No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 101 (เล่ม 15)

พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พึงทรงทราบ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของ
พระองค์ถอยเคลื่อนจากที่แล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอตรัสเรียกพระกุมาร
ซึ่งเป็นพระโอรสองค์ใหญ่มารับสั่งว่า ดูก่อนพ่อกุมาร ได้ยินว่า
จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่แล้ว ก็พ่อได้ฟังมาดังนี้
ว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิองค์ใด ถอยเคลื่อน
จากที่ พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นั้น พึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นาน
ในบัดนี้ ก็กามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์พ่อได้เสวยแล้ว บัดนี้เป็น
สมัยที่พ่อจะแสวงหากามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ มาเถิดพ่อกุมาร พ่อ
จงปกครองแผ่นดิน อันมีสมุทรเป็นขอบเขตนี้ ฝ่ายพ่อจักปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงสั่งสอนพระ-
กุมารซึ่งเป็นโอรสองค์ใหญ่ในราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระ
เกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้าย้อมน้ำฝาดเสด็จออกจากเรือน ทรง
ผนวชเป็นบรรพชิตแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพระราชฤาษี
ทรงผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้วอันเป็นทิพย์ อันตรธานไปแล้ว.
[๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ราชบุรุษคนหนึ่ง เข้า
ไปเฝ้าพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกแล้ว ถึงที่ประทับ
ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรง
ทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์ อันตรธานไปแล้ว. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ลำดับนั้น เมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว
ท้าวเธอได้ทรงเสียพระทัยและทรงเสวยความโทมนัส ท้าวเธอเสด็จ
เข้าไปหาพระราชฤาษีถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
พระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรงทราบว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์

101
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 102 (เล่ม 15)

อันตรธานไปแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเธอกราบทูลอย่างนี้
แล้ว พระราชฤาษีจึงตรัสกะท้าวเธอว่า ดูก่อนพ่อ พ่ออย่าเสียใจ
และอยู่เสวยความโทมนัสไปเลย ในเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตร-
ธานไปแล้ว ด้วยว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ หาใช่สมบัติสิบมาจากบิดา
ของพ่อไม่ ดูก่อนพ่อ เชิญพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ
เถิด ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมิได้แล เมื่อพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตร
อันประเสริฐ. ครั้นถึงวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ำ จักรแก้วอันเป็นทิพย์
ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง จักปรากฏ
มีแก่พ่อผู้สนานพระเศียร แล้วรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประ-
เสริฐชั้นบน. ท้าวเธอถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็จักกวัตติวัตรอัน
ประเสริฐนั้น เป็นไฉน. ราชฤาษีตอบว่า ดูก่อนพ่อ ถ้าเช่นนั้น
พ่อจงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม ทำความเคารพธรรม นับ
ถือธรรม บูชาธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรม
เป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่ จงจัดการรักษาบอกกันและคุ้มครองอัน
เป็นธรรม ในชนภายใน ในหมู่พล ในหมู่กษัตริย์ผู้ได้รับราชา
ภิเษก ในหมู่กษัตริย์ประเทศราช ในพวกพราหมณ์และคฤหบดี ใน
ชาวนิคมและชาวชนบททั้งหลาย ในพวกสมณพราหมณ์ ในเหล่า
เนื้อและนก ดูก่อนพ่อ การกระทำสิ่งที่เป็นอธรรม อย่าเป็นไปใน
แว่นแคว้นของลูก อนึ่ง บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นของพ่อ ไม่มี
ทรัพย์ พ่อพึงให้ทรัพย์แก่บุคคลเหล่านั้นด้วย อนึ่ง สมณพราหมณ์
เหล่าใด ในแว่นแคว้นของลูก งดเว้นจากความเมาและความประมาท
ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกตนแต่ผู้เดียว สงบตนแต่ผู้เดียว
ให้ตนดับกิเลสอยู่แต่ผู้เดียว พึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น โดย
กาลอันสมควรแล้วไต่ถามสอบถามว่า ท่านขอรับ กุศลคืออะไร

102
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 103 (เล่ม 15)

