No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 621 (เล่ม 8)

ทำให้มีส่วนต่างกันและกันเสีย. ภายหลังพึงเอาสลากเหล่านั้นทั้งหมดใส่ใน
ขนดจีวรแล้วให้จับตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ข้อว่า ทุคฺคโหติ ปจฺจุกฺกฑฺฒิตพฺพํ มีความว่า พึงบอกว่า
สลากจับไม่ดี แล้วให้จับใหม่ เพียงครั้งที่ ๓.
ข้อว่า สุคโหติ สาเวตพฺพํ มีความว่า ครั้นเมื่อภิกษุผู้เป็นธรรม
วาทีเกินกว่า แม้รูปเดียว พึงประกาศว่า สลากจับดีแล้ว ก็ภิกษุพวก
ธรรมวาทีเหล่านั้น ย่อมกล่าวอย่างใด, อธิกรณ์นั้น พึงให้ระงับอย่างนั้น
ฉะนี้แล.
หากว่า ภิกษุพวกอธรรมวาทีคงเป็นฝ่ายมากกว่าแม้ถึงครั้งที่ ๓
พึงกล่าวว่า วันนี้เวลาไม่เหมาะ พรุ่งนี้ เราทั้งหลายรู้จักกัน แล้วเลิกเสีย
แล้ว เสาะหาผ่ายธรรมวาที เพื่อประโยชน์แก่การทำลายฝ่ายอลัชชีเสีย
ทำการจับสลากในวันรุ่งขึ้น นี้เป็นการจับสลากอย่างปกปิด.
ก็แล พึงทราบวินัยในการจับสลากอย่างกระซิบบอกที่หู.
ในคำว่า คหิเต วตฺตพฺโพ มีความว่า ถ้าพระสังฆเถระจะจับ
สลากอธรรมวาทีไซร้, พึงเรียนให้ท่านทราบอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่าน
เป็นผู้แก่เจริญวัยแล้ว การจับสลากนั่น ไม่ควรแก่ท่าน, อันนี้เป็นอธรรม
วาทีสลาก. พึงแสดงสลากนอกนี้แก่ท่าน, ถ้าท่านจะจับธรรมวาทีสลาก
นั้น, พึงให้. ถ้าว่า ท่านยังไม่ทราบ, ลำดับนั้น พึงเรียนท่านว่า
อย่าบอกแก่ใคร ๆ คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
บทว่า เปิดเผย นั้น คือ เปิดเผยเนื้อความนั่นเอง.

621
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๖ ภาค ๑ – หน้าที่ 622 (เล่ม 8)

ตัสสปาปียสิกา
วินิจฉัยในคำว่า ปาราชิกสามนฺตํ วา นี้ พึงทราบดังนี้ :-
ในเพราะเมถุนธรรม อาบัติทุกกฏ ชื่อว่า เฉียดปาราชิก. ในเพราะ
อทินนาทานเป็นต้นที่เหลือ อาบัติถุลลัจจัย ชื่อว่า เฉียดปาราชิก
บทว่า นิเวเฐนฺตํ มีความว่า ผู้อำพรางอยู่ด้วยคำว่า ข้าพเจ้า
ระลึกไม่ได้ ดังนี้:-
บทว่า อติเวเฐติ มีความว่า เธอยิ่งคาดคั้นด้วยคำว่า อิงฺฆา-
ยสฺมา เป็นอาทิ.
ข้อว่า สรามิ โข อหํ อาวุโส มีความว่า ภิกษุนั้น ปฏิญญา
อย่างนั้น เพื่อต้องการปกปิดอาบัติปาราชิก. เมื่อถูกเธอคาดคั้นยิ่งขึ้นอีก
จึงให้ปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าระลึกได้แล แล้วกล่าวคำว่า คำนั้นข้าพเจ้าพูด
เล่น ดังนี้ เป็นต้น เพราะกลัวว่า ภิกษุเหล่านี้จักยังเราให้ฉิบหายในบัดนี้
สงฆ์พึงลงตัสสปาปิยสิกากรรมแก่ภิกษุนั้น.
หากว่า เธอยังเป็นผู้มีศีล, เธอยังวัตรให้เต็มแล้ว จักได้ความระงับ.
หากว่า เธอจักเป็นผู้ไม่มีศีล, เธอจักเป็นผู้อันสงฆ์ให้ฉิบหายอย่างนั้นเทียว.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
สมถักขันธกวรรณนา จบ.

