No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 224 (เล่ม 70)

ความเป็นผู้เลิศด้วยลาภและเลิศด้วยยศ ปรากฏดุจพระจันทร์เพ็ญในอากาศ
ฉะนั้น.
แม้ด้วยการด่าว่าถึงอย่างนั้น พวกเดียรถีย์ก็ยังไม่พอใจ ให้นาง
สุนทรีทำการด่าว่าอีก ให้เรียกพวกนักเลงสุรามาให้ค่าจ้างแล้วสั่งว่า พวก
ท่านจงฆ่านางสุนทรีแล้วปิดด้วยขยะดอกไม้ในที่ใกล้ประตูพระเชตวัน พวก
นักเลงสุราเหล่านั้นได้กระทำอย่างนั้น แต่นั้น พวกเดียรถีย์จึงกราบทูล
แก่พระราชาว่า ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่พบเห็นนางสุนทรี. พระราชา
รับสั่งว่า พวกท่านจงค้นดู เดียรถีย์เหล่านั้นจึงเอามาจากที่ที่ตนให้โยน
ไว้แล้วยกขึ้นสู่เตียงน้อยแสดงแก่พระราชา แล้วเที่ยวโฆษณาโทษของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ในพระนครทั้งสิ้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่าน
ทั้งหลายจงเห็นการกระทำของพระสมณโคดมและของพวกสาวก. แล้ว
วางนางสุนทรีไว้บนแคร่ในป่าช้าผีดิบ. พระราชารับสั่งว่า ท่านทั้งหลาย
จงค้นหาคนฆ่านางสุนทรี.
ครั้งนั้น พวกนักเลงดื่มสุราแล้วทำการทะเลาะกันว่า เจ้าฆ่านาง-
สุนทรี เจ้าฆ่า. ราชบุรุษทั้งหลาย จึงจับพวกนักเลงเหล่านั้นแสดงแก่
พระราชา พระราชาตรัสถามว่า แน่ะพนาย พวกเจ้าฆ่านางสุนทรีหรือ?
นักเลงเหล่านั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ. พระราชาตรัส
ถามว่า พวกใครสั่ง ? นักเลงทูลว่า พวกเดียรถีย์สั่ง พระเจ้าข้า. พระราชา-
จึงให้นำพวกเดียรถีย์มาแล้วให้จองจำพันธนาการแล้วรับสั่งว่า แน่ะพนาย
พวกเจ้าจงไปป่าวร้องว่า เราทั่งหลายให้ฆ่านางสุนทรีเองแหละ โดยความ
จะให้เป็นโทษแก่พระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าและสาวกทั้งหลายของ
พระองค์ไม่ได้เป็นผู้กระทำ. พวกเดียรถีย์ได้กระทำอย่างนั้นแล้ว. ชาว

224
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 225 (เล่ม 70)

พระนครทั้งสิ้นต่างเป็นผู้หมดความสงสัย. พระราชาทรงให้ฆ่าพวกเดียรถีย์
และพวกนักเลงแล้วให้ทิ้งไป. แต่นั้น ลาภสักการะเจริญพอกพูนแก่
พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยยิ่งกว่าประมาณ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค-
เจ้าจงตรัสว่า
เราเป็นพราหมณ์เรียนจบแล้ว เป็นผู้อันมหาชนสักการะ
บูชา ได้สอนมนต์กะมาณพ ๕๐๐ คนในป่าใหญ่.
พระฤๅษีผู้กล้า สำเร็จอภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก มาในที่นี้
นั้น และเราได้เห็นพระฤๅษีนั้นมาแล้ว ได้กล่าวตู่ว่าท่านผู้ไม่
ประทุษร้าย.
แต่นั้น เราได้บอกกะศิษย์ทั้งหลายว่า ฤๅษีนี้เป็นผู้บริโภค
กาม แม้เมื่อเราบอกอยู่ มาณพทั้งหลายก็พลอยยินดีตาม.
แต่นั้น มาณพทุกคนเที่ยวภิกขาไปทุก ๆ ตระกูล ก็บอก
กล่าวแก่มหาชนว่า ฤๅษีนี้บริโภคกาม.
เพราะวิบากของกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้จึงได้รับการ
กล่าวตู่ด้วยกันทั้งหมด เพราะเหตุแห่งนางสุนทรี.
ปัญหาข้อที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สิลาเวโธ ได้แก่ ผู้มีจิตอันโทสะกระทบแล้ว กลิ้งศิลาทับ.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์และน้องชายเป็นลูกพ่อเดียวกัน เมื่อ
บิดาล่วงลับไปแล้ว พี่น้องทั้งสองนั้น ทำการทะเลาะกัน เพราะอาศัย
พวกทาส จึงได้คิดร้ายกันและกัน พระโพธิสัตว์กดทับน้องชายไว้ด้วย
ความที่ตนเป็นผู้มีกำลัง แล้วกลิ้งหินทับลงเบื้องบนน้องชายนั้น. เพราะ

