No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 94 (เล่ม 65)

บทว่า วชฺเชยฺย ได้แก่ พึงเว้นข้างหน้า.
บทว่า วิวุชฺเชยฺย ได้แก่ พึงเว้นโดยประมาณของงูนั้น.
บทว่า ปริวชฺเชยฺย ได้แก่ พึงเว้นโดยรอบ.
บทว่า อภินิวชฺเชยฺย ได้แก่ พึงเว้นประมาณ ๔ ศอก.
อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทแรก พึงเว้นแต่หัว. ด้วยบทที่ ๒ และที่ ๓
พึงเว้นข้างทั้งสอง. ด้วยบทที่ ๔ พึงเว้นข้างหลัง.
อนึ่ง พึงเว้น เพราะความเป็นวัตถุแห่งทุกข์ ซึ่งมีการแสวงหาเป็น
มูลของผู้ที่ยังไม่ถึงกามทั้งหลาย. พึงหลีก เพราะความเป็นวัตถุแห่งทุกข์
ซึ่งมีการรักษาเป็นมูลของผู้ที่ถึงกามแล้ว. พึงเลี่ยง เพราะความเป็นวัตถุ
แห่งทุกข์ที่เร่าร้อนเพราะความไม่รู้. พึงอ้อมหนี เพราะความเป็น
วัตถุแห่งทุกข์ที่เกิดจากความพลัดพรากจากของรักในปากแห่งความพินาศ
อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ชื่อว่า ความกำหนัด ด้วยสามารถความยินดี.
ชื่อว่า ความพอใจ เพราะความเป็นเพื่อนของเหล่าสัตว์ในอารมณ์
ทั้งหลาย.
ชื่อว่า ความชอบใจ เพราะอรรถว่า ยินดี.
อธิบายว่า ปรารถนา ชื่อว่า ความเพลิดเพลิน เพราะอรรถว่า
เป็นเครื่องเพลิดเพลิน ในภพใดภพหนึ่งของเหล่าสัตว์ หรือเพลิดเพลิน
เอง.
ตัณหาชื่อว่า นันทิราคะ เพราะเป็นความเพลิดเพลินด้วย เป็น
ความกำหนัดด้วย อรรถว่ายินดีด้วย.

94
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 95 (เล่ม 65)

ในบทว่า นนฺทิราโค นั้น ตัณหาที่เกิดขึ้นคราวเดียวในอารมณ์
เดียวเรียกว่านันทิ. ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ เรียกว่า นันทิราคะ.
บทว่า จิตฺตสฺส สาราโค ความว่า ความกำหนัดโค ท่านเรียก
ว่าความกำหนัดกล้า เพราะอรรถว่า ความยินดีมีกำลังเบื้องต่ำ ความกำหนัด
นั้น มิใช่ของสัตว์ เป็นความกำหนัดกล้าแห่งจิตเท่านั้น.
ชื่อว่า ความปรารถนา เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องปรารถนา
อารมณ์ทั้งหลาย.
ชื่อว่า ความหลง เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องหลงของเหล่าสัตว์
เพราะความเป็นกิเลสหนา.
ชื่อว่า ความติดใจ เพราะกลืนให้สำเร็วแล้วยึดไว้.
ชื่อว่า ความยินดี เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องต้องการ คือถึงความ
ยินดีของเหล่าสัตว์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ความยินดี เพราะอรรถว่า
หนาแน่น. ก็ความยินดีนั่นแล ท่านกล่าวว่า ชัฎแห่งป่าใหญ่ เพราะอรรถว่า
หนาแน่นเหมือนกัน ขยายบทที่ติดกันด้วยอุปสัค.
ชื่อว่า ความยินดีทั่วไป เพราะอรรถว่า ยินดีทุกอย่างหรือตามส่วน.
ชื่อว่า ความข้อง เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องข้องอยู่ของเหล่าสัตว์
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ความข้อง เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องข้อง.
ชื่อว่า ความติดพัน เพราะอรรถว่า จมลง.
ชื่อว่า ความแสวงหา เพราะฉุดคร่า. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า
ตัณหาชื่อว่าเอชาย่อมฉุดคร่าบุรุษนี้ เพื่อบังเกิดในภพนั้น ๆ นั่นแล.
ชื่อว่า มายา เพราะอรรถว่า ลวง.

