No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 234 (เล่ม 70)

ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ได้ทำพวกบุรุษล้มลง ได้รับชัยชนะ มาถึงเมืองอัน
เป็นที่อยู่ของพระโพธิสัตว์เข้าโดยลำดับ ได้ทำพวกคนในเมืองแม้นั้นให้
ล้มลงแล้ว เริ่มจะไป. คราวนั้น พระโพธิสัตว์คิดว่า ผู้นี้ได้รับชัยชนะ
ในที่เป็นที่อยู่ของเราแล้วก็จะไป จึงมายังบริเวณพระนครในที่นั้น ปรบ
มือแล้วกล่าวว่า ท่านจงมา จงต่อสู้กับเราแล้วค่อยไป นักมวยปล้ำนั้น
หัวเราะแล้วคิดว่า พวกบุรุษใหญ่โตเรายังทำให้ล้มได้ บุรุษผู้นี้เป็นคนเตี้ย
มีธาตุเป็นคนเตี้ย ย่อมไม่เพียงพอแม้แก่มือข้างเดียว จึงปรบมือบันลือ
แล้วเดินมา. คนทั้งสองนั้นจับมือกันและกัน พระโพธิสัตว์ยกนักมวยปล้ำ
คนนั้นขึ้นแล้วหมุนในอากาศ เมื่อจะให้ตกลงบนภาคพื้น ได้ทำลาย
กระดูกไหล่แล้วให้ล้มลง. ชาวพระนครทั้งสิ้นทำการโห่ร้อง ปรบมือ
บูชาพระโพธิสัตว์ด้วยผ้าและอาภรณ์เป็นต้น. พระโพธิสัตว์ให้นักต่อสู้
ด้วยมวยปล้ำนั้นตรง ๆ กระทำกระดูกไหล่ให้ตรงแล้วกล่าวว่า ท่านจงไป
ตั้งแต่นี้ไปท่านจงอย่ากระทำกรรมเห็นปานนี้ แล้วส่งไป ด้วยวิบากของ
กรรมนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยทุกข์ที่ร่างกายและศีรษะเป็นต้น ในภพ
ที่เกิดแล้ว ๆ ในอัตภาพหลังสุด แม้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้เสวยทุกข์
มีการเสียดแทงที่หลังเป็นต้น. เพราะฉะนั้น เมื่อความทุกข์ที่เบื้องพระ-
ปฤษฎางค์เกิดขึ้นในกาลบางคราว พระองค์จึงตรัสกะพระสารีบุตรและ
พระโมคคัลลานะว่า จำเดิมแต่นี้ไป พวกเธอจงแสดงธรรม แล้วพระองค์
ทรงลาดสุคตจีวรแล้วบรรทม. ขึ้นชื่อว่ากรรมเก่า แม้พระพุทธเจ้าก็ไม่พ้น
ไปได้. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
เมื่อการปล้ำกันดำเนินไปอยู่ เราได้เบียดเบียนบุตรนัก-
มวยปล้ำ (ให้ลำบาก)

234
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 235 (เล่ม 70)