225
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 226 (เล่ม 70)

วิบากของกรรมนั้น พระโพธิสัตว์นั้นได้เสวยทุกข์ในนรกเป็นต้นหลาย
พันปี ในอัตภาพหลังสุดนี้ได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า.
พระเทวทัตผู้เป็นพระมาตุลาของพระราหุลกุมาร ในชาติก่อนได้
เป็นพ่อค้ากับพระโพธิสัตว์ ในครั้งเป็นพ่อค้าชื่อว่า เสริพาณิช พ่อค้า
ทั้งสองนั้นไปถึงปัฏฏนคาม บ้านอันตั้งอยู่ใกล้ท่าแห่งหนึ่ง จึงตกลงกันว่า
ท่านจงถือเอาถนนสายหนึ่ง แม้เราก็จะถือเอาถนนสายหนึ่ง แล้วทั้งสอง
คนก็เข้าไป. บรรดาคนทั้งสองนั้น ในถนนสายที่พระเทวทัตเข้าไป
ได้มีคน ๒ คนเท่านั้น คือภรรยาของเศรษฐีเก่าคนหนึ่ง หลานสาวคนหนึ่ง
ถาดทองใบใหญ่ของคนทั้งสองนั้น ถูกสนิมจับ เป็นของที่เขาวางปนไว้
ในระหว่างภาชนะ. ภรรยาของเศรษฐีเก่านั้นไม่รู้ว่าภาชนะทอง จึงกล่าว
กะท่านเทวทัตนั้นว่า ท่านจงเอาถาดใบนี้ไปแล้วจงให้เครื่องประดับมา.
เทวทัตนั้นจับถาดใบนั้นแล้วเอาเข็มขีดดู รู้ว่าเป็นถาดทอง แล้วคิดว่า
เราจักให้นิดหน่อยแล้วถือเอา จึงไปเสีย.
ลำดับนั้น หลานสาวเห็นพระโพธิสัตว์มายังที่ใกล้ประตู จึงกล่าวว่า
ข้าแต่แม่เจ้า ขอท่านจงให้เครื่องประดับ กัจฉปุฏะ แก่ดิฉัน. ภรรยา
เศรษฐีเท่านั้นจึงให้เรียกพระโพธิสัตว์นั้นมา ให้นั่งลงแล้วจึงให้ภาชนะ
นั้นแล้วจึงกล่าวว่า ท่านจงถือเอาภาชนะนี้แล้วจงให้เครื่องประดับกัจฉปุฏะ
แก่หลานสาวของข้าพเจ้า. พระโพธิสัตว์จับภาชนะนั้น รู้ว่าเป็นภาชนะ
ทอง และรู้ว่า นางถูกเทวทัตนั้นลวง จึงเก็บ ๘ กหาปณะไว้ในถุง
เพื่อตน และให้สินค้าที่เหลือ ให้ประดับเครื่องประดับ กัจฉปุฏะ ที่มือ
ของนางกุมาริกาแล้วก็ไป. พ่อค้านั้นหวนกลับมาถามอีก. ภรรยาเศรษฐี
นั้นกล่าวว่า นี่แน่ะพ่อ ท่านไม่เอา บุตรของเราให้สิ่งนี้ ๆ แล้วถือเอา

226
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 227 (เล่ม 70)

