No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 538 (เล่ม 64)

มาในป่านั้น ภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ใจในที่ไม่ไกล
อาศรมนั้น มีสระโบกขรณีดารดาษไปด้วยปทุมชาติ
และอุบล เหมือนดังที่มีอยู่ในนันทวันของทวยเทพ
ดูก่อนพราหมณ์ ในสระนั้นมีอุบลชาติ ๓ ชนิด คือ
เขียว ขาว และแดง งามวิจิตรมากมาย.
พระดาบสกล่าวว่า
[๑๑๕๐] ในสระนั้นมีปทุมชาติดาษดื่น สีขาว
ดังผ้าโขมพัสตร์ สระนั้นชื่อว่า มุจลินท์ ดารดาษไป
ด้วยอุบลขาว จงกลณี และผักทอดยอด อนึ่งเล่า
ปทุมชาติในสระนั้นมีดอกบานสะพรั่ง ปรากฏหา
กำหนดประมาณมิได้ บ้างก็บานในคิมหันตฤดู บ้าง
ก็บานในเหมันตฤดู ปรากฏเหมือนตั้งอยู่ในน้ำลึก
ประมาณเพียงเข้า ปทุมชาติอันงามวิจิตรชูดอกสะพรั่ง
ส่งกลิ่นหอมฟุ้งตระหลบไป หมู่ภมรโผผินบินว่อน
เสียงวู่ ๆ อยู่โดยรอบ เพราะกลิ่นหอมแห่งบุปผชาติ.
[๑๑๕๑] ดูก่อนพราหมณ์ อนึ่งเล่า ที่ใกล้ขอบ
สระนั้นมีต้นไม้หลากหลายขึ้นออกสะพรั่ง คือ ต้น
กระทุ่ม ต้นแคฝอย และต้นทองหลาง ผลิดอกออก
สะพรั่ง ไม้ปรู ไม่ทราก ต้นปาริชาตดอกบานสะพรั่ง
ต้นกากะทิง ต้นไม้เหล่านี้มีอยู่ที่สองฟากปากสระมุจ-
ลินท์ ต้นซึก ต้นแคขาว บัวบก ส่งกลิ่นหอมฟุ้งไป
ต้นคนทิสอ ต้นคนทิเขมา และต้นประดู่มีอยู่ ณ ที่

538
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 539 (เล่ม 64)

ใกล้สระนั้น ดอกสะพรั่ง ต้นมะคำไก่ ไม้มะทราง
ต้นเก้า ต้นมะรุม การะเกด กรรณิการ์ และชะบา
ไม้รกฟ้า ไม้อินทนิล ไม้สะท้อน และทองกวาวมีดอก
แย้มบาน ผลิดอกออกยอดพร้อม ๆ กัน รุ่งเรืองงาม
ไม่มะรื่น ไม้ตีนเป็ด กล้วย ต้นคำฝอย นมแมว คนทา
ประดู่ลาย ต้นสลอด มีดอกบานสะพรั่ง ต้นมะไฟ
ต้นงิ้ว ไม้ช้างน้าว พุดขาว กฤษณา โกฐเขมา
โกฐสอ มีดอกบานสะพรั่ง ต้นไม้ในบริเวณสระนั้น
มีทั้งอ่อนและแก่ ต้นตรงไม่คองอ ดอกบานตั้งอยู่
สองข้างอาศรมโดยรอบเรือนไฟ.
[๑๑๕๒] อนึ่ง พันธุ์ไม้เป็นอันมาก เกิดขึ้น
ใกล้ขอบสระนั้น คือ ตะไคร้ ถั่วเขียว ถั่วราชมาส
สาหร่าย สันตะวา น้ำในสระนั้นถูกลมรำเพยพัด
เกิดเป็นระลอกกระทบฝั่ง มีหมู่แมลงบินวู่ว่อนเคล้า
เอาเกสรดอกไม่ที่แย้มบาน สีเสียดเทศ เต่าร้าง ผักบุ้ง
ร้วม มีมากในที่ต่างๆ ดูก่อนพราหมณ์ ต้นไม้ทั้งหลาย
ดารดาษไปด้วยกล้วยไม้ กลิ่นแห่งบุปผชาติดังกล่าว
แล้วนั้น หอมตระหลบอยู่ ๗ วัน ไม่พลันหาย บุปผ-
ชาติเกิดอยู่เรียงรายสองฝั่งสระมุจลินท์ ป่านั้นดารดาษ
ไปด้วยต้นราชพฤกษ์ย่อมงดงาม กลีบดอกราชพฤกษ์
นั้นหอมตระหลบอยู่กึ่งเดือนไม่เลือนหาย อัญชันเขียว
อัญชันขาว กุ่มแดงดอกบานสะพรั่ง ป่านั้นดารดาษไป

