No Favorites




หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 508 (เล่ม 64)

ในขนดหางของมัน เนื้อร้ายอย่างอื่น ๆ เช่นหมีมีขนดำ
คนที่มันพบเห็นแล้ว หนีขึ้นต้นไม้ก็ไม่พ้น ควายเปลี่ยว
ขวิดเฝืออยู่ เขาทั้งคู่ปลายคมกริบ เที่ยวอยู่ในถิ่นนี้
ใกล้ฝั่งแม่น้ำโสตุมพะ ดูก่อนแม่มัทรี เธอเปรียบ
เหมือนแม่โครักลูก เห็นฝูงเนื้อและโคถึกอันท่องเที่ยว
อยู่ในป่า จักทำอย่างไร ดูก่อนแม่มัทรี เธอได้เห็น
ทะโมนไพรอันน่ากลัวที่ประจวบเข้าในหนทางที่เดินได้
ยาก ความพรั่นพรึงจักต้องมีแก่เธอ เพราะไม่รู้จักเขต
เมื่อเธออยู่ในพระนคร ได้ยินเสียงสุนัขเห่าหอน ย่อม
สะดุ้งตกใจ เธอไปถึงเขาวงกตจักทำอย่างไร เมื่อฝูง
นกพากันจับเจ้าในเวลาเที่ยง ป่าใหญ่เหมือนส่งเสียง
กระหึ่ม เธอปรารถนาจะไปในป่าใหญ่นั้นทำไม.
[๑๐๙๓] พระนางมัทรีราชบุตรี ผู้มีความสวยงาม
ทั่วพระวรกาย ได้กราบทูลพระเจ้าสัญชัยนั้นว่า พระ-
องค์ทรงพระกรุณาตรัสบอกสิ่งที่น่ากลัวอันมีอยู่ในป่า
แก่เกล้ากระหม่อมฉัน เกล้ากระหม่อมฉันจักยอมทน
ต่อสู้สิ่งน่ากลัวทั้งปวงนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ
เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน เกล้ากระหม่อมฉัน
จักแหวกต้นเป้ง คา หญ้าคมบาง แฝก หญ้าปล้อง
หญ้ามุงกระต่าย ไปด้วยอก เกล้ากระหม่อมฉันจักไม่
เป็นผู้อันพระเวสสันดรนำไปได้ยาก อันว่ากุมารีย่อม
ได้สามีด้วยวัตรจริยาเป็นอันมาก คือ ด้วยการอด
อาหาร ตรากตรำท้อง ด้วยการผูกคาดไม้คางโค ด้วย

508
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 509 (เล่ม 64)

การบำเรอไฟ และด้วยการดำน้ำ ความเป็นหม้าย
เป็นความเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ
เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน ชายใดจับมือหญิง
หม้ายผู้ไม่ปรารถนาฉุดคร่าไป ชายนั้นเป็นผู้ไม่ควร
บริโภคของที่เป็นเดนของหญิงหม้ายนั้นโดยแท้ ความ
เป็นหม้ายเป็นความเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้
เป็นจอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน ชาย
อื่นให้ทุกข์มากมายมิใช่น้อย ด้วยการจับผมและเตะ
ถีบจนล้มลงที่พื้นดิน แล้วไม่ให้หลีกหนี ความเป็น
หม้ายเป็นควานเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เป็น
จอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน พวกเจ้าชู้
ผู้ต้องการหญิงหม้ายที่มีผิวพรรณผุดผ่อง ให้ของเล็ก
น้อยแล้ว สำคัญตัวว่าเป็นผู้มีโชคดีย่อมฉุดคร่าหญิง
หม้ายผู้ไม่ปรารถนาไป ดังฝูงกาผู้กลุ้มรุมนกเค้าแมว
ฉะนั้น ความเป็นหม้าย เป็นความเผ็ดร้อนในโลก
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไป
แน่นอน อันว่าหญิงหม้ายแม้จะอยู่ในตระกูลญาติอัน
เจริญรุ่งเรืองไปด้วยเครื่องทอง จะไม่ได้รับคำติเตียน
ล่วงเกินจากพี่น้องและเพื่อนฝูงก็หาไม่ ความเป็นหม้าย
เป็นความเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ
เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน แม่น้ำไม่มีน้ำก็เปล่า
ดาย แว่นแคว้นไม่มีพระราชาก็เปล่าดาย แม่หญิงเป็น
หม้ายก็เปล่าดาย ถึงแม้หญิงนั้นจะมีพี่น้องตั้งสิบคน