ถาดใบนั้นไปเสียแล้ว. พ่อค้านั้นพอได้ฟังดังนั้น มีหทัยเหมือนจะแตก
ออก จึงวิ่งติดตามไป. พระโพธิสัตว์ขึ้นเรือแล่นไปแล้ว. พ่อค้านั้น
กล่าวว่า หยุด! อย่าหนี อย่าหนี แล้วได้ทำความปรารถนาว่า เราพึง
สามารถทำให้มันฉิบหายในภพที่เกิดแล้ว ๆ.
ด้วยอำนาจความปรารถนา พ่อค้านั้นเบียดเบียนกันและกันหลาย
แสนชาติ ในอัตภาพนี้ บังเกิดในสักยตระกูล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ แล้วประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ได้
ไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับเจ้าอนุรุทธะเป็นต้น แล้ว
บวช เป็นผู้ได้ฌานปรากฏแล้ว ทูลขอพรพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ทั้งปวง จงสมาทานธุดงค์ ๑๓ มีเที่ยว
บิณฑบาตเป็นวัตรเป็นต้น ภิกษุสงฆ์ทั้งสิ้นจงเป็นภาระของข้าพระองค์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุญาต พระเทวทัตผูกเวร จึงเสื่อมจากฌาน
ต้องการจะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคเจ้า วันหนึ่ง ยืนอยู่เบื้องบน
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับยืนอยู่ที่เชิงเขาเวภาระ๑ กลิ้งยอดเขาลงมา ด้วย
อานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า ยอดเขายอดอื่นรับเอายอดเขานั้นที่กำลัง
ตกลงมา. สะเก็ดหินที่ตั้งขึ้นเพราะยอดเขาเหล่านั้นกระทบกัน ปลิวมา
กระทบหลังพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เมื่อชาติก่อน เราฆ่าน้องชายต่างมารดา เพราะเหตุแห่ง
ทรัพย์ เราใส่ลงในซอกหิน และบดขยี้ด้วยหิน
เพราะวิบากของกรรมนั้น พระเทวทัตจึงกลิ้งหิน ก้อนหิน
บดขยี้นิ้วหัวแม่เท้าของเรา.
๑. ที่อื่นเป็น เขาคิชฌกูฏ.

227
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 228 (เล่ม 70)

ปัญหาข้อที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
สะเก็ดหินกระทบ ชื่อว่า สกลิกาเวธะ. ได้ยินว่า ในอดีตกาล
พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลหนึ่ง ในเวลาเป็นเด็ก กำลังเล่นอยู่ที่ถนน
ใหญ่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเที่ยวบิณฑบาตอยู่ในถนนคิดว่า สมณะโล้น
นี้จะไปไหน จึงถือเอาสะเก็ดหินขว้างไปที่หลังเท้าของท่าน. หนังหลังเท้า
ขาด โลหิตไหลออก. เพราะกรรมอันลามกนั้น พระโพธิสัตว์นั้นได้
เสวยทุกข์อย่างมหันต์ในนรกหลายพันปี แม้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้เกิด
การห้อพระโลหิตขึ้น เพราะสะเก็ดหินกระทบที่หลังพระบาท ด้วยอำนาจ
กรรมเก่า. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า
ในกาลก่อน เราเป็นเด็กเล่นอยู่ที่หนทางใหญ่ เห็นพระ-
ปัจเจกพุทธเจ้าในหนทาง จึงขว้างสะเก็ดหินใส่.
เพราะวิบากของกรรมนั้น ในภพหลังสุดนี้ พระเทวทัต
จึงประกอบนายขมังธนูเพื่อฆ่าเรา.
ปัญหาข้อที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ช้างธนปาลกะที่เขาส่งไปเพื่อต้องการให้ฆ่า ชื่อว่า ช้างนาฬาคิรี.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นคนเลี้ยงช้าง ขึ้นช้าง
เที่ยวไปอยู่ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในหนทางใหญ่ คิดว่า คนหัวโล้น
มาจากไหน เป็นผู้มีจิตถูกโทสะกระทบแล้ว เกิดเป็นดุจตะปูตรึงใจ ได้
ทำช้างให้ขัดเคือง. ด้วยกรรมนั้น พระโพธิสัตว์จึงได้เสวยทุกข์ในอบาย
หลายพันปี ในอัตภาพหลังสุดได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า. พระเทวทัต
กระทำพระเจ้าอชาตศัตรูให้เป็นสหายแล้วให้สัญญากันว่า มหาบพิตร
พระองค์ปลงพระชนม์พระบิดาแล้วจงเป็นพระราชา อาตมภาพฆ่าพระ-