95
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 96 (เล่ม 65)

ชื่อว่า ชนิกา เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ทั้งหลายให้เกิดในวัฏฏะ. สมจริง
ดังที่กล่าวไว้ว่า ตัณหาย่อมยังบุรุษให้เกิด ย่อมวิ่งเข้าสู่จิตของบุรุษนั้น.
ชื่อว่า สัญชนนี เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้เกิดประกอบไว้ด้วย
ทุกข์.
ชื่อว่า สิพฺพินี เพราะอรรถว่า ติดแน่น. เพราะตัณหานี้เย็บ
คือติดแน่นเหล่าสัตว์ไว้ในวัฏฏะ ด้วยสามารถแห่งจุติและปฏิสนธิ ดุจช่าง
เย็บ เย็บผ้าเก่าด้วยผ้าเก่า ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า ความเย็บไว้
เพราะอรรถว่า ติดแน่น.
ชื่อว่า ชาลินี เพราะอรรถว่า มีข่ายคืออารมณ์มีประการไม่น้อย.
หรือข่ายกล่าวคือความยึดมั่นด้วยการดิ้นรนแห่งตัณหา.
ชื่อว่า สริตา เพราะอรรถว่า เป็นดังกระแสน้ำที่ไหลเร็ว เพราะ
อรรถว่า ฉุดคร่า. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สริตา เพราะอรรถว่า
เปียกชุ่ม. สมจริงดังคำที่กล่าวไว้ว่า โสมนัสทั้งหลายที่ชุ่มชื่นและประกอบ
ด้วยความรักย่อมมีแก่สัตว์เกิด. ก็ในข้อนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า ทั้งชุ่มชื่น
ทั้งน่ารัก.
ชื่อว่า สุตตะ เพราะอรรถว่า เป็นดังเส้นด้ายผูกเต่า เพราะอรรถ
ว่า ให้ถึงความฉิบหายมิใช่ความเจริญ. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า สุตฺตํ นี้แล เป็นชื่อของนันทิราคะ.
ชื่อว่า วิสฏา เพราะอรรถว่า แผ่ไปในรูปเป็นนี้.
ชื่อว่า อายุหนี เพราะอรรถว่า สัตว์ย่อมยังอายุให้เสื่อมไปเพื่อต้อง
การได้เฉพาะอารมณ์นั้น ๆ

96
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 97 (เล่ม 65)

ชื่อว่า ทุติยา เพราะอรรถว่า เป็นสหาย เพราะไม่ให้กระวน
กระวาย. ก็ตัณหานี้ย่อมไม่ให้สัตว์ทั้งหลายกระวนกระวายในวัฏฏะ, ย่อม
ให้รื่นรมย์ยิ่ง. ดังสหายรัก ในที่ที่ไปแล้ว ๆ เพราะเหตุนั้นแล ท่านจึง
กล่าวว่า :-
บุรุษมีตัณหาเป็นสหาย ท่องเที่ยวไปตลอดกาลยาว
นาน ย่อมไม่ล่วงพ้นสังสารวัฏอันเป็นอย่างนี้ไม่มีอย่างอื่น.
ชื่อว่า ปณิธิ ด้วยสามารถแห่งความตั้งมั่น.
บทว่า ภวเนตฺติ ได้แก่ เชือกเครื่องนำไปสู่ภพ. จริงอยู่สัตว์ทั้ง
หลายอันตัณหานี้นำไป เหมือนโคทั้งหลายถูกเชือกผูกคอนำไปยังที่ที่
ปรารถนาแล้ว ๆ ฉะนั้น
ชื่อว่า วนะ เพราะอรรถว่า ติด คือคบ คือชุ่มอารมณ์นั้น ๆ
ขยายบทด้วยพยัญชนะเป็น วนถะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนะ เพราะ
อรรถว่า เป็นราวกะป่า, ด้วยอรรถว่า ยังทุกข์อันหาประโยชน์มิได้ให้ตั้ง
ขึ้น. และด้วยอรรถว่า รกชัฏ คำนี้เป็นชื้อของตัณหาที่มีกำลัง. แต่ตัณหา
ที่มีกำลังเท่านั้นชื่อว่า วนถะ ด้วยอรรถว่า รกชัฏกว่า. เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสไว้ว่า :-
เธอทั้งหลายจงตัดป่า อย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิด
แต่ป่า พวกเธอตัดป่าน้อยและป่าใหญ่แล้ว จงเป็นผู้หมด
ป่าเถิด ภิกษุทั้งหลาย.
ชื่อว่า สันถวะ ด้วยความสามารถแห่งความเชยชิด. อธิบายว่า
เกี่ยวข้อง สันถวะนั้นมี ๒ อย่าง คือ ตัณหาสันถวะ ความเชยชิดด้วย