539
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 540 (เล่ม 64)

ด้วยอบเชยและแมงลัก เหมือนดังจะให้คนเบิกบานใจ
ด้วยดอกไม้และกิ่งไม้อันมีกลิ่นหอม เหล่าภมรโผผิน
บินว่อนเสียงวู่ ๆ อยู่โดยรอบ เพราะกลิ่นหอมแห่ง
บุปผชาติ ดูก่อนพราหมณ์ ณ ที่ใกล้สระนั้น มีฟักแฟง
แตงน้ำเต้า ๓ ชนิด ชนิดหนึ่งผลโตเท่าหม้อ อีกสอง
ชนิดผลโตเท่าตะโพน.
[๑๑๕๓] อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้นมีผักกาด กระเทียม
หอม เป็นอันมาก ต้นเต่ารั้งตั้งอยู่สล้างดังต้นตาล
อุบลเขียวมีเป็นอันมาก ขึ้นอยู่ริมน้ำพอเอื้อมเด็ดได้
มะลิวัน นมตำเลีย หญ้านาง อบเชย อโศก เทียนป่า
ดอกเข็ม หางช้าง อังกาบ กากะทิง กระลำพัก
ทองเครือ ดอกแย้มบานสะพรั่งขึ้นขนาน ต้นชุมแสง
ขึ้นแซงแซกคัดเค้าและชะเอม มะลิซ้อน หงอนไก่
เทพทาโร แคฝอย ฝ้ายทะเล กรรณิการ์ดอกเบ่งบาน
งาม ปรากฏดังตาข่ายทองเปรียบด้วยเปลวไฟ บุปผ-
ชาติเกิดบนบกและที่เกิดในน้ำ ปรากฏมีในสระนั้น
ทุกอย่าง สระมุจลินท์มีน้ำมาก เป็นที่รื่นรมย์ ด้วย
ประการฉะนี้.
[๑๑๕๔] อนึ่ง ในสระนั้นมีปลาซึ่งว่ายอยู่ในน้ำ
มากมาย คือ ปลาตะเพียน ปลาซ่อน ปลาดุก จระเข้
ปลาฉลาม ณ ที่ใกล้สระนั้น มีชะเอมต้น ชะเอมเครือ
กำยาน ประยงค์ เนรภูสี แห้วหมู สัตตบุษย์ สมุล-

540
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 541 (เล่ม 64)

แว้ง พิมเสน สามสิบ และกฤษณา เถากะไดลิง มี
มากมาย บัวบก โกฐขาว กระทุ่มเลือด ต้นหนาด
ขมิ้น แก้วหอม หรดาล คำ คูน สมอพิเภก ไคร้-
เครือ พิมเสน และรางแดง.
[๑๑๕๕] อนึ่ง ในป่านั้นมีสัตว์หลายจำพวก คือ
ราชสีห์ เสือโคร่ง ยักษิณีหน้าฬา ช้างพัง ช้างพราย
เนื้อทราย เนื้อฟาน ละมั่ง นางเห็น หมาจิ้งจอก
หมาไน บ่าง กระรอก จามรี ชะนี ลิงลม ค่าง
ลิง ลิงจุ่น กวาง กระทิง หมี วัวเถื่อน มีมากมาย
แรด หมู พังพอน งูเห่า มีอยู่ที่ใกล้สระนั้นเป็นอัน
มาก กระบือ หมาไน หมาจิ้งจอก กิ้งก่า จะกวด
เหี้ย เสือดาว เสือเหลือง มีอยู่โดยรอบ กระต่าย
แร้ง ราชสีห์ และเสือปลา มีอยู่มากหลาย มีสกุณ-
ชาติมากมาย คือ นกกวัก นกยูง หงส์ขาว ไก่ฟ้า
ไก่ป่า ไก่เถื่อน นกหัสดีลิงค์ ร่ำร้องหากันและกัน
นกยางโทน นกยางกรอก นกโพระดก นกต้อยตีวิด
นกกะเรียน เหยี่ยวดำ เหยี่ยวแดง นกช้อนหอย นก
พริก นกคับแค นกแขวก นกกด นกกระเต็นใหญ่
นกนางแอ่น นกคุ่ม นกกะทา นกกระทุง นกกระจอก
นกกระจาบ นกกระเต็นน้อย นกกางเขน นกการ-
เวก นกแอ่นลม นกเงือก นกออก สระมุจลินท์
เกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงนกนานาชนิด กึกก้องไปด้วย
เสียงสัตว์ต่างๆ.