228
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 229 (เล่ม 70)

พุทธเจ้าแล้วจักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ อยู่มาวันหนึ่ง ไปยังโรงช้างตาม
ที่พระราชาทรงอนุญาต แล้วสั่งคนเลี้ยงช้างว่า พรุ่งนี้ ท่านจงให้ช้าง
นาฬาคิรีดื่มเหล้า ๑๖ หม้อ แล้วจงปล่อยไปในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต. พระนครทั้งสิ้นได้มีเสียงเอิกเกริกมากมาย. ชน
ทั้งหลายกล่าวกันว่า เราจักดูการต่อยุทธ์ของนาคคือช้าง กับนาคคือ
พระพุทธเจ้า ดังนี้แล้วพากันผูกเตียงและเตียงซ้อน ในถนนหลวง จาก
ด้านทั้งสอง แล้วประชุมกันแต่เช้าตรู่.
ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระแล้ว อัน
หมู่ภิกษุห้อมล้อมเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์. ขณะนั้น พวก
คนเลี้ยงช้างปล่อยช้างนาฬาคิรี โดยทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. ช้าง
นาฬาคิรีทำลายถนนและทางสี่แพร่งเป็นต้นเดินมา ครั้งนั้น หญิงผู้หนึ่งพา
เด็กเดินข้ามถนน ช้างเห็นหญิงนั้นจึงไล่ติดตาม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
นี่แน่ะนาฬาคิรี เธอถูกเขาส่งมาเพื่อจะฆ่าหญิงนั้นก็หามิได้ เธอจงมาทางนี้.
ช้างนั้นได้ฟังเสียงนั้นแล้ว ก็วิ่งบ่ายหน้ามุ่งไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแผ่เมตตาอันควรแก่การแผ่ในจักรวาล อันหา
ประมาณมิได้ ในสัตว์อันหาที่สุดมิได้ ไปในช้างนาฬาคิรีตัวเดียวเท่านั้น.
ช้างนาฬาคิรีนั้นอันพระเมตตาของพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกต้องแล้ว กลาย
เป็นช้างที่ไม่มีภัย หมอบลงแทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงวางพระหัตถ์ลงบนกระหม่อมของช้างนาฬาคิรีนั้น. ครั้งนั้น
เทวดาและพรหมเป็นต้นเกิดจิตอัศจรรย์ไม่เคยเป็น จึงพากันบูชาด้วย
ดอกไม้และเกสรดอกไม้เป็นต้น. ในพระนครทั้งสิ้น ได้มีกองทรัพย์

229
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 230 (เล่ม 70)

