No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 148 (เล่ม 7)

ด้วยมือของตน จนให้ห้ามภัตแล้ว ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่ยอมรับประเคน
น้ำนมสด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงรับประเคน
ฉันเถิด.
เมื่อเมณฑกะคหบดีอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วย
ขาทนียโภชนียาหารอันประณีต และด้วยน้ำนมสดรีดใหม่ด้วยมือของตนจนยัง
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จ ทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตรให้ห้ามภัตแล้ว
ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมณฑกะคหบดีนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
แล้วได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า มีอยู่ พระพุทธเจ้าข้า หนทาง
กันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุไม่มีเสบียงจะเดินทางไป ทำไม่ได้ง่าย
ขอประทานพระวโรกาสขอพระองค์โปรดทรงอนุญาตเสบียงเดินทางแก่ภิกษุทั้ง-
หลายด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า
เมณฑกานุญาต
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เมณฑกะคหบดีเห็นแจ้ง
สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จ
กลับไป หลังจากนั้นพระองค์ทรงธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน
เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เราอนุญาตโครส ๕ คือ นมสด นมส้ม เปรียง เนยข้น เนยใส
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย หนทางกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร ภิกษุ
ไม่มีเสบียงจะเดินทางไป ทำไม่ได้ง่าย เราอนุญาตให้แสวงหาเสบียงได้คือ
ภิกษุต้องการข้าวสาร พึงแสวงหาข้าวสาร ต้องการถั่วเขียว พึงแสวงหาถั่วเขียว
ต้องการถั่วราชมาส พึงแสวงหาถั่วราชมาส ต้องการเกลือ พึงแสวงหาเกลือ

148
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 149 (เล่ม 7)

ต้องการน้ำอ้อย พึงแสวงหาน้ำอ้อย ต้องการน้ำมัน พึงแสวงหาน้ำมัน ต้อง
การเนยใส ก็พึงแสวงหาเนยใส.
มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านที่มีศรัทธาเลื่อมใส เขามอบเงินทองไว้
ในมือกัปปิยการกสั่งว่า สิ่งใดควรแก่พระผู้เป็นเจ้า ขอท่านจงถวายสิ่งนั้นด้วย
กัปปิยภัณฑ์นี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ยินดีของอันเป็นกัปปิยะจากกัปปิย-
ภันฑ์นั้นไว้ แต่เรามิได้กล่าวว่า พึงยินดี พึงแสวงหาทองและเงินโดยปริยาย
ไร ๆ เลย.
เรื่องเกณิยชฏิล
[๘๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินผ่านระยะ
ทางโดยลำลับ เสด็จถึงอาปณนิคมแล้ว เกณิยชฎิลได้สดับข่าวถนัดแน่ว่า ท่าน
ผู้เจริญ พระสมณโคดมศากยบุตร ทรงผนวชจากศากยตระกูล เสด็จโดยลำดับ
ถึงอาปณนิคมแล้ว ก็พระกิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคตมพระองค์นั้น
ขจรไปแล้ว อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรง
เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงบรรลุวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว
ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของ
ทวยเทพและมนุษย์ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระองค์ทรงทำ
โลกนี้พรอ้มทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่ง
ของพระองค์เอง แล้วทรงสั่งสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ ทวยเทพ
และมนุษย์ให้รู้ ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด
ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะครบบริบูรณ์บริสุทธิ์ อนึ่ง
การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น เป็นความดี.