ด้วยวิบากของกรรมนั้น ความทุกข์ที่หลัง (ปวดหลัง)
จึงได้มีแก่เรา.
ปัญหาข้อที่ ๑๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การถ่ายด้วยการลงพระโลหิต ชื่อว่า อติสาระ โรคบิด. ได้ยินว่า
ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคหบดี เลี้ยงชีพด้วยเวชกรรม
พระโพธิสัตว์นั้น เมื่อจะเยียวยาบุตรของเศรษฐีคนหนึ่งผู้ถูกโรคครอบงำ
จึงปรุงยาแล้วเยียวยา อาศัยความประมาทในการให้ไทยธรรมของบุตร
เศรษฐีนั้น จึงให้โอสถอีกขนานหนึ่ง ได้กระทำการถ่ายโดยการสำรอก
ออก เศรษฐีได้ให้ทรัพย์เป็นอันมาก. ด้วยวิบากของกรรมนั้น พระ-
โพธิสัตว์จึงได้ถูกอาพาธด้วยโรคลงโลหิตครอบงำในภพที่เกิดแล้ว ๆ ใน
อัตภาพหลังสุดแม้นี้ ในปรินิพพานสมัย จึงได้มีการถ่ายด้วยการลงพระ-
โลหิต ในขณะที่เสวยสูกรมัททวะที่นายจุนทะกัมมารบุตรปรุงถวาย พร้อม
กับพระกระยาหารอันมีทิพโอชะที่เทวดาในจักรวาลทั้งสิ้นใส่ลงไว้. กำลัง
ช้างแสนโกฏิเชือก ได้ถึงความสิ้นไป. ในวันเพ็ญเดือน ๖ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปเพื่อต้องการปรินิพพานในเมืองกุสินารา ประ-
ทับนั่งในที่หลายแห่ง ระหายน้ำ ทรงดื่มน้ำ ทรงถึงเมืองกุสินาราด้วย
ความลำบากอย่างมหันต์ แล้วเสด็จปรินิพพานในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง.
แม้พระผู้เป็นเจ้าของไตรโลกเห็นปานนี้ กรรมเก่าก็ไม่ละเว้น. ด้วยเหตุ
นั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาบุตรของเศรษฐี ด้วย
วิบากของกรรมนั้น โรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา.

235
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 236 (เล่ม 70)

พระชินเจ้าทรงบรรลุอภิญญาพละทั่งปวง ทรงพยากรณ์
ต่อหน้าภิกษุสงฆ์ ณ อโนดาตสระใหญ่ ด้วยประการฉะนี้แล.
อปทานฝ่ายอกุศล ชื่อว่าเป็นอันจบบริบูรณ์ ด้วยการตั้งหัวข้อ
ปัญหาที่ท่านให้ปฏิญญาไว้ ด้วยประการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า อิตฺถํ สุทํ อธิบายว่า ด้วยประการฉะนี้ คือ ด้วยนัยที่กล่าวไว้
ในหนหลัง โดยประการนี้. ศัพท์ว่า สุทํ เป็นนิบาต มาในอรรถว่า
ทำบทให้เต็ม. พระผู้มีพระภาคเจ้า คือพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระมหา-
กรุณาพระองค์นั้น ทรงเพียบพร้อมด้วยภาคยธรรม เป็นพระมหาสัตว์
ผู้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว ทรงประกอบด้วยคุณ มีอาทิอย่างนี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีภาคบุญ คือโชค ผู้หักราน
กิเลส ผู้ประกอบด้วยภาคธรรมทั้งหลาย ผู้ทรงด้วยภาคธรรม
ทั้งหลาย ผู้ทรงจำแนกธรรม ผู้คบแล้ว ผู้คายการไปในภพ
ทั้งหลายแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา.
ทรงเป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เป็นท้าวสักกะยิ่งกว่าท้าวสักกะ ทรงเป็น
พรหมยิ่งกว่าพรหม ทรงเป็นพระพุทธเจ้ายิ่งกว่าพระพุทธเจ้า เมื่อจะทรง
ยกย่อง คือทำให้ปรากฏซึ่งพุทธจริยา คือเหตุแห่งพระพุทธเจ้าของ
พระองค์ จึงได้ภาษิตคือตรัสธรรมบรรยาย คือพระสูตรธรรมเทศนา
ชื่อว่า พุทธาปทานิยะ คือ ชื่อว่า ประกาศเหตุแห่งพระพุทธเจ้าแล.
พรรณนาพุทธาปทาน
ในวิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาอปทาน
จบบริบูรณ์เท่านี้

236
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 237 (เล่ม 70)