ประมาณถึงเข่า. พระราชารับสั่งให้เที่ยวตีกลองป่าวร้อง ทรัพย์ที่ประตู
ด้านทิศตะวันตกจงเป็นของชาวพระนคร ทรัพย์ที่ประตูด้านทิศตะวันออก
จงนำเข้าท้องพระคลังหลวง. คนทั้งปวงกระทำอย่างนั้นแล้ว. ในครั้งนั้น
ช้างนาฬาคิรีได้มีชื่อว่า ธนบาล. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังพระ-
เวฬุวนาราม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า.
ในกาลก่อน เราได้เป็นนายควาญช้าง ได้ทำช้างให้โกรธ
พระปัจเจกมุนีผู้สูงสุด ผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตรอยู่นั้น.
เพราะวิบากของกรรมนั้น ช้างนาฬาคิรีตัวดุร้ายหมุนเข้า
มาประจัญในบุรีอันประเสริฐ ชื่อว่า คิริพพชะ คือกรุง
ราชคฤห์.
ปัญหาข้อที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การผ่าฝีด้วยศัสตรา คือ ตัดด้วยผึ่ง ด้วยศาสตรา ชื่อว่า สัตถัจ-
เฉทะ. ได้ยินว่า ในอดีตกาลพระโพธิสัตว์ได้เป็นพระราชาในปัจจันต-
ประเทศ พระโพธิสัตว์นั้นเป็นนักเลง ด้วยอำนาจการคลุกคลีกับคนชั่ว
และด้วยอำนาจการอยู่ในปัจจัยตประเทศ เป็นคนหยาบช้า อยู่มาวันหนึ่ง
ถือมีดเดินเท้าเปล่า เที่ยวไปในเนือง ได้เอามีดฆ่าฟันคนผู้ไม่มีความผิด
ได้ไปแล้ว. ด้วยวิบากของกรรมอันลามกนั้น พระโพธิสัตว์นั้นไหม้ใน
นรกหลายพันปี เสวยทุกข์ในทุคติ มีสัตว์เดียรัจฉานเป็นต้น ด้วยวิบาก
ที่เหลือ ในอัตภาพหลังสุดแม้ได้เป็นพระพุทธเจ้า หนึ่งก็ได้เกิดห้อพระ-
โลหิตขึ้น เพราะก้อนหินที่พระเทวทัตกลิ้งใส่กระทบเอา โดยนัยดังกล่าว
ในหนหลัง. หมอชีวกผ่าหนังที่บวมขึ้นนั้นด้วยจิตเมตตา. การทำพระ-

230
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 231 (เล่ม 70)

โลหิตให้ห้อขึ้นของพระเทวทัตผู้มีจิตเป็นข้าศึก ได้เป็นอนันตริยกรรม.
การผ่าหนังที่บวมขึ้นของหมอชีวกผู้มีจิตเมตตา ได้เป็นบุญอย่างเดียว.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เราเป็นคนเดินเท้า ฆ่าคนทั้งหลายด้วยหอก ด้วยวิบาก
ของกรรมนั้น เราถูกไฟไหม้อยู่ในนรกอย่างรุนแรง.
ด้วยเศษของกรรมนั้น มาบัดนี้เขาจึงตัดหนังที่เท้าของเรา
เสียสิ้น เพราะยังไม่หมดกรรม.
ปัญหาข้อที่ ๙ มีวินิจฉัยต่อไปนี้.
อาพาธที่ศีรษะ คือเวทนาที่ศีรษะ ชื่อว่า สีสทุกขะ ทุกข์ที่ศีรษะ.
ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นชาวประมง ในหมู่บ้าน
ชาวประมง. วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นกับพวกบุรุษชาวประมง ไปยัง
ที่ที่ฆ่าปลา เห็นปลาทั้งหลายตาย ได้ทำโสมนัสให้เกิดขึ้นในข้อที่ปลาตาย
นั้น แม้บุรุษชาวประมงที่ไปด้วยกัน ก็ทำความโสมนัสให้เกิดขึ้นอย่างนั้น
เหมือนกัน. ด้วยอกุศลกรรมนั้น พระโพธิสัตว์ได้เสวยทุกข์ในอบายทั้ง ๔
ในอัตภาพหลังสุดนี้ ได้บังเกิดขึ้นตระกูลศากยราช พร้อมกับบุรุษเหล่านั้น
แม้จะได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับแล้ว ก็ยังได้เสวยความ
เจ็บป่วยที่ศีรษะด้วยตนเอง และเจ้าศากยะเหล่านั้น ถึงความพินาศกันหมด
ในสงความของเจ้าวิฑูฑภะ โดยนัยดังกล่าวไว้ในอรรถกถาธรรมบท. ด้วย
เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
เราเป็นลูกชาวประมงในหมู่บ้านชาวประมง เห็นปลา
ทั้งหลายถูกฆ่า ได้ยังความโสมนัสดีใจให้เกิดขึ้น.

