No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 111 (เล่ม 15)

จึงเริ่มทำการปล้นบ้านบ้าง ปล้นนิคมบ้าง ปล้นพระนครบ้าง ปล้น
ตามถนนหนทางบ้าง คุมตัวพวกที่ขโมยไว้อย่างแข็งแรง ทำการตัด
ต้นตอ ตัดศีรษะบุคคลเหล่านั้นเสีย.
ว่าด้วยปาณาติบาตทำให้อายุเสื่อม
[๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการยังพรรณนามานี้
เมื่อพระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์
ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่-
หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความ
แพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่
หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความ
แพร่หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความ
แพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อม
ถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง
บุตรของมนุษย์ที่มีอายุแปดหมื่นปี ก็มีอายุถอยลง เหลือสี่หมื่นปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุสี่หมื่นปี บุรุษคนหนึ่งขโมยเอา
ทรัพย์ของคนอื่นไป. เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่พระราชา
ผู้เป็นกษัตรย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ขโมยเอา
ทรัพย์ของคนอื่นไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้
แล้ว ท้ายเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษนั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอา
ทรัพย์ของคนอื่นไป จริงหรือ. บุรุษนั้นได้กราบทูลคำเท็จทั้งที่รู้อยู่ว่า
ไม่จริงเลย พระพุทธเจ้าข้า.
[๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อ
พระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความ
ขัดสนได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนา-

111
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 112 (เล่ม 15)

ทาน ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตรา
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาต ก็ได้
ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาท ก็ได้ถึง
ความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้น
ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง
เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุสี่หมื่นปี ก็มี อายุสอง
หมื่นปี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุสองหมื่นปี บุรุษคนหนึ่ง
ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป บุรุษอีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลแก่พระราชา
ผู้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกได้กระทำการส่อเสียดว่า พระพุทธเจ้าข้า
บุรุษชื่อนี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป.
[๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อ
พระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความ
ขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย ฯลฯ
ปิสุณวาจาก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปิสุณวาจาถึงความแพร่หลาย แม้
อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อม
ถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุสอง-
หมื่นปี ก็มีอายุถอยลงเหลือหนึ่งหมื่นปี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อ
มนุษย์มีอายุหนึ่งหมื่นปี สัตว์บางพวกมีวรรณะดี สัตว์บางพวกมีวรรณะ
ไม่ดี ในสัตว์สองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีวรรณะไม่ดี ก็เพ่งเล็งสัตว์พวกที่
มีวรรณะดี ถึงความประพฤติล่วงในภรรยาของคนอื่น.
ว่าด้วยอกุศลกรรมบถทำให้อายุเสื่อม
[๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อ
พระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสน
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทาน

112
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 113 (เล่ม 15)

ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจ-
ฉาจาร ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย
แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขา
เสื่อมถอยจากอายุบ้างเสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ
หนึ่งหมื่นปี ก็มีอายุถอยลงเหลือห้าพันปี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อ
มนุษย์มีอายุห้าพันปี ธรรม ๒ ประการ คือ ผรุสวาจาและสัมผัปปลาปะ
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการ ถึงความแพร่หลาย แม้
อายุของสัตว์เหล่านั้น ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขา
เสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ
ห้าพันปี บางพวกมีอายุถอยลงสองพันห้าร้อยปี บางพวกมีอายุถอยลงสอง
พันปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุสองพันปี อภิชฌาและ
พยาบาท ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความแพร่
หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้น ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อ
พวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์
ที่มีสองพันห้าร้อยปี ก็มีอายุถอยลงเหลือหนึ่งพันปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุหนึ่งพันปี มิจฉาทิฏฐิ
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฏฐิ ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของ
สัตว์เหล่านั้น ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอย
จากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุหนึ่งพันปี
ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕๐๐ ปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕๐๐ ปี ธรรม ๓
ประการ คือ อธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่
หลาย เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้น

113
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 114 (เล่ม 15)

ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อม
ถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุถอย
ลง ๒๕๐ ปี บางพวกมีอายุถอยลง ๒๐๐ ปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๕๐ ปี. ธรรมเหล่านี้
คือ ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่
ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อม
ต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระ
มหากษัตริย์ ไม่พระราชหานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสน
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทาน
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้
ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาตถึงความ
แพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่
หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย ปิสุณวาจาก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อปิสุณวาจาถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความแพร่หลาย
เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย ธรรม ๒ ประการ คือ ผรุสวาจา
และสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความ
แพร่หลาย อภิชฌาและพยาบาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและ
พยาบาทถึงความแพร่หลาย มิจฉาทิฏฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมิจฉา-
ทิฏฐิถึงความแพร่หลาย ธรรม ๓ ประการ คือ อธรรมราคะ วิสมโลภ
มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่
หลาย ธรรมเหล่านี้คือ ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบ
ในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์
ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม

114
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 115 (เล่ม 15)

เหล่านี้ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้น ก็เสื่อมถอย แม้
วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อสัตว์เหล่านั้นเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจาก
วรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี.
ว่าด้วยความเสื่อมของกุศล อกุศล
[๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้ มีบุตรอายุ
๑๐ ปี ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามี
ได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี รสเหล่านี้ คือ
เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์ มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ จักเป็น
อาหารอย่างดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้าวสาลี เนื้อ ข้าวสุก จักเป็นอาหาร
อย่างดี ในบัดนี้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี
หญ้ากับแก้ ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมดสิ้น
อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อ
มนุษย์มีอายุ ๑๐ปี แม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ที่
ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลายจักไม่
ปฏิบัติชอบใจในพราหมณ์ จักไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ ใน
ตระกูล เขาเหล่านั้นก็จักได้การบูชา และได้รับการสรรเสริญ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย คนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบ
ในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน
ตระกูล เขาเหล่านั้นจักได้รับการบูชาและได้รับการสรรเสริญฉันใด ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่
ปฏิบัติชอบในมารดา บิดา สมณพราหมณ์ ไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่

115
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 116 (เล่ม 15)

ในตระกูล เขาเหล่านั้น จักได้รับการบูชาและการสรรเสริญฉันนั้นเหมือน
กัน ในบัดนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุ ๑๐ ปี เขาจัก
ไม่มีจิตคิดเคารพยำเกรงว่า นี่แม้ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของ
อาจารย์ หรือว่านี่ภรรยาของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความ
สมสู่ปะปนกันหมด เปรียบเหมือนแพะ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก
ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้น
ต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่า
อย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดา
กับบุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี
จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากัน
อย่างแรงกล้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายพรานเนื้อเห็นเนื้อเข้า เกิดความ
อาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่า อย่างแรงกล้า ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุ ๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นจักมี
ความอาฆาต...ความคิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน ฉันนั้นเหมือน
กัน.
[๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จักมี
สัตถันตรกัป สิ้น ๗ วัน มนุษย์เหล่านั้นจักสำคัญกันและกันว่าเป็นเนื้อ
ศัสตราทั้งหลายอันคม จักปรากฏมีในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากัน
เองด้วยศัสตราอันคมนั้นโดยสำคัญว่า นี้เนื้อ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น
สัตว์เหล่านั้น บางพวกมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราอย่าฆ่าใคร ๆ และ
ใคร ๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุม
ป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร
เลี้ยงชีวิตอยู่สัก ๗ วัน เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่าง

116
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 117 (เล่ม 15)

เกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด
๗ วัน. เมื่อล่วง ๗ วันไป เขาพากันออกจากป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่าง
เกาะซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน จักขับร้องปลอบใจกันในที่
ประชุมว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือ ๆ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เท่านั้น จักมีความคิด
อย่างนี้ว่า เราถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะสมาทาน
ธรรมที่เป็นอกุศล อย่ากระนั้นเลย เราควรทำกุศล ควรหากุศลอะไร
เราควรงดเว้นปาณาติบาต ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ. เขาจัก
งดเว้นจากปาณาติบาต จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ. เพราะเหตุ
ที่สมาทานกุศลธรรม พวกเขาจักเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง
เมื่อเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ทั้งหลาย
ที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้นจักมีความคิดอย่าง
นี้ว่า พวกเราเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะเหตุที่
สมาทานกุศลธรรม อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรทำกุศลยิ่ง ๆ ขึ้นไป
ควรทำกุศลอะไร พวกเราควรงดเว้นจากอทินนาทาน ควรงดเว้นจาก
กาเมสุมิจฉาจาร ควรงดเว้นจากมุสาวาท ควรงดเว้นจากปิสุณวาจา ควร
งดเว้นจากผรุสวาจา ควรงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ควรละอภิชฌา ควร
ละพยาบาท ควรละมิจฉาทิฏฐิ ควรละธรรม ๓ ประการ คือ อธรรม-
ราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรม อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรปฏิบัติชอบ
ในมารดา ควรปฏิบัติชอบในบิดา ควรปฏิบัติชอบในสมณะ ควรปฏิบัติ
ชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ควรสมา-
ทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ. เขาเหล่านั้น จักปฏิบัติชอบในมารดา
ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประ-

