No Favorites




หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 304 (เล่ม 6)

จริงอยู่ ทัณฑกรรมก็คือการห้าม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ฝ่าย
พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายกล่าวว่า แม้การให้ขนมาซึ่งน้ำหรือฟืนหรือ
ทรายเป็นต้น พอสมควรแก่ความผิด ภิกษุก็ควรทำได้. เพราะเหตุนั้น แม้
การให้ขนซึ่งน้ำเป็นต้นนั้นอันภิกษุพึงทำ. ก็ทัณฑกรรมนั้นแล อันภิกษุพึง
ลงด้วยความเอ็นดูว่า เธอจักงด จักเว้น ไม่พึงลงด้วยอัธยาศัยอันลามก ซึ่ง
เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า เธอจักวอควาย เธอจักสึกไปเสีย. ด้วยคิดว่า เรา
จักลงทัณฑกรรม จะให้เธอนอนบนหินที่ร้อนหรือจะให้เธอทูลแผ่นหินและอิฐ
เป็นต้น ไว้บนศีรษะ หรือจะให้เธอดำน้ำ ย่อมไม่ควร.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว อุปชฺฌายํ อนาปุจฺฉา นี้
ดังนี้:-
ครั้นเมื่อตนบอกเล่าครบ ๓ ครั้งว่า สามเณรของท่านมีความผิดเช่นนี้
ท่านวงลงทัณฑกรรมแก่เธอ ถ้าอุปัชฌาย์ไม่ลงทัณฑกรรม จะลงเสียเองก็ควร
ถ้าอุปัชฌาย์บอกไว้แต่แรกเทียวว่า เมื่อพวกสามเณรของข้าพเจ้ามีโทษ ท่าน
ทั้งหลายนั่นแลจงลงทัณฑกรรม ดังนี้ สมควรแท้ที่จะลง. แลจงลงทัณฑ-
กรรม แม้แก่เหล่าสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิก อย่างสามเณรทั้งหลายก็ควร.
บทว่า อปลาเฬนฺติ มีความว่า ย่อมเกลี้ยกล่อมเพื่อทำอุปฐากแก่
คนว่า พวกฉันจักให้บาตร จักให้จีวรแก่พวกเธอ.
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า น ภิกฺขเว อญฺญสฺส ปริสา อปาลา-
เฬตพฺพา นี้ ดังนี้:-
จะเป็นสามเณรหรืออุปสัมบันก็ตามที อันภิกษุจะยุยงรับเอาชนซึ่งเป็น
บริษัทของผู้อื่น โดยที่สุด แม้เป็นภิกษุผู้ทุศีล ย่อมไม่ควร แต่สมควรอยู่ที่
จะแสดงโทษว่า การที่ท่านอาศัยคนที่ศีลอยู่ทำลงไป ก็กล้ายการที่ชนมาเพื่อจะ

304
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 305 (เล่ม 6)

