No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 84 (เล่ม 65)

ดังนี้แล้ววางอุเบกขาที่มีความต่างกัน อาศัยความต่างกันนั้นเสีย เจริญ
อุเบกขาที่มีความเป็นอย่างเดียว อาศัยความเป็นอย่างเดียว ซึ่งเป็นที่ดับ
ความยึดมั่นโลกามิสไม่เหลือโดยประการทั้งปวง นั้นนั่นเทียว.
กามทั้งหลายชื่อว่า เปรียบด้วยชิ้นเนื้อ เพราะอรรถว่า มีชิ้นเนื้อ
ซึ่งเป็นของสาธารณ์แก่แร้งเป็นต้น เป็นเครื่องเปรียบ. ชื่อว่า สาธารณ์
แก่ชนหมู่มาก เพราะอรรถว่า เป็นของสาธารณ์แก่ชนทั้งหลายเป็นอันมาก.
ชื่อว่า เปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า เพราะอรรถว่า มีคบเพลิงหญ้าซึ่งไฟติด
ทั่วแล้ว เป็นเครื่องเปรียบ.
บทว่า อนุทหนฏฺเฐน ได้แก่ เพราะอรรถว่า เผามือเป็นต้น.
ชื่อว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า มีหลุมถ่านเพลิงลึกกว่า
ชั่วบุรุษ เต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ปราศจากควัน เป็นเครื่อง
เปรียบ.
บทว่า มหาปริฬาหฏฺเฐน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ทำให้เร่าร้อน
มาก ชื่อว่า เปรียบด้วยความฝัน เพราะอรรถว่า มีความฝันว่าอารามที่
น่ารื่นรมย์เป็นต้น เป็นเครื่องเปรียบ.
บทว่า อิตฺตร ปจฺจุปฏฺฐานฏฺเฐน ได้แก่ เพราะอรรถว่า เข้าไป
ตั้งไว้ไม่ถึง. ชื่อว่า เปรียบด้วยของขอยืม เพราะอรรถว่า มีภัณฑะมียาน
เป็นต้นที่ได้มาด้วยการขอยืม เป็นเครื่องเปรียบ.
บทว่า ตาวกาลิกฏฺเฐน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ไม่เนืองนิจ.
ชื่อว่า เปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก เพราะอรรถว่า มีต้นไม้มีผลสมบูรณ์
เป็นเครื่องเปรียบ.

84
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 85 (เล่ม 65)

บทว่า สมฺภญฺขนปริภญฺชนฏฺเฐน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ทำให้
กิ่งหัก และเพราะอรรถว่า ทำให้หักโดยรอบแล้วให้ต้นล้ม. ชื่อว่า เปรียบ
ด้วยดาบและมีด เพราะอรรถว่า มีดาบและมีด เป็นเครื่องเปรียบ.
บทว่า อธิกุฏฺฏนฏฺเฐน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ตัด. ชื่อว่า
เปรียบด้วย หอกหลาว เพราะอรรถว่า มีหอกหลาว เป็นเครื่องเปรียบ.
บทว่า วินิวิชฺฌนฏฺเฐน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ให้ล้มลงไป.
เพราะอรรถว่า ให้เกิดภัต. ชื่อว่า เปรียบด้วยหัวงู เพราะอรรถว่า มี
หัวงู เป็นเครื่องเปรียบ.
บทว่า สปฺปฎิภยฏฺเฐน ได้แก่ เพราะอรรถว่า มีภัยเฉพาะหน้า.
ชื่อว่า เปรียบด้วยกองไฟ เพราะอรรถว่า มีกองไฟที่ไห้เกิดทุกข์เป็น
เครื่องเปรียบ.
บทว่า มหคฺคิตาปนฏฺเฐน ได้แก่ เพราะอรรถว่า ให้เกิดความ
เร่าร้อน เพราะความเป็นดังไฟกองใหญ่ให้เร่าร้อน ดังนั้นจึงเว้นขาดกาม
แล. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนคฤหบดีเหมือนอย่างว่า แร้ง,
นกกระสา, หรือเหยี่ยวก็ตาม กัดคาบเอาชิ้นเนื้อนั้น แม้แร้งทั้งหลาย
แม้นกกระสาทั้งหลาย แม้เหยี่ยวทั้งหลาย ก็พากันบินติดตามยื้อแย่งเอา
ชิ้นเนื้อนั่นนั้น.
ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ถ้าแร้ง นกกระสา
หรือเหยี่ยวนั้น ไม่สละชิ้นเนื้อนั้นทันทีทีเดียว มันต้องตาย หรือต้องถึง
ทุกข์ปางตาย เพราะเหตุที่ไม่สละชิ้นเนื้อนั้น ? อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย

85
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 86 (เล่ม 65)

ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยชิ้นเนื้อ ฯลฯ เจริญอุเบกขานั้น
นั้นเทียว.
ดูก่อนคฤหบดี เหมือนอย่างว่า บุรุษถือคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่ว
แล้วเดินทวนลม. ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? ถ้า
บุรุษนั้นไม่สละคบเพลิงหญ้าอันไฟติดทั่วแล้วนั้นทันทีทีเดียว คบเพลิงหญ้า
อันไฟติดทั่วแล้วนั้นพึงไหม้มือไหม้แขน หรือพึงไหม้อวัยวะอื่น ๆ ของเขา
เขาต้องตาย หรือต้องถึงทุกข์ปางตาย เพราะเหตุที่ไม่สละคบเพลิงหญ้านั้น
อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย
ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยคบเพลิงหญ้า มีทุกข์มาก มีความ
คับแค้นมาก ฯลฯ เจริญอุเบกขานั้นนั่นเทียว.
ดูก่อนคฤหบดี เหมือนอย่างว่า หลุมถ่านเพลิงลึกกว่าชั่วบุรุษ เต็ม
ด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว ปราศจากควัน ครั้งนั้น บุรุษอยากมีชีวิต
อยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ พึงเดินมา บุรุษผู้มีกำลังสองคน
จับแขนทั้งสองของบุรุษนั้น ลากไปสู่หลุมถ่านเพลิง.
ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? บุรุษนั้นจะพึงยัง
กายนั้นนั่นแลให้เร่าร้อนแม้ด้วยประการฉะนี้บ้างหรือหนอ ? อย่างนั้น
พระเจ้าข้าข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะบุรุษนั้นรู้ว่า
ถ้าเราจักตกหลุมถ่านเพลิง เราย่อมตาย หรือย่อมถึงทุกข์ปางตาย เพราะ

86
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 87 (เล่ม 65)

เหตุที่ตกหลุมถ่านเพลิงนั้น.
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย
ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่า กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ฯลฯ เจริญ
อุเบกขานั้นนั่นเทียว.
ดูก่อนคฤหบดี เหมือนอย่างว่า บุรุษฝันเห็นสวนที่น่ารื่นรมย์ ป่า
ที่น่ารื่นรมย์ ภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เขาตื่น
ขึ้นไม่เห็นอะไร ๆ เลย.
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย
ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยความฝัน ฯลฯ เจริญอุเบกขานั้น
นั่นเทียว.
ดูก่อนคฤหบดี เหมือนอย่างว่า บุรุษขอยืมกุณฑลแก้วมณีอัน
ประเสริฐซึ่งเป็นของขอยืม ยกขึ้นสู่ยาน เขาเอากุณฑลแก้วมณีอันประเสริฐ
วางไว้ข้างหน้า แวดล้อมด้วยของขอยืมทั้งหลายเดินทางไปร้านตลาด ชน
เห็นเขานั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ คนมีโภคะหนอ ได้ยินว่าคนมี
โภคะทั้งหลายย่อมบริโภคโภคะทั้งหลายอย่างนี้ พวกเจ้าของเห็นของของตน
ตรงที่ใด ๆ พึงนำของของตนไปจากบุรุษนั้นตรงที่นั้น ๆ เอง.
ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? บุรุษนั้นจะไม่
เป็นอย่างอื่นไปหรือหนอ ไม่อย่างนั้นเลย พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุ
อะไร เพราะเจ้าของทั้งหลายนำของของเขาไปเสีย พระเจ้าข้า.