๒. ปัจเจกพุทธาปทาน
ว่าด้วยเหตุให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า
[๒] ลำดับนี้ ขอท่านทั้งหลายจงฟัง ปัจเจกสัมพุทธาปทาน.
พระอานนท์เวเทหมุนี ผู้มีอินทรีย์อันสำรวมแล้ว ได้ทูลถาม
พระตถาคตผู้ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวันว่า ได้ทราบว่า
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้น
จึงได้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้เป็นนักปราชญ์.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระสัพพัญญู ผู้ประ-
เสริฐ ผู้แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสตอบท่านพระอานนท์ผู้เจริญ
ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าสร้าง
บุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าทั้งปวง ยังไม่ได้โมกขธรรมใน
ศาสนาของพระชินเจ้า.
ด้วยมุขคือความสังเวชนั้นนั่นแล ท่านเหล่านั้นเป็น
นักปราชญ์ มีปัญญาแก่กล้า ถึงจะเว้นพระพุทธเจ้าก็ย่อม
บรรลุปัจเจกโพธิญาณได้ แม้ด้วยอารมณ์นิดหน่อย.
ในโลกทั้งปวง เว้นเราเสียแล้ว ไม่มีใครเสมอกับพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าได้เลย เราจักบอกคุณเพียงสังเขปนี้ ของท่าน
เหล่านั้น ท่านทั้งหลายจงฟังคุณของพระมหามุนีให้ดี.
ท่านทั้งปวงผู้ปรารถนาพระนิพพาน อันเป็นโอสถวิเศษ
จงมีใจผ่องใส ฟังถ้อยคำอันดีอ่อนหวานไพเราะ ของพระ-
ปัจเจกสัมพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณใหญ่ ตรัสรู้ด้วยตนเองเถิด.

237
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 238 (เล่ม 70)

คำพยากรณ์โดยสืบ ๆ กันมาเหล่าใด ของพระปัจเจก-
พุทธเจ้าทั้งหลายผู้มาประชุมกัน โทษ เหตุปราศจากราคะ
และพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย บรรลุพระโพธิญาณ ด้วย
ประการใด.
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย มีสัญญาในวัตถุอันมีราคะ
ว่า ปราศจากราคะ มีจิตปราศจากกำหนัด ในโลกอันกำหนัด
ละธรรมเครื่องเนิ่นช้า ชนะทิฏฐิอันดิ้นรน แล้วได้บรรลุ
พระโพธิสัตว์ ณ สถานที่นั้นเอง.
ท่านวางอาญาในสัตว์ทั้งปวงเสียแล้ว ไม่เบียดเบียนสัตว์
แม้ตนเดียว ในบรรดาสัตว์เหล่านั้น มีจิตประกอบด้วยเมตตา
หวังประโยชน์เกื้อกูล พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรด
ฉะนั้น.
ท่านวางอาญาในปวงสัตว์ ไม่เบียดเบียนแม้ผู้หนึ่งใน
บรรดาสัตว์เหล่านั้น ไม่ปรารถนาบุตร ที่ไหนจะปรารถนา
สหาย พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.
ความมีเสน่หาย่อมมีแก่ผู้เกี่ยวข้อง ทุกข์ที่อาศัยความ
เสน่หานี้มีมากมาย ท่านเล็งเห็นโทษอันเกิดแต่ความเสน่หา
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
บุคคลผู้อนุเคราะห์มิตรสหาย มีจิตใจผูกพัน ย่อมทำ
ประโยชน์ให้เสื่อมไป ท่านเล็งเห็นภัยในความสนิทสนมข้อนี้
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.

238
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 239 (เล่ม 70)