อาบแต่ไพล่ไปทาด้วยคูก ดังนี้ . ถ้าเธอทราบไปเองทีเดียว จึงขออุปัชฌาย์
หรือนิสัย ภิกษุจะให้ก็ควร. บรรดานาสนา ๓ ที่กล่าวแล้วในวรรณนาแห่ง
กัณฏกสิกขาบท๑ ลิงคนาสนาเท่านั้น ประสงค์ในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว
ทสหงฺเคหิ สมนฺนาคตํ สามเณรํ นาเสตุํ นี้ เพราะเหตุนั้น ในกรรมทั้ง
หลายมีปาณาติบาตเป็นต้น สามเณรใด ย่อมทำกรรม แม้อย่างหนึ่ง สามเณร
นั้น อันภิกษุพึงให้ฉิบทาย ด้วยลิงคนาสนาเหมือนอย่างว่า ภิกษุทั้งหลาย่อม
เป็นอาบัติ ต่าง ๆ กัน ในเพราะกรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้นฉันใด,
สามเณรทั้งหลายจะได้เป็นฉันนั้นหามิได้. เพราะว่าสามเณรยังมดดำมดแดงให้
ตายก็ดี บี้ไข่เรือดก็ดี ย่อมถึงความเป็นผู้ควรให้ฉิบทายทีเดียว. สรณคมน์
การถืออุปัชฌาย์ และการถือเสนาสนะของเธอ ย่อมระงับทันที. เธอย่อม
ไม่ได้ลาภสงฆ์, คงเหลืออยู่สิ่งเดียว เพียงเพศเท่านั้น, ถ้าเธอเป็นผู้มีโทษ
ซับซ้อน จะไม่ตั้งอยู่ในสังวรต่อไป พึงกำจัดออกเสีย ถ้าเธอผิดพลาดพลั้งไป
แล้ว ยอมรับว่า ความชั่วข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ดังนี้ เป็นผู้ใคร่จะทั้งอยู่ในสังวร
อีก กิจคือลิงคนาสนาย่อมไม่มี, พึงให้สรณะทั้งหลาย พึงให้อุปัชฌาย์แก่เธอ
ซึ่งคงนุ่งห่มอย่างเดิมทีเดียว, ส่วนสิกขาบททั้งหลาย่อมสำเร็จด้วยสรณคมน์
นั่นเอง, จริงอยู่ สรณคมน์ของสามเณรทั้งหลายเป็นเช่นกับกรรมวาจาใน
อุปสมบทของภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ศีล ๑๐ เป็นอันสามเณรแม้นี้
สมาทานแล้วแท้ เหมือนจตุปาริสุทธิศีลอันภิกษุสมาทานแล้วฉะนั้น, แม้เป็น
เช่นนี้ ศีล ๑๐ ก็ควรให้อีก เพื่อทำให้มั่นคง คือเพื่อยังเธอให้ตั้งอยู่ในสังวร
ต่อไป ถ้าสรณะทั้งหลายอันเธอรับอีกในวัสสูปนายิกาต้น เธอจักได้ผ้าจำนำ
พรรษาในวัสสูปนายิกาหลัง. ถ้าเธอ รับสรณะในวันสูปนายิกาหลัง ลาภอันสงฆ์
พึงอปโลกน์ให้.
๑. สมนฺต. ทติย. ๔๖๕.

305
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 306 (เล่ม 6)

สามเณรย่อมเป็นผู้มีใช่สมณะ คือย่อมถึงความเป็นผู้ควรนาสนาเสีย
ในเพราะอทินนาทาน ด้วยวัตถุแม้เพียงหญ้าเส้น ๑ ในเพราะอพรหรมจรรย์
ด้วยปฏิบัติผิดในมรรคใดมรรคหนึ่งใน ๓ มรรคในเพราะมุสาวาท เมื่อตนกล่าว
เท็จ แม้ด้วยความเป็นผู้ประสงค์จะหัวเราะเล่น ส่วนในเพราะดื่มน้ำเมา เป็น
อาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แม้ไม่รู้ดื่มน้ำเมาจำเดิมแต่ส่า. ฝ่ายสามเณร ต้องรู้
แล้วดื่ม จึงต้องศีลเภท ไม่รู้ไม่ต้อง. ส่วน ๕ สิกขาบทนอกนี้เหล่าใด ของ
สามเณรนั้นบรรดามี ครั้นเมื่อสิกขาบทเหล่านั้นทำลายแล้ว เธออันภิกษุไม่พึง
นาสนา พึงลงทัณฑกรรม. แลเมื่อสิกขาบทอันภิกษุได้ให้อีกก็ดี ยังมิได้ให้ก็
ดี จะลงทัณฑกรรม ย่อมควร. แต่ว่าพึงปราบด้วยทัณฑกรรมแล้ว จึงค่อย
ให้สิกขาบท เพื่อประโยชน์แก่ความคงอยู่ในสังวรต่อไป. การดื่มน้ำเมาของ
เหล่าสามเณร เป็นสจิตตกะ จึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิก. ความแปลกกันเท่านี้.
ก็แลวินิจฉัยในอวัณณภาสนะ พึงทราบดังนี้:-
ในอรรถกถาชื่อกุรุนทีแก้ว่า สามเณรผู้กล่าวโทษแห่งพระพุทธเจ้า
ด้วยอำนาจแห่งคำเป็นข้าศึกแก่พุทธคุณ เป็นต้นว่า อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ
ก็ดี แห่งพระธรรม ด้วยอำนาจเป็นข้าศึกแก่ธรรมคุณ เป็นต้นว่า สฺวากฺขาโต
ก็ดี แห่งพระสงฆ์ ด้วยอำนาจแห่งคำเป็นข้าศึกแก่สังฆคุณเป็นต้นว่า สุปฏิ-
ปนฺโน ก็ดี ได้แก่นินทา คือติเตียนพระรัตนตรัย อันภิกษุทั้งหลายมีอาจารย์
และอุปัชฌาย์เป็นต้น พึงแสดงโทษในการกล่าวโทษ ห้ามปรามเสียว่า เธอ
อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ถ้าเธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่ถึงครั้งที่ ๓ ยังไม่งด
เว้น ภิกษุทั้งหลายพึงให้ฉิบหายเสีย ด้วยกัณฏกนาสนะ.
ส่วนในมหาอรรถกถาแก้ว่า ถ้าเธออันภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนั้น
ยอมสละลัทธินั้น พึงให้ทำทัณฑกรรมแล้วแสดงโทษล่วงเกิน. ถ้ายังไม่ยอม
สละ ยังยึดถือยกย่องยันอยู่อย่างนั้นเอง พึงให้ฉิบทายเสียด้วยลิงคนาสนา.