509
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 510 (เล่ม 64)

ความเป็นหม้ายเป็นความเผ็ดร้อนในโลก ข้าแต่พระ-
องค์ผู้เป็นจอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไปแน่นอน
อันว่าธงเป็นเครื่องหมายแห่งรถ ควันเป็นเครื่องปรากฏ
แห่งไฟ พระราชาเป็นสง่าของแว่นแคว้น ภัสดาเป็น
สง่าของหญิง ความเป็นหม้ายเป็นความเผ็ดร้อนในโลก
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เกล้ากระหม่อมฉันจักไป
แน่นอน หญิงจนผู้ทรงเกียรติย่อมร่วมสุขทุกข์ของสามี
ที่จน หญิงมั่งคั่งผู้ทรงเกียรติ ย่อมร่วมสุขทุกข์ของ
สามีที่มั่งคั่ง เทพเจ้าย่อมสรรเสริญหญิงนั้นแล เพราะ
เจ้าหล่อนทำกิจที่ทำได้ยาก เกล้ากระหม่อมฉันจักบวช
ติดตามพระสวามีไปทุกเมื่อ แม่เมื่อแผ่นดินยังไม่ทำ-
ลาย ความเป็นหม้ายเป็นความเผ็ดร้อนของหญิง เกล้า-
กระหม่อมฉันว่างเว้นพระเวสสันดรเสียแล้ว ไม่พึง
ปรารถนาแม้แผ่นดินอันมีสาครเป็นขอบเขต ทรงไว้
ซึ่งเครื่องปลื้มใจเป็นอันมาก บริบูรณ์ด้วยรัตนะต่างๆ
เมื่อสามีตกทุกข์แล้ว หญิงเหล่าใดย่อมหวังสุขเพื่อตน
หญิงเหล่านั้นเลวทรามหนอ หัวใจของหญิงเหล่านั้น
เป็นอย่างไรหนอ เมื่อพระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐ เสด็จ
ออกแล้วเกล้ากระหม่อมฉันจักขอติดตามพระองค์ไป
เพราะพระองค์ทรงประทานสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวง
แก่เกล้ากระหม่อมฉัน.
[๑๐๙๔] พระมหาราชาได้ตรัสกะพระนางมัทรีผู้
มีความงามทั่วพระวรกายว่า ดูก่อนแม่มัทรีผู้มีศุภ-

510
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 511 (เล่ม 64)

ลักษณ์ พ่อชาลีและแม่กัณหาชินาลูกรักทั้งสองของ
เธอนี้ ยังเป็นเด็ก เจ้าจงละไว้ ไปเถิด พ่อจะรับเลี้ยงดู
เด็กทั้งสองนั้นไว้เอง.
[๑๐๙๕] พระนางมัทรีราชบุตรี ผู้มีความงามทั่ว
พระวรกาย ได้กราบทูลพระเจ้าสญชัยนั้นว่า เทวะ พ่อ
ชาลีและแม่กัณหาชินาทั้งสอง เป็นลูกสุดที่รักของ
เกล้ากระหม่อมฉัน ลูกทั้งสองนั้น จักยังหัวใจของ
เกล้ากระหม่อมฉันผู้มีชีวิตอันเศร้าโศกให้รื่นรมย์ใน
ป่านั้น.
[๑๐๙๖] พระมหาราชาผู้ผดุงสีพีรัฐให้เจริญ ได้
ตรัสกะพระนางมัทรีนั้นว่า เด็กทั้งสองเคยเสวยข้าว
สาลีอันปรุงด้วยเนื้อสะอาด เมื่อต้องเสวยผลไม้ จัก
ทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยเสวยในถาดทองหนักร้อย
ปละ อันเป็นของประจำราชสกุล เมื่อต้องเสวยในใบ
ไม้ จักทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยทรงภูษาแคว้นกาสี
ภูษาโขมรัฐและภูษาโกทุมพรรัฐ เมื่อต้องทรงผ้า
คากรอง จักทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยไปด้วยคาน
หาม วอและรถ เมื่อต้องเดินด้วยเท้าเปล่า จักทำ
อย่างไร เด็กทั้งสองเคยบรรทมในเรือนยอดมีบาน
หน้าต่างปิดสนิท ไม่มีลม เมื่อต้องบรรทมที่โคนไม้
จักทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยบรรทมบนพรม อันปู
ลาดไว้อย่างวิจิตรบนบัลลังก์ เมื่อต้องบรรทมเครื่อง
ลาดหญ้า จักทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยลูกไล้ด้วย