149
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 150 (เล่ม 7)

หลังจากนั้น เกณิยชฎิลได้ดำริว่า เราจะให้นำอะไรไปถวายพระสมณ-
โคดมดีหนอ จึงได้ดำริต่อไปว่า บรรดาฤษีผู้เป็นบุรพาจารย์ของพวกพราหมณ์
คือ ฤษีอัฎฐกะ ฤษีวามกะ ฤษีวามเทวะ ฤษีเวสสามิตตะ ฤษียมตัคคิ ฤษี
อังคีรสะ ฤษีภารทวาชะ ฤษีวาเสฏฐะ ฤษีกัสสปะ ฤษีภคุ ซึ่งเป็นผู้ผูกมนต์
บอกมนต์มาก่อนพวกพราหมณ์ในบัดนี้ ขับตามกล่าวตามซึ่งบทมนต์ของเก่านี้
ที่ท่านขับแล้วบอกแล้ว รวบรวมไว้แล้ว กล่าวได้ถูกต้อง บอกได้ถูกต้องตามที่
กล่าวไว้บอกไว้ เป็นผู้เว้นฉันในราตรี งดฉันในเวลาวิกาล ฤษีเหล่านั้นได้ยินดี
น้ำปานะเห็นปานนี้ แม้พระสมณโคดมก็เว้นฉันในราตรี งดฉันในเวลาวิกาล
ก็ควรจะยินดีน้ำปานะเห็นปานนี้บ้าง แล้วสั่งให้ตกแต่งน้ำปานะเป็นอันมาก ให้
คนหาบไปถึงพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วได้กราบทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้นผ่านการกราบทูลปราศรัยพอให้เป็นที่บันเทิง เป็นที่ระลึกถึงกันไปแล้ว
ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วกราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
ขอท่านพระโคดมโปรดทรงรับน้ำปานะของ ข้าพระพุทธเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เกณิยะ ถ้าเช่นนั้นจงถวายแก่ภิกษุทั้งลาย
ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่ยอมรับประเคน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงขอรับประเคนฉันเถิด ครั้งนั้นเกณิยชฎิลได้อังคาส
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุช ด้วยน้ำปานะเป็นอันมากด้วยมือของตน
ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ล้างพระหัตถ์ จนนำพระหัตถ์จากบาตรให้ห้ามภัตแล้ว
ได้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงชี้แจงให้เกณิยชฎิลผู้นั่งเฝ้าอยู่ ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา.

150
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 151 (เล่ม 7)

ครั้งนั้น เกณิยชฎิลอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมา-
ทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ทรงพระกรุณาโปรดจง
รับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้าเพื่อเจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้
ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนว่า เกณิยะ ภิกษุสงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕ํ๐ รูป
และท่านก็เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่พราหมณ์.
เกณิยชฎิล ได้ทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นคำรบสองว่า แม้
ภิกษุสงฆ์จะมีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป และข้าพระพุทธเจ้าได้เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่
พราหมณ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ทรง
พระกรุณาโปรดจงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติ-
ปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนเกณิยะว่า ภิกษุสงฆ์มีมากถึง ๑,๒๕ํ๐ รูป
และท่านก็เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่พราหมณ์.
เกณิยชฎิล ก็ได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นคำรบ ๓ ว่า
แม้ภิกษุสงฆ์จะมีมากถึง ๑,๒๕๐ รูป และ.ข้าพระพุทธเจ้าได้เลื่อมใสยิ่งนักในหมู่
พราหมณ์ก็จริง ถึงอย่างนั้น ก็ขอท่านพระโคดมพร้อมกับภิกษุสงฆ์ ทรง
พระกรุณาโปรดจงรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อเจริญบุญกุศลและปีติ
ปราโมทย์ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับอาราธนาโดยดุษณีภาพ ครั้น เกณิยชฎิล
ทราบอาการรับอาราธนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากที่นั่งกลับไป.