306
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 307 (เล่ม 6)

คำแห่งมหาอรรถกถานั้นชอบ. เพราะว่านาสนานี้เท่านั้น อันพระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงประสงค์ในอธิบายนี้. แม้ในสามเณรผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิก็นัยนี้แล.
อันสามเณรผู้มีบรรดาสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิชนิดใดชนิดหนึ่ง ถ้าเธออัน
ภิกษุทั้งหลายมีอาจารย์เป็นต้นตักเตือนอยู่สละเสียไว้ พึงให้ทำทัณฑกรรมแล้ว
ให้แสดงโทษล่วงเกิน เมื่อไม่ยอมสละนั้นแล พึงให้ฉิบหายเสีย ดังนี้แล.
ผู้ศึกษาพึงทราบสันนิษฐานว่า องค์ ๑๐ ต่างแผนก คือ ภิกฺขุนีทูสโก
นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อแสดงเนื้อความนี้ว่า จริงอยู่ บรรดา
นาสนังคะ ๑๐ นี้ สามเณรผู้ประทุษร้ายนางภิกษุณี อันพระองค์ทรงถือเอาด้วย
พรหมจารีศัพท์โดยแท้. ถึงกระนั้นก็สมควรจะให้สรณะแล้ว ให้อุปสมบทอ
พรหมจารีสามเณรผู้ปรารถนาจะตั้งอยู่ในสังวรต่อไป. สามเณรผู้ประทุษร้ายนาง
ภิกษุณี ถึงใคร่จะตั้งอยู่ในสังวรต่อไป ย่อมไม่ได้แม้ซึ่งบรรพชา ไม่จำต้อง
กล่าวถึงอุปสมมท.
อรรถกถานาสนังคทัณฑกรรมวัตถุ จบ

307
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 308 (เล่ม 6)