511
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 512 (เล่ม 64)

กฤษณา และจันทน์หอม เมื่อต้องทรงละอองธุลี จัก
ทำอย่างไร เด็กทั้งสองเคยตั้งอยู่ในความสุข มีผู้พัดวี
ให้ด้วยแส้จามรีและหางนกยูง ต้องถูกเหลือบและยุง
กัด จักทำอย่างไร.
[๑๐๙๓] พระนางมัทรีราชบุตร ผู้มีความงาม
ทั่วพระวรกาย ได้กราบทูลพระเจ้าสญชัยนั้นว่า เทวะ
พระองค์อย่าได้ทรงปริเทวนาและอย่าได้ทรงเสียพระ-
ทัยเลย เกล้ากระหม่อมฉันทั้งสอง จักเป็นอย่างไร
เด็กทั้งสองก็จักเป็นอย่างนั้น พระนางมัทรีผู้มีความ
งามทั่วพระวรกาย ครั้นกราบทูลคำนี้แล้วเสด็จหลีก
ไป พระนางผู้ทรงศุภลักษณ์ ทรงพาพระโอรสและ
พระธิดาเสด็จไปตามทางที่พระเจ้าสีพีเคยเสด็จ.
[๑๐๙๘] ลำดับนั้น พระเวสสันดรขัตติยราช
ครั้นพระราชทานทานแล้ว ทรงถวายบังคมพระราชบิดา
พระราชมารดา และทรงกระทำประทักษิณแล้ว เสด็จ
ขึ้นทรงรถพระที่นั่งอันเทียมด้วยม้าสินธพ ๔ ตัวทรงพา
พระโอรสพระธิดาและพระชายาเสด็จไปสู่ภูเขาวงกต.
[๑๐๙๙] ลำดับนั้น พระเวสสันดรราช เสด็จ
เข้าไปที่หมู่ชนเป็นอันมากตรัสบอกลาว่า เราขอลาไป
ละนะ ขอญาติทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มีโรคเถิด.
[๑๑๐๐] เมื่อพระเวสสันดรเสด็จออกจากพระ-
นคร ทรงเหลียวมาทอดพระเนตร แม้ครั้งนั้น แผ่น

512
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 513 (เล่ม 64)

ดินอันมีขุนเขาสิเนรุและราวป่าเป็นเครื่องประดับ
หวั่นไหว.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๑๐๑] เชิญดูเถิดมัทรี ที่ประทับของพระเจ้า
สีพีราชปรากฏเป็นรูปอันน่ารื่นรมย์ ส่วนมณเฑียร
ของเราเป็นดังเรือนเปรต.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๑๐๒] พราหมณ์ทั้งหลายได้ตามพระเวสสันดร
นั้นไป เขาได้ขอม้ากะพระองค์ พระองค์อันพราหมณ์
ทั้งหลายทูลขอแล้ว ทรงมอบม้า ๔ ตัวให้แก่พราหมณ์
๔ คน.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๑๐๓] เชิญดูเถิดมัทรี ละมั่งทองร่างงดงาม
ใคร ๆ ไม่เห็น เป็นดังม้าที่ชำนาญนำเราไป.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๑๐๔] ต่อมา พราหมณ์คนที่ห้าในที่นั้นได้มา
ขอราชรถกะพระองค์ พระองค์ทรงมอบรถให้แก่เขา
และพระทัยของพระองค์มิได้ย่อท้อเลย.
[๑๑๐๕] ลำดับนั้น พระเวสสันดรราชให้คน
ของพระองค์ลงแล้ว ทรงปลอบให้ปลงพระทัยมอบ
รถม้าให้แก่พราหมณ์ผู้แสวงหาทรัพย์.