87
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 88 (เล่ม 65)

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย
ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยของขอยืม ฯลฯ เจริญอุเบกขา
นั้นนั่นเทียว.
ดูก่อนคฤหบดี เหมือนอย่างว่า ไพรสณฑ์ใหญ่ใกล้บ้านหรือนิคม.
ในไพรสณฑ์นั้นมีต้นไม้มีผลดกและกำลังออกผล และไม่มีผลไร ๆ ของ
ต้นไม้นั้นหล่นลงบนพื้นดิน ครั้งนั้น บุรุษผู้มีความต้องการผลไม้ แสวงหา
ผลไม้ เที่ยวแสวงหาผลไม้อยู่พึงมา เขาหยั่งลงสู่ไพรสณฑ์นั้น พึงเห็น
ต้นไม้นั้นมีผลดกและกำลังออกผล เขาติดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้ใหญ่และมี
ผลดกและกำลังออกผล ไม่มีผลไร ๆ หล่นลงบนพื้นดิน ก็เราขึ้นต้นไม้เป็น
อย่ากระนั้นเลย เราพึงบนต้นไม้นี้ เคี้ยวกินให้อิ่ม และใส่ให้เต็มพก
ดังนี้เขาขึ้นต้นไม้นั้น เคี้ยวกินจนอิ่ม และใส่เต็มพก ครั้งนั้น บุรุษคน
ที่สองผู้มีความต้องการผลไม้ แสวงหาผลไม้ เที่ยวแสวงหาผลไม้อยู่ พึง
ถือเอาจอบอันคมมา บุรุษนั้นหยั่งลงสู่ไพรสณฑ์นั้น พึงเห็นต้นไม้นั้นมี
ผลดกและกำลังออกผล เขาคิดอย่างนี้ว่า ต้นไม้นี้แลมีผลดกและกำลังออก
ผล และไม่มีผลไร ๆ หล่นลงบนพื้นดิน ก็เราขึ้นต้นไม้ไม่เป็น แต่ตัด
ต้นไม้เป็น อย่ากระนั้นเลย เราพึงตัดโคนต้นไม้นี้ เคี้ยวกินให้อิ่ม และ
ใส่ให้เต็มพกดังนี้ เขาตัดโคนต้นไม้นั้น.
ดูก่อนคฤหบดี ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? บุรุษคนที่ขึ้น
ต้นไม้นั้นก่อน ถ้าเขาไม่รีบลงทันที ต้นไม้นั้นพึงล้มลงทำลายมือเท้าหรือ
อวัยวะอื่น ๆ ของเขาเสีย เขาต้องตาย หรือต้องทุกข์ปางตาย เพราะเหตุ

88
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 89 (เล่ม 65)

พี่ถูกต้นไม้ทำลายนั้น. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สำเหนียกด้วย
ประการฉะนี้ เห็นข้อนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ากามทั้งหลายเปรียบด้วยต้นไม้มีผลดก มีทุกข์มาก มี
ความคับแค้นมาก ในกามนี้มีโทษมากมา ดังนี้แล้ว วางอุเบกขาที่มีความ
ต่างกัน อาศัยความต่างกันนั้นเสีย เจริญอุเบกขาที่มีความเป็นอย่างเดียว
อาศัยความเป็นอย่างเดียว ซึ่งเป็นที่ดับความยึดมั่นโลกามิสไม่เหลือ โดย
ประการทั้งปวงนั้นนั่นเที่ยว. พระสารีบุตรเถระแสดงวิปัสสนา โดยเปรียบ
ด้วยโครงกระดูกเป็นต้น และเปรียบด้วยกองไฟเป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว บัดนี้
เมื่อจะแสดงอุปจารสมาธิ จึงกล่าวคำว่า พุทฺธานุสฺสตึ ภาเวนฺโต
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น สตินั่นแหละ ชื่อว่า อนุสสติ เพราะเกิดขึ้น
บ่อย ๆ. อนึ่ง ชื่อว่า อนุสสติ เพราะอรรถว่า สติที่สมควรแก่กุลบุตร
ผู้บวชด้วยศรัทธา เพราะเป็นไปในฐานะที่ควรให้เป็นไปนั่นเอง ดังนี้ก็มี.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระพุทธเจ้า ชื่อว่า พุทธานุสสติ. คำว่า พุทธา-
นุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระพุทธคุณ. มีความเป็นพระอรหันต์เป็นต้น
เป็นอารมณ์ ซึ่งพุทธานุสสตินั้น บทว่า ภาเวนฺโต ได้แก่ เจริญอยู่
คือเพิ่มพูนอยู่.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระธรรม ชื่อว่า ธรรมานุสสติ, คำว่า
ธรรมานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระธรรมคุณ, มีความเป็นธรรมอัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วเป็นต้นเป็นอารมณ์.

