบน้อมทิศทั้งหลาย คือ ทิศเบื้องหน้า ทิศเบื้องขวา ทิศเบื้องซ้าย
ทิศเบื้องหลัง ทิศเบื้องล่าง ทิศเบื้องบนอยู่
ดูก่อนคฤหบดีบุตร ในวินัยของพระอริยเจ้า เขาไม่นอบน้อม
ทิศทั้ง ๖ กันอย่างนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวินัยของพระอริยเจ้า ท่าน
นอบน้อมทิศ ๖ กันอย่างไร ขอประทานโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
จงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ตามที่ในวินัยของพระอริยเจ้า ท่านนอบ
น้อมทิศ ๖ กันนั้นเถิด พระเจ้าข้า.
กถาว่าด้วยอบายมุข ๔
[๑๗๔] ดูก่อนคฤหบดีบุตร ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงตั้งใจให้ดี
เราจักกล่าว. สิงคาลกคฤหบดีบุตรกราบทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร อริยสาวกละ-
กรรมกิเลส ๔ ได้แล้ว ไม่ทำบาปกรรมโดยฐานะ ๔ และไม่เสพทางเสื่อม
แข็งโภคะ ๖ อริยสาวกนั้น เป็นผู้ประศากจากกรรมอันลามก ๑๔ อย่างนี้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ปกปิดทิศ ๖ ย่อมปฏิบัติเพื่อชนะโลกทั้งสอง และเป็นอันอริย-
สาวกนั้นปรารภแล้วทั้งโลกนี้ และโลกหน้า. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกาย
แตก อริยสาวกนั้นย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
กรรมกิเลส ๔ เป็นไฉน ที่อริยสาวกละได้แล้ว. ดูก่อนคฤบดี
บุตร กรรมกิเลสคือปาณาติบาต ๑ อทินนาทาน ๑ กาเมสุมิจฉาจาร ๑

78
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 79 (เล่ม 16)

มุสาวาท ๑ กรรมกิเลส ๔ เหล่านี้ ที่อริยสาวกนั้นละได้แล้ว พระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปว่า
[๑๗๕] ปาณาติบาต อทินนาทาน มุสาวาทและการ
คบหาภรรยาผู้อื่น เรากล่าวว่าเป็นกรรมกิเลส
บัณฑิตทั้งหลานไม่สรรเสริญ
[๑๗๖] อริยสาวกไม่ทำบาปกรรมโดยฐานะ ๔ เป็นไฉน ปุถุชน
ถึงฉันทาคติ ย่อมทำกรรมลามก ถึงโทสาคติ ย่อมทำกรรมลามก ถึงโมหาคติ
ย่อมทำกรรมลามก ถึงภยาคติ ย่อมทำกรรมลามก. ดูก่อนคฤหบดีบุตร
ส่วนอริยสาวก ไม่ถึงฉันทาติ ไม่ถึงโทสาคติ ไม่ถือโมหาคติ ไม่ถึงภยาคติ
ท่านย่อมไม่ทำกรรมอันลามก โดยฐานะ ๔ เหล่านี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้เเล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า
[๑๗๗] ผู้ใดประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก
ความชัง ความกลัว ความหลง ยศของผู้นั้น
ย่อมเสื่อมเหมือนดวงจันทร์ในข้างแรม
ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม เพราะความรัก
ความชัง ความกลัว ความหลง ยศย่อม
เจริญแก่ผู้นั้น เหมือนดวงจันทร์ในข้างขึ้น.

79
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 80 (เล่ม 16)

กถาว่าด้วยอบายมุข ๖
[๑๗๘] อริยสาวกไม่เสพทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลาย เป็นไฉน
ดูก่อนคฤหบดีบุตร การเสพน้ำเมา คือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
ประมาท เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑ การเที่ยวไปในตรอก
ต่าง ๆ ในเวลากลางคืน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ การ
เที่ยวดูมหรสพเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑ การเล่นการพนัน
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑
การคบคนชั่วเป็นมิตร เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑ ความ
เกียจคร้าน เป็นทางเสื่อมแห่งโภคะทั้งหลายประการ ๑
[๑๗๙] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเสพน้ำเมา คือสุรา
และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๖ ประการ คือ ๒ ความเสื่อทรัพย์
อันผู้เสพพึงเห็นเอง ๑ ก่อการทะเลาะวิวาท ๑ เป็นบ่อเกิดแห่งโรค ๑
เป็นเหตุเสียชื่อเสียง ๑ เป็นเหตุไม่รู้จักอาย ๑ เป็นเหตุทอนกำลังปัญญา ๑
ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเสพน้ำเมา คือสุราและเมรัย
อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้แล
[๑๘๐] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในกามเที่ยวไปในตรอกต่าง ๆ
ในเวลากลางคืน ๖ ประการ คือ ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาตัว ๑ ชื่อว่า
ไม่คุ้มครอง ไม่รักษาบุตรภรรยา ๑ ชื่อว่าไม่คุ้มครอง ไม่รักษาทรัพย์
สมบัติ ๑ เป็นที่ระแวงของคนอื่น ๑ คำพูดอันไม่เป็นจริงในที่นั้น ๆ ย่อม
ปรากฏในผู้นั้น ๑ ทำให้เกิดความลำบากมาก ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ

80
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๒ – หน้าที่ 81 (เล่ม 16)

๖ ประการในการเที่ยวไปในตรอกต่าง ๆ ในเวลากลางคืนเหล่านี้แล
[๑๘๑] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเที่ยวดูมหรสพ ๖ ประ
การ คือ รำที่ไหนไปที่นั่น ๑ ขับร้องที่ไหนไปที่นั้น ๑ ประโคมที่ไหน
ไปที่นั้น ๑ เสภาที่ไหนไปที่นั้น เพลงที่ไหนไปที่นั้น ๑ เถิดเทิงที่ไหน
ไปที่นั้น ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเที่ยวดูมหรสพ
เหล่านี้แล
[๑๘๒] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเล่นการพนัน อันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท ๖ ประการ คือ ผู้ชนะย่อมก่อเวร ๑ ผู้แพ้ย่อม
เสียดายทรัพย์ที่เสียไป ๑ ความเสื่อมทรัพย์ในปัจจุบัน ๑ ถ้อยคำของคน
เล่นการพนัน ซึ่งไปพูดที่ประชุมฟังไม่ขึ้น ๑ ถูกมิตรอำมาตย์หมิ่นประมาท ๑
ไม่มีใครประสงค์จะแต่งงานด้วย เพราะเห็นว่าชายนักเลงเล่นการพนันไม่
สามารถจะเลี้ยงภรรยา ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ ๖ ประการในการเล่น
การพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเหล่านี้แล
[๑๘๓] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการคบคนชั่วเป็นมิจร ๖
ประการ คือ นำให้เป็นนักเลงการพนัน นำให้เป็นนักเลงเจ้าชู้ ๑
นำให้เป็นนักเลงเหล้า ๑ นำให้เป็นคนลวงผู้อื่นด้วยของปลอม ๑ นำให้
เป็นคนโกงเขาซึ่งหน้า ๑ นำให้เป็นคนหัวไม้ ๑ ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษ
๖ ประการในการคบคนชั่วเป็นมิตรเหล่านี้แล
[๑๘๔] ดูก่อนคฤหบดีบุตร โทษในการเกียจคร้าน ๖ ประการ
คือ มักให้อ้างว่าหนาวนักแล้วไม่ทำการงาน ๑ มักให้อ้างว่าร้อนนักแล้ว

81