No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 9 (เล่ม 9)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล ของภิกษุผู้สวดพระธรรม
ด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงสวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้าย
เพลงขับ รูปใดสวด ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องการสวดสรภัญญะ
[๒๑] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายรังเกียจในการสวดสรภัญญะ จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต
ให้สวดเป็นทำนองสรภัญญะได้.
[๒๒] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ห่มผ้าขนสัตว์ มีขนข้างนอก ชาวบ้าน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า. . . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงห่ม
ผ้าขนสัตว์ มีขึ้นข้างนอก รูปใดห่ม ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องทรงห้ามฉันมะม่วง
[๒๓] สมัยต่อมา มะม่วงที่พระราชอุทยาน ของพระเจ้าพิมพิสาร
จอมเสนามาคธราช กำลังมีผล พระองค์ทรงอนุญาตไว้ว่า ขออาราธนา
พระคุณเจ้าทั้งหลาย ฉันผลมะม่วงตามสบายเถิด พระฉัพพัคคีย์สอยผลมะม่วง
กระทั่งผลอ่อน ๆ ฉัน พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชต้องพระประสงค์
ผลมะม่วง จึงรับสั่งกับมหาดเล็กว่า ไปเถิด พนาย จงไปสวนเก็บมะม่วงมา
มหาดเล็กรับพระบรมราชโองการแล้ว ไปสู่พระราชอุทยาน บอกคนรักษา

9
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 10 (เล่ม 9)

พระราชอุทยานว่า ในหลวงมีพระประสงค์ผลมะม่วง ท่านจงถวายผลมะม่วง
คนรักษาพระราชอุทยานตอบว่า ผลมะม่วงไม่มี ภิกษุทั้งหลายเก็บไปฉันหมด
กระทั่งผลอ่อน ๆ มหาดเล็กเหล่านั้น จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระเจ้าพิมพิสารๆ
รับสั่งว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายฉันผลมะม่วงหมดก็ดีแล้ว แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงสรรเสริญความรู้จักประมาณ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงไม่รู้จักประมาณ ฉันผลมะม่วงของ
ในหลวงหมด ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ ...
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉัน
ผลมะม่วง รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๒๔] สมัยต่อมา สัปบุรุษหมู่หนึ่งถวายภัตตาหารแก่สงฆ์ เขาจัด
ผลมะม่วงเป็นชิ้น ๆ ไว้ในกับข้าว ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่รับประเคน...
พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับ
ประเคนฉันเถิด เราอนุญาตผลมะม่วงเป็นชิ้น ๆ.
สัมณกัปปะ ๕ อย่าง
[๒๕] สมัยต่อมา สัปบุรุษหมู่หนึ่งถวายภัตตาหารแก่สงฆ์ เขาไม่ได้
ฝานมะม่วงเป็นชิ้น ๆ ในโรงอาหารล้วนแล้วไปด้วยผลมะม่วงทั้งนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายรังเกียจไม่รับประเคน . . .
พระผู้มีพระภาคเจ้า ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับ
ประเคนฉันเถิด เราอนุญาตให้ฉันผลไม้โดยสมณกัปปะ ๕ อย่าง คือ
๑. ผลไม้ที่ลนด้วยไฟ
๒. ผลไม้ทำกรีดด้วยศัสตรา

10
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 11 (เล่ม 9)

๓. ผลไม้ที่จิกด้วยเล็บ
๔. ผลไม้ที่ไม่มีเมล็ด
๕. ผลไม้ที่ปล้อนเมล็ดออกแล้ว .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันผลไม้โดยสมณกัปปะ ๕ อย่างนี้.
เรื่องภิกษุถูกงูกัด
[๒๖] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดถึงมรณภาพ ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นไม่ได้
แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ เป็นแน่ เพราะถ้าภิกษุรูปนั้น แผ่เมตตาจิต
ไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ ภิกษุรูปนั้นจะไม่พึงถูกงูกัดถึงมรณภาพ ตระกูลพญางู
ทั้ง ๔ อะไรบ้าง คือ
๑. ตระกูลพญางูวิรูปักขะ
๒. ตระกูลพญางูเอราปถะ
๓. ตระกูลพญางูฉัพยาปุตตะ
๔. ตระกูลพญางูกัณหาโคตมกะ.
ภิกษุรูปนั้นไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้เป็นแน่ เพราะ
ถ้าภิกษุนั้นแผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถูกงูกัดถึง
มรณภาพ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง
๔ นี้ เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน ก็แล พึงทำการแผ่
อย่างนี้:-