151
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 152 (เล่ม 7)

พระพุทธานุญาติน้ำอัฏฐบาน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น
เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตน้ำปานะ ๘ ชนิดคือ น้ำปานะทำด้วยผลมะม่วง ๑ น้ำ
ปานะทำด้วยผลหว้า ๑ น้ำปานะทำด้วยผลกล้วยมีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผล
กล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะซาง ๑ น้ำปานะทำด้วยผลจันทน์หรือ
องุ่น ๑ น้ำปานะทำด้วยเง่าบัว ๑ น้ำปานะทำด้วยผลมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำผลไม้ทุกชนิด เว้นน้ำต้มเมล็ด
ข้าวเปลือก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำใบไม้ทุกชนิด เว้นน้ำผักดอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำดอกไม้ทุกชนิด เว้นน้ำดอก
มะซาง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำอ้อยสด.
ครั้งนั้น เกณิยชฎิลสั่งให้ตกแต่งของเคี้ยวของฉันอันประณีต ณ อาศรม
ของตนโดยผ่านราตรีนั้น แล้วให้คนไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ว่าถึงเวลาแล้ว ท่านพระโคดมภัตตาหารเสร็จแล้ว ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก แล้วถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนิน
ไปทางอาศรมของเกณิยชฎิล ครั้นถึงแล้ว ประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่
เขาจัดถวาย พร้อมกับภิกษุสงฆ์ เกณิยชฎิลจึงอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า
เป็นประมุข ด้วยของเคี้ยวของฉันอันประณีต ด้วยมือของตน ยังพระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จ จนนำพระหัตถ์จากบาตร ให้ห้ามภัตแล้ว ได้นั่งอยู่
ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

152
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 153 (เล่ม 7)

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงอนุโมทนาเกณิยชฎิลด้วยคาถาเหล่านี้ ว่า
ดังนี้:-
[๘๗] ยัญทั้งหลายมีการบูชาไฟเป็น
หัวหน้า สาวิตติฉันท์เป็นยอดของฉันท-
ศาสตร์ พระมหาราชเจ้าเป็นประมุขของ-
มนุษยนิกร สมุทรสาครเป็นประธานของ
แม่น้ำทั้งหลาย ดวงจันทร์ใหญ่กว่าดวงดาว
นักษัตรในอากาศ ดวงภาณุมาศใหญ่กว่า
บรรดาสิ่งของที่มีแสงร้อนทั้งหลาย ฉันใด
พระสงฆ์ ย่อมเป็นใหญ่สำหรับทายกผู้หวัง
บุญบำเพ็ญทานอยู่ฉันนั้น .
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาเกณิยชฎิล ด้วยคาถาเหล่านั้น
แล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ.
เตรียมการต้อนรับพระพุทธเจ้า
[๘๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อาปณนิคมคาม
พระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จจาริกไปทางพระนครกุสินารา พร้อมด้วยภิกษุ
หมู่ใหญ่ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป.
พวกมัลลกษัตริย์ชาวพระนครกุสินารา ได้ทรงทราบข่าวแน่ถนัดว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาพระนครกุสินารา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
ประมาณ ๑,๒๕๐ รูป มัลลกษัตริย์เหล่านั้นได้ตั้งกติกาไว้ว่า ผู้ใดไม่ต้อนรับ
เสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จะต้องถูกปรับสินไหมเป็นเงิน ๕๐๐ กษาปณ์ สมัย

153
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 154 (เล่ม 7)