541
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 542 (เล่ม 64)

[๑๑๕๖] อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้น มีนกมากมาย มี
ขนปีกงามวิจิตร มีเสียงไพเราะเสนาะโสต ย่อมปรา-
โมทย์อยู่กับคู่เคียงส่งเสียงกู่ก้องร้องหากันและกันอนึ่ง
ที่ใกล้สระนั้น มีฝูงสกุณาทิชาชาติส่งเสียงร้องไพเราะ
ไม่ขาดสาย มีตางามประกอบด้วยเบ้าตาขาว มีขนปีก
ขนหางงามวิจิตร อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้นมีฝูงนกยูง ส่ง
เสียงร้องไพเราะไม่ขาดสาย มีสร้อยคอเขียว ส่งเสียง
ร้องหากันและกัน ไก่เถื่อน ไก่ฟ้า นกเปล้า นก
นางนวล เหยี่ยวดำ เหยี่ยวนกเขา นกกาน้ำ นก
แขกเต้า นกสาลิกา อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้น มีนกเป็น
อันมาก เป็นพวก ๆ คือ เหลือง แดง ขาว นกหัสดี-
ลิงค์ พระยาหงส์ทอง นกกาน้ำ นกแขกเต้า นก
ดุเหว่า นกออก หงส์ขาว นกช้อนหอย นกเค้าแมว
ห่าน นกยาง นกโพระดก นกต้อยตีวิด นกพิราบ
หงส์แดง นกจากพราก นกเป็ดน้ำ นกหัสดีลิงค์ ส่ง
เสียงร้องน่ารื่นรมย์ใจ เหล่าสกุณาทิชาชาติดังกล่าว
แล้ว ต่างก็ส่งเสียงกู่ร้องหากัน ทั้งเช้าและเย็นเป็น
นิรันดร์ อนึ่งที่ใกล้สระนั้นมีสกุณาทิชาชาติมากมายสี
ต่าง ๆ กัน ย่อมบันเทิงอยู่กับคู่เคียง ส่งเสียงกู่ก้อง
ร้องเข้าหากันและกัน อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้น มีสกุณา
ทิชาชาติมากมายสีต่าง ๆ กัน ทุก ๆ ตัวต่างส่งเสียงอัน
ไพเราะระงมไพร ที่ใกล้สองฝั่งสระมุจลินท์ อนึ่ง ที่

542
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 543 (เล่ม 64)

ใกล้สระนั้นมีสกุณาทิชาชาติชื่อว่าการเวกมากมาย
ย่อมปราโมทย์อยู่ลับคู่เคียง ส่งเสียงกู่ก้องร้องหากัน
และกัน อนึ่ง ที่ใกล้สระนั้นมีสกุณาทิชาชาติชื่อว่า
การเวก ทุก ๆ ตัวต่างส่งเสียงอันไพเราะระงมไพร
อยู่ที่สองฝั่งสระมุจลินท์ ป่านั้นเกลื่อนกลาดไปด้วย
เนื้อทรายและเนื้อฟาน เป็นสถานที่เสพอาศัยของช้าง
พลายและช้างพัง ดาษดื่นไปด้วยเถาวัลย์นานาชนิด
และเป็นที่อาศัยของฝูงชะมด อนึ่ง ที่ป่านั้น มีธัญญ-
ชาติมากมาย คือ หญ้ากับแก้ ลูกเดือย ข้าวสาลี
อ้อย มิใช่น้อยเกิดเองในที่ไม่ได้ไถ ทางนี้เป็นทาง
เดินได้คนเดียว เป็นทางตรงไปจนถึงอาศรม คนผู้
ไปถึงอาศรมของพระเวสสันดรนั้นแล้ว ย่อมไม่มี
ความหิวกระหายหรือความไม่ยินดี พระเวสสันดรเจ้า
พร้อมด้วยพระโอรส พระธิดา และมเหสี ทรงเพศ
นักบวชอันประเสริฐ ทรงขอสำหรับสอยผลไม้ เครื่อง
บูชาไฟและชฎา ทรงนุ่งห่มหนังเสือ บรรทมเหนือ
แผ่นดิน ทรงบูชาไฟประทับอยู่ ณ อาศรมใด เมื่อ
ท่านบ่ายหน้าไปทางทิศอุดรจะได้เห็นอาศรมนั้น.
[๑๑๕๗] ชูชกผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพราหมณ์ครั้น
สดับถ้อยคำของอจุตฤาษี กระทำประทักษิณ มีจิตชื่น
ชมโสมนัส อำลามุ่งหน้าไปยังสถานที่ประทับของ
พระเวสสันดร.
จบมหาวนวรรณนา