อกุศลคืออะไร กรรมมีโทษ คืออะไร กรรมไม่มีโทษคืออะไร กรรม
อะไรควรเสพ กรรมอะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรอันข้าพเจ้ากระทำอยู่
พึงเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน หรือว่ากรรม
อะไรที่ข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข
สิ้นกาลนาน พ่อได้ฟังคำของสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สิ่งใดเป็น
อกุศล พึงละเว้นสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลพึงถือมั่นสิ่งนั้นประพฤติ
ดูก่อนพ่อ นี้แล คือจักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวเธอรับสนองพระดำรัสพระราช-
ฤาษีแล้ว ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ เมื่อท้าวเธอ
ทรงประพฤติจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่ เมื่อถึงวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ
จักรแก้วอันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วย
อาการทุกอย่าง ปรากฏมีแก่ท้าวเธอผู้สนานพระเศียร ทรงรักษา
อุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ท้าวเธอทอดพระเนตร
เห็นแล้ว มีพระดำริว่า ก็เราได้สดับมาว่า จักรแก้ว อันเป็นทิพย์
มีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่างปรากฏ
มีแก่พระราชาผู้เป็นกษัตริย์พระองค์ใด ผู้ได้มูรธาภิเษก สนาน
พระเศียร ทรงรักษาอุโบสถ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบนในวัน
อุโบสถ ๑๕ ค่ำ พระราชาพระองค์นั้นเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เราได้
เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือหนอ.
[๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอเสด็จลุกจาก
พระที่แล้วทรงทำผ้าอุตตราสงค์เฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง จับพระเต้า
ด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงประคองจักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา แล้วตรัส
ว่า ขอจักรแก้วอันประเสริฐ จงหมุนไปทั่วโลกเถิด ขอจักรแก้วอัน
ประเสริฐ จงชนะโลกทั้งปวงเถิด.

103
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 104 (เล่ม 15)

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น จักรแก้วนั้น ก็หมุนไปทาง
ทิศบูรพา พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จติดตาม
ไป. พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ได้ไปประทับอยู่
ณ ประเทศที่จักรแก้วประดิษฐานอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระราชาอริราชที่อยู่ ณ ทิศบูรพา
พากันเสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิได้กราบทูลกอย่างนี้ว่า ขอเชิญ
เสด็จมาเถิด มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ราชอาณาจักร
เหล่านี้เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น ขอพระองค์จงทรงปกครองเถิด มหา-
ราชเจ้า. ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึง
ถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่
พึงกล่าวคำเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงเสวยสมบัติตามเดิมเถิด. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกพระราชาอริราชที่อยู่ ณ ทิศบูรพา ได้พากันตาม
เสด็จท้าวเธอไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น จักรแก้วนั้น ก็
ลงไปสู่สมุทรด้านทิศบูรพา แล้วโผล่ขึ้นไปลงที่สมุทรด้านทิศทักษิณ
แล้วโผล่ขึ้นไปสู่ทิศปัจฉิม. ท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาก็เสด็จ
ติดตามไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักรแก้ว ประดิษฐานอยู่ ณ ประ-
เทศใด ท้าวเธอก็เสด็จเข้าไปพักอยู่ ณ ประเทศนั้น พร้อมด้วยจตุรง-
คินีเสนา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระราชาอริราช อยู่ ณ ทิศปัจฉิม
ก็พากันเสด็จเข้าไปเฝ้าท้าวเธอ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมา
เถิด มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราชเจ้า อาณาจักรเหล่า
นี้เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงปกครองเถิด.
ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่พึงกล่าว

104
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 105 (เล่ม 15)

คำเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงเสวยสมบัติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก
พระราชาอริราช ที่อยู่ ณ ทิศปัจฉิมได้พากันตามเสด็จท้าวเธอไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นจักรแก้วนั้น ก็ลงสู่สมุทรด้านทิศปัจฉิม
แล้วโผล่ขึ้นไปสู่ทิศอุดร. พระเจ้าจักรพรรดิ พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา
ก็เสด็จติดตามไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักรแก้ว ประดิษฐานอยู่ ณ
ประเทศใดท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จเข้าไปพักอยู่ ณ
ประเทศนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระราชาอริราช ที่อยู่ ณ ทิศอุดรก็
พากันเสด็จเข้าไปเฝ้าท้าวเธอ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมา
เถิด มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราชเจ้า อาณาจักร
เหล่านี้เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงปกครอง
เถิด. ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอา
สิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่พึง
กล่าวคำเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงเสวยสมบัติตามเดิมเถิด. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกพระราชาอริราชที่อยู่ ณ ทิศอุดร ได้พากันตาม
เสด็จท้าวเธอไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น จักรแก้วนั้นได้
ชนะวิเศษยิ่งซึ่งแผ่นดินมีสมุทรเป็นขอบวชได้แล้ว จึงกลับคืนสู่
ราชธานีนั้น ได้หยุดอยู่ที่ประตูพระราชวังของท้าวเธอ ปรากฏเหมือน
เครื่องประดับ ณ มุขสำหรับทำเรื่องราว ว่างไสวอยู่ทั่วภายในพระ-
ราชวังของท้าวเธอ.
ว่าด้วยจักรแก้วทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่
[๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิองค์ที่ ๒
ก็ดี องค์ที่ ๓ ก็ดี องค์ที่ ๔ ก็ดี องค์ที่ ๕ ก็ดี องค์ที่ ๖ ก็ดี องค์-