97
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 98 (เล่ม 65)

ตัณหาหนึ่ง. มิตตสันถวะ ความเชยชิดด้วยไมตรีหนึ่ง. ใน ๒ อย่างนั้น
ในที่นี้ประสงค์เอาตัณหาสันถวะ.
ชื่อว่า เสน่หา ด้วยสามารถแห่งความรัก.
ชื่อว่า อเปกขา ความเพ่งเล็ง เพราะอรรถว่า เพ่งเล็งด้วยสามารถ
กระทำความอาลัย. สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ
พระนครแปดหมื่นสี่พันของพระองค์เหล่านี้. มีกุสาวดีราชธานีเป็นประมุข
ขอพระองค์จงยังความพอพระราชหฤทัยให้เกิดในพระนครนี้เถิด พระเจ้า
ข้า. ขอพระองค์โปรดการทำความเพ่งเล็งในชีวิตเถิด. ก็ในข้อนี้มีเนื้อ
ความดังนี้ว่า จงกระทำความอาลัย.
ชื่อว่า ปฏิพันธา เพราะอรรถว่า ผูกพันในอารมณ์เฉพาะอย่าง ๆ
หรือผู้มีอารมณ์เฉพาะอย่างผูกพัน ด้วยอรรถว่าเป็นญาติ. ชื่อว่าพวกพ้อง
ที่เสมอด้วยตัณหาของสัตว์ทั้งหลาย แม้ด้วยอรรถว่า อาศัยเป็นนิจ ย่อม
ไม่มี.
ชื่อว่า อาสา เพราะเป็นอาหารของอารมณ์ทั้งหลาย. อธิบายว่า
เพราะท่วมทับด้วย. เพราะความพอใจไปบริโภคด้วย.
ชื่อว่า อาสิงสนา ด้วยสามารถแห่งความจำนง. ภาวะความจำนง
ชื่ออาสิงสิตัตตะ. บัดนี้ เพื่อจะแสดงฐานะที่เป็นไปของตัณหานั้น พระ
สารีบุตรเถระจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า รูปาสา ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น พึงถือเอาเนื้อความของอาสาว่า ความหวัง. แล้ว
ทราบบททั้ง ๙ อย่างนี้ว่า ความหวังในรูป ชื่อว่า รูปาสา. ละในบทนี้
๕ บทแรกท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งกามคุณ ๕. ที่ ๖ กล่าวด้วยสามารถ

98
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 99 (เล่ม 65)