11
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 12 (เล่ม 9)

คถาแผ่เมตตากันงูกัด
[๒๗] เรากับพญางูระกูลวิรูปักขะ
จงมีเมตตาต่อกัน เรากับพญางูตระกูล
เอราปถะ จงมีเมตตาต่อกัน เรากับพญางู
ตระกูลฉัพยาปุตตะ จงมีเมตตาต่อกัน เรากับ
พญางูตระกูลกัณหาโคตมกะ จงมีเมตตาต่อ
กัน เรากับฝูงสัตว์ที่ไม่มีเท้า จงมีเมตตาต่อ
กัน เรากับฝูงสัตว์ ๒ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน
เรากับฝูงสัตว์ ๔ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน สัตว์
กับฝูงสัตว์มีเท้ามาก จงมีเมตตาต่อกัน สัตว์
ไม่มีเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา สัตว์ ๒ เท้า
อย่าได้เบียดเบียนเรา สัตว์ ๔ เท้าอย่าได้
เบียดเบียนเรา สัตว์มีเท้ามากอย่าได้เบียด-
เบียนเรา และสัตว์ที่เกิดแล้วยังมีชีวิตทั้งมวล
ทุกหมู่เหล่า จงประสบความเจริญ อย่าได้
พบเห็นสิ่งลามกสักน้อยหนึ่งเลย.
พระพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ พระธรรมมีพระคุณหาประมาณ
มิได้ พระสงฆ์มีพระคุณหาประมาณมิได้ แต่สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู
แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก หนู มีคุณพอประมาณ ความรักษาอันเรา
ทำแล้ว ความป้องกันอันเราทำแล้ว ขอฝูงสัตว์ทั้งหลายจงถอยกลับไปเถิด เรา
นั้นขอนมัสการแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอนมัสการแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง
๗ พระองค์.

12
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 13 (เล่ม 9)

เรื่องภิกษุตัดองค์กำเนิด
[๒๘] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งถูกความกระสันเบียดเบียน ได้ตัดองค์
กำเนิดของตนเสีย ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษ เมื่อ
สิ่งที่จะพึงตัดอย่างอื่นยังมี ไพล่ไปตัดเสียอีกอย่าง ภิกษุไม่พึงตัดองค์กำเนิด
ของคน รูปใดตัด ต้องอาบัติถุลลัจจัย.
เรื่องบาตรปุ่มไม้จันทน์
[๒๙] สมัยต่อมา ปุ่มไม้แก่นจันทน์มีราคามาก ได้บังเกิดแก่เศรษฐี
ชาวเมืองราชคฤห์ จึงราชคหเศรษฐีได้คิดว่า ถ้ากระไรเราจะให้กลึงบาตรด้วย
ปุ่มไม้แก่นจันทน์นี้ ส่วนที่กลึงเหลือเราจักเก็บไว้ใช้ และเราจักให้บาตรเป็น
ทาน หลังจากนั้น ท่านราชคหเศรษฐีให้กลึงบาตรด้วยปุ่มไม้แก่นจันทน์นั้น
แล้วใส่สาแหรกแขวนไว้ที่ปลายไม้ไผ่ผูกต่อ ๆ กันขึ้นไป แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใด เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ จงปลดบาตรที่เราให้
แล้วไปเถิด.
[๓๐] ขณะนั้น ปูรณกัสสปเข้าไปหาท่านราชคหเศรษฐีแล้ว กล่าวว่า
ท่านคหบดี อาตมานี้แหละเป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ ขอท่านจงให้บาตรแก่
อาตมาเถิด ท่านเศรษฐีตอบว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าพระคุณเจ้าเป็นพระอรหันต์
และมีฤทธิ์ ก็จงปลดบาตรที่ข้าพเจ้าให้แล้วนั่นแลไปเถิด
ต่อมา ท่านมักขลิโคสาล ท่านอชิตเกสกัมพล ท่านปกุธกัจจายนะ
ท่านสัญชัยเวลัฏฐบุตร ท่านนิครนถ์นาฎบุตร ได้เข้าไปหาท่านเราชคหเศรษฐี
แล้วกล่าวว่า ท่านคหบดี อาตมานี้แหละเป็นพระอรหันต์ และมีฤทธิ์ ขอท่าน