622
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 1 (เล่ม 9)

พระวินัยปิฎก
เล่ม ๗
จุลวรรค ทุติยภาค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขุททกวัตถุขันธกะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ วัตรในการอาบน้ำ
[๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร
อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล
พระฉัพพัคคีย์ อาบน้ำ สีกาย คือ ขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้าง
ที่ต้นไม้ ชาวบ้านเห็นแล้วเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อ-
สายพระศากยบุตรทั้งหลายอาบน้ำ จึงสีกาย คือ ขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง
หลังบ้าง ที่ต้นไม้ เหมือนพวกนักมวยผู้ชกกันด้วยหมัด เหมือนพวกชาวบ้าน
ผู้ขอบแต่งผิวเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
อยู่ ...จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ประชุมสงฆ์ ทรงสอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า

1
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 2 (เล่ม 9)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์อาบน้ำ สีกาย คือ ขาบ้าง แขนบ้าง
อกบ้าง หลังบ้าง ที่ต้นไม้ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียน
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ
กระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร มิใช่กิจของ
สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน โมฆบุรุษเหล่านั้นอาบน้ำจึงสีกาย คือ
ขาบ้าง แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่ต้นไม้เล่า การกระทำของโมฆบุรุษ
เหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส...ครั้น
แล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาบ
น้ำ ไม่พึงสีกาย ที่ต้นไม้ รูปใดสี ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๒] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำ สีกาย คือ ขาบ้าง แขน
บ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่เสา ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทั้งหลายอาบน้ำ จึงได้สีกาย คือ ขาบ้าง
แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่เสา เหมือนพวกนักมวยผู้ชกกันด้วยหมัด เหมือน
พวกชาวบ้านผู้ชอบแต่งผิวเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาอยู่ .. . จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ข่าวว่า . . จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่ง
กะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาบน้ำไม่พึงสีกายที่เสา รูปใด
สี ต้องอาบัติทุกกฏ.

2
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 3 (เล่ม 9)

[๓] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำ สีกาย คือ ขาบ้าง แขน
บ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่ฝา ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน
พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรทั้งหลายอาบน้ำ จึงได้สีกาย คือ ขาบ้าง
แขนบ้าง อกบ้าง หลังบ้าง ที่ฝา เหมือนพวกนักมวยผู้ชกกันด้วยหมัด เหมือน
พวกชาวบ้านผู้ขอบแต่งผิวเล่า . . .
พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุอาบน้ำ ไม่พึงสีกายที่ฝา รูปใดสี ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๔] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำ ย่อมอาบในสถานที่อันไม่สม-
ควร ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า.. . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพทะนาอยู่ . . . จึงกราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-
หลาย ข่าวว่า . . . จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับ
สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาบน้ำ ไม่พึงอาบในสถาน
ที่อันไม่สมควร รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๕] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำถูด้วยมือที่ทำด้วยไม้ ชาวบ้าน
เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า.... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุ
ทั้งหลายได้ยินพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ ... จึงกราบทูลเรื่อง
นั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงอาบน้ำถูด้วยมือที่ทำด้วยไม้ รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.

3
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 4 (เล่ม 9)

[๖] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำถูด้วยก้อนจุรณหินสีดั่งพลอย-
แดง ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภค
กาม ภิกษุทั้งหลาย . . . จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงอาบน้ำถูด้วยก้อนจุรณหินสีดั่งพลอยแดง รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๗] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ผลัดกันถูตัว ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย... จึง
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงผลัดกันถูตัว รูปใดให้ทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๘] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์อาบน้ำถูด้วยไม้บังเวียนที่จักเป็นฟัน
มังกร ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า.. . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย . . . จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุไม่พึงถูด้วยไม้บังเวียนที่จักเป็นฟันมังกร รูปใดอาบ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๙] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธเป็นโรคหิด ภิกษุนั้นเว้นไม้บัง-
เวียนที่จักเป็นฟันมังกรเสีย ย่อมไม่สบาย . . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า . . . รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตไม้บังเวียนที่มิได้จักเป็นฟันมังกรแก่ภิกษุอาพาธ.
[๑๐] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งทุพพลภาพเพราะชรา เมื่ออาบน้ำไม่
สามารถจะถูกายของตนได้ . . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า.

4
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 5 (เล่ม 9)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตเกลียวผ้า.
[๑๑] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งรังเกียจเพื่อจะทำการถูหลัง... ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า... รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตการถูหลังด้วยมือ.
เรื่องเครื่องประดับต่างชนิด
[๑๒] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ทรงเครื่องประดับหู .. . ทรงสังวาล
ทรงสร้อยคอ ทรงเครื่องประดับเอว ทรงวลัย ทรงสร้อยตาบ ทรงเครื่อง
ประดับข้อมือ ทรงแหวนประดับนิ้วมือ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนา
ว่า. . . เหมือนคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ
ติเตียน โพนทะนาอยู่ . . . จึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า... ทรงสอบถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-
หลาย ข่าวว่า ภิกษุฉัพพัคคีย์ทรงเครื่องประดับหู ทรงสังวาล ทรงสร้อยคอ
ทรงเครื่องประดับเอว ทรงวลัย ทรงสร้อยตาบ ทรงเครื่องประดับข้อมือ ทรง
แหวนประดับนิ้วมือ จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน.. . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับ
สั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทรงเครื่องประดับหู ไม่
พึงทรงสังวาล ไม่พึงทรงเครื่องประดับเอว ไม่พึงทรงวลัย ไม่พึงทรงสร้อย
ตาบ ไม่พึงทรงเครื่องประดับข้อมือ ไม่พึงทรงแหวนประดับนิ้วมือ รูปใด
ทรง ต้องอาบัติทุกกฏ.