231
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 232 (เล่ม 70)

เพราะวิบากของกรรมนั้น ความทุกข์ที่ศีรษะได้มีแก่เรา
แล้ว ในคราวที่เจ้าวิฑูฑภะฆ่าสัตว์ทั้งหมด (คือเจ้าศากยะ)
แล้ว.
ปัญหาข้อที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การกินข้าวสารแห่งข้าวแดงในเมืองเวสาลี ชื่อว่า ยวขาทนะ การ
กินข้าวแดง. ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลหนึ่ง
เพราะอำนาจชาติและเพราะความเป็นอันธพาล เห็นสาวกทั้งหลายของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าผุสสะ ฉันข้าวน้ำอันอร่อย และโภชนะแห่งข้าวสาลี
เป็นต้น จึงด่าว่า เฮ้ย ! พวกสมณะโล้น พวกท่านจงกินข้าวแดงเถอะ
อย่ากินโภชนะแห่งข้าวสาลีเลย. เพราะวิบากแห่งอกุศลกรรมนั้น พระ-
โพธิสัตว์จึงเสวยทุกข์อยู่ในอบายทั้ง ๔ หลายพันปี ในอัตภาพหลังสุดนี้
ถึงความเป็นพระพุทธเจ้าโดยลำดับ เมื่อทรงกระทำความอนุเคราะห์ชาว
โลก เสด็จเที่ยวไปในคาม นิคม และราชธานีทั้งหลาย. สมัยหนึ่ง เสด็จ
ถึงโคนไม้สะเดาอันสมบูรณ์ด้วยกิ่งและค่าคบ ณ ที่ใกล้เวรัญชพราหมณ-
คาม. เวรัญชพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อไม่อาจเอาชนะ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้โดยเหตุหลายประการ ได้เป็นพระโสดาบันแล้ว
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การเสด็จเข้าจำพรรษาในที่นี้แหละ
ย่อมควร. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำนิมนต์โดยดุษณีภาพ.
ครั้นจำเดิมแต่วันรุ่งขึ้นไป มารผู้มีบาปได้กระทำการดลใจชาวบ้าน
เวรัญชพราหมณคามทั้งสิ้น ไม่ได้มีแม้แต่คนเดียวผู้จะถวายภิกษาสักทัพพี
หนึ่ง แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จเข้าไปบิณฑบาต เพราะเนื่องด้วยมาร
ดลใจ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีบาตรเปล่า อันภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมเสด็จ

232
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ – หน้าที่ 233 (เล่ม 70)

กลับมา. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จกลับมาอย่างนั้น พวกพ่อค้าม้า
ที่อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ ได้ถวายทานในวันนั้น จำเดิมแต่วันนั้นไป ได้
นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวาร แล้วทำการแบ่งจาก
ภิกษุทั้งหลาย. เทวดาในพันจักรวาลแห่งจักรวาลทั้งสิ้น พากันใส่ทิพโอชะ
เหมือนในวันที่นางสุชาดาหุงข้าวปายาส. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว
พระองค์เสวยข้าวแดงตลอดไตรมาส ด้วยประการอย่างนี้ เมื่อล่วงไป ๓
เดือน การดลใจของมารก็หายไปในวันปวารณา เวรัญชพราหมณ์ระลึก
ขึ้นได้ถึงความสลดใจอย่างใหญ่หลวง จึงถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มี
พระพุทธเจ้าเป็นประธาน ถวายบังคมแล้วขอให้ทรงอดโทษ ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลาย ในศาสนาของพระ-
พุทธเจ้า พระนามว่า ผุสสะ ว่า พวกท่านจงเคี้ยว จงกินแต่
ข้าวแดง อย่ากินข้าวสาลีเลย
ด้วยวิบากของกรรมนั้น เราจึงได้เคี้ยวกินข้าวแดงตลอด
ไตรมาส เพราะว่า ในคราวนั้น เราอันพราหมณ์นิมนต์แล้ว
จึงได้อยู่ในบ้านเวรัญชา.
ปัญหาข้อที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
อาพาธที่หลัง ชื่อว่า ปิฏฐิทุกขะ ทุกข์ที่หลัง. ได้ยินว่า ในอดีต-
กาล พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคหบดี สมบูรณ์ด้วยกำลัง ได้เป็นคน
ค่อนข้างเตี้ย. สมัยนั้น นักต่อสู้ด้วยการต่อสู้ด้วยมวยปล้ำคนหนึ่ง เมื่อ
การต่อสู้ด้วยมวยปล้ำกำลังดำเนินไปอยู่ในคามนิคม และราชธานีทั้งหลาย

233