ความเสน่หาในบุตรและภรรยา เปรียบเหมือนไม้ไผ่
กอไผ่เกี่ยวพันกันอยู่ ท่านไม่ข้องในบุตรและภรรยา ดัง
หน่อไม้ไผ่ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.
เนื้อในป่าไม้ถูกมัด เที่ยวหาเหยื่อด้วยความปรารถนา
ฉันใด ท่านเป็นวิญญูชนมุ่งความเสรี พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เช่นกับนอแรด ฉันนั้น.
ในท่ามกลางหมู่สหาย ย่อมจะมีการปรึกษาหารือกัน ทั้ง
ในที่อยู่ ที่ยืน ที่เดิน และที่หากิน ท่านเล็งเห็นความไม่
ละโมบ ความเสรี พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นเดียวกับนอแรดฉะนั้น.
การเล่นในท่ามกลางหมู่สหาย เป็นความยินดีและความ
รักในบุตรภรรยา เป็นสิ่งที่กว้างใหญ่ไพศาล ท่านเกลียด
ความพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เสมือนนอแรดฉะนั้น.
ท่านแผ่เมตตาไปทั้ง ๔ ทิศ ไม่มีความโกรธเคือง ยินดี
ด้วยปัจจัยตามมีตามได้ อดทนต่ออันตรายทั้งหลายได้ ไม่
หวาดเสียว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเสมือนนอแรดฉะนั้น.
แม้คนผู้บวชแล้วบางพวก และพวกคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน
สงเคราะห์ได้ยาก ท่านจึงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยในบุตร
ของคนอื่น พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ท่านปลงเครื่องหมายของคฤหัสถ์ เป็นผู้กล้าหาญ ตัด
เครื่องผูกของคฤหัสถ์ เสมือนต้นทองหลางมีใบขาดมาก
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

239
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 240 (เล่ม 70)

ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ประพฤติเช่นเดียว
กัน อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงครอบงำอันตราย
ทั้งปวง มีใจดี มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.
ถ้าไม่ได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน ผู้อยู่ด้วยกรรมดี เป็น
นักปราชญ์ ไว้เป็นเพื่อนเที่ยวไปด้วยกัน พึงเป็นผู้เดียวเที่ยว
ไป เหมือนพระราชา ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เที่ยว
ไปพระองค์เดียว ดังช้างชื่อมาตังคะ ละโขลงอยู่ในป่าฉะนั้น.
ความจริง เราย่อมสรรเสริญความถึงพร้อมด้วยสหาย พึง
คบหาสหายผู้ประเสริฐกว่า หรือผู้ที่เสมอกัน เมื่อไม่ได้สหาย
เหล่านั้น ก็พึงคบหากรรมอันไม่มีโทษ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านเห็นกำไลมือทองคำอันผุดผ่อง ที่นายช่างทองทำ
เสร็จแล้ว กระทบกันอยู่ที่แขนทั้งสอง (เกิดความเบื่อหน่าย)
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
การเปล่งวาจา หรือวาจาเครื่องข้องของเรานั้น พึงมีกับ
เพื่อนอย่างนี้ ท่านเล็งเห็นภัยนี้ต่อไป พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไป
เช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร หวานอร่อย เป็นที่รื่นรมย์ใจ
ย่อมย่ำยีจิตด้วยสภาพต่าง ๆ ท่านเห็นโทษในกามคุณทั้งหลาย
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ความจัญไร หัวฝี อุบาทว์ โรค กิเลสดุจลูกศร และ

240
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 241 (เล่ม 70)

ภัยนี้ของเรา ท่านเห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลาย พึงเป็นผู้เดียว
เที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านครอบงำอันตรายแม้ทั้งหมดนี้ คือ หนาว ร้อน
ความหิว ความกระหาย ลม แดด เหลือบ ยุง และสัตว์
เลื้อยคลาน แล้วพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.
ท่านพึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรด เปรียบเหมือน
ช้างมีขันธ์เกิดพร้อมแล้ว สีกายดังดดอกปทุมใหญ่โต ละโขลง
อยู่ในป่าตามชอบใจฉะนั้น.
ท่านใคร่ครวญถ้อยคำของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธุ์
พระอาทิตย์ว่า บุคคลพึงถูกต้องวิมุตติอันเกิดเอง นี้มิใช่ฐานะ
ของผู้ทำความคลุกคลีด้วยหมู่ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับ
นอแรดฉะนั้น.
ท่านเป็นไปล่วงทิฏฐิอันเป็นข้าศึก ถึงความแน่นอน มี
มรรคอันได้แล้ว เป็นผู้มีญาณเกิดขึ้นแล้ว อันคนอื่นไม่ต้อง
แนะนำ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านไม่มีความโลภ ไม่โกง ไม่ระหาย ไม่ลบหลู่คุณท่าน
มีโมหะดุจน้ำฝาดอันกำจัดแล้ว เป็นผู้ไม่มีตัณหาในโลก
ทั่งปวง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
กุลบุตรพึงละเว้นสหายผู้ลามก ผู้มักชี้แต่ความฉิบหาย
ตั้งอยู่ในฐานะผิดธรรมดา ไม่พึงเสพสหายผู้ขวนขวาย ผู้
ประมาทด้วยตนเอง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรด
ฉะนั้น.