5
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 6 (เล่ม 9)

เรื่องไว้ผมยาว
[๑๓] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ไว้ผมยาว ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า... เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย... กราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. .. รับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึง
ไว้ผมยาว รูปใดไว้ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ไว้ผมได้สองเดือน หรือยาวสอง
องคุลี.
[๑๔] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์เสยผมด้วยแปรง เสยผมด้วยหวี
เสยผมด้วยนิ้วมือต่างหวี เสยผมด้วยน้ำมันผสมกับขี้ผึ้ง เสยผมด้วยน้ำมันผสม
กับน้ำ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า . . . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม . . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า.... ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงเสยผม
ด้วยแปรง ไม่พึงเสยผมด้วยหวี ไม่พึงเสยผมด้วยนิ้วมือต่างหวี ไม่พึงเสยผม
ด้วยน้ำมันผสมกับขี้ผึ้ง ไม่พึงเสยผมด้วยน้ำมันผสมกับน้ำ รูปใดเสย ต้อง
อาบัติทุกกฏ.
เรื่องส่องดูเงาหน้า
[๑๕] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ส่องดูเงาน้ำในแว่นบ้าง ในภาชนะ
น้ำบ้าง ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า. ..เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้
บริโภคกาม . . . ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงดูเงา
หน้าในแว่นหรือในภาชนะน้ำ รูปใดดู ต้องอาบัติทุกกฏ.

6
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 7 (เล่ม 9)

[๑๖] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่ง เป็นแผลที่หน้า เธอถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า แผลของผู้เป็นเช่นไร ขอรับ ภิกษุทั้งหลายตอบอย่างนี้ว่า
แผลของคุณเป็นเช่นนี้ ขอรับ เธอไม่เชื่อ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ดู
เงาหน้าที่แว่นหรือทำภาชนะนี้ได้ เพราะเหตุอาพาธ.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ทาหน้าเป็นต้น
[๑๗] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์ทาหน้า ถูหน้า ผัดหน้า เจิมหน้า
ด้วยมโนศิลา ย้อมตัว ย้อมหน้า ย้อมทั้งตัวและหน้า ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน
โพนทะนาว่า. . . เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย. .. กราบทูล
เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. . .ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงทาหน้า
ไม่พึงถูหน้า ไม่พึงผัดหน้า ไม่พึงเจิมหน้าด้วยมโนศิลา ไม่พึงย้อมตัว ไม่
พึงย้อมหน้า ไม่พึงย้อนทั้งตัวและหน้า รูปใดทำ ต้องอาบัติทุกกฏ.
[๑๘] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธด้วยโรคนัยน์ตา ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. .. ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้
ทาหน้าได้ เพราะเหตุอาพาธ.
[๑๙] สมัยต่อมา ที่พระนครราชคฤห์ มีงานมหรสพบนยอดเขา
พระฉัพพัคคีย์ได้ไปเที่ยวดูงานมหรสพ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า
ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้ไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง และ

7
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก จุลวรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ – หน้าที่ 8 (เล่ม 9)

การประโคมดนตรี เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม ภิกษุทั้งหลาย ... กราบ
ทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไปดู
การฟ้อนรำ การขับร้อง หรือการประโคมดนตรี รูปใดไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
เรื่องสวดพระธรรมด้วยทำนอง
[๒๐] สมัยต่อมา พระฉัพพัคคีย์สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้าย
เพลงขับ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระ-
ศากยบุตรเหล่านั้น สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ เหมือนพวก
เราขับ ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกนั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดา
ที่เป็นผู้มักน้อย . .. ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์
จึงได้สวดพระธรรมด้วยทำนองยาวคล้ายเพลงขับ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า... ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ข่าวว่า... จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียน . . . ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา
รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสวดพระธรรมด้วยทำนอง
ยาวคล้ายเพลงขับ มีโทษ ๕ ประการนี้ คือ:-
๑. ตนยินดีในเสียงนั้น
๒. คนอื่นก็ยินดีในเสียงนั้น
๓. ชาวบ้านติเตียน
๔. สมาธิของผู้พอใจการทำเสียงย่อมเสียไป
๕. ภิกษุชั้นหลังจะถือเป็นเยี่ยงอย่าง.

8