105
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 106 (เล่ม 15)

ที่ ๗ ก็ดี โดยกาลล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี ได้ตรัส
เรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ในขณะที่ท่านเห็น
จักรแก้วอันเป็นทิพย์ ถอยเคลื่อนจากที่ พึงบอกแก่เราทันที.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดำรัสของ
ท้าวเธอแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยล่วงไปอีกหลายปี หลายร้อยปี
หลายพันปี บุรุษนั้นได้แลเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่
จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระ-
พุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พึงทรงทราบ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์
ถอยเคลื่อนจากที่แล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอ
ตรัสเรียกพระกุมารซึ่งเป็นโอรสองค์ใหญ่มารับสั่งว่า ดูก่อนพ่อกุมาร
ได้ยินว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่แล้ว นั่นเป็น
ความสุขของพ่อ ก็พ่อได้สดับมาดังนี้ว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของ
พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์ใด ถอยเคลื่อนจากที่ พระเจ้าจักรพรรดิ
พระองค์นั้นพึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นาน ในบัดนี้ ก็กามทั้งหลาย
อันเป็นของมนุษย์ พ่อได้เสวยแล้ว บัดนี้เป็นสมัยที่พ่อจะแสวงหา
กามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ มาเถิดพ่อกุมาร ลูกจงปกครองแผ่นดิน
อันมีสมุทรเป็นขอบเขตนี้ ฝ่ายพ่อจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้า
ย้อมน้ำฝาด ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงสั่งสอนพระกุมารซึ่งเป็นโอรสองค์ใหญ่ใน
ราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครอง
ผ้าย้อมน้ำฝาด เสด็จออกจากเรือน ทรงผนวชเป็นบรรพชิตแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพระราชฤาษี ทรงผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้ว
อันเป็นทิพย์ อันตรธานไปแล้ว.
[๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไป

106
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 107 (เล่ม 15)

เฝ้าพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกแล้วถึงที่ประทับ ครั้น
แล้ว ได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบ
เถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์ อันตรธานไปแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ลำดับนั้น ท้าวเธอเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว ได้ทรง
เสียพระทัย และได้ทรงเสวยความโทมนัส แต่ไม่ได้เสด็จเข้าไปเฝ้า
พระราชฤาษี ทูลถามถึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ. นัยว่า ท้าวเธอ
ทรงปกครองประชาราษฎร์ตามพระมติของพระองค์เอง เมื่อท้าวเธอ
ทรงปกครองประชาราษฎร์ตามพระมติของพระองค์เองอยู่ ประชา-
ราษฎร์ก็ไม่เจริญต่อไป เหมือนเก่าก่อน เหมือนเมื่อกษัตริย์พระองค์
ก่อน ๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น คณะอำมาตย์ข้าราชบริพารโหราจารย์และมหา-
อำมาตย์ นายกองช้าง นายกองม้า เป็นต้น คนรักษาประตู และ
คนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา ได้ประชุมกันกราบทูลท้าวเธอว่า พระพุทธ-
เจ้าข้า ได้ยินว่า เมื่อพระองค์ทรงปกครองประชาราษฎร์ตามพระมติ
ของพระองค์เอง ประชาราษฎร์ไม่เจริญเหมือนเก่าก่อน เหมือนเมื่อ
กษัตริย์พระองค์ก่อน ๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประ-
เสริฐอยู่ พระพุทธเจ้าข้า ในแว่นแคว้นของพระองค์มีอำมาตย์ข้า
ราชบริพาร โหราจารย์ และมหาอำมาตย์ นายกองช้าง นายกองม้า
เป็นต้น คนรักษาประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา อยู่พร้อม
ทีเดียว ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วย
และประชาราษฎร์เหล่าอื่นด้วย ทรงจำจักกวัตติวัตรอันประเสริฐได้
อยู่ ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสถามถึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิด
พวกข้าพระพุทธเจ้า อันพระองค์ตรัสถามแล้ว จักกราบทูลแก้จักก-
วัตติวัตรอันประเสริฐถวายพระองค์.