13
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 14 (เล่ม 9)

จงให้บาตรแก่อาตมาเถิด ท่านเศรษฐีตอบว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าพระคุณเจ้าเป็น
พระอรหันต์และมีฤทธิ์ ก็จงปลดบาตรที่ข้าพเจ้าให้แล้วนั่นแลไปเถิด.
เรื่องพระปิณโฑลภารทวาชเถระ
[๓๑] สมัยต่อมา ท่านพระมหาโมคคัลลานะกับท่านพระปิณโฑลภาร
ทวาชะ ครองอัตรวาสกในเวลาเช้าแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตในเมือง
ราชคฤห์ อันที่แท้ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ เป็นอรหันต์และมีฤทธิ์
แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ จึงท่านพระปิณโฑล-
ภารทวาชะ ไค้กล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ไปเถิด ท่านโมคคัลลานะ
จงปลดบาตรนั้นลง บาตรนั้น ของท่าน แม้ท่านพระโมคัคลลานะก็กล่าวกะท่าน
พระปิณโฑลภารทวาชะว่า ไปเถิด ท่านภารทวาชะ จงปลดบาตรนั้นลง บาตร
นั้นของท่าน จึงท่านพระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นสู่เวหาส ถือบาตรนั้นเวียน
ไปรอบเมืองราชคฤห์ ๓ รอบ.
[๓๒] ครั้งนั้น ท่านราชคหเศรษฐีพร้อมกับบุตรภรรยา ยืนอยู่ใน
เรือนของตน ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวนิมนต์ว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณ
เจ้าภารทวาชะ จงประดิษฐานในเรือนของข้าพเจ้านี้เถิด จึงท่านพระปิณโฑล-
ภารทวาชะ ประดิษฐานในเรือนของท่านราชคหเศรษฐี ขณะนั้น ท่านราช-
คหเศรษฐีรับบาตรจากมือของท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ แล้วได้จัดของเคี้ยว
มีค่ามาก ถวายท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะได้รับ
บาตรนั้นไปสู่พระอาราม ชาวบ้านได้ทราบข่าวว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ
ปลดบาตรของราชคหเศรษฐีไปแล้ว และชาวบ้านเหล่านั้นมีเสียงอึกทึกเกรียว-
กราว ติดตามพระปิณโฑลภารทวาชะไปข้างหลัง ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง
สดับเสียงอึกทึกเกรียวกราว ครั้นแล้วตรัสถามพระอานนท์ว่า อานนท์ นั่นเสียง

14
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 15 (เล่ม 9)

อึกทึกเกรียวกราว เรื่องอะไรกัน ท่านอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า
ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะปลดบาตรของท่านราชคหเศรษฐีลงแล้ว พวกชาว
บ้านทราบข่าวว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะปลดบาตรของท่านราชคหเศรษฐี
ลง จึงพากันติดตามท่านพระปิณโฑลภารทวาชะมาข้างหลัง ๆ อย่างอึกทึกเกรียว
กราว พระพุทธเจ้าข้า เสียงอึกทึกเกรียวกราวนี้ คือเสียงนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
[๓๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ใน
เพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระ-
ปิณโฑลภารทวาชะว่า ภารทวาชะ ข่าวว่า เธอปลดบาตรของราชคหเศรษฐีลง
จริงหรือ
ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียนว่า ภารทวาชะ การกระทำของเธอนั่น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน
เธอจึงได้แสดงอิทธิปาฎิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวก
คฤหัสถ์ เพราะเหตุแบ่งบาตรไม้ ซึ่งเป็นดุจซากศพเล่า มาตุคามแสดงของลับ
เพราะเหตุแห่งทรัพย์เป็นดุจซากศพแม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แสดง
อิทธิปาฏิหาริย์ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่ง
บาตรไม้ซึ่งเป็นดุจซากศพ การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลาย
ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวด
ยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทำลายบาตรไม้นั้น บดให้ละเอียด
ใช้เป็นยาหยอดตาของภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงใช้บาตรไม้ รูปใดใช้
ต้องอาบัติทุกกฏ.