89
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 90 (เล่ม 65)

อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภพระสงฆ์ ชื่อว่า สังฆานุสสติ. คำว่า
สังฆานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระสังฆคุณ, มีความเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้น
เป็นอารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภศีล ชื่อ ว่า สีลานุสสติ. คำว่า สีลานุสสติ
นี้ เป็นชื่อของสติที่มีศีลคุณ, มีความไม่ขาดเป็นต้นของตนเป็นอารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภจาคะ ชื่อว่า จาคานุสสติ. คำว่า จาคานุสสติ
นี้ เป็นชื่อของสติที่มีจาคคุณ, มีความเป็นผู้มีจาคะอันละแล้วของตน
เป็นต้น เป็นอารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภเทวดา ชื่อว่า เทวดานุสสติ. คำว่า
เทวตานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีคุณมีศรัทธาของตนเป็นต้น ตั้งเทวดา
ทั้งหลายไว้ในฐานะพยานเป็นอารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภลมหายใจเข้าออก ชื่อว่า อานาปานัสสติ.
คำว่า อานาปานัสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตแห่งลมหายใจเข้าออกเป็น
อารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความตาย ชื่อว่า มรณานุสสติ. คำว่า
มรณานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีความตายกล่าวคือความแตกแห่งชีวิติน-
ทรีย์ที่นับเนื่องในภพหนึ่งเป็นอารมณ์.
สติที่ไป, คือเป็นไปในสรีระที่นับว่ากาย เพราะเป็นความเจริญคือเป็น
บ่อเกิดของสิ่งปฏิกูลทั้งหลายมีผมเป็นต้นที่น่าเกลียด ชื่อว่า กายคตาสติ.
เมื่อควรจะกล่าวว่า กายคตสติ ท่านกล่าวว่า กายคตาสติ เพราะ
ไม่รัสสะ แม้ในที่นี้ท่านก็กล่าวคำนี้เป็น กายคตาสติ เหมือนกัน.

90
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 91 (เล่ม 65)

คำว่ากายคตาสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีนิมิตปฏิกูลในส่วนของร่างกายมีผม
เป็นต้นเป็นอารมณ์.
อนุสสติที่เกิดขึ้นปรารภความสงบ ชื่อว่า อุปสมานุสสติ คำว่า
อุปสมานุสสตินี้ เป็นชื่อของสติที่มีพระนิพพานอันเป็นที่เข้าไปสงบทุกข์ทั้ง
ปวงเป็นอารมณ์.
ผู้เจริญปฐมฌานอันประกอบด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข และจิต-
เตกัคคตา. ผู้เจริญทุติยฌานอันประกอบด้วยปีติ สุข และจิตเตกัคคตา.
ผู้เจริญตติยฌานอันประกอบด้วยสุข และจิตเตกัคคตา. ผู้เจริญจตุตถฌาน
อันประกอบด้วยอุเบกขาและจิตเตกัคคตา. ฯลฯ แม้ผู้เจริญเนวสัญญานา
สัญญายตนสมาบัติ ย่อมเว้นขาดกามทั้งหลาย. พระสารีบุตรเถระแสดงการ
ละกามโดยการข่มไว้ด้วยประการฉะนี้ บัดนี้เพื่อจะแสดงการละกามทั้งหลาย
โดยการตัดขาด จึงกล่าวคำว่า โสตาปตฺติมคฺคํ ภาเวนฺโตปิ ดังนี้
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น การถึงซึ่งกระแสแห่งมรรค ชื่อว่า โสดาปัตติ.
มรรคแห่งการถึงกระแสพระนิพพาน ชื่อว่า โสดาปัตติมรรค.
บทว่า อปายคมนีเย กาเม ความว่า เมื่อเจริญโสดาปัตติมรรค
ย่อมเว้นขาดจากกามอันให้ไปสู่อบาย ซึ่งเป็นเครื่องให้เหล่าสัตว์ไปสู่อบาย
เหล่านั้นโดยการตัดขาด.
ชื่อว่า สกทาคามี เพราะอรรถว่า มาปฏิสนธิยังโลกนี้คราวเดียว
เท่านั้น มรรคแห่งพระสกทาคามีนั้น ชื่อว่า สกทาคามิมรรค เมื่อเจริญ
มรรคนั้น.