เรื่องห้ามบัณเฑาะก์มิให้อุปสมบท
[๑๒๕] ก็โดยสมัยนั้นแล บัณเฑาะก์คนหนึ่งบวชในสำนักภิกษุ เธอ
เข้าไปหาภิกษุหนุ่ม ๆ แล้วพูดชวนอย่างนี้ว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษร้าย
ข้าพเจ้า ภิกษุทั้งหลายพูดรุกรานว่า เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบทาย เจ้าบัณเฑาะก์จง
พินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยเจ้า เธอถูกพวกภิกษุพูดรุกราน จึงเข้าไปหาพวก
สามเณรโค่งผู้มีร่างล่ำสันแล้วพูดชวนอย่างนี้ว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย จงประทุษ-
ร้ายข้าพเจ้า พวกสามเณรพูดรุกรานว่า เจ้าบัณเฑาะก์จงฉิบทาย เจ้าบัณเฑาะก์
จงพินาศ จะประโยชน์อะไรด้วยเจ้า เธอถูกพวกสามเณรรุกราน จึงเข้าไปหา
พวกคนเลี้ยงช้าง คนเลี้ยงม้า แล้วพูดอย่างนี้ว่า มาเถิด ท่านทั้งหลาย จง
ประทุษร้ายข้าพเจ้า พวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้า ประทุษร้ายแล้วจึงเพ่ง
โทษ ติเตียน โพนทะนาว่า พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ เป็นบัณ-
เฑาะก์ บรรดาพวกสมณะเหล่านี้ แม้พวกใดที่มิใช่บัณเฑาะก์ แม้พวกนั้นก็
ประทุษร้ายบัณเฑาะก์ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระสมณะเหล่านี้ก็ล้วนแต่ไม่ใช่เป็นผู้
ประพฤติพรหมจรรย์ ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกคนเลี้ยงช้าง พวกคนเลี้ยงม้า พา
กันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อนุปสัมบัน คือ บัณเฑาะก์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้
สึกเสีย.

308
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 309 (เล่ม 6)

อรรถกถาปัณฑกวัตถุ
สองบทว่า ทหเร ทหเร ได้แก่ หนุ่ม ๆ.
บทว่า โมลิคลฺเล ได้แก่ ผู้มีร่างกายอวบ
สองบทว่า หตฺถิภณฺเฑ อสฺสภณฺเฑ ได้แก่ คนเลี้ยงช้างและคน
เลี้ยงม้า.
ในคำว่า ปณฺฑโก ภิกฺขเว เป็นต้นนี้ มีวินิจฉัยว่า บัณเฑาะก์มี
๕ ชนิด คือ อาสิตตาบัณเฑาะก์ ๑ อุสุยยบัณเฑาะก์ ๑ โอปักกมิยบัณเฑาะก์ ๑
ปักขบัณเฑาะก์ ๑ นปุงสกับบัณเฑาะก์ ๑.
ในบัณเฑาะก์ ๕ ชนิดนั้น บัณเฑาะก์ใดเอาปากอมองคชาตของชาย
เหล่าอื่น ถูกน้ำอสุจิรดเอาแล้ว ความเร่าร้อนจึงสงบไป บัณเฑาะก์นี้ ชื่อ
อาสิตตบัณเฑาะก์.
ฝ่ายบัณเฑาะก์ใดเห็นอัชฌาจารของชนเหล่าอื่น เมื่อความริษยาเกิด
ขึ้นแล้ว ความเร่าร้อนจึงสงบไป บัณเฑาะก์นี้ ชื่ออุสุยยบัณเฑาะก์.
บัณเฑาะก์ใดมีอวัยวะดังพืชทั้งหลาย ถูกนำไปปราศแล้วคือ ถูกเขา
ตอนเสียแล้ว ด้วยความพยายาม๑ บัณเฑาะก์นี้ ชื่อโอปักกมิยบัณเฑาะก์.
ส่วนบางคนข้างแรมเป็นบัณเฑาะก์ ด้วยอานุภาพแห่งอกุศลวิบาก แต่
ข้างขึ้น ความเร่าร้อนของเขาย่อมสงบไป นี้ชี่อว่า ปักขบัณเฑาะก์.
๑. ทางสันสฤต อุปกฺรม (อุปกฺกม) หมายความว่า จิกิตฺสา (ติกิจฺฉา) ก็ได้ดังนั้น อุปกฺกม
ในที่นี้จึงน่าจะหมายความไปทางวิธีหมอ เช่นการเยียวยาผำตัดเป็นต้น.