15
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 16 (เล่ม 9)

[๓๔] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้บาตรต่าง ๆ คือ บาตรทำด้วย
ทองคำ บาตรทำด้วยเงิน ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า . . . เหมือน
พวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย . .. กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า.. . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้
บาตรทองคำ ไม่พึงใช้บาตรเงิน ไม่พึงใช้บาตรแก้วมณี ไม่พึงใช้บาตร
แก้วไพฑูรย์ ไม่พึงใช้บาตรแก้วผลึก ไม่พึงใช้บาตรทองสัมฤทธิ์ ไม่พึงใช้
บาตรกระจก ไม่พึงใช้บาตรดีบุก ไม่พึงใช้บาตรตะกั่ว ไม่พึงใช้บาตรทองแดง
รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ. .
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบาตร ๒ ชนิด คือ บาตรเหล็ก ๑
บาตรดิน ๑.
[๓๕] สมัยต่อมา ก้นบาตรสึก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบังเวียนรองบาตร.
[๓๖] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้บังเวียนรองบาตรต่าง ๆ ทำด้วย
ทอง ทำด้วยเงิน ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียนโพนทะนาว่า... เหมือนพวก
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย .. .กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้
บังเวียนรองบาตรต่าง ๆ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบังเวียนรองบาตร ๒ ชนิด คือ ทำ
ด้วยดีบุก ๑ ทำด้วยตะกั่ว ๑ บังเวียนรองบาตรหนา ไม่กระชับกับบาตร
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตให้กลึงบังเวียนรองบาตรที่กลึงแล้วยังเป็นคลื่น. . . ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้จักเป็นฟันมังกร.

16
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 17 (เล่ม 9)

[๓๗] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ใช้บังเวียนรองบาตรอันวิจิตร
จ้างเขาทำให้มีลวดลายเป็นรูปภาพ เที่ยวแสดงไปแม้ตามถนน ชาวบ้านเพ่งโทษ
ติเตียนโพนทะนาว่า. . .เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้
บังเวียนรองบาตรอันวิจิตร ที่จ้างเขาทำให้มีลวดลายเป็นรูปภาพ รูปใดใช้
ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ใช้บังเวียนรองบาตรอย่างธรรมดา.
[๓๘] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายเก็บงำบาตรทั้งที่ยังมีน้ำ บาตรเหม็น
อับ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า.. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ยังมีน้ำ
ภิกษุไม่พึงเก็บงำ รูปใดเก็บงำ ต้องอาบัติทุกกกฏ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผึ่งแล้วจึงเก็บงำบาตร.
[๓๙] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผึ่งบาตรทั้งที่ยังมีน้ำ บาตรมีกลิ่น
เหม็น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า . . ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บาตรที่ยังมีน้ำ
ภิกษุไม่พึงผึ่งไว้ รูปใดผึ่งไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ทำให้หมดน้ำเสียก่อนผึ่ง แล้วจึง
เก็บงำบาตร.
[๔๐] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายผึ่งบาตรไว้ในที่ร้อน ผิวบาตรเสีย
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ตรัสว่า ดูก่อนทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงวางบาตรไว้ในที่ร้อน รูปใดวางไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ

17
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 18 (เล่ม 9)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ผึ่งไว้ในที่ร้อนครู่เดียวแล้วจึงเก็บ
งำบาตร.
[๔๑] สมัยต่อมา บาตรเป็นอันมาก ไม่มีเชิงรอง ภิกษุทั้งหลายวาง
เก็บไว้ในที่แจ้ง บาตรถูกลมหัวด้วนพัดกลิ้งตกแตก ภิกษุทั้งหลายกราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ตรัสว่า ดูก่อนทั้งหลาย เราอนุญาตเชิงรอง
บาตร.
[๔๒] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ริมกระดานเลียบ บาตร
กลิ้งตกแตก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวาง
บาตรไว้ริมกระดานเลียบ รูปได้วางไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๔๓] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ริมกระดานเลียบเล็ก ๆ
นอกฝา บาตรกลิ้งตกแตก ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า . . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงวาง
บาตรไว้ริมกระดานเลียบเล็ก ๆ นอกฝา รูปใดว่างไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๔๔] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายคว่ำบาตรไว้ที่พื้นดิน ขอบบาตรสึก
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้า. ..ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
ใช้หญ้ารอง หญ้าที่รองถูกปลวกกัด ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า

18