แห่งความโลภในบริขาร. บทที่ ๖ นั้นกล่าวสำหรับบรรพชิตเป็นพิเศษ.
๓ บทนอกนั้นกล่าวสำหรับคฤหัสถ์ ด้วยสามารถวัตถุอันไม่เป็นที่พอใจ
เพราะคฤหัสถ์ทั้งหลาย สิ่งซึ่งเป็นที่รักกว่าทรัพย์ บุตร ละชีวิตย่อมไม่มี
ชื่อว่า ชัปปา เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ทั้งหลายให้ปรารถนาอย่าง
นี้ว่า นี้ของเรา ๆ หรือว่าคนโน้นให้สิ่งนี้ ๆ แก่เรา. ๒ บทต่อไปท่านขยาย
ด้วยอุปสรรค. ข้อนั้นท่านกล่าวบท ชปฺปา อีกเพราะปรารภจะจำแนก
ความโดยอาการอย่างอื่น. อาการที่ปรารถนา ความเป็นไปแห่งความ
ปรารถนา. ภาวะที่จิตปรารถนา ชื่อว่า ชัปปิตัตตะ.
ชื่อว่า โลลุปปะ เพราะอรรถว่า หวั่นไหว คือฉุดคร่าไว้ในอารมณ์
บ่อย ๆ. ความเป็นแห่งความหวั่นไหว ชื่อว่า โลลุปปิตัตตะ.
อาการที่หวั่นไหว ความเป็นไปแห่งความหวั่นไหว ความเป็นแห่ง
ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยความหวั่นไหวชื่อว่า โลลุปปายิตัตตะ.
บทว่า ปุจฺฉญฺจิกตา ได้แก่ ตัณหา ที่เป็นเครื่องให้สัตว์ทั้งหลาย
หวั่นไหว คือหวั่นไหวเที่ยวไปในที่มีลาภ ดุจสุนัข. บทนี้เป็นชื่อแห่งตัณหา
เครื่องหวั่นไหวนั้น.
บทว่า สาธุกมฺยตา ได้แก่ ความใคร่ดี เพราะอรรถว่า ยัง
เหล่าสัตว์ให้ใคร่ในอารมณ์ที่น่าชอบใจ ๆ ดี. ควรเป็นแห่งความใคร่
ดีนั้น ชื่อว่า สาธุกัมยตา.
ชื่อว่า อธรรมราคะ เพราะอรรถว่า ความกำหนัดในฐานะไม่
สมควร มีมารดาและป้าน้าเป็นต้น. ความโลภที่เกิดขึ้นมีกำลังแม้ในฐานะ
ที่สมควร ชื่อว่า วิสมโลภ. ฉันทราคะที่เกิดขึ้นในฐานะที่สมควรก็ตาม

99
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 100 (เล่ม 65)

ในฐานะที่ไม่สมควรก็ตาม พึงทราบว่า อธรรมราคะ เพราะอรรถว่า
ผิดธรรม และว่า วิสมโลภะ เพราะอรรถว่า ไม่สม่ำเสมอ.
ชื่อว่า ความใคร่ ด้วยสามารถแห่งความใคร่ในอารมณ์ทั้งหลาย.
อาการแห่งความใคร่ ชื่อว่า นิกามนา. ชื่อว่า ความมุ่งหมาย ด้วย
สามารถแห่งความมุ่งหมายวัตถุ. ชื่อว่า ความปอง ด้วยสามารถแห่ง
ความต้องการ. ความปรารถนาด้วยดี ชื่อว่า ความปรารถนาดี. ตัณหา
ในกามคุณ ๕ ชื่อว่า กามตัณหา. ตัณหาในรูปภพและอรูปภพ ชื่อว่า
ภวตัณหา. ตัณหาในความไม่มี กล่าวคือขาดสูญ ชื่อว่า วิภวตัณหา.
ตัณหาในรูปภพที่บริสุทธิ์นั่นแลชื่อว่า รูปตัณหา. ตัณหาในอรูปภพ
ชื่อว่า อรูปตัณหา ได้แก่ความกำหนัดที่ประกอบด้วยอุจเฉททิฏฐิ. ตัณหา
ในนิโรธ ชื่อว่า นิโรธตัณหา. ตัณหาในเสียง ชื่อว่า สัททตัณหา.
แม้ในคันธตัณหาเป็นต้นก็นัยนี้แหละ. โอฆะเป็นต้น มีเนื้อความได้
กล่าวไว้แล้วแล.
ชื่อว่า อาวรณะ เพราะอรรถว่า กั้นกุศลธรรมทั้งหลาย.
ชื่อว่า ฉทนะ ด้วยสามารถเป็นเครื่องปิด.
ชื่อว่า พันธนะ เพราะอรรถว่า ผูกสัตว์ทั้งหลายไว้ในวัฏฏะ.
ชื่อว่า อุปกิเลส เพราะอรรถว่า เบียดเบียนจิต เศร้าหมอง คือ
ทำให้เศร้าหมอง.
ชื่อว่า อนุสยะ เพราะอรรถว่า นอนเนื่อง ด้วยอรรถว่ามีกำลัง.
ชื่อว่า ปริยุฏฐานะ เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นครอบงำจิต. ความว่า
ยึดอาจาระที่เป็นกุศลไม่ให้เกิดขึ้น อธิบายว่า ยึดมรรคา ในข้อความ