241
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 242 (เล่ม 70)

กุลบุตรพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรงธรรม มีคุณยิ่ง มี
ปฏิภาณ รู้ประโยชน์ทั้งหลาย บรรเทาความสงสัยแล้ว
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านไม่พอใจการเล่น ความยินดี และกามสุขในโลก
ไม่ห่วงใย งดเว้นจากฐานะที่ตกแต่ง มีปกติกล่าวคำสัตย์
พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านละบุตร ภรรยา บิดา มารดา ทรัพย์ ข้าวเปลือก
พวกพ้อง และกามทั้งหลายตามที่มีอยู่มากมาย พึงเป็นผู้เดียว
เที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
นี้เป็นความเกี่ยวข้อง ในความเกี่ยวข้องนี้ มีสุขนิดหน่อย
มีความพอใจน้อย มีทุกข์มากยิ่ง บุรุษผู้มีความรู้ทราบว่า
ความเกี่ยวข้องนี้ดุจลูกธนู พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับ
นอแรดฉะนั้น.
กุลบุตรพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย เปรียบเหมือนปลา
ทำลายข่ายแล้วไม่กลับมา ดังไฟไม้เชื้อลามไปแล้วไม่กับ
มา พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
พึงทอดจักษุลง ไม่คะนองเท้า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว
รักษาใจไว้ได้ อันราคะไม่รั่วรด อันไฟกิเลสไม่เผาลน พึง
เป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านละเครื่องหมายแห่งคฤหัสถ์ เหมือนต้นทองหลาง
มีใบขาดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชแล้ว พึงเป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปเหมือนนอแรดฉะนั้น.

242
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 243 (เล่ม 70)

ท่านไม่กระทำความกำหนัดในรส ไม่โลเล ไม่ต้องเลี้ยง
ผู้อื่น เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก มีจิตไม่ข้องเกี่ยวใน
สกุล ฟังเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านละนิวรณ์เครื่องกั้นจิต ๕ ประการ บรรเทาอุปกิเลส
เสียทั้งสิ้น ไม่อาศัยตัณหาและทิฏฐิ ตัดโทษอันเกิดแต่สิเนหา
แล้ว พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านทำสุข ทุกข์ โทมนัส และโสมนัสก่อน ๆ ไว้เบื้อง
หลัง ได้อุเบกขา สมถะ และความหมดจดแล้ว พึงเป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านปรารภความเพียรเพื่อบรรลุพระนิพพาน มีจิตไม่หดหู่
ไม่ประพฤติเกียจคร้าน มีความเพียรมั่น ประกอบด้วยกำลัง
เรี่ยวแรง พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มีปกติประพฤติธรรมสมควร
แก่ธรรมเป็นนิตย์ พิจารณาเห็นโทษในภพทั้งหลาย พึงเป็น
ผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.
ท่านปรารถนาความสิ้นตัณหา ไม่ประมาท เป็นผู้ฉลาด
เฉียบแหลม เป็นผู้สดับตรับฟัง มีสติ มีธรรมอันพิจารณา
แล้ว เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่น
กับนอแรดฉะนั้น.
ท่านไม่สะดุ้งเพราะเสียง ดุจสีหะ ไม่ข้องอยู่ในตัณหา
และทิฏฐิ เหมือนลมไม่ติดตาข่าย ไม่ติดอยู่ในโลก ดุจดอก
ปทุมไม่ติดน้ำ พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปเช่นกับนอแรดฉะนั้น.

243