91
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 92 (เล่ม 65)

บทว่า โอฬาริเก ได้แก่ ถึงความเร่าร้อน. ชื่อว่า อนาคามี
เพราะอรรถว่า ไม่มาปฏิสนธิยังกามภพเลย. มรรคแห่งพระอนาคามีนั้น
ชื่อว่าอนาคามิมรรค เมื่อเจริญมรรคนั้น.
บทว่า อณุสหคเต ได้แก่ ถึงความละเอียด. ชื่อว่า พระอรหันต์
เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย เพราะกำจัดข้าศึกคือกิเลส. เพราะหักซี่ล้อ
แห่งสังสารวัฏ, เพราะไม่มีความลับในการทำบาป, และเพราะเป็นผู้ควร
แก่ปัจจัยเป็นต้น. ความเป็นแห่งพระอรหันต์ ชื่อว่า อรหัตต์. อรหัตต์
นั้นคืออะไร, คืออรหัตตผล. มรรคเเห่งอรหัตต์ ชื่อ อรหัตตมรรค เมื่อ
เจริญอรหัตตมรรคนั้น.
บทว่า สพฺเพน สพฺพํ ได้แก่ ทั้งปวงโดยอาการทั้งปวง.
บทว่า สพฺพถา สพฺพํ ได้แก่ ทั้งปวงโดยประการทั้งปวง.
บทว่า อเสสํ นิสฺเสสํ ได้แก่ มิได้มีส่วนเหลือ คือไม่เหลือแม้
เพียงขันธ์.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สพฺเพน สพฺพํ กล่าวถึงมูลราก. บทว่า
สพฺพถา สพฺพํ กล่าวชี้ถึงอาการ. บทว่า อเสสํ นิสฺเสสํ กล่าวชี้
ถึงการบำเพ็ญ.
อนึ่ง ด้วยบทแรกกล่าวเพราะไม่มีทุจริต. ด้วยบทที่สองกล่าวเพราะ
ไม่มีการครอบงำ. ด้วยบทที่สามกล่าวเพราะไม่มีอนุสัย อาจารย์พวกหนึ่ง
พรรณนาไว้อย่างนี้.
บทว่า สปฺโป วุจฺจติ อหิ ความว่า งูตัวใดตัวหนึ่งเลื้อยไป.
บทว่า เกนตฺเถน ได้แก่ เพราะอรรถว่าอะไร.

92
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ – หน้าที่ 93 (เล่ม 65)

บทว่า สํสปฺปนฺโต คจฺฉติ ความว่า เพราะเสือกไป ฉะนั้น
จึงเรียกว่า สัปปะ.
บทว่า ภุชนฺโต ความว่า ขนดไป.
บทว่า ปนฺนสิโร ได้แก่ เป็นสัตว์มีหัวตก.
บทว่า สิเรน สุปติ ความว่า ชื่อว่า สิริสปะ เพราะอรรถว่า
นอนด้วยหัวโดยความเป็นโพรง เอาหัวไว้ภายในขนด. ชื่อว่า วิลาสยะ
เพราะอรรถว่า นอนในรู บาลีว่า พิลสโย ก็มี. พึงเว้นหัวงูนั้นให้ดี.
ชื่อว่าคุหาสยะ เพราะอรรถว่า นอนในถ้ำ.
บทว่า ทาฒา ตสฺส อาวุโส ความว่า เขี้ยวทั้งสองเป็นอาวุธ
กล่าวคือศัสตราเครื่องประหารของงูนั้น.
บทว่า วิสํ ตสฺส โฆรํ ความว่า พิษกล่าวคือน้ำที่เป็นพิษของ
งูนั้นร้ายแรง.
บทว่า ชิวฺหา ตสฺส ทุวิธา ความว่า งูนั้นมีลิ้นสองแฉก.
บทว่า ทฺวีหิ ชิวฺหาหิ รสํ สายติ ความว่า ย่อมรู้รส คือ
ย่อมประสบความยินดี คือย่อมยินดีด้วยลิ้นสองแฉก.
ชื่อว่า ผู้ใครต่อชีวิต เพราะอรรถว่า ใคร่เพื่อจะเป็นอยู่.
ชื่อว่า ไม่อยากตาย เพราะอรรถว่า ยังไม่อยากตาย.
ชื่อว่า อยากได้สุข เพราะอรรถว่า ใคร่ซึ่งความสุข.
บทว่า ทุกฺขปฏิกูโล ได้แก่ ไม่ปรารถนาความทุกข์.
บทว่า ปาเทน ได้แก่ ด้วยเท้าของตน.
บทว่า สปฺปสิรํ ได้แก่ หัวของงู.

93