513
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 514 (เล่ม 64)

พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๑๐๖] ดูก่อนมัทรี เธอจงอุ้มกัณหานี้ผู้เป็น
น้องคงจะเบากว่า พี่จักอุ้มชาลี เพราะชาลีเป็นพี่คง
จะหนัก.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๑๐๗] พระราชาทรงอุ้มพระโอรส ส่วนพระ-
ราชบุตรีทรงอุ้มพระธิดา ทรงยินดีร่วมกันดำเนิน ตรัส
ปราศรัยด้วยคำอันน่ารักกะกันและกัน.
จบทานกัณฑ์
[๑๑๐๘] ถ้ามนุษย์บางพวกเดินมาตามทางหรือ
เดินสวนทางมา เราจะถามมรรคากะพวกเขาว่า ภูเขา
วงกตอยู่ที่ไหน พวกเขาเห็นเราในระหว่างบรรดานั้น
จะพากันคร่ำครวญด้วยความกรุณาระทมทุกข์ ตอบ
เราว่า เขาวงกตยังอยู่อีกไกล.
[๑๑๐๙] ครั้งนั้น พระกุมารทั้งสองทอดพระ-
เนตรเห็นต้นไม้อันมีผลในป่าใหญ่ ทรงพระกรรแสง
เหตุประสงค์ผลไม่เหล่านั้น หมู่ไม้สูงใหญ่ดังจะเห็น
พระกุมารทั้งสองทรงพระกรรแสง จึงน้อมกิ่งลงมา
เองจนใกล้จะถึงพระกุมารทั้งสอง พระนางมัทรีผู้งด
งามทั่วพระวรกาย ทอดพระเนตรเห็นเหตุอัศจรรย์ไม่
เคยมี น่าขนพองสยองเกล้านี้ จึงซ้องสาธุการว่า น่า
อัศจรรย์ขนลุกขนพองไม่เคยมีในโลกหนอ ด้วยเดช
แห่งพระเวสสันดร ต้นไม้น้อมกิ่งลงมาเองได้.

514
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 515 (เล่ม 64)

[๑๑๑๐] เทพเจ้าทั้งหลายมาช่วยย่นมรรคาให้
กษัตริย์ทั้ง ๔ เสด็จถึงเจตรัฐ โดยวันที่เสด็จออกนั่น
เอง เพื่ออนุเคราะห์พระกุมารทั้งสอง.
[๑๑๑๑] กษัตริย์ทั้ง ๔ พระองค์นั้น ทรงดำเนิน
สิ้นมรรคายืดยาว เสด็จถึงเจตรัฐอันเป็นชนบทเจริญ
มั่งคั่ง มีมังสะและข้าวดี ๆ เป็นอันมาก.
พระศาสดาตรัสว่า
[๑๑๑๒] สตรีชาวนครเจตรัฐ เห็นพระนางมัทรี
ผู้มีศุภลักษณ์เสด็จมาก็พากันห้อมล้อมกล่าวกันว่า
พระแม่เจ้านี้เป็นสุขุมาลชาติหนอ มาเสด็จดำเนิน
พระบาทเปล่า เคยทรงคานหามสีวิกามาศและราชรถ
แห่ห้อม วันนี้ พระนางเจ้ามัทรีต้องเสด็จดำเนินใน
ป่าด้วยพระบาท.
[๑๑๑๓] พระยาเจตราชทั้งหลายได้ทัศนาเห็น
พระเวสสันดร ต่างก็ทรงกรรแสงเข้าไปเฝ้า กราบทูล
ถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ พระองค์ทรง
พระสำราญไม่มีโรคาพาธแลหรือ พระองค์ไม่มีความ
ทุกข์แลหรือ พระราชธิดาของพระองค์หาพระโรคา-
พาธมิได้แลหรือ ชาวนครสีพีก็ไม่มีทุกข์หรือ ข้าแต่
พระมหาราชา พลนิลายของพระองค์อยู่ ณ ที่ไหน
กระบวนรถของพระองค์อยู่ ณ ที่ไหน พระองค์ไม่มี
ม้าทรง ไม่มีรถทรง เสด็จดำเนินมาสิ้นทางไกล พวก
อมิตรมาย่ำยีหรือ จึงเสด็จมาถึงทิศนี้.