100
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 101 (เล่ม 65)

เป็นต้นว่า พวกโจรครอบงำในบรรดา พวกนักเลงครอบงำในมรรคา.
แม้ในที่นี้ก็พึงทราบการครอบงำ ด้วยอรรถว่า ยึดด้วยอาการอย่างนี้.
ชื่อว่า ลตา เพราะอรรถว่า เป็นดังเถาวัลย์ ด้วยอรรถว่า พัวพัน
แม้ในอาคตสถานว่า ตัณหาก่อความยุ่งยากตั้งอยู่ดังนี้ ตัณหานี้ท่านก็
กล่าวว่า ลตา เหมือนกัน.
ชื่อว่า เววิจฉะ เพราะอรรถว่า ปรารถนาวัตถุต่าง ๆ.
ชื่อว่า ทุกขมูล เพราะอรรถว่า เป็นมูลแห่งทุกข์ในวัฏฏะ.
ชื่อว่า ทุกขนิทาน เพราะอรรถว่า เป็นเหตุแห่งทุกข์นั้นแล.
ชื่อว่า ทุกขปภวะ แดนเกิดแห่งทุกข์ เพราะอรรถว่า ทุกข์นั้นเกิด
แต่ตัณหานี้.
ชื่อว่า ปาสะ เพราะอรรถว่า เป็นดุจบ่วง ด้วยอรรถว่า ผูกไว้,
บ่วงแห่งมาร ชื่อว่า มารปาสะ.
ชื่อว่า พฬิสะ เพราะอรรถว่า เหมือนเบ็ด ด้วยอรรถว่า
กลืนยาก, เบ็ดแห่งมาร ชื่อว่า มารพฬิสะ.
ชื่อว่า มารวิสัย เพราะอรรถว่า เป็นวิสัยแห่งมาร โดยปริยาย
นี้ว่า สัตว์ทั้งหลายที่ถูกตัณหาครอบงำแล้ว ย่อมไม่ล่วงพ้นวิสัยของมาร
ไปได้ มารย่อมใช้อำนาจเหนือสัตว์เหล่านั้น.
แม่น้ำคือตัณหา ชื่อว่า ตัณหานที ด้วยอรรถว่า ไหลไป. ข่าย
คือตัณหา ชื่อว่า ตัณหาชาละ ด้วยอรรถว่า ท่วมทับ. สุนัขทั้งหลาย
ที่ผูกไว้แน่น คนนำไปตามปรารถนาได้ ฉันใด สัตว์ทั้งหลายที่ตัณหาผูกไว้
ก็ฉันนั้น.

101
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 102 (เล่ม 65)