309
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 310 (เล่ม 6)

ส่วนบัณเฑาะก์ใด เกิดไม่มีเพศ ไม่มีภาวรูป ในปฏิสนธิทีเดียว คือ
ไม่ปรากฏว่าชายหรือหญิงมาแต่กำเนิด บัณเฑาะก์นี้ ชื่อนปุงสกับบัณเฑาะก์.
ในอรรถกถาชื่อกุรุนทีแก้ว่า ในบัณเฑาะก์ ๕ ชนิดนั้น อาสิตตบัณ-
เฑาะก์ และอุสุยยบัณเฑาะก์ ไม่ห้ามบรรพชา, ๓ ชนิดนอกนี้ห้าม แม้ใน
บัณเฑาะก์ ๓ ชนิดนั้น สำหรับปักขบัณเฑาะก์ ห้ามบรรพชาแก่เขาเฉพาะปักข์
ที่เป็นบัณเฑาะก์เท่านั้น. ก็ในบัณเฑาะก์ ๓ ชนิดนี้ บัณเฑาะก์ใดทรงห้าม
บรรพชา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลายเอาบัณเฑาะก์นั้น ตรัสคำนี้ ว่า อนุป-
สมฺปนฺโน นาเสตพฺโพ. บัณเฑาะก์แม้นั้น ภิกษุพึงให้ฉิบหายด้วยลิงคนา-
สนาทีเดียว. เบื้องหน้าแต่นี้ แม้ในคำที่กล่าวว่า พึงให้ฉิบหาย ก็มีนัยนี้
เหมือนกัน.
อรรกถาปัณฑกวัตถุ จบ

310
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 311 (เล่ม 6)

เรื่องห้ามคนลักเพศและคนเข้ารีตมิให้อุปสมบท
[๑๒๖] ก็โดยสมัยนั้นแล บุตรของตระกูลเก่าแก่คนหนึ่ง เป็นสุขุมาล-
ชาติ มีหมู่ญาติที่รู้จักกันในตระกูลหมดสิ้นไป ครั้งนั้น เขาได้มีความดำริว่า
เราเป็นผู้ดี ไม่สามารถจะหาโภคทรัพย์ที่ยังหาไม่ได้ หรือไม่สามารถจะทำ
โภคทรัพย์ที่หาได้แล้วให้เจริญงอกงาม ด้วยวิธีอะไรหนอ เราจึงจะอยู่เป็นสุข
และไม่ต้องลำบาก แล้วติดได้ในทันทีนั้นว่า พวกสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
เหล่านี้แลมีปรกติเป็นสุข มีความประพฤติเรียบร้อย ฉันอาหารที่ดี นอนใน
ห้องนอนอันมิดชิด ถ้ากระไร เราพึงจัดแจงบาตรจีวร โกนผมและหนวด
ครองผ้าย้อมฝาดเสียเองแล้วไปอารามอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย ต่อมา เขาได้
จัดแจงบาตรจีวร โกนผมและหนวด ครองผ้าย้อมฝาดเอง แล้วไปอาราม
กราบไหว้ภิกษุทั้งหลาย.
ภิกษุทั้งหลายถามว่า คุณมีพรรษาได้เท่าไร.
เขาย้อนถามว่า ที่ชื่อว่ามีพรรษาได้เท่าไร นั่นอะไรกัน ขอรับ.
ภิกษุทั้งหลายถามว่า อาวุโส ใครเป็นพระอุปัชฌาย์ของคุณ.
เขาย้อนถามว่า ที่ชื่อว่าพระอุปัชฌาย์ นั่นอะไรกัน ขอรับ.
ภิกษุทั้งหลายได้แจ้งเรื่องนั้นต่อท่านพระอุบาลีว่า อาวุโสอุบาลี ขอ
นิมนต์ท่านสอบสวนบรรพชิตรูปนี้ .
ครั้นเขาถูกท่านพระอุบาลีสอบสวน จึงแจ้งเรื่องนั้นให้ทราบ ท่าน
พระอุบาลีได้แจ้งให้ภิกษุทั้งหลายทราบแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

311
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 312 (เล่ม 6)

พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
อนุปสัมบัน คือ คนลักเพศ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้
สึกเสีย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ภิกษุไม่
พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย.
อรรถกถาเถยยสังวาสกกถา
บทว่า ปุราณกุลปุตฺโต ได้แก่ บุตรของสกุลเก่า คือถึงความ
ย่อยยับโดยลำดับ.
บทว่า ขีณโกลญฺโญ มีอรรถวิเคราะห์ว่า ญาติทั้งหลายผู้รู้จักกัน
ในสกุล ฝ่ายมารดาและฝ่ายบิดา ของเขา สิ้นแล้ว สาบสูญแล้ว คือตายแล้ว
เหตุนั้น เขาชื่อว่า ขีณโกลญฺโญ ผู้มีญาติซึ่งรู้จักกันในสกุลสิ้นไปแล้ว.
บทว่า อนธิคตํ ได้เเก่ ยังไม่ถึง.
สองบทว่า ผาตึ กาตุํ ได้แก่ เพื่อให้เจริญ. ศัพท์ว่า อิงฺฆ เป็น
อุยโยชนัตถนิบาต.
บทว่า อนุยุญฺชิยมาโน มีความว่า กุลบุตรนั้น อันท่านอุบาลีนำ
ไป ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ถามถึงการปลงผมและหนวด การรับผ้ากาสายะ การ
ถึงสรณะ การถืออุปัชฌาย์ กรรมวาจาและธรรมเป็นที่อาศัย.

312
หมวด/เล่ม
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ – หน้าที่ 313 (เล่ม 6)

สองบทว่า เอตมตฺถํ อาโรเจสิ มีความว่า บอกข้อที่ทนบวชเอา
เองนั้น จำเดิมแต่ต้น.
ในคำว่า เถยฺยสํวาสโก ภิกฺขเว นี้ มีวินิจฉัยว่า คนเถยยสังวาสก์
มี ๓ ชนิด คือ คนลักเพศ ๑ คนลักสังวาส ๑ คนลักทั้ง ๒ อย่าง ๑.
ใน ๓ ชนิดนั้น ผู้ใดบวชเองแล้วไปวัดที่อยู่ ไม่นับพรรษาแห่งภิกษุ
ไม่ยินดีการไหว้ตามลำดับผู้แก่ ไม่ห้ามด้วยอาสนะ ไม่เข้าในสังฆกรรมมี
อุโบสถและปวารณาเป็นต้น; ผู้นี้ ชื่อคนลักเพศ เพราะเขาลักแต่เพียงเพศ
เท่านั้น.
ฝ่ายผู้ใด เป็นสามเณรซึ่งบวชแต่ภิกษุทั้งหลายแล้ว ไปต่างประเทศ
กล่าวเท็จนับพรรษาแห่งภิกษุว่า ข้าพเจ้า ๑๐ พรรษา หรือว่า ข้าพเจ้า ๒๐
พรรษา ยินดีการไหว้ตามลำดับผู้แก่ ห้ามด้วยอาสนะ เข้าในสังฆกรรมมี
อุโบสถและปวารณาเป็นต้น. ผู้นี้ชื่อคนลักสังวาส เพราะเขาลักแต่เพียงสังวาส
เท่านั้น.
อันความต่างแห่งกิริยาแม้ทั้งปวง มีนับพรรษา แห่งภิกษุเป็นต้น ผู้
ศึกษาควรทราบว่า สังวาส ในอรรถนี้. แม้ในบุคคลผู้ลาสิกขาแล้วปฏิบัติอยู่
อย่างนั้น ด้วยคิดว่า ใคร ๆ ย่อมไม่รู้การลาของเราก็มีนัยเหมือนกัน.
ส่วนผู้ใดบวชเอาเองแล้วไปวัดที่อยู่ นับพรรษาแห่งภิกษุ ยินดีใน
การไหว้ตามลำดับผู้แก่ ห้ามด้วยอาสนะ เข้าในสังฆกรรมมีอุโบสถและปวารณา
เป็นต้น; ผู้นี้ ชื่อคนลักทั้ง ๒ เพราะเหตุที่ตนลักทั้งเพศทั้งสังวาส,

313