515
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 516 (เล่ม 64)

พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๑๑๔] สหายทั้งหลายเอ๋ย ข้าพเจ้ามีความสุข
ไม่มีโรคาพาธ ข้าพเจ้าไม่มีความทุกข์ อนึ่ง พระราช
บิดาของเราก็ทรงปราศจากพระโรคาพาธ และชาวสีพี
ก็สุขสำราญดี เพราะข้าพเจ้าได้ให้พระยาเศวตกุญชร-
คชาธารอันประเสริฐสุด มีงางอนงามดังงอนไถ มี
กำลังแกล้วกล้าสามารถ รู้เขตชัยภูมิแห่งสงครามทั้ง
ปวง อันลาดด้วยผ้ากัมพลเหลือง เป็นช้างซับมันอาจ
ย่ำยีศัตรูได้ มีงางาม พร้อมทั้งพัดวาลวิชนี เป็นช้าง
เผือกขาวผ่องดังเขาไกรลาส พร้อมทั้งเศวตฉัตรและ
เครื่องปูลาด ทั้งหมอช้างและควาญช้าง เป็นยานอัน
เลิศ เป็นราชพาหนะ เราได้ให้แก่พราหมณ์ เพราะ
เหตุนั้น ชาวนครสีพีพากันโกรธเคืองข้าพเจ้า ทั้ง
พระราชธิดาก็ทรงกริ้วขับไล่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไป
เขาวงกต สหายทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลายจงให้
ข้าพเจ้าทราบโอกาสอันเป็นที่อยู่ในป่าเถิด.
พระเจ้าเจตราชทูลว่า
[๑๑๑๕] ข้าแต่พระมหาราช พระองค์เสด็จมา
ดีแล้ว พระองค์มิได้เสด็จมาร้ายเลย พระองค์ผู้เป็น
อิสราธิบดีเสด็จมาถึงแล้วขอจงตรัสบอกพระประสงค์
สิ่งซึ่งมีอยู่ในพระนครนี้ ข้าแต่พระมหาราช ขอเชิญ
เสวยสุธาโภชนาหารข้าวสาลี ผักดอง เหง้านั้น น้ำผึ้ง

516
หมวด/เล่ม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๔ ภาค ๓ – หน้าที่ 517 (เล่ม 64)

และเนื้อ พระองค์เสด็จมาถึง เป็นแขกที่ข้าพระองค์
ทั้งหลายสมควรจะต้อนรับ.
พระเวสสันดรตรัสว่า
[๑๑๑๖] สิ่งใดอันท่านทั้งหลายให้แล้ว สิ่งนั้น
ทั้งหมดเป็นอันข้าพเจ้ารับไว้แล้ว บรรณาการเป็นอัน
ท่านทั้งหลายกระทำแล้วทุกอย่าง พระราชาทรงพิโรธ
ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไปยังเขาวงกต ดูก่อนสหายทั้ง
หลาย ขอท่านทั้งหลายจงให้ข้าพเจ้าทราบโอกาสอัน
เป็นที่อยู่ในป่านั้นเถิด.
พระเจ้าเจตราชทูลว่า
[๑๑๑๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมทัพ เชิญเสด็จ
ประทับ ณ เจตรัฐนี้ก่อนเถิด จนกว่าชาวเจตรัฐจักไป
เฝ้าพระเจ้าสีพีราช เพื่อทูละขอให้พระองค์ทรงทราบ
ว่า พระมหาราชผู้ผดุงสีพีรัฐไม่มีโทษ ชาวเจตรัฐ
ทั้งหลายได้ที่พึ่งแล้ว มีความปรีดาจะพากันเห่ล้อม
แวดล้อมพระองค์ไป ข้าแต่บรมกษัตริย์ ขอพระองค์
ทรงทราบอย่างนี้เถิด.
พระมหาสัตว์ตรัสว่า
[๑๑๑๘] การไปเฝ้าพระเจ้าสีพีราช เพื่อทูลขอ
ให้พระองค์ทรงทราบว่าเราไม่มีโทษ ท่านทั้งหลายอย่า
ชอบใจเลย ในเรื่องนั้นแม่พระราชาก็ไม่ทรงเป็นอิสระ
เพราะถ้าชาวนครสีพีทั้งพลนิกาย และชาวนิคมโกรธ

517