ชื่อว่า คัททละ เพราะอรรถว่า เป็นเหมือนโซ่ผูกสุนัข ด้วยอรรถ
ว่า ผูกไว้แน่น. โซ่ผูกสุนัข คือตัณหา ชื่อว่า ตัณหาคัททละ.
ทะเลคือตัณหา ชื่อว่า ตัณหาสมุทร ด้วยอรรถว่า ให้เต็มได้ยาก.
ชื่อว่า อภิชฌา ด้วยอรรถว่า เพ่งเล็ง. ชื่อว่า โลภะ เพราะอรรถว่า
เป็นเครื่องได้ หรือได้เอง หรือสักว่าได้เท่านั้น. ชื่อว่า มูละ ด้วย
อรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งอกุศลทั้งหลายที่ประกอบกัน.
บทว่า วิสตฺติกา ได้แก่ ชื่อว่าซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ.
บทว่า เกนตฺเถน ได้แก่ ด้วยสภาวะอะไร.
บทว่า วิสตา ได้แก่ แผ่ไปแล้ว.
ชื่อว่า วิสาล เพราะอรรถว่า แผ่ไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้น.
ชื่อว่า วิสฏา เพราะอรรถว่า แล่นไป ด้วยสามารถซ่านไปทุก
แห่งในภูมิ ๓ ก็คำแรกนี้ ท่านกล่าวจำแนกพยัญชนะ แปลง ต อักษร
เป็น ฏ อักษร.
บทว่า วิสกฺกติ ได้แก่ ปกครอง คือ อดทน ก็คนที่กำหนัด
แม้ถูกกระทบด้วยเท้าอันเป็นวัตถุแห่งราคะ ย่อมอดทนได้ ท่านกล่าว
ความซักช้า หรือความดิ้นรน ว่า วิสกฺกนํ ก็มี อาจารย์บางพวกพรรณนา
ว่า เป็นใหญ่ของกุศลและอกุศลทั้งหลาย.
บทว่า วิสํหรติ ความว่าเห็นอานิสงส์ในกามทั้งหลายอย่างนั้น ๆ
รวบรวม คือ เปลี่ยนจิตจากที่เป็นไปมุ่งเนกขัมมะ ด้วยอาการหลายอย่าง
อีกอย่างหนึ่ง ความว่า นำความทุกข์ที่มีพิษไปเสีย.

102
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 103 (เล่ม 65)

บทว่า วิสํวาทิกา ความว่า เป็นเหตุให้พูดผิดว่าท่านจงยึดถือของ
ที่ไม่เที่ยงเป็นต้น ว่าเป็นของเที่ยง.
ชื่อว่า วิสมูลา มีมูลรากเป็นพิษ เพราะความเป็นเหตุแห่งกรรม
ที่ให้เกิดทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิสมูลา เพราะอรรถว่า มีทุกข์ที่มีพิษ
คือ เวทนาที่เป็นทุกข์เป็นต้น เป็นมูลราก.
ชื่อว่า วิสผลา มีผลเป็นพิษ เพราะอรรถว่า มีผลเป็นพิษเพราะ
เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ การบริโภคสิ่งที่เป็นทุกข์มีรูปเป็นต้น ซึ่งไม่ใช่
อมตะ. ย่อมมีด้วยตัณหาใด เหตุนั้น ตัณหานั้นท่านจึงกล่าวว่า วิสปริ-
โภคา บทที่สำเร็จรูปในที่ทั้งปวง พึงทราบตามหลักภาษา.
พระสารีบุตรเถระประสงค์จะแสดงวิสัยแห่งตัณหานั้น จึงกล่าวคำ.
เป็นต้นว่า อีกอย่างหนึ่ง ตัณหานั้นแผ่ไปในรูป ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสาลา วา ปน ได้แก่ ชื่อว่า
ตัณหา ด้วยอรรถว่า เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่นั่นเอง. รูปเป็นต้นท่าน
กล่าวด้วยสามารถแห่งความกำหนัด ที่เป็นไปในกามคุณ ๕ บท. ๑๑ บท มี
บทว่า กุเล คเณ เป็นต้น ท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งความเกิดขึ้นแห่ง
ความโลภ.
ติกะแห่งกามธาตุ ท่านจำแนกด้วยสามารถแห่งกรรมวัฏฏ์.
ติกะแห่งกามภพ จำแนกด้วยสามารถแห่งวิปากวัฏฏ์.
ติกะแห่งสัญญาภพ จำแนกด้วยสามารถแห่งสัญญา
ติกะแห่งเอกโวการภพ จำแนกด้วยสามารถแห่งขันธ์.
ติกะแห่งอดีต จำแนกด้วยสามารถแห่งกาล.

103