107
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 108 (เล่ม 15)

ว่าด้วยอทินนาทาน
[๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอโปรดให้
ประชุมอำมาตย์ราชบริพารโหราจารย์และมหาอำมาตย์ นายกองช้าง
นายกองม้าเป็นต้น คนรักษาประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา แล้ว
ตรัสถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ. เขาเหล่านั้น อันท้าวเธอตรัส
ถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐแล้ว จึงกราบทูลแก้ถวายท้าวเธอ.
ท้าวเธอได้ฟังคำทูลแก้ของพวกเขาแล้ว จึงทรงจัดการรักษาป้องกัน
และคุ้มครองอันชอบธรรม แต่ไม่ได้พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่
ไม่มีทรัพย์. เมื่อไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความ
ขัดสนจึงได้ถึงความแพร่หลาย. เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย
บุรุษคนหนึ่งจึงขโมยทรัพย์ของตนอื่นไป. เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้
แล้ว แสดงแก่ท้าวเธอว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษคนนี้ขโมยเอาทรัพย์
ของคนอื่นไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้
แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอ
ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ. บุรุษนั้นทูลว่า จริงพระพุทธ-
เจ้าข้า. ท้าวเธอถามว่า เพราะเหตุไร. บุรุษทูลว่า เพราะข้าพระพุทธ-
เจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทาน
ทรัพย์ให้แก่เขาแล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษเธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงมารดา
บิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณา
ที่มีผลในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่สวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อ
สวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ด้วยทรัพย์นี้เถิด ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว.

108
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 109 (เล่ม 15)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้บุรุษอีกคนหนึ่ง ก็ได้ขโมยทรัพย์
ของคนอื่นไป. เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่ท้าวเธอว่า
พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้
กะบุรุษนั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่าเธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป
จริงหรือ. บุรุษนั้นทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. ท้าวเธอตรัสถามว่า
เพราะเหตุไร. บุรุษนั้นทูลว่า เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะ
เลี้ยงชีพ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทาน
ทรัพย์ให้แก่เขา แล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษ เธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงมารดา
บิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณา
ที่มีผลในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่สวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อ
สวรรค์ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ด้วยทรัพย์นี้เถิด. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว.
ก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า ดูก่อนท่าน
ผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า คนขโมยทรัพย์ของคนพวกอื่นไป พระ
เจ้าแผ่นดิน ยังทรงพระราชทานทรัพย์ให้อีก. พวกเขาได้ยินมา จึง
พากันคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้พวกเรา ก็ควรขโมย
เอาทรัพย์ของคนอื่นบ้าง.
[๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งขโมย
เอาทรัพย์ของคนอื่นไป. เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่
ท้าวเธอว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึง
ตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของ

109
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 110 (เล่ม 15)

คนอื่นไป จริงหรือ. บุรุษนั้นทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. ท้าวเธอ
ตรัสถามว่า เพราะเหตุไร. บุรุษนั้นทูลว่า เพราะข้าพระพุทธเจ้า
ไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึง
ทรงพระดำริอย่างนี้ว่า ถ้าเรา จักให้ทรัพย์แก่คนที่ขโมยเอาทรัพย์
ของคนอื่นเสมอไป อทินนาทานนี้จักเจริญทวีขึ้นด้วยประการอย่างนี้
อย่ากระนั้นเลย เราจะให้คุมตัวบุรุษผู้นี้ให้แข็งแรง จะทำการตัด
ต้นตอ ตัดศีรษะของบุรุษนั้นเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น
ท้าวเธอ ตรัสสั่งบังคับราชบุรุษทั้งหลายว่า แน่ะ พนาย ถ้าเช่นนั้น
ท่านจงเอาเชือกเหนียว ๆ มัดบุรุษนี้ ให้มือไพล่หลังให้แน่น เอา
มีดโกน โกนศีรษะให้โล้น แล้วพาตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วย
บัณเฑาะก์เสียงกร้าว ออกทางประตูด้านทักษิณ จงคุมตัวให้แข็งแรง
ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้นเสียนอกพระนครทิศทักษิณ
ราชบุรุษทั้งหลายรับพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว จึงเอาเชือกเหนียว
มัดบุรุษนั้นให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกน ๆ ศีรษะให้โล้น แล้ว
พาตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วยกลองพิฆาตเสียงกร้าว ออกทาง
ประตูด้านทักษิณ คุมตัวให้แข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะ
บุรุษนั้น นอกพระนคร ทิศทักษิณแล้ว.
[๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังว่า ดูก่อน
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระเจ้าแผ่นดิน ได้คุมตัวบุคคลผู้
ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นอย่างแข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะ
พวกเขาเสีย. ครั้นได้ฟังมา พวกเขาจึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่า
กระนั้นเลย แม้พวกเราควรให้ช่างทำศัสตราอย่างคม ๆ ครั้นแล้ว
จะคุมตัวคนที่เราจับขโมยได้ให้แข็งแรง จักทำการตัดต้นตอ ตัด
ศีรษะพวกมันเสีย. พวกเขาจึงให้ช่างทำศัสตราอย่างคม. ครั้นแล้ว

110