543
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 544 (เล่ม 64)

พระเวสสันดรตรัสว่า
[๑๑๕๘] ดูก่อนพ่อชาลี เจ้าจงลุกขึ้นยืนเถิด
การมาของพวกยาจกในวันนี้ปรากฏเหมือนการมาของ
พวกยาจกครั้งก่อน ๆ พ่อเห็นเหมือนดังพราหมณ์ ความ
ชื่นชมยินดีทำให้พ่อมีความเกษมศานติ์.
พระชาลีกุมารกราบทูลว่า
[๑๑๕๙] ข้าแต่พระชนกนาถ แม้เกล้ากระหม่อม
ฉันก็เห็นผู้นั้นปรากฏเหมือนพราหมณ์ ดูเหมือนเป็น
คนเดินทาง จักเป็นแขกของเราทั้งหลาย.
ชูชกทูลว่า
[๑๑๖๐] พระองค์ไม่มีโรคาพาธหรือหนอ พระ-
องค์ทรงพระสำราญดีหรือ ทรงเยียวยาอัตภาพด้วย
การแสวงหาผลาหารสะดวกหรือ ทั้งมูลมันผลไม้มี
มากหรือ เหลือบ ยุง และสัตว์เลื้อยคลานมีน้อยแล
หรือ ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาลมฤค ไม่มีมา
เบียดเบียนแลหรือ.
พระโพธิสัตว์ตรัสว่า
[๑๑๖๑] ดูก่อนพราหมณ์ เราทั้งหลายไม่มีโรคา-
พาธเบียดเบียน อนึ่ง เราทั้งหลายเป็นสุขสำราญดี
เราเยียวยาอัตภาพด้วยการหาผลาหารสะดวกดี ทั้งมูล
มันผลไม้ก็มีมาก ทั้งเหลือบยุงและสัตว์เสือกคลานก็มี
น้อย อนึ่ง ในป่าอันเกลื่อนกล่นไปด้วยพาลมฤค ก็
ไม่มีมาเบียดเบียนแก่เรา เมื่อพวกเรามาอยู่ในป่ามี
ชีวิตอันตรมเกรียมมาตลอด ๗ เดือน เราเพิ่งเห็นท่าน

544
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 545 (เล่ม 64)

ผู้เป็นพราหมณ์บูชาไฟ ทรงเพศอันประเสริฐ ถือไม้
เท้าสีดังผลมะตูมและลักจั่นน้ำนี้เป็นคนแรก ดูก่อน
พราหมณ์ ท่านมาดีแล้ว อนึ่ง ท่านมิได้มาร้าย
ดูก่อนท่านผู้เจริญ เชิญท่านเข้ามาภายในเถิด เชิญ
ท่านล้างเท้าของท่านเถิด ผลมะพลับ ผลมะหาด
ผลมะซาง ผลหมากเม่า มีรสหวานปานน้ำผึ้ง เชิญ
เลือกฉันแต่ผลที่ดี ๆ เถิดท่านพราหมณ์ แม่น้ำฉันนี้ก็
เย็นสนิท เรานำมาแต่ซอกเขา ดูก่อนพราหมณ์ ถ้า
ท่านจำนงหวัง ก็เชิญดื่มตามสบายเถิด ดังเราขอถาม
ท่านมาถึงป่าใหญ่เพราะเหตุการณ์อะไรหนอ เราถาม
แล้ว ขอท่านจงบอกความนั้นแก่เราเถิด.
ชูชกทูลว่า
[๑๑๖๒] ห่วงน้ำ (ในปัญจมหานที) เต็มเปี่ยม
ตลอดเวลาไม่เหือดแห้ง ฉันใด พระองค์มีพระหฤทัย
เต็มเปี่ยมไปด้วยศรัทธา ฉันนั้น เกล้ากระหม่อมฉัน
กราบทูลขอแล้ว ขอพระองค์ทรงพระกรุณาพระราช-
ทานสองปิโยรสแก่ข้าพระองค์เถิด.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๑๖๓] ดูก่อนพราหมณ์ เรายอมให้ มิได้หวั่น
ไหว ท่านจงเป็นใหญ่พาเอาลูกทั้งสองของเราไปเถิด
พระราชบุตรีมารดาของลูกทั้งสองนี้ เสด็จไปป่าแต่
เช้าเพื่อแสวงหาผลไม้ จักกลับจากการแสวงหาผลไม้
ในเวลาเย็น ดูก่อนพราหมณ์ เชิญท่านพักอยู่ราตรีหนึ่ง