นั้น โรชะมัลลกษัตริย์เป็นพระสหายของพระอานนท์ ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จจาริกโดยลำดับ ถึงพระนครกุสินาราแล้ว พวกมัลลกษัตริย์ชาวพระนคร
กุสินาราได้จัดการต้อนรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ครั้นโรชะมัลลกษัตริย์
รับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่พักทรงอภิวาท
แล้วประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ท่านพระอานนท์ได้ปราศรัยกะโรชะมัลลกษัตริย์ผู้ประทับยืน ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่งว่า ท่านโรชะ การรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าของท่านโอฬารแท้.
โรชะมัลลกษัตริย์ตรัสว่า พระคุณเจ้าอานนท์ พระพุทธเจ้าก็ดี พระ
ธรรมก็ดี พระสงฆ์ก็ดี ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าใหญ่โต พวกญาติต่างหากได้ตั้ง
กติกาไว้ว่า ผู้ไม่ต้อนรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จะต้องถูกปรับสินไหม
เป็นเงิน ๕๐๐ กษาปณ์ ข้าพเจ้านั้นแลได้ต้อนรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเช่น
นี้เพราะกลัวพวกญาติปรับสินไหม.
ทันใดท่านพระอานนท์แสดงความไม่พอใจว่า ไฉน โรชะมัลลกษัตริย์
จึงได้ตรัสอย่างนี้ แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม นั่งเฝ้าอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคะเจ้าว่า พระพุทธ-
เจ้าข้า โรชะมัลลกษัตริย์ผู้นี้ เป็นคนมีชื่อเสียง มีคนรู้จักมาก และความ
เลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ ของคนที่มีผู้รู้จักมากเช่นนี้ มีอิทธิพลมากนัก
ขอประทานพระวโรกาสขอพระองค์ทรงกรุณาโปรดบันดาลให้โรชะมัลลกษัตริย์
เลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ การที่จะบันดาลให้โรชะ-
มัลลกษัตริย์เลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้นั้น ตถาคตทำได้ไม่ยากเลย.

154
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 155 (เล่ม 7)

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่เมตตาจิตไปยังโรชะมัลลกษัตริย์
แล้วทรงลุกจากที่ประทับเสด็จเข้าพระวิหาร ครั้นโรชะมัลลกษัตริย์ อันพระ-
เมตตาจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกต้องแล้ว ได้เที่ยวค้นหาตามวิหาร ตาม
บริเวณทั่วทุกแห่งดุจโคแน่ลูกอ่อน แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ท่านเจ้าข้า
เวลานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับ อยู่
ที่ไหน เพราะข้าพเจ้าใคร่จะเฝ้าพระองค์
ภิกษุทั้งหลายถวายพระพรว่า ท่านโรชะ พระวิหารนั่นเขาปิดพระ-
ทวารเสียแล้ว ขอท่านโปรดสงบเสียง เสด็จเข้าไปทางพระวิหารนั้น ต่อย ๆ
ย่องเข้าไปที่หน้ามุข ทรงกระแอมแล้วทรงเคาะพระทวารเถิด พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจักทรงเปิดพระทวารรับท่าน ถวายพระพร.
โรชะมัลลกษัตริย์ได้ธรรมจักษุ
ขณะนั้น โรชะมัลลกษัตริย์ทรงสงบเสียง เสด็จเข้าไปทางพระวิหาร
ซึ่งปิดพระทวารเสียแล้วนั้น ค่อย ๆ ย่องเข้าไปที่หน้ามุข ทรงกระแอมแล้ว
เคาะบานพระทวาร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปิดพระทวารรับ จึงโรชะมัลล-
กษัตริย์เสด็จเข้าพระวิหาร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่งเฝ้า
อยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาแก่โรชะ-
มัลลกษัตริย์ คือ ทรงประกาศทานกถา สีลกถา สัคคกถา ซึ่งโทษแห่ง
กามอันต่ำทรามอันเศร้าหมอง และอานิสงส์ในความออกจากกาม ขณะเมื่อ
พระองค์ทรงทราบว่าโรชะมัลลกษัตริย์มีจิตคล่อง มีจิตอ่อน มีจิตปราศจาก
นิวรณ์ มีจิตเบิกบาน มีจิตผ่องใสแล้ว จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนา ที่
พระพุทธเจ้าทั้งหลายยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

155
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 156 (เล่ม 7)

ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้บังเกิดแก่โรชะมัลลกษัตริย์
ณ สถานที่ประทับนั้นแลว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งมวลมีความดับเป็นธรรมดา ดุจผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย่อม
ด้วยดี ฉะนั้น โรชะมัลลกษัตริย์ได้ทรงเห็นธรรมแล้ว ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้ง
ได้หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว ข้ามความสงสัยได้แล้ว ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย
ถึงความเป็นผู้องอาจ ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา ได้กราบทูลคำ
น้ำแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่าขอประทานพระวโรกาส ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย
โปรดรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ของข้า
พระพุทธเจ้าผู้เดียว อย่ารับของตนอื่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโรชะ แม้อริยบุคคลผู้ได้เห็นธรรม
แล้วด้วยญาณของพระเสขะ ด้วยทัสสนะของพระเสขะเหมือนอย่างท่าน ก็คงมี
ความปรารถนาอย่างนี้ว่า โอ พระคุเนเจ้าทั้งหลายคงกรุณารับจีวร บิณฑบาต
เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของพวกเราเท่านั้น คงไม่รับของผู้อื่นเป็น
แน่ เพราะฉะนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจักรับปัจจัยของท่านด้วย ของตนอื่นด้วย.
ก็โดยสมัยนั้นแล ประชาชนทั้งหลายได้จัดตั้งลำดับภัตตาหารอันประ-
ณีตไว้ที่นครกุสินารา ครั้นโรชะมัลลกษัตริย์ไม่ได้ลำดับที่จะถวายภัตตาหารจึง
ได้ทรงดำริว่า ไฉนหนอ เราพึงตรวจดูโรงอาหาร สิ่งใดไม่มีในโรงอาหาร
เราพึงตกแต่งสิ่งนั้นถวาย ครั้นแล้วทรงตรวจดูในโรงอาหาร ไม่ทอดพระเนตร
เห็นของ ๒ อย่าง คือผักสด ๑ ของขบฉันที่ทำด้วยแป้ง ๑ จึงเสด็จเข้าไปหา
ท่านพระอานนท์ ครั้นแล้วได้ทูลหารือว่า ท่านพระอานนท์เจ้าข้า เมื่อข้าพเจ้า
ไม่ได้ลำดับที่จะถวายภัตตาหาร ณ สถานที่แห่งนี้ ได้มีความดำริว่า ไฉนหนอ
เราะพึงตรวจดูโรงอาหาร สิ่งใดไม่มีในโรงอาหาร เราพึงตกแต่งสิ่งนั้นถวาย

156
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ – หน้าที่ 157 (เล่ม 7)

ท่านพระอานนท์เจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นเมื่อตรวจดูโรงอาหาร ไม่ได้เห็นของ ๒
อย่าง คือ ผักสด ๑ ของขบฉันที่ทำด้วยแป้ง ๑ หากข้าพเจ้าพึงตกแต่งผักสด
และของขบฉันที่ทำด้วยแป้งถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงรับของข้าพเจ้า
หรือไม่ เจ้าข้า.
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า ท่านโรชะ ถ้ากระนั้นอาตมาจะทูล
ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดู แล้วได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ ถ้าเช่นนั้นจงให้เขาตกแต่งเถิด.
ท่านพระอานนท์ถวายพระพรว่า ท่านโรชะ ถ้ากระนั้น ท่านจงตกแต่ง
ถวาย.
โรชะมัลลกษัตริย์ จึงสั่งให้ตกแต่งผักสดและของขบเคี้ยวที่ทำด้วยแป้ง
เป็นอันมาก โดยผ่านราตรีนั้นแล้ว น้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพลาง
กราบทูลว่าขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงโปรดรับผักสด และของขบฉันที่ทำด้วย
แป้ง ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโรชะ ถ้าเช่นนั้น จงถวายภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ ไม่รับประเคน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงรับประเคนฉันเถิด ขณะนั้น โรชะมัลลกษัตริย์
ทรงอังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยผักสด และของขบฉันที่
ทำด้วยแป้งมากมาย ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์ ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ล้าง
พระหัตถ์แล้ว จนทรงนำพระหัตถ์จากบาตร ให้ห้ามภัตแล้ว ได้ประทับเฝ้า
อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้โรชะมัลลกษัตริย์
ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ทรงเห็นแจ้งสมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วย
ธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ.

157