117
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 118 (เล่ม 15)

พฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้ว
ประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญ
ด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเหล่านั้นเจริญด้วยอายุบ้าง
เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง
๔๐ ปี. บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘๐ ปี. บุตร
ของคนผู้มีอายุ ๘๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖๐ ปี. บุตรของคนผู้มี
อายุ ๑๖๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้น ๓๒๐ ปี. บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒๐ ปี
จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔๐ ปี. บุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔๐ ปี จักมีอายุเจริญ
ขึ้นถึงสองพันปี. บุตรของคนผู้มีอายุสองพันปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงสี่พันปี.
บุตรของคนผู้มีอายุสี่พันปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงแปดพันปี. บุตรของคน
ผู้มีอายุแปดพันปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงสองหมื่นปี. บุตรของคนผู้มีอายุ
สองหมื่นปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงสี่หมื่นปี. บุตรของคนผู้มีอายุสี่หมื่นปี
จักมีอายุขึ้นถึงแปดหมื่นปี.
ว่าด้วยการงดเว้นอกุศลกรรมบถ ๑๐ อายุยืน
[๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี
เด็กหญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงจักสมควรมีสามีได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใน
เมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑
ความไม่อยากกิน ๑ ความแก่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มี
อายุแปดหมื่นปี ชมพูทวีปนี้ จักมั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราช-
ธานีพอชั่วไก่บินตก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี
ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีนรก จักยัดเยียดไปด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าไม้แก่น ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี เมืองพาราณ-

118
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 119 (เล่ม 15)

สีนี้ จักเป็นราชธานีมีนามว่าเกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรื่องมี
พลเมืองมาก มีผู้คนคับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี ในชมพูทวีปนี้ จักมีเมืองแปดหมื่นสี่พัน
เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข.
ก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี จักมีพระ-
เจ้าจักรพรรดิ์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เมือง
เกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ใน
แผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักร
มั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี
นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้วเป็นที่ ๗. พระราชบุตรของพระองค์มี
กว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของ
ข้าศึกได้. พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตรา
ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์อายุแปดหมื่น พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงพระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จ
ไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้
จำแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้ เป็นพระ
อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม. พระผู้มี
พระภาคพระนามว่า เมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงทำโลกนี้พร้อมเทวโลก
มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว

119
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ – หน้าที่ 120 (เล่ม 15)

ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือน
ตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้
แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้ว สอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า
เมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง
งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เหมือนตถาคตในบัดนี้ แสดงธรรมงามในเบื้องต้น
งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงบริหารภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคต
บริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าสังขะ จักทรงให้ยกขึ้น
ซึ่งปราสาทที่พระจ้ามหาปนาทะทรงสร้างไว้ แล้วประทับอยู่ แล้วจักทรง
สละ จักทรงบำเพ็ญทาน แก่สมณพราหมฌ์ คนกำพร้า คนเดินทาง
วณิพก ละยาจกทั้งหลาย จักทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครอง
ผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากเรือน ทรงผนวชเป็นบรรพชิต ในสำนัก
ของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเมตไตรย์ท้าวเธอ
ทรงผนวชอย่างนี้แล้ว ทรงปลีกพระองค์อยู่แต่ผู้เดียวไม่ประมาท มีความเพียร
มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านัก ก็จักทรงทำให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยมที่
กุลบุตรทั้งหลาย พากันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ อันเป็น
ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง ในทิฏฐธรรม
เที่ยว เข้าถึงอยู่.
ว่าด้วยการพึ่งตนพึ่งธรรม
[๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตน

120