545
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 546 (เล่ม 64)

แล้วจึงไปในเวลาเช้า ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงพาเอา
ลูกรักทั้งสอง อันประดับด้วยดอกไม้ต่าง ๆ ตกแต่ง
ด้วยของหอมนานา พร้อมด้วยมูลมันและผลไม้หลาย
ชนิดไปเถิด.
ชูชกทูลว่า
[๑๑๖๔] ข้าแต่พระองค์ผู้จอมทัพ ข้าพระองค์
ไม่ชอบใจการพักอยู่ ข้าพระองค์ยินดีจะไป แม้อันตราย
จะพึงมีแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอทูลลาไปทีเดียว
เพราะว่าธรรมดาสตรีเหล่านี้เป็นผู้ไม่สมควรแก่การขอ
ย่อมทำอันตรายต่อบุญของทายกและลาภของยาจก
ย่อมรู้มารยา ย่อมรับสิ่งทั้งปวงโดยข้างซ้าย เมื่อฝ่า
พระบาทบำเพ็ญทานด้วยพระราชศรัทธา ฝ่าพระบาท
อย่าได้ทรงเห็นพระมารดาของพระปิโยรสทั้งสองเลย
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ พระมารดาของพระปิโย-
รสนั้นพึงกระทำแม้อันตรายได้ ข้าพระองค์ขอทูลลา
ไปทีเดียว ขอพระองค์จงตรัสเรียกพระลูกแก้วทั้งสอง
นั้นมาอย่าให้พระลูกแก้วทั้งสองได้ทันเห็นพระชนนีเลย
เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญทานด้วยพระราชศรัทธา บุญ
ย่อมเจริญด้วยอาการอย่างนี้ ขอพระองค์ตรัสเรียก
พระลูกแก้วทั้งสองนั้นมา อย่าให้พระลูกแก้วทั้งสอง
ได้ทันเห็นพระชนนีเลย ข้าแต่พระราชา พระองค์ทรง
ประทานทรัพย์ คือพระโอรสพระธิดาแก่ยาจกเช่น
ข้าพระองค์แล้ว จักเสด็จไปสวรรค์.

546
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 547 (เล่ม 64)

พระเวสสันดรตรัสว่า
[๑๑๖๕] ถ้าท่านไม่ปรารถนาจะเห็นภริยาของ
เราผู้มีวัตรอันงามไซร้ ท่านก็จงทูลถวายชาลีกัณหาชินา
ทั้งสองนี้ แก่พระเจ้าสญชัยมหาราชผู้พระอัยยกา ท้าว
เธอทอดพระเนตรเห็นพระกุมารทั้งสองนี้ ผู้มีเสียง
ไพเราะ กล่าววาจาน่ารัก จะทรงปลื้มพระหฤทัยปรีดา
ปราโมทย์ จักพระราชทานทรัพย์แก่ท่านเป็นอันมาก.
ชูชกทูลว่า
[๑๑๖๖] ข้าแต่พระราชบุตร ขอพระองค์ทรง
ฟังข้าพระองค์ ข้าพระองค์กลัวต่อการที่จะถูกหาว่า
ฉกชิงเอาไป สมเด็จพระเจ้าสญชัยมหาราชจะลงพระ-
ราชอาชญาข้าพระองค์ คือ จะพึงทรงขายหรือให้
ประหารชีวิต ข้าพระองค์จะขาดทั้งทรัพย์ทั้งทาสและ
จะพึงถูกนางพราหมณี ผู้เป็นเผ่าพันธุ์พราหมณ์ติเตียน
ได้.
พระเวสสันดรตรัสว่า
[๑๑๖๗] พระมหาราชาทรงสถิตในธรรม ทรง
ผดุงสีพีรัฐให้เจริญได้ทอดพระเนตรเห็นสองพระกุมาร
นี้ผู้มีเสียงไพเราะกล่าววาจาน่ารัก ได้พระปีติโสมนัส
แล้วจักพระราชทานทรัพย์แก่ท่านเป็นอันมาก.
ชูชกทูลว่า
[๑๑๖๘] พระองค์ทรงพร่ำสอนข้าพระองค์สิ่ง
ใด ๆ ข้าพระองค์จักทำสิ่งนั้น ๆ ไม่ได้ ข้าพระองค์จัก

547